วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาสุขภาพกับสังคมไทย นางสาววีรนุช ศรีวรรณ์ 53242582

บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง ปัญหาสุขภาพกับสังคมไทย 


เมื่อกล่าวถึงสุขภาพ ในปัจจุบัน ได้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า แนวคิดหรือความเข้าใจที่ว่าคนมีสุขภาพดีคือคนที่ไม่เป็นโรคหรือปราศจากความพิการและทุพพลภาพเท่านั้นเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากสุขภาพมีความหมายที่กว้างและลึกซึ้งกว่าที่กล่าวมาแล้วมาก มีผู้ให้คำจำกัดความของสุขภาพไว้มากมายแต่ความหมายที่ได้รับการยอมรับว่าคลอบคลุมแนวคิดที่สำคัญของคำว่า “สุขภาพ” ไว้ชัดเจน คือคำจำกัดความที่องค์การอนามัยโลกได้ให้ไว้ว่า สุขภาพ หมายถึง สภาวะของความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ รวมทั้งการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี มิได้หมายถึงเพียงความปราศจากโรค หรือปราศจากความทุพพลภาพเท่านั้น สุภาพ นั้น จัดเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชน การปรับปรุงส่งเสริมหรือดำรงรักษาสุขภาพก็นับเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่พึงมีต่อตนเอง การจะมีภาวะสุขภาพที่พึงปรารถนานั้นบุคคลจะต้องมีแนวคิดที่ถูกต้องและเป็นระบบในเรื่องสุขภาพเป็นพื้นฐาน เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวจะนำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ซึ่งเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ภาวะสุขภาพที่พึงปรารถนา
ปัญหาสุขภาพเป็นผลที่เกิดจากปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม พันธุกรรมและการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เนื่องจากการขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องทางด้านสุขภาพ และสวัสดิการ อีกทั้งยังคงมีความเชื่อ ค่านิยม และทัศนะคติที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ปัญหาเหล่านี้เมื่อรวมกับภาวะทางเศรษฐกิจที่บีบบังคับมากขึ้น และการหลั่งไหลถ่ายเท่ของผู้คนในยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให้ภาวะเสี่ยงต่างๆทางสุขภาพและสวัสดิภาพของบุคคลเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้น การเข้าใจถึงภาวะเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างรู้เท่าทันจะช่วยให้แต่ละบุคคลสามารถมีชีวิตได้อย่างปกติสุขมากที่สุดในโลกไร้พรมแดน ภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ(Health Risk) หมายถึง โอกาสที่บุคคล ครอบครัวและชุมชน อาจจะเกิดปัญหาสุขภาพ ซึ่งได้แก่การเกิดโรค การเจ็บป่วยและอุบัติเหตุต่างๆ (เรณุมาศ  มาอุ่น,2535)
การที่บุคคลเห็นคุณค่าของชีวิต ก็คือ การที่บุคคลรับรู้ว่าตนยังมีความหมายต่อตนเองและสังคมแนวคิดนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบุคคลเกิดการรับรู้ต่อตนเอง (self – perception) เกิดการรักตัวเอง (self – love) มีความภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง (self – esteem) มีความเชื่อมั่นในตนเอง (self - confidence) รวมทั้ง มีความเข้าใจและรู้จักตนเองในด้านอื่นๆ สิ่งเหล่านี้จะเป็นจุดที่ก่อให้เกิดการเห็นคุณค่าของชีวิตทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อมีการให้ความสำคัญกับคุณค่าชีวิตบุคคลเหล่านั้นก็จะเห็นคุณค่าของการมีภาวะสุขภาพที่ดีและมีพฤติกรรมที่เป็นไปในทิศทางของการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพ แต่ในทางตรงข้ามหากบุคคลไม่เห็นคุณค่าของชีวิต ก็จะปล่อยให้ชีวิตดำเนินไปไร้อย่างจุดหมาย ขาดความสนใจตนเองท้ายที่สุดจะประสบความล้มเลวในชีวิตนอกจากนี้ยังจะเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เขาเกิดความท้อแท้หมดอาลัยในชีวิต กลายเป็นความเครียด ท้อถอย มองโลกในแง่ร้ายและจะเป็นสาเหตุของการนำไปสู่ความคิดที่มุ่งร้ายตนเองในที่สุด
จากองค์ประกอบ 2 ประการดังกล่าวที่มา เมื่อนำมาจัดเป็นระบบโดยนำองค์ประกอบทั้งสองมากำหนดเป็นแกนตั้งและแกนนอนลากเส้นแกนทั้งสองตัดกันที่จุดกึ่งกลางของแต่ล่ะแกน จะเกิดเป็นมิติ(dimension) ที่อธิบายถึงแบบแผนการดำเนินชีวิตของบุคลขึ้นได้เป็น 4 มิติ ดังนี้
มิติที่ 1 แสดงภาวะของคนที่เห็นคุณค่าของที่ชีวิต รู้สึกว่าชีวิตของตนเองมีประโยชน์ แต่บุคคลเหล่านี้จะละเลยต่อการดุแลสุขภาพ เขาจะรู้สึกถึงพอใจกับภาวะสุขภาพที่เป็นปกติไม่เจ็บป่วย แต่ไม่ใส่ใจในการที่จะพัฒนาปรับปรุงสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น บุคคลในกลุ่มนี้จึงมีโอกาสเกิดความเจ็บป่วยได้ แต่เมื่อเกิดความเจ็บป่วยคนเหล่านี้จะแสวงหาการรักษาในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นไสยศาสตร์ แพทย์แผนโบราณตลอดจนแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อให้หายจากอาการเจ็บป่วย บุคคลในกลุ่มนี้จึงต้องสูญเสียค่าใช่จ่ายสำหรับการรักษาตนเองอย่างมากในช่วงที่เจ็บป่วย แต่เต็มใจที่จะใช้จ่ายเงินดังกล่าวเพื่อแลกกับการมีชีวิตอยู่ เนื่องจากเพราะเขายังให้ความสำคัญกับชีวิตนั่นเอง
มิติที่ 2บุคคลในกลุ่มนี้เป็นบุคคลที่เห็นคุณค่าของชีวิต ว่าชีวิตของตนเองมีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม รวมทั้งเห็นความสำคัญของการมีภาวะสุขภาพที่ดี ต้องรักษาและปรับปรุงส่งเสริมสุขภาพของตนเองให้ดียิ่งขึ้น บุคลในกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องกล่าวคือกระทำในสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยง งดเว้นการกระทำที่เสี่ยงหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ คนกลุ่มนี้คือกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เช่นมีความระมัดระวังในการบริโภคอาหาร มีการออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ เห็นความสำคัญและหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด รักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ คนกลุ่มนี้จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าต่อสังคม เนื่องจากเขาสามารถจะให้ความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างเต็มที่
มิติที่ 3บุคคลในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญต่อการมีภาวะสุขภาพที่ดีมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพแต่เป็นผู้ที่ไม่เห็นคุณค่าของชีวิตมากนัก ด้วยเหตุนี้พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้เกิดด้วยความเอาใจใส่และปฏิบัติด้วยความจริงจัง แต่กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของ บุคลกลุ่มนี้จะเป็นไปตามค่านิยมของกลุ่มหรือสังคม เช่น ไปเต้นแอโรบิคเพราะเพื่อนชวน เห็นเครื่องออกกำลังกายที่เป็นที่นิยมจึงซื้อไว้แต่อาจไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพไม่ยั่งยืนจึงมีโอกาสจะเจ็บป่วยด้วยโรคที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรม แต่ด้วยแนวคิดของกลุ่มนี้ที่ไม่เห็นคุณค่าของชีวิตคิดว่าตนไม่มีความหมายต่อสังคม ทำให้เขาไม่ใส่ใจในการแสวงหาการรักษาพยาบาล ส่วนใหญ่บุคลที่อยู่ในมิตินี้จะเป็นบุคคลสูงอายุ
มิติที่ 4บุคคลในกลุ่มนี้เป็นบุคคลที่ไม่เห็นคุณค่าของชีวิต ขาดความรัก ความมั่นใจ และความภาคภูมิใจในตนเอง ขาดความหวังในชีวิต และไม่รู้สึกว่าตนมีคุณค่าและจะสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้รวมทั้งการเป็นผู้ไม่เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพอยู่แล้ว ในที่สุดบุคคลในกลุ่มนี้จะมีความเรียดและความกดดันเข้าครอบงำจนคิดแก้ไขปัญหาชีวิตด้วยการทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย จึงทำให้เขาดำเนินชีวิตไปอย่างไร้ทิศทาง ขาดการวางแผนชีวิต มีพฤติกรรมเสี่ยงนานาประการ
                จากองค์ประกอบของแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าบุคคลในมิติที่ 2 จะเป็นบุคคลที่ปรารถนาของสังคมทุกสังคม เนื่องจากเขาไม่ต้องการเป็นภาระของผู้อื่นอีกทั้งยังสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้อีกมาก แต่จากข้อมูลเชิงประจักษ์ทั่วไปอาจกล่าวได้ว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยจะเป็นบุคคลที่อยู่ในมิติที่ 1 ซึ่งหากภาวะเช่นนี้ยังดำเนินต่อไปประเทศไทยคงจะต้องเพิ่มงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุดและเป็นงบประมาณจำนวนมากในแต่ละปี เนื่องจากการก่อสร้างสถานพยาบาล การจัดหาอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ การลงทุนเพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ต้นทุนที่สูงทั้งสิ้น ซึ่งการลงทุนเช่นนี้เมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ได้รับแล้วนับว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าอย่างยิ่ง เพราะหากประชาชนยังมีพฤติกรรมสุขภาพเช่นนี้ แม้ว่าจะได้รับการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ก็จะเป็นการช่วยชีวิตของผู้ป่วยนั้นชั่วครั้งชั่วคราวอีกไม่นานเขาจะต้องกลับเข้าไปรับการรักษาเพราะการเจ็บป่วยด้วยโรคเดิมหรือโรคใหม่อีกเป็นจักรเช่นนี้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่หากประชาชนเห็นคุณค่าของการมีสุขภาพและพัฒนาส่งเสริมสุขภาพของตนเองให้ดียิ่งๆขึ้น โดยได้รับการส่งเสริมจากรัฐตามควร ประชาชนก็จะมีภาวะสุขภาพที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของชาติและประเทศชาติก็สามารถประหยัดงบประมาณเพื่อนำไปใช้พัฒนาประเทศในด้านอื่นให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
                 องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “สุขภาพ” ไว้ดังนี้ สุขภาพ หมายถึง ภาวะแห่งความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี ทั้งนี้คำว่า สุขภาพมิได้หมายความเฉพาะเพียงแต่การปราศจากโรคหรือความพิการเท่านั้น ส่วนคำว่า “ผู้บริโภค” อาจสรุปได้ว่า หมายถึงผู้ที่ใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการมาเพื่ออุปโภคบริโภค ตอบสนองความต้องการของตน ทั้งนี้เป็นความต้องการทางร่างกายและเพื่อความพึงพอใจ
              สุขภาพผู้บริโภคจึงเป้นกระบวนการทางการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีศาสตร์และศิลปะในการใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการได้อย่าง “ประหยัด ปลอดภัย เป็นประโยชน์และเป็นธรรม” หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นบุคคลที่ “คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น” หรือ “ใช้เงินเป็น” ในการอุปโภคบริโภคนั่นเอง
              มนุษย์ทุกคนมีฐานะเป็นผู้บริโภค ถ้าหากพิจารณาดูบทบาทของเราแต่ล่ะคนตั้งแต่เกิดมาจนขณะนี้ก็จะพบว่า เรามีส่วนเกี่ยวข้องกับโลกเศรษฐกิจแห่งการผลิตและการบริโภคตลอดเวลา เมื่อเรายังเป็นเด็ก พ่อแม่และผู้อื่นและเป็นผู้ซื้อและจัดหาสิ่งต่างๆให้กับเรา ต่อมาเราก็รู้จักใช้เงินไปซื้อขนมหรือสินค้าอื่นๆด้วยตนเองซึ่งมักจะเป็นการซื้อด้วยอารมณ์ตามความชอบพอและอยากได้มากกว่าการพิจารณาด้วยเหตุผล แต่เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีความรอบรู้ที่เข้าใจสิ่งต่างๆมากขึ้น ตลอดจนสินค้าและบริการที่ซื้อก็มีมูลค่ามากขึ้น จึงทำให้หารซื้อสินค้ามีแนวโน้มเปลี่ยนจากความชอบพอตามอารมณ์มาเป็นการซื้อโดยพิจารณาถึงเหตุผล ความปลอดภัย และความคุ้มค่าประกอบการตัดสินใจ ที่สำคัญคือ การซื้อลักษณะนี้นอกจากจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคโดยตรงแล้ว ยังมีความหมายที่สำคัญต่อความเป็นไปของระบบเศรษฐกิจของส่วนรวม กล่าวคือ การซื้อสินค้าและบริการทำให้ระบบเศรษฐกิจทั้งการผลิตและการค้าขายดำเนินไปได้ตามปกติ การที่ผู้บริโภคเลือกซื้อเฉพาะสินค้าและบริการที่ดีและมีประโยชน์ต่อสังคม ให้สามารถอยู่รอดได้ก็เท่ากับ “ผู้บริโภคเป็นผู้กำกับ” (Consumer directed) หรือเป็นผู้กำหนดว่า ผู้ผลิตควรจะผลิตสินค้าและบริการอะไร อย่างไร ที่เป็นประโยชน์ ปลอดภัย และเป็นธรรมต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้บริโภคจึงควรจะได้เข้าใจถึงอำนาจในการตัดสินใจซื้อของตน และรู้จักวิธีการใช้เงินให้เกิดประโยชน์เป็นผลดีแก่ตนเองและประเทศชาติให้มากที่สุด
ในระบบเศรษฐกิจและสังคมแบบเสรีนิยมโดยทั่วไป จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจเอกชนได้แข่งขันการผลิตและบริการตอบสนองผู้บริโภคอย่างเต็มที่ แต่บ่อยครั้งที่ผู้ผลิตจำนวนมากมักจะไม่ค่อยคำนึงถึงผลประโยชน์และความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยการผลิตสินค้าไม่มีคุณภาพและส่งเสริมให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการที่ฟุ่มเฟื่อยเกินความจำเป็น เช่น นาฬิกาฝังเพชร เสื้อผ้า และเครื่องใช้ราคาแพงเป็นต้น ลักษณะระบบเศรษฐกิจที่ผู้ผลิตใช้กลวิธีกำกับหรือชักนำให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการสินค้าที่แพงเกินความจำเป็น และที่มากเกินความต้องการ หรือที่ได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่าที่เรียกว่า “การบริโภคที่กำกับ” (Consumption directed) ผู้ผลิตที่ดำเนินธุรกิจลักษณะนี้ที่จะมุ่งเน้นการแข่งขันกันดึงเงินจากผู้บริโภคให้มากที่สุด โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์และคุณค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับเลย ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงต้องเป็นคนกลางที่คอยทำหน้าที่ดูแลและกำกับให้ธุรกิจแข่งขันกันเฉพาะในทางที่ดีซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ผู้ผลิตและระบบเศรษฐกิจของชาติส่วนรวม โดยรัฐจะกำหนดกฎระเบียบและวางกรอบแนวทางการแข่งขันรวมทั้งควบคุมการดำเนินงาน เพื่อมิให้มีการเอาเปรียบ เช่น ควบคุมคุณภาพสินค้าที่อาจเป็นภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค ป้องกันการโกง การรวมหัวผูกขาด ตลอดจนกระตุ้นให้มีการแข่งขันหรือการผลิตสินค้าใหม่ๆ ออกเสนอขาย ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกมากขึ้นตามความเหมาะสม ดังนั้นดุลยภาพการบริโภคหรือการบริโภคที่ดีจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อรัฐบาลทำหน้าที่กำหนดกฎเกณฑ์ และจำกัดบทบาทให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถประสานประโยชน์ร่วมกันได้อย่างแท้จริง
สุขภาพเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสิ้นอายุขัย สุขภาพจึงเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวบุคคล สังคมและสิ่งแวดล้อม หากปัจจัยดังกล่าวขาดความสมดุลก็จะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ชัดว่าประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยได้รับผลกระทบจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยเองทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคมตลอดจนการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนา ซึ่งทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของเราเปลี่ยนไปเนื่องจากสภาพแวดล้อมทั้งทางด้านอากาศ น้ำ อาหาร ประชาชนชีวิตความเป็นอยู่แออัด รวมทั้งประชาชนมีพฤติกรรมที่เอื้อต่อการระบาดของโรคมากขึ้นทำให้สภาพปัญหาเกี่ยวกับโรคติดต่อที่ดูแนวโน้มว่าจะลดลงกลับกลายมาเป็นปัญหาอีกในระยะ 4 5 ปี ที่ผ่านมา ดังเช่นการระบาดของโรคเอดส์ในปัจจุบันที่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ การระบาดของวัณโรครวมทั้งของการระบาดโรคเท้าช้างที่มีแนวโน้มจะแพร่กระจายมากขึ้นเนื่องจาการอพยพโยกย้ายของแรงงานชาวพม่าเข้ามาในประเทศไทย เป็นต้น สำหรับสถานการณ์ด้านโรคไม่ติดต่อในปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้นและแพร่กระจายมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าอัตราการตายด้วยโรคหัวใจ อุบัติเหตุและการเป็นพิษมะเร็ง เป็นสาเหตุการตายมากที่สุดและรองมาตามลำดับของประเทศไทย อีทั้งยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโรคดังกล่าวมักเป็นผลเนื่องมาจากการดำเนินชีวิตและการมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมชาดความสนใจและละเลยต่อการดูแลสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย บริโภคยาสูบและสารเสพย์ติด ขาดการพักผ่อนและมีความเครียด เป็นต้น ซึ่งสาเหตุเหล่านี้เป็นสิ่งบั่นทอนสุขภาพและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
ในอดีตการศึกษายังไม่กระจายไปไม่ทั่วถึงครอบคลุมประชากร  ประชาชนยังมีความเชื่อที่ผิดในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพหลายประการ เช่น เชื่อว่าโรคภัยไขเจ็บและอุบัติเหตุต่างๆ เกิดจากเคราะห์กรรมหรือการกระทำของภูตผีปีศาจ ที่มีอำนาจเหนือความควบคุมจัดการของมนุษย์               แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารและการศึกษาเจริญก้าวหน้าขึ้น ทำให้ประชาชนมีความเข้าใจและมีแนวคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น เช่นตระหนักว่าทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาสุขภาพและสุขภาพเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่มิอาจหยิบยื่นให้แก่กันได้การที่มีสุขภาพดีไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นเอง แต่เกิดจากการที่บุคคลรู้จักบำรุงรักษาสุขภาพอย่างถูกต้องบนพื้นฐานหลักการทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ
สภาพปัญหาสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
คนไทยมีอายุยืนขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมาและสังคมไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว และจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าอีกยี่สิบปีข้างหน้าเราจะมีผู้สูงอายุสูงถึงหนึ่งในสี่ของประชากร แบบแผนการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเปลี่ยนจากโรคติดต่อเป็นหลักมาเป็นโรคไม่ติดต่อ         ซึ่งเกิดจากการถดถอยของสมรรถภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายและผลสะสมของพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มะเร็ง ฯลฯ จากผลการสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกาย พบว่าประชากรไทยมักไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเรื้อรัง หรือกลุ่มที่รู้ว่าเป็นโรคเรื้อรังนั้นส่วนใหญ่ยังไม่สามารถควบคุมอาการและดูแลรักษาตนเองได้อย่างถูกต้อง ซึ่งภาวะดังกล่าว        มักนำมาซึ่งภาวะทุพพลภาพในที่สุด ทำให้มีภาวะพึ่งพิงในการดำรงชีวิต และต้องการได้รับการดูแลจากบุคคลในครอบครัวหรือสังคมต่อไป  
ภาพแสดงจำนวนปีสุขภาวะที่สูญเสียของคนไทยในปี 2547

ข้อมูลการศึกษาภาระโรคของคนไทย พบว่าสาเหตุหลักของการสูญเสียปีสุขภาวะของคนไทยมาจากโรคไม่ติดต่อเป็นหลัก ตามด้วยกลุ่มโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคเอดส์ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม และการบาดเจ็บโดยเฉพาะจากอุบัติเหตุจราจร
ปัจจัยทางสังคมนอกระบบสาธารณสุข (Social determinants of health) มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสภาพปัญหาสุขภาพของประชากรไทย การพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมามีผลทำให้สุขภาพคนไทยดีขึ้นจาก  “การอยู่ดีกินดี” แต่ขณะเดียวกันก็สร้างปัญหาตามมา เช่น ปัญหาจากมลภาวะ พฤติกรรมสุขภาพ ปัญหาสังคม ปัญหาการกระจายรายได้อันนำไปสู่การแปลกแยกทางสังคม ( Social exclusion) และความไม่สงบทางการเมือง ทำให้เกิดปัญหาทั้งสุขภาพทางกายและทางจิต 
          การที่สังคมก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุจะมีผลให้มีค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายทางสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นตามอายุเป็นลักษณะตัวอักษร “J” (J Curve) กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายสุขภาพจะสูงในช่วงวัยแรกเกิดจากนั้นจะลดต่ำที่สุดในช่วงหนุ่มสาว จากนั้นจะกลับสูงขึ้นในวัยกลางคนและสูงที่สุดในวัยชรา

ระบบบริการสาธารณสุขไทยในปัจจุบันและปัญหา
                ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการขยายความครอบคลุมของสถานบริการสาธาณสุข โดยมีโครงสร้างหน่วยบริการทั้งระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ กระจายครอบคลุมทุกจังหวัด และต่อมาก็มีการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่ประชาชนไทย โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็น อย่างไรก็ดียังพบว่าความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขยังคงดำรงอยู่ อันเนื่องมาจาก
1. จำนวนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่เพียงพอโดยเฉพาะ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล รวมถึงเจ้าหน้าที่ด้านวิชาชีพอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับรองรับปัญหาด้านสาธารณสุขที่ทวีจำนวนมากขึ้น เช่น นักกายภาพบำบัด อาชีวบำบัด รวมถึงบุคลากรที่ไม่ใช่สายวิชาชีพ เช่น ผู้ช่วยผู้ดูแลผู้สูงอายุ
2. การขาดความเป็นธรรมในการกระจายของบุคลากรสาธารณสุข รวมถึงการกระจายของโรงพยาบาลตติยภูมิชั้นสูงที่มีการกระจุกตัวบางพื้นที่ เช่น กรุงเทพมหานคร ในขณะที่บางเขตพื้นที่ไม่มีบริการดังกล่าว
             3. บริการที่จำเป็นสำหรับปัญหาสุขภาพใหม่ เช่น บริการระยะกลางและบริการระยะยาวสำหรับ    ผู้มีภาวะทุพพลภาพหรือพิการ ทั้งในชุมชนและในสถาบันยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายทั้งชั่วคราวและถาวรเกือบทั้งหมดจำกัดอยู่ในโรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะทุพพลภาพโดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในชนบท
4. ระบบบริการปฐมภูมิขาดคุณภาพและไม่เข้มแข็ง แม้ว่าจะมีแนวคิดในการผลักดันให้เกิดบริการปฐมภูมิซึ่งครอบคลุมบริการสาธารณสุขมูลฐานด้วย แต่ในทางปฏิบัติยังไม่มีการดำเนินการผลักดันอย่างเป็นระบบ สถานบริการปฐมภูมิของรัฐซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุ มีบุคลากรไม่เพียงพอ และได้รับงบประมาณเพิ่มเติมน้อยกว่าบริการรักษาเฉพาะทางอย่างชัดเจน ในส่วนคลินิกเอกชนเริ่มมีบางส่วนให้บริการอย่างรอบด้านตามแนวคิดบริการสาธารณสุขปฐมภูมิภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่คลินิกส่วนใหญ่ยังเน้นให้บริการรักษาพยาบาลเป็นหลัก เมื่อพิจารณาจากทัศนคติของประชาชนก็พบว่า ยังไม่เข้าใจและขาดความเชื่อมั่นต่อระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ ซึ่งเห็นชัดเจนจากสัดส่วนการใช้บริการที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลชุมชนมีแนวโน้มลดลง
5. ศักยภาพของบุคลากรยังมีจำกัดในการจัดการกับปัญหาสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป มีความซับซ้อนมากขึ้นและต้องการความร่วมมือจากภาคส่วนอื่นและชุมชน

1 ความคิดเห็น: