วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนกับความพร้อมในการรับมือปัญหาต่างๆของไทย นางสาววราลักษณ์ แตงตุ่น 53242469


บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนกับความพร้อมในการรับมือปัญหาต่างๆของไทย
                เป็นที่รู้กันดีของคนไทยว่า ปีพ.ศ.2558 นั้นประเทศไทยจะทำการเปิดประชาคมอาเซียนร่วมกับอีก 9 ประเทศที่เป็นสมาชิก คือ บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐ-ประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐสังคมนิยม-เวียดนาม และสหภาพพม่า ได้ร่วมลงนามปฏิญญาจะร่วมกันก่อตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ.2558 ซึ่งทั้ง 10 ประเทศได้วางแนวทางการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ คือ หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม (One Vision , One Identity , One Community) ซึ่งประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก คือ หนึ่ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน สอง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และสามประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
                อาเซียนจัดเป็นกลุ่มความร่วมมือของกลุ่มประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทบาททางเศรษฐกิจของอาเซียนเริ่มชัดเจนในปี พ.ศ.2535 เนื่องจากการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรือที่เรียกกันว่า (ASEAN Free Trade Area : AFTA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมขจัดอุปสรรคทางการค้า ทั้งด้านภาษีและด้านอื่นๆ และเป้าหมายล่าสุดของประชาคมอาเศรษฐกิจเซียน คือการทำให้ประเทศสมาชิกมีตลาดฐานการผลิตร่วมกัน โดยจะเปิดเสรีทั้งการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต ซึ่งกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นพ้องต้องกันในการเร่งเปิดเสรีสินค้าและบริการที่สำคัญ 11 สาขา โดยแบ่งเป็นด้านสินค้า 9 สาขา คือ สินค้าเกษตร สินค้าประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และผลิตภัณฑ์สุภาพ ด้านการบริการ 2 สาขา คือ สาขาการท่องเที่ยวและการบิน
                ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนของกลุ่มประเทศสมาชิกจะช่วยเสริมสร้างความมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาด้านต่างๆ ถือเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ประเทศของตน มีวัตถุประสงค์หลัก คือ หนึ่ง เป็นการสร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่าง เช่น ค่านิยมว่าด้วยการไม่ใช่กำลังในการแก้ไขปัญหา และการไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ สอง การเสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญภัยคุกคามความมั่งคงในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่บนพื้นฐานการมีความมั่นคงของมนุษย์ และสาม การให้ประชาคมอาเซียนมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยให้อาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาค  และผลลัพธ์ประการสำคัญของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน คือ ประเทศสมาชิกอาเซียนมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่างๆ โดยจะมีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธีต่อรัฐที่เป็นประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน หรือปัญหาภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ ซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งที่ประสบกับปัญหาจะไม่แก้ไขปัญหาเพียงลำพัง  เช่น การก่อการร้าย  การลักลอบค้ายาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติต่างๆ เป็นต้น
                ประชาคมอาเซียนมุ่งหวังให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยและโรคติดต่อต่างๆ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งเดียวกัน โดยมีความร่วมมือเฉพาะด้านภายใต้เสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ เยาวชน การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิทธิมนุษยชน สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สตรี แรงงาน การขจัดความยากจน สวัสดิการสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมและสารนิเทศ กิจการพลเรือน การตรวจคนเข้าเมืองและกงสุล การจัดการภัยพิบัติ และยาเสพติด อาเซียนได้จัดทำแผนงานโดยประกอบด้วยความร่วมมือใน 5 ด้าน คือ หนึ่ง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development) สอง การคุ้มครองและสวัสดิการทางสังคม (Social Welfare and Protection) สาม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights) สี่ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Sustainability) ห้า การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Narrowing and Development Gap)
ประเทศไทยได้ทำการประชาสัมพันธ์ตามสื่อและสิ่งพิมพ์ต่างๆ มากมาย นักวิชาการสาขาต่างๆ คณาอาจารย์ ฯลฯ ก็ออกกันมาให้ความคิดเห็นและพูดถึงประเด็นปัญหาที่จะตามมาและความพร้อมของคนไทยที่จะสามารถตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด ทุกๆ ด้านต่างออกมาให้ความคิดเห็นมีทั้งผลกระทบด้านต่างๆ ตามมาทั้งด้านดีและด้านเสีย สื่อด้านต่างๆก็นำข่าวออกมานำเสนอให้ประชาชนได้รับรู้และเตรียมตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงในเร็วๆนี้ แต่ประชาชนทั่วไปก็ใส่ใจบ้างไม่ใส่ใจบ้าง ซึ่งส่วนมากมักจะไม่ใส่ใจ เพียงแค่รู้ว่าปี พ.ศ.2558 จะมีการเปิดประชาคมอาเซียนเท่านั้น จึงเกิดคำถามตามมาว่า “เราคนไทยพร้อมแล้วละหรือกับการที่จะเปิดประเทศอย่างเต็มตัว ???
เมื่อถามคนไทยว่า “คุณรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับการเปิดประชาคมอาเซียนบ้าง ?” เชื่อได้เลยว่า 90% จะตอบว่าไม่รู้ จึงมีคำถามว่า “รัฐบาลขาดการประชาสัมพันธ์ ?” เราต่างรู้กันดีว่าทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต การเรียนการสอนในสถาบันต่างๆ ต่างก็นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประเทศสมาชิกผลกระทบด้านต่างๆที่จะตามมา แต่เราคนไทยก็ไม่ตื่นตัวเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัวและอีกตั้งนานกว่าจะมาถึง จึงมีน้อยคนมากนักที่จะเตรียมตัวศึกษาเกี่ยวกับการเปิดประชาคมอาเซียนอย่างจริงจัง มีไม่กี่คนที่จะเตรียมตั้งรับและตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้า เราขาดการตื่นตัวในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา การเกษตร แรงงาน สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ทรัพยากรการผลิต ฯลฯ
ปัจจุบันนักศึกษาจำนวนมากที่เรียนจบมาแล้วไม่มีงานทำ เราไม่ต้องคาดหวังถึงอนาคตข้างหน้าที่เราสามารถที่จะทำงานในต่างประเทศได้อย่างอิสระและง่ายดาย เพราะเนื่องจากการเปิดประตูสู่อาเซียนในอีก 2 ปี ข้างหน้านี้นั้นได้จำกัดสาขาและวิชาชีพหลักเพียงแค่ 7 สาขาเท่านั้น คือ วิศวกรรม พยาบาล สถาปัตยกรรม การสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และบัญชี ซึ่งก็มีข้อจำกัดและการแข่งขันจากประเทศอื่นๆอีกมากมาย อาทิ ข้อจำกัดด้านภาษา ประเทศไทยได้รับการโหวตจากต่างประเทศให้เป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษได้แย่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก จากข้อนี้ก็เห็นได้ชัดว่า เด็กไทยนั้นมีประสิทธิภาพของการใช้ภาษาที่สองในการสื่อสารนั้นน้อยมาก ถ้าเทียบกับประเทศสมาชิกอีก 9 ประเทศ เราต้องการการเรียนรู้และพัฒนาด้านภาษาขึ้นไปอีกระดับ แต่เด็กไทยนั้นไม่ใส่ใจในการใช้ภาษาที่สองและที่สาม และเมื่อมีใครที่ฝึกพูดหรือใช้พยายามที่จะใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มคนไทยด้วยกัน เราก็มักจะมองว่าแปลกดูแตกแยก และจะไม่พูดด้วย นี่ก็ถือเป็นอีกข้อที่ทำให้การพัฒนาด้านภาษาของเด็กไทยไม่พัฒนาและถือเป็นข้อที่สำคัญเพราะถ้าเด็กไทยไม่สามารถพูดหรือใช้ภาษาที่สองหรือที่สามไม่ได้ ก็ทำให้โอกาสในการแข่งด้านตลาดแรงงานกับประเทศสมาชิกอาเซียนนั้นหมดสิทธิ เพราะกลุ่มประเทศอาเซียนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร แต่ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศ 1 ใน 5 ที่ใช้ภาษาอังกฤษได้แย่ที่สุด โอกาสที่จะได้นั้นน้อยมาก และถ้าคิดว่าถ้าทำต่างประเทศไม่ได้ก็ทำในประเทศได้ แต่อย่าลืมว่าต่างชาติก็สามารถเข้ามาทำงาในประเทศได้ไทยอย่างอิสระเช่นเดียวกัน ดังนั้นตลาดแรงงานนั้นมีการแข่งขันที่สูงมาก เด็กไทยควรที่จะหันมาตระหนัก และตื่นตัวที่จะเรียนรู้ภาษาที่สองและที่สามเพิ่มมากขึ้นเพื่อที่เราจะสามารถแข่งขันกับตลาดแรงงานกับประเทศสมาชิกอื่นๆได้ย่างเท่าเทียม
  การศึกษาในสาขาทั้ง 7 สาขาหลักที่อาเซียนกำหนดให้เป็นสาขาและวิชาชีพหลักของประเทศไทย ก็มีการแข่งขันกันสูงและมีผู้เรียนน้อย บวกกับการที่เราจะต้องแข่งขันจากนานาประเทศ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศในการเข้าทำงาน ระบบการศึกษาไทยควรจะเพิ่มประสิทธิภาพและจัดระบบการเรียนการสอนให้เข้มข้นและยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้น เพื่อที่เด็กไทยจะสามารถเข้าแข่งขันกับตลาดแรงงานกับประเทศสมาชิกอื่นๆได้อย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ
เกษตรกรภายในประเทศนั้นส่วนมากมักจะไม่ค่อยได้รับการศึกษาที่สูงมากนัก ถึงแม้จะเข้าถึงข่าวสารการเปิดประตูสู่อาเซียนของประเทศไทย แต่ก็น้อยคนนักที่จะรู้ถึงผลกระทบที่ตามมา การที่อาเซียนจะรวมกันเป็นฐานการผลิตใหญ่แห่งภูมิภาคนั้น ก็ดีในด้านการต่อรองของกลุ่ม แต่การเปิดประตูประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียนนั้น มีผลดีต่อชนชั้นสูงและชนชั้นกลางของสังคม เพราะเมื่อเปิดประเทศอย่างเต็มตัว มีการค้าระหว่างประเทศที่ปลอดภาษี ก็มีผลดีต่อคนในประเทศที่ได้ใช้ของที่มีราคาถูกก็จริง แต่คนส่วนมากมักไม่ได้หันกลับไปมองเกษตรกรที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อเราสามารถนำเข้าผลผลิตจากต่างชาติที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเราเข้ามาบริโภค แล้วเกษตรกรไทยที่ผลิตผลผลิตนั้นจะขายหรือส่งออกไปได้อย่างไร เกษตรกรจะต้องเปลี่ยนทิศทางการปลูกพืชหันมาปลูกพืชชนิดเดียวกันทั้งประเทศอย่างนั้นหรือ มันจะไม่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ประเทศเราอย่างนั้นหรือ เกษตรกรทั้งหลายจะต้องเปลี่ยนฐานการดำรงชีพเพื่อที่จะสามารถเลี้ยงตัวและครอบครัวได้ วิถีชีวิตเดิมๆ จะหายไป ทุกสิ่งทุกอย่างจะรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง ขาดความมีอัตลักษณ์และตัวตนของเราอย่างสิ้นเชิง เพราะคนเราต้องดำเนินชีวิตไปตามวิถีแห่งความอยู่รอด
รัฐบาลควรที่จะคิดวิธีตั้งรับช่วยเหลือเกษตรกรไทยในอนาคต โดยเริ่มกำหนดนโยบายและแนวทางการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทย ตั้งแต่ตอนนี้ เพราะในอนาคตเกษตรกรไทยจะได้สามารถปรับตัวและอยู่กับวิถีใหม่ได้อย่างไม่ต้องเผชิญกับความเสี่ยง เราจะต้องรักษาอัตลักษณ์ และวิถีเดิมวิถีไทยไว้ให้คนไทยสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงอย่าทันถ่วงที  
เนื่องจากประเทศไทยนั้นมีอุตสาหกรรมมากมายและหลากหลาย จึงเป็นที่ดึงดูดแรงงานไร้ฝีมือจากหลากหลายประเทศให้เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งเมื่อมีแรงงานต่างชาติเข้ามาเยอะ แรงงานในชาติก็ต้องมีการแข่งขันสูงขึ้น แรงงานภายในประเทศต้องออกนอกประเทศเพื่อไปเป็นแรงงานข้ามชาติ โดยที่แรงงานพวกนี้จะเป็นวัยทำงานที่ทิ้งให้คนแก่และเด็กอยู่ที่ท้องถิ่น จะทำให้เกิดปัญหาสังคมด้านอื่นๆ ตามมา หรือบางครอบครัวอาจจะย้ายไปเป็นแรงงานข้ามชาติทั้งครอบครัว ก็จะเกิดการย้ายถิ่น ทำให้คนในชาติคนที่เป็นคนท้องถิ่นดั้งเดิมของไทยค่อยๆหายไป
รัฐบาลควรที่จะตั้งรับและสร้างนโยบายเพื่อช่วยเหลือและให้คนในชาติได้เปรียบและสามารถที่จะทำงานในประเทศของตนเองได้ต่อไป เพื่อเป็นการรักษาคนท้องถิ่นให้อยู่คู่กับประเทศต่อไป เพราะเมื่อมีการเข้ามาของชาวต่างชาติก็จะเกิดลูกผสมมามายอยู่แล้ว เราจึงควรตตระหนักและตั้งรับอย่างรอบคอบเพื่อที่ เราจะรักษาคนท้องถิ่นให้ได้มากที่สุด
เมื่อมีคนเข้ามาในประเทศเพิ่มมากขึ้นก็ย่อมส่งผลให้สิ่งแวดล้อมภายในประเทศนั้นเปลี่ยนแปลงซึ่งมันเป็นเรื่องปกติ เพราะเนื่องจากประเทศแต่ละประเทศมีภูมิภาคที่แตกต่างกันไป มีวิธีการเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติแตกต่างกัน และการมีคนอาศัยอยู่เพิ่ม ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรต่างๆ เกิดความแตกต่าง การแย่งชิง การใช้ประโยชน์ที่แตกต่างหลากหลาย เมื่อคนเพิ่มมากขึ้นเป็นธรรมดาที่ที่พักที่อยู่อาศัยจะไม่พอ ผลที่ตามมาคือการบุกเบิกที่ดินใหม่ ชุมชนต่างๆมีประชากรที่เพิ่มขึ้นและแออัด เกิดการย้ายถิ่นอาศัยใหม่ คนเริ่มเบียดเบียนป่าไม้เพิ่มมากขึ้น คนเพิ่มการกินการใช้เพิ่ม สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมอย่างมาก โดยที่เราไม่สามารถที่จะออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศเราได้มากนัก เรื่องนี้จึงควรเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะดูแลและตั้งรับโดยเริ่มวางแผนการจัดระเบียบผังเมืองต่างๆให้พร้อมตั้งรับมือกับการเปิดประชาคมอาเซียนที่ใกล้จะถึงนี้
ยิ่งมีคนมาก โรคติดต่อก็มีมากขึ้น เมื่อสามารถที่จะเข้าออกประเทศได้อย่างงายดายและมีอิสระเสรีแล้ว ไม่ต้องพูดถึงโรคติดต่อ เป็นอันรู้กันว่าโรคติดต่อจะต้องตามมาและมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและเป็นการยากที่จะสกัดกั้น เพราะทุกคนสามารถไปอย่างอิสระ การอยู่รวมกันของคนหมู่มากเป็นแพร่ระบาดที่รวดเร็ว และเมื่อเริ่มมีโรคติดต่อเราจะไม่สามารถตั้งรับได้ทัน และโรงพยาบาลของประเทศไทยจะมีเพียงพอต่อการรองรับชาวต่างหรือ เมื่อในปัจจุบันแค่เฉพาะคนไทยเองสถานบริการด้านสุขภาพก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนในชาติ โรงพยาบาลของภาครัฐยังไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้หมด และบริการก็ยังไม่ดีพอ ผู้บริการไม่เพียงพอต่อผู้ป่วย จึงทำให้สถานพยาบาลของภาครัฐไม่เป็นที่พอใจของคนทั่วไปสักเท่าไร และเมื่อยิ่งมีการเข้ามาของชาวต่างชาติสถานพยาบาลของประเทศไทยจะเพียงพอและทุกคนสามารถเข้าถึงได้จริงน่ะหรือ รัฐบาลจะมีมาตรการอะไรมาตั้งรับและเตรียมตัวเตรียมความพร้อมของการบริการด้านสุขภาพนี้อย่างไร
รัฐบาลควรที่จะปรับสถานบริการกับการเข้าถึงของชาวบ้านเสียก่อน ก่อนที่เปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียน เพราะเพียงแต่คนไทยเองยังไม่สามารถเข้าถึงสถานบริการสุขภาพของประเทศไทยเองได้ครบถ้วน แล้วรัฐจะสมารถเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงให้สถานบริการของภาครัฐเพียงพอต่อความต้องการเข้าถึงของชาวต่างชาติได้หรือไม่
ทรัพยากรการผลิตของไทยในปัจจุบันนับจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นด้านพืชผลทางการเกษตร หรือในด้านอื่นๆ เมื่อประเทศไทยเปิดประตู่ประชาคมอาเซียนแล้วฐานทรัพยากรการผลิตของเราจะต้องลดลงมาก เนื่องจากเมื่อมีคนมาก คามต้องการพื้นฐานและความต้องการด้านต่างๆของมนุษย์ก็เริ่มมีมากขึ้น ประเทศไทยจะสามารถรองรับปัญหาทรัพยากรการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการได้หรือไม่
ประเทศไทยต้องการเป็นประเทศแห่งการท่องเที่ยว เราได้สร้างสื่อต่างๆมากมายเพื่อที่จะโปรโมทการท่องเที่ยวของประเทศเราให้ชาวต่างชาติได้เข้ามาชม และเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย แต่ประเทศไทยมีปัญหาต่างๆมากมายซึ่งรัฐบาลไม่สามารถมองเห็น หรือว่าเห็นแต่ไม่ใคร่ใส่ใจ ในเมื่อพูดถึงประเทศไทยในต่างชาติ ทุกชาติต่างพูดถึง “พัฒน์พงษ์” ซึ่งเป็นสถานที่อโคจรและมีอีกหลายสิ่งอย่างที่คนไทยเรารู้ดี เพียงแต่เราไม่พูดและแกล้งที่จะปิดหูปิดตากันไป ทั้งๆที่ประเทศไทยต่างก็นำเสนอสิ่งที่ดีสิ่งที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทยออกไป แต่เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย บรรษัทเกี่ยวกับทัวร์ทั้งหลายก็มักจะพานักท่องเที่ยวไปที่พัฒน์พงษ์ ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่รัฐบาลพยายามที่จะเข้าไปแก้ไข และยิ่งประเทศไทยเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียน ก็ยิ่งมีการเข้ามาของแรงงานต่างชาติซึ่งแฝงมาด้วยการค้ามนุษย์และเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆทางเพศให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น และก็จะมีปัญหายาเสพติด เด็กค้าประเวณีเพิ่มมากขึ้น และอีกหลากหลายปัญหาที่จะตามมา แล้วรัฐบาลจะจัดการสิ่งต่างเหล่านี้ได้อย่างไร หรือปล่อยให้เป็นไปโดยไม่คิดที่จะแก้ไข
ความตื่นตัวรับรู้เหตุการณ์ของคนไทยและการตั้งรับกับอนาคตนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญและถูกมองข้ามไป คนไทยส่วนมากมักจะตื่นตัวเพียงชั่วครู่แล้วทุกสิ่งก็กลับสู่ปกติ คนไทยทุกคนเห็นและได้ยินเรื่องการเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียนของไทย โดยผ่านสื่อต่างๆมากมาย แต่คนไทยกลับไม่หวั่นวิตกกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้า ทุกคนไม่มองถึงปัญหาต่างๆที่มีอยู่ในขณะนี้และที่จะเกิดขึ้น ถึงแม้ภาครัฐและภาคเอกชนหรือกลุ่มต่างๆออกมาบอกและวิจารณ์อย่างไรก็ไม่ได้แสดงถึงความจริงที่จะเกิดขึ้นจริงทั้งหมดให้ทุกคนรับรู้ ส่วนมากก็จะมองและออกมาบอกในผลดี ในแง่ดี ถึงแม้มีการบอกถึงผลกระทบด้านลบแต่ก็มีไม่มากนัก เมื่อหลายฝ่ายไม่เดือดร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงเท่าไรนัก เพราะเมื่อเปิดประชาคมอาเซียนจริงๆคนที่เดือดร้อนมากที่สุดคือคนที่เป็นรากหญ้า เป็นเกษตรกร เป็นรากฐานเศรษฐกิจของประเทศ แต่พวกเขาเหล่านั้นกลับไม่รู้ข้อมูล ไม่รับรู้การเปลี่ยนแปลง ไม่มีโอกาสที่จะตั้งรับและพัฒนา  ไม่มีฝ่ายไหนที่จะเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรให้เรียนรู้และเข้าถึงปัญหาที่จะเกิดต่อตัวเกษตรกรเองก่อนที่จะเปิดประตู่สู่ประชาคมอาเซียนอย่างจริงจัง มีการประชุมกันของกระทรวง มีข้อคิดเห็นข้อวิพากษ์มากมาย แต่จะมีสักเท่าไร จะมีสักกี่คนที่จะประกาศและเข้าไปคุยให้ชาวบ้านเห็นความจริง รู้เรื่องรู้ปัญหาที่พวกเขาจะต้องพบเจอ แล้วปัจจุบันมีใครออกมาวางแผนคิดนโยบายตั้งรับแล้วหรือไม่ มีใครหาแนวทางให้ชาวบ้านสามารถที่จะปฏิบัติโดยนำวิถีเดิมมาประยุกต์ต่อวิถีใหม่ให้ชาวบ้านธรรมดาทั่วไปสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เสียตัวตนของตัวเองไปเมื่อมีการเปิดประตูสู่อาเซียนหรือไม่ พวกชนชั้นสูงและชนชั้นกลางส่วนมากก็สามารถที่จะมีวิธีและหาทางเอาตัวรอดได้อยู่แล้ว เพราะมีต้นทุนหลายๆทุนและสามารถที่จะออกไปทำงานต่างประเทศได้  แต่กลับกันกับชาวบ้านทั่วไปที่มีทุนน้อยมากนัก ความส่วนมากรู้ก็เพียงประถมศึกษาอยู่มากับภูมิปัญญาดั้งเดิมบ้างสมัยใหม่บ้าง และเมื่อเขาไม่รู้ถึงผลกระทบที่จะมากับการเปิดประชาคมอาเซียน พวกชาวบ้านจะตั้งรับอย่างไร จะเอาอะไรไปแข่งขันกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ฐานการดำรงชีพของชาวบ้านก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป จากการผลิตเพื่อยังชีพผสมผสานกับการผลิตเพื่อการค้ากลับต้องเปลี่ยนฐานการดำรงชีพไปเป็นการผลิตเพื่อการค้าเพียงรูปแบบเดียวเท่านั้น แล้วค่าครองชีพที่สูงขึ้น การแย่งชิงทรัพยากร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคต่างๆ ก็มีเพิ่มมากขึ้นแล้วชาวบ้านยังจะสามารถดำรงชีพอยู่ได้หรือไม่ เมื่อมีการปรับตัวการปรับวิถีการดำเนินชีวิต ก็เกิดปัจจัยเสี่ยงในด้านต่างๆ แล้วชาวบ้านจะอยู่ได้อย่างไร ชาวบ้านกับเกษตรกรท้องถิ่นจะสามารถแข่งขันกับตลาดได้อย่างไร เมื่อมีการนำเข้าสินค้าปลอดภาษี แล้วใครที่จะบริโภคสินค้าที่แพงกว่า ใครจะรักษาวิถีของชาวบ้านและเกษตรกรไทยไว้ เมื่อทุกคนมีภาระที่จะต้องรองรับด้านต่างๆ มากขึ้น
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนถึงแม้จะทำให้ประเทศไทยนั้นสามารถที่จะส่งออกสินค้าเข้าสู่กลุ่มประเทศอาเซียนเป็นอันดับ 1 แต่นั่นไทยก็ยังไม่ได้เปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ แต่เมื่อถึงเวลา พ.ศ. 2558 ที่จะมีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน กลับมีปัญหาต่างๆมากมายเข้ามา แต่ประเทศไทยกลับยังไม่มีการตั้งรับและเตรียมแผนนโยบายที่ดีพอที่จะนำพาคนในประเทศต่อสู่กับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาที่คนไทยยังไม่สามารถที่จะพัฒนาการติดต่อสื่อสารได้อย่างดี คนไทยมีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่สามารถที่จะพูดภาษาอังกฤษได้ และถึงแม้พูดได้ก็เพียงแค่เล็กน้อยงูๆปลาๆเท่านั้น แต่อีกไม่กี่ปีข้างหน้าเรากลับต้องต่อสู้แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารมากกว่า แล้วคนไทยจะเอาอะไรไปสู้ไปแข่งขันกับชาติอื่น แล้วรัฐบาลเตรียมความพร้อมด้านอาชีพเพื่อรักษาคนท้องถิ่นให้สามารถอยู่และดำรงชีพอยู่ได้แล้วหรือ ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมอยู่ทุกวันนี้ รัฐบาลก็ยังไม่สามารถที่จะแก้ไข ยังไม่สามารถที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น แต่ก็ต้องกลับมาตั้งรับการเปลี่ยนแปลงที่มาจากคนที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอีกมากมาย ที่จะต้องเข้ามาอยู่อาศัย ที่ต้องเข้ามาใช้ทรัพยากร ที่ต้องเข้ามาทำลายสิ่งแวดล้อมให้แย่ลงกว่าเดิม เรามีแผนตั้งรับแล้วละหรือ
เมื่อชาวต่างชาติเข้ามามากมายก็เกิดปัญหาตามมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเกิด การตาย การย้ายถิ่น ปัญหาสุขภาพ ที่ประเทศไทยไม่มีความพร้อมและความสามารถที่จะรองรับจำนวนของคนที่จะเพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจุบันสถานพยาบาลของไทยก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนไทย แล้วเมื่อเปิดประชาคมอาเซียน ประเทศไทยจะสามารถรองรับและพัฒนาระบบบริการได้เพียงพอต่อทุกคนหรือ  เพราะเมื่อยิ่งมีคนอยู่มาก ย้ายถิ่นอย่าอิสระ ปัญหาโรคระบาดก็ก็เพิ่มสูงขึ้น ทั้งยังโรคติดต่อทางเพศที่มีมาพร้อมเรื่องความต้องการเป็นประเทศท่องเที่ยวของไทย ที่คนข้างนอกมองยังไงก็คงไม่พ้นสถานที่อโคจรต่าง และที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกคือ “พัฒน์พงษ์” ซึ่งจะตามมาด้วยปัญหาของเรื่องการค้ามนุษย์ รัฐบาลมีการควบคุมบรรษัททัวร์ที่พาทัวร์แต่ที่อโคจรอย่างไร รัฐบาลจะแก้ปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์อย่างไร คนส่วนน้อยจะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนหรือไม่ต่อการแก้ไขปัญหาเรื่องการท่องเที่ยวของไทย รัฐบาลกล้าที่จะปราบปรามและสร้างชื่อเสียงสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่การท่องเที่ยวของไทยหรือไม่ จะได้ช่วยลดปัญหาการค้ามนุษย์ที่จะเข้ามาทำงานในประเทศได้อย่างมาก
รัฐบาลจะทำอย่างไรให้คนไทยตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในเวลาที่จะมาถึงอันใกล้นี้ เมื่อพยายามจะบอกอย่างไรทุกคนก็กลับไม่ใส่ใจ รัฐบาลจะกล้าบอกประชาชนให้รับรู้ถึงผลประโยชน์ที่แท้จริงของการเปิดประชาคมอาเซียนหรือไม่ กล้าที่จะบอกถึงข้อเสียที่มีมากมายต่อการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบหรือไม่ กล้าที่จะบอกหรือไม่ว่าเมื่อเปิดประชาคมอาเซียนวิถีชีวิตของชาวบ้านจะเปลี่ยนอย่างไร วิถีชีวิตของเกษตรกรจะเปลี่ยนไปมากน้อยเพียงไร ณ ตอนนี้คนไทยทุกคนก็เหมือนกับนอนหลับไม่รับรู้เรื่องราวที่อยู่รอบตัว กลับจมอยู่กับความฝันที่แสนหวาน ไม่รู้เลยว่าเมื่อตื่นขึ้นมาจะเจอความจริงที่โหดร้ายเช่นไร จะมีใครที่จะช่วยปลุกคนไทยให้ตื่นขึ้นมารับรู้และอยู่กับโลกความจริงหรือไม่
จะมองทางไหน ส่วนไหนไทยก็ดูจะยังไม่พร้อมต่อการเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียน เพราะคนไทยมีนิสัยไม่ตื่นตัว มักจะตื่นตระหนกเพียงชั่วครูชั่วยามเท่านั้น เพราะถึงแม้จะมีการประชาสัมพันธ์จากสื่อต่างๆมากมาย ก็ยังไม่ทำให้คนไทยตื่นตระหนก ตั้งรับกับอนาคตที่จะเปลี่ยนแปลงไป ระบบการศึกษาก็ยังไม่มีการจัดระบบใหม่ให้เข้มข้นและเพิ่มคุณภาพของการสอนให้ดียิ่งขึ้น คนไทยมีเพียงเรื่องเดียวที่อนุรักษ์ความเป็นไทยแท้ๆ ไว้เท่านั้น คือการพูดภาษาไทย คนไม่รู้มองโลกภายนอกที่หมุนไปถึงไหนต่อไหน แต่กลับอยู่แค่กับตัวเองอย่างแคบๆ เด็กไทยส่วนมากพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แม่เข้าใจและไม่พยามที่จะศึกษา ไม่เห็นความสำคัญในการศึกษาภาษาที่สองและที่สาม ไม่ตระหนักว่าเมื่อเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียนแล้วจะเกิดการแข่งขันของตลาดแรงงานที่สูงมาก และเมื่อเราไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นรู้เรื่อง เราก็หมดสิทธิในการทำงานหมดสิทธิในการแข่งขัน
ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรมแต่คนไทยกลับไม่ให้ความสำคัญต่อเกษตรกรรม เราให้ความสำคัญกับสิ่งอื่น จนลืมดูความเป็นตัวตนของเราเอง เมื่อเปิดประเทศเข้าสู่อาเซียนแล้ว วิถีชีวิตเกษตรกรแบบดั้งเดิมคงหายไปจนหมดสิ้น เพราะเมื่อมีการเปิดประชาคมอาเซียนการขนส่งต่างๆจะง่ายมากขึ้น สินค้าปลอดภาษีมีหลากหลายขึ้น มีการนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นที่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าประเทศไทย แต่เราก็ลืมคิดว่าถ้ารับของประเทศอื่นมาแล้วคนไทยที่ผลิตสินค้านั้นนอยู่จะทำอย่างไร เมื่อขายไม่ได้ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนวิถีการผลิตแบบใหม่ ก็เท่ากับว่าเริ่มต้นใหม่ ยิ่งจะเพิ่มความเสี่ยงให้สูงขึ้น
ไทยเป็นประเทศที่มีโรงงานอุตสาหกรรมมากมายถึงแม้จะเป็นประเทศเกษตรกรรมก็ตาม เมื่อเปิดประชาคมอาเซียนก็เป็นธรรมดาที่แรงงานจะข้ามชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทย ทำให้คนในท้องถิ่นต้องมีการแข่งขันกับตลาดแรงงานสูงขึ้น จึงเป็นเรื่องน่ากลัวที่แงงานไร้ฝีมือจะล้นตลาดไทย และคนในชุมชนคนในท้องถิ่นก็จะต้องย้ายออกไปอยู่ที่อยู่ใหม่จึงเกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าตามา ทำให้ประเทศไทยสูญเสียค่าปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกินปริมาณที่กฎหมายสากลกำหนด ทำให้ไทยเสียเงินในการรับภาระการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วรัฐบาลได้เตรียมพื้นที่ที่อยู่อาศัย ปัจจัย 4 เพียงพอต่อการเปิดประเทศสู่ประชาคมอาเซียนหรือไม่
ประเทศไทยต้องการเป็นประเทศแห่งการท่องเที่ยวรัฐบาลพยายามที่จะนำเสนอด้านศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามของไทยให้ชาวต่างชาติได้เข้ามาเที่ยวชมประเทศไทย แต่ก็แพ้ให้แก่บรรษัททัวร์ทั้งหลายที่เอาสิ่งมัวเมาทั้งหลายเพื่อพานักท่องเที่ยวต่างชาติได้ชม เช่น พัฒน์พงษ์ จึงเกิดปัญหาการค้ามนุษย์และมีการลักลอบนำผู้หญิงเข้ามาค้ามากขึ้น เมื่อคนยิ่งมาก การอยู่รวมกันการแพร่ระบาดของโลกก็ยิ่งเร็วมากขึ้น และสถานพยาบาลของรัฐบาลก็ไม่เพียงพอต่อการรักษา เกิดโรคติดต่อทางอากาศได้ง่ายและมีผู้ติดจำนวนมาก และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น
รัฐบาลจะทำอย่างไรกับปัญหาที่เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา แรงงาน การเกษตร โรคติดต่อ สุขภาพ ฯลฯ ที่จะเกิดเพิ่มมากขึ้นอีกมากมายหลังจากเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว รัฐบาลมองเห็นปัญหาพวกนี้หรือไม่ แล้วจะมีนโยบายใดที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้ เพื่อให้คนไทยสามารถอยู่ได้โดยที่ฐานการดำรงชีพนั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ปัญหาทุกอย่างจะไม่แพร่กระจายเป็นวงกว้างสามารถที่จะจัดการกับปัญหาได้มากน้อยเท่าไร หรือมองเห็นปัญหาแล้กลับอยู่นิ่งเฉย แล้วเราทุกคนคิดว่า “ประเทศไทยเราพร้อมแล้วละหรือที่จะเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียนที่ใกล้เข้ามาทุกที”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น