วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาผู้สูงอายุ นางสาวทิพย์สุคนธ์ อิ่นคำมา 53241950

บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง ปัญหาผู้สูงอายุ


วัยสูงอายุ หรือ วัยชรา หมายถึง มนุษย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายของชีวิต นิยามของผู้สูงอายุอาจแตกต่างกันไปเมื่อพิจารณาจากแง่มุมต่าง ๆ อาทิ ทางชีววิทยา ประชากรศาสตร์ การจ้างงาน และทางสังคมวิทยา ในทางสถิติมักถือว่าผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุคือบุคคลที่มีอายุ 60-65 ปีขึ้นไป สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ว่าผู้สูงอายุคือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งประเทศสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ
ความสามารถในการลดอัตราการเกิดและการตายให้ต่ำลง ประกอบกับอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการเอาใจใส่และดูแลเท่าที่ควร ปัญหาด้านสุขภาพที่เสื่อมโทรมของผู้สูงอายุ และปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้น
ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุ ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อม ทั้งด้านบุคลากรและระบบ โดยจะต้องเร่งดำเนินการดังนี้
         •   ปรับปรุงฐานข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุให้ทันสมัย
         •   สร้างหลักประกันด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล
         •   สนับสนุนการดูแลระยะยาว และแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้ดูแล
         •   สร้างหลักประกันด้านรายได้และส่งเสริมการออมเพื่อวัยหลังเกษียณ
         •   ส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุและขยายกำหนดการเกษียณอายุ
         •   สร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบครอบครัวและชุมชน 
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเป็นผลจากความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ และความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะสาขาการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ขณะที่อัตราการเกิดลดลง สัดส่วนของผู้สูงอายุจึงมากขึ้นเป็นลำดับ   

ความหมายของผู้สูงอายุ
ตามความหมายที่ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กำหนดไว้ว่า ตำรา หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ อาจเขียนเพื่อตอบสนองเนื้อหาทั้งหมดของรายวิชา  หรือส่วนหนึ่งของวิชาหรือหลักสูตรก็ได้  โดยมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและสะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา  หรืออาจเสนอตำราในรูปของสื่ออื่นๆ เช่น ซีดีรอม  หรืออาจใช้ทั้งเอกสารและสื่ออื่นๆ ประกอบกันตามความเหมาะสม  รวมทั้งเอกสารตำราที่จัดทำในรูปของสื่ออื่นๆ  ที่เหมาะสมซึ่งได้นำไปใช้ในการเรียนการสอน และได้รับการเผยแพร่มาอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา
จากความหมายของตำรา แสดงถึงการขยายขอบเขตของสื่อการเรียนการสอนที่ขยายขอบเขตมากไปกว่าบทความหรือตำราที่เป็นเอกสาร   อย่างไรก็ตาม การเขียนบทความทางวิชาการ หรือการเขียนตำรา ผู้เขียนจำเป็นต้องมีความรู้ ความคิดในเรื่องที่จะเขียนอย่างลึกซึ้งและมีวิธีการเขียนในระดับสูง  ผนวกกับประสบการณ์ในเรื่องที่เขียนจะช่วยให้การถ่ายทอดมีความชัดเจน  โดยเฉพาะหากเป็นตำราเมื่อเขียนแล้วควรผ่านการหาความตรง (validity) โดยการอ่านของผู้เชี่ยวชาญในองค์ความรู้หรือเนื้อหาสาระที่เขียน   รวมถึงมีการหาความเที่ยง (reliability)โดยให้ผู้เรียนได้ทดลองศึกษา จึงจะช่วยให้ตำราหรือบทความนั้นๆ มีคุณภาพ เหมาะกับผู้อ่าน

ความหมายของผู้สูงอายุ
                            คำที่ใช้เรียกบุคคลว่า  คนชราหรือผู้สูงอายุนั้น     โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้เรียกบุคคลที่มีอายุมาก  ผมขาว  หน้าตาเหี่ยวย่น  การเคลื่อนไหวเชื่องช้า พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 347) ให้ความหมายคำว่าชราว่า   แก่ด้วยอายุ ชำรุดทรุดโทรม  แต่คำนี้ไม่เป็นที่นิยมเพราะ ก่อให้เกิดความหดหู่ใจ และความถดถอยสิ้นหวัง        ทั้งนี้  จากผลการประชุมของคณะผู้อาวุโส โดย  พล.ต.ต. หลวงอรรถสิทธิสุนทร เป็นประธาน ได้กำหนดคำให้เรียกว่า  ผู้สูงอายุ แทน  ตั้งแต่วันที่  1  ธันวาคม 2512  เป็นต้นมา ซึ่งคำนี้ให้ความหมายที่ยกย่องให้เกียรติแก่ผู้ที่ชราภาพว่าเป็นผู้ที่สูงทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ  และประสบการณ์
                            สุรกุล  เจนอบรม (2541 : 6 7) ได้กำหนดการเป็นบุคคลสูงอายุว่า บุคคลผู้จะเข้าข่ายเป็นผู้สูงอายุ  มีเกณฑ์ในการพิจารณาแตกต่างกันโดยกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาความเป็นผู้สูงอายุไว้  4  ลักษณะดังนี้
•   พิจารณาความเป็นผู้สูงอายุจากอายุจริงที่ปรากฏ  (Chronological  Aging)  จากจำนวนปีหรืออายุที่ปรากฏจริงตามปีปฏิทินโดยไม่นำเอาปัจจัยอื่นมาร่วมพิจารณาด้วย
•   พิจารณาความเป็นผู้สูงอายุจากลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย  (Physiological  Aging  หรือ  Biological  Aging)  กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุขัยในแต่ละปี
•   พิจารณาความเป็นผู้สูงอายุจากลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ  (Psychological  Aging)  จากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ  สติปัญญา  การรับรู้และเรียนรู้ที่ถดถอยลง
•   พิจารณาความเป็นผู้สูงอายุจากบทบาททางสังคม  (Sociological  Aging)  จากบทบาทหน้าที่ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป   การมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มบุคคล ตลอดจนความรับผิดชอบในการทำงานลดลง
                            ศศิพัฒน์  ยอดเพชร  (2544 :10 11)  ได้เสนอข้อคิดเห็น ของ  บาร์โร และสมิธ  (Barrow  and  Smith) ว่า  เป็นการยากที่จะกำหนดว่าผู้ใดชราภาพหรือสูงอายุ     แต่สามารถพิจารณาจากองค์ประกอบต่าง  ๆ  ได้ดังนี้คือ
•   ประเพณีนิยม  (Tradition)   เป็นการกำหนดผู้สูงอายุ โดยยึดตามเกณฑ์อายุที่ออกจากงานเช่น ประเทศไทยกำหนดอายุวัยเกษียณอายุ เมื่ออายุครบ 60 ปี  แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดอายุ  65  ปี  เป็นต้น
•   การปฏิบัติหน้าที่ทางร่างกาย  (Body  Functioning)      เป็นการกำหนดโดยยึดตามเกณฑ์ทางสรีรวิทยาหรือทางกายภาพ     บุคคลจะมีการเสื่อมสลายทางสรีรวิทยาที่แตกต่างกันในวัยสูงอายุอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย จะทำงานน้อยลงซึ่งแตกต่างกันในแต่ละบุคคล     บางคนอายุ 50 ี ฟันอาจจะหลุดทั้งปากแต่บางคนอายุถึง  80 ปี ฟันจึงจะเริ่มหลุด เป็นต้น
•   การปฏิบัติหน้าที่ทางด้านจิตใจ  (Mental  Functioning)    เป็นการกำหนดตามเกณฑ์ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์   การจำ  การเรียนรู้ และความเสื่อมทางด้านจิตใจ  สิ่งที่พบมากที่สุดในผู้ที่สูงอายุคือ ความจำเริ่มเสื่อม ขาดแรงจูงใจซึ่งไม่ได้หมายความว่าบุคคลผู้สูงอายุทุกคนจะมีสภาพเช่นนี้
•   ความคิดเกี่ยวกับตนเอง  (Self  -  Concept)     เป็นการกำหนดโดยยึดความคิดที่ผู้สูงอายุมองตนเอง เพราะโดยปกติผู้สูงอายุมักจะเกิดความคิดว่า  “ตนเองแก่  อายุมากแล้ว”   และส่งผลต่อบุคลิกภาพทางกาย   ความรู้สึกทางด้านจิตใจ และการดำเนินชีวิตประจำวัน       สิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามแนวความคิดที่ผู้สูงอายุนั้น  ๆ  ได้กำหนดขึ้น
•   ความสามารถในการประกอบอาชีพ  (Occupation)   เป็นการกำหนดโดยยึดความสามารถในการประกอบอาชีพ      โดยใช้แนวความคิด จากการเสื่อมถอยของสภาพทางร่างกาย และจิตใจ    คนทั่วไปจึงกำหนดว่า  วัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องพักผ่อน  หยุดการประกอบอาชีพ     ดังนั้น  บุคคลที่อยู่ในวัยสูงอายุ  จึงหมายถึงบุคคลที่มีวัยเกินกว่าวัยที่จะอยู่ในกำลังแรงงาน
•   ความกดดันทางอารมณ์และความเจ็บป่วย (Coping with  Stress  and  Illness)  เป็นการกำหนดโดยยึดตามสภาพร่างกาย และจิตใจ  ผู้สูงอายุจะเผชิญกับสภาพโรคภัยไข้เจ็บอยู่เสมอ  เพราะสภาพทางร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ เริ่มเสื่อมลง     นอกจากนั้น ยังอาจเผชิญกับปัญหาทางด้านสังคมอื่นๆ ทำให้เกิดความกดดันทางอารมณ์เพิ่มขึ้นอีก ส่วนมากมักพบกับผู้มีอายุระหว่าง  60 - 65 ปีขึ้นไป
                            นอกจากนั้น  ศศิพัฒน์  ยอดเพชร   ได้เสนอผลการศึกษาภาคสนามว่า การกำหนดอายุที่เรียกว่าเป็น  “คนแก่”   ส่วนใหญ่ระบุว่ามีอายุ 60 ปีขึ้นไป   แต่บางพื้นที่มีข้อพิจารณาอื่นๆประกอบ เช่น ภาวะสุขภาพ บางคนอายุประมาณ 50 55 ปี แต่มีสุขภาพไม่แข็งแรงมีโรคภัยและทำงานไม่ไหว ผมขาว หลังโกง   ก็เรียกว่า “แก่” บางคนมีหลานก็รู้สึกว่าเริ่มแก่  และเริ่มลดกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจลง   กลุ่มผู้สูงอายุไม่ใส่ใจต่อตัวเลขอายุ  แต่พิจารณาตัดสินจากองค์ประกอบเช่น  สภาพร่างกาย  ปวดเอว ปวดตามข้อ เดินไปไกล ๆ  ไม่ไหว ทำงานหนักไม่ค่อยได้ เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง เป็นต้น 
                            จากความหมาย  ผู้สูงอายุ  ที่นักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึง  สรุปได้ว่า   ผู้สูงอายุ  หมายถึง   ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป  ที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และจิตใจไปในทางที่เสื่อมลง มีบทบาททางสังคม และกิจกรรมในการประกอบอาชีพลดลง

การแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ
                             จากการกำหนดว่า  บุคคลที่อายุ  60 ปีขึ้นไป  เป็นผู้สูงอายุ  ชูศักดิ์  เวชแพทย์  (2531 : 27)   ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตะวันออก (2543 : 8)   ได้เสนอข้อมูล ขององค์การอนามัยโลก โดย อัลเฟรด เจ คาห์น (Professor  Dr.  Alfred  J. Kahn) แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย  มีการแบ่งเกณฑ์อายุตามสภาพของการมีอายุเพิ่มขึ้น ในลักษณะของการแบ่งช่วงอายุที่เหมือนกัน คือ
                                      1.  ผู้สูงอายุ (Elderly)   มีอายุระหว่าง 60 74 ปี   
                                      2.  คนชรา  (old)  มีอายุระหว่าง  75 90 ปี 
      3.  คนชรามาก  (Very  old)    มีอายุ  90 ปีขึ้นไป
                            ยูริค และคนอื่นๆ (Yuriek and others . 1980 : 31)  เสนอการแบ่งช่วงอายุของผู้สูงอายุ ตามสถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติ  (National Institute of Aging) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็น 2 กลุ่ม คือ 
                                      1.  กลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น  (Young  - Old)  มีอายุ 60 74 ปี     
                                      2.  กลุ่มผู้สูงอายุวัยปลาย  (Old -  Old)  มีอายุ 75 ปีขึ้นไป
                            ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก ( 2543 : 8)ได้เสนอข้อมูลการแบ่งช่วงอายุผู้สูงอายุของประเทศไทย ดังนี้ 
                                      1.  อายุตั้งแต่  6069 ปี 
                                      2.  อายุตั้งแต่ 7079 ปี
                            3. อายุ 80 ปีขึ้นไป
                            จาก ข้อมูลการจัดเกณฑ์ช่วงอายุของผู้สูงอายุที่นักวิชาการ องค์การ หน่วยงาน กำหนดไว้นั้น สรุปได้ว่าการแบ่งช่วงอายุของผู้สูงอายุ ค่อนข้างใกล้เคียงกัน ผู้วิจัยกำหนดใช้การแบ่งช่วงอายุแบบของประเทศไทย ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้  คือ ช่วงอายุตั้งแต่  60 69 ปี    

การเปลี่ยนแปลงวัยผู้สูงอายุ
                             การเปลี่ยนแปลงวัยในผู้สูงอายุ ได้มีผู้ศึกษาและอธิบายถึงสภาพของการเปลี่ยนแปลงวัยผู้สูงอายุที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์ และสังคม     ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเสื่อมโทรมของร่างกาย     ทั้งนี้  วันเพ็ญ  วงศ์จันทรา (2539 : 10)   ได้เสนอสภาพปัญหาของผู้สูงอายุที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลง  3 ประการใหญ่ ได้แก่
                            1.  การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จำแนกออกตามระบบของร่างกายได้ ดังนี้
                                      1.1  ระบบผิวหนัง     ผิวหนังบางลง เพราะเซลล์ผิวหนังมีจำนวนลดลง    เซลล์ที่เหลือเจริญช้าลง อัตราการสร้างเซลล์ใหม่ลดลง
                                      1.2  ระบบประสาทและระบบสัมผัส     เซลล์สมอง และเซลล์ประสาท มีจำนวนลดลง ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก จำนวนและขนาดเส้นใยของเซลล์กล้ามเนื้อลดลง  มีเนื้อเยื่อพังพืดเข้ามาแทนที่มากขึ้น
                                      1.3  ระบบการไหลเวียนโลหิต       หลอดลม  ปอดมีขนาดใหญ่ขึ้น ความยืดหยุ่นของเนื้อปอดลดลง
                                      1.4  ระบบทางเดินอาหาร       ฟันของผู้สูงอายุไม่แข็งแรง   เคลือบฟันเริ่มบางลง  เซลล์สร้างฟันลดลง  ฟันผุง่ายขึ้น ผู้สูงอายุไม่ค่อยมีฟันเหลือต้องใส่ฟันปลอม   ทำให้การเคี้ยวอาหารไม่สะดวกต้องรับประทานอาหารอ่อนและย่อยง่าย
1.5    ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์      ผู้สูงอายุมีขนาดของไตลดลง
การไหลเวียนโลหิตในไตลดลง  ในเพศชาย ต่อมลูกหมากโตขึ้น  ทำ ให้ปัสสาวะลำบาก ต้องถ่ายบ่อยลูกอัณฑะเหี่ยวเล็กลง และผลิตเชื้ออสุจิได้น้อยลง ส่วนในเพศหญิง รังไข่จะฝ่อเล็กลง ปีกมดลูกเหี่ยว มดลูกมีขนาดเล็กลง
1.6     ระบบต่อมไร้ท่อ      ต่อมใต้สมองจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง  และทำงาน
ลดลง  ผู้สูงอายุจะเกิดอาการอ่อนเพลีย  เบื่ออาหารและน้ำหนักลดลง
                            2.  การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ     การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์  จะมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม    เนื่องจากความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย    การสูญเสียบุคคลใกล้ชิด   การแยกไปของสมาชิกในครอบครัว และการหยุดจากงานที่ทำอยู่เป็นประจำ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
                            3.  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม     การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องประสบ  ภาระหน้าที่ และบทบาทของผู้สูงอายุจะลดลง    มีข้อจำกัดทางร่างกาย  ทำให้ความคล่องตัวในการคิด  การกระทำ  การสื่อสาร สัมพันธภาพทางสังคมมีขอบเขตจำกัด  ความห่างเหินจากสังคมมีมากขึ้น   ความมีเหตุผล และการคิดเป็นไปในทางลบเพราะ สังคมมักจะประเมินว่า ความสามารถในการปฏิบัติลดลง   ถึงแม้ว่าจะมีผู้สูงอายุบางคนแสดงให้เห็นว่า   ความมีอายุ มิได้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินบทบาท และหน้าที่ทางสังคมก็ตาม
                            กรมการศึกษานอกโรงเรียน (2541 : 37-38) ได้นำเสนอข้อมูลการเปลี่ยนแปลงวัยของผู้สูงอายุ  ดังนี้
                            1.  ด้านร่างกาย   เซลล์ในร่างกายมนุษย์มีการเจริญและเสื่อมโทรมตลอดเวลา  โดยในผู้สูงอายุมีอัตราการเสื่อมโทรมมากกว่าการเจริญ   ทั้งนี้ การเสื่อมโทรมทางจิตจะทำให้มีความรู้สึกว่าโดดเดี่ยว  อ้างว้าง
                            2.  ระบบหายใจ   เสื่อมสภาพลงเพราะ อวัยวะในการหายใจเข้า-ออกลดความสามารถในการขยายตัว ปอดเสียความยืดหยุ่น ถุงลมแลกเปลี่ยนแก๊สลดน้อยลง ปอดรับออกซิเจนได้น้อยลง
                            3.  ระบบการไหลเวียนเลือด     หัวใจ หลอดเลือด มีเนื้อเยื่ออื่นมาแทรกมากขึ้น ทำให้การสูบฉีดเลือดของหัวใจไม่แข็งแรงเหมือนเดิม  มีปริมาณสูบฉีดลดลง   หลอดเลือดแข็งตัว และ แรงดันเลือดสูงขึ้น  ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะลดปริมาณ
                            4.  สติปัญญาของผู้สูงอายุ   สติปัญญาเริ่มเสื่อมถอย  เชื่องช้า  ต้องใช้เวลาในการคิด วิเคราะห์ ทบทวนนานกว่าจะตัดสินใจได้  การตอบโต้ทางความคิดไม่ฉับพลันทันที แต่มีเหตุผล และประสบการณ์เป็นข้อมูลพื้นฐานในการคิดและตัดสินใจ  แต่บางครั้งไม่กล้าตัดสินใจอะไร
                            5.  การเรียนรู้ของผู้สูงอายุ      การเรียนรู้เรื่องใหม่ๆหรือเทคโนโลยีใหม่ของผู้สูงอายุเป็นไปได้ช้า  ต้องใช้เวลาเรียนรู้นานกว่าที่จะรู้ ปรับเปลี่ยนความคิด และการกระทำได้  แต่การเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องกับประสบการณ์เดิม และความรู้เดิมที่มีอยู่จะสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว
                            6.  พฤติกรรมและธรรมชาติของผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้  
6.1       ถ้าไม่มีกิจกรรมอะไรทำ  อยู่ว่าง ๆ จะรำคาญ และคิดฟุ้งซ่านหรืออาจจะบ่นพึมพำ
6.2       บางช่วงจะหลง ๆ ลืม ๆ
6.3       สายตาไม่ดี อ่านหนังสือที่มีขนาดอักษรตัวเล็กเกินไม่ได้และอ่านได้ไม่นาน
6.4       ชอบอ่าน ฟัง ดูข่าว ความก้าวหน้าและความเป็นไปของบ้านเมืองมากกว่าบันเทิง หรือตำราวิชาการ
6.5       มีช่วงเวลาของความสนใจยาวนาน และมีสมาธิดี   ถ้ามีความตั้งใจจะทำสิ่งใด
            จากข้อมูลที่ศึกษา  การเปลี่ยนแปลงวัยสูงอายุข้างต้น สรุปได้ว่า   การเปลี่ยนแปลง
วัยสูงอายุ  เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม   อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเริ่มเสื่อมลงไปตามอายุของผู้สูงอายุ  ซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์  ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม  ตลอดจนบทบาทหน้าที่ และสัมพันธ์ภาพทางสังคมลดลง  การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อการเกิดภาวะสุขภาพที่เจ็บป่วยของผู้สูงอายุ   หากไม่มีวิธีป้องกัน และการจัดการภาวะสุขภาพที่เหมาะสม


ปัญหาหลักที่พบในผู้สูงอายุ

•   ปัญหาทางด้านสุขภาพกาย ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาด้านสุขภาพเสื่อมโทรม มีโรคภัยต่างๆ เบียดเบียน ทั้งโรคทางกาย และทางสมอง ผู้มีอายุเกิน 65 ปี มักมีการเปลี่ยนแปลงทางสมองคือ โรคสมองเสื่อม โรคหลงลืม โรคซึมเศร้า
  ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุที่มีฐานะไม่ดี ไม่มีลูกหลานดูแลอุปการะเลี้ยงดู อาจจะไม่มีรายได้ หรือรายได้ไม่เพียงพอสำหรับการเลี้ยงชีพ อาจจะไม่มีที่อยู่อาศัย ทำให้ได้รับความลำบาก
•   ปัญหาทางด้านความรู้ ผู้สูงอายุไม่มีโอกาสได้รับความรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง ให้เหมาะสมกับวัย และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้เข้ากันได้กับเยาวชนรุ่นใหม่
•   ปัญหาทางด้านสังคม ผู้สูงอายุอาจจะไม่ได้รับการยกย่องจากสังคมเหมือนเดิม โดยเฉพาะผู้ที่เคยเป็นข้าราชการ ตำแหน่งสูงซึ่งเคยมีอำนาจและบริวารแวดล้อม เมื่อเกษียณอายุราชการ อาจเสียดายอำนาจและตำแหน่งที่เสียไป เยาวชนและหนุ่มสาวหลายคนมีทัศนคติไม่ดีต่อผู้สูงอายุ เห็นคนรุ่นเก่าล้าสมัย พูดไม่รู้เรื่องและไม่มีประโยชน์
•   ปัญหาทางด้านจิตใจ ผู้สูงอายุจะไม่ได้รับความเอาใจใส่ และความอบอุ่นจากลูกหลานอย่างเพียงพอ ทำให้รู้สึกว้าเหว่ อ้างว้าง และอาจจะมีความวิตกกังวลต่างๆ เช่น กังวลว่าจะถูกลูกหลาน และญาติพี่น้องทอดทิ้ง กังวลในเรื่องความตาย ผู้สูงอายุมักมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น เศร้า เฉยเมย เอาแต่ใจตนเอง ผู้สูงอายุบางคน ก็ยังมีความต้องการความสุขทางโลกีย์ ซึ่งไม่เหมาะสมกับวัยของตนทำให้ได้รับความผิดหวัง
•   ปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว ปัญหาผู้สูงอายุที่น่าเป็นห่วงคือ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม ในอดีตจะเป็นครอบครัวใหญ่ ที่เรียกว่า ครอบครัวขยาย ทำให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้น และเกิดความอบอุ่น ระหว่างพ่อ แม่ และลูกหลาน ในปัจจุบันครอบครัวคนไทย โดยเฉพาะในเขตเมืองจะเป็นครอบครัวเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ ลูกหลานจะมาทำงานในเขตเมืองทิ้งพ่อแม่ให้เฝ้าบ้าน ทำให้ผู้สูงอายุอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่ได้รับการดูแล และได้รับความอบอุ่นดังเช่นอดีตที่ผ่านมา
•   ปัญหาค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงจากภาวะทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ทำให้เยาวชนมีความกตเวทีต่อพ่อ แม่ ครูอาจารย์ น้อยลง ผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแล ต้องอาศัยสถานสงเคราะห์คนชรา
              ในอนาคตเมื่อประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมแบบใหม่ สังคมไทยอาจกลายเป็นสังคมตะวันตกคือ ต่างคนต่างอยู่ ไม่มีการเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ไม่มีการทดแทนบุญคุณ บุตรหลานโตขึ้นก็จะไม่เลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อแก่ชรา

ผลกระทบของปัญหา (ขอบเขต, แนวโน้ม และความรุนแรง)

สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป กลายเป็นกระแสทุนนิยม ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างครอบครัวให้กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ความรักความผูกพันในครอบครัวน้อยลง คนในครอบครัวมัวแต่สนใจเรื่องการทำงานเก็บเงิน จนอาจมองข้ามความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวไป
ส่งผลให้สัดส่วนของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวตามลำพังในครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2537 มีผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวร้อยละ 3.6 ในปี 2545 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.3 และข้อมูลล่าสุดในปี 2550 พบมีผู้สูงอายุอยู่คนเดียวในครอบครัวตามลำพังร้อยละ 7.7 ทั้งนี้ร้อยละ 56.7 ของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวตามลำพังไม่มีปัญหา ที่เหลือร้อยละ 43.3 มีปัญญา ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงอยู่สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่พบบ่อยที่สุดคือ ความรู้สึกเหงาสูงถึงร้อยละ 51.2 ของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว รองลงคือปัญหาไม่มีคนดูแลท่านเมื่อเจ็บป่วย ร้อยละ 27.5 ปัญหาด้านการเงินที่ต้องเลี้ยงชีพ ร้อยละ 15.7 และ ร้อยละ 5.3 ไม่มีลูกหลานมาช่วยแบ่งเบาภาระภายในบ้าน ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ โดยจะเกิดมากที่สุดในผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งจากลูกหลานนอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังมีปัญหาด้านร่างกาย เนื่องจากสภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ส่งผลให้สุขภาพอ่อนแอ ช่วยเหลือได้น้อยลง อีกทั้งสังคมก็ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกในทางลง มองตนเองเป็นผู้ไร้ประโยชน์และเป็นภาระของสังคม เกิดความสับสนทางอารมณ์ จิตใจ และความเชื่อมั่นในตนเองลดน้อยลง ท้ายสุดทำให้ผู้สูงอายุเหล่านี้อยู่ในภาวะอารมณ์เศร้า ท้อแท้ ผิดหวัง และมีปมด้อย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ถือเป็นปัญหาทางสังคมที่จะต้องช่วยกันเร่งแก้ไขโดยด่วน

การแก้ปัญหาผู้สูงอายุ
 เมื่อดัชนีผู้สูงอายุได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  สภาพของผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งอยู่กันตามลำพังขาดผู้ดูแล  ต้องหาเลี้ยงชีพให้กับตนเองย่อมมีมากขึ้น  ในอดีตครอบครัวบยอมรับว่าผู้สูงอายุเป็นเรื่องส่วนบุคคลภายในครอบครัวที่ต้องดูแล  ทุกวันนี้จำนวนผู้สูงอายุที่มีปัญหาและความต้องการเหมือนกันในด้านการดูแลสุขภาพ  ที่อยู่อาศัย  และอาหาร เพิ่มจำนวนมากขึ้นซึ่งดูเหมือนว่ากำลังจะเปลี่ยนไปเป็นปัญหาสังคมที่รัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจัดบริการสวัสดิการสังคมให้
ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุ ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อม ทั้งด้านบุคลากรและระบบ โดยจะต้องเร่งดำเนินการดังนี้
         •   ปรับปรุงฐานข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุให้ทันสมัย
         •   สร้างหลักประกันด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล
         •   สนับสนุนการดูแลระยะยาว และแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้ดูแล
         •   สร้างหลักประกันด้านรายได้และส่งเสริมการออมเพื่อวัยหลังเกษียณ
         •   ส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุและขยายกำหนดการเกษียณอายุ
         •   สร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบครอบครัวและชุมชน 

        
      ในแง่ทางสังคมวิทยา  นักวิเคราะห์ทางสังคมวิทยาได้เสนอความเห็นให้ทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องในการทำงานด้านผู้สูงอายุได้ร่วมกันหาหนทางส่งเสริมและพัฒนา  โดยยึดแนวคิดวิเคราะห์จากส่วนต่างๆ ของระบบสังคม หรือตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานทางสังคม ดังนี้
                  1.  หน่วยธุรกิจเอกชจัดระบบบำนาญและผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุ  ส่งเสริมรายได้ให้ผู้สูงอายุ  จัดกิจกรรมสันทนาการ  จัดหาแหล่งงานที่เหมาะสมกับวัย
                  2.  หน่วยงานของรัฐ  จัดระบบประกันสังคม  กำหนดรายได้ที่มั่นคงและเหมาะสม  ให้การดูแลช่วยเหลือกลุ่มผู้สูงอายุที่ยากจน
                  3.  หน่วยบริการแพทย์และสาธารณสุข  จัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ  ลดค่าใช้จ่ายของระบบประกันสังคมให้ถูกลงจัดบริการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ
                  4.  หน่วยครอบครัวให้ความเกื้อกูลดูแลให้กำลังใจ  และร่วมมือกับสถาบันที่จัดบริการรักษาให้กับผู้สูงอายุ
                 ปัจจุบันนี้  บริการสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุได้จัดให้ไว้หลายแนวทาง  เช่น  การจัดหาที่พักพิง  การจัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  การจัดบริการให้คำแนะนำปรึกษา  การดูแลสุขภาพ  สันทนาและอื่นๆ ที่นักวิชาการได้ตั้งข้อคำถามไว้ว่าการจัดบริการให้ผู้สูงอายุเป็นการสร้าง คุณค่าให้กับสังคมหรือเป็นบริการที่จัดให้อย่างมากเกินไปจนเกิดความไม่สมดุล ในการใช้ทรัพยากรของประเทศที่กลุ่มด้อยโอกาสอื่นๆ  อาจไดรับการจัดสรรอย่างไม่พอเพียง   ตามที่ปรากฎให้เห็นเป็นนโยบายรัฐสวัสดิการในหลายประเทศในสังคมอุตสาหกรรม  แต่สำหรับประเทศไทย   เช่น  จังหวัดพิษณุโลกที่ยังคงมีผู้สูงอายดังเช่น ยายอ่อนและตาใสอีกมากมายนักที่ควรได้รับการดูแล และมีโอกาสเข้าถึงบริการสวัสดิการสังคมจากรัฐ

สรุป
วัยสูงอายุ หรือ วัยชรา หมายถึง มนุษย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายของชีวิต นิยามของผู้สูงอายุอาจแตกต่างกันไปเมื่อพิจารณาจากแง่มุมต่าง ๆ อาทิ ทางชีววิทยา ประชากรศาสตร์ การจ้างงาน และทางสังคมวิทยา ในทางสถิติมักถือว่าผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุคือบุคคลที่มีอายุ 60-65 ปีขึ้นไป สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ว่าผู้สูงอายุคือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งประเทศสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ
ความสามารถในการลดอัตราการเกิดและการตายให้ต่ำลง ประกอบกับอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการเอาใจใส่และดูแลเท่าที่ควร ปัญหาด้านสุขภาพที่เสื่อมโทรมของผู้สูงอายุ และปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้น
ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุ ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อม ทั้งด้านบุคลากรและระบบ โดยจะต้องเร่งดำเนินการดังนี้
         •   ปรับปรุงฐานข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุให้ทันสมัย
         •   สร้างหลักประกันด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล
         •   สนับสนุนการดูแลระยะยาว และแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้ดูแล
         •   สร้างหลักประกันด้านรายได้และส่งเสริมการออมเพื่อวัยหลังเกษียณ
         •   ส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุและขยายกำหนดการเกษียณอายุ
         •   สร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบครอบครัวและชุมชน 
เป็นต้น

2 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าเวลาเยอะขึ้นอีกหน่อยคงจะดูมีระเบียบมากกว่านี้
    E-O

    ตอบลบ
  2. ถ้าเวลาเยอะขึ้นอีกหน่อยคงจะดูมีระเบียบมากกว่านี้
    E-O

    ตอบลบ