วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

สังคมชนบทกับแนวโน้มการพัฒนา นางสาวยุพาวรรณ ศรีศักดา รหัสนิสิต 53242360


การเปลี่ยนแปลงของสังคมชนบทกับแนวโน้มในการพัฒนา
                ความหมายของชนบท
ชนบท( Rural) หมายถึงเขตที่ตั้งอยู่นอกตัวเมือง ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามสภาพที่ตั้งกับประชาชนที่อยู่ในชนบทนั้นจะมีความสัมพันธ์ต่อกัน ชนบทแต่ละแห่งย่อมมีความแตกต่างกันไป ทั้งเศรษฐกิจ การปกครอง สิ่งแวดล้อมทางสังคม สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและความเป็นอยู่ของชนบท แต่คุณสมบัติโดยทั่วไปแล้วชนบทยังมีส่วนเหมือนๆกันอยู่หลายประการ นั่นได้แก่
1.)        ความโดดเดี่ยว ( Isolation) หมู่บ้านชนบทโดยทั่วไปมักจะตั้งอยู่เป็นกลุ่มๆหรือไม่ก็ต้องกระจัดกระจายกันอยู่ตามไร่ตามนาอันเป็นที่ทำกินของใครของมัน แต่ชาวชนบทก็ยังมีการติดต่อสัมพันธ์กันอยู่ แต่การติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนภายนอกกระทำได้ด้วยความยากลำบากเพราะถูกจำกัดด้วยเส้นทางคมนาคม เฉพาะฉะนั้นความโดดเดี่ยวไม่ได้หมายถึงการไม่ได้อยู่เพียงลำพัง แต่หมายถึงการที่อยู่ห่างไกลออกไปจากสังคมเมือง
2.)        ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว (Homogeneity) ชุมชนแต่ละชุมชนจะมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในด้านเชื้อชาติ ประเพณี ภูมิหลังทางวัฒนธรรม ทั้งนี้เพราะการอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในระยะเริ่มแรกส่วนใหญ่จะไปจากแหล่งเดียวกันหรือเกี่ยวดองกันทางสายโลหิต ยอมรับในขนบธรรมเนียมประเพณีอันเดียวกัน ความสามัคคี จึงมีอยู่ในชนบทมาก ชาวชนบทบางกลุ่มกลับหลงวัฒนธรรมของตนเองว่าเป็นวัฒนธรรมที่สูงส่งกว่าวัฒนธรรมอื่น
3.)        การใช้แรงงานเพื่อการเกษตร ( Agricultural Employment) เกือบทุกคนในชนบทจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกษตร ไม่ปลูกพืชก็เลี้ยงสัตว์ ทำประมง ลักษณะวิ๔ชีวิตความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันจะเกี่ยวพันกับเกษตรกรรม ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
4.)        การเศรษฐกิจเพื่อการบริโภค ( Subsistence Economy)  ในชนบทครอบครัวจะเป็นทั้งหน่วยผลิตและหน่วยบริโภค มีทั้งปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ สัตว์เลี้ยงมีทั้งประเภทเลี้ยงไว้ใช้งานและเลี้ยงไว้เป็นอาหาร เช่น เป็ด ไก่ ชาวชนบทจะปลูกพืชที่กินได้เป็นส่วนใหญ่ เช่น พริก มะเขือ แตงกวา ฯลฯ คนชนบทเมื่อทำกับข้าวอย่างแกงเผ็ดไก่ เนื้อไก่จะเอามาจากไก่ที่เลี้ยงไว้ กะทิได้จากมะพร้าวในสวน โหระพา ใบมะกรูด ข่า ตะไคร้ ก็จะหาได้จากสวนหลังบ้านเป็นต้น
5.)        ความไม่สะดวกหลายอย่าง ทำให้สังคมในชนบทมีความไม่ปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน กล่าวคือ ผู้อยู่อาศัยอาจจะเจ็บไข้ได้ป่วยได้ง่าย การครองชีพอยู่กันอย่างแร้นแค้น ชาวชนบทมักจะขาดความรู้ ยังด้อยในด้านการศึกษาและการเรียนรู้ ทำให้ชนบทตกอยู่ในสภาพเอารัดเอาเปรียบโดยระบบของคนกลางในทุกรูปแบบ
การตั้งถิ่นฐานในชนบท
การที่มนุษย์ได้รวมกันตั้งเป็นชุมชนหรือหมู่บ้านนั้น ที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยหนึ่งในที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในสังคม ทางหลักฐานทางโบราณคดีได้พบว่าเมื่อแรกเริ่มมนุษย์อาศัยอยู่ตามถ้ำ หรือตามโพรงต้นไม้ใหญ่ๆ เนื่องจากมนุษย์นั้นเป็นพวกที่ล่าสัตว์เป็นอาหาร ไม่จำเป็นต้องอาศัยเป็นจำนวนมากหรือเป็นหมู่บ้าน ต่อมามนุษย์ได้เริ่มรู้จักการเพาะปลูก ต้องอาศัยที่ดินทำการเกษตรกรรม จึงรวมกันตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านขึ้น กล่าวถึงชนบทไทย ลักษณะของบ้านเรือนเกษตรกรในชนทบของไทยนั้น นิยมยกใต้ถุนสูง ภายในบริเวณนอกจากตัวบ้านแล้ว ก็มียุ้งข้าว กองฟาง คอกวัว คอกควาย บางครอบครัวก็เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ไว้ใต้ถุนบ้าน
การตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านของมนุษย์นั้น ตามปกติแล้วจะอยู่กลุ่มรวมกันเป็น “หมู่บ้าน” จากวิวัฒนาการทางความเป็นอยู่ของมนุษย์และจากการอพยพเคลื่อนย้าย แบบแผนการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์โดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การตั้งถิ่นฐานที่ไม่มีการวางแผนกับการตั้งถิ่นฐานที่มีการวางแผนผัง
การตั้งถิ่นฐานที่ไม่มีการวางแผน(Unplanned settlement) แยกย่อยออกเป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม พบอยู่ทั่วไปในทุกส่วนชนบทของโลก ถิ่นฐานแบบตั้งกระจายตามไร่นา ถิ่นฐานแบบหมู่บ้านตั้งไปตามเส้นทางคมนาคม ถนน แม่น้ำลำคลอง โดยทั่วไปลักษณะของชุมชนหมู่บ้านที่พบตามภาคต่างๆ ในประเทศไทย มักจะมีลักษณะที่ไม่มีวางแผน ชุมชนหมู่บ้านประเภทนี้จะไม่มีการจัดระเบียบที่อยู่อาศัย
การตั้งถิ่นฐานที่มีการวางแผน(Planned settlement) แบ่งย่อยออกเป็นตั้งบ้านเรือนตรงกลางไร่นา การตั้งบ้านเรือนที่สี่แยกถนนตัดกัน การตั้งบ้านเรือนไปตามเส้นทางคมนาคม ลักษณะของการตั้งถิ่นฐานประเภทนี้จะมีการจัดระเบียบร่วมกัน การกำหนดสถานที่เป็นบริเวณทำให้เป็นระเบียบ
แบบแผนการตั้งถิ่นฐาน
1.)        การตั้งถิ่นฐานหมู่บ้านแบบเป็นกลุ่ม ( Clustered village) ลักษณะของการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของเกษตรกรอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นกระจุกหนาแน่น ศูนย์กลางบริการชุมชนได้แก่ ร้านค้า โรงเรียน วัด ศาลาประชาคม จะอยู่ไม่ไกลบ้านเรือนเท่าใดนัก ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 10 ครัวเรือน แต่ในส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประมาณ 50-300 ครัวเรือนในแต่ละหมู่บ้าน
2.)        การตั้งถิ่นฐานแบบกระจาย (Scatted village) ลักษณะการตั้งถิ่นฐานแบบนี้ก็คือ เกษตรกรจะตั้งบ้านเรือนอยู่ภายในที่ดินหรืออยู่ในรอบในไร่นาของตนเอง ทำให้กระจัดกระจายไปตามที่ดินของเกษตรกร มักจะไม่เป็นระเบียบ การตั้งถิ่นฐานจะอยู่ห่างไกลศูนย์บริการชุมชนต่างๆ
3.)        การตั้งถิ่นฐานหมู่บ้านแบบขนาน (Lined village) ลักษณะของหมู่บ้านจะเรียงไปตามเส้นทางคมนาคม เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ถนน ชายฝั่งทะเล ทางรถไฟ ลักษณะของการตั้งถิ่นฐานแบบนี้จะมีที่นาอยู่บริเวณหลังบ้านเรือนออกไป
ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของภาคต่างๆในสังคมชนบท
1.)        รูปแบบการตั้งถิ่นฐานในภาคเหนือที่มากที่สุด คือ การตั้งถิ่นฐานแบบขนานไปตามเส้นทางคมนาคม รองลงมาได้แก่หมู่บ้านแบบกลุ่ม หากเป็นบริเวณที่ราบสูง การตั้งถิ่นฐานหมู่บ้านแบบกลุ่มจะมีอยู่มาก ตั้งตามเส้นทางคมนาคมมีน้อย ส่วนการตั้งถิ่นฐานแบบกระจายมีน้อยมาก พบเฉพาะชาวเขาที่ทำไร่เลื่อนลอย
2.)        รูปแบบการตั้งถิ่นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พบมากได้แก่ แบบกลุ่ม รองลงมาได้แก่ การตั้งถิ่นฐานตามคมนาคม ส่วนการตั้งถิ่นฐานแบบกระจายพบน้อย มีอยู่บ้างไม่มากนัก ซึ่งมักจะเป็นชาวไร่ที่มีที่ดินจำนวนมาก
3.)        รูปแบบการตั้งถิ่นฐานในภาคกลาง ในบริเวณเขตที่ราบตอนบนมักจะตั้งถิ่นฐานมากที่สุด รองลงมาเป็นการตั้งถิ่นฐานขนานตามเส้นทางคมนาคม ส่วนบริเวณเขตที่ราบตอนล่างพบว่ามีการตั้งถิ่นฐานตามเส้นทางคมนาคมมากที่สุด และแบบกระจายมีอยู่ทั่วๆไป รูปแบบการตั้งถิ่นฐานแบบกลุ่มพบมากในบริเวณชายฝั่งทะเล และบริเวณจุดตัดของเส้นทางคมนาคมขนาดใหญ่
4.)        รูปแบบการตั้งถิ่นฐานในภาคใต้  ได้พบว่าแบบกลุ่มจะมีมาก รองลงมาก็คือแบบขนานไปตามเส้นคมนาคม ตามเส้นทางรถไฟ สองฝั่งแม่น้ำลำคลอง ส่วนรูปแบบกระจายมีไม่มากนัก
2.การทำนาในภาคต่างๆ
2.1 การทำนาในภาคเหนือ การทำนาในภาคเหนือมีอยู่ 2 ประเภท คือการทำนาข้าวไร่ในฤดูนาปีและการปลูกข้าวนาสวน จะปลูกทั้งฤดูนาปีและฤดูนาปรัง ปัญหาในการทำนาภาคเหนือคือ ดินมีความอุดมสมบูรณ์น้อย ปัญหาโรคข้าวและปัญหาแมลง
2.2 การทำนาในภาคกลาง มีอยู่ 2 ประเภทคือ การทำนาสวนในฤดูนาปีและฤดูนาปรัง และการทำนาเมืองในฤดูนาปี ปัญหาที่พบได้แก่ ความไม่พอดีของปริมาณน้ำ ปัญหาเรื่องโรคและแมลง
2.3การทำนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในภาคนนี้จะเป็นปลูกข้าวนาสวน ในฤดูนาปีโดยใช้น้ำฝน การทำนาปรังเริ่มมีบ้างในเขตชลประทาน แต่ยังมีน้อยอยู่ ลักษณะการทำนาต้องอาศัยน้ำฝนเป็นส่วนมาก ลักษณะดินไม่อุ้มน้ำ เพราะเป็นดินปนทราย ถ้าปีไหนฝนทิ้งช่วงการทำนาจะไม่ได้ผล นอกจากจะมีปัญหาเรื่องฝนแล้วยังจะมีปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งด้วยก็คือ ปัญหาพวกโรคแมลงที่เป็นศัตรูข้าว เช่น โรคหนอนกอ โรคใบจุด แมลงบั่วและเพลี้ยไฟ
2.4การทำนาภาคใต้ การทำนาในภาคนี้มีอยู่ 2 ประเภทคือ การปลูกข้าวสวนทั้งฤดูนาปีและฤดูนาปรัง การปลูกข้าวไร่ ซึ่งมักจะปลูกตามสวนยาง ปัญหาที่พบได้แก่ น้ำท่วมฉับพลัน ที่ดินบางแห่งก็ไม่มีสภาพที่จะปลูกข้าว โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และโรคหนอนกอ
การชลประทานกับการพัฒนาการเกษตร
การพัฒนาชลประทานได้เริ่มมีมาหลายปี เพื่อต้องการให้เกษตรกรได้ใช้น้ำในการเพาะปลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยน้ำฝน ทำให้เกษตรกรมีผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาของระบบชลประทานมีมากมายในประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อการพัฒนาการเกษตร ในลักษณะการพัฒนาไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าใดนัก
การชลประทานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนมากเป็นอ่างเก็บน้ำ (Tank-irrigation) การชลประทานภาคนี้ได้เริ่มสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 – 2518 มีโครงการชลประทานขนาดใหญ่ 6 โครงการ และมีเนื้อที่เพาะปลูกประมาณ 1,285,000 ไร่
อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำจากชลประทานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีปัญหาอีกมาก เนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เพราะการประมาณเนื้อที่อาจจะผิดพลาดได้ ปัญหาที่พบเกี่ยวกับการชลประทาน ได้แก่ ปัญหาเขื่อนและอ่างเก็บน้ำยังไม่เพียงพอ ปัญหาปริมาณน้ำมีไม่มาก อาจเนื่องมาจากปริมาณน้ำฝนมีน้อย อันเนื่องจากภัยแล้งตามธรรมชาติ ปัญหาระบบส่งน้ำยังไม่สมบูรณ์ ปัญหาสภาพภูมิประเทศ ปัญหาคลองส่งน้ำชำรุดเสียหาย ปัญหาการแย่งน้ำและปัญหาการขาดแคลนเจ้าหน้าที่
โครงสร้างทางสังคม
1.)              สังคมชนบทเป็นสังคมเกษตรกรรมประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 อาศัยและประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำให้เกษตรกรมีวิถีการดำรงชีวิตอย่างเกษตรกรรม สังคมเกษตรกรรมอาจจะมีความแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นซึ่งมีสิ่งแวดล้อมสังคมที่แตกต่างกัน งานเกษตรกรรมเป็นงานที่ต้องอาศัยความอดทนและความพร้อมเพรียงกัน อย่างไรก็ตาม อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่สำคัญ ต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ อย่างที่เรารู้จักกันดีว่าเกษตรกรรมเป็นกระดูกสันหลังของชาติ
2.)             สังคมชนบทมีความสัมพันธ์ปฐมภูมิ เนื่องจากความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดนี้ ทำให้สมาชิกที่อยู่ร่วมกันมีความผูกพันแบบพ่อแม่กับลูก สมาชิกในสังคมชนบทมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด มีผลประโยชน์ร่วมกัน บางชุมชนอยู่ด้วยกันอย่างญาติพี่น้อง เมื่อสมาชิกคนหนึ่งทำการใด คนอื่นๆก็จะรู้จักกันหมด โดยเฉพาะหมู่บ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอยู่กันเป็นแบบกลุ่ม
3.)              สังคมชนบทมีชีวิตความผูกพันกับนิเวศวิทยา ลักษณะของชนบทที่มีความผูกพันกับสิ่งแวดล้อมทางนิเวศวิทยาได้แก่ ดินฟ้าอากาศ ภูมิประเทศ การดำรงชีวิตของชาวชนบทขึ้นอยู่กับความเชื่อ ระบบความคิดที่เกี่ยวกับการได้ถือครองที่ดินมากจะมีเกียรติ และชาวชนบทชอบที่อยู่กลางแจ้งมากกว่าที่จะปลูกบ้านแออัดแบบในเมือง
4.)              สังคมชนบทเคารพนับถือผู้ที่มีอาวุโส ในสังคมชนบทต่างก็นับถือผู้อาวุโส ในหมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะสมาชิกในหมู่บ้านมักจะเป็นญาติพี่น้องหรือเกี่ยวดองกันมีการถ่ายทอดและอบรมสั่งสอนเพื่อให้สมาชิกรุ่นใหม่ได้ปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในหมู่บ้านได้อย่างเหมาะสม เพราะผู้อาวุโสนั้นมีประสบการณ์มากกว่ารุ่นใหม่ การเคารพนับถือผู้อาวุโสจึงเป็นค่านิยมของสังคมชนบท
5.)              สังคมชนบทยึดมั่นหลักพุทธศาสนาในวิถีชีวิตประจำวัน การชนบทยังยึดหลักพุทธศาสนาเป็นหลักปรัชญาแห่งชีวิตและถือชีวิตประจำวันนั้นเนื่องจากชนบทนับถือพระพุทธศาสนาตั้งแต่บรรพบุรุษ อิทธิพลความคิดหรือหลักปรัชญาทางพุทธศาสนาได้ซึมซาบอยู่ในจิตสำนึก
6.)              สังคมชนบทเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาวชนบทมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ ความเชื่อในงานพิธีต่างๆ เช่น พิธีบายศรีสู่ขวัญ สะเดาะเคราะห์ แต่งงาน และไล่ผีปอบ เป็นต้น
7.)              สังคมชนบทเป็นสังคมแบบประเพณี ลักษณะของสังคมชนบทที่ยังรักษาจารีตประเพณีละวัฒนธรรมที่เคยปฏิบัติกันจากบรรพบุรุษจารีตประเพณีบางอย่างยังคงรักษาเหมือนเดิม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมยังมีน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับสังคมเมืองซึ่งได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตก
8.)              สังคมชนบทมีค่านิยมสังคมชนบท ค่านิยมคือค่าบุคคลหรือสังคมได้ให้ต่อสิ่งนั้นเหตุการณ์นั้น โดยการตัดสินเลือกประพฤติปฏิบัติต่อสิ่งนั้น ค่านิยมในสังคมชนบท จึงเป็นค่าในสังคมชนบทยึดถือปฏิบัติกัน

การเกษตรกรรมในสังคมชนบท
เนื่องจากประชากรมรชนบทส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมาณร้อยละ80 การเกษตรกรรมเป็นหมวดที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศมากที่สุด แม้ว่าประเทศจะมีการพัฒนาไปมากพอสมควร แต่เกษตรกรรมยังคงมีลักษณะเพื่อยังชีพ มีส่วนน้อยที่เป็นเกษตรกรรมก้าวหน้า ซึ่งมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ประชากรในชนบท กล่าวคือ
1.)   เขตการเกษตรที่ก้าวหน้า ได้แก่ เขตที่มีชลประทานและใช้วิธีการเกษตรกรรมแผนใหม่ และได้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่ ทำให้เกษตรกรรมมีรายได้มาก อันเนื่องมาจากวิธีการเพาะปลูกแผนใหม่ เช่น การทำนาตลอดทั้งปี การเลี้ยงปลา การปลูกพืชผักต่างๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก้เกษตรกร
2.) เขตการปานกลาง เป็นการเพาะปลูกอย่างอื่นเพื่อหารายได้ จากการปลูกข้าว ระบบชลประทานได้เข้ามามีบทบาทในการเพาะปลูกชาวนา แม้ว่าจะยังทำนา2ครั้งไม่ได้
3.) เขตการเกษตรล้าหลัง หมายถึงการทำเกษตรกรรมรอบเดียวในหนึ่งปี และต้องอาศัยน้ำฝน การปลูกมักเป็นแบบดั้งเดิม อาศัยแรงสัตว์เป็นหลัก เรียกว่าเกษตรแบบยังชีพ เกษตรกรจะทำนาปีละหน เมื่อหมดหน้านาก็จะออกไปทุ่งนาเพื่อเก็บหาอาหาร หรือย้ายถิ่นฐานชั่วคราวไปทำงานต่างถิ่น
ลักษณะการทำนาในสังคมชนบท
การปลูกข้าวหรือการทำนาเป็นอาชีพหลักของคนทุกภาค ชาวบ้านหรือเกษตรกรมีวิถีชีวิตที่ผูกพันเกี่ยวข้องกับการทำนาโดยตลอด เพราะฉะนั้นวัฒนธรรมการทำนาปลูกข้าวจึงมีอิทธิพลต่อขนบธรรมเนียมประเพณีละวัฒนธรรมของชาวบ้าน
การที่คนไทยนิยมปลูกข้าวนั้น ปัจจัยอย่างแรกคือ ที่ตั้งของประเทศไทยซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นราบเหมาะแก่การปลูกข้าว อยู่ในเขตมรสุม มีดินตะกอยอุดมสมบูรณ์ สามารถเก็บน้ำไว้ได้ และลักษณะอุณหภูมิดินฟ้าอากาศเหมาะสม นอกจากนั้นได้พบว่าคนไทยมีความชำนาญในการเพาะปลูกมานานนับศตวรรษ เราสามารถกล่าวถึงลักษณะการทำนาในสังคมชนบทดังต่อไปนี้
1.)        ลักษณะการทำนาในประเทศไทยมี 3 ประเภทได้แก่
1.1      การทำนาตามฤดูกาล การทำนาปี ซึ่งอาศัยน้ำฝน และการทำนาปรัง ซึ่งปลูกนอกฤดูฝนหรือฤดูการทำนา
1.2      การทำนาตามลักษณะภูมิประเทศและพื้นที่ปลูก ได้แก่ การปลูกข้าวไร่ ซึ่งเป็นการปลูกข้าวในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำขัง การทำนาสวน ซึ่งเป็นการทำนาในพื้นที่ที่มีน้ำขัง ไม่เกิน80เซนติเมตร ละการทำนาเมือง ซึ่งเป็นการทำนาในที่ที่มีน้ำขังเกิน80เซนติเมตร
1.3      การทำนาตามวิธีปลูก ได้แก่  การทำนาหยอด ซึ่งเป็นการปลูกแบบหยอด การทำนาดำ ซึ่งเป็นการปลูกแบบปักดำและทำนาหว่าน ซึ่งเป็นปลูกแบบหว่าน
การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยของสังคมชนบท
การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยของสังคมชนบท เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะว่าสังคมไทยได้มีแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหลายฉบับ อาจกล่าวได้ว่าการพัฒนาแผนเศรษฐกิจนำไปสู่การเกิดความทันสมัย การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยในสังคมชนบทเป็นกระบวนการที่ชาวชนบทกำลังจะเปลี่ยนวิธีชีวิตความเป็นอยู่จากการยึดมั่นในระบบประเพณีแบบเดินไปสู่ระบบความทันสมัย แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เน้นการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบสังคม ส่วนการพัฒนาเป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่รวบรวมทรัพยากรในระบบสังคมมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่เพื่อให้ระบบสังคมนั้นเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตขึ้น
ลักษณะของชนบทที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยมีหลายอย่าง เช่น มีการจ้างแรงงาน การประกอบอาชีพอื่นแทนการทำนา มีการประยุกต์ใช้วิทยาการใหม่ๆ การเลื่อนฐานะทางสังคม การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในครอบครัว การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในด้านศาสนา มีเครื่องอำนวยความสะดวกและโลกทัศน์ต่างๆที่ทันสมัยขึ้น
ปัจจัยภายนอกมีความสำคัญต่อการที่สังคมชนบทเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัยเป็นอย่างมาก เช่น การพัฒนาท่องถิ่นจากเจ้าหน้าที่หน่วยราชการต่างๆ และพัฒนาถนนหนทางเข้าไปสู่หมู่บ้าน อย่างไรก็ตามปัจจัยภายในก็มีส่วนสำคัญเช่นเดียวกันคือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านประชากร ด้านสังคม และปัจจัยสื่อสารมวลชน ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในมีลักษณะที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกันต่อการที่สังคมชนบทกำลังเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัย
ผลกระทบของการเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัยในสังคมชนบท มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และก้านวัฒนธรรม เป็นที่น่าสังเกตว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยนั้นอาจส่งผลไปในทางบวกหรือลบ ซึ่งแต่ละหมู่บ้านย่อมแยกต่างกันไปตามลักษณะโครงสร้างของแต่ชะชุมชน


ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาสังคมชนบท
                สังคมชนบทมีข้อปัญหาต่างๆมากมาย ปัญหาของสังคมชนบทในแต่ละแห่งมีทั้งลักษณะที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสองปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยตามธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศ ดิน น้ำ อากาศ เป็นต้น ส่วนปัจจัยทางมนุษย์ได้แก่ นิสัยใจคอ วัฒนธรรม ค่านิยม ทั้งสองปัจจัยมีอิทธิพลต่อปัญหาต่างๆเป็นอย่างมาก ปัญหาสังคมมีหลายปัญหาแต่ที่จะกล่าวถึงคือ ปัญหาการย้ายถิ่นฐานของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                การย้ายถิ่นฐานของชาวชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมานานแล้ว สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.)        การย้ายถิ่นภายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Intra regional migration) โดยทั่วไปชาวชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นคนรักท้องถิ่น การที่จะย้ายถิ่นออกไปอยู่ที่ใหม่จึงค่อนข้างยาก ยกเว้นในภาวะฝนแล้งหรือความปลอดภัยไม่มี จึงจำเป็นต้องขายที่นา บ้านเรือนเพื่อไปย้ายถิ่นฐานใหม่ เพลเทนินส์ พบว่าชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือร้อยละ 80 ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ภาคอีสานนั่นเอง  ร้อยละ18 ย้ายไปอยู่กรุงเทพมหานครและภาคกลาง อีกร้อยละ2ไปอยู่ภาคเหนือและภาคใต้ ชาวชนบทนิยมการย้ายถิ่นแบบชั่วคราว  การย้ายถิ่นระหว่างหมู่บ้านที่เห็นกันมากก็คือการแต่งงาน โดยมากผู้ชายจะไปอยู่บ้านผู้หญิง ในสมัยก่อนจะแต่งงานกันภายในหมู่บ้าน ปัจจุบันการติดต่อระหว่างกันมีมากขึ้น ทำให้หนุ่มสาวรู้จักกันและแต่งงานต่างหมู่บ้านมากขึ้น
2.) การย้ายถิ่นไปภาคอื่น(Inter regional migration) โดยทั่วไปชาวชนบทจะนิยมไปภาคกลาง กรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออก ภาคเหนือและภาคใต้ในช่วงที่ไม่ได้ทำนา ชาวชนบทจะออกไปทำงานยังภาคอื่นๆกันมากขึ้น โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว
3.)  การย้ายถิ่นฐานไปทำงานยังต่างประเทศ (Emigration) เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นจากการที่ชาวชนบทย้ายถิ่นไปทำงานยังต่างประเทศ เช่น ซาอุดิอาระเบีย และคูเวตเป็นต้น
สาเหตุการย้ายถิ่นฐานของชาวชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังต่อไปนี้
1.)  สภาพดินฟ้าอากาศแห้งแล้ง ชาวชนบทส่วนมากยังต้องอาศัยน้ำฝนในการทำการเกษตรกรรม เมื่อปีใดเกิดภาวะแห้งแล้ง ชาวชนบทจะหาหนทางในการทำงานไปยังจังหวัดอื่นๆ จังหวัดที่มีชาวชนบทย้ายถิ่นไปทำงานที่กรุงเทพมหานครมากที่สุด ได้แก่ ร้อยเอ็ด รองลงมาได้แก่ มหาสารคามและขอนแก่น ลักษณะการย้ายถิ่นไปทำงานที่กรุงเทพมหานครเป็นลักษณะของการย้ายถิ่นฐานแบบชั่วคราว
2.)        ที่ดินทำกินมีน้อย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางแห่งมีความหนาแน่นของประชากรสูง ที่ดินไม่เพียงพอ ทำให้ชาวชนบทย้ายถิ่นไปสู่บริเวณที่มีประชากรไม่ค่อยหนาแน่น กล่าวคือ ประชากรจะย้ายถิ่นจากจังหวัดที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง คือ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ขอนแก่น ไปสู่จังหวัดที่มีความหนาแน่นน้อย คือ จังหวัดสกลนคร เลย นครพนม
3.)        ค่านิยมไปเที่ยวกรุงเทพมหานครและทำงานชั่วคราว เป็นเรื่องของการทำงานแบบชั่วคราว เป็นเรื่องของการทำงานแบบชั่วคราวของหนุ่มสาว หลังจากการเลิกเก็บเกี่ยวข้าวแล้วไปเที่ยวที่กรุงเทพมหานคร พร้อมกับทำงานได้เงินใช้ด้วย ค่านิยมที่พบคือ คนที่ไปทำงานมักไปกรุงเทพมหานครเพราะอยากเที่ยวอยากรู้อยากเห็นความสนุกรื่นเริงต่างๆในกรุงเทพมหานคร คนที่ไปถือว่าได้มีหน้ามีตาคนอื่นๆก็จะพากันไปด้วย ลักษณะการย้ายถิ่นทำงานแบบชั่วคราวนี้หนุ่มสาวจะกลับมาช่วยทางบ้านเตรียมปักดำทำนา เมื่อปักดำเสร็จก็กลับไปทำงานอีก พอถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็จะมาช่วยทางบ้านอีกมีลักษณะของการหมุนเวียนเป็นวงจรอยู่ทุกปี หากปีใดไม่ได้กลับมาจะส่งเงินให้ทางบ้านจ้างคนทำนา เป็นการแบ่งเบาภาระของครอบครัวด้วย
4.)  ตลาดแรงงานจากต่างประเทศ ปรากฏว่าชาวบ้านชนบทจำนวนไม่น้อยไปทำงานยังต่างประเทศ ในประเทศตะวันออกกลาง ประเทศเหล่านี้รับคนงานจากประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เพราะขาดแรงงาน งานส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้าง การไปต่างประเทศชาวบนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะไปเป็นจำนวนมาก รายได้ต่อเดือนสำหรับคนงานธรรมดา ประมาณหมื่นกว่าบา สัญญาจ้างจะเป็นปีต่อปี หรือ2ปี พวกที่กลับจากการทำงานจะมีเงินเก็บจำนวนมาก กลับมาร่ำรวย การไปต่างประเทศนี้ยังมีเป็นค่านิยมอีกด้วย ในปัจจุบันมีคนจำนวนมากอยากไปเสี่ยงโชค บางคนถูกบริษัทหางานเถื่อนหลอก เสียเงินเสียทองเป็นหมื่น ไม่ได้ไปทำงานก็มี เรื่องตลาดแรงงานกับสภาวะของการทำงานของคนไทยในต่างประเทศนี้น่าศึกษาวิจัยกันมาก เพราะจะมีประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเกี่ยวกับแรงงานต่อไป
5.)  การศึกษาทางด้านศาสนา ชาวชนบทจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวบ้านนิยมส่งบุตรหลานของตนบวชเรียนทางธรรมต่อ เพราะไม่สามารถที่จะส่งเสียทางฝ่ายโลกได้ พระเณรจะย้ายถิ่นชั่วคราวไปศึกษาต่อยังสำนักเรียนที่มีชื่อเสียง เช่น วัดเลียบ บ้านคำแก่นคูณ ต.ม่วงหวาน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น เป็นสำนักเรียนและสำนักนิเทศเสียงด้วย พระเณรจะมาจากหลายจังหวัดไปจำพรรษาเพื่อศึกษาเล่าเรียนจนจบหลักสูตร หลังจากนั้นพระบางรูปจะไปเรียนเปรียญ พระบางรูปจะไปเรียนต่อทางโลก จะย้ายถิ่นฐานไปยังสำนักเรียนที่สอนเปรียญหรือทางโลก บางรูปอาจจะสึกเมื่อเรียนจบระดับ 4 ซึ่งเทียบเท่ากับม.3 บ้างก็เรียนต่อจนจบม.6 สึกออกมาเรียนต่อในมหาวิทยาลัย สำหรับพระเณรที่เรียนทางธรรมไปต่อทางเปรียญ จะสามารถเรียนต่อยังมหาวิทยาลัยสงฆ์จนจบหลักสูตรปริญญาตรี แล้วหาทางเรียนต่อประเทศอินเดีย อาจจะจบโทหรือเอก บางรูปก็ทำงานเผื่อแพร่ทางด้านศาสนา บางรูปก็สึกมาแต่งงานและทำงานกับหน่วยงานราชการหรือเอกชนต่างๆ
แนวโน้มในการพัฒนาชนบท
แนวโน้มในการพัฒนาชนบทนั้น เป็นที่ยอมรับกันว่า การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นในสังคมชนบทเรื่อยๆ และตลอดไป ทั้งนี้เพราะว่าสังคมไม่ได้อยู่นิ่ง สังคมชนบทได้ติดต่อกับสังคมเมือง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมจึงมีลักษณะแบบมีแผนการพัฒนา อย่างเช่น แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 7 ที่ได้เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมชนบท ในที่นี้จะได้กล่าวและทำนายถึงแนวโน้มในการพัฒนาสังคมชนบท ดังนี้คือ
1.)        การศึกษาวิจัยปัญหาและความต้องการของชุมชน การศึกษาวิจัยตามความต้องการของชาวชนบท มีความจำเป็นและเงื่อนไขที่เพียงพอต่อการพัฒนาชุมชน เพราะความต้องการนั้นถ้าชุมชนหรือบุคคลใดมีความต้องการแล้ว การพัฒนาตามความต้องการและชาวชนบทมีส่วนร่วม จะเป็นโอกาสที่ดีต่อชุมชนของตนเอง ดังนั้นการวิจัยจะได้ทราบปัญหาและความต้องการที่แท้จริง จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมชนบทต่อไป
2.)        การตระหนักถึงชุมชนแต่ละชุมชนมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน สมศักดิ์ ศรีสันติสุข ได้กล่าวถึงสังคมไทยมีลักษณะที่เป็นความต่างแบบกัน (Heterogeneity) ซึ่งมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ได้เน้นถึงความแตกต่างในโครงสร้างแต่ละชุมชน อาทิ หมู่บ้านภาคเหนือย่อมจะมีโครงสร้างที่แตกต่างกับหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การที่ชุมชนมีโครงสร้างที่เหมือนและแตกต่างกัน ทำให้มีประโยชน์ต่อการวางแผนการพัฒนาชุมชนอย่างยิ่ง
3.)        ความร่วมมือระหว่างนักวิชาการแขนงต่างๆ การพัฒนาสังคมชนบทที่ชาวบ้านได้เริ่มพัฒนาเป็นโครงการต่างๆ ที่เกิดจากความต้องการของชาวชนบทนี้ แนวโน้มในอนาคตอาจจะพบว่าควรจะมีการประสานงานและให้ความร่วมมือระหว่างนักวิชาการแขนงต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานพัฒนาต่างๆ การร่วมมือนี้ไม่เพียงแต่ในด้านสังคมศาสตร์เท่านั้น แต่ในด้านวิทยาศาสตร์ สมศักดิ์ ศรีสันติ ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือศึกษาสังคมไทยของนักวิชาการแขนงต่างๆ เพื่อจะได้เข้าใจสภาพของสังคมในทุกๆด้านซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมต่อไป
4.)    โครงการช่วยเหลือในด้านวิจันและการวิจัยปฏิบัติการจากต่างประเทศ การช่วยเหลือจากรัฐบาลหรือหน่วยงานเอกชนจากต่างประเทศมีอยู่หลายอย่าง เช่น การให้เงินทุนวิจัย โครงการช่วยเหลือพื้นที่ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้ทุนการศึกษาหรือดูงานในด้านการพัฒนาชุมชนหรือสังคมวิทยาชนบท อาทิเช่น เงินทุนวิจัยได้เริ่มทำมาบ้างแล้ว เพื่อหาลู่ทางในการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ความช่วยเหลือในด้านอื่นๆและรูปแบบต่างๆ ที่ให้กับสังคมชนบทจะยังคงมีอยู่และดำเนินการต่อไป เพื่อที่จะเข้าใจสภาพของสังคมชนบท ปัญหาความต้องการและอุปสรรคต่างๆในสังคมชนบทจะยังคงมีอยู่และดำเนินการต่อไป เพื่อที่จะได้เข้าใจสภาพของสังคมชนบทไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีโครงการช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆจากต่างประเทศ ควรจะตระหนักและศึกษาว่ามีวัตถุประสงค์แอบแฝงหรือไม่ เพื่อนที่จะหลีกเลี่ยงความช่วยเหลือเหล่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น