วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายอดิศักดิ์ ลือโฮ้ง 53242865

บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง ปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้


จากการเกิดสถานการณ์ความไม่สงบสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อันนำมาซึ่งความสุญเสียทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคมในพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐ และประชาชนยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ปัญหาความขัดแย้งในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เป็นปัญหาที่ซับซ้อนมีสาเหตุทั้งจากความขัดแย้งทางเชื้อชาติและศาสนา สถานการณ์ความมั่นคงใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส เป็นปัญหาท้าทายรัฐบาลมาทุกยุคทุกสมัย ลักษณะความรุนแรงขึ้นและลงตามกระแสการเมืองและแรงจูงใจที่กระตุ้นขบวนการก่อการร้ายกลุ่มต่าง ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อทางศาสนาหรือเป้าหมายการแบ่งแยกดินแดน หรือแม้แต่ผลประโยชน์ส่วยตัว โดยมีเหตุการณ์ลอบทำร้าย วางเพลิง วางระเบิด ก่อการร้าย และจลาจล เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งความขัดแย้งยังมาจาก แนวนโยบายบูรณาการแห่งชาติ ของรัฐบาลกลับเพิ่มความขัดแย้งระหว่างคนไทยเชื้อสายมุสลิม กับรัฐไทยมากขึ้น จนเป็นเหตุให้เกิดดารชุมนุมประท้าวงและการจลาจลในพื้นที่อย่างรุนแรง
นอกจากนนี้ยังเกิดการยุยงจากผู้ไม่หวังดีทั้งภายในและภายนอกประเทศ ให้ชาวมุสลิมดำเนินการตอบโต้ ในหลากหลายวิธีการ จนนำไปสู่รูปแบบการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนออกจากระบอบการปกครองของประเทศไทย
ความขัดแย้งด้านประวัติศาสตร์
ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางกับภูมิภาคนี้เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองมาใช้ระบบมลฑลเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ ๕ ยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครรวมทั้งเจ้าเมืองทั่วประเทศ ยังผลให้กลุ่มอำนาจเก่าที่เรียกอ้างตนว่าสืบเชื้อสายมาจากสุลต่านเดิม ในพื้นที่ไม่พอใจ อย่างไรก็ตามก่อนการมาตั้งถิ่นฐานของชาวมาเลย์มุสลิมนั้น พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย และอาณาจักรลังกาสุกะมาก่อน โดยประชาชนส่วนใหญ่นับศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธและต่อมาศาสนาอิสลามได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น
กำเนิดเมืองปัตตานีในช่วงต้นสมัยอยุธยา  มะละกามีอำนาจมากขึ้น ต่อมาได้ปฏิเสธอำนาจของมัชปาหิตของสยาม ทำให้สยามต้องยกทัพไปปราบปรามมะละกาแต่ไม่สามารถเอาชนะได้ กองทัพมะละกาได้บุกเข้าโจมตีเมืองโกตามหลิฆัยของลังกาสุกะและขยายอำนาจเข้าปกครองเมืองต่างๆแถบปลายแหลมมาลายู ทำให้ชาวเมืองหันมานับถือศาสนาอิสลามตามแบบอย่างมะละกามากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับปัตตานีนั้นพญานอินทิราโอรสของราชาศรีวังสาแห่งโกตามหลิฆัย ได้สร้างเมืองปัตตานีขึ้นใหม่ที่ริมทะเลบ้านกรือเซะบานา ต่อมาทรงเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามและเปลี่ยนพระนามเป็น  สุลต่าน  อิสมาอีล  ชาห์  ปกครองเมืองปัตตานีระหว่างปีพ.ศ. ๒๐๔๓-๒๐๗๓  นับแต่นั้นมาเมืองปัตตานีเข้าสู่ยุคอิสลามโดยสมบูรณ์ มีความรุ่งเรื่องมากทั้งในด้านการผลิตนักเผยแพร่อิสลามและเป็นศูนย์กลางการศึกษาศาสนาอิสลาม ปัตตานีมีสุลต่านหรือยาราเป็นเจ้าเมืองปกครองต่อเนื่องมาถึง๒๓พระองค์ จึงมีการปรับปรุงการปกครองเป็นระบบ 7 หัวเมือง มีการแบ่งการปกครองออกเป็น ๗ เมือง  ได้แก่ เมืองปัตตานี หนองจิก  ยะหริ่ง  ยะรา  รามันห์  ระแงะและสายบุรี แต่ละเมืองมีเจ้าเมืองซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลสยามที่กรุงเทพเป็นผู้ปกครอง  โดยมีหลักว่าเมืองใดมีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากก็ให้มีเจ้าเมืองที่นับถือศาสนาอิสลาม เมืองใดที่มีการนับถือศาสนาพุทธมากก็ให้มีเจ้าเมืองที่นับถือพุทธศาสนา แต่ในทางปฏิบัติประสบปัญหาอยู่เนืองๆ เจ้าเมืองกับรัฐสยามรวมทั้งประชาชนในเมืองต่างๆ มีข้อขัดแย้งอันเนื่องจากการปกครองอยู่บ่อยครั้งจึงต้องยกเลิกการปกครองรูปแบบนี้ไปในปี ๒๔๔๕  ปัจจุบันยังคงมีวังที่เคยเป็นที่พำนักของเจ้าเมือง เป็นมรดกตกถอดถึงลูกหลาน แต่บางแห่งก็ทรุดโทรมและถูกทิ้งล้างไปตามกาลเวลา
 สมัยมณฑลเทศาภิบาล ในปี พ.ศ. ๑๔๔๙  รัฐสยามประกาศตั้งมณฑลปัตตานีมีสมุหเทศาภิบาลที่ได้รับการแต่งตั้งจากสยามเป็นผู้ปกครอง มีเมืองเข้ารวมอยู่ในมณฑลปัตตานี ๔ เมือง คือ เมืองปัตตานี  ( รวมเมืองหนองจิก ยะหริ่ง และปัตตานี ) เมืองยะลา ( รวมเมืองรามันห์และยะลา ) เมืองสายบุรีและเมืองระแงะ ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๖๕ ได้ยกฐานะเมืองทั้ง ๔ เป็นจังหวัด ทำให้ปัตตานี ยะลา สายบุรี และนราธิวาส มีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๕ เป็นต้นมา ในสมัยมณฑลเทศาภิบาลอำนาจและบทบาทของเจ้าเมืองในระบบเดิมซึ่งมีมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๐๔๓ สิ้นสุดลง  ทำให้มีข้อขัดแย้งหลายกรณีเกิดขึ้น  นำไปสู่การเคลื่อนไหวการจัดตั้งองค์กร  เพื่อเรียกร้องอิสรภาพปัตตานีในเวลาต่อมา
สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ รัฐบาลประกาศยกเลิกมณฑลปัตตานี และยุบจังหวัดสายบุรี ลดฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปัตตานีโดยรวมจังหวัดทั้งสามไว้ในการปกครองของมณฑลนครศรีธรรมราช ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๖ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคแบ่งการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอ ทำให้จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส มีฐานะเป็นจังหวัดในระบบราชการบริหารส่วนภูมิภาคและมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารการปกครอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน
ราชอาณาจักรไทยประกอบขึ้นด้วยดินแดนที่เคยเป็นรัฐโบราณและหัวเมืองต่างๆ ในอดีต  ผนวกรวมกันขึ้นเป็นรัฐสมัยใหม่ที่มีอาณาเขตพรมแดนที่แน่นอน แต่เนื่องจากความเข้มแข็งของผู้ปกครองในแต่ละยุคสมัย รวมทั้งปฏิสัมพันธ์กับรัฐเพื่อนบ้าน และความพยายามที่จะเป็นอิสระของหัวเมืองต่างๆ ที่เคยมีอิสรภาพมาแต่เดิม ทำให้พัฒนาการของราชอาณาจักรไทยแต่ละยุคแต่ละสมัยต้องเผชิญกับพลังอำนาจทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรมาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าหลังยุคสมัยการขยายอาณานิคมของชาติตะวันตกมีข้อตกลงที่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานภาพของรัฐต่างๆ ในภูมิภาคนี้ แต่ความไม่พอใจและปฏิกิริยาของกลุ่มการเมืองและกลุ่มชาติพันธ์บางกลุ่มยังคงดำรงอยู่และมีความเคลื่อนไหวเป็นระยะ ๆ  การเรียนรู้ความจริงทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของราชอาณาจักรไทยโดยเฉพาะกรณีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เปิดกว้างและรับรู้ว่าความจริงเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรไทย ย่อมดีกว่าการปฏิเสธหรือปิดโอกาสการเรียนรู้ ซึ่งนอกจากจะสร้างทัศนะที่คับแคบให้กับพลเมืองไทยแล้ว ยังเปิดโอกาสให้กลุ่มเคลื่อนไหวกลุ่มต่าง ๆ   นำจุดอ่อนดังกล่าวไปขยายผลให้เกิดประโยชน์ทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศ  จนพลังการขัดแย้งอาจขยายตัวรุนแรงเกินกว่าที่คนไทยด้วนกันเองจะเยียวยาได้ในอนาคต
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายเคลื่อนไหวได้เลือกใช้ประวัติศาสตร์บางตอนให้เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตน เช่น ฝ่ายรัฐอ้างเรื่องการเสียดินแดนเพื่อปลุกสำนึกคนไทยทั้งประเทศให้หวงแหนแผ่นดิน ขณะที่ฝ่ายเคลื่อนไหวก่อความไม่สงบได้อ้างถึงรัฐปัตตานีและการทวงคืนอิสรภาพของชาวมลายูปัตตานี การใช้ประวัติศาสตร์ดังกล่าวก่อให้เกิดการเผชิญหน้าและขัดแย้งขยายผลอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
ในสมัยนโยบายบูรณาการแห่งชาติที่รัฐบาลไทยกำหนดใช้ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2464 มีผลบังคับให้บุตรหลานของคนทุกหมู่เหล่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ต้องเข้าสู่ระบบโรงเรียนชั้นประถมศึกษาซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐบาลไทย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่คนบางกลุ่มมองว่าความพยายามในการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยและ ส่งเสริมให้ทุกคนสามารถอย่างออกเขียนได้เพื่อเพิ่มโอกาสในการหางานในอนาคต เป็นการกีดกันชนชาติมาเลย์มุสลิมออกจากภาษาและวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง ต่อมารัฐบาลไทยสั่งปิดบรรดาโรงเรียนต่างๆที่มิได้สอนภาษาไทยอย่างถูกต้องตามหลักสูตรของรัฐทั้งหมดลงทั่วประเทศในปพ.ศ. 2466 ซึงรวมไปถึงโรงเรียนของชาวมาเลย์มุสลิมด้วย เป็นผลให้เกิดการชุมนุมประท้วงและการจลาจลขึ้นในพื้นที่อย่างรุนแรง
ปี พ.ศ. 2482 มีการประกาศใช้ระเบียบวัฒนธรรมไทยโดยเผด็จการ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ให้ชาวไทยต้องใส่เครื่องแต่งกายและประเพณีนิยมแบบไทย ผู้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าวนี้จะต้องถูกปรับไหมและรับโทษอย่างเข้มงวด ทั้งนี้รวมไปถึงชาวไทยมุสลิมด้วย สถานการณ์ก็เลวร้ายหนักขึ้นเมื่อการใช้ภาษามาเลย์และวัตรปฏิบัติบางอย่างทางศาสนาอิสลามถูกรัฐบาลไทยภายใต้เผด็จการจอมพล ป.พิบูลสงคราม กำหนดให้เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2487(ค.ศ.1944)
ปี พ.ศ. 2504(ค.ศ.1961) รัฐบาลไทยได้ประกาศใช้แนวนโยบาย "ปฏิรูปการศึกษา" ขึ้นในพื้นที่จังหวัดของชาวมาเลย์มุสลิม รัฐบาลให้การยอมรับโรงเรียนสอนศาสนาแบบดั้งเดิม (ปอเนาะ) โดยให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ประยุคระบบการศึกษาไทยเสียใหม่ ให้ครอบคลุม และ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวมาเลย์มุสลิม เหล่านี้ก็เพื่อสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังความจงรักภักดีในสถาบันหลักอันประกอบด้วยชาติ ศาสนา(ทุกศาสนาในประเทศไทยได้รับความเคารพอย่างเท่าเทียมกัน) และพระมหากษัตริย์
การต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนออกจากระบอบการปกครองไทยที่ดำเนินสืบเนื่องมานับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ ๒๐ หรือภายหลังจากที่พื้นที่แห่งนี้ถูก อังกฤษ และ สยาม ทำข้อตกลงแบ่งปันดินแดน (ส่วนหนึ่งของดินแดนนั้นถูกผนวกรวมเข้ากับประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๕ และอีกส่วนถูกรวมเข้ามันมาเลเซีย) การต่อสู้ได้ลดน้อยลงในบางช่วงแต่ในทุกวันนี้ทวีความรุนแรง และสั่นคลอนความมั่นคงของอำนาจรัฐไทยในพื้นที่จังหวัดมาเลย์มุสลิมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลา ๒ ปีที่ผ่านมา การเคลื่อนไหวของขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่มีความเข้มแข็งเป็นอย่างยิ่ง เกิดเหตุการณ์ลอบเผาโรงเรียนของรัฐ การเข้าปล้นอาวุธจากคลังแสงของกองทัพบก การโจมตีป้อมตำรวจ รวมทั้งเกิดเหตุการณ์ลอบสังหารเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร พระภิกษุ และชาวพุทธอีกจำนวนหนึ่ง ทำให้รัฐบาลไทยต้องประกาศกฎอัยการศึกขึ้นในพื้นที่
อย่างไรก็ตาม ชาวมาเลย์มุสลิมบางกลุ่มในภาคใต้กลับมองว่า นโยบายบูรณาการแห่งชาตินั้นมีเป้าหมายในการหลอมรวมชนชาวมาเลย์มุสลิมเข้ากับศูนย์อำนาจที่กรุงเทพฯ เป็นการท้าทายต่อวิถีศรัทธาและอัตลักษณ์ของชุมชนมาเลย์มุสลิม ภายใต้ระบอบการปกครองที่หมายมุ่ง "วิวัฒน์" เกิดการยุยงจากผู้ไม่หวังดีทั้งภายในและภายนอกประเทศ ให้ชาวมาเลย์มุสลิมดำเนินการตอบโต้ ในหลากหลายวิธีการรวมไปถึงรูปแบบการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนออกจากระบอบการปกครองไทย โดยมิได้มองว่าประเทศไทยนั้นมีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม คนบางกลุ่ม บางวัฒนธรรม อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานกว่าชาวมาเลย์ในภาคใต้ด้วยซ้ำไป และก็ไม่ใช่ว่า คนทุกกลุ่มเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลไทย แต่เพื่อความสงบและปรองดองของคนไทยด้วยกัน คนทุกกลุ่ม ทุกหมู่เหล่าในประเทศไทย ทำทุกอย่าง เพื่อให้ตนสามารถอาศัยร่วมกันภายใต้กฎหมายเดียวกันด้วยความสงบ หากกลุ่มใดไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐ กลุ่มคนเหล่านั้นมักจะแสดงออกด้วยการชุมนุมประท้วง
ชนชั้นนำและโครงสร้างอำนาจเป็นเรื่องของกลุ่มคนที่อาศัยฐานของทรัพยากรทางการเมืองที่ประกอบด้วยอำนาจ สถานภาพทางสังคม ความมั่งคั่งและชื่อเสียงเกียรติยศมาใช้เพื่อธำรงฐานะนำในสังคมหรือชุมชน ปกติในสังคมทุกสังคมการกระจายการครอบครองฐานอำนาจในทรัพยากรทางการเมืองจะไม่เท่ากัน กลุ่มคนที่มีฐานทรัพยากรทางการเมืองดังกล่าวมากก็ยิ่งจะมีอำนาจอิทธิพลในชีวิตประจำวัน พวกเขายังเป็นผู้กำหนดอนาคตและการเปลี่ยนแปลงในสังคมหรือชุมชน ยิ่งฐานอำนาจมีการกระจุกตัวในกลุ่มใดมาก โครงสร้างอำนาจก็จะยิ่งแข็ง ความสัมพันธ์ทางอำนาจเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างคนที่มีฐานทรัพยากรดังกล่าวในสังคมซึ่งทำให้เกิดพลวัตทางการเมืองในแต่ละชุมชน ผลก็คือทำให้เกิดอำนาจในการควบคุมทางสังคมซึ่งชนชั้นนำสามารถจัดการหรือใช้อำนาจของกลุ่มตนเองได้ ในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้อำนาจจะอยู่ในกลุ่มชนชั้นนำบางกลุ่มที่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขพัฒนาการในประวัติศาสตร์อันยาวนาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจนี้จะสืบเนื่องตกทอดมาจนถึงปัจจุบันซึ่งขึ้นอยู่กับโครงสร้างที่มีอยู่ตามวัฒนธรรม ประเพณีและศาสนา แต่เมื่อมองในบริบทที่กว้างออกไป โครงสร้างอำนาจดังกล่าวมีปฏิสัมพันธ์ทั้งจากภายในและจากภายนอกสังคม เช่นเดียวกับรัฐอื่นๆด้วย ดังนั้น ประวัติศาสตร์ของปัตตานีก็คือประวัติศาสตร์ที่ชนชั้นนำปัตตานีกลุ่มต่างๆต่อสู้กันเองและต่อสู้กับชนชั้นนำหรืออำนาจรัฐภายนอกที่มาคุกคามความอยู่รอดของตนเอง ในที่นี้คือรัฐไทย การต่อสู้และการปรับตัวดังกล่าวทำให้เกิดพลวัตของการเมืองที่ส่งผลมาถึงการต่อสู้และความขัดแย้งในปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงรัฐไทยต่อชนชั้นนำทางศาสนา
มาตรการที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ในการบูรณาการของกรุงเทพก็คือการใช้ กฎหมายไทย แทนที่กฎหมายชาริอะและอาดัดยกเว้นกรณีกฎหมายครอบครัวและมรดก ในขณะที่มาตรการทางการบริหารและการคลังของการปฏิรูปทำ ให้ ชนปกครองศักดินาเก่าไม่พอใจ การยกเลิกกฎหมายอิสลามและกฎหมายตามประเพณีกระตุ้นความรู้สึกในส่วนลึกของคนมลายู มุสลิม โดยทั่วไปซึ่งมองว่าความผูกพันทางศาสนาเป็นแกนกลางของการดำ รงชีวิตและความศรัทธาที่พวก เขายินยอมที่จะเสียสละแม้ชีวิตเพื่อให้ ได้มาตัวอย่างของความพยายามในการต่อต้านการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะดังกล่าวก็คือข้อเรียกร้องของเจ้าเมืองปัตตานีเต็งกูอับดุลกาเดห์ กามารุดดิน ในช่วงขณะที่มีการเจรจากับตัวแทนของฝ่ายสยามเรื่องการมอบอำนาจให้รัฐสยาม เจ้าเมืองปัตตานี ขอให้ เมืองปัตตานีมีการบริหารเช่นรัฐเปรัค กล่าวคือให้ เจ้าเมืองยังคงมีอำนาจบางอย่าง พร้อมทั้งมี การใช้ กฎหมายอิสลามและภาษามลายู เป็นภาษาของทางราชการ แต่ได้รับการปฏิเสธ นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นยังมีหลักฐานอ้างว่าทางการไทยหลอกเจ้าเมืองปัตตานีเพื่อให้ ลงนามในสัญญา แต่สัญญากลับถูกแปลเป็นภาษามลายู จากภาษาไทยซึ่งมีข้อความไม่ตรงกับความต้องการของเจ้าเมือง จะเห็นได้ ว่าความต้องการของเจ้าเมืองปัตตานีก็คือรักษาลักษณะสำคัญของรัฐสุลต่านมลายู คือ กฎหมายอิสลามและภาษามลายู เพราะลักษณะที่ สำคัญของรัฐสุลต่านแบบปัตตานี ก็คือ ระบบการเมืองใน สภาพสังคมที่เน้นหนักในด้านศาสนา ระบบนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของชาริอะห์ และการปฏิบัติตามประเพณีสังคมมลายู ยุคก่อนอิสลามซึ่งมีอยู่ ก่อนแล้วหรือที่เรียกว่าอาดัดและระบบนี้จะถูกปกครองโดยคนมุสลิมที่ค่อนข้างเคร่งครัดทางศาสนากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายทางศาสนาในโครงสร้างอำนาจชนชั้นนำในสังคมมลายูปัตตานีในที่นี้ก็คือชนชั้นนำทางศาสนา ผู้นำทางศาสนาเชื่อว่าการยินยอมต่ออำนาจการปกครองที่ไม่ใช่อิสลามเป็นสิ่งที่ไม่อนุมัติในอิสลาม ดังนั้นชนชั้นนำทางศาสนาจึงร่วมมือกับชนชั้นสูงในการต่อต้านการปฏิรูป ตัวอย่างเช่นกรณีของสายบุรีและรามันที่มีการประท้วงต่อคำสั่งของรัฐไทยโดยชนชั้นนำทางศาสนา ในห้วงเวลาหลังจากนั้นบทบาทการต่อสู้ทางการเมืองของชนชั้นนำทางศาสนาก็สูงเด่นมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสองประเด็นคือ เรื่องระบบยุติธรรมหรือกฎหมายอิสลามและระบบการศึกษาของมลายูอิสลาม
ในเมื่อชนชั้นนำตามประเพณีซึ่งเป็นชนชั้นปกครองเก่าและชนชั้นนำทางศาสนามีอำนาจมากในโครงสร้างสังคม การดำเนินการทางการเมืองที่กระทบต่ออำนาจของกลุ่มอำนาจดังกล่าวย่อมจะทำให้เกิดปัญหาและวิกฤติการณ์ทางการเมือง ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้อำนาจชนชั้นนำตามประเพณีได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและมีผลต่อวิกฤติการณ์ทางการเมืองในยุคต่อมาจนถึงสมัยปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรมองข้ามพลวัตและการปรับตัวภายในของโครงสร้างอำนาจที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่อสู้และความขัดแย้งทางการเมืองเหล่านี้ด้วย พลวัตและการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทั้งภายในตัวของกลุ่มชนชั้นนำเองและเกิดจากตัวแปรสถานการณ์ภายนอก เช่นนโยบายและการต่อสู้กับรัฐไทย หรือเกิดจากพลังภายนอก อิทธิพลจากปัจจัยระหว่างประเทศ พลวัตเหล่านี้ทำให้บทบาททางการเมืองของชนชั้นนำปัตตานีมีวิวัฒนาการที่ซับซ้อนตามไปด้วย
การบูรณาการชาติด้วยระบบการศึกษา
จากการวิเคราะห์ที่ผ่านมาข้างต้น จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าธรรมชาติของสังคมปัตตานีในอดีตที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบันทำให้ชนชั้นนำทางศาสนามีบทบาทนำในกิจกรรมชุมชน กิจกรรมทุกอย่างในหมู่บ้านจะให้ความสำคัญกับศาสนา ดังนั้นในโอกาสสำคัญทางศาสนา พิธีกรรมและประเพณีจะต้องให้ผู้นำทางศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง ชนชั้นนำทางศาสนายังปฏิบัติหน้าที่เป็นสื่อกลางภายในชุมชนและเป็นตัวเชื่อมระหว่างประชาชนกับรัฐบาล กลุ่มดังกล่าวจึงได้รับการเคารพนับถือและไดัรับการพิจารณาว่าเป็นผู้นำที่มีความชอบธรรมที่สุดในชุมชน จุดที่สำคัญก็คือ ในบรรดาชนชั้นนำทางศาสนาทั้งหมด ครูสอนศาสนาเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะบทบาทของพวกเขาก็คือผู้ให้การศึกษาทางด้านศาสนาและมีอำนาจอันลี้ลับทำให้พวกเขาอยู่ในสถานภาพที่สูงกว่าชนชั้นนำกลุ่มอื่น ครูสอนศาสนาเป็นผู้มีความรู้ในทางศาสนา พวกเขาจะมีหน้าที่สอนในโรงเรียนปอเนาะและโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ในมัสยิดและบาลาเซาะ ในชุมชน ครูสอนศาสนาได้รับฐานะเป็นชนชั้นนำเพราะมีการศึกษาทางศาสนาและมีอาชีพสอนศาสนาครูสอนศาสนาอาจจะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ครูสอนศาสนาแบบเก่าตามจารีตประเพณี โต๊ะครู) และครูสอนศาสนาแบบใหม่ที่ไม่ใช่จารีตประเพณี อุสตาซ) ครูสอนศาสนาแบบเก่าคือผู้ที่ได้รับการศึกษาศาสนาจากสถาบันการศึกษาแบบเก่าตามโรงเรียนปอเนาะในท้องถิ่น ในมัสยิดหรือจากเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบีย พวกนี้ถือว่าเป็นผู้มีอำนาจความชอบธรรมมากที่สุดในเรื่องเกี่ยวกัอิสลามและเป็นผู้ที่มีอิทธิพลและได้รับการเคารพนับถือมากที่สุดในกลุ่มของชนชั้นนำทางศาสนา ครูสอนศาสนาที่เรียกว่าอุสตาซส่วนใหญ่จบการศึกษาอย่างเป็นทางการจากโรงเรียนสอนศาสนาและจากมหาวิทยาลัย ส่วนมากคนพวกนี้จะจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยจากประเทศตะวันออกกลางและประเทศอาฟริกาเหนือ หรือจากโรงเรียนสอนศาสนาในมาเลเซียและอินโดนีเซีย อุสตาซเป็นกลุ่มผู้นำศาสนาที่มีความสำคัญและอิทธิพลมากเป็นลำดับสอง
การเปลี่ยนแปลงที่รัฐไทยกระทำต่อระบบการศึกษาทางด้านศาสนาของปัตตานีก็มีผลต่อชนชั้นนำด้วย ฐานที่สำคัญของความคิดอนุรักษนิยมแบบมลายูมุสลิมตั้งอยู่ที่ระบบการศึกษาแบบเก่าหรือระบบโรงเรียนปอเนาะ ส่วนการศึกษาแบบใหม่ในสายสามัญก็เป็นฐานในการสร้างชนชั้นนำใหม่ รัฐไทยก็พยายามสร้างชนชั้นนำใหม่ที่มาจากคนส่วนน้อยให้ทำงานในระบบราชการและขึ้นอยู่กับรัฐชาติ การต่อสู้อย่างรุนแรงในเรื่องการศึกษาเริ่มในปี พ.. ๒๔๖๕ ชนชั้นนำมลายูมุสลิมมองว่ากฎหมายการศึกษาภาคบังคับฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้คนปัตตานีกลายเป็นคนสยาม พร้อมทั้งละทิ้งศาสนาและวัฒนธรรมของตนเอง ประเด็นที่สำคัญสำหรับพวกเขาก็คือไม่ควรเปิดตัวเด็กรุ่นใหม่สู่ระบบการศึกษาที่ทำให้พวกเขาถูกหันเหออกจากแนวทางศาสนาอิสลาม ผลที่ตามมาก็คือมีการต่อต้านการบังคับใช้กฎหมายการศึกษาภาคบังคับของไทยและการแบ่งรายได้ภาษีที่เก็บมาจากคนมลายูให้ส่วนกลาง ในปี พ.. ๒๔๖๕ จึงเกิดกบฏที่หมู่บ้านนํ้าใสที่อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานีดังที่กล่าวไปแล้ว โดยมีผู้นำคือตนกู อับดุลกาเดห์ กามารุดดินอดีตเจ้าเมืองปัตตานี ร่วมกับผู้นำศาสนาปลุกระดมให้มีการต่อต้านรัฐไทยที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาภาคบังคับ โดยในกฎหมายบังคับให้เด็กมลายูมุสลิมทุกคนเข้าเรียนโรงเรียนประถมศึกษาไทย จนเกิดการปะทะกันระหว่างชาวบ้านกับทหารและตำรวจ ซึ่งจบลงด้วยการปราบปรามอย่างรุนแรง ในปีถัดมา ทางการไทยก็สั่งปิดโรงเรียนสอนศาสนามีผลทำให้การประท้วงต่อต้านขยายตัวลุกลามออกไปและรัฐบาลไทยต้องส่งกองกำลังเข้ามาปราบปรามอย่างรุนแรง
Surin
กล่าวโดยสรุป นโยบายบูรณาการทางการเมืองโดยผ่านระบบการศึกษาถูกดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ดังต่อไปนี้
๑. การขยายโรงเรียนประถมศึกษาในทุกๆหมู่บ้าน
๒.การขยายโรงเรียนมัธยมศึกษาในทุกอำเภอ
๓.การสร้างโรงเรียนอาชีวศึกษาชั้นต้นในทุกเมืองของจังหวัดชายแดนภาคใต้
๔.การสร้างวิทยาลัยครูยะลาและมหาวิทยาลัยคือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
๕. เปลี่ยนโรงเรียนปอเนาะไปเป็นระบบโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่รัฐให้การสนับสนุนทางการเงิน
๖.นับตั้งแต่ปี พ.. 2513 มีการกําหนดโควต้าสำหรับการรับนักศึกษามลายูมุสลิมให้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยในประเทศส่วนกลาง
๗.การรับคนมลายูมุสลิมที่จบการศึกษาในระบบไทยเข้าสู่ระบบราชการ
ปัญหาของนโยบายการศึกษาของรัฐบาลในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดจากกรอบของนโยบายการ
สร้างบูรณาการและเอกภาพของชาติซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาเดิมของปัตตานีทั้งระบบ รัฐต้องการให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างชาวบ้านมุสลิมกับข้าราชการไทยเพื่อให้เกิดบูรณาการแห่งชาติ สิ่งนี้ถูกถือเป็นปัจจัยสำคัญของนโยบายผสมกลมกลืนและบูรณาการแห่งชาติ แต่ภายใต้กรอบดังกล่าวขีดจำกัดก็เกิดขึ้น ข้าราชการมุสลิมซึ่งถูกสร้างขึ้นมาในระบบการศึกษาแบบของรัฐและเป็นคนกลุ่มน้อยในระบบราชการ มีจำนวนเพียงน้อยนิดในระบบราชการจังหวัดภาคใต้ ติดอยู่กับความรู้สึกขัดแย้งกันสองอย่าง ด้านหนึ่งข้อเรียกร้องของระบบราชการที่ต้องการความผสมกลมกลืนและความจงรักภักดีต่อรัฐที่เป็นคนพุทธส่วนใหญ่ กับข้อเรียกร้องต้องการของประชาชนที่ต้องการการปฏิบัติที่ดี เมื่อข้าราชการที่เป็นมุสลิมเปลี่ยนชื่อเป็นไทยพวกเขาก็สูญเสียความเชื่อมั่นไว้วางใจจากประชาชนเพราะเป็นการปฏิเสธวัฒนธรรมของตนเอง แต่ถ้าข้าราชการเหล่านี้เข้าถึงประชาชน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนในท้องถิ่นและปฏิเสธที่จะยอมรับความกดดันในระบบราชการ พวกเขาก็จะเสียอนาคตในอาชีพของตน ดังนั้น แม้ว่าจำนวนข้าราชการมลายูมุสลิมจะมีจำนวนมากขึ้นอันเนื่องมาจากนโยบายการศึกษาเพื่อการผสมกลมกลืนและบูรณาการ คนเหล่านี้จะมีบทบาทน้อยมากในการเชื่อมช่องว่างระหว่างชาวบ้านมุสลิมกับรัฐ
การเลือกนับถือศาสนานั้น เป็นของใครของมัน ซึ่งโดยปรกติเรามักจะนับถือศาสนาตามบรรพบุรุษ พ่อแม่ปู่ย่าตายาย พานับถือศาสนาอะไรก็นับถืออย่างนั้นสืบต่อกันมาเป็นรุ่นๆไป มักจะไม่ค่อยมีใครเปลี่ยนศาสนา แต่ก็มีบ้างและน้อยมาก จนไม่ค่อยมีใครสนใจสำรวจเอาไปทำสถิติ เชื้อชาตินั้น เป็นของใครของมัน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะจะได้ติดตัวตั้งแต่เกิดตามเชื้อชาติของพ่อแม่ไปจนกระทั่งตาย แม้ว่าตัวเองจะตายไปแล้วแต่ยังสามารถมีลูกหลานเอาไว้ทายาทเป็นมรดกสืบทอดเชื้อสายชาติพันธุ์ของตัวเองให้ยืนยาวบนโลกเล็กๆ ใบนี้ต่อไปอีกในเมื่อพื้นที่ของโลกเริ่มมีจำกัด ทำให้แต่ละเชื้อชาติก็พยายามสร้างอาณาจักรให้กับตัวเองและลูกหลาน และแน่นอนเผ่าพันธุ์เชื้อสายชาติพันธุ์ไหนแข็งแรงก็ย่อมที่จะรุกรานเผ่าพันธุ์เชื้อสายชาติพันธุ์ที่อ่อนแอกว่าเป็นธรรมชาติ บางเผ่าพันธุ์เชื้อสายชาติพันธุ์สู้ไม่ได้ทำลายจนสูญหายไปจากแผนที่โลกเลยก็มี บางเผ่าพันธุ์เชื้อสายชาติพันธุ์คงอยู่ แต่ภายใต้การปกครองของเผ่าพันธุ์เชื้อสายชาติพันธุ์ที่แข็งแรงกว่า บ้างก็ถูกกลืน บ้างก็ถูกทำลาย  คนสัญชาติไทยเชื้อชาติมาลายูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในประเทศไทย ก็พยายามรักษาอัตลักษณ์เผ่าพันธุ์เชื้อสายชาติพันธุ์ของตนเอาไว้ด้วยชีวิตเช่นเดียวกัน ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงถูกบิดเบือนให้เป็นเรื่องของความขัดแย้งในศาสนา ทั้งที่ความจริงเป็นความขัดแย้งในเรื่องเผ่าพันธุ์เชื้อสายชาติพันธุ์มาลายูล้วนๆ ผสมรวมกับปัญหาผลประโยชน์ ปัญหายาเสพติด ความไม่ยุติธรรม การถูกรังแกโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทำให้เรื่องความขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรงจึงมีลักษณะพิเศษที่ จุดติดง่ายและดับยาก
 กลุ่มขบวนการเปรียบได้ดังไม้ขีดไฟหรือชนวน ความขัดแย้งในเรื่องเผ่าพันธุ์เชื้อสายชาติพันธุ์มาลายูเปรียบได้ดังเชื้อเพลิงขอนไม้ ประเภทไฟสุมขอน แม้ว่าไฟจะถูกดับไปแล้วแต่ถ้าได้ลมหรือออกซิเจนซึ่งได้แก่ ความไม่ยุติธรรม การถูกรังแกโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ อีกเมื่อไหร่ฟืนก็พร้อมที่จะให้ไฟลุกโชนขึ้นมาอีกครั้งได้ตลอดเวลาและยิ่งฝ่ายรัฐเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองตำรวจ ทหารใช้วิธีการที่เน้นความรุนแรงเพิ่มเติมเมื่อไหร่ ก็จะเปรียบได้ดังน้ำมันที่ถูกสาดเข้าไปในกองไฟนั่นเอง
การสนับสนุนจากภายนอกประเทศที่สำคัญอีกประการคือเงินทุนสำหรับการเคลื่อนไหว ซึ่งมักจะได้รับเงินบริจาคจากกลุ่มตระกูลร่ำรวยในบรรดาประเทศมุสลิม ส่วนภายในพื้นที่ก็มีการเรี่ยไรขอบริจาค การระดมเงินทุนอาจจะกระทำกันในนามขององค์กรการกุศลต่างๆ นอกจากนี้ยังมีแหล่งเงินทุนหลักจากการสนับสนุนของผู้เลื่อมใสต่อแนวทางการต่อสู้ของขบวนการ รายได้หลักอีกส่วนหนึ่งจะได้มาจากการเรียกเก็บค่าคุ้มครองในผลประโยชน์ต่างๆ รวมถึงการจับคนเรียกค่าไถ่ด้วยเช่นกัน เงินทุนของขบวนการเหล่านี้ก็จะหมดไปกับภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติการ การดำเนินงาน และการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกนั่นเอง
กล่าวได้ว่าในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๒๒ เป็นช่วงเวลาที่กองกำลังติดอาวุธของขบวนการทั้งสามกลุ่มปฏิบัติการได้เข้มแข็งมากที่สุด ทั้งด้วยการดักซุ่มและเข้าโจมตีฐานที่ตั้งของเจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยราชการอื่นๆ เป็นระยะ รวมทั้งมีการจับคนเรียกค่าไถ่และเรียกเก็บค่าคุ้มครองกับนักธุรกิจที่มีบริษัทห้างร้านอยู่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนไหวเหล่านี้ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตลอดถึงคนไทยโดยทั่วไปพากันไม่เห็นด้วยกับการกระทำเยี่ยงโจรโดยใช้ศาสนาบังหน้าของกลุ่มบุคคลเหล่านี้ รัฐบาลไทยต้องส่งเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติพิเศษที่เป็นกองกำลังผสมทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครรักษาดินแดน (อ.ส.) ร่วมกันปฏิบัติการในพื้นที่ ตัวเลขของรัฐบาลยอมรับว่าช่วงเวลาดังกล่าวมีรายงานเหตุการณ์ปะทะกับกองกำลังชาวมาเลย์มุสลิมจำนวน ๓๘๕ ครั้ง ชาวมาเลย์มุสลิมเสียชีวิตจำนวน ๓๒๙ ราย เข้ามอบตัวกับทางการ ๑๖๕ ราย ถูกจับกุมอีก ๑,๒๐๘ ราย ยึดอาวุธปืนได้เป็นจำนวน ๑,๕๔๖ กระบอก และเผาทำลายค่ายพักของขบวนการได้อีก ๒๕๐ แห่ง แต่การสูญเสี่ยที่ร้ายแรงที่สุดนั้นตกอยู่กับ ประชาชนผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่ทุกหมู่เหล่า ทุกศาสนา ดังจะเห็นได้จากอัตราการเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่ ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน
ดินแดนแห่งนี้อยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรโบราณ ดังเช่น อาณาจักรศรีวิชัยและอาณาจักรลังกาสุกะมาก่อน ภายหลังเมื่อสยามเรืองอำนาจ สยามได้เข้าไปมีบทบาทในดินแดนแห่งนี้เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบันแต่ชาวมาเลย์มุสลิมบางส่วนในพื้นที่มองว่าดินแดนแห่งนี้เป็นดินแดนของตนโดยไม่ได้มองถึงความจริงทางประวัติศาสตร์ ว่าก่อนที่มุสลิมจะเข้ามามีบทบาทชาวพุทธและฮินดูได้ฝังรากอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาก่อนตน ชาวมาเลย์มุสลิมบางส่วนยังมองว่ารับบาลไทยได้รวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางอำนาจรัฐที่กรุงเทพฯ และดำเนินนโยบายผสมกลมกลืนชนชาวมาเลย์มุสลิมอย่างต่อเนื่อง แต่ในความเป็นจริงที่กลุ่นคนเหล่านี้ไม่เคยอธิบายคือ ประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งผู้แทนและผู้แทนส่วนใหญ่จากการเลือกตั้งก็เป็นคนในพื้นที่ทั้งสิ้น บุคคลในพื้นที่ ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั่วประเทศก็มีอย่างเช่น ท่าน วันมูหะมัดนอร์ มะทา ที่ได้เคยเป็นถึงประธานรัฐสภา ปัญหาใดๆที่เกิดในพื้นที่ ควรได้รับการร้องเรียนผ่านผู้แทนของตน แก้ปัญหาด้วยสันติวิธีตามแนวทางที่แท้จริงของชาวอิสลามที่รักสันติ ไม่ใช่การแก้ปัญหาด้วยการต่อสู้ตามรูปแบบของขบวนการแบ่งแยกดินแดน และ ทำร้ายประชาชนบริสุทธิ์ ไม่มีอาวุธไม่มีทางสู้ ความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ต้องการแบ่งแยกดินแดนในช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา จึงถูกมองว่าเป็นการกระทำของกลุ่มคนที่ไม่หวังดี ไม่มีความคิดในการดำรงชีวิตด้วยสันติ ตามหลักการที่ดีงามของศาสนาอิสลาม กลุ่มคนเหล่านี้พยายามนำความต้องการส่วนตัว มาเกี่ยวของกับศาสนาอิสลาม อ้างว่า รัฐบาล พยายามเข้าควบคุมชุมชนชาวมาเลย์มุสลิม เป็นการคุกคามต่อวัฒนธรรมประเพณีและศาสนาอันเป็นวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของพวกเขา ทั้งที่ในความเป็นจริงชาวมาเลย์ไม่ใช่ชนกลุ่มน้อยกลุ่มเดียวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และก็ไม่ใช่ ชนกลุ่มน้อยกลุ่มเดียวที่ไม่พอใจการทำงานบางอย่างของรัฐบาลไทย แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มเดียว ที่ไม่สามารถหาทางออกและแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ขบวนการแบ่งแยกดินแดนยังไม่อาจจะบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากมีเหตุผลจากความแตกแยกระหว่างกัน และการไร้ประสิทธิภาพของขบวนการต่อสู้ และยังรวมถึงการขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศเพื่อนบ้านและรัฐบาลของประเทศมุสลิมอื่นๆ ด้วย เนื่องจาก รัฐบาลของประเทศเหล่านั้นรู้ดีถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาด้วยสินติวิธี ตามแบบอย่างอันดีของศาสนาอิสลาม รัฐบาลของประเทศเหล่านั้นจึงเลือกที่จะสร้างระบบความร่วมมือทางด้านไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ กับประเทศไทยมากกว่าที่จะส่งเสริมความรุนแรง
ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีนโยบายบีบบังคับให้ประชาชนละทิ้งวัฒนธรรม และ ศาสนาดั้งเดิมของตนตามที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนใช้เป็นข้ออ้างแต่อย่างได้ รัฐบาลกลับสนับสนุนให้ประชาชนอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านของตนเองด้วยซ้ำไป แต่นโยบายของรัฐในสมัยรัฐบาล ทักษิณ ที่มุ่งแก้ไขปัญหาการแบ่งแยกดินแดนด้วยมาตรการทางเศรษฐกิจ เพียงอย่างเดียว ดูเหมือนจะไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องนัก นี่เป็นสิ่งที่รัฐบาลชุดต่อๆไปต้องนำไปปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของคนในพื้นที่ ทุกหมู่ ทุกศาสนา
ในขณะที่รัฐบาลไทยมองเห็นปัญหาของการแบ่งแยกดินแดนว่าเป็นการท้าทายต่อเอกภาพของประเทศ ชนชาติส่วนน้อยชาวมาเลย์มุสลิมกลับนิยามความหมายของการปกครองตนเองว่า เป็นสิทธิพื้นฐานอันชอบธรรมของพวกเขาเอง การเคลื่อนไหวเพื่อแบ่งแยกดินแดนจึงยังคงดำรงอยู่ตลอดมา มีเพียงแต่ความตั้งใจที่จะนำเสนอแนวทางการสร้างสรรค์เอกภาพบนความแตกต่างหลากหลายเท่านั้น ที่จะทำให้ขบวนการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนจำต้องลดบทบาทลงไป จนหันเข้ามายอมรับกระบวนการบูรณาการแห่งชาติได้ในท้ายที่สุด
การที่รัฐเน้นความเป็นเอกภาพของประเทศเป็นหลัก จนกลายเป็นการละเลยความสำคัญของความมั่นคงของมนุษย์และสิทธิมนุษย์ชนลงไปในระดับที่ด้วยกว่าความมั่นคงของชาติ จึงได้สรุปภาพรวมของของปัญหาได้ดังนี้
ด้านการเมืองมองว่าความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัจจัยบางส่วนมาจากศาสนา ซึ่งก่อนจากมุมมองที่ต่างกันระหว่างรัฐกลับประชาชนมุสลิมในพื้นที่ จนกลายเป็นความขัดแย้งตามมา ปัจจัยต่อมาเกิดจากความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์ทางการเมืองของปัตตานีที่แตกต่างกันระหว่างฝ่ายรัฐกับประชาชนในพื้นที่ โดยมีผลต่อการกำหนดความสัมพันธ์กันอย่างเลี่ยงไม่ได้ทั้งสองปัจจัยนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองจึงเป็นสาเหตุของปัญหาทางการเมืองปัจจัยสุดท้ายเกิดจากกลไกของรัฐที่เอื้อต่อการเกิดความขัดแย้งจนกลายเป็นความรุนแรงในพื้นที่ ประกอบกับความอ่อนแอของสังคมไทยได้กลายเป็นแรงเสริมในการทำงานของรัฐชอบธรรมยิ่งขึ้น ซึ่งเห็นได้จากนโยบายของรัฐในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ด้านเศรษฐกิจเกิดขึ้นจาก ๒ ปัจจัย กล่าวคือความยากจน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ประชาชนในพื้นที่บางส่วนอพยพออกจากพื้นที่เพื่อหาเลี้ยงชีพ หรืออีกนัยหนึ่งคือ การขาดความมั่งคงในการดำเนินชีวิตโดยเห็นว่าควรมีการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพแก่ประชาชนที่สอดคล้องกับความหลากหลายของทรัพยากรในพื้นที่เพื่อสร้างจุดแข็งให้กับเศรษฐกิจในท่องถิ่นนอกจากปัญหาความยากจนแล้ว ปัญหาการเรื่องสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้งตามมาโดยนอกจากจะเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนแล้วยังเป็นความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่อีกด้วย เพราะฉนั้นรัฐต้องสร้างความชัดเจนในเรื่องสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรของชุมชนโดยคำนึงถึงคุณประโยชน์ที่ประชาชนพึงได้รับอย่างทั่วถึง
ด้านสังคมและวัฒนธรรม มองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการที่รับไทยขาดความเข้าใจในอัตลักษณ์ของความเป็นมุสลิมของคนในพื้นที่จนกลายเป็นความกดทับอัตลักษณ์ของความเป็นมุสลิมลงไป และถูกแทนที่ด้วยความเป็นไทยที่รัฐพยายามสร้างให้ประชาชนในพื้นที่
ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากสาเหตุด้านการศึกษา มีที่มาจากความพยายามที่รัฐจะเข้าไปควบคุมการศึกษาของสถาบันปอเนาะซึ่งเป็นแหล่งให้การศึกษาดั้งเดิมของศาสนาอิสลาม จากการเข้าควบคุมการศึกษาของปอเนาะ รวมถึงการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่ใช้อยู่ทั่งประเทศได้กลายเป็นชนวนให้เกิดการปฏิเสธระบบการศึกษาไทยของคนในพื้นที่บางส่วน การแก่ปัญหาจึงต้องเริ่มจากการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษาโดยตั้งอยู่บนความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับมากที่สุด
คนสัญชาติไทยเชื้อชาติมาลายูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในประเทศไทย ก็พยายามรักษาอัตลักษณ์เผ่าพันธุ์เชื้อสายชาติพันธุ์ของตนเอาไว้ด้วยชีวิตเช่นเดียวกัน ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงถูกบิดเบือนให้เป็นเรื่องของความขัดแย้งในศาสนา ทั้งที่ความจริงเป็นความขัดแย้งในเรื่องเผ่าพันธุ์เชื้อสายชาติพันธุ์มาลายูล้วนๆ ผสมรวมกับปัญหาผลประโยชน์ ปัญหายาเสพติด ความไม่ยุติธรรม การถูกรังแกโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทำให้เรื่องความขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรงจึงมีลักษณะพิเศษที่ จุดติดง่ายและดับยาก กลุ่มขบวนการเปรียบได้ดังไม้ขีดไฟหรือชนวน ความขัดแย้งในเรื่องเผ่าพันธุ์เชื้อสายชาติพันธุ์มาลายูเปรียบได้ดังเชื้อเพลิงขอนไม้ ประเภทไฟสุมขอน แม้ว่าไฟจะถูกดับไปแล้วแต่ถ้าได้ลมหรือออกซิเจนซึ่งได้แก่ ความไม่ยุติธรรม การถูกรังแกโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ อีกเมื่อไหร่ฟืนก็พร้อมที่จะให้ไฟลุกโชนขึ้นมาอีกครั้งได้ตลอดเวลาและยิ่งฝ่ายรัฐเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองตำรวจ ทหารใช้วิธีการที่เน้นความรุนแรงเพิ่มเติมเมื่อไหร่ ก็จะเปรียบได้ดังน้ำมันที่ถูกสาดเข้าไปในกองไฟนั่นเอง ด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรม ภาษา ศาสนา อันเป็นเอกลักษณ์ของชายแดนใต้ นำมาซึ่งความต้องการรักษาอัตลักษณ์นั้นไว้ แต่แปรเปลี่ยนเป็นความไม่เข้าใจ นำสู่ความขัดแย้งและความรุนแรงในที่สุด แต่ด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริงซึ่งความแตกต่างนั้น จะสามารถนำความสันติสุขคืนมาได้ดังเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น