วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

โรคอ้วนกับการบริโภค นางสาวศศิวิมล ใจยาเก๋ 53242605


บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง โรคอ้วนกับการบริโภค


ในช่วง 10 ที่ผ่านมา คนไทยประสบปัญหาโรคอ้วนในเด็กมากที่สุดในโลก และในปี 2553 ที่ผ่านมา เรื่องราวผู้มีภาวะโรคอ้วนรุนแรง ขนาดต้องใช้เครื่องจักรขนย้ายร่างกายออกจากที่พักอาศัย เพื่อนำส่งโรงพยาบาล ถูกจุดกระแสอยู่ชั่ววูบหนึ่งก่อนจางหาย นับเป็นหนึ่งในข่าวคราวมหันตภัยจากความอ้วนล้นเกินที่แพร่กระจายอยู่ในสังคม กระนั้น โรคอ้วนกลับไม่มีที่ท่าหยุดแพร่ระบาด หากแต่ทวีความรุนแรงจากแรงโหมกระตุ้นการบริโภคด้วยพลังทางการตลาด ขณะเดียวกันปฏิกิริยาสะท้อนกลับของการรณรงค์กลับเพราะความเกลียด ความกลัวความอ้วน และการโหยหาร่างกายที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งกระตุ้นการบริโภคในอีกรูปแบบหนึ่ง  ความอ้วนนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บมากมาย นี่เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้หลายคนพยายามจะลดความอ้วนให้ได้ แต่จะลดความอ้วนได้อย่างไรในเมื่อมีของอร่อยๆ คอยยั่วยวนตลอดเวลา ไม่ว่าตามร้านอาหารซูเปอร์มาเก็ต หรือแม้แต่ในห้องนอนก็มีโฆษณามากระตุ้นกิเลส คนเป็นอันมากพร้อมทำทุกอย่างเพื่อลดความอ้วน จะให้อบเซาน่าก็ได้ ดูดไขมันก็ยอม ขอเพียงอย่างเดียวคือขอให้ได้กินอย่างสะดวกปากอย่างเคยก็แล้วกัน ด้วยเหตุนี้เมื่อมีข่าวว่าต่อไปในอนาคตเราสามารถลดความอ้วนได้โดยเพียงแค่เปลี่ยนถ่ายยีน หรือฉีดเลปตินเข้าไป หลายคนจึงรู้สึกเหมือนกับจะได้ขึ้นสวรรค์เลยทีเดียว
ปัญหาจากการบริโภคมากเกินไปไม่เพียงรังควานสิ่งแวดล้อมเท่านั้น หากยังตามมาถึงเนื้อถึงตัวเราและฝังอยู่ใต้ผิวหนังตลอดจนตามเส้นเลือดต่างๆ ในรูปไขมัน เราถูกกระตุ้นให้บริโภคไม่หยุดด้วยความเชื่อว่าการบริโภคจะให้ความสุขแก่เรา และเมื่อมีปัญหาจากการบริโภคขึ้นมา เราก็ถูกทำให้เชื่อว่าและหวังว่าด้วยการบริโภคนั่นแหละ ปัญหาจะแก้ไขได้ ถ้าอ้วนนักหรือก็มี ยาวิเศษให้บริโภค ถ้าเป็นโรคหัวใจก็ไม่ต้องทำอะไรดอก เพียงแต่ บริโภคบริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาลชั้นหนึ่ง ซึ่งอ้างว่ามีเทคโนโลยีนานาชนิดที่จะช่วยได้ ถ้าอากาศเป็นพิษมากเกินไปก็แก้ไขได้โดยการบริโภคน้ำมันไร้สารตะกั่วหรือซื้อรถยนต์ที่มีเครื่องกรองมลพิษ หากเป็นห่วงว่าขยะจะท่วมเมือง ถุงย่อยสลายง่ายก็กำลังรอให้ท่านมาซื้อ
การเลือกเฟ้นสินค้าสำหรับบริโภค เป็นสิ่งจำเป็นอย่างไม่ต้องสงสัย แต่หากไม่ควบคุมการบริโภคให้อยู่ในขอบเขตแล้วก็ยากที่จะแก้ปัญหาได้ ปัญหามลพิษท่วมเมืองนั้น ลำพังเราคนเดียวคงแก้ไม่ได้ แต่ถ้าเป็นปัญหาไขมันเต็มร่างกายแล้วการรู้จักประมาณในการบริโภค เป็นวิธีแก้ปัญหาที่สำคัญเป็นอันดับแรกเลยทีเดียว
การค้นพบยีนอ้วนในด้านหนึ่งก็อาจช่วยให้เรามีปัญญา เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของตนเองดีขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ง่ายที่จะถูกกระแสบริโภคนิยมครอบงำจนทำให้ผู้คนขาดปัญญา เพราะแทนที่จะแก้ปัญหาน้ำหนักล้นเกินให้ตรงจุด ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค กลับมามีมายาคติหนักกว่าเดิม ว่าทุกอย่างจะเรียบร้อยหากมี ยาวิเศษออกมาขาย บางคนทำท่าจะไปไกลมากกว่านั้น ทันทีที่รู้ข่าวดังกล่าวก็สรุปว่า ที่ตนเองไม่สามารถลดน้ำหนักลงได้ก็เพราะเจ้ายีนตัวนี้นี่เอง ความรับผิดชอบแทนที่จะอยู่ที่ตัวเองกลับถูกผลักให้ไปตกอยู่ที่ยีนตัวนี้ กลายเป็นแพะรับบาปในทันที เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เลยหมดความเพียร คอยแต่ว่าเมื่อไรถึงจะมีการผลิตยาลดความอ้วนที่ว่าเสียที
ยีนอ้วนจะมีอยู่ในคนหรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อไป แต่ถึงมีจริง ก็ใช่ว่าชีวิตเราจะต้องตกอยู่ใต้การบงการของยีนดังกล่าวไปเสียทั้งหมด คนเรานั้นเป็นอะไรได้มากกว่าปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่กำหนดโดยยีนในเซลล์ ยีนแม้จะมีบทบาทสำคัญแต่พฤติกรรมของเราเองก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อยในการกำหนดชะตากรรมของเรา มีหลายโรคที่มีสาเหตุมาจากยีนผิดปกติแต่ปรากฏว่าคนเป็นอันมากที่มียีนดังกล่าวหาเป็นโรคดังกล่าวไม่ ทั้งนี้เนื่องจากเกี่ยวข้องกับอาหารและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง การปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภคและวิถีการดำเนินชีวิตเป็นมาตรการลดความอ้วนที่วางใจได้มากที่สุด จะทำเช่นนั้นได้ก็ต้องรู้เท่าทันกระแสบริโภคนิยม ไม่หลงตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาชวนเชื่อที่คอยปลุกเร้าให้ต้องบริโภคไม่หยุดหย่อน กระแสบริโภคนิยมนั้นไม่เพียงแต่จะเอารสอร่อยของสิ่งเสพมายั่วยวนให้เราเกิดความอยากเท่านั้น หากยังเอาภาพพจน์และรูปลักษณ์มาล่อ คนเป็นอันมากจึงไม่ได้กินน้ำอัดลม แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า ตลอดจนอาหารต่างๆ ที่บ่มไขมันได้ดีเพียงเพื่อหวังความเอร็ดอร่อยเท่านั้น หากยังต้องได้ชื่อว่าเป็นคนทันสมัย มีรสนิยมและดูโก้เก๋
กล่าวได้ว่าความอ้วนนั้นเป็นผลผลิตของสังคมบริโภคโดยแท้ ที่พูดนี้มิใช่ว่า สังคมอื่นหรือในอดีตไม่มีคนอ้วน คนอ้วนมีมาทุกยุคทุกสมัย แต่ไม่เคยเป็นปัญหาของคนหมู่มากอย่างในปัจจุบัน อันที่จริงสังคมบริโภคไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาความอ้วนขึ้นมาโดยการส่งเสริมให้ผู้คนพอกพูนไขมันตามร่างกายอย่างเป็นล่ำเป็นสันเท่านั้น ปัญหาความอ้วนส่วนหนึ่งยังเกิดขึ้นเพราะผู้คนถูกทำให้รู้สึกว่าตนมีร่างกายอ้วนน้ำหนักเกิน เวลานี้คนเป็นอันมาก ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่พากันรู้สึกว่ารูปร่างของตนไม่ได้ มาตรฐานคำถามคือ มาตรฐานดังกล่าวได้มาอย่างไร? จริงอยู่ปัจจุบันมีการกำหนดเกณฑ์วัดโดยอาศัย ดรรชนีความหนาของร่างกายแต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเอาน้ำหนักตัวหารด้วยความสูงยกกำลังสองหารได้ผลลัพธ์เกิน ๒๕ ก็แสดงว่าอ้วนแล้ว ถ้าเช่นนั้น มาตรฐานที่ว่านั้นเอามาจากไหน? คำตอบคือเอามาจากสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อเพื่อการโฆษณาและการบันเทิง ซึ่งมุ่งเพื่อการบริโภคโดยตรง รูปร่างทรวดทรงของพรีเซนเตอร์ ดาราและนางแบบได้กลายมาเป็นมาตรฐานที่คนทั่วไปเอามาเปรียบเทียบกับตัวเองหรือผู้อื่น แต่จะมีสักกี่คนที่มีรูปร่าทรวดทรงเช่นนั้นผลก็คือความรู้สึกว่าร่างกายของตนเป็นปัญหาจึงเกิดขึ้นกับคนเป็นอันมาก ถ้าไม่รู้สึกว่าเตี้ยเกินไป หน้าอกเล็กเกินไป ก็คิดว่าอ้วนเกินไป
ความรู้สึกที่ไม่พอใจในร่างกายของตนนั้นจะเรียกว่าเป็นปรากฏการณ์เฉพาะตัวของสังคมบริโภคก็ย่อมได้ สมัยก่อนนั้นไม่ค่อยมีการกำหนดรูปร่างที่เป็น มาตรฐานอย่างเวลานี้ จริงอยู่ทุกสังคมต่างก็มีเกณฑ์ความงามกันทั้งนั้น แต่ก็มักเป็นที่อุดมคติจนหลุดลอยจากความเป็นจริงเวลากวีพรรณนาความงามของนางสีดาหรือบุษบา ใครๆ ก็รู้ว่าคนแบบนี้มีอยู่เฉพาะในวรรณคดีเท่านั้น ภาพปั้นหรือภาพวาดแม้จะงามเพียงใด ก็เป็นแค่จินตนาการ ต่อเมื่อมีการคิดค้นกล้องถ่ายรูป ภาพยนตร์และโทรทัศน์ คนส่วนใหญ่จึงมีโอกาสเห็นทรวดทรงความงามที่เป็นจริง(ทั้งของหญิงและชาย) แต่สื่อเหล่านั้นมาถูกใช้อย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้ชมการเกิดลอกเลียนเอาอย่างความงามเหล่านั้นก็ในยุคบริโภคนิยมนี้เอง การโหมประโคมโฆษณาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยภาพพรีเซนเตอร์ มีรูปร่าง สมส่วนทำให้เกิดทัศนคติอย่างแพร่หลายว่ารูปนั้นเป็นทรัพย์ที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะสามารถเป็นปัจจัยให้ได้คู่ครองที่งดงาม เป็นที่ไว้วางใจของเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชาและยังอาจถางทางไปสู่อำนาจได้ด้วย แต่ยิ่งให้คุณค่ากับรูปร่างที่เป็น มาตรฐานเพียงใด ความทุกข์ก็ยิ่งมากเพียงนั้นเมื่อพบว่าตนเองไม่สามารถมีร่างกายเช่นนั้นได้
กระแสบริโภคนิยมในด้านหนึ่งพยายามกระตุ้นให้เราบริโภคจนอ้วน แต่ถ้าหากเราไม่อ้วน เราก็จะถูกโน้มน้าวให้รู้สึกว่าตนเองมีรูปร่างอ้วน(เพราะไม่เข้ากับมาตรฐานที่เขากำหนด)สิ่งที่ตามมาคือความรู้สึกเป็นทุกข์เพราะความอ้วนถูกวาดภาพให้เป็นสิ่งเลวร้ายมิใช่เลวร้ายเพราะก่อปัญหาทางด้านสุขภาพเท่านั้น ความอ้วนเป็นสิ่งที่เลวร้ายมากกว่านั้นก็เพราะถูกวาดภาพว่าเป็นอุปสรรคกีดขวางไม่ให้ตนได้สิ่งปรนเปรอคือเงินทอง คู่ครอง ความโดดเด่นเป็นที่นิยมและอำนาจ ไม่มีอะไรที่จะมีความหมายต่อชีวิตในยุคบริโภคนิยมเท่ากับสิ่งเหล่านี้ เมื่อเป็นเช่นนี้การลดความอ้วน(ทั้งๆที่อาจจะไม่อ้วน) จึงเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตขึ้นมา ผลก็คืออุตสาหกรรมลดความอ้วนเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงธุรกิจทางด้านรูปลักษณ์ทรวดทรง ปัจจุบันคนอเมริกันใช้จ่ายทางด้านปรับปรุงทรวดทรงและประทินโฉมรวมกันทั้งประเทศแล้วมากกว่าค่าใช้จ่ายทางด้านการศึกษาและบริการสังคมเสียอีก
ความอ้วนจึงไม่ใช่ปัญหาทางสรีระเท่านั้น หากยังเป็นปัญหาทางทัศนคติ การแก้ปัญหานี้ด้วยการพยายามจัดการกับร่างกายของตนจึงหาเพียงพอไม่ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการปรับทัศนคติของตนเองเพื่อไม่ให้หลงติดกับภาพ มาตรฐานซึ่งสื่อต่างๆ ได้เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมาเพื่อล่อให้เราหลงบริโภคมากขึ้น เราอาจมีกรรมวิธีมากมายที่ช่วยลดน้ำหนักได้ แต่ไม่มีเทคโนโลยีใดๆ จะช่วยเราในเรื่องการปรับทัศนคติ สติปัญญาของเราต่างหากที่จะเป็นที่พึ่งของเราได้อย่างแท้จริง


หลักการและเหตุผล
โรคอ้วนเป็นภาวะที่ร่างกายมีไขมันในร่างกายมากเกิน เนื่องมาจากได้รับพลังงาน จากอาหารมากเกินกว่าที่ใช้ พลังงานส่วนเกินจะถูกเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมัน จึงทำให้ร่างกาย มีนํ้าหนักมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคข้อเสื่อม รวมถึงโรคมะเร็ง นอกจากนี้ผู้มีปัญหาโรคอ้วนยังประสบ ปัญหาทางด้านจิต สังคม และหน้าที่การงานร่วมด้วย สร้างปัญหาทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ ได้อีกทางหนึ่ง ปัจจุบันแนวโน้มการบริโภคอาหารของคนไทยเปลี่ยนไป มีการยอมรับวัฒนธรรมการบริโภคอาหารตะวันตกมากขึ้น การบริโภคอาหารของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบสังคมเมืองมากขึ้น โดยเน้นความสะดวกสบายและรวดเร็วเป็นหลัก มีการรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น นิยมรับประทานอาหารปรุงสำเร็จรูป อาหารเร่งด่วนหรืออาหารฟาสต์ฟู้ดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดจากตะวันตก ซึ่งมีระดับของพลังงานที่สูง อีกทั้งยังขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอ ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย และนำมาซึ่งสาเหตุ การเพิ่มจำนวนของโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนเด็ก และวัยรุ่นที่เป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น คนไทยกำลังประสบปัญหาทางสุขภาพสำคัญที่เรียกว่าโรคอ้วนลงพุง หรือเมตาโบลิกซินโดรม (metabolic syndrome) ปัจจัยทางด้านรูปแบบการกินอาหาร หรือบริโภคนิสัยที่ ไม่เหมาะสม และการไม่ออกกำลังกาย ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็น สาเหตุหลักของการเกิดโรคอ้วนลงพุง พฤติกรรมการกินอาหารของคนไทยที่เปลี่ยนไป กินอาหารที่มีไขมัน โปรตีน และน้ำตาลสูง แต่มีใยอาหารต่ำ มีรสเค็มจัด และเป็นอาหารที่ผ่านขบวนการเป็นส่วนมาก ประกอบกับการบริโภคในปริมาณที่มาก และไม่ได้ออกกำลังกาย ทำให้มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพจิตในเชิงลบ นำไปสู่การเจ็บป่วยและการตายด้วยโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศในขณะนี้ทิศทางการป้องกันโรคอ้วนลงพุง หรือ เมตาโบลิกซินโดรม ในปัจจุบันได้หันมาให้ความสำคัญของการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต ที่รวมถึงการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย เป็นหลัก คำแนะนำต่างๆ จะเน้นที่รูปแบบการกินอาหาร โดยให้ความสำคัญของรูปแบบการกินอาหารที่มาจากพืชเป็นหลัก เช่น การบริโภคผัก ผลไม้ และธัญชาติที่ขัดสีแต่น้อย เป็นประจำเพื่อให้มีโอกาสได้รับใยอาหารในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคดังกล่าว เน้นการบริโภคเนื้อสัตว์ในปริมาณน้อย เนื้อสัตว์ส่วนใหญ่ได้จากปลา ส่วนไขมันที่แนะนำจะเน้นที่คุณภาพไขมัน โดยแนะนำให้บริโภคอาหารที่เป็นแหล่งของไขมันไม่อิ่มตัวทั้งชนิดที่เป็น mono – และ polyunsaturated fat ในปริมาณที่เหมาะสม กินผักมากขึ้น ลดอาหารหวาน มัน เค็ม และกิน อาหารให้หลากหลาย
             โรคอ้วนคือ ร่างกายของเราจะมีไขมันไว้เพื่อสำรองเป็นอาหาร ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย เป็นเบาะกันกระแทกหากมีมากเกินไปคือโรคอ้วน ปกติผู้หญิงจะมีปริมาณไขมันประมาณ 25-30% ส่วนผู้ชายจะมี 18-23 %ถ้าหากผู้หญิงมีมากกว่า 30% ชายมีมากกว่า 25%จะถือว่าโรคอ้วน โรคอ้วนหมายถึงมีปริมาณไขมันมากกว่าปกติ โรคอ้วนมิได้หมายถึงการมีน้ำหนักมากอย่างเดียว

โรคอ้วนที่มีผลร้ายต่อสุขภาพมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่
-อ้วนทั้งตัว ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติโดยไขมันที่เพิ่มมิได้จำกัดอยู่ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง
-โรคอ้วนลงพุง [abdominal obesity] ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีไขมันในอวัยวะภายในช่องท้องมากกว่าปกติ และอาจจะมีไขมันใต้ผิวหนังหน้าท้องเพิ่มขึ้นด้วย
-โรคอ้วนลงพุ่งร่วมกับอ้วนทั้งตัว มีไขมันมากทั้งตัวและอวัยวะภายในช่องท้อง

การวัดปริมาณไขมันในร่างกาย
-การวัดปริมาณไขมันในร่างกายไม่ใช่เรื่องง่าย โดยมากมักจะทำในห้องปฏิบัติการณ์เพื่อการวิจัย
-การชั่งน้ำหนักในน้ำแล้วนำมาคำนวณหาปริมาณไขมันและปริมาณกล้ามเนื้อเป็นวิธีที่มีความแม่นยำ แต่ก็ทำในห้องปฏิบัติการเท่านั้น
-BOD POD เป็นการตรวจโดยเครื่อง x-ray รูปไข่ เครื่องจะคำนวณหาปริมาณกล้ามเนื้อ ไขมันจากความเข้มของเนื้อเยื่อ
DEXA: Dual-energy X-ray absorptiometry (DEXA) เป็นการใช้ x-ray หาปริมาณไขมัน

โรคอ้วนจำเป็นต้องรักษาหรือไม่
ก่อนหน้านี้คนอ้วนไม่ถือเป็นโรคอ้วนแต่ปัจจุบันจัดเป็นโรคอ้วนเนื่องจากก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ โรคอ้วนเป็นโรคเกิดจากสาเหตุหลายๆอย่างทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ผู้ที่ลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วน้ำหนักก็จะขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน การรักษาโรคอ้วนได้เปลี่ยนไปจากอดีตที่นิยมให้ลดน้ำหนักเข้าสู่เกณฑ์ปกติอย่างรวดเร็วมาเป็นให้ลดน้ำหนักแบบค่อยๆเป็น โดยกำหนดเป้าหมายที่สามารถปฏิบัติได้ การลดน้ำหนักเพียงบางส่วนสามารถก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ การรักษาโรคอ้วนให้รักษาตลอดชีวิตเหมือนโรคเบาหวาน ได้มีการศึกษาในประเทศไทยพบว่าผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะมีระดับ ไขมัน Cholesterol, triglyceride LDL ระดับน้ำตาล ละความดันโลหิตสูงกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติ
ปัญหาของดัชนีมวลกายที่จะนำมาใช้อ้างอิงว่าอ้วนหรือไม่คงจะใช้ตัวเลขเดียวกันทั่วโลกไม่ได้ ฝรั่งจะมีโครงสร้างใหญ่กว่าชาวเอเชีย ดัชนีมวลกายของฝรั่งจึงจะค่อนข้างสูงกล่าวคือจะถือว่าน้ำหนักเกินเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กก/ตารางเมตร ส่วนชาวเอเชียเราจะถือว่าน้ำหนักเกินคือดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กก/ตารางเมตร เนื่องจากเมื่อดัชนีมวลกายเกินค่าดังกล่าวจะมีอุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงสูง จะเห็นว่าคนอ้วนมีโอกาสที่จะเกิดโรคมากมาย และผลดีของการลดน้ำหนักสามารถลดอัตราการเกิดโรคได้หลายชนิด และลด อัตราการตายได้ สมควรถึงเวลาที่จะหยุดความอ้วน

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน
คนเรารับประทานอาหารเข้าไปไม่ว่าจะเป็นประเภทแป้ง หรือโปรตีนหากพลังงานที่ได้รับเกินความต้องการ ร่างกายก็จะสะสมอาหารส่วนเกินเหล่านั้นในรูปไขมัน สะสมมากขึ้นจนกลายเป็นโรคอ้วน ดังนั้นคนที่อ้วนเกิดจากเรารับอาหารที่มีพลังงานมากกว่าพลังงานที่เราใช้ไป สาเหตุจริงๆยังไม่ทราบแน่ชัด โรคอ้วนมักจะมีสาเหตุต่างๆดังนี้
-การรับประทานอาหาร หากรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ จะให้น้ำหนักเกินโดยเฉพาะอาหารที่มีไขมัน และแป้งสูงซึ่งมักจะพบในอาหารจานด่วน
-ประเภทของอาหาร โดยเฉพาะผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นกลูโคส sugars, fructose, น้ำหวาน เครื่องดื่ม ไวน์ เบียร์ อาหารเหล่านี้จะดูดซึมอย่างรวดเร็ว และทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเป็นปริมาณมาก ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นสาเหตุของโรคอ้วน
-ภาวะที่ร่างกายเผาพลาญพลังงานน้อย ผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อมากว่าผู้หญิง กล้ามเนื้อจะเผาพลังงานได้มากดังนั้นผู้หญิงจึงอ้วนง่ายกว่าผู้ชายและลดน้ำหนักยาก
-ความผิดปกติทางจิตใจทำให้รับประทานอาหารมาก เช่นบางคนเศร้า เครียด แล้วรับประทานอาหารเก่ง
-การดำเนินชีวิตอย่างสบาย มีเครื่องอำนวยความสะดวดมากมาย และขาดการออกกำลังกาย มีรถยนต์ มีเครื่องทุ่นแรง มีทีวีรายการดีๆให้ดู มีสื่อโฆษณาถึงน้ำหวาน น้ำอัดลม เหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคอ้วนตั้งแต่ในวัยเด็ก
โรคอ้วนในวัยรุ่น ชีวิตที่มีความสบาย ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่จำกัดเวลา ไม่จำกัดประเภท และไม่จำกัดปริมาณเหล่านี้ทำให้เกิดโรคอ้วน เมื่ออ้วนก็ทำให้ออกกำลังได้ไม่เต็มที่ พบว่าวัยรุ่นหรือเด็กที่มีน้ำหนักเกินมักจะเกิดโรคอ้วนเมื่อเป็นผู้ใหญ่ น้ำหนักของผู้ชายจะเพิ่มจนคงที่เมื่ออายุประมาณ 50 ปี ส่วนผู้หญิงน้ำหนักจะเพิ่มจนอายุประมาณ 70 ปี
โรคอ้วนในเด็ก เซลล์ไขมันในร่างกายจะมีช่วงที่เจริญเติบโตอยู่สองช่วงคือวัยเด็กและวัยรุ่น กรรมพันธุ์เป็นตัวกำหนอให้แต่ละคนมีเซลล์ไขมันไม่เท่ากัน คนอ้วนจะมีเซลล์ไขมันมาก การอ้วนในเด็กจะมีปริมาณเซลล์ไขมันมากทำให้ลดน้ำหนักยาก สานโรคอ้วนในผู้ใหญ่เกิดจากเซลล์ไขมันมีขนาดใหญ่

ความอ้วนเป็นสภาพร่างกายที่มีการเก็บสะสมไขมันส่วนเกินจนเห็นว่าร่างกายอ้วนขึ้น ความอ้วนที่เกิดขึ้นแทบทุกรายเกิดจากการทานมากเกินไป และขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอ การคิดน้ำหนักที่เหมาะสมกับร่างกายทำได้ดังนี้ 
นักมาตรฐาน  =  (ส่วนสูงของร่างกาย cm/100)2*22 (ต้องระวังอย่างให้เกิน 10%)

ผลเสียจากโรคอ้วน มีการศึกษาพบว่าดัชนีมวลกายที่เหมาะอยู่ระหว่าง 21-25 เนื่องจากอัตราการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจต่ำและเมื่ออ้วนมากขึ้นก็จะเกิดโรคมาก

โรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน
-โรคหัวใจขาดเลือด            -โรคความดันโลหิตสูง
-โรคหลอดเลือดสมอง       -โรคมะเร็ง
-โรคเบาหวาน                      -โรคถุงน้ำดี

โรคอ้วนที่สัมพันธ์กับความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ
ภาวะดื้ออินซูลิน โรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลินโดยเฉพาะอ้วนลงพุง พบภาวะนี้ได้บ่อยในผู้ที่ดัชนีมวลกายมากกว่า 40 กก/ตร.ม. ผลกระทบต่อระบบสืบพันธ์ พบว่าคนอ้วนเป็นหมันและปวดประจำเดือนได้บ่อยกว่าคนปกติ คนอ้วนขณะตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง แท้งบุตรได้บ่อย


โรคอ้วนที่สัมพันธ์กับสุขภาพ
-ข้อเสื่อม น้ำหนักที่มากเกินไปกดลงบนข้อทำให้เกิดข้อเสื่อมเร็วขึ้น ปวดหลังกรดยูริกในเลือดสูง ทำให้เกิดโรคเก๊าได้บ่อยในคนอ้วน
-โรคทางเดินหายใจ ผู้อาจจะหยุดหายใจขณะหลับเป็นพักๆที่เรียกว่า sleep apnea syndrome ทำหลับไม่สนิท และมักเกิดอุบัติเหตุขณะขับรถกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โรคเส้นเลือดขอด
เป้าหมายของการลดน้ำหนัก การป้องกันการเพิ่มและการรักษานํ้าหนักตัว ปกติการตั้งเป้าหมายของการลดน้ำหนัก คือ 10% ของน้ำหนักตัว มีความเป็นไปได้ที่ทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อัตราการลดน้ำหนัก ไม่ควรเกิน 0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ (ปริมาณ พลังงานในการเผาผลาญไขมัน 7700 กิโลแคลอรี่/ก.ก.) ดังนั้นในเวลา 6 เดือน การเผาผลาญ ไขมันจะทำให้น้ำนักลด 2-3 กิโลกรัม หลังจากนั้นมักจะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักมากนัก หลังจากมีการใช้พลังงานของร่างกายลดลงเมื่อน้ำหนักลด
การที่จะลดน้ำหนัก 10% ในช่วง 6 เดือน มีข้อแนะนำว่า
คนที่น้ำหนักเกิน ควรลด 300-500 กิโลแคลอรี/วัน
คนที่อ้วนควรลด 500-1000 กิโลแคลอรี/วัน
การลดน้ำหนักทำได้ในหลายลักษณะ คือลดการบริโภคอาหาร เพิ่มการใช้พลังงาน ด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกาย รวมทั้งการปรับพฤติกรรม
ลดการบริโภคอาหาร การลดปริมาณไขมันและลดปริมาณพลังงานที่ได้รับต่อวัน การบริโภคอาหารที่มี โดยการลดไขมันและทดแทนด้วยคาร์โบไฮเดรต ซึ่งให้ปริมาณพลังงานเท่าเดิมนั้น ช่วยลดปริมาณไขมันที่ร่างกายได้รับ แต่ไม่ได้ช่วยลดน้ำหนัก เนื่องจาก ปริมาณพลังงานยังเท่าเดิมดังนั้นการปรับเปลี่ยนชนิดของอาหารที่บริโภคนั้นยังไม่พอควรลดการบริโภคอาหารลงด้วย
เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย การลดน้ำหนัก ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลดปริมาณพลังงานจากอาหารที่ได้รับ ร่วมกับการเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย จะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำหนักที่ลดนั้นเพิ่มกลับมาอีก และยังช่วยระบบหัวใจหลอดเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งดีกว่าการลดการบริโภค อาหารเพียงอย่างเดียว การเคลื่อนไหวและออกกำลังกายควรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปทำประจำและสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะทำต่อเนื่องกัน หรือจะแบ่งเป็นช่วงสั้น ซึ่งเมื่อนับรวมกันแล้ว ได้ผลลัพธ์ไม่ต่างกัน (หรือที่เรียกกันว่าออกกำลังกายสะสม) ซึ่งงานวิจัยโดยอาสาสมัครที่ออกกำลังกายวันละ 30 นาที 3วัน/สัปดาห์เทียบกับอาสาสมัครที่ออกกำลังกาย 3 ครั้ง ครั้งละ 10 นาทีรวมเป็น 30 นาทีต่อวัน 3 วัน/สัปดาห์ ให้ผลไม่ต่างกัน รวมทั้งการออกกำลังกาย แบบต้านแรง ผลที่ได้เมื่อเทียบการฝึก 1 เซท กับ 3 เซท พบว่าเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อและ เป็นประโยชน์ต่อสมรรถภาพร่างกาย กล่าวโดยสรุปการออกกำลังกายแบบสะสม ช่วยได้เช่นกัน และยังมีความเป็นไปได้ในการที่จะแนะนำสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลา ซึ่งสามารถแบ่งทำเป็นช่วงสั้นๆ
ปรับพฤติกรรม การปรับพฤติกรรมจะเกิดขึ้นเมื่อคนๆ นั้นมีประสบการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมทำให้เห็นผลที่ดีขึ้น ทำให้มีความมั่นใจว่าตัวเองทำได้ และเมื่อได้รับความชื่นชมจากผู้คนและสังคมรอบด้าน การเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่น รวมทั้งการตอกยํ้า และการให้รางวัล จะสร้างพลังแห่งความเชื่อมั่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำเป็นต้องเป็นการดูแลตนเอง ทั้งเรื่องการดำเนินชีวิต การบริโภคอาหาร การเคลื่อนไหวและออกกำลังกาย ตลอดจนการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
                ปัญหาของการเลือกอาหารของคนในสังคมเมืองนั้นมักจะเลือกตามความสะดวก หาง่าย ประหยัด และตามกระแสสังคม การเลือกอาหารจานด่วนของคนทางตะวันตกมักจะมีสัดส่วน ไขมันค่อนข้างสูง ซึ่งปกติการแนะนำอาหารที่ดีไม่ควรมีสัดส่วนที่มาจากไขมันเกิน 30% ของพลังงาน ทั้งหมด (ซึ่งไม่ควรทานประจำ) การเลือกอาหารดังกล่าวควรควบคู่ไปกับการเพิ่มผัก / ผลไม้ และ ลดอาหารที่มีไขมันสูงในมื้อถัดๆ ไป ก็พอช่วยได้บ้าง เพราะการได้รับอาหารพลังงานสูงและพลังงานส่วนใหญ่มาจากไขมัน ทำให้ร่างกายสร้างไขมันเก็บสะสมในร่างกาย ถ้าสมดุลพลังงาน การใช้มากกว่าการได้รับจะทำให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย
ความอ้วนเป็นตัวแบ่งระดับความรุนแรงของโรคในผู้สูงอายุ หากอ้วนเกินไป ก่อนปัญหาโรคเบาหาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดแข็งตัวไขมันในตับสูง น้ำตาลในเลือดสูง ประจำเดินมาน้อยหรือไม่มา เป็นหมัน และมีโอกาสเป็นมะเร็งมดลูก หรือมะเร็งเต้านม  เป็นต้น
สำหรับการไดเอ็ดในผู้ชายต้องควบคุมพลังงานให้อยู่ในปริมาณ  1,400-1,800 kcal, ผู้หญิง 1,200-1,600 kcal ต่อวัน โปรตีน 60-80 g ไขมันในเครื่องปรุงรส 1-2 ช้อนโต๊ะ คาร์โบไฮเดรตน้อยกว่า 100  g   ต่อวัน นอกจากนี้ควรได้รับวิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยอาหารจากพืชอย่างเพียงพอ แม้การจำกัดพลังงานเป็นสิ่งจำเป็น แต่ก็ควรรับสารอาหารต่างๆ สมดุล  เพื่อสุขภาพที่ดี

การรักษาโรคอ้วนจะพิจารณาจาก
1.ระดับความอ้วน และระดับเส้นรอบเอว 
-ระดับความอ้วนเราสามารถวัดได้จากดัชนีมวลกายค่าปกติของคนประมาณ 20-25 กก/ตม.ระดับที่ต้องรักษาคือดัชนีมวลกายมากกว่า 30โดยที่ไม่มีความเสี่ยงอื่นๆ
-เส้นรอบเอวจะบ่งบอกว่าคุณจำเป็นต้องรักษาหรือยัง ชายมากกว่า90 ซม.หญิงมากกว่า 80ซม.ภาวะดังกล่าวต้องรีบลดน้ำหนัก
-ผู้ที่มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 23 ไม่ต้องรักษานอกจากแนะนำให้ควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้น
2.ผู้ป่วยมีโรคเหล่านี้ร่วมด้วยจำเป็นต้องลดน้ำหนักอย่างรีบด่วน
-มีโรคหลอกเลือดหัวใจตีบร่วมด้วย เช่นเคยเจ็บหน้าอก เคยนอนในโรงพยาบาลเพราะว่าเจ็บหน้าอก เคยผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจ หรือเคยถ่างหลอดเลือดหัวใจ
-มีโรคหลอดเลือดแดงแข็งร่วมด้วย เช่นหลอดเลือดแดงขาตีบ หลอดเลือดแดงในท้องโป่งพอง หลอดเลือดแดงที่คอตีบ
-เบาหวานชนิดที่สอง
-เป็นโรค sleep apnea ผู้ป่วยจะนอนกรนเสียงดัง และจะหยุดหายใจชั่วขณะและผู้ป่วยต้องตื่น ผู้ที่เป็น metabolic syndrome
3.ผู้ป่วยมีโรคที่เกิดจากความอ้วนหรือไม่ เช่น ข้อเสื่อม osteoarthritis นิ่วในถุงน้ำดี gall stone ปวดประจำเดือน ถ้าหากมีโรคดังกล่าวก็ต้องลดน้ำหนัก
4.ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่ หากผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวจำเป็นต้องลดน้ำหนัก
5.ปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่น เช่นการขาดการออกกำลังกาย การแก้ไขให้ออกกำลังกาย ไขมัน triglyceride ในเลือดสูง

การป้องกันโรคอ้วน
ประเทศที่ประสบปัญหาเรื่องโรคอ้วนได้รณณรงค์ให้ประชาชน เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายเพิ่ม แต่ก็มีประชาชนกลุ่มหนึ่งซึ่งจำเป็นต้องได้รับความรู้ปฏิบัติ เพื่อให้ลดน้ำหนักลงอยู่ในเกณฑ์ปกติหากท่านมีดัชนีมวลกายอยู่ในกลุ่มนี้หรือมีโรคประจำครอบครัวดังในตารางข้างล่างท่านต้องป้องกันมิให้น้ำหนักเกิน กลุ่มผู้ที่เสี่ยงต่อโรคอ้วนและควรจะได้รับความรู้ได้แก่
ดัชนีมวลกาย
ประวัติโรคในครอบครัว
ปัจจัยที่จะส่งเสริมให้อ้วน
ดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กก/ตารางเมตรสำหรับชาวเอเชีย
ดัชนีมวลกายมากกว่า 25 สำหรับชาวยุโรป
โรคอ้วน
โรคเบาหวาน
โรคไขมันในเลือดสูง
โรคความดันโลหิตสูง
การหยุดบุหรี่
น้ำหนักแรกเกิดน้อย
อาชีพที่ไม่ต้องใช้แรง
เชื้อชาติ เช่นอินเดีย


สำหรับกลุ่มที่ต้องให้ความรู้และต้องติดตามการรักษาได้แก่ผู้ป่วยที่อ้วนแล้วและมีโรคประจำตัวดังแสดงในตารางข้างล่าง และหากท่านจัดอยู่ในกลุ่มนี้ท่านต้องรีบลดน้ำหนักโดยรีบด่วน
ดัชนีมวลกาย
โรคที่พบร่วม
มากกว่า 25 กก/ตารางเมตร(เอเชีย)
มากกว่า 30 กก/ตารางเมตร
(ชาวยุโรป)
รอบเอวมากกว่า 90 ซม. 80 ซม.(ชาวเอเชีย)
รอบเอวมากกว่า 94 ซม. 80 ซม.(ชาวยุโรป)
โรคเบาหวานชนิดที่2
สำหรับท่านผู้อ่านท่านต้องคำนวณดัชนีมวลกายว่าท่านจัดอยู่ในกลุ่มใดเพื่อจะได้มีแนวทางในการในการดูแลตัวเอง
-ผู้ที่มีดัชนีมวลกายประมาณ25 ถ้าหากมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานเช่นมีพี่ น้อง พ่อแม่เป็นเบาหวาน มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ แนะนำให้ลดน้ำหนักลงจนดัชนีมวลกายประมาณ 22

สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อความอ้วน
 เส้นใยอาหารจากพืช   Capsaicin,  วิตามิน B2, B6, C, E Lecithi  กรดแพนโทรเทนิค   และอื่นๆ

ข้อแนะนำ
ยิ่งทานไม่ครบ  3  มื้อ  ก็ยิ่งอ้วนง่าย หากระหว่างมื้อระยะเวลาห่างกันมากก็ยิ่งทำให้กินอาหารมื้อต่อไปจุขึ้น เพราะร่างกายหิวเป็นเวลานานนั่นเอง ทางที่ดีทานให้ครบ 3 มื้อ ในปริมาณพอสมควร มื้อเช้าและมื้อกลางวันควรทานให้พอ ส่วนกลางคืนทานนิดหน่อย  ห้ามทานอาหารตอนดึกๆ หรือทานจนพุงกาง  เคล็ดลับในการทานอาหารเพื่อให้ได้วิตามิน  เกลือแร่ครบ  ในระหว่างที่กำลังควบคุมพลังงานก็คือ  ทานอาหารหลากชนิด  หรือมีส่วนผสมหลายอย่างระหว่างมื้ออาหารควรดื่มนม  1 แก้วหรือผลไม้ ทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารหรือผักสีเขียว สีเหลือง เป็นต้น ควรเคียวอาหารช้าๆ  ตามสบาย  เพื่อให้สมองมีเวลาสั่งการให้รู้สึกอิ่มทันเวลา  หากทานเร็ว  จะทำให้ทานเข้าไปมากเกินขนาดก่อนที่สมองจะสั่งการให้มีความรู้สึกอิ่ม

1 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าไม่ได้ลองเองคงไม่รู้ว่าผอมได้
    กินแล้วผอม 🌟 ขายแล้วรวย
    อย่าช้าคะ ตัวแทนจำหน่ายยังน้อย เราควรเก็บตลาดช่วงนี้
    รับตัวแทนจำหน่าย 💕
    กินดีบอกต่อได้ตัง ใครจะไม่เอา
    กิ๊กลองแล้ว พิสูจน์แล้ว

    นี่ยังไม่หมดกล่อง ลดไป 4 โล โอ้วววว.....

    👍Novacs Dinax โนแวคส์ ดีแนกซ์
    ผลิตภัณฑ์ควบคุมน้ำหนัก และกระชับสัดส่วน ยอดฮิต หมดความกังวลเรื่องอ้วน ลงพุง ไม่มีเวลาออกกำลังกาย ปลอดภัย มี อย.12-1-08358-1-0002

    ❤️ช่วยในการควบคุมน้ำหนักอย่างได้ผลและรวดเร็ว
    ❤️ช่วยควบคุมการหิวอาหารบ่อยๆ
    ❤️ช่วยการดักจับแป้ง น้ำตาล เร่งการเผาผลาญ
    ❤️กำจัดไขมันส่วนเกินที่สะสมมานาน
    เช่น ลดไขมันบริเวณต้นแขน เอว และต้นขา
    ❤️ลดระดับภาวะน้ำตาลในเลือดสูง(Hypoglycemia)
    ❤️ลดไขมันในกระแสเลือด (Hypercholesterolemia )
    ❤️รู้สึกกระชับทั่วร่างกายได้ภายใน 2 สัปดาห์
    ❤️ไม่ทำให้เกิดอาการใจสั่น เหมือนยาลดน้ำหนัก

    สนใจเชิญทางนี้เลยครับ
    🆔 http://line.me/ti/p/QoIFyqeH48
    ☎ 0994727359

    ตอบลบ