วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ นางสาวพลอยไพลิน บัวป้อม 53242223


บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้
ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยยังคงมีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในระดับที่ค่อนข้างสูง ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้ประเทศไทยจะมีรายได้ประชาชาติมวลรวมต่อบุคคลในระดับที่สูงขึ้น แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นกลับไม่ได้ถูกจัดสรรให้แก่ประชากรทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ แนวทางหลักในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้อยู่ที่การเพิ่มโอกาสและศักยภาพของคนตลอดจนการส่งเสริมนโยบายและระบบบริหารจัดกาภาครัฐ ที่เหมาะสมโดยทั่วแล้วการพัฒนาเศรษฐกิจ(EconomicDevelopment)กระบวนการที่ก่อให้เกิดความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจโดยสม่ำเสมอและเป็นเวลายาวนาน โดยทำให้รายได้ที่แท้จริงต่อบุคคลสูงขึ้น และต้องมีการกระจายรายได้อย่างเสมอภาค ประชากรส่วนใหญ่จะต้องได้รับประโยชน์จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างทัดเทียมกันรวมถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมทัศนคติ    ระบบ การเมือง การบริหาร การศึกษา และค่านิยมของสังคมที่เหมาะสม ถือเป็นสิ่งที่ภาครัฐของทุกประเทศต้องการ เนื่องจากเป็นสิ่งที่จะนำมาซึ่งรายได้และมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้นของประชาชนตลอดการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมและเป็นธรรมของประชาชนในประเทศ และจะนำไปสู่เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมและคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้นของประชาชนในประเทศในท้ายที่สุดากความหมายและเป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ   ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ารายได้และมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้นและการกระจายรายได้ที่เท่าเทียม หรืออีกนัยหนึ่งคือ การลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ภาครัฐต้องเร่งดำเนินการในอันดับต้นหากต้องการประสบความสเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ เนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาเศรษฐกิจเพียงเท่านั้นแต่ยังถือเป็นปัญหาที่สั่นคลอนความมั่นคงทางสังคมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ดังกล่าว ทำให้บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศไทย เพื่อสะท้อนระดับของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประเทศไทยตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งนเสนอประเด็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขและแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป

ความเหลื่อมล้ำทางรายได้
 ความเหลื่อมล้ำทางรายได้(Income Inequality) ถือเป็นความยากจนเชิงสัมพัทธ์ หรือความยากจนเชิงเปรียบเทียบ(Relative Poverty) หมายถึง การที่รายได้รวมของประเทศถูกจัดสรรไปยังประชาชนกลุ่มต่างๆ ในประเทศอย่างไม่เป็นธรรมนั่นคือ การที่รายได้ไปกระจุกตัวอยู่ที่ประชาชนเพียงบางกลุ่มหรือประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้นซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักเป็นกลุ่มผู้ที่มีรายได้สูง(สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย,2546) ดังนั้นการที่ประเทศมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศและรายได้ประชาชาติมวลรวมสูงขึ้นรวมถึงทำให้ประชาชนมีรายได้ต่อบุคคลโดยเฉลี่ยสูงขึ้นและมีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นนั้น จึงยังไม่สามารถบ่งบอกคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศได้อย่างแท้จริงทั้งนี้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ปัญหาความยากจนทวีความรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะกับกลุ่มที่มีรายได้ต่ำแม้ว่าบางคนจะไม่ถือเป็นคนจน (นั่นคือมีรายได้สูงกว่าเส้นความยากจน) ก็ตาม เนื่องจากจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างชั้นชนในสังคมและย่อมทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แม้ว่าภาครัฐจะสามารถลดความยากจนลงได้ก็ตาม ความเหลื่อมล้ำทางรายได้สามารถวัดได้หลายวิธีเช่นการใช้ค่าความแปรปรวนของรายได้  การใช้ค่าสัดส่วนของรายจ่ายและรายได้ของประชากรแต่ละกลุ่มต่อรายได้และรายจ่ายของประชากรทั้งหมด(Moriguchi & Saez, 2006; Whalley & Yue, 2006; สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการกระจายรายได้, 2550) การใช้ดัชนีTheil (Conceicao & Ferreira, 2000) และการใช้ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค เป็นต้น     อย่างไรก็ตาม บทความเรื่องนี้จะใช้สัดส่วนของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและรายได้ของประชากรต่อรายจ่ายและรายได้ของประชากรทั้งหมด และค่าสัมประสิทธิ์ความเสมอภาคของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและรายได้ของประชากร เพื่ออธิบายสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศไทย ทั้งนี้สำนักพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการกระจายรายได้ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการวัดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศไทยได้ทการแบ่งประชากรออกเป็น 5 กลุ่ม จำแนกตามระดับรายได้และวัดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประชากรโดยพิจารณาจาก(1) รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชากรและ (2) รายได้ของประชากรโดยนำค่าทั้ง 2 มาคำนวณสัดส่วนของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและรายได้ของประชากรของประชากรแต่ละกลุ่มต่อรายจ่ายและรายได้ของประชากรทั้งหมดจากนั้นซึ่งพิจารณาความเหลื่อมล้ำทางรายได้โดยดูจากความแตกต่างของสัดส่วนรายจ่ายและรายได้ของกลุ่มที่มีรายได้สูงที่สุดและกลุ่มที่มีรายได้ต่ำที่สุดนั่นเอง นอกจากนี้ ยังได้คำนวณค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0 และ 1 โดยหากค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคยิ่งมีค่าเข้าใกล้1มากเท่าใดแสดงว่าความเหลื่อมล้ำของรายได้ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2553)

สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศไทย
 แม้สถานการณ์ความยากจนในประเทศไทยจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงปีพ.ศ. 2531 - 2552 แต่สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางรายได้กลับเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม กล่าวคือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศไทยไม่ได้ลดลงแม้แต่น้อย จากค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค พบว่าประเทศไทยยังคงมีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในระดับค่อนข้างสูงและมีความรุนแรงมากขึ้นเล็กน้อย เมื่อพิจารณาในระดับภูมิภาค พบว่าการเปลี่ยนแปลงของสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคของทุกภูมิภาค เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับระดับประเทศนั่นคืออยู่ในระดับสูงและเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตลอดช่วงเวลาที่ทำการศึกษาในระดับภูมิภาค ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในภาคใต้มีความรุนแรงมากที่สุดในประเทศ สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยอยู่ในขั้นที่รุนแรง จากการศึกษาการพัฒนาของเศรษฐกิจประเทศไทยเป็นระยะเวลา10 ปี (2531-2550) พบว่า ผู้ที่มีรายได้สูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์แรก มีรายได้รวมถึงประมาณ 54-59 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ผู้ที่จนสุด 20 เปอร์เซ็นต์ มีรายได้รวมอยู่เพียงประมาณ 4.0-4.5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น พิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์จีนี (Gini Coefficient)  (คือ ค่าเป็นวิธีวัดการกระจายของข้อมูลทางสถิติอย่างหนึ่งที่นิยมใช้เป็นตัวบ่งชี้ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้หรือการกระจายความร่ำรวย สัมประสิทธิ์จีนีถูกนิยามให้เป็นอัตราส่วนซึ่งมีค่าระหว่าง 0 และ 1 สัมประสิทธิ์จีนีที่ต่ำจะแสดงถึงความเท่าเทียมกันในการกระจายรายได้ หากค่านี้สูงขึ้นจะบ่งชี้ถึงการกระจายรายได้ที่เหลื่อมล้ำกันมากขึ้น )  พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์จีนีของไทยไม่ได้มีค่าลดลงเลย โดยในปี 2550 มีค่าอยู่ที่ 0.497 ซึ่งนับว่าสูงมาก  เปรียบเทียบกับประเทศที่ประสบความสำเร็จในการกระจายรายได้  ซึ่งจะมีค่าสัมประสิทธิ์จีนีอยู่ที่ประมาณ 0.25-0.3เท่านั้น 
ปัญหาการกระจายรายได้ และทางออก
ตลอด 2 ทศวรรษการพัฒนาของเศรษฐกิจไทยนับตั้งแต่ช่วงปี 2530 เป็นต้นมา  แม้การขยายตัวของเศรษฐกิจในระดับสูงจะส่งผลให้ความยากจนลดลงอย่างมาก  จากกว่า 22 ล้านคนในปี 2531  หรือคิดเป็น 42.3% ของประชากรทั้งประเทศ  ลดลงเหลือเพียง 8.5 ล้านคน หรือคิดเป็น 5.4% ของประชากรทั้งประเทศในปี 2550  แต่ปัญหาหนึ่งที่ยังคงอยู่และไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้น คือปัญหาการกระจายรายได้  ซึ่งในช่วง 30 ปีข้างหน้า การจัดการดูแลปัญหาเรื่องการกระจายรายได้  และการจัดการเพื่อไม่ให้ปัญหาดังกล่าวมาเป็นอุปสรรคที่ถ่วงการพัฒนาประเทศ  ทั้งในด้านเศรษฐกิจ  การเมือง และสังคม  จะเป็นคำถามเชิงนโยบายที่สำคัญที่สุดคำถามหนึ่งของประเทศไทย  รวมทั้งจะเป็นตัวกำหนดอนาคตและความสำเร็จของประเทศในระยะยาวด้วยอย่างไรก็ดีสำหรับวิชาเศรษฐศาสตร์ซึ่งคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรเป็นหลักนั้น ปัญหาเรื่องการกระจายรายได้จึงเป็นปัญหาที่นักเศรษฐศาสตร์ไม่มีคำตอบ ที่แน่นอนตายตัว  ทั้งนี้เนื่องด้วยตัวปรัชญาของวิชาเศรษฐศาสตร์เองที่มิได้คำนึงถึงเรื่องความเป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรเป็นสำคัญ  นอกจากนั้นแล้วยังมีความเชื่อในทางวิชาเศรษฐศาสตร์บางประการที่ไปลดทอนความสนใจของนักเศรษฐศาสตร์เองต่อปัญหาการกระจายรายได้  ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎีของ Kuznet ที่เชื่อว่าการกระจายรายได้ที่เลวลงเป็นความจำเป็นหนึ่งที่ต้องเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขยายตัวและมีการสะสม Physical Capital  แต่เมื่อระบบเศรษฐกิจมีการพัฒนาไปถึงระดับหนึ่ง  ระดับความเหลื่อมล้ำจะลดลงเองโดยอัตโนมัติ  ซึ่งหลักฐานเชิงประจักษ์มากมายในหลายประเทศก็พิสูจน์แล้วว่าความเชื่อดังกล่าวไม่เป็นความจริงสำหรับสถานการณ์ปัญหาการกระจายรายได้นั้น  เกิดขึ้นทั้งในระดับโลก  และระดับภายในประเทศ  ในระดับโลกเอง  ข้อมูลปี 1989 พบว่า กลุ่มคนที่รวยที่สุด 20% แรก มีรายได้คิดเป็น 82.7% ของรายได้ทั้งหมด  ในขณะที่ผู้ที่จนที่สุด 20% มีรายได้คิดเป็น 1.4% ของรายได้ทั้งหมดเท่านั้น  และแม้ในปัจจุบันเองสถานการณ์ดังกล่าวก็ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นแต่อย่างใดสำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยนั้น  พบว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำมีความรุนแรงมาก  ตลอด 20 ปีของการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในช่วงปี 2531-2550  พบว่า  ผู้ที่มีรายได้สูงสุด 20% แรกมีรายได้รวมอยู่ที่ประมาณ 54-59%  ในขณะที่ผู้ที่จนสุด 20% มีรายได้รวมอยู่ที่ประมาณ 4.0-4.5%   หรือแม้แต่จะดูที่ค่า Gini Coefficient ก็พบว่า ไม่ได้มีค่าลดลงแต่ประการใด  โดยค่า Gini Coefficient ของไทยในปี 2550 มีค่าอยู่ที่ 0.497  ซึ่งนับว่าสูงมาก  เปรียบเทียบกับประเทศที่ประสบความสำเร็จในการกระจายรายได้  ซึ่งจะมีค่า Gini Coefficient อยู่ที่ประมาณ 0.25-0.3เท่านั้น  นอกจากนี้จากข้อมูลของประเทศไทยยังพบว่า  มีความแตกต่างเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่างคนที่อยู่ในเมือง กับคนที่อยู่ในชนบทด้วย  และถ้าหากเอาแว่นขยายส่องลงไปเฉพาะพื้นที่ชนบท  ก็พบว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มเลวลง   และแม้ว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำที่มองแบบ Relative Term จะไม่เปลียนแปลงมากนัก  แต่ Absolute Term กลับเปลี่ยนแปลงมากอย่างมีนัยสำคัญ  ซึ่งนั่นยิ่งทำให้ช่องว่างทางรายได้ระหว่างกลุ่มคนรวยและกลุ่มคนจนถ่างออกจากกันมากขึ้น  ซึ่งนี่ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่ากระบวนการพัฒนาประเทศของไทยนั้น  ผลประโยชน์ตกอยู่กับคนเพียงกลุ่มเล็กๆ ซึ่งมั่งมีอยู่แล้วเท่านั้นจากข้อมูลพื้นฐานทั้งหมดที่เห็นมา  จึงเป็นคำถามสำคัญที่เกิดขึ้นว่าความเหลื่อมล้ำที่ดำรงอยู่บนโลกนั้น  เกิดขึ้นได้อย่างไร  ดำรงอยู่ได้อย่างไร  และมีกลไกอะไรที่คอยหนุนเสริมให้ปัญหาดังกล่าวคงอยู่และรุนแรงขึ้นต่อคำถามดังกล่าว  ได้มีแนวคำอธิบายออกมาเป็น 2 แนวทางคือ 1.) มองว่าความรวยความจนที่ไม่เท่ากันนั้นเกิดขึ้นจากมนุษย์ที่แตกต่างกันโดยกำเนิด   และ
 2.) มองว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากกลไกการทำงานของตลาด ที่ทำให้คนแตกต่างกัน  ปัญหาสำคัญนั้นไม่ใช่ว่าแนวทางคำอธิบายใดเป็นแนวทางที่ถูกต้องมากกว่ากัน  แต่สิ่งที่เราควรต้องคำนึงถึงควรจะเป็นว่า  แล้วเราจะมีการเข้าไปแทรกแซงกลไกเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นได้อย่างไร  รวมทั้งจะมีมาตรการอะไรเข้าไปหนุนเสริมเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนที่มีความพร้อมน้อยกว่าคนกลุ่มอื่นตั้งแต่ต้นด้วยแต่ก่อนที่เราจะไปไกลถึงว่าเราควรทำอะไรและมีนโยบายอะไรเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำดังกล่าว  จะได้กล่าวถึงสาเหตุและปัจจัยบางประการที่ส่งผลไปถึงความเหลื่อมล้ำทางด้ายรายได้ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่  ความเหลื่อมล้ำของรายได้จากการทำงาน (Earning Inequality)  ความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษา (Education Inequality)  และความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง (Wealth Inequality)
  • Earning Inequality  : พบว่ากระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ  กระแสการแข่งขันทางการค้าในระบบเศรษฐกิจโลก  ได้ส่งผลต่อลักษณะและรูปแบบความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคที่เปลี่ยนไป  ในต่างประเทศสินค้าที่มีความซับซ้อนมีความต้องการมากขึ้น  ทำให้แรงงานมีฝีมือมีค่าจ้างสูงขึ้น  ในขณะเดียวกันก็ส่งแรงกดดันต่อราคาของสินค้าที่ไม่ซับซ้อน  ซึ่งไปกระทบทำให้ค่าจ้างของแรงงานไร้ฝีมือต่ำลงด้วย  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างค่าจ้าง  และมีผลไปกระทบโครงสร้างการกระจายรายได้ในระดับประเทศด้วย  อย่างไรก็ดีในส่วนนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาในกรณีประเทศไทย ว่า Wage Profie ของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และเนื่องด้วยปัจจัยอะไร
  • Education Inequality :  ความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษา ถือเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งซึ่งส่งผลไปถึงโครงสร้างการกระจายรายได้อย่างมีนัยสำคัญ  จากข้อมูลพบว่าในประเทศไทย  ประชาชนในแต่ละกลุ่มอายุ มีความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องการศึกษาอยู่พอสมควร  ทั้งในส่วนของจำนวนปี และในส่วนของคุณภาพการศึกษา  ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ  พบความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาความเท่าเทียมกันของรายได้ กับ Education Inequality โดยพบว่า ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้และความไม่เท่าเทียมกันของการศึกษาในรุ่นพ่อแม่  ถูกส่งผ่านไปสู่รุ่นลูกด้วย  นั่นก็คือ มีการส่งผ่านความไม่เท่าเทียมทั้งในด้านการศึกษาและในด้านรายได้ไปสู่อีก Generation ด้วย  นอกจากนั้นแล้วสถานการณ์ดังกล่าวยังถูกซ้ำเติมด้วยคุณภาพการศึกษาที่ไม่เท่าเทียม  ระบบสาธารณะสุขที่ไม่ทั่วถึงและไม่มีคุณภาพที่ส่งผลไปยัง IQ ของเด็ก  รวมทั้งความจำเป็นในระดับครัวเรือน  ทำให้เด็กบางส่วนต้องออกจากโรงเรียนก่อนวัยอันควร  ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิด Education Inequality  ซึ่งส่งผลต่อไปยัง Income Inequality อย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย
  • Wealth Inequality :  สำหรับกลุ่มคนที่มั่งคั่งและร่ำรวยอยู่แล้วย่อมมีโอกาสในการลงทุนและหาผลตอบแทนจากทุนนั้นโดยเฉลี่ยมากกว่า  ดังคำกล่าวที่ว่า เงินต่อเงิน”  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่ตลาดเงินตลาดทุนมีความซับซ้อน  การขาดความรู้ความเข้าใจในกลไกการทำงานของตลาดเงินตลาดทุน ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่หนุนเสริมให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้   ปัญหาที่น่าเป็นห่วงอย่างมากอีกประการก็คือ ประชากรกว่าครึ่งประเทศมีเงินออมติดลบในทุกช่วงอายุ  ดังนั้น Wealth Inequality จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ปัญหา IncomeInequality คงอยู่และรุนแรงขึ้น

นอกจากปัจจัยทั้ง 3 ตัว ที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว  กระบวนการการสะสมทุนเองก็เป็นหนึ่งในกลไกที่ทำให้ปัญหาการกระจายรายได้ทวีความรุนแรงขึ้น  ทั้งนี้เนื่องจากประสิทธิภาพของกระบวนการการสะสมทุนของประชากรในเขตเมือง  และในเขตชนบท ไม่เท่าเทียมกัน
สำหรับทางออกเชิงนโยบายสำหรับปัญหาดังกล่าวข้างต้นนั้น  มีหลักการง่ายๆ เพียง 3 ประการ ได้แก่
1.)     การให้ความเท่าเทียมกันเชิงโอกาส (Equality of Opportunities)  และเข้าไปหยุดกลไกของความไม่เท่าเทียมกัน  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา  การหารายได้  การออม  การเข้าถึงแหล่งทุน  สุขภาพและการรักษาพยาบาล
2.)    สร้างระบบที่สามารถชดเชย  ช่วยคนลำบาก  ลดช่องว่าง  กระจายรายได้ออกอย่างเป็นระบบ  และประกันรายได้สำหรับผู้ด้อยโอกาส  เช่น  การให้สวัสดิการสังคม  ระบบประกันสังคม  ภาษีที่ Progressive
3.)    การดำเนินการเฉพาะจุด  เพื่อดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นในบางด้าน  ไม่ให้ซ้ำเติมให้มีความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้น  เช่น ปัญหาเรื่องน้ำ  ที่ทำกิน  ปัญหาจากการเปิดเสรีและการแข่งขัน
สุดท้ายสิ่งที่ได้จากงานศึกษาชิ้นนี้คือ  ต้องทำให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างกลุ่มต่างๆ  ระหว่างมาตรการต่างๆ  ระหว่างนโยบายต่างๆ อย่างแท้จริง  ในหลายกรณีเราเห็นแล้วว่าสิ่งที่มองดูผิวเผินว่าเท่าเทียมกัน  เช่น การศึกษา  กลับมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ภายในเมื่อเรามองลงไปในรายละเอียด  ดังนั้นแล้วอาจเป็นตัวนโยบายและมาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำเอง ที่ไปซ้ำเติมให้เกิดความเหลื่อมล้ำซ้ำขึ้นมาอีกก็เป็นได้
สาเหตุของปัญหา
1.  ศักยภาพที่ไม่เท่าเทียมกันในกลุ่มประชากร
  - ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
จากข้อมูลพบว่าในประเทศไทย  ประชาชนในแต่ละกลุ่มอายุ มีความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องการศึกษา ทั้งในส่วนของจำนวนปีและคุณภาพการศึกษา และยังพบอีกด้วยว่า ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้และความไม่เท่าเทียมกันของการศึกษาในรุ่นพ่อแม่  ถูกส่งผ่านไปสู่รุ่นลูกด้วย  เป็นวงจรที่ส่งผลถึงความยากจนที่ไม่จบสิ้น
 - ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้
เราคงคุ้นเคยกับคำพูดที่ว่า เงินต่อเงินกันดี อันหมายถึง สำหรับกลุ่มคนที่มั่งคั่งและร่ำรวยอยู่แล้วย่อมมีโอกาสในการลงทุนและหาผลตอบแทนจากทุนนั้นโดยเฉลี่ยมากกว่า  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่ตลาดเงินตลาดทุนมีความซับซ้อนอย่างปัจจุบัน และประชากรมีศักยภาพในการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงมาจากการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพไม่เท่าเทียมกัน
 -  การจัดเก็บภาษีทางอ้อม
ปัญหาเรื่องฐานภาษีอากรนี้เป็นสิ่งที่ซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำในประชากรให้เลวร้ายลงมาก ภาษีที่จัดเก็บในประเทศไทยปัจจุบันเป็นภาษีทางอ้อม ซึ่งภาษีทางอ้อมนี้เป็นการผลักภาระให้ผู้บริโภค เพราะทุกคนต้องกินต้องใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิตพื้นฐาน คนจนจึงมีการใช้จ่ายเมื่อเทียบสัดส่วนกับรายได้นั้นมากกว่าคนรวย กล่าวอีกนัยหนึ่ง อัตราการเสียภาษีเทียบกับรายได้ของคนจนจะสูงกว่าคนรวย
นอกจากนี้ยังมีสาเหตุ คนมีการศึกษาน้อย ส่งผลต่อทักษะและคุณภาพแรงงาน ทั้งในเมืองและชนบท แม้ว่าจะมีระบบสินเชื่อทางการศึกษาเข้ามาสนับสนุนก็ตาม แต่ก็ยังขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนที่อยู่ในภาคเกษตรได้รับผลตอบแทนต่ำ ซึ่งเกิดจากปัญหาผลผลิตและราคาสินค้าทางการเกษตรขาดที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง แม้ว่าภาครัฐจะเข้ามามีบทบาทในการปรับปรุงการถือครองและการใช้ที่ดิน แต่ยังขาดกลไกที่ชัดเจน และโปร่งใสการจัดสรรทรัพยากรยังไม่มีความเป็นธรรม ภาครัฐยังไม่ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายให้ชัดเจน เนื่องจากระบบการเมืองเข้ามาแทรกแซงการจัดสรรงบประมาณ  ทำให้งบประมาณยังไม่ค่อยกระจายลงไปยังพื้นที่ที่ยากจนเท่าที่ควรนโยบายการคลังยังไม่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม แม้ว่าจะมีนโยบายยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ก็ยังเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับภาพรวม
การลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้
สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศไทยยังไม่ดีขึ้น และกำลังกลายเป็นสาเหตุสำคัญต่อภาวะไร้เสถียรภาพทางสังคม ในการสัมมนาทั้งภาควิชาการและภาคเอกชน ได้มีการกล่าวถึงประเด็นนี้ และได้เสนอแนวทางแก้ไขอย่างกว้างขวาง โดยนางปราณี ทินกร ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การพัฒนาประเทศตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมของประเทศไทยทำให้ความยากจนของประชาชนลดลง แม้ว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวจะสูงขึ้น แต่ยังมีความเหลื่อมล้ำที่สูงอยู่ทั้งด้านรายได้และทรัพย์สินการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้าง สามารถใช้กลไกรัฐเข้าแก้ไข อาทิ การใช้มาตรการภาษี การกระจายอำนาจรัฐสู่ท้องถิ่น และการดูแลระบบสวัสดิการสังคมทั้งด้านการศึกษา ประกันสุขภาพ และที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจยังมาจากความไม่เท่าเทียมกันในการถือครองสินทรัพย์ สามารถลดความเหลื่อมล้ำด้วยการใช้มาตรการภาษี ซึ่งภาครัฐได้เริ่มดำเนินการแล้วในส่วนของภาษีที่ดิน แต่ควรครอบคลุมภาษีตราสารการเงินด้วย ปัจจุบันทรัพยากรทางเศรษฐกิจได้ถูกกระจายภายในระบบทุนนิยมการเมือง จึงมีมาตรการอุดหนุนจากภาครัฐสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะสร้างภาระหนี้สาธารณะ จึงควรเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ระบบมากกว่าการอุดหนุนโดยตรง นางสาวลักษมณ อรรถาพิช เศรษฐกรธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ประจำประเทศไทย กล่าวว่า การลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ต้องทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างทั่วถึงด้วยการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นกำหนดแนวทางการพัฒนาตามความต้องการของตนเอง รวมถึงการกระจายด้านสุขภาพและการศึกษา นอกจากนี้ ต้องเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงบริการด้านการเงิน ไม่เฉพาะสินเชื่อ แต่รวมถึงบริการด้านการออม ประกันสังคม และที่ต้องให้ความสำคัญคือ ระบบบำนาญ ทั้งนี้เพราะสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมวัยชรา หากแรงงานในวันนี้ที่ยังสามารถทำงานได้ต้องปลดเกษียณออกไปจะไม่มีรายได้รองรับ ในที่สุดจะกลายเป็นคนจน ยิ่งจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น  ดังนั้น จึงต้องเร่งแก้ไขใน ๓ ประเด็น คือ
  ต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตร เพราะขณะนี้คนจนจำนวน ๕.๓ ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอยู่ในภาคการเกษตร การแก้ไขความยากจนของประชาชนต้องแก้ให้ตรงจุด ช่วยเหลือโดยการให้เครื่องมือในการพัฒนาตัวเอง เช่น การจัดทำระบบการชลประทานให้ดีขึ้น
  การปฏิรูปการศึกษาทั่วประเทศให้มีมาตรฐานเดียวกัน ลดช่องว่างทางความรู้เพื่อเปิดโอกาสให้คนในสังคมได้พ้นจากความยากจน
จัดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น เพื่อวางแผนการเงินหลังเกษียณออกจากงาน มีความรู้ด้านการลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนที่เท่าเทียมกัน.
การแก้ไขปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำของรายได้เป็นเรื่องที่ยากและท้าทายยิ่ง เพราะปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นข้ามคืน แต่ได้สะสมตัวมาเป็นเวลานานมากกว่า 40-50 ปี จากความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่แล้วในตั้งแต่เริ่มแรก ส่งทอดจากรุ่นพ่อแม่ต่อเนื่องไปยังรุ่นลูก โดยนับวันปัญหานี้ก็ถูกซ้ำเติม จากความไม่เท่าเทียมกันของโอกาส ทั้งในด้านการศึกษา การมีงานทำ การออม การสาธารณสุข และการเข้าถึงอำนาจของภาครัฐ ซึ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่เดิม เพิ่มช่องว่างกว้างออกไปทุกทีๆ
                ไม่น่าแปลกใจว่า คงยากที่เราจะแก้ไขปัญหานี้ได้ในเวลาอันสั้นๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่า ทำไม่ได้ เพราะจากประสบการณ์ของหลายประเทศ พบว่าด้วยนโยบายที่เหมาะสมต่อเนื่อง รัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ในระยะยาว ทำให้ความเหลื่อมล้ำของรายได้ระหว่างรวยและจนได้ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และช่องว่างระหว่างรายได้ก็ไม่ต่างกันไม่มากนัก นโยบายดังกล่าวประกอบด้วย มาตรการใน 3 ด้าน
 1. ความเท่าเทียมกันของโอกาส ที่รัฐบาลจะให้กับประชาชน ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือในชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมกันเรื่องการศึกษา ความรู้ด้านการเงิน การทำมาหาเลี้ยงชีพ การสาธารณสุข และการเข้าถึงแหล่งการออมและทุนตรงนี้ ถ้าลองคิดดูจะพบว่า มีหลายสิ่งในไทยที่มองเผินๆ ดูเหมือนจะเท่าเทียม แต่ไม่เท่าเทียมกัน อาทิเช่น การศึกษาที่คิดว่าเท่าเทียม ระบบการออมที่คิดว่าเท่าเทียม แต่ไม่เท่าเทียม ทำหน้าที่เป็นเชื้อเพลิงส่งให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลจะต้องเข้าไปหยุดกลไกของความไม่เท่าเทียมนั้นไว้ ไม่ให้ไปซ้ำเติมปัญหาที่มีอยู่แล้วให้ลุกลามมากขึ้นกว่าเดิม โดยรัฐบาลต้องใส่ใจเรื่องความเท่าเทียมกันของโอกาสให้มากขึ้น
 2. การปรับระบบให้มีกลไก ที่จะช่วยลดช่องว่างของรายได้ลง โดยกระจายรายได้ออกไปอย่างเป็นระบบ และมีการประกันรายได้สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยและผู้ที่มีปัญหา ผ่านมาตรการสวัสดิการสังคม ระบบประกันสังคม และมาตรการด้านภาษีตรงนี้รัฐบาลต้องใส่ใจว่ามาตรการต่างๆ ที่รัฐออกมา จัดสรรทรัพยากรที่มีอย่างไร เป็นการทำให้ปัญหาการกระจายรายได้แย่ลงหรือไม่ เพราะหลายๆ ครั้ง มาตรการที่รัฐออกมาเป็นการดึงเอาทรัพยากรจากชนบทเข้าสู่เมือง จากคนจนให้คนรวย ทำให้ปัญหาเรื่องการกระจายรายได้แย่ลง ซึ่งการมีกลไกที่จะจัดสรรทรัพยากรจากส่วนกลางไปสู่ชนบท จากผู้ที่มีรายได้มากไปสู่ผู้มีรายได้น้อยอย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยให้ช่องว่างระหว่างรายได้ค่อยๆ แคบเข้า และดีกับประเทศในระยะยาว
 3. มาตรการเสริมเฉพาะจุด ในบางครั้งเมื่อปัญหาทวีความรุนแรงขึ้นในบางด้าน อาทิเช่น ปัญหาเรื่องน้ำจะทำให้เกษตรกรมีปัญหาทำกิน ยากจนขึ้นในระยะยาว รัฐก็ต้องมีมาตรการเพื่อบรรเทาปัญหาแต่เนิ่นๆ
บทสรุป
ทั้งนี้ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้จะเป็นแรงกดดันที่ทำให้ปัญหาความเหลี่อมล้ำทวีรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยจะทำให้กลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำได้รับความเดือดร้อนทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม แม้ว่าคนกลุ่มนี้จะมีรายได้สูงกว่าเส้นความยากจนและไม่ถือเป็นคนจนก็ตามตัวอย่างเช่นระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปจะสูงขึ้นตามระดับการบริโภคของกลุ่มคนที่มีรายได้สูงโดยเป็นระดับราคาที่สูงเกินไปสำหรับกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำและการเกิดปัญหาบริโภคนิยมในกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำซึ่งเกิดจากการเลียนแบบกลุ่มคนที่มีรายได้สูงทำให้เกิดปัญหาหนี้สินในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำเป็นต้นด้วยเหตุนี้การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้จึงเป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องทำไปควบคู่กันหากต้องการประสบความสำเสร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ ทั้งนี้ แนวทางหลักในการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางรายได้อยู่ที่การเพิ่มโอกาสและศักยภาพของคนจนตลอดจนการส่งเสริมนโยบายและระบบบริหารจัดการภาครัฐที่เหมาะสม
ข้อเสนอแนะ
                  รัฐบาลเป็นผู้ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงการกระจายรายได้ให้เกิดความเป็นธรรมที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยรัฐอาจดำเนินการดังนี้
-ปรับปรุงโครงสร้างทางภาษี  และมีมาตรการถ่ายโอนรายได้ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยเจาะจงไปที่การจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน หากรัฐกำหนดให้จัดเก็บภาษีทรัพย์สินที่                 0.1-1.0%  ของมูลค่าทรัพย์สิน เช่น ทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากกว่า 1 ล้านบาท รัฐจะมีรายได้เกิน 1 แสนล้านบาทต่อปี  ซึ่งมากพอที่จะกำหนดนโยบายในการช่วยเหลือคนจนได้
 -ปรับปรุงการจัดเก็บรายได้  โดยกระจายภาระภาษีให้เป็นธรรมมากขึ้น และขยายทางเลือกประเภทภาษี เช่น ภาษีทรัพย์สิน ได้แก่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีมรดก ภาษีกำไรจากการลงทุนในทรัพย์สิน ภาษีสิ่งแวดล้อม เป็นต้น แม้จะทำให้การกระจายรายได้ดีขึ้นไม่มาก แต่ก็เป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้
-กำหนดนโยบายการเงินการคลังที่สนับสนุนการลงทุนที่ช่วยให้เกิดการกระจายรายได้ดีขึ้น เช่น การลงทุนเพื่อจัดทำโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย การสร้างระบบขนส่งเพื่อมวลชน และส่งเสริมการลงทุนที่เน้นการใช้แรงงานและที่ส่งผลทางเศรษฐกิจโดยตรงแก่ผู้มีรายได้น้อย
-ควรส่งเสริมการมีงานทำในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนยากจน
-ควรส่งเสริมเศรษฐกิจระดับฐานราก โดยเน้นการบริหารจัดการด้านการผลิต  การตลาด และแหล่งเงินทุน เพื่อให้ประชาชนมีงานทำอย่างต่อเนื่องและเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มในผลผลิตท้องถิ่น
-ควรส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพต่างๆ ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นให้แก่ประชาชนในชนบท เพื่อนำความรู้มาเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ของประชาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น