วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาความรุนแรงทางการเมืองของไทย นางสาวประภารัตน์ ชนะบูรณาศักดิ์ 53242131

บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง ปัญหาความรุนแรงทางการเมืองของไทย


ความรุนแรงทางการเมืองมิใช่ปรากฏการณ์ใหม่ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความรุนแรงทางการเมืองนั้นเกิดขึ้นตลอดเวลาในรูปแบบต่างๆ อาทิ เช่น สงคราม การก่อกบฏ การก่อจลาจล การลอบสังหาร การปฏิวัติ การรัฐประหาร การก่อการร้าย หรือแม้กระทั่งการกดขี่ทางการเมืองที่เกิดกับเราโดยที่เรารู้ตัวบ้าง หรือบางครั้งเราก็อาจไม่รู้ตัวเลยก็ตาม อย่างไรก็ตามในทางวิชาการ โดยเฉพาะในทางสังคมศาสตร์ นักวิชาการต่างๆหันมาสนใจศึกษาปัญหาความรุนแรงทางการเมืองในฐานะปรากฏการณ์ทางสังคมมากขึ้นเป็นลำดับ จนอาจกล่าวได้ว่า ปัญหาความรุนแรงทางการเมืองกลายเป็นหัวข้อยอดนิยมที่มีการศึกษากันอย่างกว้างขวางมากที่สุดหัวข้อหนึ่ง
จากที่พบเห็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน คงไม่มีใครปฏิเสธได้หรอกว่าไม่ทราบเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองในกรณีของเสื้อเหลือง-เสื้อแดง ซึ่งมันมีรากฐานสาเหตุที่สลับซับซ้อนและนำมาสู่ความรุนแรงทางการเมืองหลายครั้ง จนที่สุดกลายเป็นโศกนาฏกรรมกลางเมืองเมื่อผู้คนกว่า 90 คนต้องเสียชีวิต ดังนั้นเพื่อเป็นการอธิบาย หาแนวคิด และสร้างทางเลือกให้กับสังคมไทยในการเผชิญหน้ากับความรุนแรงทางการเมือง โดยการเสนอแนะและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความรุนแรงต่างๆที่เกิดขึ้นทางการเมือง ให้เป็นทิศทางของสังคม ในการจัดการความรุนแรงทางการเมืองทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
เพื่อเป็นการง่ายต่อการทำความเข้าใจ ข้าพเจ้าจึงนิยามคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้ มาให้ได้ทราบกับอย่างคล่าวๆ  โดยคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 คำ คือ ความขัดแย้ง และความรุนแรง ดังนี้    
ความขัดแย้ง
ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525
-                   ขัด เป็นคำกิริยา หมายถึง ไม่ทำตาม ฝ่าฝืน ขืนไว้ แย้งกัน ไม่ลงรอยกัน
-                   แย้ง เป็นคำกิริยา หมายถึง ไม่ตรงหรือลงรอยเดียวกัน ต้านไว้ ทานไว้
สรุปความว่า ความขัดแย้ง หมายถึง การกระทำที่ไม่ลงรอย ขัดขืน หรือต่อต้านกัน
พจนานุกรมของเวบสเตรอร์ (Webster’s Ninth New Collegiate Dictionary) ได้ให้ความหมายของคำว่า ความขัดแย้ง (Conflict) ไว้ดังนี้
1.  การต่อสู้ การรบพุ่ง การสงคราม
2.  (a) การแข่งขันหรือการกระทำที่ตรงกันข้าม (ซึ่งสืบเนื่องมาจาก ความต่างกันในเรื่องความคิดเห็น ความสนใจ หรือบุคลิกภาพ)
     (b)  ความคับข้องใจ ซึ่งเกิดมาจากความปรารถนาแรงขับ ความต้องการที่ขัดกันทั้งภายในตัวบุคคลแลภายนอก
3.  ได้มีผู้รู้ให้ความหมายของคำว่า ความขัดแย้งไว้ต่าง ๆ กัน ความหมายที่สำคัญ ๆ  มีดังนี้
ความขัดแย้ง เป็นการต่อสู้ดิ้นรนระหว่างผู้ที่ไม่ลงรอยกัน (ทั้งบุคคลหรือกลุ่ม) ในด้านความต้องการ ความปรารถนา ความคิด และผลประโยชน์ ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มที่เผชิญหน้าไม่สามารถหาข้อยุติที่เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้
ความขัดแย้ง เป็นพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องต้องกัน ระหว่างกลุ่มที่มีความสนใจต่างกัน
ความขัดแย้ง เป็นกระบวนการหนึ่งที่เริ่มต้นเมื่อกลุ่มหนึ่งรับรู้ว่าตนถูกทำลายจากกลุ่มอื่นหรือส่อเค้าว่ากลุ่มอื่นตั้งท่าจะทำลายตน
ความขัดแย้ง หมายถึง สภาพการณ์ที่ทำให้คนตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจะตัดสินใจหรือตกลงหาข้อยุติอันเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้
ความขัดแย้ง หมายถึง สถานการณ์ที่คนมีความเห็น ความเชื่อไม่ตรงกัน และตกอยู่ในภาวะที่ไม่อาจจะตกลงหาข้อยุติที่น่าพอใจได้ทั้งสองฝ่าย หากปล่อยปละละเลย ไม่หาทางทำความเข้าใจอาจก่อให้เกิดความแตกแยก อิจฉาริษยา ซึ่งมีผลกระทบไปถึงความเสื่อมโทรมของหน่วยงานได้
ความขัดแย้ง หมายถึง สภาพการณ์ที่บุคคล 2 ฝ่าย มีความคิดเห็น หรือความเชื่อที่ไม่ตรงกันและยังไม่สามารถหาข้อยุติที่สอดคล้องต้องกันได้
ความขัดแย้งขององค์การ คือ ความไม่เห็นพ้องต้องกันระหว่างสมาชิก หรือกลุ่มขององค์การสองกลุ่ม หรือมากกว่าเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับว่า พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมในทรัพยากรที่จำกัด หรืองานต่าง ๆ หรือพวกเขามีความแตกต่างในด้านสถานภาพ เป้าหมาย ค่านิยม การรับรู้ ทัศนคติ ความเชื่อซึ่งแตกต่างกันและไม่เห็นพ้องต้องกัน ต่างก็พยายามแสดงทัศนะของพวกเขาให้เด่นกว่าบุคคลอื่น หรือความต้องการของเขาไม่ได้รับการตอบสนอง
จากความหมายดังกล่าวมาพอสรุปได้ว่า ความขัดแย้งเป็นความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่ขัดกันทั้งภายในตนเอง ระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่ม ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขัน หรือการทำลายกัน
ที่มาของความขัดแย้งในสังคม
ความขัดแย้งในสังคมมีสาเหตุและมีลักษณะอย่างที่กล่าวมาเบื้องต้นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีข้อสังเกตว่า สังคมทุกสังคมย่อมหลีกเลี่ยงความขัดแย้งไม่ได้ ความขัดแย้งในสังคมจึงเป็นเรื่องปกติ เป็นแต่เพียงว่าความขัดแย้งดังกล่าวยังสามารถหาข้อยุติได้ในกรอบของกลไกที่มีอยู่สังคมนั้นก็สามารถดำเนินต่อไป หรือตราบเท่าที่ปัญหาความขัดแย้งอยู่ในสัดส่วนที่ไม่แผ่กระจายไปทั่วทั้งสังคมจนหาวิธีการหรือกลไกเพื่อยุติความขัดแย้งไม่ได้สังคมนั้นก็สามารถดำเนินต่อไป โดยในภาพรวมจะถือได้ว่าสังคมนั้นยังอยู่ได้อย่างมีความสมานฉันท์ แต่เมื่อใดก็ตามที่ความขัดแย้งถึงจุดที่ไม่สามารถจะแก้ไขเยียวยาได้ ทางเลือกของสังคมก็จะถูกจำกัดลง โดยมีทางออกอยู่สองทางคือ การพยายามแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธี ด้วยการเจรจาหรือไกล่เกลี่ย หรือมิฉะนั้นก็คงต้องแก้ไขความขัดแย้งด้วยการใช้กำลังหรือความรุนแรง ผลที่ออกมาก็คือ การที่ฝ่ายหนึ่งชนะ อีกฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้ ผู้ชนะก็จะสร้างระเบียบการเมืองขึ้นมาใหม่ และถ้าเป็นกรณีที่ไม่สามารถจะเอาชนะกันได้ก็อาจจะถึงกับแตกแยกออกเป็น 2 ส่วน หรือ 3 ส่วน ของหน่วยชุมชนหรือหน่วยการเมืองใหม่แล้วแต่กรณี
ปรากฏการณ์ที่เกริ่นมาเบื้องต้นสามารถจะข้าใจแจ่มชัดยิ่งขึ้นถ้ามองในรูปของความเป็นจริงอย่างวัตถุวิสัยของธรรมชาติมนุษย์และสังคมมนุษย์ ในแง่หนึ่ง สิ่งที่เรียกว่ามนุษย์หรือสัตว์ประเสริฐนั้นก็คือสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นมาเอง ในความเป็นจริง มนุษย์และสัตว์ก็คือชีวภาพของสิ่งมีชีวิตที่มีความคล้ายคลึงกันทุกอย่าง มนุษย์จะต่างจากสัตว์ก็ตรงที่มีสมองที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่า มีความจำที่ยาวนานกว่า มีกล่องเสียงที่สามารถสร้างเสียงได้มากกว่าเพื่อใช้ในการสื่อสาร และที่สำคัญมีนิ้ว 5 นิ้วที่ใช้ประโยชน์อย่างมากในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เช่น เครื่องไม้เครื่องมือ อาวุธ รวมทั้งงานศิลปะ การก่อสร้าง ฯลฯ สองมือพร้อมด้วยสิบนิ้วของมนุษย์บวกกับสมองที่มีความฉลาดเฉียบแหลมทำให้มนุษย์มีคุณภาพเหนือกว่าสัตว์อย่างมาก
แต่ถ้าเราจัดมนุษย์เข้าสู่สภาพธรรมชาติ (the state of nature) มนุษย์ก็คือสัตว์ดีๆ นี่เอง จุดหลักก็คือการแย่งอาหารและก็แย่งเพศตรงกันข้ามเพื่อการสมสู่ตามธรรมชาติอันเป็นลักษณะทั่วไปของสัตว์ แต่มนุษย์มีความก้าวหน้ากว่าสัตว์ในแง่ต้องการสิ่งที่ไกลเกินกว่าสองสิ่งที่กล่าวมาเบื้องต้น นั่นคือ ต้องการอำนาจและสถานะมากกว่าสัตว์ ในส่วนนี้เป็นส่วนของนามธรรมซึ่งสัตว์ก็มีอยู่แต่น้อยกว่ามนุษย์มาก ที่สำคัญ มนุษย์มีความชาญฉลาดพอที่จะรู้ว่าการจะอยู่ร่วมกันโดยสันติและเอื้อประโยชน์ต่อกันนั้น วิธีที่ดีที่สุดก็คือการสร้างกลไกเพื่อจะแก้ไขความขัดแย้งและอยู่ร่วมกันโดยสันติ เอื้ออำนวยประโยชน์ซึ่งกันและกัน พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งด้วยการมีข้อตกลงที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ โดยการสถาปนาขนบธรรมเนียมประเพณี และต่อมาก็ทำให้เกิดความมั่นคงด้วยการทำให้เป็นตัวบทกฎหมายโดยมีผลบังคับใช้ เช่น ประเพณีการสู่ขอสตรีเพื่อมาเป็นคู่ครองโดยไม่ต้องใช้กำลังเข้าทำการฉุดสมาชิกของครอบครัวอื่น มีการสร้างกฎกติกาของความสัมพันธ์ในสังคมมนุษย์ สร้างขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อการสื่อสารของชุมชนโดยมีการสร้างภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษากาย กิริยามารยาท วัฒนธรรม การได้มาซึ่งอำนาจรัฐ การควบคุมผู้ใช้อำนาจรัฐ การจัดสรรทรัพยากรที่ดินทำกินและทรัพยากรอื่นๆ ของชุมชนเพื่อทุกฝ่ายสามารถจะได้ประโยชน์ร่วมกัน ฯลฯ
ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้คือการจัดระเบียบการเมือง ถ้าจะเรียกรวมๆ ก็อาจจะใช้คำว่า วัฒนธรรม (culture) เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงมีความสามารถข้ามจากสภาพธรรมชาติ (the state of nature) มาสู่ the state of culture ได้ในที่สุด สังคมมนุษย์จึงสามารถอยู่ร่วมกันโดยสันติ มีความขัดแย้งน้อยที่สุด หรือถ้ามีความขัดแย้งเกิดขึ้นก็มีกลไกในการแก้ไขความขัดแย้งนั้นได้
แต่เงื่อนไขที่สำคัญที่สุด the state of culture จะต้องเป็นที่ยอมรับและมีความชอบธรรม โดยมนุษย์ที่เป็นสมาชิกของชุมชนทุกคนยอมรับสภาพของ the state of culture นั้น เช่น ประเด็นในเรื่องผลประโยชน์ที่ลงตัว ประเด็นในเรื่องอำนาจที่เป็นที่ยอมรับ ประเด็นในเรื่องความเป็นธรรมของสังคม ประเด็นเรื่องความยุติธรรมในกระบวนการกฎหมายและศาล และการยอมรับมาตรการ กระบวนการของการแก้ไขความขัดแย้ง เช่น ความขัดแย้งเรื่องที่ทำกินก็สามารถแก้ไขปัญหาด้วยการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ประนีประนอมยอมความ เจรจาไกล่เกลี่ย จนเอื้อประโยชน์ต่อทุกฝ่ายและทุกฝ่ายพอใจ แต่เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ไม่สามารถจะยอมรับ the state of culture ได้อีกต่อไป เพราะระบบและกลไกดังกล่าวไม่สามารถจะแก้ไขความขัดแย้งได้ มนุษย์ที่อยู่ในชุมชนเดียวกันนั้นก็อาจจะข้ามแดนจาก the state of culture ไปสู่ state of nature นั่นคือการใช้พละกำลังและความรุนแรงเข้าแก้ไขปัญหา และอาจจะลงเอยด้วยการสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางกาย หรือสูญเสียทรัพย์สิน ความขัดแย้งอาจจะยุติลง แต่ในบางกรณีก็เป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น และกรณีที่เลวที่สุดก็คือ การใช้กำลังรุนแรงที่ดำเนินต่อยาวนานเป็นปีๆ เช่นในกรณีสงครามกลางเมืองของอังกฤษ ของสหรัฐอเมริกา ของสเปน ของจีน เป็นต้น แต่ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดก็คือแตกเป็นเสี่ยงๆ ของชุมชนการเมือง หรือหน่วยการเมืองนั้น ซึ่งมีตัวอย่างมาแล้วหลายกรณีในประวัติศาสตร์
สาเหตุของความขัดแย้ง
ความขัดแย้งมีสาเหตุหลักๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่สาเหตุที่มีการพูดถึงบ่อยๆ ก็คือการเปลี่ยนแปลงค่านิยม (values) และปทัสถาน (norms) หมายความว่า ในสังคมซึ่งมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้นอาจจะไม่สามารถคงสภาพของการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้นอยู่ตลอดไป
ก) ในเบื้องต้นคือ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากค่านิยมและปทัสถานที่ต่างกันของคนต่างรุ่นหรือต่างวัย ที่เห็นได้บ่อยครั้งคือระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ ในขณะที่คนรุ่นเก่าซึ่งอาจจะมีประสบการณ์พิเศษ ผ่านการต่อสู้ในทางการเมือง รวมทั้งในการทำสงคราม ในการกู้ชาติ ในการกู้เศรษฐกิจ จนนำความสงบสุขมาสู่สังคม บุคคลกลุ่มนี้ย่อมมีค่านิยมและปทัสถานที่ตนมีความเชื่อมั่นว่าเป็นสิ่งซึ่งถูกต้องและควรดำเนินต่อไป แต่เมื่อเวลาผ่านไป เมื่อคนรุ่นใหม่เกิดขึ้นซึ่งมีโลกทัศน์ ค่านิยมและปทัสถานต่างจากที่เคยมีมาในอดีต ความลงรอยระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่าเริ่มจะเป็นประเด็นปัญหา และในทุกสังคมไม่สามารถจะเลี่ยงความขัดแย้งนี้ได้ ซึ่งมักจะออกมาเป็นรูปธรรมในแง่ของพฤติกรรม การแสดงออกในสังคม เริ่มตั้งแต่การแต่งตัว ทรงผม อาหารการกิน การบันเทิง การร้องรำทำเพลง การเต้นรำ บันเทิงต่างๆ เช่น ชนิดของภาพยนตร์ ชนิดของสารคดี ชนิดของรถยนต์ที่ใช้ในการขับขี่ รวมแม้กระทั่งค่านิยมเกี่ยวกับครอบครัว ศาสนา วัฒนธรรมดั้งเดิม กิริยามารยาท ภาษาพูด ความขัดแย้งในลักษณะนี้ไม่มีทางจะหลีกเลี่ยงได้เลย แต่จะปรากฏในทุกสังคมตั้งแต่อดีตกาลมาจนถึงปัจจุบัน
ข) ความขัดแย้งอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม สังคมที่เคยเป็นสังคมเกษตรกรรมเมื่อมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเกิดขึ้น มีการย้ายถิ่นจากชนบทไปสู่แหล่งที่มีการผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรม ที่ตั้งของโรงงานและที่พักของคนงานที่อยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ๆ มีการจัดตั้งเป็นสหภาพ มีการจัดตั้งเป็นชมรม ฯลฯ ย่อมทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างสังคมสองส่วน คือ ส่วนของชนบทที่เป็นภาคเกษตร กับส่วนของชุมชนเมืองซึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรม สภาวะที่เกิดขึ้นนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
การเปลี่ยนแปลงในแง่ของประชากร จะมีการย้ายถิ่นจากชนบทเข้ามาสู่ในเมืองมากยิ่งขึ้น รูปแบบการดำรงชีวิตของชนบทและในเมืองต่างกัน ค่านิยมของการอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ที่ต้องมีความเร่งรีบ ตรงต่อเวลา มีความชาญฉลาดในการแก้ปัญหาส่วนตัว ความสัมพันธ์มนุษย์ที่ค่อนข้างจะไม่เป็นกันเอง ยึดผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง ฯลฯ จะทำให้บุคคลที่มีชีวิตอยู่ในเขตเมืองและภาคการผลิตอุตสาหกรรมแตกต่างจากญาติโกโหติกาในหมู่บ้านที่ตนเคยวิ่งเล่นเมื่อตอนเด็ก ความแตกต่างของสังคมสองส่วนนี้นำไปสู่ความขัดแย้งในเรื่องค่านิยม ปทัสถาน แบบกระสวนของพฤติกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่บุคคลที่มาจากประเทศกำลังพัฒนา แต่ไปศึกษาหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศที่พัฒนามากกว่า ก็จะประสบปัญหาที่รุนแรงกว่าที่กล่าวมาเบื้องต้นเมื่อกลับมาภูมิลำเนาเดิมของตน
นอกจากนี้ในภาคอุตสาหกรรมจะประกอบด้วยผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต อันได้แก่ เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม เจ้าของกิจการบริการขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันก็มีผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างที่กินเงินเดือนจากเจ้าของกิจการ ความขัดแย้งระหว่างคนสองกลุ่ม กลุ่มผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เจ้าของกิจการบริการ กับผู้ใช้แรงงานหรือลูกจ้างในเรื่องของค่าจ้าง สวัสดิการ ความยุติธรรม เกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในแง่ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน และจำนวนชั่วโมงของการทำงาน ย่อมจะนำไปสู่ความขัดแย้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความขัดแย้งในส่วนนี้ คาร์ล มาร์กซ์ ถือว่าเป็นความขัดแย้งของชนชั้น และหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาโดยใช้ความรุนแรงด้วยการลุกฮือขึ้นปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ เพื่อล้มอำนาจชนชั้นกระฎุมพี
ค) ความขัดแย้งในสังคมอาจจะเกิดขึ้นกับการไหลเข้ามาของวัฒนธรรมและอารยธรรมของต่างถิ่น เช่น การเข้ามาเผยแผ่ศาสนาของชาวตะวันตกในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา การนำความคิดใหม่ๆ เรื่องการปกครองบริหารมาเผยแพร่ให้กับคนพื้นเมือง การนำมาซึ่งสิ่งประดิษฐ์อันเกิดจากวิทยาการสมัยใหม่คือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ย่อมจะมีผลกระทบต่อสังคมต่างๆ ที่รับเอาเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ผู้ซึ่งมีศรัทธาในศาสนาอิสลามอาจจะไม่พอใจกับการเข้ามาของบาทหลวงที่เผยแพร่ศาสนาคริสต์ ผู้ซึ่งมีความเชื่อมั่นในศาสนาพุทธและลัทธิขงจื้ออาจจะมีแนวโน้มที่ไม่ยอมรับคนนอกรีตศาสนา จนนำไปสู่การต่อต้านบาทหลวงและผู้นับถือศาสนาคริสต์ ในญี่ปุ่น ในจีน ในเกาหลี เป็นต้น การนำเข้ามาซึ่งแพทย์แผนใหม่ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อแพทย์ท้องถิ่นที่เรียกว่า หมอผีถือแซ่หางวัว เพราะการเข้ามานั้นไม่เพียงแต่คุกคามวิชาชีพของคนดั้งเดิม แต่ยังกระทบถึงสถานะทางสังคม การยอมรับในเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจอีกด้วย
ง) ความขัดแย้งที่สำคัญก็คือความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมือง สงครามโลกครั้งที่สองเป็นความขัดแย้งของลัทธิฟาสซิสต์กับคอมมิวนิสต์ และเสรีประชาธิปไตย และหลังจากการพ่ายแพ้ของลัทธิฟาสซิสต์และกลุ่มฟาสซิสต์แล้วก็นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิเสรีประชาธิปไตย จนนำไปสู่ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศที่เรียกว่าสงครามเย็นเป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ แต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างใหญ่หลวง รวมทั้งสงครามร้อนด้วย อันได้แก่ สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม สงครามอัฟกานิสถาน สงครามอ่าวเปอร์เซีย และสงครามอิรัก
ในแง่การเปลี่ยนแปลงภายในนั้นมีการต่อสู้ระหว่างลัทธิเผด็จการทหารและลัทธิคอมมิวนิสต์ จนเกิดสงครามกลางเมืองในประเทศจีน และความขัดแย้งที่ใช้กำลังในประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียรวมทั้งประเทศไทย จะเห็นได้ว่าความขัดแย้งทางอุดมการณ์นี้ได้นำไปสู่การแก้ปัญหาโดยใช้ความรุนแรงและใช้กำลังจนหมิ่นเหม่จะเกิดสงครามปรมาณูที่อาจทำลายล้างผลาญโลกได้ทั้งโลก หรือจะยกตัวอย่างความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางศาสนาซึ่งอาจจะเป็นพระเจ้าองค์เดียวกันแต่ตีความต่างกันก็คือสงครามครูเสดในอดีตที่ทำการรบกันถึง 100 ปี
ทั้งความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองและอุดมการณ์ทางศาสนา เป็นความขัดแย้งที่ส่งผลกระทบไม่เพียงแต่สังคมหรือชุมชนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก การแบ่งเป็นค่ายในยุคสงครามเย็นเป็นตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดของผลกระทบที่มาจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมือง ส่วนความขัดแย้งทางศาสนานั้นแซมมูเอล ฮันติงตัน ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า The Clash of Civilizations ซึ่งหมายถึงการปะทะกันของอารยธรรม อาจตีความได้ว่าอารยธรรมที่ต่างกันอาจจะเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง อารยธรรมดังกล่าวนี้ตีความได้หลายส่วน ส่วนที่เป็นโลกยุคเก่าที่ไม่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทางเศรษฐกิจและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาจจะมีความขัดแย้งต่อต้านกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ดังปรากฏการต่อต้านให้เห็นชัดหลายครั้ง เพราะเชื่อว่าโลกาภิวัตน์จะมีส่วนทำลายสังคมแบบเดิม และนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศร่ำรวยและประเทศยากจน ระหว่างคนรวยและคนจน เนื่องจากความแตกต่างทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันส่งผลโดยตรงกับความแตกต่างทางเศรษฐกิจ แต่อีกมุมหนึ่งก็อาจจะมองได้ว่าการปะทะกันของอารยธรรมอาจจะอออกมาในรูปของผู้ซึ่งนับถือศาสนาคริสเตียนกับศาสนาอิสลาม หรือถึงแม้ไม่มีลักษณะเช่นนั้นโดยตรงก็จะเห็นได้ชัดว่า ความขัดแย้งระหว่างประเทศตะวันตกซึ่งมีความร่ำรวยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งพันธมิตรของตนกับประเทศในตะวันออกกลางหลายประเทศซึ่งนับถือศาสนาที่ต่างจากประเทศตะวันตก ก็อาจจะเป็นตัวอย่างของการปะทะกันระหว่างอารยธรรมได้ แต่แซมมูเอล เองได้เคยปฏิเสธว่าสิ่งที่เขาพูดถึงมิได้หมายถึงการปะทะกันระหว่างคริสเตียนกับอิสลามในลักษณะสงครามศาสนา
จ) ความขัดแย้งที่เกิดในสังคมอาจจะเกิดขึ้นระหว่างสังคมต่างเผ่า ต่างเชื้อชาติ เช่น การคืบคลานเข้ามาของลัทธิล่าอาณานิคม ย่อมนำไปสู่การต่อสู้ด้วยพละกำลัง แต่หลังจากที่มีการจัดระเบียบระหว่างเจ้าอาณานิคมหรือเมืองขึ้น สังคมก็อาจจะดำเนินไปได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และผลสุดท้ายก็หนีไม่พ้นที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งของการเรียกร้องเอกราชด้วยการใช้กำลัง และถึงแม้จะได้รับเอกราชแล้วความไม่สามารถที่จะตกลงในเรื่องการจัดสรรอำนาจและตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรมอันมีผลมาจากประวัติศาสตร์ รวมทั้งการปกครองโดยลัทธิล่าอาณานิคมก็อาจจะนำไปสู่สงครามกลางเมือง และหน่วยการเมืองนั้นแตกเป็นเสี่ยงๆ ดังตัวอย่างของชมพูทวีปที่แตกเป็นอินเดีย ปากีสถาน และต่อมาคือบังคลาเทศ ตัวอย่างของการแตกหน่วยการเมืองเนื่องจากเกิดการแตกของหน่วยใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ก็คือ การล่มสลายของสหภาพโซเวียตออกมาเป็นหลายประเทศ
ฉ) แต่ความขัดแย้งที่สำคัญในสังคมก็คือ ความขัดแย้งที่ระเบียบการเมืองที่มีอยู่เดิม ที่คนกลุ่มหนึ่งอยู่ในฐานะเหนือกว่าทั้งในแง่ทรัพย์ศฤงคาร สถานะทางสังคมและอำนาจ (wealth, status and power) โดยคนกลุ่มใหญ่เป็นคนที่อยู่ในชนบท หรือเป็นคนชั้นล่างซึ่งมีความด้อยกว่าคนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งอยู่บนยอดปิรามิดในทรัพย์ศฤงคาร สถานะทางสังคมและอำนาจ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น อาจจะประสบปัญหาความขัดแย้งเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้นว่า เมื่อมีการพัฒนาเศรษฐกิจจากเกษตรมาสู่อุตสาหกรรม ซึ่งย่อมส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ ของสังคม เช่น การขยายตัวของการศึกษา ของชุมชนเมือง ของการสื่อสาร ของสื่อมวลชน ที่สำคัญคือ การเกิดองค์กรจัดตั้งที่เป็นสหภาพ การขยายตัวของการคมนาคมและการขนส่ง การรับข่าวสารข้อมูล และการได้รับความรู้โดยอาศัยวิทยาการใหม่ๆ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญยิ่งทั้งในทางเศรษฐกิจและทางสังคม สภาวะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้แซมมูเอล ฮันติงตัน กล่าวไว้ว่าเป็นสภาพของ social mobilization ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นก็จะส่งผลกระทบอย่างแรงต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสมาชิกของสังคมนั้นๆ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในด้านต่างๆ จะนำไปสู่ความตื่นตัวทางการเมือง โดยจะมีการเรียกร้องให้มีสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง มีสิทธิที่จะได้ประโยชน์จากทรัพยากรของประเทศชาติที่ยุติธรรมมากยิ่งขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงทางอาตมันทางการเมือง (political self) ของคนในสังคม กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงจากการเป็นประชากรกฎหมาย หรือประชาชนทั่วๆ ไปที่มีสัญชาติประเทศนั้นมาเป็นประชากรทางการเมือง โดยตั้งคำถามว่า ตนเองเป็นใคร มีสิทธิมากน้อยเพียงใด เป็นเจ้าของประเทศด้วยหรือไม่ และในฐานะเจ้าของประเทศควรจะมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและศักดิ์ศรี หรือไม่อย่างไร มากน้อยเพียงใด ที่สำคัญคือ การต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบบการเมืองแบบเปิด
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนี้ แซมมูเอล ฮันติงตัน กล่าวว่า เป็นความจำเริญทางการเมือง (political modernization) เมื่อมีความจำเริญทางการเมืองเกิดขึ้นจำเป็นอย่างยิ่งต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนทางการเมืองที่มีอาตมันทางการเมืองแบบประชาธิปไตย มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม มีกิจกรรม มีการแสดงออกในสถาบันทางการเมือง หรือในกลไกทางการปกครองของรัฐ เริ่มตั้งแต่การออกกฎหมาย การวางนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ ฯลฯ การสร้างสถาบันและกลไกเหล่านี้คือการพัฒนาการเมือง (political development) ฮันติงตันกล่าวว่า เมื่อความจำเริญทางการเมืองอยู่ในระดับสูง เช่น อยู่ในขั้นบวก 4 ตัว แต่การพัฒนาทางการเมืองอยู่ในระดับต่ำคือบวก 1 ตัว ก็จะเกิดการเสียดุลระหว่างการพัฒนาทางการเมืองกับความจำเริญทางการเมือง ผลสุดท้ายก็จะนำไปสู่การ ผุกร่อนทางการเมือง (political decay) โดยใช้ความรุนแรงเข้าแก้ปัญหาจนถึงขั้นเกิดจลาจลและสงครามกลางเมืองได้

           ความเจริญทางการเมือง                      >>>>                             ความผุกร่อน
การพัฒนาการเมือง                             >>>>                             ความวุ่นวายทางการเมือง
ความรุนแรง
ความหมายของคำว่า Violence หรือ ความรุนแรง หมายถึง การกระทำที่มีหรือส่อว่ามีเจตนาที่จะกระทำให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บ การบาดเจ็บนี้อาจเนื่องมาจากการทำร้ายร่างกาย หรือจิตใจ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
สาเหตุของการเกิดความรุนแรง
1.ลักษณะส่วนตัวของผู้กระทำความรุนแรง
2.ทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อผิดๆ ของผู้กระทำความรุนแรง ตลอดจนความเชื่อดั้งเดิมผิดๆ ที่เรียกว่ามายาคติ (myths) ซึ่งมีอิทธิพลต่อวิธีคิดและพฤติกรรมทั้งของ ผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำและบุคคลอื่นๆ
3. สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เกิดความรุนแรง เช่น สื่อต่าง ๆ เป็นต้น
ทางออกของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไทยเพื่อมิให้นำมาซึ่งความรุนแรงทางการเมือง
กลุ่มนักวิชาการ และผู้ที่ปรารถนาให้ความสมานฉันท์เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ได้มีความพยายามหลายครั้ง เพื่อนำเสนอให้มีกระบวนการรับฟังกันและกันด้วยใจที่ไร้อคติ (Dialogue) แต่ก็พบกับความล้มเหลวเช่นกัน ที่เป็นเช่นนั้นเป็นเพราะ
1) แกนนำของคู่ขัดแย้งไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อการเจรจา ตามแนวทางสันติวิธี
2) ต่างฝ่ายต่างใช้ สันติวิธี เป็น คำพูดที่สวยหรูต่อภาพลักษณ์ฝ่ายตนแต่แท้จริงไม่สามารถปฏิบัติตามได้เลย เพราะ สิ่งที่มีอิทธิพลเหนือกว่า สันติวิธี คือ กิเลส และความใฝ่มุ่งเอาชนะกัน โดยขาดการคิดถึง ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ที่ต้องมาเดือดร้อนจาก สถานการณ์อันเลวร้ายที่พวกเขาไม่ได้ก่อขึ้น นั่น คือ ปรากฏการณ์ของการลืมนึกถึงการเอาใจเขามาใส่ใจเรานั่นเอง
3) การไม่ยอมรับกฎ กติกา ตามแนวทางประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ทำให้มักอ้าง สิทธิ เสรีภาพ แต่ขาดการคำนึงถึง ภราดรภาพ (Fraternity) คือความเป็นพี่เป็นน้องกัน มนุษย์ทุกคนจะต้องมีความเท่าเทียมกันและปฏิบัติต่อกันดุจพี่น้อง ความเป็นพี่เป็นน้อง เป็นสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้มนุษย์ คือ การไม่เน้นผิวพรรณ หรือ เผ่าพันธุ์
4) การสื่อสาร และการให้ข้อมูลแก่สังคมมีการบิดเบือน เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มตน จนทำให้คนอื่นๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง (หรือ คนไม่มีสีเสื้อ ว่าเป็นฝ่ายใด) จะเกิดความสับสน และในที่สุดจะนำมาซึ่งการถูกแทรกแซงและบ่อนทำลายความมั่นคงและความสามัคคีในชาติได้
5) ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ต้อง ถามใจตัวเองให้ชัดเจนว่า พวกท่านทั้งหลายรักชาติ รักแผ่นดินนี้ อย่างแท้จริง หรือไม่เพราะนั่นหมายถึง เราจะค้นหาทางออกที่เป็นจุดหมายร่วมกัน ที่ต่างฝ่าย ต่างชนะ นั่นคือ ประเทศชาติชนะ มิใช่ใครกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง ชนะ
ถ้าการตัดสินใจแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย ขาดเป้าหมายที่เป็นผลประโยชน์ชาติร่วมกันอย่างแท้จริงแล้ว ทุกอย่างจะพบทางตัน แต่อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า สถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาในสังคมไทยตลอดระยะกว่า ๔-๕ ปีที่ผ่านมามีท่าทีว่าจะคลี่คลายลงไปมาก เห็นได้จาก กลุ่มประชาชนที่เป็นชนชั้นกลาง ได้รวมพลังผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต ออกมาแสดงจุดยืนและมีอีกหลายกลุ่ม ได้ออกมาเสนอทางออก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนชาวไทยได้มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นมาระดับหนึ่ง เพราะประชาชนสามารถรวมตัวกัน เพื่อตอบโต้ การใช้ความรุนแรง หรือ มีการเรียกร้องให้ธำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์” ทำให้คู้ขัดแย้งหลัก ต้องทบทวนวิธีการต่อสู้ เรียกร้องใหม่หลายครั้ง เช่น ฝ่ายแกนนำ นปช. พร้อมเปิดเจรจาฯ กับฝ่ายรัฐบาล และยืดเวลาให้ยุบสภาจาก ๑๕ วัน เป็น ๓๐ วัน และฝ่ายรัฐบาลเอง ก็ยืนยันผ่าน ผบ.ทบ. ว่า จะไม่มีการใช้กำลังเพื่อสลายม็อบ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา
1. ในภาวการณ์แก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เสนอให้มีการ เจรจาตามแนวทางสานเสวนามิใช่การเจรจาต่อรอง เพื่อกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการยุบสภา แม้ว่า การยุบสภา จะมิใช่การแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ที่ตรงกับสาเหตุที่แท้จริง แต่ข้าพเจ้าเห็นว่า เป็นการแก้ไขในภาวะวิกฤติ ซึ่งอาจจะคิดว่า ไปสนับสนุนข้อเสนอของ นปช. ก็จริง แต่ผู้เขียนเห็นว่า การคืนอำนาจให้ประชาชน เป็นคนตัดสินใจ (เพราะคนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ เป็นเจ้าของ สิทธิ นี้ มิใช่เฉพาะกลุ่มที่ประท้วง เรียกร้อง ) พวกเขา จะได้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งถือว่า เป็นการยอมรับ กฎ กติกา ตามรัฐธรรมนูญ ร่วมกัน
2. ควรจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ (เฉพาะกิจ) เพื่อรักษาการณ์ ช่วงที่มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ เพื่อลดความ ไม่ไว้วางใจของฝ่ายที่ขัดแย้งกันลงไป และองค์กรกลาง เช่น กกต. ต้องจริงจัง ต่อการจัดเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ ยุติธรรม และถึงแม้ว่า บางฝ่าย อาจจะโต้แย้งว่า มีการซื้อเสียงด้วยอำนาจเงินเข้ามาอีกได้ ข้าพเจ้ายอมรับว่า การซื้อเสียงมีจริงแต่จากการออกมาแสดงพลังของคนกลุ่มต่างๆ ที่ เป็นคนจากชุมชนเมือง และนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ รวมทั้ง การเสนอ สื่อ ที่สร้างความเป็นกลาง มีการตรวจสอบ การทุจริต เข้มแข็งมากขึ้น เชื่อว่า อำนาจเงินจะเบาบางลงและจากบทเรียน การสูญเสียของชาติ ครั้งนี้ จะทำให้คนอีกจำนวนมาก เกิดการพิจารณา พิเคราะห์สรรหานักการเมือง พิถีพิถันมากขึ้น
3. เสนอแนะให้มีการศึกษาวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญ คือ ความสัมพันธ์ปัจจัยแห่งความขัดแย้งทางการเมืองไทย ในมิติของพลังชุมชนจากชนบท ต่อ การขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลง การเมือง การปกครองไทยเพราะ จากบทเรียนของความขัดแย้งและการก่อความรุนแรงทางการเมืองที่ผ่านมา ทำให้เราได้เห็นถึง ความขัดแย้งทางการเมืองไทยในระดับชาติมัก เกี่ยวข้องกับพลังการระดมคนของผู้นำชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเสนอให้มีการศึกษาเป็น ทีมจากนักวิชาการหลายๆสาขา มาบูรณาการ เพราะ การยึดมั่นในวิธีการเก่าๆ ทั้งที่ปัจจัยต่างๆได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ย่อมทำให้เราย่ำอยู่กับที่ และพบจุดจบในที่สุด
4. ควรมีการถอดบทเรียน กระบวนการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง เพื่อการเรียนรู้ และหาทางป้องกัน ความขัดแย้งในอนาคต
5. การปฏิรูปสื่อสารมวลชน และจริงจังจัดระเบียบสื่อให้มีจริยธรรมที่ดี และมีความเป็นกลางอย่างแท้จริง
6. การปฏิรูปการเมือง ไปพร้อมๆกับการปฏิรูประบบราชการ เป็นวาระแห่งชาติ
7. การใช้บทบาทของผู้นำชุมชนในระดับท้องถิ่น ในการสร้างความสมานฉันท์ตั้งแต่ระดับชุมชน และเป็นตัวการในการเปลี่ยนแปลง(Change Agent) ทัศนคติ ค่านิยม และความเข้าใจที่ถูกต้องของแนวทาง สันติวิธีซึ่งสามารถปฏิบัติได้จริง โดยความร่วมมือกับ กระทรวงยุติธรรม ในกระบวนการยุติธรรมชุมชน และผ่านทางกรมการปกครอง ในการเจรจาไกล่เกลี่ยในระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ทั้งนี้ เพื่อสร้างการเรียนรู้ถึง บทเรียนความเสียหายจากการประท้วงและการใช้ความรุนแรงจากอดีตที่ผ่านมาทั้งนี้ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สถานการณ์ความรุนแรงใน ๒ ปีที่ผ่านมานี้จะกลายเป็น ครูที่เก็บไว้สอนเยาวชนรุ่นหลังให้ศึกษา เรียนรู้ เพื่อมิให้ กงล้อแห่งประวัติศาสตร์ความแตกแยกในสังคมไทย ได้เกิดขึ้นอีก ดังเช่นที่ไทยเราเคยเสียกรุงศรีอยุธยาไปเพราะคนไทยแตกความสามัคคีกันเองความสำเร็จ จะบรรลุผลได้ ควรเริ่มตั้งตั้งในระดับชุมชน โดยผ่าน ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ คือ ผู้นำชุมชน นั่นเอง
ข้อคิดส่งท้าย
ความคิดเห็นที่แตกต่างเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้องเป็นไปด้วยการเคารพซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งการรับฟังกันด้วยใจที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา ด้วยการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้คิดถึงว่า ถ้าคนไทยไม่รักกันแล้ว ชนชาติใดในโลกนี้ที่จะรักพวกเราด้วยความบริสุทธิ์ใจ
แม้ว่า สถานการณ์ความรุนแรงมีทีท่าว่าจะหาทางคลี่คลาย หรือยุติ ได้ยาก แต่สิ่งหนึ่ง ที่คนไทย มีอยู่เหมือนกัน คือ ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ขอให้ ความคิดเห็นและอุดมการณ์ทางการเมืองที่ขัดแย้ง ยุติลงได้ด้วย การสานเสวนา เพราะนั่น คือ ทางออกที่เหมาะสมกับ คนไทยและสังคมไทย นับตั้งแต่ในอดีตกาลที่ผ่านมา เหล่าผู้นำชุมชน ต่างก็ใช้การล้อมวงพูดคุยกัน ฉันท์พี่ๆน้องๆ แล้ว ปัญหาความขัดแย้งในชุมชนและก็สามารถแก้ไขได้เสมอ ผู้เขียนปรารถนาที่จะเห็น กลุ่มแกนนำ (ไม่ว่าเสื้อสีใดก็ตาม) ลดทิฐิ ลดอคติ แล้วหันหน้ามาแสดงความรักต่อชาติ ด้วยการนั่งล้อมวงคุยกัน หาทางออกด้วยกันและไม่มองกลับไปในอดีต มีแต่ต้องมองไปข้างหน้า เพื่อสานสัมพันธ์แห่งสายเลือดความเป็นไทยเพื่อที่เราจะอยู่ร่วมกันต่อไปได้ เพื่อที่จะ ยิ้มให้กันได้ ให้สมกับ คำว่า สยามเมืองยิ้มที่กำลังจะจางหาย ให้กลับมาเป็นเสน่ห์ของคนไทย เพื่อลูกหลานเราจะได้เดินต่อไปอย่างสง่างาม ท่ามกลางการถูกจับตามองผ่านสื่อไร้พรมแดนไปทั่วโลก ถ้าท่านรักลูกหลานของท่าน จงสร้างดอกไม้แห่ง สันติภาพให้เบ่งบานในใจ ด้วยการหันหน้ามาจับมือกัน ให้อภัยกัน เพราะท่านทั้งหลายอย่าลืมว่า ลูกหลาน กำลังนั่งมอง ความรุนแรงผ่านสื่ออยู่ทุกๆวัน แล้วพวกเขาจะเติบโตมาเป็นคนไทยแบบใดก็ขึ้นอยู่กับภาพที่พวกเราที่กำลังแสดงให้เด็กๆเขาดูอยู่
อำนาจเงินเป็นเพียงมายาที่เชื่อว่าจะแลกวัตถุสิ่งของมาปรนเปรอให้เรามีความสุขได้ก็จริง แต่วัตถุเหล่านั้น ไม่จีรังยั่งยืน ความดีและความรักที่เรามอบให้กันต่างหาก เป็นของขวัญอันวิเศษ ที่เราจะมอบเป็นมรดกไว้ให้ลูกหลานเราได้ ดำรงชาติไทยไว้ชั่วนิรันดร์..............
�กแI �C� � @� �� ��รู้สึกอย่างไร ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ลูกคิดว่าจะทำอย่างไร อย่างในเรื่องมีฉากผูกคอตาย ต้องอธิบายให้ลูกฟังว่า นี่คือการแสดง ตัวละครไม่ได้ตายจริง เอามาเลียนแบบในชีวิตจริงไม่ได้ เพราะอาจถึงตายได้ หรืออาจชวนกันหาทางออกว่า ทุกปัญหามีทางออก การฆ่าตัวตายไม่ใช่ทางออก ลูกยังมีพ่อ แม่ หรือครูคอยเป็นที่ปรึกษา ถ้าเกิดมีปัญหา หรือมีเรื่องที่ไม่สบายใจ หันมาเลือกปรึกษาพ่อแม่หรือครูได้ (แต่พ่อแม่ต้องเปิดใจจริง ๆ และเข้าใจวิธีการคุยกับลูกด้วย เพราะไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาขึ้นไปอีก)แต่สำหรับในมุมของ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล คุณหมอท่านนี้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะให้เด็กดูละครหลังข่าว หรือถ้าปล่อยให้ดู แล้วบอกว่า สอน หรือบอกเด็กอยู่ตลอด วิธีนี้ก็อาจช่วยได้ แต่มันซับซ้อนเกินกว่าที่เด็กจะเข้าใจ ดังนั้น ผลเสียในระยะยาวที่เกิดจากการดูโทรทัศน์ เป็นสิ่งที่ไม่อาจย้อนเวลากลับไปแก้ไขได้ แทนที่จะให้ลูกดูโทรทัศน์ หรือรอตัวช่วยจากผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง พ่อแม่ควรหากิจกรรม หรืออ่านหนังสือให้ลูกฟัง

3. อินได้แต่อย่ามาก
                อารมณ์สะใจจนดูโอเวอร์ของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะพ่อแม่ที่นั่งดูไปพร้อม ๆ กันกับเด็กนั้น หลายคนอาจหลุดพฤติกรรม และวาจาที่ไม่เหมาะสมออกมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นความสะใจ คาดแค้นแทนตัวละคร สิ่งเหล่านี้ หากเด็กได้เห็นพ่อแม่กำลังด่าทอนางร้าย หรือสาปแช่งให้ไปตาย อาจไม่สนุกอย่างที่คิดได้ เพราะคุณกำลังสร้างค่านิยมใหม่ ๆ ให้ลูกแบบเนียนๆ และอย่างชอบธรรมว่าความรุนแรง และเรื่องเพศเป็นเรื่องปกติที่คนใกล้ตัวของเขายังทำได้เลย
                ถึงวันนี้ เราคงต้องยอมรับว่า ละครเป็นของคู่กันของคนไทย แต่สำหรับเด็ก การมีพ่อแม่คอยแนะนำอยู่เคียงข้าง คือความจำเป็นที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจาก "ละครหลังข่าว" เห็นได้จากคำสัมภาษณ์ของคุณเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป นักวิจัยด้านศึกษาและพัฒนาการศึกษาเด็กปฐมวัย เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับละครไทยไว้อย่างน่าสนใจว่า
       "อย่าเอาความบันเทิงหยาบๆ ที่หาดูได้ง่าย มาใส่ให้เด็กบันทึกลงในชีวิตทุกวันๆ เลย เพราะเมื่อเด็กเห็นพฤติกรรมเหล่านี้บ่อยๆ เด็กก็รับ รับ รับไปเรื่อยๆ เพราะตอนดูนั้น ตัวละครแสดงไปเรื่อยๆ สีสันมันดึงให้อินจนไม่มีเวลาหยุดคิด พ่อแม่ควรพูดคุย ชี้แนะและแลกเปลี่ยนความเห็นต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตัวละคร อย่าเอาแต่จดจ่อรอสะใจ ที่ได้เห็นตัวละครตบตีกัน ถากถางกัน หรือมองเป็นเรื่องขำๆ ซึ่งกรรมจะตกอยู่ที่เด็กเอาได้" นับเป็นปัญหาที่ครอบครัวไทยจะชะล่าใจไม่ได้อีกต่อไปแล้ว.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น