วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาแรงงานเด็ก นางสาวเสาวลักษณ์ วรนุช 53242827


บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง ปัญหาแรงงานเด็ก


           สภาพปัญหาการที่มีเด็กจำนวนหนึ่งต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานตั้งแต่อายุยังน้อย ยังไม่มีวุฒิ-ภาวะเพียงพอ ไม่มีความรู้และทักษะวิชาชีพ ต้องประสบปัญหาถูกหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบถูกใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม เป็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นในสังคมของประเทศที่กำลังพัฒนาจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรมจะเห็นได้ว่าในประเทศที่มีการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมแทบทุกประเทศล้วนแล้วแต่ประสบปัญหาการใช้แรงงานเด็กทั้งสิ้นสำหรับในประเทศไทยจากการพัฒนาประเทศภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมาก่อให้เกิดความแตกต่างอย่างมากในการดำรงชีวิตระหว่างคนในสังคมเมืองกับคนในชนบท ความไม่สมดุลในการกระจายรายได้ส่งผลให้ประชาชนในชนบทต้องอพยพเข้ามาเป็นแรงงานในเมืองและในจำนวนนี้ก็มีแรงงานเด็กที่อพยพเข้ามากับพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือมาตามลำพังเพื่อหางานทำช่วยเหลือครอบครัว ในขณะเดียวกันการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมทำให้สถานประกอบกิจการขนาดเล็กต้องการลดต้นทุนด้วยการจ้างแรงงานราคาถูกแรงงานเด็กจึงเข้ามาสนองความต้องการของตลาดแรงงานราคาถูกปัญหาการใช้แรงงานเด็กจึงเกิดขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อเกิดปัญหาการหลอกลวงหรือทำร้ายทารุณใช้แรงงานเด็กอย่างผิดกฎหมายไม่เป็นธรรมปัญหาการใช้แรงงานเด็กได้กลายเป็นประเด็นที่ประชาคมโลกให้ความสนใจมากขึ้นแรงงานเด็กส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในกิจการตัดเย็บเสื้อผ้า เย็บกระเป๋า รองเท้า เจียระไนพลอย ทำเครื่องประดับ ซ่อมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และร้านอาหาร จากการตรวจแรงงานของพนักงานตรวจแรงงานกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พบว่าแรงงานเด็กที่ทำงานในสถานประกอบกิจการ ร้อยละ 85 จะมีอายุระหว่าง 15 - 17 ปี สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ไม่พบว่ามีการใช้แรงงานเด็ก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะกระบวนการผลิต และการใช้เทคโนโลยีการผลิตจำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีวุฒิภาวะและสรีระทางร่างกายที่แตกต่างจากเด็ก เด็กคือบุคคลที่ยังไม่เป็นผู้ใหญ่เต็มที่ ดังนั้น เด็กจึงไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆแต่เด็กคือบุคคลที่อยู่ในช่วงของการเจริญเติบโตไปสู่สภาพการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวดังนั้นช่วงที่อยู่ในวัยเด็กควรได้รับการพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมอย่างเหมาะสม จึงจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมได้ในปัจจุบันพบว่ามีเด็กจำนวนมากที่ต้องทำงานจะเป็นด้วยปัญหาเศรษฐกิจปัญหาสังคมหรือปัญหาอื่นๆร่วมด้วยทำให้เด็กเหล่านั้นเสียโอกาสทางการศึกษาขาดโอกาสในการที่จะพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคตและที่สำคัญคือได้รับผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการตามวัย ซึ่งเป็นผลเสียทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อชีวิตข้างหน้าด้วยปัญหาที่แรงงานเด็กประสบ อาจจัดได้เป็น 5 ประเภท คือ
1.
ปัญหาการขาดโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาอาชีพ เด็กที่เข้าสู่ตลาดแรงงานส่วนใหญ่เป็นเด็ก
ยากจน มีการศึกษาต่ำ โอกาสที่จะได้รับการศึกษาเพิ่มเติม หรือฝึกทักษะวิชาชีพมีค่อนข้างน้อย
2.
ปัญหาด้านคุณภาพชีวิต แรงงานเด็กส่วนใหญ่มักจะต้องทำงานเป็นเวลายาวนานเกินกว่าที่เด็ก
ควรจะทำทำให้มีเวลาพักผ่อนน้อย อีกทั้งแรงงานเด็กเป็นกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ ที่พักอาศัยและ
สิ่งแวดล้อมไม่ถูกสุขลักษณะ ประกอบกับอาหารที่นายจ้างจัดให้มักจะมีคุณภาพไม่เพียงพอ
กับวัยของเด็กที่กำลังเจริญเติบโต
3.
ปัญหาการประสบอันตรายจากการทำงาน จากการที่เด็กขาดความรู้ ทักษะในการทำงาน 
 ทำให้เด็กซึ่งมีระยะเวลาทำงานที่ยาวนานเกิดความเมื่อยล้า ประกอบกับการขาดความเอาใจ
ใส่ในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของนายจ้าง ทำให้เด็กอาจประสบอันตรายในการทำงาน
ได้ง่าย ซึ่งจะส่งผลเสียต่ออนาคตของเด็กและสังคม
4.
ปัญหาการปรับตัว เด็กที่ทำงานในช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโตเป็นวัยรุ่น เป็นช่วงที่มี 
 การเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและอารมณ์ การที่เด็กต้องทำงานอยู่ในสถานที่ไม่เอื้อ
อำนวย ไม่ถูก สุขลักษณะ ห่างไกลครอบครัว ญาติพี่น้อง ย่อมทำให้การพัฒนาของเด็กมีปัญหา
5.
ปัญหาการใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรม ทารุณ เอารัดเอาเปรียบ นายจ้างไม่ปฏิบัติ 
ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

 การกระจายตัวของแรงงานเด็กจะมีมากขึ้นตามความสลับซ้ำซ้อนและหลากหลายของ
กระบวนการผลิตและบริการ เด็กอายุยังน้อยก็ยิ่งมีอายุการทำงานสั้นโดยเฉพาะในช่วงแรกๆ
1-2เดือนแรกที่ยังปรับตัวไม่ได้แรงงานเด็กบางกลุ่มซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างตลอดปี เช่น 
งานรับใช้ในบ้าน งานหาบเร่ เกษตรรับจ้าง เด็กเหล่านี้จะไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
 แรงงานเด็กไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มอายุ 12-15 หรือ 15-18ล้วนยังคงต้องการการเลี้ยงดูอบรมด้วย
ความรักความเข้าใจ แต่เด็กกลุ่มนี้ต้องจากพ่อแม่ผู้ปกครองจากสิ่งแวดล้อมในสังคมเกษตรกรรม
สังคมชนบทมาสู่คนแปลกหน้า สังคมเมือง สังคมอุตสาหกรรมที่ตนไม่รู้จักในช่วงวัยที่ตนเองก็
ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงรอบด้านจึงเกิดปัญหาหลายอย่างที่ต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจ 
และปรับตนเองให้ได้โดยปราศจากผู้ช่วยเหลือ เด็กบางส่วนทำได้สำเร็จ เด็กบางส่วนที่
ทำไม่สำเร็จต้องหลบหนีนายจ้างซึ่งบางรายก็ต้องไปเผชิญอันตรายยิ่งขึ้นหรือหายสาบสูญไป
เลยก็มี นอกจากจะไม่ได้รับการเลี้ยงดูอบรมให้มีพัฒนาการรอบด้านตามวัยแล้ว 
บางส่วนของแรงงานเด็กยังถูกกักขังไม่ได้ติดต่อกับพ่อแม่ถูกทำร้ายทารุณทั้งร่างกายและ
จิตใจถูกโกงค่าจ้างแรงงานหรือบางกรณีถูกล่อลวงให้ไปประกอบอาชีพไม่เหมาะสมหรือแม้
แต่ถูกข่มขืนในกรณีที่เป็นเด็กผู้หญิงสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการละเมิดสิทธิเด็กขั้นรุนแรงทั้งสิ้น 
พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กส่วนใหญ่ไม่รู้ถึงปัญหาที่เด็กต้องไปเผชิญโดยลำพังไม่รู้กฎหมายคุ้มครอง
แรงงานไม่ห่วงใยติดตามทุกข์สุขของลูกและเหตุผลอีกอย่างก็คือไม่มีทางเลือกจึงต้องยอม
ปล่อยให้เรื่องเป็นไปตามความเชื่อในบุญกรรมหรือแม้แต่ในกรณีมีการดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดี
 พ่อแม่ก็มักจะถูกข่มขู่หรือติดสินบนเพื่อไม่ให้ดำเนินคดี นายจ้างบางส่วนมุ่งแต่กำไรและ
ผลประโยชน์ขาดจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมพัฒนาเด็ก ขาดเมตตาธรรมบางส่วนก็ยังไม่รู้กฎหมาย
คุ้มครองแรงงานด้วยแม้ส่วนใหญ่รู้กฎหมายคุ้มครองแรงงานแต่ก็ไม่ปฏิบัติตามและยังไม่ค่อยให้
ความร่วมมือในการปฏิบัติงานของทางราชการ และองค์กรเอกชนเท่าที่ควรเพราะเห็นว่า
ยุ่งยากเสียเวลาทำงานของเด็กซึ่งหมายถึงผลประโยชน์โดยตรงของเขาเองและสำนักจัดหางาน
ส่วนใหญ่ไม่สนใจไม่รับผิดชอบในการพิจารณาลักษณะงานหรือสภาพการใช้แรงงานที่เหมาะสม
ให้กับเด็กมุ่งแต่ธุรกิจของตนบางครั้งปกปิดที่อยู่ของเด็กเพื่อตัดขาดการติดต่อกับพ่อแม่

      การที่ปัญหาความยากจนในชนบทยังไม่ได้รับการแก้ไข แต่นับวันจะยิ่งประสบปัญหามาก
ขึ้น และการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมกับสภาวะเศรษฐกิจที่บีบรัดให้โรงงานขนาดเล็ก
ต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะลดต้นทุนการผลิตลงให้ต่ำที่สุดนั้นเป็นการผลักดันให้คนชนบทต้อง
ส่งลูกหลานมาทำงานตามโรงงานหรือสถานประกอบการที่กำลังต้องการแรงงานราคาถูกเด็กจาก
ครอบครัวชาวนาชาวไร่ที่ไม่สามารถยังชีพได้จากผลผลิตของตนต้องมาหางานทำอย่างหลีก
เลี่ยงไม่ได้ ครัวเรือนขาดความมั่นคงในการครองชีพ ปัญหาความเลื่อมล้ำระหว่างเมือง
และชนบทโดยเฉพาะในแง่โอกาสการทำงานที่ชนบทขาดโอกาสรับจ้างงานและในด้านความ
เจริญทางวัตถุและความสะดวกสบายที่แตกต่างกันก็เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กต้องไปหางานทำการขาด
ระบบข่าวสารที่แน่นอนในการไปทำงานในเมืองของเด็กทำให้เด็กขาดสวัสดิการ 
ขาดความปลอดภัยและหลักประกัน เด็กวันนี้จะเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า เป็นคำพังเพยที่เราได้
ยินเสมอๆในทางปฏิบัตินั้น   มีการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กไว้ 
เช่น มีการกำหนดอายุขั้นต่ำเพื่อให้เด็กได้รับการเล่าเรียนหลักเกณฑ์เหล่านี้มีเหตุผล
หลายประการ เช่น เด็กที่ต้องทำงานแต่เมื่ออายุน้อยจะไม่มีโอกาสได้เล่าเรียนและการทำอาจ
มีผลทำให้เด็กไม่เติบโตเท่าที่ควร ยิ่งกว่านั้นครอบครัวที่มีบุตรมากงานของเด็กอาจ
ช่วยครอบครัวในแง่เศรษฐกิจได้ เพราะเด็กนำรายได้มาสู่ครอบครัวพัฒนาการใช้แรงงานเด็ก
ของประเทศไทยนั้นเป็นไปในลักษณะเชิงผกผันกับความเจริญทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสมัย
ใหม่ มีการใช้แรงงานเด็กเกิดขึ้นทั้งในลักษณะที่เป็นการใช้แรงงานเด็กอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
คุ้มครองแรงงาน และการใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรมในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการ
บริการประกอบกับแนวความคิดที่ว่าการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมจะช่วยให้การพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศเกิดขึ้นได้เร็วกว่าการพัฒนาด้านเกษตรกรรม แรงงานเด็กจึงกลายเป็นทรัพยากรที่
สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมไปด้วย การปรับตัวที่ไม่ดีอาจนำมาสู่การเป็นผู้มีปัญหาสุขภาพ
จิตได้ซึ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคล ทุกสาขาอาชีพ ทุกระดับอายุ และที่น่าเป็นห่วงคือ
การปรับตัวและปัญหาสุขภาพจิตของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานเด็ก แรงงานเด็กเหล่านี้ส่วน
มากมักเป็นผู้ที่เคลื่อนย้ายจากชนบทสู่ตัวเมืองซึงย่อมต้องมีการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆเกิด
ขึ้น แรงงานเด็กที่มีปัญหาจากการกดขี่ทางกายย่อมมีปัญหาสุขภาพจิตตามมาด้วย ค่าตอบแทนที่
ต่ำเป็นการบีบบังคับให้เด็กต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนเพิ่มการทำงานที่
ยาวนานย่อมส่งผลทางลบต่อสภาพร่างกายและจิตใจทำให้เด็กมีปัญหาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
 สายตายิ่งไปกว่านั้นบางแห่งเร่งงานโดยให้เครื่องดื่มชูกำลังผสมสารเสพติดลงไปในน้ำหรือขนม
ให้เด็กกิน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพเด็กอย่างยิ่ง การทำงานของแรงงานเด็กขาดสวัสดิการต่างๆ
ที่จำเป็น การรักษาพยาบาล กิจการที่ใช้แรงงานเด็กส่วนใหญ่จะเป็นกิจการขนาดเล็กและมักเป็น
โรงงานเถื่อนที่มีคนงานจำนวนไม่มากซึ่งกิจการเหล่านี้จะไม่มีสวัสดิการให้เด็กและไม่เข้าระบบ
ประกันสังคมเมื่อเด็กเจ็บป่วยไม่รักษาตัวก็อาจถูกหักค่าจ้างเป็นรายวัน เด็กบางคนอาจถูกไล่ออก
หรือถูกนำไปปล่อยทิ้งไว้ที่โรงพยาบาลเพราะเจ็บป่วยทำงานได้ไม่เต็มที่และนายจ้างไม่ต้องการ
รับผิดชอบต่อสวัสดิการของเด็ก การพักผ่อนความต้องการสวัสดิการของแรงงานเด็กนั้นมีความ
แตกต่างจากแรงงานผู้ใหญ่สิ่งที่เด็กต้องการนั้นคือ การพักผ่อน เล่นสนุกสนานโอกาสพัฒนา
ตนเองหรือการศึกษาหาความรู้และเสริมสร้างทักษะมีพัฒนาการทางด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ
 ซึ่งเป็นความต้องการตามธรรมชาติของเด็กทุกคนแต่สภาพการทำงานที่หนักและยาวนานเป็น
สิ่งที่ขัดขวางไม่ให้เด็กมีโอกาสได้พัฒนาตนเองเท่าที่ควร อันตรายจาการทำงานในสภาพ
แวดล้อมของการทำงานสิ่งแวดล้อมในโรงงานขนาดเล็กและขนาดกลางมักไม่ได้มาตรฐานซึ่ง
จะมีผลต่อสุขภาพเด็ก เช่นการทำงานในสถานที่ที่มีกลิ่นรุนแรงตลอดเวลา (ทินเนอร์ น้ำมัน
เบนซิน กลิ่นหมักดอง สารเคมี ฯลฯ ) ทำงานในที่ที่มีฝุ่นฟุ้ง สัมผัสสารเคมีทำงานในที่ชื้นแฉะ
ตลอดเวลาสถานที่เหล่านี้ส่วนมากอับทึบสกปรกเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคทำงานในโรงงานที่แสง
สว่างไม่เพียงพอและใช้สายตามากทำให้มีปัญหาด้านสายตา เด็กบางคนต้องทำงานในลักษณะ
แบกหามของหนัก ขนของต่างๆและแม้ว่าจะมีกฎหมายห้ามเด็กทำงานกับเครื่องจักรก็ยังพบการ
ละเมิด เช่นให้เด็กทำงานกับเครื่องจักรเล็กๆไปจนถึงเครื่องจักรที่เสี่ยงอันตรายโดยที่เด็กไม่มี
เครื่องป้องกันอันตราย เนื่องจากมีอายุยังน้อยเด็กจึงขาดความระมัดระวังประกอบกับสภาพความ
อ่อนเพลียง่วงนอนจากการทำงานหนักหรือมีสภาพจิตใจที่เหม่อลอยไม่พร้อมจะทำงานทำให้
งานธรรมดาอาจจะเป็นงานที่อันตรายสำหรับเด็กได้แรงงานเด็กจึงมักจะประสบอุบัติเหตุซึ่งใน
กรณีประสบอุบัติเหตุนี้เด็กจำนวนมากไม่ได้รับค่าทดแทนที่เหมาะสมกับความสูญเสียทั้งนี้มาจาก
สาเหตุหลายประการ คือ นายจ้างไม่รับผิดชอบ เด็กหรือผู้ปกครองไม่ทราบว่ามีสิทธิได้รับค่า
ตอบแทน แรงงานนอกขอบข่ายประกันสังคมคาดว่ามีแรงงานเด็กนอกข่ายประกันสังคมอีกเป็น
จำนวนมาก ซึ่งไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน เช่น เด็กที่ทำงานในสถานประกอบกิจการที่มีจำนวนลูกจ้าง
น้อยกว่า 10 คน การทำงานเกษตรกรรม การทำงานเป็นลูกจ้างตามบ้าน และงานนอกระบบประ
เภทอื่นๆ ปัญหาแรงงานเด็กเป็นเรื่องที่ยากต่อการตามแก้ปัญหาที่ปลายเหตุอย่างไม่จบสิ้นซึ่ง
ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากความยากจน การกระจายรายได้และผลประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรม การพัฒนา
ที่ไม่สมดุลระบบการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความเปลี่ยนแปลงทางสังคม 
การปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม   ความพยายามในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
แรงงานเด็กทวีความเข้มข้นขึ้นเป็นอันมากเมื่อประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการระหว่างประเทศว่า
ด้วยการแก้ไขปัญหาแรงงานเด็กขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ   ก่อให้เกิดความตื่นตัวใน
เรื่องแรงงานเด็ก เมื่อรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในความพยายามแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก เช่น
 การรณรงค์ทางสื่อมวลชนให้ตระหนักถึงปัญหาแรงงานเด็ก การจัดหลักสูตรอบรมพนักงานตรวจ
แรงงาน การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือแรงงานเด็กการแก้ไขกฎหมายอาญาเพิ่มโทษผู้ที่
ทำร้ายเด็ก มีการจัดสรรงบประมาณให้อย่างเหมาะสมและมีความร่วมมือร่วมใจระหว่างหน่วยงาน
รัฐและองค์กรเอกชนในระดับสร้างสรรค์พอสมควรเพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
การใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรมแก่บิดา มารดา ผู้ปกครอง ครู นักเรียน ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่ง
ในมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็กตามมติคณะรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและ
สวัสดิการสังคม จึงได้ร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการระหว่างประเทศ
ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาแรงงานเด็กคณะกรรมการคุ้มครองแรงงานเด็ก จึงได้มีมติให้ปรับปรุงแนว
การสอนเรื่องแรงงานเด็กให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นสำหรับใช้สอนนักเรียนได้ทุกระดับโดยมุ่ง
หวังจะขยายผลไปใช้กับโรงเรียนทั่วประเทศ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ส่งมอบให้
แก่กระทรวงศึกษาธิการและกรุงเทพมหานครเนื่องจากเล็งเห็นว่าสถาบันการศึกษามีบทบาท
สำคัญอย่างยิ่งในการขจัดปัญหาแรงงานเด็ก ครูและผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้ที่มีความรู้และเป็นที่
เคารพนับถือในชุมชนจึงสามารถช่วยอบรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนและพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็ก
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายแรงงาน สิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับและบริการทาง
สังคมตลอดจนความช่วยเหลือต่างๆที่มีให้ซึ่งจะทำให้ช่วยลดปัญหาการหลอกลวงใช้แรงงานเด็ก
อย่างไม่เป็นธรรมได้ทางหนึ่ง โดยเฉพาะครูซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิด รองลงมาจากพ่อแม่ผู้ปกครอง
มีบทบาทสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจและเตรียมความพร้อมให้เด็กเพื่อที่จะได้เข้าสู่
ตลาดแรงงานอย่างถูกทิศทาง                                                                                                                          

การดำเนินการป้องกันและการแก้ไขปัญหาแรงงาน 
         กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการคุ้มครองดูแลแรงงานเด็กให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายและได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้มีการกำหนดนโยบายแผนงานและมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็กโดยตระหนักดีว่าปัญหาแรงงานเด็กเป็นปัญหาสังคมที่เป็นผลกระทบจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ขาดความสมดุลการป้องกันและแก้ไขปัญหาจึงต้องมีมาตรการที่เป็นระบบและครบวงจร ตั้งแต่รณรงค์ป้องกันมิให้เด็กต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานก่อนวัยอันสมควรสร้างโอกาสและทางเลือกในการศึกษาและการประกอบอาชีพให้แก่เด็กเพื่อให้มีความพร้อมทั้งทางด้านวุฒิภาวะและทักษะวิชาชีพก่อนที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานไม่ถูกหลอกลวงหรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสียเมื่อเด็กเข้าทำงานแล้วก็จะได้รับการคุ้มครอง ดูแลจากพนักงานตรวจแรงงานให้ได้รับค่าจ้างค่าตอบแทนสวัสดิการตามกฎหมายและมีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย นอกจากนั้นแรงงานเด็กก็จะได้รับการส่งเสริมให้ศึกษาต่อสายสามัญนอกโรงเรียนหรือฝึกวิชาชีพเพิ่มเติมอีกด้วยการดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เน้นการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนดึงเอาชุมชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากปัญหาแรงงานเด็กเป็นปัญหาสังคมจึงต้องการความร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่ายในสังคมที่จะช่วยกันปกป้องดูแลเด็ก การแก้ไขปัญหาจึงจะบรรลุผลได้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมให้ความสนใจและแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับแรงงานเด็กไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนองค์กรนายจ้างและองค์กรลูกจ้างตลอดจนชุมชนท้องถิ่นเนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก หากมีการประสานงานเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบในการทำงานซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมีความชำนาญพิเศษต่างกันไปเมื่อมาร่วมมือกันทำงานในลักษณะสหวิชาชีพก็จะทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างครบวงจรซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับแรงงานเด็กกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมมีมาตรการและโครงการในการดำเนินการป้องกันและแก้ไข ปัญหาแรงงานเด็ก ดังนี้
1.ด้านการป้องกัน
   การป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก (ในภูมิภาค) มีการจัดตั้งอาสาสมัครแรงงานประจำหมู่บ้านโดยจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน เช่น ครู ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อเป็นอาสาสมัครแรงงานช่วยสอดส่องดูแลแก้ไขปัญหาแรงงานเด็กในชุมชนและมีส่วนร่วมในการดูแลให้เด็กในชนบทได้เข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างถูกทิศทางมีความรู้ความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายแรงงานเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกของคนในชุมชนระดับหมู่บ้านให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก
2.ด้านการคุ้มครอง
  การออกพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานได้มีการปรับปรุงในสาระสำคัญของกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครอง การใช้แรงงานเด็กโดยเฉพาะหลายประเด็น เพื่อให้แรงงานเด็กได้รับสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองเพิ่มขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ดังต่อไปนี้
         (1) ปรับอายุขั้นต่ำของลูกจ้างเด็กอายุตั้งแต่ 13 ปี เป็น 15 ปี เพื่อให้สอดคล้องมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และนโยบายการศึกษาของชาติ
      (2) กำหนดให้นายจ้างต้องแจ้งการจ้างลูกจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ต่อพนักงานตรวจแรงงาน ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่รับเด็กเข้าทำงานต้องบันทึกการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างของเด็กและเมื่อมีการเลิกจ้างลูกจ้างเด็กต้องแจ้งภายใน 7 วัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อการดูแลตรวจตราคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานเด็กได้อย่างทั่วถึง
          (3) กำหนดให้นายจ้างต้องจัดเวลาพักให้ลูกจ้างเด็กไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง หลังจากลูกจ้างได้ทำงานมาแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมงติดต่อกัน และภายใน 4 ชั่วโมงนั้นนายจ้างต้องจัดให้เด็กมีเวลาพักอีกตามสมควรด้วย ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของลูกจ้างเด็ก
          (4)ให้ลูกจ้างเด็กมีสิทธิลาเข้าร่วมประชุม สัมมนา อบรม ฯลฯ ที่จัดขึ้นโดยภาครัฐ หรือเอกชน โดยได้รับค่าจ้างปีละไม่เกิน 30 วัน เพื่อส่งเสริมให้ลูกจ้างได้รับความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
        (5) ห้ามนายจ้างเรียก หรือรับเงินประกันใดๆ จากฝ่ายลูกจ้างเด็กเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างเด็ก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง
   (6) ห้ามนายจ้าง หรือหัวหน้างาน ผู้ควบคุม หรือผู้ตรวจงานล่วงเกินทางเพศต่อลูกจ้างเด็ก                         เร่งรัดการตรวจการใช้แรงงานเด็ก เพื่อเร่งรัดกวดขันให้นายจ้างใช้แรงงานเด็กอย่างถูกต้องตามกฎหมายให้แรงงานเด็กได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์และมีโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นวิธีการตรวจจะปรับจากเดิมที่มุ่งเน้นปริมาณมาเป็นการตรวจอย่างมีคุณภาพโดยการใช้การประชาสัมพันธ์แนะนำ ตักเตือนทำความเข้าใจกับปัญหาของนายจ้างและลูกจ้างและมีการตรวจติดตามผลทุกครั้งหลังจากการให้คำแนะนำหรือตักเตือนแล้วหากพบการกักขังทารุณกรรมเด็กเจ้าหน้าที่จะรวบรวมหลักฐานร้องทุกข์ กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนและประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ต้องออกจากสถานประกอบการหากเป็นความผิดในเรื่องอื่นๆที่ไม่ร้ายแรงก็จะมีการแนะนำหรือออกคำเตือนแล้วแต่ กรณีเป้าหมายของการตรวจเน้นสถานประกอบการที่มีการใช้แรงงานเด็กมากมีบริการรับแจ้งเรื่องการใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรม เพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์ทางโทรศัพท์และประสานการตรวจแรงงานกับพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่กรุงเทพฯและสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือด้านต่างๆมีการส่งเสริมพัฒนาดำเนินการภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาแรงงานเด็กในสถานประกอบกิจการซึ่งนายจ้างและองค์กรพัฒนาเอกชนได้มีส่วนร่วมกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านการศึกษา การพัฒนาทักษะฝีมือ การพัฒนาทางด้านร่างกายและจิตใจเพื่อสร้างโอกาสและทางเลือก ให้แก่แรงงานเด็กในสถานประกอบกิจการให้ได้รับการศึกษาพื้นฐานสายสามัญสูงขึ้นและได้รับการเพิ่มพูนความรู้และทักษะฝีมือในการทำงานและอาชีพรวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมแก่แรงงานเด็กส่งเสริมการศึกษาสายสามัญให้แก่แรงงานเด็กในสถานประกอบกิจการซึ่งส่วนใหญ่มีความรู้ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับความรู้สูงขึ้นถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทำให้เด็กเหล่านี้มีพื้นฐานความรู้ทางวิชาการอันจะนำไปสู่กระบวนการปลูกฝังการเรียนรู้ตลอดชีวิตรวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้เพื่อพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นมีการส่งเสริมการศึกษาสายอาชีพ ให้แรงงานเด็กในสถานประกอบกิจการฝึกอาชีพเพิ่มทักษะในการทำงานซึ่งจะช่วยให้แรงงานเด็กที่ผ่านการฝึกสามารถนำความรู้ไปใช้พัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นและมีโอกาสที่จะนำความรู้ไปประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้นอีกด้วยการศึกษาวิเคราะห์วิจัยเพื่อให้ทราบข้อมูลสภาพการทำงานของแรงงานเด็กในกิจการเฉพาะด้าน เช่น งานเกษตรกรรม งานที่รับไปทำที่บ้าน ซึ่งขณะนี้ยังอยู่นอกระบบการคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน เพื่อที่จะได้นำข้อมูลมาสำหรับใช้ในการออกกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานเด็กเหล่านี้ต่อไป ในปัจจุบันสภาพปัญหาต่างๆ ที่แรงงานเด็กเคยประสบ เช่น การเอารัดเอาเปรียบทารุณแรงงานเด็กได้ลดน้อยลงมากทั้งในด้านปริมาณและความรุนแรงซึ่งเป็นผลมาจากการรณรงค์ให้นายจ้างลูกจ้างได้เข้าใจถึงสิทธิหน้าที่ และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสอดส่องดูแลตลอดจนการตรวจตราคุ้มครองดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่จนประเทศไทยได้รับการยอมรับจากผู้อำนวยการองค์การแรงงานระหว่างประเทศว่ามีความสำเร็จในการพยายามแก้ไขปัญหาแรงงานเด็กได้ดีควรเป็นแบบอย่างแก่ประเทศอื่นๆดังที่กล่าวแล้วว่า ปัญหาแรงงานเด็ก เป็นปัญหาทางสังคม การที่จะป้องกันและแก้ไขให้ประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพได้นั้น จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากหน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สื่อมวลชน นักวิชาการตลอดจนชุมชนและพ่อแม่ผู้ปกครอง แม้ว่าเราจะยังไม่สามารถทำให้เด็กทุกคนอยู่ในโรงเรียนแทนที่จะเป็นโรงงาน เนื่องจากปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม รัฐจึงต้องคุ้มครองดูแลให้แรงงานเด็กได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามสมควร ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ทารุณ ซึ่งความมุ่งหวังดังกล่าวนี้ จะบรรลุผลสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อทุกๆ ฝ่ายในสังคมตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาแรงงานเด็กและร่วมมือกันช่วยแก้ไขปัญหาตาความสามารถเฉพาะด้านของตน

การคุ้มครองแรงงานเด็ก
  สาเหตุที่แรงงานเด็กต้องได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษในบางเรื่องเพราะว่าเด็กถือเป็น ทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของประเทศ ซึ่งจะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต ถ้าไม่ได้รับการคุ้มครองดูแลเป็นพิเศษ ถ้าเด็กทำงานอันไม่เหมาะสมหรือสถานที่ที่ไม่เหมาะสม อาจส่งผลต่อการพัฒนาและการเจริญเติบโตของร่างกาย จิตใจ และที่สำคัญด้วยความเยาว์วัยมักถูกนายจ้างเอาเปรียบอยู่เสมอ



งานที่กฎหมายห้ามลูกจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำ
1.
งานหลอม เป่า หล่อ หรือรีดโลหะ
2. งานปั๊มโลหะ
3. งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียง และแสงที่มีระดับแตกต่างจากปกติ
 อันอาจเป็นอันตราย
4. งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตราย
5. งานเกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา หรือเชื้ออื่น
6. งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
7. งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั้นจั่น 
8. งานใช้เลื่อยเดินด้วยพลังไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์
9. งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ อุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา
10. งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี
11. งานทำความสะอาดเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ขณะที่เครื่องจักรหรือเครื่องยนต์กำลัง ทำงาน
12. งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไป
13. งานอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
สถานที่ที่ห้ามลูกจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำ
1.
โรงฆ่าสัตว์
2. สถานที่เล่นการพนัน
 3. สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง
4. สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการโดยผู้ บำเรอสำหรับ
ปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า
 5. สถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
วัน - เวลาที่ห้ามลูกจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำ
1. ห้ามลูกจ้างเด็กทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดที่ห้ามก็เพราะว่าเด็กในวัยนี้ร่างกาย

 ต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอ หากทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด อาจเป็นอันตราย
ต่อสุขภาพ
2.ห้ามลูกจ้างเด็กทำงานระหว่างเวลา 22.00 - 06.00 .ซึ่งเวลาดังกล่าวเด็กสมควรที่จะ
พักผ่อนอยู่ในที่พักไม่ควรทำงาน แต่ก็มีงานบางอย่างซึ่งต้องทำในช่วงเวลา 22.00 - 06.00 .
เช่น งานกะเด็กบางคนก็อาจจะทำงานในช่วงเวลา 22.00 - 06.00 . กฎหมายยกเว้นให้ทำได้
แต่ต้องขออนุญาต               
        
การสกัดกั้นเด็กไม่ให้เข้าสู่ตลาดแรงงานก่อนวัยอันสมควร
      มีการส่งเสริมความรู้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองโดยเฉพาะประชาชนในชนบทให้ทราบถึง
ผลเสียของการส่งเด็กเข้ามาทำงานในเมืองให้เด็กและเยาวชนรู้ถึงสภาพและปัญหาที่จะพบใน
การทำงานและจัดให้มีการสอดส่องดูแล จัดบริการให้คำแนะนำแก่เด็กและเยาวชนโดยเฉพาะใน
พื้นที่ที่มีการเคลื่อนย้ายสูง เช่นการให้คำแนะนำแก่เด็กที่กำลังจะจบการศึกษาภาคบังคับ 
หรือจัดบริการ ณ จุดต้นทางก่อนเด็กเดินทาง เช่น การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่เด็กจะเข้าสู่ตลาด
แรงงานความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานหน่วยงานที่จะขอรับความช่วยเหลือเมื่อประสบปัญหาสร่าง
ทัศนคติที่ถูกต้องแก่เด็กเนื่องจากสาเหตุหนึ่งทำให้เด็กอยากมาทำงานในเมืองเพราะมีความเชื่อ
ว่าชีวิตในเมืองเป็นชีวิตที่ดีกว่าในชนบทและควรมีการควบคุมดูแลเกี่ยวกับการโฆษณาจัดหางาน
 สอดส่องดูแลการจัดหางานทุกรูปแบบให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดสอดส่องดูแล
การดำเนินงานของสำนักงานจัดหางานเอกชนและนายหน้าทั้งที่ดำเนินการถูกต้องและไม่ถูกต้อง
ตามกฎหมายอย่างทั่วถึงและดำเนินการกับผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดสร้างความรู้
ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีแก่นายหน้าและผู้ได้รับอนุญาตจัดหางานให้มีคุณธรรมในการ
ประกอบกิจการจัดหางาน เช่นชี้แจงให้เห็นว่าเด็กไม่ใช่สินค้าไม่ควรถูกเอารัดเอาเปรียบจาการ
จัดหางานและควบคุมดูแลและดำเนินการอย่างเฉียบขาดกับนายหน้าและสำนักจัดหางานเถื่อนที่
แสวงหาแรงงานเด็กแก่นายจ้างเป็นการช่วยลดการจ้างเด็กเข้าทำงานและจำกัดการจ้างให้เกิด
ขึ้นเท่าที่จำเป็น การส่งเสริมมาตรการทางกฎหมาย โดยการเร่งรัดให้มีการบังคับใช้กฎหมาย
คุ้มครองแรงงานเด็กอย่างเคร่งครัด เช่น เรื่องค่าจ้าง การทำงานล่วงเวลา วันหยุด ชั่วโมงการ
ทำงาน ฯลฯ เพราะแรงงานเด็กจะถูกใช้แรงงานหนักเกินกำลังซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและการ
เจริญเติบโตของเด็กมีการส่งเริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหามีการขอความ
ร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนในการนำเสนอเกี่ยวกับสถานการณ์การใช้แรงงานเด็กให้แพร่
หลายและกระทำอย่างสม่ำเสมอมีการปรับปรุงและส่งเสริมการทำงานของภาครัฐและเอกชนให้มี
การประสานงานและรวมมือกันอย่างจริงจังกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบแก้ไขปัญหาอย่าง
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนอกจากนี้นโยบายและมาตรการในการแก้ไขปัญหาแรงงาน
เด็กควรต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนสำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหา ทั้งหน่วยงาน
ของรัฐภาคเอกชนและครอบครัวของเด็กภาครัฐบาลควรเน้นที่ตัวกฎหมายคุ้มครองแรงงานควรมี
การกำหนดสวัสดิการสำหรับแรงงานเด็กเป็นพิเศษสนับสนุนให้มีการจัดบริการทั้งภายนอกและ
ภายในสถานประกอบการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของแรงงานเด็ก ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้
ประกอบอาชีพและมีรายได้โดยการทำงานในภูมิลำเนาของตน ด้วยมาตรการต่างๆเพื่อให้ทุน
ประกอบอาชีพจัดฝึกอาชีพโดยการคิดค้นลักษณะงานที่เหมาะสมกับท้องถิ่นให้มากที่สุดและเผย
แพร่แนวคิดการป้องกันปัญหาแรงงานเด็กในพื้นที่ชนบทเนื่องจากแรงงานเด็กมีความจำเป็น
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเข้ามาทำงานในเมืองจึงควรมีการส่งเสริมความรู้ในการประกอบ
อาชีพในเมืองและชนบท และในภาคเอกชน ควรเพิ่มบทบาทองค์กรเอกชนในด้านการตรวจสอบ
แรงงานให้มากขึ้น ด้านครอบครัวของแรงงานเด็ก ควรส่งเสริมให้ครอบครัวของเด็กและชุมชนมี
ความเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาการใช้แรงงานเด็กว่ามีผลกระทบกับตัวเด็กและครอบครัวและ
เน้นถึงความจำเป็นในเรื่องการศึกษาของเด็กว่าอย่างน้อยที่สุดควรจบการศึกษาภาคบังคับ
 แรงงานเด็กมีจำนวนไม่น้อยที่สมัครใจออกมาหางานทำจึงควรจัดให้มีการเตรียมเด็กให้พร้อม
สำหรับการทำงานโดยแทรกแนวทางประกอบอาชีพแก่เด็กที่กำลังจะจบการศึกษาภาคบังคับหรือ
จัดในรูปการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานและสภาพการทำงานในภาค
อุตสาหกรรมแรงงานเด็กจะได้มีความพร้อมที่จะออกไปทำงานมากขึ้น

       การใช้แรงงานเด็กเป็นเครื่องชี้ประการหนึ่งของปัญหาสังคมและปัญหาการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์ทั้งนี้เพราะ เด็กเป็นกลุ่มเป้าหมายที่จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่จากสมาชิกใน
ครอบครัวเพื่อให้เด็กเติบโตมีพัฒนาการรอบด้านที่เหมาะสมกับวัยอันจะเป็นกำลังของสังคมต่อ
ไปแต่การที่เด็กต้องจากบ้านมาหางานทำก่อนวัยอันสมควรเป็นจำนวนมากและต้องประสบกับ
ปัญหาต่างๆนั้นย่อมเป็นสิ่งสะท้อนชัดเจนถึงความล้มเหลวในการพัฒนาสังคม การแก้ปัญหา
แรงงานเด็กจึงควรทบทวนทิศทางการพัฒนาให้เกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจและสังคมและ
จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมในสังคมให้เป็นพื้นฐานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแรงงานเด็กมา
ให้แก้ไขที่ปลายเหตุ ในขณะเดียวกัน เราไม่อาจทอดทิ้งแรงงานเด็กให้เผชิญชะตากรรมโดย
ปราศจากการพิทักษ์คุ้มครองให้การช่วยเหลือและพัฒนาเขาเหล่านั้นได้จึงควรจะมีการพิจารณา
หามาตรการผลักดันให้แรงงานเด็กได้รับการพัฒนาทุกด้านดังที่เด็กทุกคนพึงได้รับจากสังคมวิถี
ทางแก้ปัญหาแรงงานเด็กที่แท้จริงก็คือการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท โดยเฉพาะการที่จะ
กำหนดนโยบายและมาตรการของการกระจายรายได้และผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมโดยให้
เกษตรกรกลุ่มยากจนได้รับส่วนแบ่งที่เขาพึ่งได้รับให้มากขึ้นและต้องให้เขาได้ลดภาวะเสี่ยงภัย
ต่อธรรมชาติแวดล้อมลงแต่สิ่งที่สำคัญที่จะต้องเร่งรัดให้เกิดขึ้นก็คือประสิทธิภาพในการบังคับ
ใช้กฎหมายอันจะส่งผลให้การช่วยเหลือเด็กที่ตกอยู่ในสภาพการถูกใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม
ได้ทันท่วงทีและอย่างเหมาะสมซึ่งหน่วยงานเอกชนไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะทำได้ และพื้นฐาน
ของการบังคับใช้กฎหมายให้ได้ผลนั้นนอกเหนือไปจากการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ
ราชการแล้วในส่วนของตัวบุคคลหรือข้าราชการที่เกี่ยวข้องก็จะต้องตระหนักถึงความสำคัญของ
การพัฒนาเด็กจะต้องมีความเข้าใจในปัญหาแรงงานเด็กเพียงพอที่จะทำให้เกิดความเห็นใจ
 เมตตา และมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือเด็กให้พ้นจากสภาพความทุกข์ยาก เอารัดเอาเปรียบ 
 การถูกทารุณ กักขังรังแก ความสมบูรณ์ของกฎหมายที่ดีความมีประสิทธิภาพของการบังคับใช้ก็
ยังไม่ให้ผลสมบูรณ์เท่ากับความรับผิดชอบและเมตตาธรรมที่นายจ้างมีต่อเด็กซึ่งทำประโยชน์ให้
แก่เขาเหล่านั้น สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นภาระหน้าที่ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องสร้างเสริมให้เกิดขึ้น
ให้เหมาะสมและต่อเนื่องให้ได้มากที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น