วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

มารยาทในสังคม นางสาวญาดา สังข์เมือง 53241875


บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง มารยาทในสังคม


ในยุคการการปฏิรูปการศึกษา มุ่งเน้นให้นักเรียน เก่ง ดี มีสุข ถ้าการศึกษามุ่งให้เด็กเก่งเพียงอย่างเดียว คงไม่ช่วยให้ประเทศของเราสามารถดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีที่สืบต่อกันมาหลายร้อยปี ในเรื่องของมารยาท มารยาทนั้นเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนภูมิใจกันมาโดยตลอด เมื่อความเจริญก้าวหน้า อารยะธรรมตะวันตก ได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยคนไทย หรือเด็กไทยรุ่นใหม่เริ่มรับกับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามา โดยไม่ค่อยให้ความสำคัญ หรือคำนึงถึงมารยาท ถ้าปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น โดยไม่หาวิธีการแก้ไขโดยเร็วในไม่ช้า การทำความเคารพอ่อนน้อมและสวยงามตามมารยาทไทย ก็อาจถูกลบเลือนไปในที่สุด เป็นที่น่าสังเกตว่า การปฏิบัติตนในสถานการณ์ต่างๆของคนยุคปัจจุบัน ที่เรียกว่า มารยาทในสังคมนั้น ค่อนข้างจะยึดความพึงพอใจของตนเป็นหลักอย่างสูง จนทำให้ขาดความเกรงใจต่อผู้อื่น ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะการดำเนินชีวิตของคนทุกวันนี้ เต็มไปด้วยความเร่งรีบ สภาพเศรษฐกิจที่ทุกคนต้องดิ้นรน ต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ทำให้คนเราห่างเหิน และขาดการปฏิสัมพันธ์ต่อกัน มีลักษณะต่างคนต่างอยู่มากขึ้น โดยเฉพาะในสังคมเมือง จึงทำให้เกิดปัญหาการกระทบทั่งซึ่งกันและกัน ตั้งแต่ปัญหาเล็กไปจนถึงปัญหาใหญ่ เช่น การพูดจากับครูบาอาจารย์ แย่งคิวซื้อของ พูดคุยกับเพื่อนในโรงหนังจนถูกต่อว่าต่อขาน และเกิดการทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น หรือขับรถปาดหน้ากัน ทำให้บันดาลโทสะถึงกับฆ่ากันตายก็มี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงมารยาท ที่แสดงถึงตัวตนคนในสังคมว่าเป็นอย่างไรทั้งสิ้น

                มารยาท หรือ มรรยาท หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ ส่วนคำว่า มารยาทในสังคม จะหมายถึง กรอบหรือระเบียบแบบแผนที่ควรประพฤติหรือควรละเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับผู้อื่น มารยาทในสังคม หมายถึง กรอบหรือระเบียบแบบแผน ที่ควรประพฤติ หรือควรละเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับผู้อื่น รวมทั้งชุมชนหรือคนหมู่มาก การที่ต้องมีมารยาทหรือกรอบปฏิบัตินี้ ก็ด้วยว่าคนเรานั้นไม่สามารถจะอยู่ลำพังในโลกได้ จำเป็นต้องเกี่ยวข้องหรือพึ่งพาอาศัยผู้อื่นตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และขยาย กว้างขวางออกไปโดยลำดับ ดังนั้น หากไม่มี มารยาทเป็นตัวกำกับ สังคมก็จะวุ่นวาย สับสน รวมทั้งชุมชนหรือคนหมู่มาก โดยเหตุที่มนุษย์เราไม่สามารถอยู่ลำพังคนเดียวในโลกได้ ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่มากก็น้อย ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีกฎกติกากำหนดแบบแผนในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งทุกชาติทุกประเทศต่างก็มีแบบอย่างทางวัฒนธรรมที่เรียกกันว่า มารยาททางสังคมนี้ทั้งสิ้น เพียงแต่รายละเอียดอาจจะแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัจจุบัน อาจทำให้คนสมัยนี้หันไปพึ่งพาเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ และมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นน้อยลง อันเป็นเหตุให้ละเลยหรือเพิกเฉยต่อมารยาทที่พึงมีต่อกัน แต่สิ่งเหล่านี้ ก็ยังจำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในทุกสังคม มารยาท คือการแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติ โดยได้รับการอบรมให้งดงามตามความ นิยมแห่งสังคมมารยาท ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ได้มาจากสิ่งแวดล้อม มีการศึกษา อบรมเป็นสำคัญ ดูกิริยา ฟังวาจาของคนแล้ว พอคาดได้ว่าผู้นั้นได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างไรพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของ และมารยาท ก็คือ ความสุภาพและสำรวม คนสุภาพจะเป็นคนที่มีจิตใจสูงเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะคนที่มีอะไรในตัวเองแล้วจึงจะสุภาพอ่อนน้อมได้ ความสุภาพอ่อนน้อมมิได้เกิดจากความเกรงกลัวแต่ถือว่าเป็นความกล้า ส่วนความสำรวม คือ การเป็นคนมีสติ ไม่พูดไม่ทำอะไรที่เกินควร รู้จักการปฏิบัติที่พอเหมาะพองาม คิดดีแล้วจึงทำ คาดแล้วว่าการกระทำจะเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะตัวคนเดียว มารยาทแสดงออกมาที่กิริยาท่าทางและการพูดจา อาศัยการบอกอย่างเดียวไม่ได้ ต้องฝึกเองจนเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติ คนดีมารยาทดีเท่ากันแต่อาจไม่เหมือนกัน เพราะคนมีบุคลิกภาพต่างกัน การแสดงออกย่อมต่างกันด้วย มีตัวร่วม คือ แสดงออกมาแล้วเป็นผลดีแก่ตัว เพราะทำให้ผู้อื่นพอใจด้วยรู้สึกว่าได้รับเกียรติ เมื่อให้เกียรติแก่ผู้อื่น ตนเองก็จะเป็นผู้มีเกียรติด้วย สังคมใดมีคนแสดงมารยาทดีต่อกัน สังคมนั้นเป็นสังคมของผู้มีเกียรติ

                สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหามารยาทในสังคมเปลี่ยนไป กระแสหลักอาจเป็นเพราะสังคมโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน โดยเฉพาะในยุคข่าวสารไร้พรมแดนที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นยุคของคลื่นลูกที่สาม บทบาทของสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมตลอดเวลาทุกวัน ทุกเวลา จึงทำ ให้สังคมของแต่ละประเทศจำ เป็นต้องปรับตัวตามกันไปเป็นกระแสโลกาภิวัฒน์ผลกระทบอย่างหนึ่งของการพัฒนาสังคมตามกระแสโลกคือ วัฒนธรรมของแต่ละประเทศที่รับการเปลี่ยนแปลงในทุกทิศทางนี้ จะอ่อนโอนก้าวตามกระแสโลกหรือยังเข้มแข็งคงเอกลักษณ์ประจำชาติของตนไว้ได้ โดยสามารถปรับตัวได้อย่างไม่ถูกกระทบมากนั้นได้หรือไม่อย่างไร?

นามธรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และถ่ายทอด  วัฒนธรรมยังอาจแบ่งเป็น วัฒนธรรมสากล คือ วัฒนธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในนานาอารยประเทศ เช่น เครื่องแต่งกายสากล ดนตรีสากล วัฒนธรรมของชาติ คือวัฒนธรรมของชาติโดยเฉพาะ เช่นการไหว้ ดนตรีไทย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมท้องถิ่น
คือ วัฒนธรรมของท้องถิ่นโดยเฉพาะ หรือของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น การแต่งกายของชาวเขา การรดนํ้าดำหัวของชาวเหนือ ดนตรีโปงลางของชาวอีสาน วัฒนธรรมของต่างชาติ คือ วัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น การกอดจูบกันอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของตะวันตก    

                ปัญหาทางวัฒนธรรมหลายประการที่เป็นที่มาของความเสื่อมลงของ มารยาทในสังคม
ปัญหาช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมทางจิตใจ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ทำ ให้ความเจริญทางวัตถุล้ำหน้ากว่าความเจริญทางจิตใจมากทำ ให้เกิดช่องว่างที่ห่างไกลระหว่างวัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมทางจิตใจแม้ว่าความเจริญทางวัตถุจะทำ ให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์เราสะดวกสบายขึ้น สามารถเดินทางได้สะดวกรวดเร็วขึ้น สามารถติดต่อข่าวสารถึงกันได้อย่ารวดเร็ว แต่ความเจริญทางจิตใจที่ล้าหลังกว่าความเจริญทางวัตถุ ก็ได้เกิดปัญหาสังคมมากยิ่งขึ้นและรุนแรงขึ้น เช่น ปัญหาความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมและจิตใจ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรมในปัจจุบันมนุษย์เรามีความเห็นแก่ตัวและเห็นแก่ได้ยิ่งขึ้น เห็นแก่ผู้อื่นและส่วนรวมน้อยลง ทำ ให้ขาดความเอื้ออาทรและช่วยเหลือกัน ปัญหาอาชญากรรมได้เพิ่มมากขึ้นและรุนแรงยิ่งขึ้นรวมทั้งปัญหายุวอาชญากรรม ทำให้ชีวิตและทรัพย์สินมีความปลอดภัยน้อยลง

ปัญหาค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ค่านิยมบางอย่างได้เปลี่ยนแปลงไป ก่อนนี้สังคมเคยยกย่องคนที่มีคุณธรรม คนที่ประพฤติผิดศีลธรรม ทุจริตคดโกง จะถูกประณามและไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย
แต่ในปัจจุบันนี้ สังคมกลับยกย่องคนที่มีเงิน คนที่มีตำแหน่งสูง มีอำนาจวาสนา มีชื่อเสียง แม้ว่าคนเหล่านั้นจะประพฤติผิดศีลธรรมได้เงินมาโดยทางทุจริต

ปัญหาการเหินห่างจากศาสนาในปัจจุบัน เยาวชนและประชาชนจำนวนไม่น้อยได้เหินห่างจากศาสนา ซึ่งเป็นหลักที่พึ่งและที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจเป็นศาสนิกชนแต่เพียงในนามหรือตามสำ มะโนครัวไม่ได้มีศรัทธาเลื่อมใสในศาสนาที่ตนนับถืออย่างแท้จริง ไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องศาสนา ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือเยาวชนและประชาชนจำนวนไม่น้อยมีทัศนคติที่ผิดและไม่ดีต่อศาสนาเห็นศาสนาเป็นเรื่องคร่ำครึ หลงงมงาย เหลวไหล ไร้สาระ เห็นศาสนาและธรรมะเป็นสิ่งที่ไม่จำ เป็น ไม่ช่วยทำ ให้ท้องอิ่ม บางคนเห็นพระบางรูปปฏิบัติตนไม่ดีและอ่านหนังสือพิมพ์มีแต่ข่าวที่ไม่ดีเกี่ยวกับพระ ทำให้มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อศาสนาเลยเลิกนับถือศาสนา โดยไม่เข้าใจแก่นแท้ของศาสนาคือศาสนธรรม ซึ่งจะช่วยพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น จากคนเป็นมนุษย์ จากมนุษย์เป็นกัลยาณชน

ปัญหาการขาดระเบียบวินัยระเบียบวินัยเป็นคุณธรรมที่สำคัญที่ช่วยในการพัฒนาคนให้เป็นผู้มีคุณภาพช่วยรักษาหมูคณะและสังคมให้มีความสงบเรียบร้อย และช่วยพัฒนาประเทศให้มีความเจริญมั่นคงก้าวหน้าการที่ประเทศญี่ปุ่นมีความเจริญก้าวหน้าที่สุดในเอเชีย และมีความเจริญไม่แพ้ประเทศในตะวันตก เหตุหนึ่งเป็นเพราะคนญี่ปุ่นเป็นผู้มีระเบียบวินัยการขาดระเบียบวินัยทำ ให้คนไทยเป็นจำนวนไม่น้อย ชอบฝ่าฝืนกฎจราจรและข้อบังคับ เช่น ชอบฝ่าฝืนกฎจราจร ชอบทำ อะไรตามใจตัวเพื่อความสะดวกสบาย เป็นคนแก่ตัวเห็นแก่ได้ โดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายต่อผู้อื่นและสังคม
ในปัจจุบันเรากำลังพัฒนาประเทศของเราให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่เรียกว่านิกส์ ประเทศที่จะเป็นนิกส์ได้ ประชาชนโดยเฉพาะคนงานจะต้องเป็นผู้ที่มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลาถ้าคนไทยของเรายังขาดระเบียบวินัย ทำอะไรตามสบายโดยถือคติว่า ทำได้ตามใจคือไทยแท้ ก็ยากจะพัฒนาประเทศของเราให้เป็นนิกส์ได้ ปัญหาการรับวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสมจากต่างประเทศความสะดวกในการคมนาคมและความรวดเร็วในการสื่อสาร ได้ทำให้วัฒนธรรมต่างประเทศและชาวต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยมากมาย วัฒนธรรมต่างประเทศบางอย่างและชาวต่างประเทศหลายคน ได้ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อวัฒนธรรมอันดีงามของไทยประชาชนและเยาวชนจำนวนไม่น้อย ได้รับเอาวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสมจากต่างประเทศ ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อวัฒนธรรมอันดีงามของไทย อาทิ ในเรื่องดนตรี เพลง การแต่งกายกิริยามารยาท ภาษา ความสัมพันธ์ระหว่างเพศ

                การเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรมนี้หมายถึง ค่านิยมทางวัฒนธรรม (Cultural value) อันได้แก่แนวคิด แนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่คนในแต่ละวัฒนธรรมมีความนิยมชมชอบเลือกหรือยึดถือเอามาเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมต่างๆ ของตน ตัวอย่างเช่น ค่านิยมเกี่ยวกับความดี ความชั่ว ค่านิยมเกี่ยวกับความสวยงาม ศิลปะการบันเทิง ค่านิยมเกี่ยวกับความทุกข์ ความสุขของคน ค่านิยมเกี่ยวกับตนและคนอื่น ค่านิยมเกี่ยวกับการเกิด การตาย ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดกับการตาย ฯลฯ

                การเปลี่ยนแปลงในด้านค่านิยมทางวัฒนธรรมและพฤติกรรมในสังคมไทยนี้เราจะพบว่าในสมัยก่อนที่เรายังไม่ได้ติดต่อกับสังคมอื่น หรือมีการติดต่อแต่น้อยมากนั้นค่านิยมทางวัฒนธรรม และพฤติกรรมของคนไทยจะเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากหรือเกือบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลย ตัวอย่างเช่น ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์คนไทยทั่วๆ ไปยังมีค่านิยมทางวัฒนธรรมเรื่องความรักสนุกอย่างเด่นชัด ดังนั้น พฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมรักสนุกจะไม่ค่อยขยันขันแข็งไม่ค่อยอดทนไม่ค่อยรีบเร่ง แต่มาปัจจุบันนี้ ค่านิยมด้านรักสนุกได้ลดน้อยลงไปโดยเฉพาะในสังคมเมืองใหญ่ๆ จะเป็นที่แลกเปลี่ยนทางด้านค่านิยมทางวัฒนธรรมกับต่างชาติ ประกอบกับการดำรงชีวิตที่ต้องแข่งขันทำให้คนไทยยอมรับเอาวัฒนธรรมต่างชาติเข้าไว้อย่างมาก คนไทยในเมืองใหญ่ๆ จะขยันขันแข็งมีความรีบเร่งขึ้นอดทน อดออมมากขึ้นกว่าในชนบท หรืออีกตัวอย่างหนึ่งของค่านิยมเรื่องความรักสนุก ก็คือ การบริโภคสิ่งของต่างๆ ของคนไทยที่ฟุ่มเฟือย เน้นความมีหน้ามีตา ความสะดวกสบายต่างๆ ซึ่งสมัยก่อนพฤติกรรมของคนไทยสอดคล้องกับค่านิยมทางวัฒนธรรมอันนี้อยู่มาก เช่น การจัดงานบุญงานกุศล งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน จะจัดงานกันอย่างฟุ่มเฟือยแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ แต่ในปัจจุบันนี้ได้ลดลงไปมากอย่างสังเกตได้ เพราะค่านิยมทางวัฒนธรรมตะวันตกในเรื่องของความประหยัดอดออมที่สังคมไทยรับเอาเข้ามาใหม่

                วัฒนธรรมซึ่งเราแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุเช่น บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ และวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น ค่านิยมนี้ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่าวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุดังกล่าวเป็นผลมาจากวัฒนธรรมนี้ไม่ใช่วัตถุทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะว่าวัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของคนและวัฒนธรรมทางวัตถุต่างๆ ก็เป็นผลมาจากพฤติกรรมของคนเราทั้งสิ้น เช่น บ้านเป็นผลมาจากพฤติกรรมการอยู่อาศัย โต๊ะ เก้าอี้ เป็นผลมาจากพฤติกรรมการนั่ง  ดินสอ ปากกาเป็นผลมาจากพฤติกรรมการเขียนด้วยเหตุนี้วัฒนธรรมประเภทไม่ใช่วัตถุ เช่นค่านิยมทางวัฒนธรรมจึงมีความสำคัญสูงสุดที่จะกำหนดพฤติกรรมต่างๆ ของสมาชิกสังคมนั้นๆ
                
          ดังได้กล่าวไว้ตั้งแต่ในตอนต้นแล้วว่า เมื่อเราพูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเราจะมุ่งพิจารณาในระดับพฤติกรรมของคน และถ้าเราพูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจะพิจารณาในระดับปทัสถานอันเกิดมาจากค่านิยมทางวัฒนธรรมนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเราพูดถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านค่านิยมทางวัฒนธรรมและพฤติกรรมในสังคมไทยจึงไปด้วยกันเสมอ

                ในการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านค่านิยมทางวัฒนธรรมและพฤติกรรมในสังคมไทยนี้ โดยชี้ให้เห็นถึงค่านิยมดั้งเดิมของไทย  และค่านิยมต่างชาติทั้งแพร่กระจายเข้ามาในสังคมไทย มีผลทำให้ค่านิยมทางวัฒนธรรมและพฤติกรรมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
1.สาเหตุแห่งความเปลี่ยนแปลงในค่านิยมเด่นๆ ของไทยสืบเนื่องมาจากการติดต่อกับวัฒนธรรมอื่นเป็นส่วนใหญ่ การติดต่อกับวัฒนธรรมอื่นๆ พอจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีด้วยกันคือการติดต่อกับวัฒนธรรมตะวันตก   และการติดต่อกับวัฒนธรรมจีน ซึ่งจะได้พิจารณาในรายละเอียดต่อไปนี้
โดยทางฝ่ายตัวแทนรัฐบาลและนักการค้าเดินทางของเรือฝ่ายตะวันตกที่เดินทางมาติดต่อเอง
โดยการส่งผู้คนของเราออกไปศึกษาเล่าเรียนในประเทศตะวันตกกลับเข้ามาพร้อมด้วยค่านิยมเปลี่ยนไป
- โดยสื่อมวลชน สื่อบันเทิงต่าง ๆ อาทิ หนังสือพิมพ์ วิทยุ ภาพยนตร์   โทรทัศน์ เป็นต้น
ส่วนการติดต่อกับวัฒนธรรมจีนนั้นส่วนใหญ่เป็นการติดต่อเผยแพร่โดยคนจีนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและทำมาหากินอยู่ในประเทศไทย  สิ่งที่คนจีนนำติดตัวเข้ามาเผยแพร่ต่อคนไทยในสังคมไทยที่นับว่าสำคัญมากก็คือ วัฒนธรรมทางด้านเศรษฐกิจ  โดยเฉพาะค่านิยมเรื่องการทำงานหนัก  การรู้จักเก็บออมและรู้จักแสวงหาผลประโยชน์จากบุคคลอื่นเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของตนเองซึ่งเราจะได้พิจารณาโดยละเอียดต่อไป
2.ความขัดแย้งระหว่างค่านิยมตั้งเดิมกับค่านิยมใหม่  หากว่าค่านิยมใหม่ที่นำเข้ามาในสังคมเป็นค่านิยมที่คล้ายคลึงกับค่านิยมเดิมหรือแตกต่างกันไม่มากนัก  ความแตกต่างระหว่างค่านิยมจะไม่สร้างปัญหาในระดับพฤติกรรมเท่าใดนัก  แต่ถ้าค่านิยมใหม่ที่นำเข้ามาแตกต่างจากเดิมมาก ความขัดแย้งระหว่างค่านิยมก็ย่อมจะก่อให้เกิด  ปัญหาในระดับพฤติกรรมมาก  คนรุ่นใหม่จะพบว่ามีปทัสถานทางสังคมอยู่หลายอย่างที่ขัดแย้งทางสังคมอยู่หลายอย่างที่ขัดแย้งกันในเรื่องเดียวกัน  จึงยากแก่การจะตัดสินใจบุคคลที่คบหาสมาคมด้วยก็มีทั้งฝ่ายนิยมวัฒนธรรมเดิม  และฝ่ายนิยมวัฒนธรรมใหม่  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สำหรับคนที่มีผู้แนะนำหรือแนะแนวที่ดีและรอบรู้พอสมควรก็สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ บ้าง แต่คนจำนวนไม่น้อยจะ หลงทางคืออาจเลือกเดินทางที่ไม่ถูกต้องได้

ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย    
     
                เป็นการคาดคะเนกันว่าสังคมมนุษย์นี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับจากสังคมเล็กๆ ได้เติบโตเป็นสังคมใหญ่ขึ้น มีจำนวนประชากรมาก มีโครงสร้างสังคมสลับซับซ้อน เนื่องจากการแบ่งงานกันอย่างละเอียดและมีระบบการแบ่งช่วงชั้นในสังคม ลักษณะชุมชนเปลี่ยนจากชุมชนขนาดเล็กที่เร่ร่อนมาเป็นชุมชนอยู่กับที่ ทำให้สามารถขยายออกไปเป็นชุมชนใหญ่ ๆ อย่างเช่นมหานครต่าง ๆ
ในปัจจุบัน

        ข้อน่าสังเกตอย่างหนึ่งก็คืออัตราการเปลี่ยนแปลงในสมัยก่อนนั้นจะเป็นไปอย่างช้าๆ แนวโน้มปัจจุบันจะเห็นได้ว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วขึ้นเรื่อยๆ มนุษย์เรามีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติมากขึ้น เดิมในสังคมโบราณก็เพียงการล่าสัตว์ เก็บพืชผักผลไม้เป็นอาหาร แทบไม่กระทบกระเทือนธรรมชาติแวดล้อมเลย ต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์มนุษย์เปลี่ยนแปลงธรรมชาติแวดล้อมมากขึ้นและในยุคอุตสาหกรรมมนุษย์เราก็ทำลายสิ่งแวดล้อมมากจนกลายเป็นอันตรายต่อตัวมนุษย์เอง
           
         การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเป็นรากฐานของวิวัฒนาการทางสังคมเทคโนโลยีทำให้มนุษย์เรายืดความสามารถของร่างกายออกไปมากมาย กล้องจุลทัศน์ โทรทัศน์ โทรศัพท์ ทำให้คนเรามองเห็นได้มากขึ้นได้ยินไกลขึ้น รถยนต์ เรือ เครื่องบิน ทำให้เราไปได้ไกลขึ้นและรวดเร็วขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของมนุษย์เทียบได้กับวิวัฒนาการทางร่างกายสัตว์ ย่อมทำให้ชีวิตความเป็นอยู่และสังคมเปลี่ยนไป
                
        ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มีพลังงานที่สังคมนำมาใช้ได้มากขึ้นย่อมทำให้สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น สามารถเลี้ยงจำนวนประชากรได้มากขึ้นซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุดมการณ์และภาษาเทคโนโลยีเป็นกรอบซึ่งขีดวงจำกัดวิธีที่สังคมจะนำมาใช้แก้ปัญหาต่างๆ สังคมที่มีระดับการใช้เทคโนโลยีต่ำย่อมไม่สามารถใช้วิธีการอย่างเดียวกันกับสังคมที่มีเทคโนโลยีสูง เครื่องมือย่อมเป็นตัวกำหนดวิธีแก้ปัญหาและวิธีที่แก้ปัญหาที่ต้องอาศัยเครื่องมือทันสมัยย่อมนำไปใช้สังคมที่ขาดเครื่องมือเหล่านั้น


           การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบันและอนาคตมีแนวโน้มไปในทางที่เราจะกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น นักคิดและนักวิทยาศาสตร์ทางสังคมก็ได้พยายามที่จะเสนอรูปแบบในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยการรวบรวมข้อมูล ซึ่งเราสามารถพิสูจน์และมีประสบการณ์ได้อันทำให้เราสามารถเข้าใจถึงสาเหตุและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในสังคมมนุษย์อย่างไรก็ตามทฤษฎีทางสังคมนั้นยังคงมีข้อบกพร่องอยู่อีกมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของรูปแบบของการเปลี่ยนแปลง สังคมมนุษย์นั้นไม่ได้อยู่ในสภาพที่หยุดนิ่ง หากแต่จะเคลื่อนไหวตลอดเวลาดังนั้นแนวโน้มโดยทั่วไปของสังคมจึงอยู่ในสภาพที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยความหมายของการเปลี่ยนแปลงแล้วเราพิจารณาในลักษณะของการเปรียบเทียบความแตกต่างของสิ่งๆ หนึ่งในเวลาต่างกัน การเปลี่ยนแปลงจึงเกี่ยวข้องกับเวลาหมายความว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรมนี้เราพิจารณาในแง่การเปรียบเทียบความแตกต่างของสังคมและวัฒนธรรมหนึ่งในเวลาที่ผ่านไปโดยทั่วๆ ไปสังคมจะไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบที่เรียกว่าเปลี่ยนแปลงอย่างหน้ามือเป็นหลังมือหากการเปลี่ยนแปลงนั้นจะมีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ย่อยๆ (Social relations) โดยทั่วๆ ไป ตัวอย่างเช่น ความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างบิดา มารดากับบุตร ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้น้อยกับผู้ใหญ่ เป็นต้น และถ้าความสัมพันธ์ทั่วๆไปที่กล่าวถึงนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจมีผลทำให้ความสัมพันธ์ที่เป็นแบบแผนหรือความสัมพันธ์ระดับโครงสร้างของสังคมจริง ๆ เปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งก็ถือว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงในระดับสถาบันแล้ว
                
     อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ย่อยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอแต่ความสัมพันธ์ในระดับโครงสร้างจะยังไม่เปลี่ยนแปลงไปทั้งนี้เพราะว่าอาจมีความสัมพันธ์ใหม่ที่ถือปฏิบัติเกิดขึ้นมาแทนที่ ทำให้สังคมอยู่ในสภาพที่สมดุลเคลื่อนที่ต่อไปได้ นอกจากนี้สังคมที่ไม่มีการติดต่อกับสังคมอื่นแล้วอาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย ทั้งนี้เป็นเพราะยังไม่เห็นตัวอย่างการเปลี่ยนแปลง ไม่เห็นตัวอย่างของสังคมอื่นที่ดีหรือที่แตกต่างไปจากตน การไม่เห็นตัวอย่างมีผลทำให้ไม่มีการแปลงสภาพแวดล้อมดั้งเดิมของตนอีกด้วย
การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งอาจส่งผลสะท้อนต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่และผลสรุปก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในเมื่อเราถือว่าสังคมก็คือพฤติกรรมของคนในสังคมนั้นได้ปฏิบัติต่อกัน การเปลี่ยนแปลงจากเวลาหนึ่งถึงอีกเวลาหนึ่งซึ่งเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีการควบคุมเร่งรัดและมิได้มีเป้าหมายแต่อย่างใด เราเรียกว่า วิวัฒนาการการวิวัฒนาการทางสังคมจึงอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการหรือไม่ต้องการก็ได้ แต่การเปลี่ยนแปลงที่สังคมของเรากำลังต้องการก็คือ การเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า การพัฒนา” (Development) ทั้งนี้ก็เพราะว่าการพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ได้กำหนดทิศทางและจุดมุ่งหมายรวมทั้งการควบคุมอัตราการเปลี่ยนแปลงไว้ตามระยะเวลาที่สามารถกำหนดได้ด้วย
ด้วยสาเหตุการเปลี่ยนแปลงข้างตนที่เยาวชนไทยมองข้ามวัฒนธรรมไทยที่ดีงามถูกต้อง มารยาทในสังคมไทยจึงผิดเพี้ยนไป สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดการเผยแพร่ความรู้เรื่องมารยาทไทยอย่างต่อเนื่อง และได้หยิบยกมารยาทในการพบปะสมาคมในสังคมที่สำคัญมีดังนี้

๑. การรู้จักวางตน ต้องเป็นคนมีความอดทน มีความสงบเสงี่ยม ไม่แสดงกิริยาก้าวร้าว อวดรู้ อวดฉลาด อวดมั่งมี และไม่ควรตีตัวเสมอผู้ใหญ่ แม้ว่าจะสนิทสนมหรือคุ้นเคยกันสักปานใดก็ตาม
๒. การรู้จักประมาณตน มีธรรมของคนดี ๗ ได้แก่ รู้จัก เหตุผล ตน ประมาณ กาล ชุมชน และบุคคล โดยไม่ทำตัวเองให้เด่น เรียกร้องให้คนอื่นสนใจ หรือสร้างจุดสนใจในตัวเรามากเกินไป ตัวอย่าง คำเตือนของหลวงวิจิตรวาทการที่กล่าวไว้ว่า จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน
๓. การรู้จักการพูดจา ต้องไม่ทักทายปราศรัยกับคนด้วยคำพูดที่จะทำให้คนเขาเกิดความอับอายในสังคม และ ไม่คุยเสียงดังหรือยักคิ้วหลิ่วตาทำท่าทางประกอบจนทำให้เสียบุคลิกภาพได้
๔. การรู้จักควบคุมอารมณ์ คือ รู้จักข่มจิตของตน ไม่ใช่อารมณ์รุนแรงเพื่อไม่ให้ล่วงสิ่งที่ไม่ควรล่วง ได้แก่ การข่มราคะ โทสะ โมหะ ไม่ให้กำเริบเป็นคุณลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ รู้จักข่มอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ทำลายข้าวของ ไม่พูด และแสดงกิริยาประชดประชัน หรือส่อเสียด
๕. การสำรวมกิริยาเมื่อเดินผ่านผู้ใหญ่ ขณะที่เดินผ่านผู้ใหญ่ให้ก้มตัวพองาม หรือหากผู้ใหญ่กำลังเดินไม่ควรวิ่งตัดหน้า ควรหยุดให้ผู้ใหญ่เดินไปก่อน หรือไม่ควรเดินผ่านกลางขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดกัน
๖. การรู้จักควบคุมอิริยาบถ ถือเป็นคุณสมบัติที่ดี เช่น เมื่อเราได้ยินเสียงเพลงก็ไม่ควรเขย่าตัว กระดิกเท้า หรือเคาะจังหวะโดยไม่เลือกสถานที่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นอาการของคนที่ไม่ควบคุมอิริยาบถ และไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ
๗. ความมีน้ำใจไมตรีอันดีต่อกัน การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขด้วยความรักและเข้าใจกัน ควรมีความเอื้ออาทร มีน้ำใจไมตรีต่อกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ ทุกข์สุขของผู้เกี่ยวข้องมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ที่สำคัญคือมีน้ำใจในการช่วยเหลือ หรือช่วยทำประโยชน์ให้แก่สังคม
๘. การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นคุณธรรมชั้นสูงของการอยู่ร่วมกันในสังคม ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์มีอุดมการณ์สำคัญคือ การช่วยเหลือผู้อื่น พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นปัจฉิมโอวาท ความว่า จงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นด้วยความไม่ประมาทเถิด การยังประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็คือ การช่วยเหลือผู้อื่น หรือการปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ส่วนรวม สังคมจะมีสันติสุข คือ มีความสงบสุข ถ้าบุคคลในสังคมรู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม


สังคมและวัฒนธรรมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด
แต่การเปลี่ยนแปลงจะเร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มาเกี่ยวข้อง เช่น ระดับการศึกษาของคนในสังคม
การสื่อสารคมนาคม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การนำมาเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมกับสังคมเป็นของคู่กัน ต้องไปด้วยกันเสมอ ถ้าสังคมเปลี่ยนวัฒนธรรมก็เปลี่ยนสังคมก็เปลี่ยน มีผลเกี่ยวเนื่องกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นการค้นพบ การประดิษฐ์ การขัดแย้ง การแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรมมีผลทำให้ระบบรูปแบบทางสังคมและวิถีชีวิตของมนุษย์ทั้งที่เป็นวัตถุและไม่ใช้วัตถุเปลี่ยนแปลง
                
        เพราะฉะนั้น สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาทางมารยาทในสังคมคงเป็น เหตุผลไหนไปไม่ได้นั่นคือวัฒนธรรมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้คนในสังคมมีการติดต่อสื่อสารมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันน้อยลง และวัฒนธรรมที่ซึมซับมาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะด้านการศึกษาจากต่างแดน การรับเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต จึงทำให้คนส่วนใหญ่มองข้ามในสิ่งที่เคยมีก่อนหน้า เช่น การติดต่อสื่อสารกัน เมื่อสมัยก่อนต้องมีพิธีรีตอง มีการแต่งตัวให้เหมาะสมกับการติดต่อสื่อสาร เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามา ทำให้การติดต่อสื่อสารนั้นง่ายขึ้น ทำให้คนในสังคมปัจจุบันลบเลือนมารยาทการติดต่อ การแต่งกายที่เหมาะสมนั้นไป และตัวอย่างของการพูดจา กับครูบาอาจารย์ เมื่อมีการพูดคุยกันผ่านเทคโนโลยี ทำให้มารยาทนั้นไม่มีความสำคัญอีกต่อไป จะนั่งท่าไหน ทำอะไร จะพูดยังไง ในเมื่อมันเป็นแค่การสนทนาผ่านเทคโนโลยี นักเรียนนักศึกษาจึงไม่ให้ความสำคัญกับมารยาทเหล่านี้เท่าที่ควร
                
        คุณธรรมและค่านิยมของบุคคลนั้น คือการยอมรับว่าสิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว สิ่งใด ไม่สำคัญนั่นเอง ซึ่งจะต้องมีการปลูกฝังกันตั้งแต่เด็กจนเป็นผู้ใหญ่ บุคคลอาจ เห็นผิดเป็นชอบ หรือที่เรียกว่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัว หรือตรงข้ามก็ได้ ย่อมขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ในอดีต และปัจจุบันของเขา นอกจากนั้น การที่บุคคล จะมองเห็นว่าสิ่งใดสำคัญมากหรือน้อย ก็อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตาม สถานการณ์ และยุคสมัยด้วย เช่นการอนุรักษ์ธรรมชาตินั้น เป็นคุณธรรมและ ค่านิยมของคนในยุคปัจจุบัน และอนาคต แต่ไม่ชัดเจนในอดีต แต่เดิมนั้นมักมี ผู้เข้าใจว่า ถ้าบุคคลมีคุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมแล้วจะเป็นผู้มีพฤติกรรม ทางจริยธรรมอย่างเหมาะสมด้วย แต่จากการศึกษาวิจัยทางจิตวิทยา พบว่า การที่บุคคลรู้ว่าอะไรดี อะไรเหมาะสม และสำคัญนั้นไม่เพียงพอที่จะทาให้เขามี พฤติกรรมตามนั้นได้ คนที่ทาผิดกฎหมาย เช่นการที่คนไปลักขโมย หรือทาร้าย ผู้อื่นนั้น เขามิได้ทาไปเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่เขาทาผิดทั้ง ๆ ที่รู้ว่า เป็นความผิด จะเห็นได้จากการที่เขาต้องปกปิด และหลบซ่อน เพราะกลัวจะถูก จับไปลงโทษ ฉะนั้น การปลูกฝังคุณธรรม และค่านิยมให้แก่เยาวชน จึงไม่เพียง พอที่จะทาให้เกิดการทาความดี ละเว้นชั่วได้อย่างจริงจังจะเห็นว่า จริยธรรมเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติที่ดี ถูกต้อง โดยมีคุณธรรมที่ได้สะสมอยู่ในใจเป็นรากฐาน แต่การที่มีคุณธรรมในใจ มีค่านิยมดี ๆ ไม่เพียงพอที่จะทาให้บุคคลเกิดการทาความดี ละเว้นความชั่วได้อย่างจริงจังการปลูกฝัง ส่งเสริมจริยธรรมโดยเฉพาะกลุ่มวิชาชีพ เช่น กลุ่มนักการเมือง ซึ่งเป็นที่รวมของผู้มีความรู้ความสามารถ และอุดมการณ์ใกล้เคียงกันมีกระบวนการหลักคือการกล่อมเกลาทางสังคม ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบ และปัจจัยสนับสนุนบูรณาการอย่างเป็นระบบ ทั้งปัจจัยควบคุมปัจจัยชี้นา และปัจจัยเพื่อการบริหารจัดการ โดยดา เนินการอย่างเป็นรูปธรรมในรูปแบบของการกำหนดจรรยาบรรณ และกำหนดโทษของการละเมิด

การที่มีใครซักคน อาจารย์ซักท่าน หรือคนแก่ๆ ซักคน มาคอยบังคับ ให้พูดจาให้ไพเราะใช้ประโยคโบราณ สั่งให้แต่งกายตามกฎระเบียบในการเข้าเรียนหรือการทำงาน มากำหนดเราให้ปฏิบัติตามแบบแผนที่เคยเป็นมา หลายคนอาจจะด่าทอว่า คนเหล่านี้ หัวโบราณ ไม่ตามเทคโนโลยี ไม่เข้าใจว่าโลกสมัยนี้เปลี่ยนแปลงไปถึงไหนต่อไหนแล้ว ไม่ให้สิทธิในการเป็นตัวเองแก่ตัวท่านเลย พวกคนเหล่านี้อาจจะไม่ได้หัวโบราณหรือตามไม่ทันเทคโนโลยี เพียงแค่พวกคนเหล่านี้ไม่อยากให้ มารยาทในสังคม มันเสื่อมลงไปกว่านี้ก็เท่านั้นเอง ในเมื่อท่านในอยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยผู้คนหลากหลายแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเรื่องการศึกษาและในความรวดเร็วของเทคโนโลยี ลองรู้จักปฏิบัติอะไรที่มันยุ่งยากบ้างตามกฎระเบียบบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องผิด ก่อนที่เราและอีกหลายๆคนจะมองข้ามไปว่า สังคมที่เราอยู่นี้ยังมีบรรทัดฐานให้ได้พฤติปฏิบัติอยู่บ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น