วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์ นางสาวภฐรวรวรรณ จันทร์ศิริ 53242384


บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง ปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์


ในปัจจุบันปัญหาปัญหาโรคเอดส์ได้กลายเป็นปัญหาสังคมและได้เพิ่มมากขึ้นและรุนแรงยิ่งขึ้น นอกจากปัญหาโรคเอดส์แล้วยังมีปัญหาอีกหลายประการที่เป็นปัญหาสังคม อาทิเช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาครอบครัว ปัญหาเยาวชน ปัญหายาเสพติด ปัญหาการทุจริต ปัญหาความเสื่อมโทรมด้านศีลธรรม และค่านิยม เป็นต้น  การแพร่ขยายของโรคเอดส์ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และปัจจัยการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวม ปัญหาที่เกิดจากการแพร่ของโรคเอดส์ ก่อให้เกิด ปัญหาทางเศรษฐกิจ  ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็ก และปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ  ซึ่งการระบาดของโรคเอดส์ ที่แพร่กระจายไปอย่างมากมายในปัจจุบันนั้น สามารถแยกออกเป็นการระบาด 3 ครั้งติดต่อกันคือ (วิวัฒน์, 2532)
1. การระบาดของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี(HIV) ซึ่งไม่มีใครทราบว่าจะเริ่มระบาดเมื่อไร และจากที่ใดแต่ที่แน่ๆ คือ เชื้อไวรัสได้แพร่ไปหลายประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ประมาณปี 2518 และปัจจุบันนี้อาจจะแพร่ไปทุกประเทศแล้ว
2. การระบาดของโรคเอดส์ ประมาณปี 2520-2521 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นการแสดงออกทางอาการเจ็บป่วยของผู้ติดเชื้อ หลังจากมีระยะฟักตัวช่วงระยะเวลาหนึ่ง และในช่วงปี 2525-2530 การระบาดเริ่มเป็นแบบกระจายทั่ว (Pandemic) กล่าวคือระบาดไปหลายๆ ประเทศพร้อมกัน และกระจายไปหลาย ๆ ประเทศพร้อมกัน และกระจายไปในทุกทวีป 
3. การระบาดของผลกระทบที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการระบาดของโรค เอดส์ ได้แก่ ด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การระบาดนี้แพร่ไปได้อย่างรวดเร็ว และมีผลกระทบแม้ในประเทศที่ไม่เคยมีรายงานการติดเชื้อหรือรายงานผู้ป่วยเอดส์เลย ผลกระทบที่สำคัญได้แก่ การไล่ผู้ติดเชื้อออกจากงาน การไม่ยอมรับสมาชิกที่เป็นผู้ป่วย หรือผู้ติดเชื้อเข้าในครอบครัวหรือชุมชน  การไม่ยอมรับเด็กที่ติดเชื้อเข้าศึกษาในโรงเรียน ตลอดจนการออกฎหมายให้มีการตรวจ เอดส์ ก่อนเข้าประเทศ เพื่อสกัดกั้นคนจากประเทศอื่น ที่อาจติดเชื้อ เป็นต้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ส่งผลกระทบต่อสังคมตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงสังคมโลก ซึ่งถ้าไม่สามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ได้อย่างเด็ดขาด อาจจะทำให้เกิดความสูญเสียต่อมวลมนุษย์ชาติอย่างร้ายแรง  ผู้ที่ได้รับเชื้อเอดส์ นั้นจะไม่ภูมิต้านทานโรคที่ต่ำมากจนถึงขนาดบางคนไม่มีเลยจึงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างมากมาย เช่น ปอดบวม วัณโรค มะเร็ง โรคผิวหนัง ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงต้องเสียเงินในการรักษาสุขภาพของตัวเองอย่างมาก ถ้าไม่สามารถรักษาได้โรคต่าง ๆ ก็จะรุกรามอย่างรวดเร็วเพราะภูมิต้านทานของร่างกายต่ำหรือไม่มีเลย  ผู้ที่ได้รับเชื้อเอดส์ จะถูกผู้อื่นรังเกียจ ไม่ต้องการคบหาสมาคมด้วย ถึงแม้จะมีการให้ความรู้กันอย่างมากว่า โรคเอดส์ ไม่ใช่โรคที่ติดต่อกันได้ง่าย ๆ แต่คนส่วนมากก็จะรังเกียจ กลัว ไม่ต้องการให้ผู้ที่มีเชื้อเอดส์อยู่ร่วมในสังคม ซึ่งในกรณีรวมไปถึงทุกคนในครอบครัวของผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ทุกคนก็จะพลอยถูกรังเกียจไปด้วย บางรายต้องออกจากงาน ทำให้ไม่มีรายได้ และเป็นภาระของสังคม  ทำให้ครอบครัวเกิดการแตกแยก   ถ้าเชื้อเอดส์ แพร่ไปยังคู่สามี ภรรยา แล้วเสียชีวิต ลูกก็จะเป็นเด็กกำพร้าและมีปมด้อย ถูกสังคมรังเกียจ  ในกรณีที่เด็กคลอดออกมาโดยติดเอดส์จากแม่ ก็จะทำให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนตามมาอย่างมากมาย เช่นถ้าต่อมาแม่เสียชีวิต เด็กก็จะไม่มีคนเลี้ยงดูและยังมีโรคร้ายติดตัว ซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำให้เด็กมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน   ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่มีโรคแทรกซ้อนจนไม่สามารถดูแลตัวเองได้ก็จะไม่มีที่พักอาศัย ไม่มียารักษาโรค ไม่มีคนดูแล ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานและเป็นภาระกับสังคมอย่างมาก ทำให้มีพาหะนำโรคเพิ่มมากขึ้น โอกาสเสี่ยงของคนในสังคมที่จะติดเชื้อเอดส์มีมากขึ้น
จุดมุ่งหมายของบทความนี้ผู้เขียนต้องการสื่อให้เห็นถึงปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์ในสังคมว่ามีผลกระทบต่อสังคมซึ่งความรุ่นแรงของการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ส่งผลกระต่อเศรษฐกิจ ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็ก และปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุดเพราะการแพร่กระจายของโรคเอดส์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องด้วยในปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุมากมาย คนมีเพศสัมพันธ์กันมากขึ้น ชอบเที่ยวโสเภณีมากชอบสำซ่อนทางเพศ ค่านิยมของรักร่วมเพศก็มากขึ้น และการติดสารเสพติด แต่มีความรู้เรื่องการป้องกันโรคเอดส์น้อย มีการย้ายถิ่นของต่างชาติมากยิ่งทำให้โรคแพร่กระจายได้รวดเร็วและรัฐบาลเองก็ยังไม่ได้เข้าใจปัญหาหรือตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาอย่างเพียงพอ
โรคเอดส์ คืออะไร เอดส์ มาจากคำว่า “AIDS” ซึ่งย่อมาจาก “Acquired Immune Deficiency Syndrome” Acquired หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นในภายหลังมิได้เป็นมาแต่กำเนิดหรือสืบสายเลือดทางพันธุกรรม Immune หมายถึง เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย Deficiency หมายถึง ความบกพร่อง ความเสื่อม หรือการขาด Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการ ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการหลายๆ อย่างไม่เฉพาะที่ระบบใดระบบหนึ่ง
ดังนั้น ความหมายของคำว่า AIDS หรือ เอดส์ จึงหมายถึง กลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายเสื่อม หรือบกพร่องซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งชื่อ HIV (Human Immunodeficiency Virus) เมื่อเข้าสู่ร่างกายของคนแล้ว จะไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรค ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของคนนั้นเสื่อมหรือบกพร่องจนเป็นสาเหตุให้ร่างกายของคนนั้นอ่อนแอมีการเจ็บป่วยบ่อย รักษาไม่หายป่วยเป็นโรคเรื้อรัง และในที่สุดก็จะตายด้วยโรคเรื้อรังนั้น เชื้อที่เป็นสาเหตุ เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ชื่อ HIV หรือ Human Immunodeficiency Virus
โรคเอดส์ติดต่อกันได้อย่างไร โรคเอดส์ติดต่อกันได้หลายทาง ที่พบบ่อยและที่สำคัญที่สุด คือ ทางการร่วมเพศ  ทางการถ่ายเลือดหรือรับผลิตภัณฑ์เลือดที่มีเชื้อไวรัสเอดส์อยู่ ทางการใช้เข็ม ทางแม่ที่มีเชื้อไวรัสเอดส์ไปสู่ทารกในครรภ์   การเปลี่ยนอวัยวะต่าง ๆ เช่น เปลี่ยนแก้วตา เปลี่ยนไต การผสมเทียมในรายที่มีลูกยาก การสักผิวหนัง การฝังเข็ม การเจาะหูบุคคลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ กลุ่มสำส่อนทางเพศ กลุ่มติดยาเสพติดที่ใช้เข็มและกระบอกฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำแบบเวียนเทียน  กลุ่มผู้ป่วยโรคเลือดชนิด Hemophilia  กลุ่มที่รับการถ่ายเลือด   ทารกในครรภ์     กลุ่มนักโทษที่มีการร่วมเพศกันเอง   ภรรยาหรือคู่นอนของผู้เป็นโรคเอดส์ ถ้าจะมองให้ดีจะเห็นว่าการแพร่ระบาดของโรคเอดส์นั้นมีเพียงไม่กี่วิธีเท่านั้น ซึ่งทางหลักๆ ที่โรคเอดส์สามารถแพร่ระบาด มี ๓ ทาง คือ
๑. เลือด การรับเลือดที่มีเชื้อเอดส์ รวมทั้งใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกลุ่มผู้เสพยาเสพติด การใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่นมีดโกนหนวดที่คราบเลือดเปื้อนหรือคนที่มีบาดแผลแล้วบาดแผลไปสัมผัสกับเลือดหรือน้ำเหลืองของคนที่มีเชื้อเอดส์
๒. ทางการร่วมเพศ หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์กันระหว่างชายกับหญิง,ชายกับชาย,หญิงกับหญิงที่มีเชื้อเอดส์ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอดหรือทางทวารหนัก ซึ่งรวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์แบบ Oral Sex โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปากกับอวัยวะเพศชายหรือหญิงที่มีเชื้อเอดส์
๓. จากมารดาที่มีเชื้อเอดส์สู่ทารก โดยผ่านทางรกในขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์, ขณะคลอด เนื่องจากเด็กจะต้องสัมผัสกับเลือดและน้ำในช่องคลอดของมารดา (จึงควรทำคลอดโดยการผ่าตัดเพื่อให้เด็กมีโอกาสรับเชื้อน้อยลง), หลังคลอดเด็กจะได้รับเชื้อจากนมแม่ที่มีเชื้อเอดส์ได้ จึงควรเลี้ยงทารกด้วยนมชง

๑. อาจเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อซึ่งก็น่าจะแก้ได้ด้วยการให้ความสนใจ ระมัดระวังในการใช้สิ่งของและทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับบุคคลอื่นที่ไม่แน่ใจว่ามีเชื้อเอดส์หรือไม่ ตลอดจนต้องมีความระมัดระวังในการอยู่ร่วมกับผู้ที่มีเชื้อเอดส์ (ในกรณีที่จำเป็น)
๒. ส่วนใหญ่เกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของชายหญิงในการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์ ซึ่งอาจจะเกิดจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์ไม่เพียงพอ หรือได้รับข้อมูลอย่างผิด ๆ หรืออาจจะเกิดจากความประมาทเช่นคิดว่าการร่วมเพศเพียงครั้งเดียวคงไม่ทำให้ติดโรคเอดส์ได้ หรืออาจจะไม่รู้ว่าผู้ที่ตนมีเพศสัมพันธ์ด้วยมีเชื้อเอดส์หรือไม่จึงไม่มีการป้องกันที่ดีพอ

สาเหตุที่ทำให้คนเป็นโรคเอดส์นั้น มีมากมายหลายประการ ดังเช่น
๑. ประชาชนส่วนใหญ่ ได้แก่ นักธุรกิจ ทหาร และข้าราชการ ฯลฯ ไม่ตระหนักถึงภัยร้ายแรงของ โรคเอดส์และเพิกเฉยต่อปัญหาโรคเอดส์ ทำให้เสี่ยงต่อการติดโรคและกลายเป็นผู้กระจายโรค ในขณะเดียวกันก็ไม่รู้จริงในเรื่องโรคเอดส์ เป็นเหตุให้ไม่สามารถป้องกันตนเองเกิดการรังเกียจผู้ติดเชื้อหรือเป็นโรคเอดส์และเกิดความกลัวอย่างไม่มีเหตุผล
๒. ขาดข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานการณ์โรคเอดส์ ที่จะเอื้อต่อการรักษาและป้องกันการแพร่ กระจายของโรคเอดส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
๓. ขาดการให้ความรู้ที่เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพแก่ชายหญิงบริการและผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับ ผู้ป่วยโรคเอดส์ รวมทั้งขาดการควบคุม บำบัด และรักษากลุ่มผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดโรค เช่น ชายหญิงบริการ ผู้ทำงานในสถานเริงรมย์ และผู้ติดยาเสพย์ติด
๔. ขาดบริการด้านเศรษฐกิจ และสังคมที่มีประสิทธิภาพที่ควรให้แก่ผู้ติดเชื้อ หรือเป็นโรคเอดส์ทั้ง บุคคลทั่วไปและผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโรคเอดส์ ซึ่งจะช่วยให้เขาอยู่ในสังคมได้อย่างมีค่าและมีความสุข
๕. ขาดการประสานงานและความร่วมมืออย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมี อำนาจชี้นำสังคม ซึ่งจะมีผลต่อการป้องกันโรคเอดส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
๖. ขาดเทคนิคและประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์ที่จะเข้าถึงมวลชนทุกระดับ ทั้งกลุ่มผู้มีพฤติ กรรมเสียงต่อการติดโรคเอดส์และกลุ่มทั่วไป
๗. ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของโรคเอดส์ ทำให้มีความเชื่อทัศนคติไม่ถูกต้องเกี่ยว กับโรคเอดส์ จึงเกิดความหวาดกลัวและรังเกียจผู้ที่มีเชื้อโรคเอดส์ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้อยู่ในสังคมอย่างลำบาก
๘. สังคมไทยยอมรับวัฒนธรรมจากต่างประเทศง่าย โดยเฉพาะในเรื่องเพศสัมพันธ์แบบอิสระ
๙. กลุ่มคนบางกลุ่มยังคิดว่าเรื่องโรคเอดส์เป็นเรื่องที่อยู่ไกลตัว จึงขาดความตระหนักถึงภัยพิบัติที่ จะเกิดจากโรคเอดส์ 
๑๐. รัฐบาลมีนโยบายระดับชาติ เพื่อให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ได้มีบทบาทในการควบคุมโรค เอดส์อย่างจริงจัง แต่ขาดการประสานงาน และการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
               
             การศึกษาย้อนหลังพบว่าโรคเอดส์ เริ่มปรากฏในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2521 แล้ว แต่เพิ่งจะมารายงานในปี 2524 และถ้าศึกษาซีรั่มที่เก็บย้อนหลังไปนานๆ จะพบว่าในประเทศอัฟริกาเองก็พบหลักฐานของการติดเชื้อโรคเอดส์ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2513 (ประพันธ์, 2532) และในขณะที่รายงานโรค เอดส์เป็นครั้งแรก ในสหรัฐอเมริกานั้น ประเทศอื่น ๆ ในแถบอื่น ก็มีผู้ป่วยเช่นเดียวกัน (วิวัฒน์, 2532) เช่น ในทวีปยุโรป ภายหลังที่มีข่าวระบาดของโรคในสหรัฐอเมริกา จึงได้มีการตื่นตัวเฝ้าระวังโรค โดยการศึกษาย้อนหลังในประเทศฝรั่งเศส พบผู้ป่วยเอดส์ รายแรกในปี 2522 ส่วนในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์นั้น พบผู้ป่วย เอดส์ รายแรกในปี 2525 ในประเทศญี่ปุ่นรายงานผู้ป่วยเอดส์ รายแรกเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2528 สำหรับในประเทศไทยเริ่มมีการรายงานผู้ป่วย   เอดส์ครั้งแรกจากโรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2527 นักวิทยาศาสตร์ใช้เวลา 2 ปี จึงทราบว่าโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส  และอีก 2 ปีต่อมา คือในปี 2528 จึงสามารถคิดค้นวิธีการตรวจหาแอนติบอดี้ต่อเชื้อไวรัสโดยวิธีอีไลซ่า 

มาตรการป้องกันและแก้ไข                                                                                                                             ด้านการแพทย์และสาธารณสุข                                                                                                                           -  ขยายบริการบำบัด รักษา และป้องกัน 
- พัฒนาระบบข้อมูล ข่าวสาร การแนะแนว และการประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพ
- จัดระบบการประสานงานและการบริการเพื่อการบำบัด รักษาป้องกันผู้ป่วยโรคเอดส์ 

ปัญหาผลกระทบจากสังคมของโรคเอดส์ สถานการณ์โรคเอดส์ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2539 มีคนไทยป่วยเป็นโรคเอดส์ประมาณ 5 หมื่นคน ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัส HIV ที่ยังไม่มีอาการ แต่อาจนำไปสู่โรคเอดส์ได้ มีมากกว่า 8 แสนคน ที่น่าห่วงคือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ซึ่งเป็นวัยทำงาน ทำให้หลายครอบครัวประสบปัญหาทั้งทางจิตใจ และทางเศรษฐกิจ โครงการเข้าถึงเอดส์ (ACESS) เคยคาดว่าในปี พ.ศ.2543 (ค.ศ.2000) คนไทยอาจต้องติดเชื้อเอดส์ถึง 1,380,000 ราย แบะประเทศไทยจะมียอดสูญเสียทางเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคเอดส์สูงถึงประมาณ 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 275,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 5 พันคน คาดว่าแนวโน้มผู้ติดเชื้อเอดส์จะเจ็บป่วยมากขึ้น และทยอยเสียชีวิตปีละ 2-3 หมื่นคน  การที่โรคเอดส์จะมีผลกระทบทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง เนื่องจากโรคเอดส์ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายได้ มีแต่ยาชะลอชีวิตผู้ป่วยให้ยืนยาวออกไปได้บ้าง ซึ่งเป็นยาที่แพงมาก นอกจากนั้นการป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องนี้ หมายถึงว่า ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคอื่นๆได้อีกมากมาย จึงต้องเสียค่ารักษาพยาบาลดูแลผู้ป่วยกันมาก คนที่เคยทำงานได้ก็ไม่ได้ทำงาน คนที่ต้องเสียชีวิตไปก็เป็นการสูญเสียทรัพยากร ทำให้การออม การลงทุนในการสร้างสรรค์ประเทศลดลง โรคเอดส์เป็นโรคที่แพร่ระบาดได้รวดเร็ว ผ่านทางเพศสัมพันธ์ การถ่ายเลือด และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การป้องกันเป็นเรื่องที่ทำได้ยากพอสมควร ในประเทศไทยที่มีโสเภณีมาก มีคนชอบเที่ยวโสเภณีมากชอบสำส่อนทางเพศ รวมทั้งรักเพศเดียวกันมาก มีคนติดยาเสพย์ติดมาก แต่คนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์น้อย และรัฐบาลเองก็ยังไม่ได้เข้าใจปัญหาหรือตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาอย่างเพียงพอ และในทางสังคมวิทยามองว่าปัญหาโรคเอดส์เป็นปัญหาสังคมที่เกิดจากความไร้ระเบียบวินัยและขาดจิตสำนึกหรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนของมนุษย์ในสังคม ซึ่ง ประสาท หลักศิลา ( 2511:13) 

จำแนกสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสังคมเป็น 2 อย่างคือ
1.ความไม่เป็นระเบียบในสังคม ( Social Disorganization ) 
2.พฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติ ( Deviant Behavior )

2ประเภท ยังมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันและภายใต้สภาวการณ์บางประการต่างก็มีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดปัญหาสังคมได้    สุพัตรา สุภาพ ( 2545:10-14) ได้กล่าวถึง ความไม่เป็นระเบียบในสังคม ( Social Disorganization )   คือ สังคมที่สามรถควบคุมสมาชิกของสังคมให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนที่วางไว้โดยทั่วไปทุกสังคมมักจะวางกฎเกณฑ์หรือบรรทัดฐานบางอย่างให้สมาชิกที่มาอยู่ร่วมกันได้ใช้เป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ ความเป็นระเบียบไม่ใช่เกิดจากการใช้อำนาจ แต่เป็นการยอมรับกฎเกณฑ์ร่วมกัน อย่างไรก็ตามความไม่เป็นระเบียบในสังคมมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ 
1. ความล้มเหลวของกลุ่มจารีตประเพณี ปกติแต่ละบุคคลจะรักษาค่านิยมและความมุ่งหวังตลอดจนกฎเกณฑ์ต่างๆของสังคมที่ตนเป็นสมาชิกวิธีการถ่ายทอดก็ออกมาในรูปบังคับให้ทุกคนกระทำตาม ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลต่อเมื่อสถาบันถ่ายทอดความรู้ เช่น ครอบครัว โรงเรียน รัฐบาลมีเสถียรภาพ แต่ขาดหลักสำคัญในการทำงานร่วมกันหรือไม่ประสานกันจะทำให้สถาบันไม่อาจจะถ่ายทอดและรักษาค่านิยมต่างๆของสังคมได้ เพราะขาดความเชื่อมั่นหรือขาดความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งความไม่เป็นระเบียบในสังคมนี้เป็นข้อมูลฐานเบื้องต้นที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆได้ เช่น ปัญหาโรคเอดส์ในสังคมไทยที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วเพราะสถาบันถ่ายทอดความรู้ขาดการประสานงานร่วมกันโดยไม่เห็นความสำคัญของการเกิดโรคและรัฐบาลเองก็ยังไม่ได้เข้าใจปัญหาหรือตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาอย่างเพียงพอ   รัฐบาลส่วนที่เป็นผู้นำ คือ นักการเมือง ห่วงแต่เรื่องการหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป ยุ่งกับการแก้ปัญหาขัดแย้งประจำวัน จนไม่มีจินตนาภาพในการมองการณ์ไกล ความคิดแบบเน้นการหาเสียง ทำให้พวกเขามักจะเลือกมองหรือเสนอแต่ภาพในแง่ดี เช่น เสนอว่าไทยจะเป็นประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่  เป็นศูนย์กลางการเงินการลงทุนในภูมิภาคนี้ในปี ค.ศ.2000 และไม่มองหรือกล้าเผชิญปัญหาที่เป็นจริง เช่น สถานการณ์ของโรคเอดส์ในปี ค.ศ. 2000  สถานการณ์ความเลวร้ายของการทำลายสิ่งแวดล้อม การแย่งใช้ที่ดิน ป่า น้ำ พลังงาน ฯลฯ ในปี ค.ศ. 2000 แต่อย่างใด ขณะที่ข้าราชการก็สนใจแต่ทำงานประจำไปวันๆ ไม่ริเริ่มคิดการณ์ไกล ไม่มองปัญหาอย่างวิพากษ์วิจารณ์ ในเมื่อรัฐบาลไม่กล้ามอง ไม่กล้าเผชิญปัญหาที่เป็นจริง ก็ยากที่จะเข้าใจปัญหา ยากที่จะมีเจตจำนงและความเอาจริงเอาจังในการหาทางแก้ไขปัญหาเรื่องโรคเอดส์ได้ บางคนก็ยังมีทัศนคติว่าไม่ควรพูดเรื่องเอดส์มาก เดี๋ยวต่างชาติจะไม่มาเที่ยวเมืองไทย ซึ่งเป็นวิธีคิดแบบหลบปัญหาอย่างคนที่ไม่ค่อยฉลาดนักรัฐบาลยังมองอย่างง่ายๆว่า เรื่องโรคเอดส์เป็นปัญหาของสาธารณสุข เหมือนโรคอื่นๆและคิดว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น นายกฯและรัฐมนตรีคนอื่นๆไม่เกี่ยวเท่าไหร่ มีเกี่ยวข้องก็ตรงที่หน่วยงานอื่นๆอยากได้งบประมาณมาใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์ต่อต้านโรคเอดส์ จะได้ทำให้หน่วยงานของตนมีเงิน มีเครื่องมือเครื่องใช้ มีส่วนได้ประโยชน์จากงบประมาณมากขึ้น แต่หน่วยงานอื่นๆของรัฐบาลนอกจากสาธารณสุขไม่ได้คิดเรื่องประสานงานกัน ผนึกกำลังกัน เพื่อรณรงค์ต่อสู้เรื่องนี้อย่างจริงจังแต่อย่างใด กลายเป็นเรื่องต่างหน่วยงาน ต่างก็ใช้งบโฆษณาประชาสัมพันธ์กันไปหลายกรณี เป็นการใช้เงินอย่างไม่คุ้มค่าเพราะโฆษณาประเภททำป้ายออกโทรทัศน์พูดซ้ำๆซากๆ ฯลฯ ไม่ได้ให้ความรู้ประชาชนเพิ่มขึ้นหรือไม่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง 
2. ความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหวัง เมื่อกลุ่มจารีตประเพณีในสังคมสลายลง หรือไม่สามารถรักษาหน้าที่ของตนได้ สมาชิกกลุ่มจะขาดความศรัทธา ดั้งนั้นค่านิยมของกลุ่มอาจจะมีผลในทางตรงกันข้าม เพราะไม่มีอะไรเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้กลุ่มเข้าใจหรือปฏิบัติสอดคล้องในแนวเดียวกัน                                                                                                   ปกติแล้วความต้องการหรือความรู้สึกของคนย่อมเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอและมักจะไปขัดกับกฎเกณฑ์ต่างๆของสังคมและเมื่อต้องเผชิญกับความต้องการใหม่ซึ่งไม่สอดคล้องกับระบบแบบแผนเก่าๆก่อให้เกิดปัญหาสังคม โดยทั่วไปแล้วสังคมจะพยายามเปลี่ยนกฎเกณฑ์บางอย่างเพื่อให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปถ้าสามรถทำได้โดยไม่ขัดกับกลุ่มใด ซึ่งถ้าจะให้ผลดีแล้วควรเริ่มจากกลุ่มอิทธิพล เพราะถ้าเริ่มจากกลุ่มเล็กอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น เช่น นโยบายที่มุ่งแต่เรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทำให้แรงงานย้ายถิ่นเข้าและออกไปหากินที่อื่นมากขึ้นซึ่งเป็นนโยบายที่ต้องการให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการให้ประเทศเกิดการพัฒนาจึงทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย และมี การวิจัยของนักวิชาการและองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ พบว่าผู้ชายไทยจำนวนมากยังชอบเที่ยวโสเภณี และมีสัดส่วนที่สูงไม่ชอบใช้ถุงยางอนามัย โดยเฉพาะในหมูผู้มีการศึกษาต่ำและโสเภณีโดยเฉพาะระดับล่าง ก็ไม่กล้าหรือไม่มีสิทธิปฏิเสธลูกค้าที่ไม่ยอมใช้ถุงยางอนามัย แม้การประชาสัมพันธ์เรื่องเอดส์จะทำให้ปัญหานี้ลดลงบ้าง แต่ก็ยังไม่ลดลงมากเท่าที่ควร นโยบายรัฐบาลที่มุ่งแต่เรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ทำให้แรงงานย้ายถิ่นไปหากินที่อื่นมากขึ้น  ทำให้เกิดปัญหาตามมา คือ ผู้ชายที่เที่ยวโสเภณีนำเชื้อไปติดต่อภรรยาและผู้หญิงอื่นที่เขามีเพศสัมพันธ์ด้วย และติดต่อไปถึงเด็กเกิดใหม่ด้วย กระทรวงสาธารณสุขพบว่า หญิงมีครรภ์ติดเชื้อเอดส์เพิ่มขึ้นอย่างน่าห่วงใย การปล่อยให้แรงงาน และโสเภณีจากประเทศข้างเคียงเข้ามาในประเทศมากก็ยิ่งทำให้การแพร่ระบาดของโรคเอดส์เพิ่มขึ้น (รวมทั้งจะทำให้เกิดโรคติดต่ออื่นๆ เช่น มาลาเรีย เท้าช้าง ด้วย)                                                                                                                              ปัญหาอื่นๆ คือ มีการสัมพันธ์ทางเพศในวัยรุ่น และคนทั่วไปมากขึ้น โดยไม่มีการป้องกัน เช่น การใส่ถุงยางอนามัย เพราะความเข้าใจว่าโรคเอดส์คงจะติดต่อเฉพาะจากโสเภณีหรือหญิงบริการเท่านั้น ถ้ามีเพศสัมพันธ์กับคนไม่มีอาชีพนี้จะไม่เป็น ดังนั้นโรคเอดส์จึงแพร่ระบาดแม้ในกลุ่มที่ไม่ได้ไปเที่ยวผู้หญิงบริการด้วยเช่นกัน และแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เพราะคนประมาทและมีความเชื่อผิดๆ                                                             ปัญหาโรคเอดส์ไม่ใช่ปัญหาทางสาธารณสุขล้วนๆ ที่จะแก้ได้ด้วยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้รู้จักป้องกันเท่านั้น แต่เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองด้วย เป็นปัญหาเศรษฐกิจในแง่ที่ว่าการส่งเสริมการท่องเที่ยวและโสเภณีเป็นธุรกิจที่สำคัญที่มีคนได้ผลประโยชน์มากจำนวนหนึ่งพวกเขาจึงพยายามทำให้ธุรกิจนี้ขยายตัวรวมทั้งโสเภณีเองก็มีความเดือดร้อนจากปัญหาความยากจนและความอยากได้รายได้สูงขึ้น เนื่องจากค่าจ้างแรงงานบ้านเรายังต่ำมาก ประชาชนมีความแตกต่างทางฐานะรายได้มาก ทำให้คนรวยซื้อคนจนได้ โรคเอดส์เป็นปัญหาสังคม ในแง่เกี่ยวกับอุปนิสัย ทัศนคติ ค่านิยมของผู้ชายไทย ในเรื่องการเที่ยวโสเภณีที่นิยมเรื่องการมีเพศสัมพันธ์แบบสำส่อน ค่านิยมของลูกสาวเรื่องการทดแทนบุญคุณพ่อแม่ถึงต้องยอมเป็นโสเภณี ความเชื่อผิดๆเรื่องเพศ ปัญหายาเสพย์ติดและเรื่องเกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งถ้ารัฐบาลและหน่วยงานต่างๆรวมไปถึงประชาชานตระหนักเห็นความสำคัญของโรคเอดส์ประสานงานร่วมมือกันรณรงค์ใส่ใจปัญหาของการเกิดโรคเอดส์มากกว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็อาจทำให้ปัญหาของการแพร่กระจายของโรคเอดส์ลดลงได้บาง
พฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติ   ( Deviant Behavior )    หมายถึงพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับระเบียบประเพณีหรือบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งบางครั้งจะต้องสัมพันธ์กับสถานภาพทางสังคมของคนในสังคมนั้นๆด้วยตัวอย่างเช่น อาชญากรรม การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน การเสพยาเสพติด การกระทำอัตวินิบาตกรรม โสเภณี เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเบี่ยงเบนก่อให้เกิดปัญหาสังคมได้มากมาย ปัญหาโรคเอดส์ ก็เป็นปัญหาสังคมที่เกิดจากพฤติกรรมเบี่ยงเบนเพราะมีการใช้บริการโสเภณีกันมากบ้างครั้งไม่ได้ป้องกันจนทำให้เชื้อแพร่กระจายไปสู้ภรรยาและถ่ายทอดไปสู่เด็กที่เกิดในมารดาที่ติดเชื้อ การใช้เสพสารเสพติดโดยใช้เข็มฉีดยาก็ทำให้สามรถติดโรคเอดส์ได้เช่นกัน                                                                                            

การแก้ไขปัญหาสังคม
1. การแก้ไขปัญหาแบบย่อย ( Pelcemal approach ) การดำเนินงาน คือการแก้ไขปัญหาแบบให้ได้ผลทันใจหรือปรากฏออกมาอย่างรวดเร็ว เช่น เมื่อเกิดการขาดแคลนอาหารก็ใช้จบประมาณซื้ออาหารแจก
2. การแก้ปัญหาแบบถ้วนทั่ว (Wholesale ) หรือโดยการวางแผน การแก้ไขปัญหาแบบนี้ คือการมองปัญหาว่ามิใช่มีอยู่อย่างเป็นเอกเทศแต่ก็สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นๆมากมาย
( Multi - causal ) ตัวอย่างเช่น การแก้ไขปัญหาความยากจนไม่ใช่เอาของไปแจก แต่อาจใช้การสอนให้รู้จักวิชาชีพหรือการแก้ไขสถานะแวดล้อมให้มีการประกอบอาชีพได้ การแก้ไขแบบถ้วนทั่ว มักใช้ระบบที่เรียกว่า วิศวกรรมทางสังคม ( Social engineering ) คือ ใช้วิทยาการนานาแขนง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสังคมให้ดีขึ้น     

วิธีการที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา
การแก้ไขปัญหาสังคมต่างๆสามรถดำเนินการได้ดังนี้
1. การมีสาเหตุภายนอก เช่น ปัญหาที่เกิดจากความเจริญของเทคโนโลยีและการขยายของชุมชน อุตสาหกรรม การสื่อสาร เป็นต้น ควรแก้ไขด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
       1.1 การอบรมสั่งสอน ( Socialization ) คือการอบรมถ่ายทอดทางวัฒนธรรมเพื่อนำคนเข้าสู่ระบบสังคม
       1.2 ให้การศึกษา ( Education ) การศึกษาควรให้ได้บูรณาการทั้งการพัฒนาสังคม อารมณ์ และปัญญา
       1.3 การลงโทษ ( Punishment ) เป็นมาตรการหนึ่งที่ควบคุมสังคม ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสังคม การลงโทษมีอยู่หลายอย่าง การจับกุม หรือแสดงอาการรังเกียจ ไม่คบค้า สมาคมแก่ผู้กระทำผิด เป็นต้น

2. ปัญหาอันมีสาเหตุจากภายใน เช่นการเปลี่ยนรสนิยม ค่านิยม ความเชื่อ ซึ่งมีผลต่อปัญหาอันเกิดจากการเมือง และความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม ควรแก้ด้วยวิธีดังนี้
       2.1 หน่วยงานแนะนำให้คำปรึกษา ( Guidance and Counselling Parograms )                     คือ มีหน่อยงานให้คำปรึกษาช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางจิตหรือมีหน่วยงานจัดตั้งเพื่อประกาศเกียรติคุณ แก่ผู้ประกอบกรรมดี เป็นต้น
       2.2 คำสอนทางศาสนา ( Doctrinc ) คือ ทางรัฐบาล ควรเปิดโอกาสให้การศึกษา เพื่อประยุกต์หลักการทางศาสนามาใช้แพร่หลาย กระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม 

        การแก้ไขปัญหาสังคมที่กล่าวมาข้างต้นก็อาจเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของการแพร่กระจายของโรคเอดส์ได้บ้าง ซึ่งเป็นแนวทางที่สำคัญที่จะทำให้ทุกคนตระหนักถึงการแก้ปัญหาสังคมเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจกันทำเพื่อให้สังคมเกิดความสงบไม่วุ่นวาย ปัญหาสังคมก็จะเกิดน้อยลง 
           ดังนั้นปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุดเพราะ โรคเอดส์ถือเป็นปัญหาสำหรับทุกประเทศทั่วโลก และเป็นต้นเหตุหนึ่งของการตายของประชากร ซึ่งจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่าผู้ป่วยโรคเอดส์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 7.6 ล้านคน ในปี 2533 เป็น 33.4 ล้านคนในปี 2551    ส่วนในประเทศไทย   ผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ในประเทศไทยมีจำนวนลดลงจาก 1.76 หมื่นคนในปี 2550 เป็น 0.24 หมื่นคนในปี 2553 แม้จะมีจำนวนลดลงแต่ยังมีความเป็นไปได้ที่อาจจะสูงขึ้น เนื่องจากยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันของผู้ใช้ยาเสพติด และการไม่ใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น       เพราะฉะนั้นเราควรที่จะตระหนักและเห็นความสำคัญของการเกิดโรคเอดส์ไม่ให้แพร่กระจายไปมากกว่านี้ ควรที่จะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมไม่ใช่หวังแต่จะกอบโกย ผลประโยชน์ส่วนตัว จนทำให้ผู้อื่นเดือนร้อนอย่างเช่น ธุรกิจโสเภณีที่กำลังขยายตัวมากขึ้นเพราะโสเภณีเองก็มีความเดือดร้อนจากปัญหาความยากจนและความอยากได้รายได้สูงขึ้น เนื่องจากค่าจ้างแรงงานบ้านเรายังต่ำมาก ประชาชนมีความแตกต่างทางฐานะรายได้มาก ทำให้คนรวยซื้อคนจนได้ และในสังคมปัจจุบันมีการใช้สารเสพติดกันมาก รักสนุกมีการสำส่อนทางเพศกันมากขึ้นอีกทั้งยังมีการรักร่วมเพศเดียวกัน นี้ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การแพร่กระจายของโรคเอดส์เพิ่มสูงขึ้นและยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาโรคเอดส์ ถ้าพวกเรายังไม่ตระหนักไม่เห็นความสำคัญปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์ก็จะยิ่งรุ่นแรงมากขึ้นจนไม่สามารถหาทางแก้ไขป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอชื่อของคนเขียนบทความนี้หน่อยค่ะ ต้องการนำไปเขียนบรรณนานุกรม

    ตอบลบ