วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาการคอรัปชั่น นางสาวชนนี นาคเจือทอง 53241790


บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง ปัญหาการคอรัปชั่น


ประชาชนรับการคอรัปชั่นเป็นปัญหาต่อประเทศชาติในระดับมากถึงมากที่สุด  นิด้าโพล  ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องปัญหาการคอรัปชั่นจากการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.63 มองว่าปัญหาการคอรัปชั่นเป็นเรื่องสำคัญ ในขณะที่ ประชาชน ร้อยละ 23.37มอง ว่าเป็นเรื่องธรรมดา สำหรับด้านผลกระทบจากปัญหาการคอรัปชั่น พบว่า ประชาชน ร้อยละ 72.11 ระบุว่าปัญหาการคอรัปชั่นส่งผลกระทบต่อตนเอง เพราะเป็นการนำเงินภาษีของประชาชนไปใช้ในทางที่ไม่โปร่งใส ประชาชน ร้อยละ 27.89 เห็นว่าไม่มีผลกระทบ เพราะไม่เดือดร้อนมาถึงตนเองและไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่วนด้านผลกระทบจากปัญหาการคอรัปชั่นต่อประเทศชาติ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 98.45 ระบุว่าปัญหาดังกล่าวมีผลกระทบต่อประเทศชาติ เพราะทำให้ประเทศพัฒนาล่าช้า ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร รวมทั้งทำให้ประเทศล่มจม มีเพียงร้อยละ 1.55 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่มีผลกระทบต่อประเทศชาติ เพราะเป็นเรื่องปกติ นอกจากนี้ ประชาชน ร้อยละ 86.78    ระบุว่าการคอรัปชั่นเป็นปัญหาต่อประเทศชาติ ในระดับมากถึงมากที่สุด  ท้ายสุด ประชาชน ร้อยละ 59.67 ระบุว่าจะแจ้งเบาะแสหากพบเห็นการคอรัปชั่น โดยร้อยละ 39.89 จะแจ้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ รองลงมา ร้อยละ 19.83 แจ้งกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และร้อยละ 13.64 แจ้งกับกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน
คำว่า คอรัปชั่นนั้นนิยามอาจตีความได้อย่างกว้างขวางมาก เช่น การทุจริต การฉ้อโกง การฉ้อราษฎรบังหลวง เป็นต้น โดยแต่ละความหมายล้วนให้ความหมายในเชิงแง่ลบทั้งสิ้น  การทุจริตโดยใช้หรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่อำนาจและอิทธิพลที่ตนมีอยู่เพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นรวมถึงการเลือกที่รักมักที่ชัง  การเห็นแก่ญาติพี่น้องกินสินบนฉ้อราษฎร์บังหลวง  การใช้ระบบอุปถัมภ์และความไม่เป็นธรรมอื่นๆที่ข้าราชการหรือบุคคลใดใช้เป็นเครื่องมือในการลิดรอนความเป็นธรรม  ปัญหาการคอรัปชั่นหลายคนอาจจะมองว่าไม่สำคัญ เพราะอาจคิดว่าไม่ใช่ปัญหาของตัวเองบ้างไม่ใช่เรื่องใกล้ตัวบ้าง  แต่หากย้อนกลับมาพิจารณาดูให้ดีแล้วปัญหาการคอรัปชั่นนี้นับว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันกับชีวิตของเราทุกคนในฐานะที่เป็นประชาชนอย่างมากทีเดียว



                สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการคอรัปชั่น  ได้แก่
๑. การขาดคุณธรรม
                ผู้ที่ทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงกล่าวได้ว่าเป็นผู้ขาดคุณธรรม  คุณธรรมที่ขาด ได้แก่  ความซื่อสัตย์สุจริต  ความละอายบาปและเกรงกลัวบาป  ความกตัญญูกตเวที  ในพระพุทธศาสนาความซื่อสัตย์สุจริตหรือสัจจะถือเป็นหลักธรรมที่สำคัญ  สัจจะ หมายถึงความจริง  ความซื่อตรง  ความซื่อสัตย์  ความจริงใจ ผู้มีสัจจะจะต้องมีความจริงต่อคำพูดการกระทำ  หน้าที่และบุคคลคือจะต้องพูดจริงทำจริง ซื่อตรงต่อหน้าที่ มีความจริงใจต่อผู้อื่น ผู้มีสัจจะจะไม่เป็นผู้ทุจริตไม่ว่าในกรณีใดๆ  หิริหรือความละอายบาปและโอตตัปปะความเกรงกลัวบาปถือเป็นธรรมคุ้มครองโลก(โลกบาล)  ทำให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่เดือนร้อนและสับสนวุ่นวายก่อนนี้คนไทยส่วนใหญ่เชื่อในเรื่องบุญบาป  เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม เชื่อในเรื่องสังสารวัฏ-การเวียนว่ายตายเกิด  จึงเป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง แต่ในปัจจุบันคนจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะผู้ที่มีการศึกษาจบจากต่างประเทศมักจะไม่เชื่อในเรื่องบุญและบาปไม่เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม จึงขาดหิริโอตตัปปะ ทำการทุจริต ทำความชั่วกันมากขึ้นและถือว่าการทุจริตเป็นวิถีชีวิตเมื่อสังคมและโลกขาดหิริโอตตัปปะเป็นธรรมเครื่องคุ้มครองสังคมและโลกจึงขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยมีความเดือดร้อนสับสนวุ่นวายยิ่งขึ้น
๒. การขาดอุดมการณ์และอุดมคติ
                อุดมการณ์  หมายถึงอุดมคติอันสูงส่งที่จูงใจมนุษย์ให้พยายามบรรลุถึง
                อุดมคติ  หมายถึงจินตนาการที่ถือว่าเป็นมาตรฐานแห่งความดีความงาม และความจริงใจทางใดทางหนึ่ง ที่มนุษย์ถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตของตน
คนที่มีอุดมการณ์หรืออุดมคติจะเป็นผู้มีเป้าหมายของชีวิตและจะดำเนินชีวิตด้วยอุดมการณ์หรืออุดมคติ คือคุณธรรมความดี  ผิดกับผู้ที่ไม่มีอุดมการณ์หรืออุดมคติที่จะทำทุกอย่างเพื่อให้ตนได้รับประโยชน์ว่าการกระทำนั้นจะผิดและไม่ถูกต้องตามศีลธรรม
                ผู้ที่จะทำงานให้ได้ผลและประสบความสำเร็จจึงต้องมีคุณธรรมที่สำคัญ ๓ ประการ คือ ความกระตือรือร้น ความบริสุทธิ์ใจและความมีอุดมคติ
                อุดมการณ์หรืออุดมคติจึงมีความสำคัญ  ดังนี้
                (๑) ทำหน้าที่เป็นเป้าหมายของชีวิต
                (๒) เป็นพลังผลักดันให้พยายามทำงานจนได้รับความสำเร็จและบรรลุเป้าหมาย
                (๓) ทำให้จิตใจมั่นคงอยู่ในคุณธรรมความดี ในการทำงานเพื่อสังคมและประโยชน์ส่วนรวม
                ผู้ที่มีอุดมคติจึงได้เปรียบผู้ที่ไม่มีอุดมคติ เพราะมีอุดมคติซึ่งเปรียบเสมือนแสงสว่างที่นำทางให้ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ ส่วนผู้ที่ไม่มีอุดมคติเหมือนคนที่ขาดแสงสว่างเป็นผู้ที่ตกอยู่ในความมืด คือ มีใจที่มืดบอด เขาอาจจะมีเงิน มีตำแหน่งที่สูง มีอำนาจวาสนา แต่เขาอาจจะไม่มีความสุข ความผิดและความชั่วที่เขาทำอาจจะเป็นไฟที่เผาลนจิตใจของเขาให้รุ่มร้อนเหมือนนรกที่อยู่ในใจ และเมื่อกรรมชั่วให้ผล เขาจะได้รับผลกรรมตามกรรมที่เขาได้ทำไว้อย่างแน่นอน
๓. มีค่านิยมที่ผิด
                ในปัจจุบันค่านิยมของสังคมได้เปลี่ยนไปจากเดิม  ก่อนนี้เราเคยยกย่องคนดี  คนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต แต่ในปัจจุบันเรากลับยกย่องคนที่มีเงิน คนที่เป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี  คนที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง
                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับความคิดจิตใจของคนที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมมีข้อความดังนี้
                ในบ้านเมืองเราทุกวันนี้มีเสียงกล่าวกันว่า  ความคิดจิตใจของคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อม ความประพฤติที่เป็นความทุจริตหลายอย่างมีท่าทีจะกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปพากันยอมรับและสมยอมให้กระทำกันได้เป็นธรรมดา สภาพการณ์เช่นนี้ย่อมทำให้วิถีชีวิตของแต่ละคนมืดมัวลงไป  เป็นปัญหาใหญ่ที่เหมือนกระแสคลื่นอันไหลเข้ามาท่วมทั่วไปหมด  จำเป็นต้องแก้ไขด้วยการช่วยกันฝืนคลื่นที่กล่าวนั้น
                ในการดำเนินชีวิตของเรา  เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆที่เรารู้ผิดด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม  เราต้องฝืนต้องห้ามความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ  เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี  เป็นความถูกต้องและเป็นธรรมถ้าเราช่วยกันทำเช่นนี้ได้จริงๆให้ผลของความดีบังเกิดให้มากขึ้นๆ  ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไปและจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นเป็นลำดับ
ผู้ที่มีค่านิยมที่ผิดเห็นว่าการทุจริตเป็นวิถีชีวิตเป็นเรื่องปกติธรรมดา เห็นคนซื่อเป็นคนเซ่อ เห็นคนโกงเป็นคนฉลาด  ย่อมจะทำการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง  โดยไม่มีความละอายต่อบุญและบาป และไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายของบ้านเมือง


๔. ใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม
บุคคลใดที่มีอำนาจและมีความโลภเห็นแก่เงิน  ก็ย่อมจะคอร์รัปชั่น การมีอำนาจอย่างเดียวก็ย่อมจะคอร์รัปชั่น การมีอำนาจอย่างเดียวจึงไม่ทำให้คนทุจริตแต่การมีอำนาจโดยมีความโลภเห็นแก่เงิน จึงทำให้คนทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง
                กรณีตัวอย่างข้าราชการที่มีอำนาจเป็นจำนวนมากที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการรับใช้แผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีประวัติด่างพร้อยในเรื่องการทุจริต อาทิ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เป็นผู้บัญชาการทหารบกคนแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการยกย่องว่าเป็นทหารเสือหนักแน่นมั่นคง ถือความซื่อสัตย์  ความกตัญญูแลความจงรักภักดีที่ซื่อตรงต่อหน้าที่ โดยไม่มีประวัติด่างพร้อยในเรื่องใดทั้งสิ้น
                ท่านได้ปฏิบัติตามคำสอนของบิดาของท่าน คือ พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต)  อย่างเคร่งครัด   คำสอนของบิดาของท่านมี ๓ ข้อ ดังนี้
                (๑) ให้มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้จักคุณบิดา มารดา และญาติพี่น้อง ทั้งผู้มีคุณที่ได้อุปการะมาแล้ว
                (๒) เมื่อได้ทำความผิดสิ่งใดไม่ให้พูดปดหรือแก้ตัวด้วยความเท็จ
                (๓) ไม่ให้ประพฤติตนด้วยการข่มเหงและเบียดเบียนผู้ใดเป็นอันขาด
๕. มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย
                สาเหตุอีกประการของการทุจริต  คือการมีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายทำให้ต้องเป็นหนี้สิน  เมื่อไม่สามารถจะหาเงินมาได้โดยทางสุจริต  ก็ใช้วิธีทุจริต
                กรณีตัวอย่างสำหรับข้าราชการที่มีเงินเดือนและรายได้ไม่พอกับรายจ่ายของตนเองและครอบครัว จึงต้องฉ้อราษฎร์บังหลวง  การฉ้อราษฎร์ก็โดยการเรียกร้องผลตอบแทนจากผู้มารับบริการหรือการรับสินบนเป็นการโกงเงินประชาชน  ส่วนการบังหลวงคือการทุจริตเงินหลวง เช่น ยักยอกเงินที่จะต้องส่งให้หลวงหรือเบิกเงินเกินกว่าที่มีสิทธิจะเบิกได้ เป็นการโกงเงินแผ่นดิน
                หรือแม้แต่ผู้ที่ทำงานเอกชน  ติดการพนันหรือมีการใช้จ่ายเงินเกินฐานะและยิ่งสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของบัตรเครดิตทำให้ขาดสติ  ยับยั้งชั่งใจ ใช้จ่ายเงินเกินตัว ทำให้มีหนี้สินที่ไม่สามารถนำมาคืนหรือผ่อนส่งได้ จึงเกิดความคิดชั่ววูบหรือความตั้งใจในการก่อคดีต่างๆ เช่น การปล้นร้านทอง หรือบางรายไม่มีทางออกในการแก้ไขปัญหา ใช้วิธีการดับชีวิตตนเองเป็นการแก้ไขปัญหา เป็นต้น
                สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากความอยากได้ อยากมี อยากเป็นทั้งสิ้น ฉะนั้น การประพฤติปฏิบัติตนโดยการเดินตามรอยพระยุคลบาท และนำคุณธรรม ๔ ประการตามพระบรมราโชวาทตรงกับหลักธรรมของพระพุทธศาสนา เรื่อง ฆราวาสธรรม เป็นหลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์มี ๔ ประการ ดังนี้
                (๑) สัจจะ ความซื่อสัตย์ ซื่อตรง ความจริง คือ จริงใจ พูดจริง ทำจริง
                (๒) ทมะ การข่มใจ รู้จักควบคุมจิตใจของตนเอง ปรับปรุงตนเองให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา
                (๓) ขันติ ความอดทน อดกลั้น ทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อถอย
                (๔) จาคะ ความเสียสละ เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม สละความสุขสบายของตนในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม เช่น ไม่เห็นแก่ตัวพร้อมที่จะร่วมมือช่วยเหลือเอื้อเฟื้อ  เผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัว
สังคมปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า  การคอรัปชั่นในประเทศไทยเป็นปัญหามากแม้จะมีมาตรการป้องกันและแก้ไขก็ไม่สามารถขจัดปัญหาคอรัปชั่นให้หมดไปจากสังคมไทยได้ตราบใดที่คนไทยยังมีการดำรงชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ใช้เงินมากกว่ารายได้ขาดการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง จึงทำให้เกิดการทุจริตเกิดขึ้นทั้งนี้เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจกระแสบริโภคนิยม

วัตถุนิยม  เกิดการใช้เงินเกินรายได้โดยนิยมหรือชื่นชมกันวัตถุนิยม เช่น ชื่นชมกับการใช้สิ่งของหรือสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยโครงสร้างของสังคม ไทย

ระบบอุปถัมภ์  กล่าวคือสังคมไทยเป็นสังคมแนวดิ่ง  คือเป็นสังคมของกลุ่มที่มีอำนาจกับกลุ่มไม่มีอำนาจ โดยกลุ่มที่มีอำนาจจะทำทุกวิถีทางที่ให้ตนมีอำนาจส่วนกลุ่มไม่มีอำนาจก็จะทำทุกวิถีทางให้ตนอยู่รอด  และระบบอุปถัมภ์เป็นระบบที่ดูแลค้ำชูโดยผู้ใหญ่ดูแลเด็ก  เด็กดูแลผู้ใหญ่  ซึ่งระบบอุปถัมภ์นี้เป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเช่นเมื่อราชการกระทำความผิดเกิดขึ้นอาจเกิดจากเหตุที่ไม่รู้ว่ากระทำนั้นเป็นการกระทำที่ผิด
มีความจำเป็นในการกระทำเพื่อประโยชน์ของทางราชการหรือเกรงกลัวต่ออำนาจหรือกระโดยทุจริตก็ตาม เมื่อราชการกระทำผิดนักการเมืองมาโอบอุ้มส่วนราชกาให้พ้นผิด  การกระทำดังกล่าวเช่นนี้เป็นการอุปถัมภ์ซึ่งกันและกันจึงทำให้เกิดการสนองตอบด้วยการกระทำความผิดเนื่องจาก
. กระบวนการยุติธรรมไม่เข้มแข็ง
. การแทรกแซงจากผู้มีอิทธิพลและนักการเมือง
. ความเบื่อหน่ายและเพิกเฉยของประชาชนต่อการทุจริตการทุจริตคอรัปชั่นสามารถแบ่งได้เป็น 5 รูปแบบ

ได้แก่     ๓.) การทุจริตเชิงนโยบาย
.) การทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
.) การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
.) การทุจริตในการให้สัมปทาน
.) การทุจริตโดยการทำลายระบบตรวจสอบอำนาจรัฐการทุจริตเชิงนโยบายเป็นรูปแบบใหม่ของ การทุจริตที่แยบยลโดยอาศัยรูปแบบของกฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีหรือมติของคณะกรรมการเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องชอบธรรมซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริงดังนี้
มีการกำหนดนโยบายที่จะทำโครงการ หรือกิจการโดยองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐหรือรัฐบาลที่อ้างประโยชน์ของประเทศ ชาติหรือประชาชนเป็นอันดับแรก
มีการเตรียมการรองรับโครงการหรือกิจการนั้นให้มีความชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบ
ท้ายสุดคือผลประโยชน์อันมิควรได้เกิดขึ้นแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลผลประโยชน์ที่มหาศาล ที่ตกได้กับฝ่ายบริหารซึ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ครอบงำฝ่ายนิติบัญญัติหรือข้าราชการประจำการทุจริตต่อตำแหน่งเจ้าหน้าที่
ประเภทของการคอรัปชั่นแบ่งได้  ลักษณะ คือการคอรัปชั่นของบุคคล   คอรัปชั่นระดับสถาบันและคอรัปชั่นในรูประบบซึ่งแต่ละลักษณะก็มีที่มาแตกต่างกันออกไป  โดยการคอรัปชั่นของบุคคลเป็นคอรัปชั่นขั้นพื้นฐานที่มีอยู่ทั่วไปในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา  ซึ่งมีสาเหตุมาจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก อันได้แก่  ความย่อหย่อนในศีลธรรมและคุณธรรม  ความขาดแคลนรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย  ความอยากได้ใคร่ดี  ความกลัวว่าจะน้อยหน้าคนอื่น  การแข่งขันในทางวัตถุ  ความมักได้  ความเคยชินและความคิดว่าคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติใครๆเขาก็ทำกันทั้งนั้น  โดยเริ่มจากการรับหรือเรียกร้องสินน้ำใจ  ค่าน้ำร้อนน้ำชา  ค่าซื้อความสะดวก เงินใต้โต๊ะ เพื่อให้เรื่องต่างๆดำเนินไปด้วยความสะดวกและรวดเร็วไม่ติดขัด  หากไม่ได้รับเงินพิเศษหรือการเลี้ยงดูปูเสื่อก็อาจจะเกิดการกั๊กเรื่องหรือกลั่นแกล้งให้เกิดความล่าช้าและความเสียหายได้
                จาก การคอรัปชั่นของบุคคล คอรัปชั่นได้แพร่ขยายเข้าไปสู่สถาบันกลายเป็นประเพณีปฏิบัติขององค์กร  โดยเฉพาะบางองค์กรซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับพ่อค้า  นักธุรกิจและประชาชนเกิดเป็นระบบหน้าม้าที่รับติดต่อกับองค์กรเหล่านั้นแทนประชาชนเกิดการกินหัวคิว สินบน การส่งส่วย การฮั้วการประมูลไปจนถึงลูกเล่นพลิกแพลงต่างๆ  ซึ่งส่วนมากคอรัปชั่นในระดับสถาบันนี้จะทำกันเป็นทีม  มีการแบ่งหน้าที่และผลประโยชน์กันอย่างเป็นขบวนการ  ซึ่งเมื่อปล่อยทิ้งไว้นานเข้าก็กลายเป็นการยากที่จะถอนยวงหรือสืบสาวไปถึงตัวใหญ่ได้
                แต่ที่อันตรายที่สุดคือการคอรัปชั่นในรูประบบ  ซึ่งมักจะเป็นการร่วมมือกันของฝ่ายการเมืองกับข้าราชการประจำด้วยการสร้างกลโกงอย่างแยบยล  ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคอรัปชั่นเชิงนโยบาย หรือคอรัปชั่นเชิงบริหาร  เป็นการโกงในระดับชาติโดยนักการเมืองที่ทำหน้าที่บริหารประเทศ  ตัวอย่างที่เห็นได้บ่อยๆ  ก็คือโครงการอภิมหาโปรเจ็คต่างๆ  การกำหนดคุณสมบัติของการ จัดซื้อจัดจ้างให้ตรงกับของหรือบริษัทที่แอบตกลงกันไว้ล่วงหน้าแล้ว หรือที่เรียกว่าล็อคสเป็ค  รวมถึงการเรียกเงินปากถุงหรือเปอร์เซ็นต์สำหรับการเซ็นอนุมัติโครงการต่างๆ  การดักซื้อที่ดินราคาถูกเพื่อโก่งราคาขายให้รัฐในการสร้างถนนหรือสถานที่ ราชการ เป็นต้น
                ความจริงแล้วการคอรัปชั่นยังมีวิธีการต่างๆอีกมากมาย  และก็ได้ฝังรากลึกลงในสังคมไทย   จนคนทั่วไปเห็นเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันและยินยอมที่จะเสียเงินเพื่อซื้อความสะดวก  สิทธิพิเศษ หรือตัดความรำคาญ  แม้กระทั่งเกิดความคิดสีเทาประเภทกินตามน้ำ  เข้าเมืองตาหลิ่วก็หลิ่วตาตาม     ตัวเล็กกินไก่ตัวใหญ่ค่อยกินช้างหรือคนโกงแต่เก่งดีกว่าคนซื่อที่ทำงานไม่เป็น ซึ่งการกระทำและความคิดเหล่านี้ทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมคอรัปชั่นเกือบจะสมบูรณ์

 โทษของคอรัปชั่น
ความไม่มีประสิทธิภาพของนโยบายการคลังในทางเศรษฐศาสตร์  นโยบายการคลังคือการเคลื่อนย้ายทรัพยากรจากภาคส่วนที่มั่งคั่งกว่าไปสู่ภาคอื่นๆ  ซึ่งเป็นการกระจายรายได้และลดความเหลื่อมล้ำจากภาคส่วนที่จำเป็นน้อยกว่าสู่ภาคส่วนที่จำเป็นมากกว่า  เช่น  บริการสาธารณะและสวัสดิการสังคมจากอนาคตมาใช้แก้ปัญหาปัจจุบัน อาทิ การแก้วิกฤตโดยกู้ยืมจากหนี้สาธารณะ ถ้าพิจารณาจากขนาดของงบประมาณทั้งรัฐและรัฐวิสาหกิจจะรวมเกินกว่า 1 ใน 3 ของรายได้ประชาชาติ  การคอรัปชั่นนอกจากทำให้ทรัพยากรส่วนนี้รั่วไหลไม่เกิดประโยชน์ตามสมควรแล้วยังทำให้เกิดการบิดเบือนการตัดสินใจในนโยบายการคลัง  ทำให้ทรัพยากรภาครัฐซึ่งเป็นทรัพยากรที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ  ถูกจัดสรรและใช้งานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จนบางครั้งก็เป็นต้นเหตุของวิกฤตร้ายแรงต่างๆในอนาคต
.  คุณภาพและต้นทุนของบริการพื้นฐาน โดยเหตุที่รัฐเป็นผู้รับผิดชอบบริการพื้นฐานสาธารณะแทบทั้งหมดการที่มีการคอรัปชั่นอย่างกว้างขวางในทุกภาคส่วน  ทำให้บริการพื้นฐานมีคุณภาพต่ำ ปริมาณไม่เพียงพอและมีต้นทุนสูง ทำให้ระบบเศรษฐกิจไม่มีประสิทธิภาพในการแข่งขัน
. ทำให้เกิดการเบี่ยงเบนของการจัดสรรทรัพยากรในภาคเอกชน  เนื่องด้วยคอรัปชั่นขนาดใหญ่มักเกิดขึ้นในภาคที่ไม่ใช่สินค้าบริการในตลาดโลกหรือที่เรียกว่า Non-Tradables ซึ่งอำนาจรัฐสามารถเอื้อประโยชน์ได้มากเพราะช่วยกีดกันการแข่งขันได้ ซึ่งจะทำให้เกิดกำไรอย่างมาก ทำให้ทรัพยากรจำนวนมากไหลเข้าสู่ภาคนี้เกินสมควร ทั้งทรัพยากรเงินทุนและทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ คือ ฉลาด เก่ง แต่ไม่มีสำนึกคุณธรรม จะเห็นได้ว่ามหาเศรษฐีไทยจำนวนมากอยู่ในภาคส่วนนี้ดังได้กล่าวมาแล้วและอัจฉริยะจำนวนไม่น้อยจะมีอาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น การเมืองภาคสกปรกและลอบบี้ยิสต์เป็นต้น
. โทษใหญ่อีกประการหนึ่งคือ การบั่นทอนศักยภาพการแข่งขันของประเทศโดยรวม ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามากว่า 50 ปี ตั้งแต่มีนิยามคำนี้ ถึงแม้จะมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกว่า 10 แผน แต่ก็ก้าวหน้ามาได้แค่ครึ่งทาง ถ้านับตามนิยามรายได้ประชาชาติต่อคนต่อปี ผมมั่นใจว่าคอรัปชั่นเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดของการพัฒนา เพราะนอกจากจะมีโทษตามที่กล่าวมาแล้วทั้ง 3 ประการ ยังทำให้ภาคเอกชนขาดการพัฒนา เช่น การที่มีช่องทางมากมายที่จะซื้อหาความได้เปรียบหรือกีดกันการแข่งขัน โดยที่ไม่ต้องพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพแท้จริง ทำให้ขาดแรงกดดันและความจำเป็นในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการ รวมทั้งการค้นหานวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เอกชนไทยมีงบประมาณการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาต่ำที่สุด ประเทศหนึ่ง เพราะการซื้อหาความได้เปรียบย่อมมีความแน่นอนกว่า และมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในการวิจัยและพัฒนามาก
ความเหลื่อมล้ำในสังคมซึ่งเป็นปัญหายิ่งใหญ่ในปัจจุบันก็มีสาเหตุไม่น้อยที่มาจากการคอรัปชั่น การที่เราไม่ปรับปรุงศักยภาพในการแข่งขัน  ทำให้ภาคเศรษฐกิจจำเป็นต้องไปกดเงินเดือน ค่าจ้าง ราคาสินค้าเกษตร ซึ่งผู้รับเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อ ๒0 ปีที่แล้ว ประเทศจีนได้ชื่อว่ามีค่าแรงต่ำกว่าครึ่งของเรา แต่ในปัจจุบันแทบทุกเขตทุกมณฑลมีค่าแรงที่สูงกว่า และรายได้ประชาชาติต่อคนของจีนจะแซงหน้าเราอย่างแน่นอน
ในส่วนของความแตกแยกในสังคมไทย  ซึ่งนอกจากจะเกิดจากความเหลื่อมล้ำแล้ว  การที่มีคนกลุ่มใหญ่ใช้ความพยายามทุกวิถีทางที่จะพยายามเข้าถึงหรือได้มาซึ่งอำนาจรัฐ โดยไม่คำนึงถึงวิธีการและต้นทุนที่ใช้ เนื่องจากมีผลตอบแทนที่สูงคุ้มค่า  ก็เป็นรากฐานสำคัญประการหนึ่งของปัญหาความแตกแยกอย่างรุนแรงที่เราเผชิญอยู่แม้แต่ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็มีสาเหตุไม่น้อยที่มาจากการคอรัปชั่น

แนวทางการแก้ไขปัญหาการคอรัปชั่น
๑.      คือการเปลี่ยนทัศนคติของสังคม ซึ่งคงจะอยู่ในส่วนของ ยุทธศาสตร์ ปลูกฝังที่ดำเนินอยู่ทุกวันนี้ เรื่องสำคัญที่สุดในการที่จะเปลี่ยนวัฒนธรรมฝังรากจนกลายเป็นวิถีชีวิตของคน ส่วนใหญ่ไปแล้ว จะต้องเปลี่ยนทัศนคติที่ยอมรับ หรือวางเฉยกับความชั่วร้ายที่เกิดขึ้น ให้เป็นการปฏิเสธและต่อต้านให้จงได้ หากสังคมส่วนใหญ่ไม่มีฉันทานมติในทางเดียวกัน การชนะสงครามกับคอรัปชั่นย่อมเป็นไปไม่ได้เลย มาตรการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมเพียงด้านเดียวดูจะไม่ได้ผล ลองคิดดูว่าถ้าสามารถทำให้คนร้อยละ 80 เป็นคนดี ไม่ให้หรือรับสินบน ก็ยังคงเหลืออีกกว่า 12 ล้านคน ที่อาจพร้อมจะตักตวงผลประโยชน์มิชอบต่อไป
๒.     การกระจายอำนาจรัฐ ซึ่งนอกจากมีประโยชน์มากในมิติอื่นๆ แล้ว ยังจะมีส่วนช่วยลดการคอรัปชั่นได้มาก โดยเฉพาะการกระจายอำนาจในการกำหนดงบประมาณการจัดสรรและควบคุมการใช้ทรัพยากร ให้แก่ท้องถิ่น เพราะจะเกิดแรงจูงใจให้ประชาชนในท้องถิ่น ติดตามดูแลตรวจสอบไม่ให้มีการรั่วไหล เนื่องจากมีส่วนได้เสียโดยตรง เป็นการขจัดเงื่อนไขของกลยุทธ ได้กระจุก-เสียกระจาย
๓.     ขจัดเงื่อนไขที่เอื้อให้มีการทุจริต ได้แก่ ลดขั้นตอนในระบบราชการและแก้ไขระเบียบปฏิบัติที่ยุ่งยากซับซ้อน โดยเฉพาะที่อนุญาตให้มีการใช้วิจารณญาณของผู้มีอำนาจ มีการ outsource งานบริการให้แก่เอกชนให้มากที่สุด ซึ่งหลายหน่วยงานเคยใช้ได้ผลมาแล้ว มีการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ หรือที่เรียกว่า Service Level Agreement ของการให้บริการประชาชนในทุกๆ เรื่อง มีช่องทางให้ประชาชนร้องเรียนได้อย่างสะดวก และมีกระบวนการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วเมื่อเกิดสิ่งที่ไม่ปกติขึ้น เพื่อขจัดเงื่อนไขการ ซื้อความสะดวก
๔.     การแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่สมบูรณ์ ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน เรามีรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กว่า 10 แห่ง แต่ก็กล่าวได้ว่าไม่เคยมีการแปรรูปโดยสมบูรณ์เลย ภาคการเมืองและข้าราชการยังคงมีบทบาทและอิทธิพลเหนือรัฐวิสาหกิจทุกแห่งที่ จดทะเบียน และยังคงสภาพ การผูกขาดอยู่ไม่น้อย
๕.     การเปิดเสรีระบบเศรษฐกิจยิ่งขึ้น เป็นทฤษฎีที่ยอมรับกันโดยสากลว่า วิธีการลดคอรัปชั่นโดยเฉพาะในส่วนของการซื้อหาความได้เปรียบในภาคเอกชน ก็คือการขจัดเงื่อนไขที่กีดกันการแข่งขันโดยสมบูรณ์ให้มากที่สุด การส่งเสริมให้มีการแข่งขันอย่างกว้างขวาง ลดเงื่อนไขการจำกัดจำนวนใบอนุญาต รวมทั้งเงื่อนไขมาตรฐานผู้เข้าแข่งขัน ให้เหลือเฉพาะที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง
๖.      ลดการใช้วิจารณญาณของผู้มีอำนาจรัฐ ยกเลิกการกำหนดราคาที่บิดเบือนกลไกตลาด ในทางทฤษฎีแล้ว การแข่งขันโดยสมบูรณ์ในกลไกทุนนิยมเสรีเป็นเงื่อนไขขจัดคอรัปชั่นที่ดีที่ สุด การกีดกันทางการค้าทุกชนิดรวมทั้งการอ้างชาตินิยมเพื่อกีดกันด้านสัญชาติ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะตกกับนักธุรกิจกลุ่มเล็กเท่านั้น ผู้บริโภคและประชาชนส่วนใหญ่จะเป็นผู้รับภาระสำหรับกำไรส่วนเกินที่เกิดขึ้น
๗.     การส่งเสริมองค์การภาคประชาชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์และระบบการทำงานที่ชัดเจนในการต่อต้านคอรัปชั่น โดยมีทรัพยากรที่มีคุณภาพ มีกระบวนการที่จะเป็นสุนัขเฝ้าบ้านหรือ ‘Watchdog’ คอยเป่านกหวีด หรือที่เรียกว่า Whistle Blower ที่กว้างขวาง มีความสามารถในการวิเคราะห์เจาะลึกข้อมูลต่างๆ มีการเผยแพร่และประสานงานกับฝ่ายปราบปรามอื่นๆ อย่างมีประสิทธิผล เช่น สำนักข่าวเจาะหรือที่เรียกว่า Investigative Reporter ที่มีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในหลายๆ ประเทศที่ประสบความสำเร็จ ในประเทศเรา สำนักข่าวหลักทั้งหลายยังไม่ค่อยทำหน้าที่นี้นัก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะยังต้องพึ่งอำนาจรัฐและรัฐวิสาหกิจ ในเรื่องสัมปทานหรือรับการสนับสนุนงบโฆษณาและจัดรายการต่างๆ ในสัดส่วนที่สูง
๘.     การร่วมมือกับนานาชาติและองค์กรระหว่างประเทศ ในปัจจุบันมีการตื่นตัวอย่างมากทั่วโลกในความร่วมมือเพื่อช่วยขจัดการ คอรัปชั่นในประเทศกำลังพัฒนาและด้วยพัฒนา หลายประเทศได้ออกกฎหมายที่มีบทลงโทษค่อนข้างรุนแรง เช่น สหรัฐ เยอรมันนี อังกฤษ ซึ่งเป็นที่สังเกตว่าหน่วยงานรัฐไทยซื้อสินค้าและบริการโดยตรงจากเอกชนของ ประเทศเหล่านี้ลดลง และมีความร่วมมือกันในหลายๆ ช่องทาง เช่น องค์กรระหว่างประเทศหลายแห่งพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทั้งในส่วนของความ รู้ ประสบการณ์ และเงินทุน เช่น World Bank, ADB, Transparancy International, Open Society Institute, Bill & Melinda Gates Foundation เป็นต้น
โดยปัจจุบัน ในสังคมไทยได้มีกลุ่มคนบางส่วนหรือหลายๆองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน  ในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ  เช่น  สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ   สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน  สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นต้น   ส่วนในการตรวจสอบการทำงานของรัฐโดยภาคเอกชนนั้น เช่น องค์กรเอกชนอิสระ (NGO) กลุ่มนักศึกษา กลุ่มมวลชนต่างๆเป็นต้น  ดังนั้นไม่ว่าภาครัฐและเอกชนจึงควรสร้างสรรค์สังคมและร่วมขจัดปัญหาการคอรัปชั่นไปจากสังคมไทยโดยไม่ว่าจะเป็น จาก การปลูกฝั่งเยาวชนให้มีแนวความคิดที่รังเกียจและต่อต้านการคอรัปชั่นสร้างค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริตให้แก่สังคม  เหล่านี้เองที่จะเป็นเส้นทางที่จะนำไปสู่การลดลงของปัญหาดังกล่าว และอาจทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดไปจากสังคม   ถึงเวลาแล้วที่ทุกๆคนในสังคมไม่ควรนิ่งดูดาย ปล่อยให้การทุจริตคอรัปชั่นมากัดกินและบ่อนทำลายสังคมไทยของเรา เพื่อที่เราชาวไทยจะได้พูดได้เต็มปากสักทีว่าคนไทย โปร่งใส ไร้คอรัปชั่น
� v@� � pW �� ��ๆ หรือเก็บ หรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า ในบริเวณวัดหรือในบริเวณสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
6. โทษปรับไม่เกินห้าพันบาท สำหรับความผิดดังต่อไปนี้ นำสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองเคลื่อนที่เพื่อการค้า โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี นำสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าวเคลื่อนที่ผ่านด่านตรวจสัตว์ป่า โดยไม่แจ้งหรือแสดงใบอนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจสัตว์ป่า
7. โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้ ล่าสัตว์ป่าใดๆ เก็บหรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
8. โทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้
     8.1 ยึดถือ ครอบครองที่ดิน ปลูกสร้างสิ่งใด แผ้วถาง ทำลายต้นไม้ พรรณพืช ฯลฯ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
      8.2 ล่าสัตว์ เก็บรัง ยึดถือครอบครองที่ดิน ทำลายต้นไม้ พันธุ์พืช ฯลฯ ในเขตกำหนดห้ามล่าสัตว์ป่า
9.โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้ "ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าที่ได้มาจากการกระทำความผิดตามกฎหมายนี้"
10. กรณีนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ กรรมการผู้จัดการ หรือผู้แทนนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นตน มิได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมด้วย

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองและรักษาพันธุ์สัตว์
          สัตว์ป่ามีความสำคัญในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่งของโลกและมีคุณประโยชน์แก่มนุษย์ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสมดุลในระบบนิเวศและประโยชน์อื่นๆ ประเทศไทยในอดีตมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่า โดยเฉพาะช้างที่ถือเป็นสัตว์ป่าที่มีความสำคัญ และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รัฐบาลเลยเล็งเห็นว่า หากไม่มีมาตรการในการคุ้มครองสัตว์ป่าทั้งหมดแล้ว สัตว์ป่าก็อาจถูกล่าเพื่อนำมาใช้ประโยชน์จนสูญพันธุ์ไปได้ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ออกเป็นสัตว์ป่าสงวนได้แก่ สัตว์ป่าที่ห้ามผู้ใดล่าและมีไว้ครอบครองอย่างเด็ดขาดเช่น สมัน เลียง เลียงผา กวางผา สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1ได้แก่สัตว์ป่าที่โดยปกติคนไม่นิยมใช้เนื้อเป็นอาหารหรือล่าเพื่อการกีฬา ซึ่งอนุญาตให้ล่าและค้าได้แต่ต้องใช้วิธีไม่ทำให้ตายตามจำนวนและช่วงฤดูที่กำหนด และสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ได้แก่สัตว์ป่าที่คนนิยมล่าเพื่อการกีฬาและบริโภคเพื่อเป็นอาหารซึ่งอนุญาตให้ล่าภายในระยะเวลาและจำนวนตัวที่กำหนด นอกจากนั้นยังคุ้มครองที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า โดยกำหนดให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ..2535
ร่วมหยุดการค้าสัตว์ป่า
          ปัจจุบันธุรกิจการลักลอบค้าสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ซึ่งมีมูลค่ากว่าหลายพันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐอเมริกาถือได้ว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจตลาดมืดที่ให้กำไรต่ออาชญากรผู้ค้าสูง ผลกระทบจากการค้าและการสูญเสียพื้นที่ป่าส่งผลให้สัตว์ป่าหลายชนิดตกอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์
มูลนิธิฟรีแลนด์ทำงานเพื่อสร้างโลกที่ปราศจากการลักลอบค้าสัตว์ป่า โดยการเพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่ปราบปราม สนับสนุนและพัฒนาชุมชนที่ด้อยโอกาสและดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึก
ร่วมต้อต้านปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่ากับเราได้ 5 วิธีง่ายๆ คือ
1. หากท่านพบการกระทำที่น่าสงสัยใดๆ โปรดติดต่อเราเพื่อแจ้งเบาะแสดังกล่าว เพื่อให้เรานำข้อมูลไปสืบหาความจริงต่อไป
2. รู้จักสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ชนิดต่างๆเพื่อเป็นผู้บริโภคที่มีความรับผิดชอบด้วยการหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่จะซื้อว่าทำมาจากวัตถุดิบอะไรหรือมีแหล่งที่มาจากไหนก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง
3. ติดตามกิจกรรมของเราทาง Facebook, Twitter และ YouTube หรือสมัครรับ FREELANDER e-magazine.  
4. ช่วยกันบอกต่อครอบครัว เพื่อนฝูงและผู้แทนในระดับท้องถิ่นของคุณเกี่ยวกับผลกระทบของปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพยายามชักชอนให้พวกเขามามีส่วนร่วมในการต่อต้านปัญหาการค้าสัตว์ป่านี้
5. บริจาคเงินเพื่อช่วยสนับสนุนงานของมูลนิธิฟรีแลนด์ (เงินของท่านทุกบาททุกสตางค์จะถูกนำไปใช้สนับสนุนตัวกิจกรรมและงานภาคสนามของเรา โดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น) ทั้งนี้ เงินบริจาคของคุณจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมและโครงการต่างๆของเรา เช่น
  • เปลี่ยนนายพรานให้เป็นนักอนุรักษ์ป่าโดยการแนะนำอาชีพเกษตรกร ทำให้ชาวบ้านไม่จำเป็นต้องเข้าป่าล่าสัตว์เพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัวอีกต่อไป
  • ปลูกป่าและคืนชีวิตให้แก่ผืนป่าชายเลนและระบบนิเวศวิทยาที่ถูกทำลายจากการบุกรุกพื้นที่ป่า
  • ให้การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตรวจจับและหยุดการลักลอบล่าสัตว์และการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย
  • สืบสวนและทลายเครือข่ายอาชญากรที่อยู่เบื้องหลังการลักลอบค้าสัตว์ป่า
  • สร้างจิตสำนึกแก่สาธารณชนและผู้นำทางการเมือง


ข้อเสนอแนะ
           อยากจะให้รัฐบาลได้รณรงค์ต่อต้านการค้าสัตว์ป่า เพื่อหยุดล่าและค้าสัตว์ป่าทั่วโลก เรียกร้องให้ทุกรัฐบาลลงมือแก้ปัญหาการค้าสัตว์ป่าและลดความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าทุกชนิดอย่างจริงจัง เนื่องจากอัตราการล่าสัตว์ในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น จากการตอบสนองความต้องการของตลาดเอเชียที่นิยมซื้อชิ้นส่วนของเสือ นอแรด และงาช้าง ส่งผลให้ประชากรสัตว์ป่าลดจำนวนลงจนใกล้สูญพันธุ์ และอีกเหตุผลหนึ่งคือรัฐบาลหลายประเทศยังคงเพิกเฉยต่อวิกฤตการณ์นี้ จึงทำให้เกิดการลักลอบค้าสัตว์ป่าเป็นหนึ่งในอาชญากรรมระดับโลก แต่ยังคงไม่ได้รับการแก้ปัญหาที่จริงจังจากรัฐบาลบางประเทศ ขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่านี้ไม่แตกต่างหรือมีความเกี่ยวพันกับการก่ออาชญากรรม การค้ายาเสพติด การค้าอาวุธ หรือแม้แต่การก่อการร้ายผลที่ได้รับจากการร่วมรณรงค์นี้เป็นมากกว่าการปกป้องสัตว์ป่าไม่ให้สูญพันธุ์ แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนข้อกฎหมายที่เอื้อให้เกิดการปกป้องเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าและผลักดันให้เกิดกฎหมายยุติการค้าสัตว์ป่าอีกด้วย 

1 ความคิดเห็น:

  1. สังคมโลกกำลังเผชิญภัยคุกคามหลายอย่าง คอร์รัปชันเป็นภัยคุกคามตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล จนถึงประเทศ ประชาคมโลก ประวัติศาสตร์หรือข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ชี้ชัดให้เห็นถึงโทษ ภัยคุกคามนี้ที่บิดเบือนการปกครองให้ประโยชน์ตกแก่ผู้มีอำนาจเพียงไม่กี่กลุ่ม ไม่กี่คน ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้แบกรับภาระเพื่อประโยชน์ของคนส่วนน้อย
    http://www.positive4thailand.com/2013/07/international-community-130721.html

    ตอบลบ