วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง นางสาวสุภิศา สุขบาง 53242759


บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง ปัญหาผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง

       คำที่ใช้เรียกบุคคลว่า คนชราหรือผู้สูงอายุนั้น โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้เรียกบุคคลที่มีอายุมาก  ผมขาว  หน้าตาเหี่ยวย่น การเคลื่อนไหวเชื่องช้า พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 347) ให้ความหมายคำว่าชราว่า แก่ด้วยอายุ ชำรุดทรุดโทรม แต่คำนี้ไม่เป็นที่นิยมเพราะก่อให้เกิดความหดหู่ใจ และความถดถอยสิ้นหวัง ทั้งนี้ จากผลการประชุมของคณะผู้อาวุโส โดย พล... หลวงอรรถสิทธิสุนทร เป็นประธาน ได้กำหนดคำให้เรียกว่า ผู้สูงอายุแทน ตั้งแต่วันที่   ธันวาคม 2512  เป็นต้นมา ซึ่งคำนี้ให้ความหมายที่ยกย่องให้เกียรติแก่ผู้ที่ชราภาพว่าเป็นผู้ที่สูงทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ  และประสบการณ์
บุคคลผู้จะเข้าข่ายเป็นผู้สูงอายุ  มีเกณฑ์ในการพิจารณาแตกต่างกันโดยกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาความเป็นผู้สูงอายุไว้   ลักษณะดังนี้
      1.  พิจารณาความเป็นผู้สูงอายุจากอายุจริงที่ปรากฏ  (Chronological  Aging)  จากจำนวนปีหรืออายุที่ปรากฏจริงตามปีปฏิทินโดยไม่นำเอาปัจจัยอื่นมาร่วมพิจารณาด้วย
       2.  พิจารณาความเป็นผู้สูงอายุจากลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย  กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุขัยในแต่ละปี
       3.  พิจารณาความเป็นผู้สูงอายุจากลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ  (Psychological  Aging)  จากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ  สติปัญญา  การรับรู้และเรียนรู้ที่ถดถอยลง
       4.  พิจารณาความเป็นผู้สูงอายุจากบทบาททางสังคม  (Sociological  Aging)  จากบทบาทหน้าที่ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป  การมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มบุคคล ตลอดจนความรับผิดชอบในการทำงานลดลง  แต่สามารถพิจารณาจากองค์ประกอบต่าง    ได้ดังนี้คือ
       1.  ประเพณีนิยม  (Tradition)   เป็นการกำหนดผู้สูงอายุ โดยยึดตามเกณฑ์อายุที่ออกจากงานเช่น ประเทศไทยกำหนดอายุวัยเกษียณอายุ เมื่ออายุครบ 60 ปี  แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดอายุ  65  ปี  เป็นต้น
       2.  การปฏิบัติหน้าที่ทางร่างกาย  (Body  Functioning)      เป็นการกำหนดโดยยึดตามเกณฑ์ทางสรีรวิทยาหรือทางกายภาพ    บุคคลจะมีการเสื่อมสลายทางสรีรวิทยาที่แตกต่างกันในวัยสูงอายุอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย จะทำงานน้อยลงซึ่งแตกต่างกันในแต่ละบุคคล     บางคนอายุ 50 ี ฟันอาจจะหลุดทั้งปากแต่บางคนอายุถึง  80 ปี ฟันจึงจะเริ่มหลุด เป็นต้น
       3.  การปฏิบัติหน้าที่ทางด้านจิตใจ  (Mental  Functioning)    เป็นการกำหนดตามเกณฑ์ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์  การจำ  การเรียนรู้ และความเสื่อมทางด้านจิตใจ  สิ่งที่พบมากที่สุดในผู้ที่สูงอายุคือ ความจำเริ่มเสื่อม ขาดแรงจูงใจซึ่งไม่ได้หมายความว่าบุคคลผู้สูงอายุทุกคนจะมีสภาพเช่นนี้
        4.  ความคิดเกี่ยวกับตนเอง  (Self  -  Concept)     เป็นการกำหนดโดยยึดความคิดที่ผู้สูงอายุมองตนเอง เพราะโดยปกติผู้สูงอายุมักจะเกิดความคิดว่า  “ตนเองแก่  อายุมากแล้ว”   และส่งผลต่อบุคลิกภาพทางกาย   ความรู้สึกทางด้านจิตใจ และการดำเนินชีวิตประจำวัน       สิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามแนวความคิดที่ผู้สูงอายุนั้น    ได้กำหนดขึ้น
       5.  ความสามารถในการประกอบอาชีพ  (Occupation)   เป็นการกำหนดโดยยึดความสามารถในการประกอบอาชีพ      โดยใช้แนวความคิด จากการเสื่อมถอยของสภาพทางร่างกาย และจิตใจ    คนทั่วไปจึงกำหนดว่า  วัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องพักผ่อน  หยุดการประกอบอาชีพ     ดังนั้น  บุคคลที่อยู่ในวัยสูงอายุ  จึงหมายถึงบุคคลที่มีวัยเกินกว่าวัยที่จะอยู่ในกำลังแรงงาน
       6.  ความกดดันทางอารมณ์และความเจ็บป่วย (Coping with  Stress  and  Illness)  เป็นการกำหนดโดยยึดตามสภาพร่างกาย และจิตใจ  ผู้สูงอายุจะเผชิญกับสภาพโรคภัยไข้เจ็บอยู่เสมอ  เพราะสภาพทางร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ เริ่มเสื่อมลง     นอกจากนั้น ยังอาจเผชิญกับปัญหาทางด้านสังคมอื่นๆ ทำให้เกิดความกดดันทางอารมณ์เพิ่มขึ้นอีก ส่วนมากมักพบกับผู้มีอายุระหว่าง  60 - 65 ปีขึ้นไป
       นอกจากนั้น  ศศิพัฒน์  ยอดเพชร   ได้เสนอผลการศึกษาภาคสนามว่า การกำหนดอายุที่เรียกว่าเป็น  “คนแก่”   ส่วนใหญ่ระบุว่ามีอายุ 60 ปีขึ้นไป   แต่บางพื้นที่มีข้อพิจารณาอื่นๆประกอบ เช่น ภาวะสุขภาพ บางคนอายุประมาณ 50 – 55 ปี แต่มีสุขภาพไม่แข็งแรงมีโรคภัยและทำงานไม่ไหว ผมขาว หลังโกง   ก็เรียกว่า “แก่” บางคนมีหลานก็รู้สึกว่าเริ่มแก่  และเริ่มลดกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจลง   กลุ่มผู้สูงอายุไม่ใส่ใจต่อตัวเลขอายุ  แต่พิจารณาตัดสินจากองค์ประกอบเช่น  สภาพร่างกาย  ปวดเอว ปวดตามข้อ เดินไปไกล ๆ  ไม่ไหว ทำงานหนักไม่ค่อยได้ เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง เป็นต้น 
       จากความหมาย  ผู้สูงอายุ  ที่นักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึง  สรุปได้ว่า   ผู้สูงอายุ  หมายถึง   ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป  ที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และจิตใจไปในทางที่เสื่อมลง มีบทบาททางสังคม และกิจกรรมในการประกอบอาชีพลดลง
การแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ
        จากการกำหนดว่า  บุคคลที่อายุ  60 ปีขึ้นไป  เป็นผู้สูงอายุ  ชูศักดิ์  เวชแพทย์  (2531 : 27)   ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตะวันออก(2543 : 8)   ได้เสนอข้อมูล ขององค์การอนามัยโลกโดย อัลเฟรด เจ คาห์น (Professor  Dr.  Alfred  J. Kahn) แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย  มีการแบ่งเกณฑ์อายุตามสภาพของการมีอายุเพิ่มขึ้น ในลักษณะของการแบ่งช่วงอายุที่เหมือนกัน คือ
        1.  ผู้สูงอายุ (Elderly)   มีอายุระหว่าง 60 – 74 ปี   
        2.  คนชรา  (old)  มีอายุระหว่าง  75 – 90 ปี 
        3.  คนชรามาก  (Very  old)    มีอายุ  90 ปีขึ้นไป
        ยูริค และคนอื่นๆ (Yuriek and others . 1980 : 31)  เสนอการแบ่งช่วงอายุของผู้สูงอายุ ตามสถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติ  (National Institute of Aging) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็น 2 กลุ่ม คือ 
        1.  กลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น  (Young  - Old)  มีอายุ 60 – 74 ปี     
       2.  กลุ่มผู้สูงอายุวัยปลาย  (Old -  Old)  มีอายุ 75 ปีขึ้นไป
       จากข้อมูลการจัดเกณฑ์ช่วงอายุของผู้สูงอายุที่นักวิชาการ องค์การ หน่วยงาน กำหนดไว้นั้น สรุปได้ว่าการแบ่งช่วงอายุของผู้สูงอายุ ค่อนข้างใกล้เคียงกัน ผู้วิจัยกำหนดใช้การแบ่งช่วงอายุแบบของประเทศไทย ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้  คือ ช่วงอายุตั้งแต่  60 – 69 ปี    
การเปลี่ยนแปลงวัยผู้สูงอายุ
       การเปลี่ยนแปลงวัยในผู้สูงอายุ ได้มีผู้ศึกษาและอธิบายถึงสภาพของการเปลี่ยนแปลงวัยผู้สูงอายุที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์ และสังคม     ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเสื่อมโทรมของร่างกาย     ทั้งนี้  วันเพ็ญ  วงศ์จันทรา (2539 : 10)   ได้เสนอสภาพปัญหาของผู้สูงอายุที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลง  3 ประการใหญ่ ได้แก่
       1.  การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จำแนกออกตามระบบของร่างกายได้ ดังนี้
       1.1  ระบบผิวหนัง     ผิวหนังบางลง เพราะเซลล์ผิวหนังมีจำนวนลดลง    เซลล์ที่เหลือเจริญช้าลง อัตราการสร้างเซลล์ใหม่ลดลง
      1.2  ระบบประสาทและระบบสัมผัส     เซลล์สมอง และเซลล์ประสาท มีจำนวนลดลง ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก จำนวนและขนาดเส้นใยของเซลล์กล้ามเนื้อลดลง  มีเนื้อเยื่อพังพืดเข้ามาแทนที่มากขึ้น
       1.3  ระบบการไหลเวียนโลหิต       หลอดลม  ปอดมีขนาดใหญ่ขึ้น ความยืดหยุ่นของเนื้อปอดลดลง
       1.4  ระบบทางเดินอาหาร       ฟันของผู้สูงอายุไม่แข็งแรง   เคลือบฟันเริ่มบางลง  เซลล์สร้างฟันลดลง  ฟันผุง่ายขึ้น ผู้สูงอายุไม่ค่อยมีฟันเหลือต้องใส่ฟันปลอม   ทำให้การเคี้ยวอาหารไม่สะดวกต้องรับประทานอาหารอ่อนและย่อยง่าย
        1.5    ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์      ผู้สูงอายุมีขนาดของไตลดลง
การไหลเวียนโลหิตในไตลดลง  ในเพศชาย ต่อมลูกหมากโตขึ้น  ทำให้ปัสสาวะลำบาก ต้องถ่ายบ่อยลูกอัณฑะเหี่ยวเล็กลง และผลิตเชื้ออสุจิได้น้อยลง ส่วนในเพศหญิง รังไข่จะฝ่อเล็กลง ปีกมดลูกเหี่ยว มดลูกมีขนาดเล็กลง
         1.6     ระบบต่อมไร้ท่อ      ต่อมใต้สมองจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง  และทำงาน
ลดลง  ผู้สูงอายุจะเกิดอาการอ่อนเพลีย  เบื่ออาหารและน้ำหนักลดลง
       2.  การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ     การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์  จะมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม    เนื่องจากความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย    การสูญเสียบุคคลใกล้ชิด   การแยกไปของสมาชิกในครอบครัว และการหยุดจากงานที่ทำอยู่เป็นประจำ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
       3.  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม     การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องประสบ  ภาระหน้าที่ และบทบาทของผู้สูงอายุจะลดลง    มีข้อจำกัดทางร่างกาย  ทำให้ความคล่องตัวในการคิด  การกระทำ  การสื่อสาร สัมพันธภาพทางสังคมมีขอบเขตจำกัด  ความห่างเหินจากสังคมมีมากขึ้น   ความมีเหตุผล และการคิดเป็นไปในทางลบเพราะ สังคมมักจะประเมินว่า ความสามารถในการปฏิบัติลดลง   ถึงแม้ว่าจะมีผู้สูงอายุบางคนแสดงให้เห็นว่า   ความมีอายุ มิได้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินบทบาท และหน้าที่ทางสังคมก็ตาม


การเปลี่ยนแปลงวัยของผู้สูงอายุ  ดังนี้
       1.  ด้านร่างกาย   เซลล์ในร่างกายมนุษย์มีการเจริญและเสื่อมโทรมตลอดเวลา  โดยในผู้สูงอายุมีอัตราการเสื่อมโทรมมากกว่าการเจริญ   ทั้งนี้ การเสื่อมโทรมทางจิตจะทำให้มีความรู้สึกว่าโดดเดี่ยว  อ้างว้าง
       2.  ระบบหายใจ   เสื่อมสภาพลงเพราะ อวัยวะในการหายใจเข้า-ออกลดความสามารถในการขยายตัว ปอดเสียความยืดหยุ่น ถุงลมแลกเปลี่ยนแก๊สลดน้อยลง ปอดรับออกซิเจนได้น้อยลง
       3.  ระบบการไหลเวียนเลือด     หัวใจ หลอดเลือด มีเนื้อเยื่ออื่นมาแทรกมากขึ้น ทำให้การสูบฉีดเลือดของหัวใจไม่แข็งแรงเหมือนเดิม  มีปริมาณสูบฉีดลดลง   หลอดเลือดแข็งตัว และ แรงดันเลือดสูงขึ้น  ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะลดปริมาณ
        4.  สติปัญญาของผู้สูงอายุ   สติปัญญาเริ่มเสื่อมถอย  เชื่องช้า  ต้องใช้เวลาในการคิด วิเคราะห์ ทบทวนนานกว่าจะตัดสินใจได้  การตอบโต้ทางความคิดไม่ฉับพลันทันที แต่มีเหตุผล และประสบการณ์เป็นข้อมูลพื้นฐานในการคิดและตัดสินใจ  แต่บางครั้งไม่กล้าตัดสินใจอะไร
        5.  การเรียนรู้ของผู้สูงอายุ      การเรียนรู้เรื่องใหม่ๆหรือเทคโนโลยีใหม่ของผู้สูงอายุเป็นไปได้ช้า  ต้องใช้เวลาเรียนรู้นานกว่าที่จะรู้ ปรับเปลี่ยนความคิด และการกระทำได้  แต่การเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องกับประสบการณ์เดิม และความรู้เดิมที่มีอยู่จะสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว
         6.  พฤติกรรมและธรรมชาติของผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้  
       6.1       ถ้าไม่มีกิจกรรมอะไรทำ  อยู่ว่าง ๆ จะรำคาญ และคิดฟุ้งซ่านหรืออาจจะบ่นพึมพำ
       6.2       บางช่วงจะหลง ๆ ลืม ๆ
       6.3       สายตาไม่ดี อ่านหนังสือที่มีขนาดอักษรตัวเล็กเกินไม่ได้และอ่านได้ไม่นาน
       6.4       ชอบอ่าน ฟัง ดูข่าว ความก้าวหน้าและความเป็นไปของบ้านเมืองมากกว่าบันเทิง หรือตำราวิชาการ
       6.5       มีช่วงเวลาของความสนใจยาวนาน และมีสมาธิดี   ถ้ามีความตั้งใจจะทำสิ่งใด
            จากข้อมูลที่ศึกษา  การเปลี่ยนแปลงวัยสูงอายุข้างต้น สรุปได้ว่า   การเปลี่ยนแปลง
วัยสูงอายุ  เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม   อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเริ่มเสื่อมลงไปตามอายุของผู้สูงอายุ  ซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์  ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม  ตลอดจนบทบาทหน้าที่ และสัมพันธ์ภาพทางสังคมลดลง  การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อการเกิดภาวะสุขภาพที่เจ็บป่วยของผู้สูงอายุ   หากไม่มีวิธีป้องกัน และการจัดการภาวะสุขภาพที่เหมาะสม
ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ
       ภาวะสุขภาพสูงอายุ      เป็นปรากฏการณ์ทางชีวภาพ และทางสังคมที่เกิดขึ้นในสังคมทั่วไป เมื่อสมาชิกของสังคมมีอายุมากขึ้น(สมศักดิ์  ศรีสันติสุข. 2539 : 7)
       ประเวศ   วะสี   (2543 : 4)  ให้ความหมายของภาวะสุขภาพผู้สูงอายุว่า เป็นสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ โดยมีรายละเอียดดังนี้
       1.  สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางกาย หมายถึง  ร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง  คล่องแคล่ว  มีกำลัง  ไม่พิการ  มีเศรษฐกิจ
หรือปัจจัย
 ที่จำเป็นพอเพียง   ไม่มีอุบัติภัยหรืออันตราย   มีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ คำว่า กาย ในที่นี้หมายถึง ทางภายภาพด้วย
        2.  สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิต หมายถึง  จิตใจที่มีความสุข รื่นเริง  คล่องแคล่ว  มีความเมตตาสัมผัสกับความงาม
ของสรรพสิ่ง มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา รวมถึงการลดความเห็นแก่ตัวลงไปด้วย เพราะตราบใดที่ยังมีความเห็นแก่ตัว
 ก็จะมีสุขภาวะที่สมบูรณ์
ทางจิตไม่ได้
          3.  สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางสังคม  หมายถึง   การอยู่ร่วมกันด้วยดี   มีครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมมีความ
ยุติธรรมเสมอภาค
  มีภราดรภาพ  มีสันติภาพ  มีระบบการบริการ   ที่ดี  มีความเป็นประชาสังคม 
       สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ  (Spirtual  well-being) หมายถึง  สุขภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อทำความดีหรือจิตสัมผัสกับสิ่งที่มีคุณค่าอันสูงส่งหรือสิ่งสูงสุด เช่น  การเสียสละ  การมีความเมตตา   การเข้าถึงพระรัตนตรัยหรือการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า เป็นต้น  ความสุขทางจิตวิญญาณเป็นความสุขที่ไม่ระคนอยู่กับความเห็นแก่ตัว แต่เป็นสุขภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์หลุดพ้นจากความมีตัวตน (Self transcending)   จึงมีอิสรภาพ มีความผ่อนคลาย  เบาสบาย มีความปิติแผ่ซ่าน  มีความสุขอันประณีตและล้ำลึกหรือความสุขอันเป็นทิพย์  มีผลดีต่อสุขภาพทางกาย ทางจิต และทางสังคม
       ภาวะสุขภาพของบุคคลประกอบด้วย  ภาวะที่มีสุขภาพดี และภาวะเจ็บป่วยสนับสนุนหรือต่อเนื่องกันไป และเป็นประสบการณ์ตลอดชีวิตของมนุษย์ทุกคนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  การรับรู้ของบุคคลต่อภาวะสุขภาพนั้น   จะดำเนินไปตามแกนความต่อเนื่องของภาวะสุขภาพดี และภาวะเจ็บป่วย  แต่การรับรู้มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคลคือ  บางคนรับรู้ว่าความเจ็บป่วยเป็นสิ่งผิดปกติเล็กน้อยและไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต    ดังนั้น การรับรู้ของบุคคลเหล่านี้ความเจ็บป่วย จึงเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นในกระบวนการของการพัฒนา และการเจริญเติบโต     ขณะที่บางคนมีการรับรู้ว่าความเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่รบกวน และคุกคามต่อชีวิตอย่างมาก  ทำให้สูญเสียความเป็นบุคคล  ผลที่ตามมาคือ ความกลัว   ความท้อแท้  การรับรู้ต่อภาวะสุขภาพของบุคคลที่แตกต่างกันนี้   มีอิทธิพลต่อกำลังใจในการต่อสู้ปัญหาที่เข้ามารบกวนชีวิตแตกต่างกันด้วย
       ภาวะสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระยะพัฒนาการ โดยผู้สูงอายุจะประสบกับปัญหาสุขภาพ  เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม    ผู้สูงอายุมีความรู้สึกสูญเสียอำนาจบทบาท และสถานะทางสังคม  มีปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากความเสื่อมถอยของร่างกาย  นิยามสุขภาพจึงอาจเปลี่ยนไปตามปัญหาที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต   ทั้งนี้  วิไลวรรณ  ทองเจริญ  (2539 : 119-122)  กล่าวว่า  ภาวะสุขภาพดีของผู้สูงอายุ  หมายถึง   การมีอิสระในการปฏิบัติกิจกรรมตามความต้องการ โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น และมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง   ดัชนีบ่งชี้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุจึงประกอบด้วย การมีกำลังทำในสิ่งที่ต้องการ  พึ่งพาตนเองได้ในกิจวัตรประจำวัน และมองโลกในแง่ดี สามารถเผชิญกับความเป็นจริง และยอมรับในสิ่งที่ไม่สามารถกำจัดหรือแก้ไขได้  (ประคอง  อินทรสมบัติ. 2539 :2-3)
         การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปในทางเสื่อมของผู้สูงอายุ ทำให้ประสิทธิภาพ ในการทำงานของร่างกายเสื่อมถอยไปด้วย เป็นเหตุให้ผู้สูงอายุมีปัญหากับสุขภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่างๆ   ดังที่  สเปค  (Speake. 1989 : 93 –100)   ได้กล่าวว่า   ผู้สูงอายุ ร้อยละ 80 จะต้องมีปัญหาทางสุขภาพอย่างน้อย 1 อย่าง จากการศึกษาของ นภาพร  ชโยวรรณ  มาลินี  วงษ์สิทธิ์ และ จันทร์เพ็ญ  แสงเทียนฉาย (2532 : บทคัดย่อ)    ได้ศึกษาผู้สูงอายุทั่วประเทศ  จำนวน  3,252  คนโดยให้ผู้สูงอายุประเมินภาวะสุขภาพของตนเองพบว่า ผู้สูงอายุมีสุขภาพไม่ดีถึงร้อยละ 41 และโรคที่พบบ่อยเป็นโรคเกี่ยวกับอวัยวะของการเคลื่อนไหว และรับน้ำหนัก  นอกจากนั้น สมหมาย  ยาสมุทร และดาริณี สุวรรณรังสี  (2532 : 71-79) ได้รวบรวมสถิติข้อมูลทั่วไป และโรคผู้สูงอายุที่โรงพยาบาลลำปาง ในปีงบประมาณ  2524-2526 พบว่า  ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุเป็นโรคข้อ  กระดูก  กล้ามเนื้ออักเสบ และปวดหลัง ทำให้ผู้สูงอายุขาดความกระฉับกระเฉง และความสามารถในการทำงานลดลง  มีผลให้กิจกรรมที่เคยทำลดน้อยลงไปด้วย จากการที่ความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆของผู้สูงอายุลดลง บลูเทอร์ (Bulter. 1987 : 23-28)  กล่าวถึง แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน  (Activity of Daily Living) ว่า  ได้ถูกนำมาใช้ในการประเมินภาวะสุขภาพ  ด้านหน้าที่ของร่างกายอย่างกว้างขวาง เพราะ หากผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติกิจกรรมประจำวันได้ด้วยตนเอง จะมีความรู้สึกว่ามีสุขภาพดี และสิ่งชี้วัดเบื้องต้นของ ภาวะสุขภาพความผาสุกในผู้สูงอายุ คือ ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมประจำวันได้ 
        จากหลักการ แนวทาง ข้อมูลที่ศึกษาเกี่ยวกับภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ  สรุปได้ว่า ผู้สูงอายุ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกระทำกิจกรรมทางด้านร่างกายเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาจิตใจโดยเฉพาะ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวร่างกายที่ถูกวิธีและสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของผู้สูงอายุ   จะส่งผลให้ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณได้
         เกิดอะไรขึ้นเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้สูงอายุในประเทศไทย ดูเหมือนเป็นเรื่องที่น่ายินดีว่าประเทศมีความเจริญก้าวหน้า ทำให้ประชาชนมีอายุที่ยืนยาวขึ้น ร่วมกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จากข้อมูลล่าสุด ณ ปี 2552 จำนวนประชากรสูงอายุไทยอยู่ที่ 7.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของประชากรไทย ที่ปัจจุบันมีประชากรจำนวน 63.4 ล้านคน จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาหนึ่งที่ไม่ควรถูกมองข้าม คือ ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่เสี่ยงต่อการถูกกระทำรุนแรง ทั้งจากบุคคลใกล้ชิด และจากสังคม
  รศ.ดร.จิราพร เกศพิชญวัฒนา คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า ประเทศไทยจากภาพเดิมที่เคยมองว่าเป็นสังคมแห่งการเอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจ ช่วยเหลือพึ่งพากันได้ กลับกลายเป็นสังคมแห่งความขัดแย้ง เกิดความรุนแรงทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน สังคม จนถึงระดับชาติ ภาพข่าวที่ปรากฏตามสื่อแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ
จากการศึกษาโดยการทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องความรุนแรงต่อผู้สูงอายุไทยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา ร่วมกับการศึกษาสถานการณ์จริงในพื้นที่ทั้ง 4 ภาครวมทั้งเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งสนับสนุนโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าสถานการณ์ความกระทำรุนแรงต่อผู้สูงอายุไทย มีหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน ข้อมูลจากการวิจัยให้ตัวเลขที่น่าตกใจที่แสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุไทยจำนวนมากให้ข้อมูลว่า เคยถูกกระทำรุนแรงทางจิตใจจากบุตรหลาน หรือบุคคลในครอบครัว โดยคำพูด การไม่ให้เกียรติ หรือพฤติกรรมที่ลูกแสดงออกต่อผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุเสียใจ หมดกำลังใจ ปัญหารองลงมา การถูกละเลย ทอดทิ้ง ทั้งนี้ ข้อมูลจากผู้ที่ปฏิบัติงานรับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง ส่วนใหญ่เป็นกรณีที่ได้รับแจ้งจากเพื่อนบ้าน/ผู้พบเห็น จากตำรวจ หรือผู้สูงอายุมาขอความช่วยเหลือเอง หรือเป็นผู้สูงอายุที่ยากไร้ปลูกเพิงพักอยู่ตามใต้ต้นไม้ และเก็บของเก่าขายและสถานภาพยากจนลำบาก ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่ คือ ครอบครัวยากจน ลูกไม่สามารถดูแลได้ ปัญหาความรุนแรงที่ตามมาติดๆ ได้แก่ การกระทำรุนแรงโดยการเอาเปรียบทรัพย์สินเกิดจากการที่พ่อแม่ผู้สูงอายุได้แบ่งและมอบทรัพย์สินแก่ลูกหมดเรียบร้อยแล้ว และลูกไม่พึงประสงค์ให้อยู่ในบ้าน ผู้สูงอายุจึงต้องมาอยู่ ณ สถานสงเคราะห์คนชรา หรือพบกรณีที่ลูกๆ ให้บิดามารดาผู้สูงอายุไปขอทานมาเลี้ยงลูกหลาน
       ส่วนผู้สูงอายุที่ถูกกระทำรุนแรงทางด้านร่างกาย ได้แก่ การทุบตี ชกต่อย การทำร้ายร่างกายผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เกิดจากลูกเมาสุรา ติดสารเสพติด ผู้สูงอายุที่ถูกกระทำรุนแรงทางเพศ เกิดจากการที่ลูกป่วยเป็นโรคจิต ผู้สูงอายุไทยที่ถูกกระทำรุนแรงส่วนใหญ่จะไม่บอกหรือเปิดเผยข้อมูล ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในระยะแรกๆ เพราะผู้สูงอายุจะรู้สึกละอายว่าตนถูกกระทำจากลูกของตนเอง อาการระยะแรกๆ ที่พบเห็น คือ ผู้สูงอายุมีอาการซึมเศร้า หรือพบมีร่องรอย คือ มีแผล ฟกช้ำ ดำเขียว อย่างไรก็ตาม กรณีที่ผู้สูงอายุถูกทำร้ายร่างกาย หรือล่วงละเมิดทางเพศยังปรากฏให้เห็นจำนวนไม่มาก เมื่อเทียบกับความรุนแรงในกลุ่มอื่น
        ความสามารถในการลดอัตราการเกิดและการตายให้ต่ำลง ประกอบกับอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการเอาใจใส่และดูแลเท่าที่ควร ปัญหาด้านสุขภาพที่เสื่อมโทรมของผู้สูงอายุ และปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้นเหมือนดังเช่น ยายทองใบ บุนนาค วัย 66 ปี เดินทางมาจากจังหวัดเชียงรายกับสามีเข้ามาพักพิงสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค ย้อนเล่าว่ามาอยู่กับสามีที่บ้านพักคนชราเมื่อปี 2539 ตอนนี้สามีเสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน จึงต้องอยู่คนเดียว พยายามหาอะไรต่อมิอะไรทำไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ ถักเสื้อบ้าง ปลูกพืชผักสวนครัว อย่าง ผักหัวแหวน เผือก ตะไคร้หอม กระเจี๊ยบ สะระแหน่ โหระพา มะกูด ผักเสี้ยว ชะอม โสมเกาหลี มะเขือ น้อยหน่า ในบริเวณสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค ซึ่งมีที่พักเป็นอาคารและบ้านพักส่วนตัว ตัวเองและสามีเลือกบ้านพัก จึงทำให้มีพื้นที่เล็กๆ ใช้ทำโน่นทำนี่เพื่อคลายความเหงาลง โดยไม่อยากนั่งนอนอยู่เฉยๆมาอยู่ที่บ้านบางแคทำให้ยายทองใบเห็นเหตุการณ์ที่ลูกหลานพาพ่อแม่มาทิ้งไว้หน้าบ้านพักคนชราบ้านบางแค ยายทองใบเล่าว่าบ่อยครั้งที่ยายต้องจูงคนชราในวัยเดียวกันเข้ามากินข้าวหรือพามาพบกับเจ้าหน้าที่เนื่องจากลูกหลานเขาเอามาทิ้งไว้หน้าประตูทางเข้าบ้านบางแค ยายจะแบ่งเงินซึ่งมีคนนำเงินมาบริจาคให้เขาได้ใช้บ้าง ทุกวันนี้คนในสังคมต้องเอาตัวรอด บางครอบครัวทิ้งพ่อแม่ บางครอบครัวทิ้งลูก สารพัดปัญหาซึ่งมาจากการเอาตัวรอดของคนในสังคม สำหรับตัวยายนั้นไม่มีลูก ยายไม่อยากเห็นผู้สูงอายุต้องเร่ร่อนหรือโดนทอดทิ้ง หากผู้สูงอายุมีลูกหลานก็อยากให้อยู่กับลูกหลาน ส่วนคนไหนที่ไม่มีที่ไปอยากให้พวกเขาได้อยู่เป็นหลักแหล่งเหมือนอย่างผู้สูงอายุบ้านบางแคฝ่าย นั่นเป็นเสียงสะท้อนของผู้สูงอายุบางส่วนเท่านั้นแต่ไม่ว่าผู้สูงอายุแต่ละคนจะมีเหตุผลของตัวเองอย่างไร ในการออกจากครอบครัวมาสู่สถานที่แห่งใหม่ หรือยังคงอยู่ในครอบครัวหากแต่อยู่คนเดียวโดยที่ลูกหลานไปทำงานและเรียนหนังสือ ปล่อยให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตเพียงลำพัง ซึ่งแนวโน้มเหล่านี้ของผู้สูงอายุในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีจำนวนสูงขึ้นๆจากงานวิจัยของ เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม นักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งทำวิจัยในหัวข้อนโยบายและทิศทางนโยบายด้านสุขภาพผู้สูงอายุในอนาคต มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้สูงอายุดังนี้ผู้สูงอายุในประเทศไทย ถูกแบ่งให้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้สูงอายุตอนต้น มีอายุ 60 — 74 ปี และผู้สูงอายุตอนปลาย เริ่มตั้งแต่อายุ 75 ปีขึ้นไปและจากการศึกษาด้านนโยบายและการดูแลผู้สูงอายุจาก 5 ประเทศในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ประเทศเกาหลี ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ทำให้พบว่า จากวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวล้ำ ส่งผลไปถึงช่วงชีวิตของผู้สูงอายุยืนยาวขึ้น อัตราการตายลดลง โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์ สำหรับประเทศไทยนั้นจำนวนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันรายงานการวิจัยยังระบุอีกว่า ผู้สูงอายุจะเพิ่มจำนวนเกือบ 2 เท่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุในวัย 60 ปีขึ้นไปของประเทศไทยมีถึง 5.6 ล้านคนในปี 2543 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 11.3 ล้านคนในปี 2563 ขณะเดียวกันยังพบอีกว่าอายุขัยของผู้สูงอายุที่เป็นชายเพิ่มเป็น 67.3 ปี และ 74 ปี ในผู้หญิง และจะเพิ่มต่อไปอีกเรื่อยๆ เนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดถึงการดูแลตัวเองที่เหมาะสม ทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นเพศหญิงมีอายุยืนกว่าผู้ชาย ทั้งนี้จะพบว่าในกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในวัย 75 ปีขึ้นไปหรือผู้สูงอายุตอนปลายนั้น จะมีจำนวนผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2 ถึง 3 เท่าและอัตรานี้จะมีมากขึ้นตามอายุ ผู้หญิงวัยสูงอายุตอนปลายมีสัดส่วนของผู้ที่เป็นหม้ายเกินกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มเดียวกัน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในภาวะที่มีความเปราะบางสูงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และการพึ่งพาต่อการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันในประเทศไทยพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาว มักจะมีโรครุมเร้า มีความบกพร่องทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันและการพึ่งพาตัวเองต่ำ มีอัตราอาการสมองเสื่อมใกล้เคียงกับผู้สูงอายุในประเทศสิงคโปร์ อยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 — 4 ซึ่งน้อยกว่าผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อมจากประเทศเกาหลีซึ่งมีถึงร้อยละ 8.2 ในวัยอายุ 65 ปีขึ้นไปจะเริ่มมีอาการสมองเสื่อม และร้อยละ 4 เป็นกลุ่มที่มีภาวะรุนแรง ช่วยเหลือดูแลตัวเองไม่ได้สืบเนื่องจากการเจ็บป่วยทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ประกอบกับสังคมที่เปลี่ยนไปลูกหลานไม่มีเวลาเอาใจใส่ดูแล ผู้สูงอายุจากหลายๆ ประเทศมีปัญหาทางจิต แสดงอาการน้อยเนื้อต่ำใจด้วยการหนีออกจากบ้าน ทำร้ายตัวเอง สุดท้ายหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตายอัตราการฆ่าตัวตายของจำนวนผู้สูงอายุในประเทศฮ่องกง มี 28 รายต่อผู้สูงอายุ 100,000 คน เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลทั่วไปจะมีประมาณ 12 รายต่อแสนคน ซึ่งต่ำกว่าสิงคโปร์ที่มีอัตราผู้สูงอายุฆ่าตัวตายถึง 50 รายต่อแสนคน ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีอัตราฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุ 20 รายต่อแสนคน ประเทศออสเตรเลีย 16 รายต่อแสนคน และประเทศนิวซีแลนด์ 12 รายต่อแสนคน ขณะเดียวกันประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีระบบการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ ส่วนประเทศไทยนั้นมีผู้สูงอายุที่หลีกหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย 17 คนต่อประชากรในกลุ่มเดียวกันแสนคนจะเห็นว่าจำนวนของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นๆ ขณะช่วงวัยอื่นๆ กลับมีแนวโน้มลดลง จากสถิติผลการวิจัยของประเทศไทย ยังระบุว่าในปี พ.ศ. 2569 จำนวนผู้สูงอายุกับช่วงวัยเด็ก มีจำนวนเท่ากันและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ช่วงวัยเด็กมีจำนวนลดลง ส่วนช่วงวัยทำงานกลับมีอัตราการตายสูงขึ้นๆ ด้วยปัญหาโรคเอดส์หากเราปล่อยให้จำนวนผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันกลุ่มคนในช่วงวัยอื่นๆ มีแนวโน้มลดลง แล้วใครจะเป็นคนดูแล ช่วยเหลือ ปรนนิบัติ ผู้สูงอายุเหล่านั้น เมื่อจำนวนของกลุ่มคนวัยทำงานที่มีศักยภาพในหลายด้านมีจำนวนลดน้อยลง ภาระหน้าที่ในการดูแล เอาใจใส่ผู้สูงอายุภายในครอบครัวเริ่มด้อยประสิทธิภาพ ผู้สูงอายุจะถูกปล่อยปละละเลยมากขึ้น ทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ใช้ชีวิตอยู่คนเดียว โดดเดี่ยว เร่ร่อนตามที่ต่างๆ ภาพเหล่านี้จะวนเวียนอยู่ในสังคมไทยและสังคมโลกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะมาช่วยกัน สร้างความเข้าใจ พร้อมไปกับร่วมแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นในสังคมให้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ไม่ใช่ปล่อยปัญหาของผู้สูงอายุให้เป็นปัญหาที่รุมเร้าสังคมไทยตลอดถึงสังคมโลกอย่างเช่นทุกวันนี้ในวันวานของผู้สูงอายุเคยมีบทบาทกับชีวิตพวกเราหลายต่อหลายคน มาวันนี้บทบาทหลายเรื่องราวลดทอดลงด้วยหลายๆ เหตุผล หากยังปล่อยให้ปัญหาผู้สูงอายุถูกแก้อย่างไม่มีทิศทางเหมือนเช่นที่ผ่านมา ชีวิตของผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยคงมีเพียงอดีต หากแต่ปัจจุบันนั้นคงถูกฝังไปกับกาลเวลาที่ผ่านเข้ามาอย่างไม่มีหยุดมันลงได้
        วันเวลาไม่เคยหมุนย้อนกลับ คงไม่ต่างอะไรกับอายุคนเรานับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้นๆ แต่ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ล้ำสมัย อีกทั้งอาจเป็นเพราะคนไทยเราดูแลสุขภาพกันมากขึ้น จึงส่งผลให้ปัจจุบันสถานการณ์ผู้สูงอายุในสังคมไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน แต่อายุสูงขึ้นก็ไม่ได้มีแต่ประโยชน์เสมอไป กลับน่าตกใจ เมื่อได้ยินข่าวอยู่เสมอว่า มีผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งให้อยู่เดียวดายเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญเมื่อมีการสำรวจประชากรผู้สูงอายุ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2537 มีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 6.8 ในปี 2545 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 และล่าสุด ในปี 2550 พบว่าผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 10.7 ของประชากรทั้งประเทศ และที่สำคัญคาดการว่าในปี 2553 และ 2563 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11 และร้อยละ 15 ตามลำดับและที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ในขณะที่ผู้สู่อายุทะลุหลัก 6,800,000 คน อย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ปี กลับยิ่งพบผู้สูงอายุซึ่งถูกทอดทิ้งมีจำนวนสูงถึงกว่า 4 แสนคน ทั้งนี้เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป กลายเป็นกระแสทุนนิยม ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างครอบครัวให้กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ความรักความผูกพันในครอบครัวน้อยลง คนในครอบครัวมัวแต่สนใจเรื่องการทำงานเก็บเงิน จนอาจมองข้ามความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวไป ส่งผลให้สัดส่วนของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวตามลำพังในครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2537 มีผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวร้อยละ 3.6 ในปี 2545 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.3 และข้อมูลล่าสุดในปี 2550 พบมีผู้สูงอายุอยู่คนเดียวในครอบครัวตามลำพังร้อยละ 7.7 ทั้งนี้ร้อยละ 56.7 ของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวตามลำพังไม่มีปัญหา ที่เหลือร้อยละ 43.3 มีปัญญา ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงอยู่สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่พบบ่อยที่สุดคือ ความรู้สึกเหงาสูงถึงร้อยละ 51.2 ของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว รองลงคือปัญหาไม่มีคนดูแลท่านเมื่อเจ็บป่วย ร้อยละ 27.5 ปัญหาด้านการเงินที่ต้องเลี้ยงชีพ ร้อยละ 15.7 และ ร้อยละ 5.3 ไม่มีลูกหลานมาช่วยแบ่งเบาภาระภายในบ้าน ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ โดยจะเกิดมากที่สุดในผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งจากลูกหลานนอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังมีปัญหาด้านร่างกาย เนื่องจากสภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ส่งผลให้สุขภาพอ่อนแอ ช่วยเหลือได้น้อยลง อีกทั้งสังคมก็ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกในทางลง มองตนเองเป็นผู้ไร้ประโยชน์และเป็นภาระของสังคม เกิดความสับสนทางอารมณ์ จิตใจ และความเชื่อมั่นในตนเองลดน้อยลง ท้ายสุดทำให้ผู้สูงอายุเหล่านี้อยู่ในภาวะอารมณ์เศร้า ท้อแท้ ผิดหวัง และมีปมด้อย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ถือเป็นปัญหาทางสังคมที่จะต้องช่วยกันเร่งแก้ไขโดยด่วน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น