วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาการใช้สารเคมีในการทำเกษตรกรรมที่ส่งผลต่อสังคม นางสาววัลยาพร จันตรี 53242520‏


บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง ปัญหาการใช้สารเคมีในการทำเกษตรกรรมที่ส่งผลต่อสังคม

บทนำ
ในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีเพิ่มมากขึ้นในการทำการเกษตรของชาวนา ชาวสวน และชาวไร่ มีการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นพืช เพื่อให้พืชมีการเจริญเติบโตที่แข็งแรงสมบูรณ์ดูน่ารับประทานและไม่มีร่องรอยการกัดแทะของหนู หรือแมลงต่างๆ ที่ส่งผลกระทบให้พืชผลมีความเสียหาย อีกทั้งยังคอยช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชที่มาปรกคลุมต้อนพืชหลักให้เกิดการเสียหาย หรือวัชพืชนั้นอาจส่งผลให้พืชหลักมีการเจริญเติบโตที่ไม่แข็งแรง เลยมีการใช้สารปราบศัตรูพืชเพื่อเป็นการกำจัดศัตรูของพืชได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะปัจจุบันมีแข่งขันของตลาดสูงขึ้นกว่าเมื่อสมัยก่อน มีการส่งออกสินค้าไปสู้ประเทศต่างๆ จึงมีการแข่งขันกันสูง เพื่อที่ผลผลิตของตนจะได้ก้าวเข้าไปสู้ระดับโลก เพราะเหตุนี้จึงทำให้มีสารเคมีตกค้างอยู่ในพืชที่เพาะปลูก สารเคมีดังกล่าวได้ส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบด้านสุขภาพ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงจะมีราคาแพง แต่เกษตรกรก็ยังคงใช่มันเพื่อที่จะให้ผลผลิตของตนออกมาดี มีราคาที่สูง แม้จะรู้ว่าการใช้สารเคมีเป็นจำนวนมากจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการบริโภคของผู้บริโภค ทำให้คนในสังคมได้รับความเดือนร้อน และสามรถทำให้เกิดปัญหาทางสังคมเพิ่มมากขึ้น จากการใช้สารเคมีดังกล่าว และถ้าสารเคมีนั้นๆเข้าไปสู่ร่างกายก็สามรถทำให้ร่างการของผู้ได้รับสารเคมีนั้นๆทรุดโทรมลงหรืออาจเกิดโรค สารเคมีที่มาจากสารปราบศัตรูพืชเป็นสารอันตรายถึงแม้จะเข้าไปสู่ร่างกายจำนวนไม่มากนักแต่ถ้าเข้าไปเป็นประจำทุกๆวันจะทำให้สารเคมีนั้นเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และจะทำให้ร่างกายทรุดโทรมลง ยิ่งได้รับเป็นเวลานานมากๆ ก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆได้ ส่วนตัวผู้บริโภคเองก็ชอบผักผลไม้ที่มีรูปลักษณ์สวยงาม เพราะมันดูน่าสะอาด และมีสีสันที่สดใส กว่าผักผลไม้ที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพที่มีหนอนกัดแทะเป็นรู ถึงแม้ผักผลไม้พวกนั้นจะมีราคาแพงแต่คนในสังคมก็ยินดีที่จะจ่ายมัน เพราะมันคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปแล้วได้สิ่งของที่ตนพึ่งพอใจ แต่จะมีใครสนใจไหมว่าสารเคมีที่ตกค้างในผักผลไม้นั้นจะมีผลกระทบต่อสังคมเช่นใด ปัญหาที่อาจเกิดตามมาในภายภาคน่าจะร้ายแรงเพียงใด จะต้องมีการใช้สารเคมีมากน้อยเพียงใด และจะสร้างปัญหาสังคมได้มากขึ้นเพียงใด มีใครตะหนักเรื่องนี้กันบ้างหรือไม่ ถึงแม้ว่าสังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่เน้นในเรื่องของความสะดวกสบายแต่ก็ควรที่จะตะหนักถึงปัญหาสังคมที่ตามมา จากการที่สังคมมีการพัฒนาและทำให้ชีวิตคนในสังคมสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นจึงทำให้เกิดการมักง่าย ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมว่าจะเป็นอันตรายมากน้อยแค่ไหน และอาจจะทำให้สังคมมีความเดือดร้อนมากแค่ไหน คนในสังคมอาจจะมองดูว่ามันเป็นเรื่องที่เล็กมากกับการที่ใช้สารเคมีในการทำเกษตรกรรมแค่เพียงเล็กน้อย แต่หารู้ไม่ว่าสิ่งเหล่านี้สามารถสร้างปัญหาให้แก่สังคมอย่างมากเลยทีเดียว เพราะคนส่วนใหญ่ของประเทศมีการทำเกษตรกรรม นึกเพียงว่าสารเคมีเพียงเล็กน้อยไม่สามรถทำอันตรายอะไรได้มาก คนในสังคมมักมองข้ามสิ่งที่เล็กน้อย ไม่ค่อยสนใจในความเป็นอยู่ของตนเองมากนักจึงทำให้พวกเข้าลืมดูแลสุขภาพ และดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีไว้ใช้อย่างยาวนาน และปัญหาสังคมที่จะเกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร ของชาวนา ชาวสวน และชาวไร่นั้น สามารถสร้างปัญหาได้เพิ่มอีกมากมายเลยทีเดียวกับธุรกิจการส่งออกของประเทศไทย
เนื้อเรื่อง               
ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการเพิ่มผลผลิตด้านอาหารให้เพียงพอกับผู้บริโภค โดยมีการนำสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้ามาช่วยในการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เป็นเหตุให้เกิดปัญหาตามมามากมายหลายอย่าง ได้แก่ ปัญหาการใช้สารเคมีในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดการตกค้างของสารเคมีในดิน น้ำ ผลผลิตทางการเกษตร และห่วงโซ่อาหาร เพราะสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกชนิดเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต หากใช้เกินความจำเป็นหรือขาดความระมัดระวังในการใช้แล้ว จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ ในระบบตลาดหรือสังคมทุนนิยม เกษตรกรจะตัดสินใจผลิตพืชชนิดใด ก็ขึ้นอยู่กับผลตอบแทนสุทธิหรือรายได้สุทธิที่จะได้รับจากการผลิต รายได้สุทธิต่อไร่จากการผลิตของเกษตรกร ก็จะขึ้นอยู่กับราคาและจำนวนของผลผลิตนั้น รวมทั้งราคาและจำนวนปัจจัยการผลิต ซึ่งรวมถึงสารเคมีที่ใช้ การลดหรือเลิกใช้สารเคมีอาจทำให้ผลผลิตที่ได้น้อยลง รวมทั้งเกิดความเสียหายจากศัตรูพืช เกษตรกรจะตัดสินใจโดยพิจารณาว่ารายได้ที่เป็นตัวเงินที่ได้รับน้อยลงจากความเสียหายของผลผลิตจะคุ้มกับต้นทุนในส่วนของสารเคมีที่ลดลงหรือไม่ การที่เกษตรกรไม่สามารถแบกรับความเสี่ยง และความไม่แน่นอนของรายได้ ทำให้เกษตรกรตัดสินใจโดยไม่คำนึงว่าการลดการใช้สารเคมีจะทำให้เกิดประโยชน์หรือสวัสดิการต่อสังคมในเชิงมหาภาคสูงขึ้นเท่าใด
สารเคมีในสารปราบศัตรูพืช สารเคมีใดๆ ก็ตาม ที่นำมาใช้เพื่อฆ่าทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช ไม่ว่าจะเป็นในขณะที่วัชพืชงอกขึ้นมาแล้วหรือยังเป็นเมล็ดอยู่ ตลอดจนชิ้นส่วนต่างๆของวัชพืชทีขยายพันธุ์ได้ที่อยู่ในดินหรืออยู่บนดิน เป็นสารที่ใช้ป้องกันทำลาย ไล่ และลดปัญหาของศัตรูพืชและสัตว์ก่อความรำคาญ เช่นเพลี้ย หนอนผีเสื้อ ตั๊กแตน จิ้งหรีด เป็นต้น สารกำจัดศัตรูพืชอาจเป็นสารเคมี หรือสารชีวภาพ ที่ใช้ในการทำลาย หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของสัตว์ หรือวัชพืช ที่ส่งผลกระทบต่อพืชที่เพาะปลูกให้มีปริมาณลดลง ปัจจุบันมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่การใช้สารเคมีนั้นมีผลกระทบต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคอีกเช่นกัน การที่ได้รับสารเคมีติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคต่างๆได้ เช่นโรคผิวหนัง โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
ผลกระทบต่อสุขภาพ
สารกำจัดศัตรูพืช อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพให้แย่ลงทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังได้กับผู้ที่ได้รับสารกำจัดศัตรูพืชโดยตรง เช่น อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังและตา หรือ อาการที่รุนแรง อย่างมะเร็ง เป็นต้น และมีหลักฐานที่เชื่อได้ว่า การได้รับสารกำจัดศัตรูพืช มีผลกับ ความบกพร่องของระบบประสาท การเกิดที่ผิดปกติ และการตายของทารกตัวอ่อน รวมถึงความผิดปกติทางพัฒนาการของระบบประสาท ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะมีการป้องกันเป็นอย่างดี แต่จะแน่ใจได้เช่นไดว่าจะสามารถช่วยยับยั้งการถูกสารเคมีโดยตรงจากการจับ หรือสูดดมเข้าสู่ร่างกายได้ ถึงแม้ว่าจะแต่งกายรัดกุมแล้วก็ตาม ส่วนผู้บริโภคจะมั่นใจได้อย่างไรว่าทำการล้างผักผลไม้ได้สะอาดเพียงพอแล้ว สารเคมีอาจเข้าไม่สู้ร่างกายได้ง่ายเลยจากการรับประทานเข้าไปทางปาก และผลจากการรับสารเคมีเข้าไปของคนในสังคมไทยอาจทำให้เกิดโรคเพิ่มขึ้น  สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรู พืชสามารถเข้าสู่ทางร่างกายได้ 3 ทาง คือ
1. ทางผิวหนัง (โดยการซูดดมเข้าทางผิวหนัง) มีการศึกษาพบว่าร้อยละ90 ของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังโดยตรง เช่นเมื่อเกษตรกรสัมผัสกับพืชผลที่เพิ่งจะฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือเมื่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสัมผัสผิวหนัง หรือเสื้อผ้าที่เปียกชุ่มด้วยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือเมื่อเกษตรกรผสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยมือเปล่า หรือเมื่อสมาชิกในครอบครัวซักเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 
2.  ทางการหายใจ (โดยการสูดดม) เกษตรกรที่ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือผู้คนที่อยู่ใกล้กับผู้ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชผ่านทางการหายใจได้ง่ายที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมีที่อันตรายที่สุดคือสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ไม่มีกลิ่น เพราะเกษตรกรจะไม่รู้สึกตัวเลยว่าได้สูดดมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าไป  
3. ทางปาก (โดยการกิน) เกิดขึ้นได้เมื่อคนเราดม กินสารพิษโดยบังเอิญหรือโดยเจตนา เช่น โดยการกนอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีเข้าไป
ส่วนผู้บริโภคนั้นได้รับสารเคมีเข้าไปจากการบิโภคเข้าทางปาก ซึ่งเป็นอันตรายมาก ถึงแม้ว่าจะมีการล้างสารเคมีก่อนที่จะนำมาปรุงอาหารแล้วก็ตาม แต่จะมั่นใจได้เช่นใดว่าสารเคมีจะถูกชะล้างไปจนหมดสิ้นแล้ว ดังรายงานการตรวจเลือดในเกษตรกรและผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเกษตรกรและแม่บ้านมีสารเคมีตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยและเสี่ยงรวม 75% ส่วนในกลุ่มผู้บริโภคที่รวมถึงนักเรียน บุคลากรในมหาวิทยาลัย ข้าราชการ นั้นมีสูงถึง 89.22% ซึ่งสาเหตุหลักของความแตกต่างนี้อาจเป็นเพราะว่าเกษตรกรมีตัวเลือกในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยมากกว่าผู้บริโภคทั่วไป สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างอยู่ในอาหารเป็นหนึ่งในเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งและปัญหาทางสุขภาพต่างๆซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้ งานวิจัยของแคนาดาในปี 2547 พบว่า สารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาเมท และสารเคมีกำจัดวัชพืชในกลุ่มฟีนอกซี่(carbamate and phynoxy herbicide) เช่น คาร์โบฟูราน เมโทมิล คาบาริล สามารถก่อให้เกิดมะเร็งปอด สารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphates) เช่น คลอไพรีฟอส ดิอาไซนอน ไดคลอวอส สามารถก่อมะเร็งสมองและมะเร็งเม็ดเลือด ส่วนสารเคมีเกษตรที่นับว่ามีพิษเฉียบพลันน้อยกว่ายังก่อให้เกิดโรคร้ายหลายประการเช่น สารเคมีกลุ่มไพริทริน(pyrethrine) สามารถก่อให้เกิดความผิดปรกติทางจิตประสาท โครโมโซมผิดปรกติ และทำให้เด็กทารกในครรภ์เติบโตช้าได้ การใช้น้ำบาดาลในปัจจุบัน ไม่มีความปลอดภัยเสียแล้ว ยาฆ่าแมลงกลุ่มหลัก ๆ ที่ใช้ในการเกษตรได้แก่ 
1.กลุ่มออร์กาโนฟอสเซส ยาฆ่าแมลงในกลุ่มนี้สามารถทำลายระบบประสาทโดยการรบกวนการทำงานของเอนไซม์ อเซติลคอรีน ซึ่งเป็นสารส่งกระแสประสาท ยาฆ่าแมลงกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ใช้สำหรับแมลง ยาฆ่าแมลงกลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่สมัยปีค.ศ.1932บางตัวมีฤทธิ์รุนแรงมากและนำมาใช้ทำสารพิษในสงครามโลกครั้งที่2 โดยทำเป็นสารเพื่อทำลายประสาท
2.กลุ่มคาร์บาเมท ยาฆ่าแมลงกลุ่มนี้จะทำลายประสาท และรบกวนเอนไซม์ซึ่งควบคุมอเซติลคอรีน ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการส่งกระแสประสาท
3.กลุ่มออร์การ์โนคลอรีน กลุ่มนี้ใช้กันมากในอดีต ตัวอย่างเช่น ดีดีที ปัจจุบันเนื่องจากมีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย จึงได้มีการเลิกใช้
4.กลุ่มไพรีทอยด์ กลุ่มนี้เกิดจากการพัฒนาและสังเคราะห์สารซึ่งออกฤทธิ์ใกล้เคียงกับไพรีทรินธรรมชาติ ถึงอย่างไรก็ตามพบว่ากลุ่มไพรีทอยด์นี้มีฤทธิ์ต่อประสาทเช่นกัน                    
ผลกระทบต่อสุขภาพจากยาฆ่าแมลง  ประเมินว่าคนอเมริกัน 1 ใน 20 คน  แพ้ยาฆ่าแมลงเพราะว่าเคยได้รับยาฆ่าแมลงมาก่อน  ยาฆ่าแมลงนี้ได้ส่งผลกระทบต่าง ๆ ในมุมกว้างและบางทีทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต
ผลจากการได้รับยาฆ่าแมลง ได้แก่ โรคมะเร็ง  โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว  พันธุกรรมบกพร่อง เป็นหมัน  ตับถูกทำลาย โรคผิดปกติของต่อมไทรอยด์  โรคเบาหวาน โรคไต ระบบประสาทถูกทำลาย ลดจำนวนสะเปิร์มในเพศชาย  โรคภูมิแพ้ และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เด็ก ๆมักจะได้รับผลกระทบจากโรคเหล่านี้อย่างมาก รวมถึงการเกิดความพิการเกิดความผิดปกติในการเรียนรู้และความผิดปกติในเรื่องพฤติกรรม เด็กที่อยู่ในบ้านที่ใช้ยาฆ่าแมลงเป็นประจำพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากกว่าเด็กปกติ 6.5 เท่า ผลกระทบนี้ยังพบว่าสัตว์เลี้ยงในบริเวณบ้านที่ใช้ยาฆ่าแมลงก็ได้รับความเสี่ยงนี้เช่นกัน ผลกระทบจากสารปราบศัตรูพืชไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจอีกด้วย

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
 มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลของตัวเองได้ กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฏว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมากกว่า 98% ของยาฆ่าแมลง และ 95% ของยาปราบวัชพืช ที่ฉีดพ่น กระจายได้สู่พื้นอื่นๆ นอกเหนือจากพื้นที่เป้าหมาย รวมถึงเข้าไปถึงสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่เป้าหมาย อากาศ น้ำ และดิน สารกำจัดศัตรูพืชเป็นสาเหตุหนึ่งของมลภาวะของแหล่งน้ำและดิน ทำให้ผู้ที่ใช้แหล่งน้ำนั้นๆ ได้รับสารเคมีเข้าไปในร่างกายโดยที่ไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะมีสารเคมีตกค้างมาถึงที่บริเวณเหล่านี้ด้วย และอาจทำให้สัตว์ที่มาดื่มน้ำนั้นได้รับอันตราย ศัตรูพืชเองยังอาจเกิดความต้านทานต่อสารกำจัดศัตรูพืช (อาการดื้อยา) ขึ้นได้ ซึ่งทำให้เกิดความต้องการสารกำจัดศัตรูพืชชนิดใหม่ หรือ อาจทำให้ต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืชเดิมในปริมาณที่สูงขึ้น ซึ่งวิธีหลังนี้จะยิ่งผลกระทบด้านลบแก่สิ่งแวดล้อม ดินที่ได้รับสารเคมีเป็นจำนวนมากและยาวนานสะสมมาหลายปีเกิดการสูญเสียสารที่ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ อาจเกิดดินเปรี้ยว หรือดินเค็ม ได้ถ้ามีการสะสมไปเรื่อยๆ ในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชนั้น ส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ให้มีผลเฉพาะต่อศัตรูพืชที่ต้องการเท่านั้น มีผู้ประมาณว่าปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้จะถูก ต้องศัตรูพืชเพียงไม่ถึงร้อยละ 1 ส่วนที่เหลือก็จะกระจายไปทั่ว ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ศัตรูธรรมชาติที่ อาศัยอยู่บริเวณเดียวกับศัตรูพืช เช่น ตัวห้ำ และตัวเบียน ศัตรูธรรมชาติเหล่านี้มักจะอ่อนแอต่อสารกำจัดศัตรูพืชยิ่งกว่าศัตรูพืช ทำให้ประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว ศัตรูธรรมชาติเหล่านี้คือกลวิธีทางธรรมชาติที่คอยควบคุมประชากรของศัตรูพืช เมื่อถูกทำลายลงมากๆเข้า ทำให้แมลงหรือโรคซึ่งไม่เคยระบาดทำลายพืชมาก่อนกลับกลายเป็นศัตรูพืชชนิดใหม่และรุนแรงได้ หรือแม้กระทั่งทำให้ศัตรูพืชที่ระบาดอยู่แล้วระบาดหนักยิ่งขึ้นไปอีก สิ่งมีชีวิตอีกจำพวกหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสารกำจัดศัตรูพืชก็คือ พวกที่ช่วยผสมเกสร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผึ้ง พืชหลายชนิดจำเป็นต้องมีผึ้งช่วยใน การผสมเกสร การที่ประชากรของผึ้งลดลงจึงทำให้ผลผลิตของพืชนั้นๆ ลดลงไปด้วย ในสหรัฐอเมริกา มีการประมาณกันว่า ผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง อันเนื่องมาจากผึ้งถูกทำลายไปเป็นมูลค่าถึง ๘๐- ๔,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี ในประเทศ ไทยยังไม่มีการประเมินผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในด้านนี้ แต่คาดว่าน่าจะมีมูลค่ามหาศาลเช่นเดียวกัน เมื่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึมลงสู่ดิน ไส้เดือนหรือสัตว์ในดินที่มีประโยชน์อื่นๆจะได้รับพิษโดยตรง ความสูญเสียของประชากรสัตว์เหล่านี้ทำให้ดินเสื่อมสภาพลง น้ำซึมผ่านลงดินได้ยากขึ้น สารอินทรีย์ในดินลดลง และส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชที่เพาะปลูก สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเป็นพิษสูงต่อไส้เดือนได้แก่สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มคาร์บาเมท (โดยเฉพาะคาร์โบฟูรานและคาร์บาริล) และสารเคมีป้องกันโรคพืช (เช่นเบโนมิลและคาร์เบนดิซิม) ส่วนสารเคมีกำจัดวัชพืชที่มีการนำเข้ากว่า 70% จากสารเคมีทั้งหมดในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่มีความเป็นพิษน้อยต่อไส้เดือนยกเว้นสาร 2,4-D เพนดิเมตาลิน และไซมาซีน ที่สามารถก่อให้เกิดพิษเมื่อได้รับในปริมาณสูง ในขณะเดียวกัน สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำยังทำให้ปลาหลายชนิดตายลงเป็นผลกระทบทางอ้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชที่ทำให้พืชในแหล่งน้ำเน่าและปลาขาดออกซิเจนในการหายใจ การได้รับพิษและการลดลงของสัตว์ที่กินศัตรูพืชเป็นอาหารเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ระบบนิเวศไม่สามารถรักษาสมดุลทางธรรมชาติไว้ได้ อีกทั้งศัตรูพืชที่ได้รับสารเคมีอย่างต่อเนื่องจะเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันและความต้านทานต่อสารเคมีมากขึ้นจนกระทั่งก่อให้เกิดการระบาดของศัตรูพืช โดยตั้งแต่ค.ศ.1945 มีการประมาณว่าศัตรูพืชกว่า 1,000 ชนิดได้พัฒนาความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวและเปลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังที่มีความถี่และความรุนแรงมากขึ้นเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ชัดถึงความอ่อนแอของระบบนิเวศ โดยรายงานของสถาบันพัฒนามันสำปะหลัง(2552) ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การระบาด(ของเพลี้ยแป้ง)ในลักษณะและระดับความรุนแรงนี้ไม่เคยปรากฏมาก่อนในการปลูกมันสำปะหลังของประเทศไทยดังนั้น ผลลัพธ์หนึ่งที่ตามมาคือเกษตรกรเพิ่มการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และยิ่งสร้างผลเสียระยะยาวต่อระบบนิเวศที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูโดยวิถีธรรมชาติ การใช้สารเคมีจำนวนมากๆ ส่งผลให้ระบบนิเวศมีการปรับสะภาพสมดุลที่ช้าลง หรืออาจจะทำให้ธรรมชาติปรับสมดุลไม่ได้เลยก็เป็นได้     
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
ผลกระทบที่มีต่อทางเศรษฐกิจ ต้นทุนของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชคงไม่จำกัดอยู่แค่ราคาที่เกษตรกรลงทุน ในการซื้อสารเคมี แต่รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เกิดจากโรคพิษเฉียบพลันและพิษสะสม ต้นทุนต่อความเสียหายในระบบนิเวศ และผลกระทบกรณีสารตกค้างในสินค้าเกษตรส่งออก การค้นหาข้อมูลต้นทุนที่แท้จริงจะช่วยสร้างความตระหนักว่าสังคมไทยต้องแลก อะไรกับการรักษาผลผลิตและการเติบโตของเศรษฐกิจทางการเกษตรในระยะสั้น ในแต่ละปีประเทศไทยนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้าน บาทโดยที่ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า และแนวโน้มมูลค่าการนำเข้าได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามแนวโน้มของราคา น้ำมันที่เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของสารเคมีสังเคราะห์ทุกประเภท สารเคมีกำจัดศัตรูพืชยังเป็นภาระซ้ำเติมเกษตรกร เพราะมีสัดส่วนถึง 10% ของต้นทุนการผลิตต่อไร่ (กรณีการปลูกข้าวเชิงพาณิชย์) และอาจมีสัดส่วนมูลค่าสูงถึง 30% ของต้นทุนการผลิต (ในกรณีการปลูกสตรอเบอรี่ เป็นต้น) การที่เกษตรกรในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงจากการทำเกษตรด้วยตนเองเป็น ผู้จัดการไร่นามากขึ้น ทำให้ต้องบวกเพิ่มค่าใช้จ่ายการว่าจ้างฉีดพ่นสารเคมี ทำให้ต้นทุนเกี่ยวกับสารเคมีในการทำการเกษตรยิ่งมีมูลค่าสูงขึ้นกว่าเดิมมาก ยังไม่นับค่ารักษาพยาบาลของเกษตรกรและครอบครัวที่ด้านสุขภาพเฉลี่ยประมาณ 1,000 กว่าบาท/คน/ปี และเพิ่มขึ้นอีก 1,000 บาท/ปี สำหรับผู้ที่รับจ้างฉีดพ่นสารเคมี
ความเสียหายต่อการส่งออก
วิกฤตสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกสินค้า เกษตรไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งได้มีการเตรียมการที่จะระงับการนำเข้าผักส่งออกของไทย 16 ชนิด ในช่วงต้นปี 2554 เพราะการตรวจพบอัตราการปรากฏการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากที่สุดใน โลกในปี 2553 ที่ผ่านมา (ตรวจพบมากถึง 55 ครั้ง) และสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการส่งออกผักมูลค่า 2,785 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ สหภาพยุโรปเคยมีมาตรการกีดกันสินค้าพริกส่งออกจากไทยที่ทำให้เกิดความเสีย หายปีละประมาณ 800-900 ล้านบาท และสามารถส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังการส่งออกผักไทยไปยังประเทศอื่นๆ ปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกำลังอยู่ในขั้นวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดูจากตัวเลขการแจ้งเตือนผักและผลไม้ปนเปื้อนสารเคมี ของสหภาพยุโรปที่พบว่าสินค้าจากประเทศไทยมีจำนวนสูงที่สุดในโลก ทั้งๆที่มีปริมาณ การส่งออกผักผลไม้ที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ปัญหาของสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ส่งออกยุโรปเป็นเพียงสัญญาณเตือนภัย ของวิกฤตเรื่องความไม่ปลอดภัยในอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่ส่งผลกระทบทั้งต่อเกษตรกรและผู้บริโภคคนไทย สังคมไทยควรแปรคำเตือนและมุมมองของสหภาพยุโรปเพื่อนำมาเป็นจุดเริ่มต้น ในการปฏิรูประบบการควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การทำงานของหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บริษัทสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ผู้ค้าปลีก รวมถึงเกษตรกร และผู้บริโภคอย่างตลอดสาย ทั้งนี้ มิใช่เพียงเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการส่งออกเท่านั้น แต่เพื่อฟื้นฟูสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยทุกคน
ในเชิงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรให้มีการลดหรือเลิกใช้สารเคมีนั้น รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรต้องมีการกำหนดนโยบายหรือสร้างแรงขับ / แรงจูงใจ ให้เกษตรกรเห็นว่า การหันมายอมรับเทคโนโลยีและการปฏิบัติเกษตรปลอดภัยอย่างน้อยก็จะไม่ทำให้ผลตอบแทนสุทธิที่เป็นตัวเงินแตกต่างจากเดิมมากนัก ซึ่งเมื่อรวมกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน ซึ่งเกษตรกรจะได้รับแล้ว การผลิตเกษตรปลอดภัยก็น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่าทั้งในแง่ผลต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม
สรุป
ปัญหาสังคมที่เกิดจากสารเคมีที่ใช้ในการทำเกษตรกรรมของชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ได้ส่งผลกระทบต่อทางสุขภาพของคนในสังคมทำให้เกิดโรคจากการที่คนในสังคมได้รับสารเคมีเข้าไปภายในผิวหนัง ตา และทางปาก ทำให้เกิดสุภาพของคนในสังคมแย่ลงทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังได้ ผู้ที่ได้รับสารกำจัดศัตรูพืชโดยตรง อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังและตา หรือ อาการที่รุนแรง อย่างมะเร็ง เป็นต้น การได้รับสารกำจัดศัตรูพืช มีผลกับความบกพร่องของระบบประสาท การเกิดที่ผิดปกติ และการตายของทารกตัวอ่อน รวมถึงความผิดปกติทางพัฒนาการของระบบประสาท ที่เป็นเช่นนี้เพราะสารเคมีที่ได้เข้ามาทำร้ายการใช้ชีวิตของคนในสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม สารเคมีกำจักศัตรูพืชทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง แหล่งน้ำ ดิน สัตว์ คน ได้รับความเดือดร้อน ดินที่เคยอุดมสมบูรณ์กับต้องกลายเป็นดินที่ไม่สามารถเพาะปลูกอะไรได้เจริญงอกงามเหมือนแต่ก่อน ต้องคอยใช้สารเคมีเป็นตัวเร่ง หรือกระตุ้นให้พืชผลออกดอกออกผลมาได้ น้ำในแหล่งน้ำที่เคยใช้ดื่ม กิน และใช้ทำกิจวัตประจำวันมีสารปนเปื้อนไม่สามารถใช้งานได้เหมือนแต่ก่อน สัตว์น้ำบางประเภทสูญพันธุ์ไปเพราะไม่สามารถอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนั้นได้อีกเนื่องจากมีสารเคมีตกค้างเป็นจำนวนมาก หรือสัตว์อื่นๆที่ช่วยยับยั้งแมลงที่คอยมากัดเจาะพืชผลก็ตายพร้อมๆไปกับแมลงที่เป็นภัยต่อพืชผลหมด ทำให้วงจรของสัตว์ขาดหายไป การฟื้นฟูด้วยตัวเองของธรรมชาติเชื่องช้า ยากแกการเยี่ยวยาที่จะทำให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ถึงฟูฟื้นได้แต่ใช้เวลานานหลายปีกว่าที่ธรรมชาติจะกลับมาสมดุลดังเดิม สารเคมีส่งผลเสียในทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก มีสารเคมีตกค้างที่พืชผลที่จะส่งออกนั้นๆ ทำให้เกิดการหยุดยั้งการส่งออกเพราะมีสารเคมีตกค้างเป็นจำนวนมาก ทำให้ได้รับความเสียหาย การสั่งซื้อยาเพื่อมารักษาโรคต่างๆที่เกิดจากการได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายเพิ่มขึ้น เสียเงินมากขึ้นจากการสั่งซื้อยากำจักศัตรูพืช ทำให้เศรษฐกิจแย่ลงเรื่อยๆ จากการที่สังคมได้รับความเดือดร้อนจากการใช้สารเคมีในการทำเกษตรกรรมนั้น คนในสังคมควรจะตะหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นมากยิ่งขึ้น มีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น ถ้าสมารถลดการใช้สารเคมีได้ก็ควรจะลด ปัญหาสังคมจะได้ไม่เพิ่มมากขึ้น สังคมมีการเปลี่ยนแปลไปในทางที่ดีมากขึ้น ความเป็นอยู่ โรคภัยต่างๆจะได้ไม่มาสร้างปัญหาให้สังคม แม้ว่าปัญหาทางสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรที่ได้รับพิษเฉียบพลัน เช่น  คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า เป็นต้น แต่ภัยมืดที่อันตรายกว่าคือพิษสะสมจากการสัมผัสสารเคมีอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การอยู่ใกล้พื้นเกษตรกรรมที่ใช้สารเคมีจำนวนมาก และการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีตกค้าง ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง เบาหวาน พาร์คินสัน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิด หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น สถิติการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่าสังคมไทยกำลังผจญกับความเสี่ยงด้านสารเคมีและมลพิษ ดังนั้น หนึ่งในทางออกคือการกลับมาทบทวนและปรับปรุงกลไกการควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตและการบริโภคอาหาร ให้มีคุณภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในวันนี้ ซึ่งเป็นความจำเป็นที่ทุกคนจะต้องช่วยกันรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ได้ต่อไป เพราะความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมมีผลโดยตรงต่อชาติบ้านเมือง ประเทศจะไม่สามารถทำการพัฒนาสิ่งใดได้อีก หากว่าไม่มีทรัพยากรเหลืออยู่อีก ความสำคัญในการที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมของประทศเอาไว้ให้ได้ก็คือ การจะต้องเข้าใจว่า ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น การที่ใช้วิธีการแก้ไขปัญหาเป็นจุดๆไปนั้นไม่เป็นการช่วยให้ปัญหานั้นยุติลงได้ ซึ่งสามารถให้ผลดีได้เพียงชั่วคราว แต่อาจกลายเป็นปัญหาให้เกิดกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆได้อีก การแก้ปัญหาที่ถูกต้องนั้นจะต้องใช้หลักวิชาของนิเวศวิทยามาช่วยในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ ศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทุกครั้งเพื่อที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมของประเทศ ไม่ถูกทำลายให้เสื่อมโทรมไปมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และเพื่อที่จะรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศให้ดีไว้ตลอดไป ถ้าสังคมให้ความสำคัญต่อปัญหาที่เกิดขึ้น มีการผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตเป็นเกษตรกรรมทางเลือก เช่น เกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรปลอดภัยรูปแบบอื่นๆ ซึ่งรูปแบบการผลิตดังกล่าวนี้ จะทำให้เกิดผลประโยชน์ในแง่สุขภาพของผู้บริโภค และคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ซึ่งผลประโยชน์เหล่านี้เกษตรกรไม่ได้รับเป็นตัวเงิน ทำให้เกษตรกรมีการทำเกษตรปลอดภัยจากสารเคมีน้อยกว่าจุดเหมาะสม ดังนั้น การแก้ความล้มเหลวดังกล่าว จึงทำได้โดยการให้การอุดหนุน หรือช่วยลดต้นทุนการผลิตในการทำเกษตรทางเลือกดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสุทธิสูงขึ้น เนื่องจากสังคมจะได้รับประโยชน์จากรูปแบบการผลิตดังกล่าว ซึ่งก็เป็นไปตามหลักผู้ได้รับประโยชน์เป็นผู้จ่ายเพื่อผลักดันให้กิจกรรมที่เกิดประโยชน์ภายนอกต่อสังคมมีการขยายตัวไปสู่ระดับที่เหมาะสม

1 ความคิดเห็น: