วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

วิกฤติภาษาไทย นางสาวจรรยา พึ่งพัก 53241721

บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง วิกฤติภาษาไทย


ความหมายของภาษา
                คำว่าภาษาอาจแบ่งความหมายได้ 2 ประเภท คือ ภาษาในความหมายกว้างซึ่ง หมายถึงภาษาที่ใช้คำพูด (วัจนภาษา) และภาษาที่ไม่ได้ใช้คำพูดหรือภาษาท่าทาง (อวัจนภาษา) ทั้งนี้ภาษาในความหมายนี้อาจนับรวมไปถึงภาษาของสัตว์ด้วย ภาษาในความหมายแคบหมายถึงภาษาที่ใช้พูดจะเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนคำพูดก็ได้
                ดังนั้นความหมายของภาษาที่เขียนเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันถ้อยคำที่มนุษย์ใช้สื่อสารเข้าใจกัน อย่างไรก็ตามเมื่อมนุษย์พัฒนาขึ้นก็มีวิธีถ่ายทอดเสียงออกเป็นสิ่งอื่นในการสื่อสารสิ่งที่ใช้แทนเสียงในการสื่อสารก็คือ ตัวอักษร ภาษาไทยมีเอกลักษณ์ของตัวเองโดดเด่นมายาวนาน แต่ทุกวันนี้ดูเหมือนว่าภาษาไทยกำลังถูกลืมจากคนรุ่นใหม่ดัชนีชี้วัดประการหนึ่งคือผลสัมฤทธิ์ด้านการใช้ภาษาของเยาวชนไทยและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยล้วนตกต่ำลงมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเป็นการตกต่ำอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นแล้วการใช้ภาษาไทยที่ผิดๆก็มีให้เห็นอยู่อย่างมากมายทั้งในสื่อมวลชน ในเพลง ละคร โทรทัศน์และในภาพยนตร์ รวมทั้งในวิถีชีวิตประจำวันของคนไทยเราเองที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเขียน การพูด การสื่อสารที่ถูกต้อง รวมทั้งไม่มีค่านิยมในการศึกษาหาความรู้ที่ถูกต้องด้วย ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สื่อสารติดต่อและทำความเข้าใจในหมู่ชนที่ใช้ภาษาเดียวกัน ภาษาทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ ความสามารถ และด้านอื่นๆ ภาษาจึงเป็นส่วนสำคัญของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชนที่เจริญก้าวหน้าหรือกลุ่มชนที่ล้าหลังต่างก็มีภาษาที่ใช้สื่อสารกันและทุกภาษาจะมีความสมบรูณ์ที่จะใช้สื่อสารกันในกลุ่มเมื่อมนุษย์ได้มีการติดต่อกับคนต่างกลุ่ม ติดต่อกับคนที่ใช้ภาษาต่างจากตน การหยิบยืมของภาษาก็อาจเกิดขึ้นการยืมมากน้อยขึ้นอยู่กับความจำเป็นมนุษย์เราใช้ภาษาควบคู่กับการดำรงชีวิตภาษาจึงอาจรับผลจากความเจริญหรือความเสื่อมของมนุษย์และอาจมีผลต่อความเจริญหรือความเสื่อมของสังคมมนุษย์ด้วยเช่นกัน
                ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติเป็นสมบัติส่วนรวมที่คนไทยทุกคนพึงรักษาด้วยการใช้ภาษาที่ถูกต้องทั้งด้านการเขียนและการอ่านเพื่อสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไว้ปัจจุบันนี้จากการสังเกตพบว่ามีการใช้ภาษาไทยที่ผิดๆมากมายอาจเนื่องมากจากการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและการเข้ามามีบทบาทของสื่อไอทียุคใหม่ก็เป็นส่วนหนึ่งของเหตุปัญหาที่ว่าด้วยการเขียนอ่านของวัยรุ่นไทยในยุคนี้
                สภาพสังคมไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากนอกจากจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันในด้านต่างๆแล้วยังส่งผลต่อการสื่อสารที่ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือด้วยซึ่งตัวแปรสำคัญก็คือเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่นอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ ดังนั้นภาษาที่ใช้ในการติดต่อผ่านเครื่องสื่อสารไอทีเหล่านี้จึงต้องการให้มันเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีความกระฉับ และสื่อสารเฉพาะกลุ่มฉะนั้นจึงส่งผลโดยตรงกับเด็กและเยาวชนอย่างเลี่ยงไม่ได้เพราะเด็กวัยรุ่นในยุคนี้นำเอาภาษาพูดมาปะปนกับภาษาทางการอย่างไรก็ดี เป็นที่น่าเสียดายว่า ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา นอกจากจะทำให้วิถีชีวิต ของประชาชนคนไทย เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายแล้ว อิทธิพลของกระแสวัฒนธรรมต่างชาติ ที่หลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเทคนิคการสื่อสารสมัยใหม่ ยังมีส่วนทำให้ ภาษาไทยที่ใช้ในปัจจุบัน ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน อยู่ในสภาวะเสื่อมโทรมลงอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากคนไทยเอง ได้ละเลยต่อความสำคัญ ในการใช้ภาษาไทย และมีการใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยน ในการสื่อสารมากขึ้นทุกที จนเป็นที่น่าวิตกว่า หากไม่รีบช่วยกันแก้ไข นานไปเอกลักษณ์ และคุณค่าของภาษาไทย อาจสูญหายไปจนหมดสิ้น
ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นรวมถึงการสื่อสารที่ทันสมัยทำให้เกิดค่านิยมใหม่ๆขึ้นซึ่งเยาวชนไทยในปัจจุบันหรือวัยรุ่นไทยได้รับค่านิยมที่ผิดๆมาใช้นั้นคือการใช้ภาษาแบบผิดๆโดยไม่คิดว่าจะเกิดปัญหาต่างๆตามมาส่วนใหญ่วัยรุ่นจะคิดว่าเป็นเรื่องที่เก๋ เท่ห์ หากไม่ได้ใช้ภาษานี้จะถูกมองว่าตกกระแส แต่หารู้ไม่ว่าการใช้ภาษาเหล่านี้ทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงและทำให้เยาวชนรุ่นหลังใช้ภาษาที่ผิดๆตามไปด้วย ประเทศไทยเรานั้นมีภาษาชาติมีภาษาเป็นของตนแสดงถึงความเป็นเอกราชและความภาคภูมิใจแต่เยาวชนบางส่วนกับไม่รู้คุณค่าของมัน
                การใช้ภาษาไทยที่ผิดของวัยรุ่นเป็นสิ่งที่ทำให้ภาษาไทยวิบัติลงไปจริงๆในประเทศไทยมีการวิพากษ์ วิจารณ์ถึงปัญหาเด็กไทยขาดการศึกษารวมถึงปัญหาภาษาวิบัติทำให้เด็กไทยไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรในขณะเดียวกันได้มีการใช้คำว่าภาษาอุบัติแทนที่ภาษาวิบัติที่มีความหมายในเชิงลบโดยภาษาอุบัติหมายถึงภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ตอบสนองวัฒนธรรมย่อยเช่นเดียวกับภาษาเฉพาะวงการที่เป็นศัพท์สแลงซึ่งเห็นได้จากที่วัยรุ่นสื่อสารกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตรวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารทั้ง iphoneipodโดยผ่านสิ่งเหล่านี้โดยผ่านการพิมพ์โดยมักใช้คำสั้นๆง่ายๆพิมพ์ได้เร็วแค่สื่อสารกันรู้เรื่องและวัยรุ่นคิดว่ามันเก๋ถ้ามั่วแต่นั่งพิมพ์ให้ถูกตามหลักภาษาคงเสียเวลาและดูว่าไม่ทันสมัยแต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่งคือภาษาไทยหนึ่งคำสามารถเขียนได้หลายแบบเพราะภาษาไทยมีพยัญชนะที่ออกเสียงเหมือนๆกันมีสระเสียงที่คล้ายๆกันจึงทำให้เขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยสามารถดัดแปลงเปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลายโดยคำทั้งหลายมีความหมายเหมือนกันแต่ลักษณะการเขียนผิดออกไปการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่ผู้ใหญ่ในสังคมไม่ชอบแม้ภาษาจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอแต่ผู้ใหญ่ไม่ชอบให้ภาษาเปลี่ยนโดยมีการอ้างเหตุผลว่าภาษาไทยไม่ควรเปลี่ยนแปลงเพราะเป็นภาษาของชาติมีความศักดิ์สิทธิ์
                อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้เป็นที่น่าเสียดายว่าภาษาไทยอยู่ในสภาพที่แปรผันเสื่อมโทรมลงไม่ใช่เพราะการเวลาแต่สาเหตุสำคัญประการหนึ่งเกิดจากเยาวชนไทยได้ละเลยต่อความสำคัญในการใช้ภาษาไทย ทั้งนี้อาจจะเกิดจากระบบการถ่ายทอดที่ยังขาดประสิทธิภาพความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตและอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่แพร่กระจายหลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยอย่างรวดเร็วอีกทั้งเยาวชนปัจจุบันในสังคมไทยยังมีพื้นฐานของภาษาไทยที่ด้อยลง และเข้าใจหลักการใช้ภาษายังงผิวเผินขาดโอกาสที่จะเรียนรู้สุนทรีภาพ ความประณีต ไพเราะของถ้อยคำทำนองไทยสื่อมวลชนเองทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์สื่อโสตทัศน์ก็มีการใช้ภาษาต่างประเทศและภาษาไทยที่ผิดเพี้ยนในการสื่อสารมากขึ้นทำให้เยาวชนมีวิธีคิดและการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องน้อยลงจนเป็นที่น่าวิตกว่าเอกลักษณ์ทางภาษาไทยกำลังจะสูญหายไปในที่สุด การรักษาภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ดั่งเดิมของไทยที่มีมาแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงนั้นเป็นหน้าที่สำคัญของคนไทยทุกคนโดยเฉพาะเยาวชนที่ต้องช่วยกันและหันมาจริงจังกับการใช้ภาษาที่ถูกต้องเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาไทยที่ถูกต้องไว้ให้แก่คนรุ่นหลังอย่าทำให้ภาษาประจำชาติของเราต้องเสื่อมและเสียไปเพราะเราเนื่องจากคนรุ่นก่อนนั้นพยายามสร้างและคิดมันขึ้นมาด้วยความสามารถย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าที่จะใช้ภาษาเก๋ๆแต่ทำให้ภาษาดั่งเดิมของเราวิบัติ
                ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของคนไทยมาแล้วช้านาน ถึงแม้คนไทยจะถูกชาติอื่นรุกรานต้องถ่อยร่นลงมาทางใต้จนถึงที่อยู่ปัจจุบันแต่คนไทยก็ยังรักษาภาษาของตนไว้ได้หลักฐานแสดงว่าภาษาไทยเป็นภาษาของคนไทยโดยเฉพาะก็คือ ภาษาไทยมีลักษณะพิเศษไม่ซ้ำแบบของภาษาใดในโลก ที่มีผู้กล่าวว่า ภาษาไทยเป็นตระกูลเดียวกับภาษาจีน เนื่องจากเป็นภาษาคำโดดด้วยกันและมีคำพ้องเสียงและความหมายเหมือนกันอยู่หลายคำการที่ภาษาไทยกับภาษาจีนมีลักษณะตรงกันบางประการดังกล่าว  ใช่ว่าภาษาไทยมาจากจีนหรือจีนมาจากไทย แต่คงเป็นเพราะชาติไทยกับจีนเคยมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดมาช้านาน และคงเคยใช้อักษรจีนเขียนภาษาไทย ภาษาไทยกับจีนจึงมีส่วนคล้ายคลึงกันได้ ข้อสังเกตที่ว่า ภาษาไทยกับจีนเป็นคนละภาษาต่างหาก จากกันก็คือ ระเบียบการเข้าประโยคต่างกัน สังคมเราในปัจจุบันนี้โลกเราได้มีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องอย่างมากในชีวิตของคนไทยเรา ทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันรวมทั้งการสื่อสารด้วย ซึ่งในประเทศไทยนี้เยาวชนยุคใหม่บางส่วนได้นำค่านิยมผิด ๆ มาใช้กัน นั้นก็คือการใช้ภาษาไทยที่ผิด โดยเยาวชนกลุ่มนั้นคิดว่าเมื่อใช้แล้วมันเก๋ดี มันเท่ห์ดี แต่หารู้ไม่ว่าอาจจะทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงและทำให้เยาวชนยุคหลังๆใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องตามไปด้วย ประเทศไทยของเรามีภาษาเป็นของตนเองแสดงออกถึงความเป็นเอกราชและความภาคภูมิใจของคนไทยเรา ภาษาไทยเป็นมรดกของคนไทยมายาวนาน แต่เยาวชนยุคบางส่วนใหม่กลับไม่รู้คุณค่าของมันเลย         ภาษาเปลี่ยนแปลงในลักษณะของการออกเสียง คำศัพท์ รูปแบบ และลักษณะอื่นๆตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป ภาษาที่เปลี่ยนไปเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาไทย
                สื่อและการกระจายตัวของประชากรเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงของภาษา จะเห็นได้ว่ามีคำศัพท์จากทางภาคต่างๆ ในประเทศไทยเริ่มใช้กันข้ามภาคในประเทศไทย เช่นคำศัพท์จากทางภาคกลางมีการเริ่มใช้กันมากทางภาคเหนือ และภาคใต้เนื่องจากทุกคนได้ดูรายการโทรทัศน์ ที่เสนอภาษาจากทางภาคกลาง ในขณะเดียวกันกลุ่มคนภาคกลางได้เริ่มใช้ภาษาจากทางภาคอีสานมากขึ้น เมื่อมีรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับคนที่อาศัยในภาคอีสาน ภาษาต่างประเทศเช่นภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในทางศัพท์วิชาการและศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ มากขึ้นเช่นกันกลุ่มเฉพาะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาของภาษา คำศัพท์ใหม่ๆเกิดขึ้นมากโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น มีภาษาเฉพาะของกลุ่ม เมื่อภาษาเกิดมีการใช้กันใหม่ ทำให้มีคำศัพท์ใหม่นิยามขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามเมื่อหมดการใช้ของคำศัพท์นั้นๆ ภาษานั้นก็จะตกรุ่นและหมดความนิยมไป ยกตัวอย่างเช่นคำว่า จ๊าบ ที่เคยมีการใช้กันในหมู่วัยรุ่น และเริ่มนิยมกันมากเมื่อสื่อนำไปใช้ในรายการโทรทัศน์ มีการถกเถียงเรื่องของภาษาวัยรุ่นที่ไม่นับว่าเป็นภาษาไทยกันมาก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อทุกคนใช้ภาษาเดียวกันและมีการสื่อสารไปในทิศทางเดียวกัน ย่อมถือได้ว่า ภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ไม่ว่าจากวัยรุ่นหรือนักวิชาการยังคงเป็นภาษาไทย
สังคมเราในปัจจุบันนี้โลกเราได้มีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องอย่างมากในชีวิตของคนไทยเรา ทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันรวมทั้งการสื่อสารด้วย ซึ่งในประเทศไทยนี้เยาวชนยุคใหม่บางส่วนได้นำค่านิยมผิด ๆ มาใช้กัน นั้นก็คือการใช้ภาษาไทยที่ผิด โดยเยาวชนกลุ่มนั้นคิดว่าเมื่อการใช้ภาษาไทยที่ผิด ๆ ของวัยรุ่นนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้ภาษาไทยวิบัติลงไปจริง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากที่วัยรุ่นใช้สื่อสารกันทาง   msn   Facebook หรือ Twitter  เช่นคำว่า ทามอะไรอยู่-ทำอะไรอยู่ เปนอะไร-เป็นอะไร ,นู๋ (หนู) , ชะมะ,ชิมิ (ใช่ไหม)  ,ป่าว (เปล่า) , เทอ (เธอ) , ชั้ล, ช้าน (ฉัน) , ค้ะ, คร๊, คร้ะ, ค่า (ค่ะ)คร้าบ, คับ , คัฟ, คร๊าฟ (ครับ)   เพราะคำเหล่านี้ทำให้พิมพ์ง่าย สื่อสารกันได้เร็ว แต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ภาษาไทย 1คำ สามารถเขียนได้หลายแบบ เพราะภาษาไทยมีพยัญชนะที่ออกเสียงเหมือน ๆ กัน มีสระที่เสียงคล้าย ๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไป เป็นเสมือนการสร้างคำ สร้างภาษาให้มีการวิบัติมากขึ้น การใช้คำใช้ภาษาไปผิดๆ ทำให้เป็นการฝึกนิสัยในการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา และวัยรุ่นไทยสมัยนี้เขียนคำ สะกดคำในภาษาไทย ได้ไม่ถูกตามตัวสะกด และเขียนภาษาไทยได้ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา พูดไม่ถูกอักขระ ไม่มีคำควบกล้ำ บางคนพูดภาษาไทยไม่ชัดเจนด้วยซ้ำซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไปจากเดิม ทำให้ความเปลี่ยนแปลงทางภาษาไทยที่มีความซับซ้อนและทำให้วัยรุ่นนิยมใช้ภาษาไทยที่มีความหมายละเอียดและกว้างจากความหมายเดิมมีมากขึ้นประโยคที่ว่า พูดไทยไม่ค่อยชัด...แต่ภาษาอังกฤษ...ไม่ได้เลยเป็นมุขตลกที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ แต่ประโยคดังกล่าวไม่ได้เป็นแค่มุขตลกขำ ๆ อีกแล้ว เพราะปัจจุบันมีคนไทยจำนวนมากที่กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ พูดภาษาไทยก็ไม่ค่อยชัดอยู่แล้ว แต่ภาษาอังกฤษก็ไม่ดีเช่นกันหรืออาจกล่าวได้ว่ากำลังมีอาการของโรคสมมุติที่เรียกว่า โรคภูมิคุ้มกันภาษาไทยบกพร่องนั่นเอง โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น ซึ่งอาการที่พบมากที่สุดก็คือ โรค ร ล  ซึ่งมักออกเสียง ร ไม่ได้ หรือออกเสียงเป็นเสียง R ในภาษาอังกฤษ หรือการออกเสียง ส ซ  โดยมักมีเสียงพ่นหน้าคำมากเกินไปจนคล้ายกับเสียง S ของภาษาอังกฤษและโรควรรณยุกต์ ซึ่งเป็นการออกเสียงวรรณยุกต์เคลื่อนที่ไปจากระดับเสียงหนึ่ง เช่น แม่ เป็น แม้ ผีเสื้อ เป็น ผี่เสื้อ เป็นต้น ทั้งนี้ปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพูดและเขียนภาษาไทยของวัยรุ่นก็คือ สื่อมวลชนนั่นเองโดยเฉพาะ โทรทัศน์ วิทยุ และอินเตอร์เน็ต กล่าวคือ เด็กวัยรุ่นมักจะเลียนแบบการออกเสียงการพูดของดารา ศิลปินนักร้องรวมทั้งพิธีกรรายการตลอดจนดีเจที่ตนเองชื่นชอบ เพราะคิดว่าเป็นความเท่ห์ มีเสน่ห์ โดยมักพูดไทยสำเนียงฝรั่ง ใช้ภาษาพูดปนกับภาษาเขียน หรือพูดไทยคำ อังกฤษคำ เป็นต้น ส่วนด้านการเขียนนั้น พบว่า เด็กไทยเขียนภาษาไทยกันไม่ค่อยถูกต้อง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเคยชินกับภาษาเขียนที่ใช้ในการเขียนกลอนวัยรุ่น การส่งข้อความผ่านมือถือ และการเขียนในอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะจากการแช็ต ที่จะเน้นเขียนคำให้สั้นที่สุด เช่น 555แทนเสียงหัวเราะ เดวแทนคำว่า เดี๋ยว” “ไปเดก่าแทนคำว่า ไปดีกว่าคำว่า ไม่เป็นไรก็เขียนเป็น ม่ายเปนรายงุงิคริคริ แทนความรู้สึกบางอย่าง สาด-กรู เป็นต้น   นอกจากนี้ยังมีการใช้สัญลักษณ์หรือไอคอนที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ร้องไห้ หัวเราะ ยิ้ม แทนภาษาเขียนอีกด้วย ซึ่งแม้จะมีบางท่านที่มองว่าการใช้ภาษาในลักษณะนี้เป็นวิวัฒนาทางการภาษาเฉพาะกลุ่มของวัยรุ่น แต่ภาษาแช็ตไม่มีไวยากรณ์ อีกทั้งการใช้บ่อย ๆ จะทำให้เด็กเคยชินและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องปกติแม้แต่ในการทำการบ้านหรือการทำข้อสอบก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันที่พบว่า ในระดับอุดมศึกษามีการพัฒนาบุคลากรด้านภาษาไทยน้อยที่สุดและปัญหาที่พบคือการพูดไม่ชัดใช้คำไม่ถูกต้อง ส่วนการเขียนมักใช้คำผิดความหมายการอ่านนั้นส่วนใหญ่ออกเสียงไม่ถูก และจับใจความไม่ได้เหล่านี้เป็นข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน การที่คนไทยเรา พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยเป็นประจำทุกวัน จนเกิดความเคยชิน อาจจะทำให้หลายๆ คนไม่รู้สึกว่า ภาษาไทยมีความสำคัญแค่ไหน และมีคุณค่าเพียงไร หากจะเปรียบก็คงเหมือนกับ อากาศที่เราหายใจเข้าหายใจออกอยู่ตลอดเวลา จนเราแทบไม่รู้ค่าว่า หากขาดอากาศเมื่อไร เราก็ตายเมื่อนั้น ถึงแม้ว่า ภาษาไทยจะไม่เหมือนอากาศที่ทำให้เราถึงกับตาย แต่ถ้าหากชาติไทยเราขาด ภาษาไทย
ศาสตราจารย์จอห์น เวลส์ แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอนกล่าวว่า การที่ภาษาแปรเปลี่ยนไปนั้นย่อมสะท้อนให้เห็นว่าสังคมเปลี่ยนไปอย่างไร ปัจจุบันนี้สังคมมีความลื่นเหลว คือปะปนกันได้มากขึ้นภาษาไทยเป็นทั้งวัฒนธรรม เอกลักษณ์ และความภูมิใจของคนไทย แต่ปัจจุบันคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ใช้ภาษาไทยได้ไม่ดีพอ ไม่รู้ว่าพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีกี่รูป กี่เสียง และยังมีคนไทยอีกจำนวนมากที่ยังพูดภาษาไทยผิดบ้าง เขียนผิดบ้าง หรือบ้างก็จับใจความผิดฟังผิดอ่านผิดบ้างก็พูดภาษาไทยคำภาษาอังกฤษคำจนเกิดปัญหาการสื่อสารและเข้าใจความหมายของภาษาในทางที่ผิดซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นต้นเหตุที่จะทำให้เสน่ห์ของภาษาไทยค่อย ๆเลือนหายไปในปัจจุบันนี้ปรากฏว่าได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือยและไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรมชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้วเป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ทุกวันนี้เราเห็นคนในสังคม (บางคน) พูดไทยคำอังกฤษคำหรือเด็กวัยรุ่นใช้ภาษาไทยไม่ค่อยจะถูกต้องส่วนหนึ่งเป็นเพราะความนิยมเฉพาะกลุ่มและบุคคลที่ต้องการสร้างอรรถรสในการพูดคุยกันเองซึ่งทำให้ความสำคัญของภาษาไทยลดน้อยถอยลงอย่างที่ทุกคนเป็นกังวลแต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากไปกว่านั้นคือเมื่อต้องการใช้ภาษาไทยที่เป็นทางการโดยเฉพาะการเขียนจะพบว่าเกิดข้อผิดพลาดเป็นจำนวนมาก
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2512 เราจะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นย้ำให้ประชาชนชาวไทยตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยและพระราชทานแนวความคิดในการอนุรักษ์ภาษาไทยในโอกาสต่างๆอยู่เสมอที่สำคัญยิ่งกว่านี้ คือเป็นที่ประจักษ์ว่าพระองค์มีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยทรงรอบรู้และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทยมาโดยตลอดกลุ่มคนที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยใช้ภาษาไทยอย่างผิดเพี้ยนนั้นต่างมุ่งเป้าไปที่กลุ่มดาราวัยรุ่น นักแสดง นักร้อง นักการเมือง และสื่อมวลชน ที่มักใช้ภาษาอย่างไม่เหมาะสม มีการใช้คำแสลงจนภาษาไทยเข้าขั้นวิกฤติ นอกจากนี้ยังมองว่าพ่อแม่ผู้ปกครองก็ไม่ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กได้อ่านหนังสืออย่างอื่นนอกจากตำราเรียน อีกทั้งสถานศึกษาอีกจำนวนมากไม่ได้สนับสนุนให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมหรือโครงการดี ๆ ที่เน้นการอ่าน การเขียน การพูด หรือกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้คลุกคลีกับตัวหนังสือ   ในขณะที่ห้องสมุดก็ไม่ค่อยจะมีกิจกรรมดึงดูดให้เด็กเข้าไปศึกษาหาความรู้แม้ปัญหาการใช้ภาษาไทยได้เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานหลายสิบปี แต่ในยุคปัจจุบันนี้ปัญหายิ่งวิกฤติความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมีปัจจัยหนุนนำที่สำคัญนั่นคือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็ว เราจึงพบการใช้ภาษาไทยแบบผิด ๆ มากมายจนเกือบจะกลายเป็นความคุ้นชิน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ยิ่งน่าเป็นห่วงมากที่สุด เป็นกลุ่มที่นิยมใช้ภาษาที่มีวิวัฒนาการทางภาษาที่เฉพาะกลุ่ม ซึ่งเป็นภาษาที่เกือบจะไม่มีไวยากรณ์ ไม่ว่าจะจากการรับส่งข้อความสั้น (SMS) การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การสนทนาออนไลน์ (MSN)  หรือแม้แต่การแสดงความคิดเห็นในโลกอินเทอร์เน็ตสำหรับภาษาของวัยรุ่นที่พบเห็นกันบ่อย ๆ นั้น มีทั้งภาษาที่ใช้ในการพูด  โดยมักพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย เช่น ตัวเอง = ตะเอง, ครับ = คับ ,จริง = จิง, เปล่า = ป่าว ส่วนภาษาที่ใช้ในการเขียน ซึ่งจะมีทั้งคำพ้องเสียง เช่น เธอ = เทอ,ใจ = จัย,หนู = นู๋, ผม = ป๋ม,ไง = งัย, กรรม = กำ ,เสร็จ = เสด ,ก็ = ก้อ หรือบางคำที่พิมพ์ด้วยความรีบเร่ง ซึ่งจะใกล้เคียงกับกลุ่มคำพ้องเสียง เพียงแต่ว่าบางครั้งการกดแป้น Shift อาจทำให้เสียเวลา จึงไม่กด แล้วเปลี่ยนคำที่ต้องการเป็นอีกคำที่ออกเสียงคล้ายกันแทน เช่น รู้ = รุ้, เห็น = เหน,เป็น = เปน, ใช่ไหม = ชิมิ ,และยังมีกลุ่มที่ใช้สื่อสารในเกม โดยใช้ตัวอักษรภาษาอื่นที่มีลักษณะคล้ายตัวอักษรภาษาไทย เช่น เทพ = Inw,นอน = uou,เกรียน = เกรีeu,หรือแม้แต่การเน้น
สั้นที่สุดโดยใช้สัญลักษณ์แทน เช่น 555 แทนเสียงหัวเราะ เป็นต้นและยังมีคำอีกมากมายที่ถูกบัญญัติขึ้นโดยกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นวัยรุ่น จนแทบจะกลายเป็นภาษาทางการของกลุ่มวัยรุ่นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและนับวันยิ่งขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้หากทุกภาคส่วนในสังคมยังคงปล่อยวางไม่เร่งรีบหาทางแก้ไข และยังคงมีการใช้บ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดความเคยชิน อีกทั้งมีการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจนในที่สุดก็จะกลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่งน่าหวั่นเกรงยิ่งนักว่าในอนาคตปัญหาวิกฤติภาษาไทยก็จะยิ่งยากเกินการเยียวยาแก้ไขณ วันนี้ หากฝืนปล่อยให้กลุ่มคนที่ชอบใช้ภาษาแบบผิด ๆ ด้วยค่านิยมที่ผิด ๆ  เพียงรู้สึกว่าการใช้ภาษาตามค่านิยมวัยรุ่นเหล่านั้นดูเป็นคำที่น่ารักและยังช่วยให้พิมพ์ง่ายขึ้น โดยที่ไม่คำนึงถึงสิ่งที่จะตามมา นั่นคือการทำลายภาษาไทยโดยทางอ้อม และที่น่ากลัวยิ่งคือวัยรุ่นบางกลุ่มได้นำคำเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและได้แพร่หลายเข้าไปในสถานศึกษา ซึ่งจะเป็นหนทางที่จะนำพาความหายนะมาสู่วงการภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่ทุกฝ่ายไม่ควรมองข้ามคงต้องฝากถึงผู้ดูแลระดับนโยบายทั้งหลายว่าทำอย่างไรที่จะสามารถกระตุ้นเตือน และปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย รวมถึงการสร้างความร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้มีความถูกต้องงดงามคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
           การเปลี่ยนแปลงทางภาษาของวัยรุ่นไทยดังกล่าวนั้น ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งผิด แต่เป็นเรื่องของความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมมากกว่า ศัพท์แสลงหรือคำเฉพาะกลุ่มต่าง ๆ นั้น หากนำไปใช้เพื่อสื่อสารกันเองภายในกลุ่มเล็ก ๆ ก็คงไม่เสียหายเท่าใดนัก แต่หากอยู่ในที่สาธารณะหรือใช้สื่อสารอย่างเป็นทางการ การพูดคุยกับผู้ใหญ่หรือในการเรียนนั้นก็ควรจะต้องใช้ภาษาที่ถูกต้องทั้งในการพูดอ่านและเขียนอย่างไรก็ตามการจะให้เด็กใช้ภาษาไทยอย่างสุภาพและถูกต้องนั้นผู้ใหญ่พ่อแม่ครูอาจารย์และบุคคลสาธารณะต่าง ๆ ควรจะสอนและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กด้วย มิเช่นนั้นจะโทษว่าเด็กยุคใหม่ทำให้ ภาษาไทยวิบัติก็คงจะไม่ได้
ภาษาไทยจึงถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของประเทศไทย ถึงแม้จะเป็นไปตามกระแสทางวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต แต่การช่วยกันอนุรักษ์ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องจะช่วยให้ภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติกลับมาคงความสวยงามและมีความหมายอย่างถูกต้องเหมือนในอดีต การรักษาภาษาไทยที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของไทยที่มีมาแต่ สมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยให้คนไทยได้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าที่จะใช้ภาษาที่เก๋ๆแต่ทำให้ภาษาพ่อภาษาแม่ของเรา วิบัติไป จึงอยากเชิญชวนให้คนไทยทุกคนช่วยกันรณรงค์ให้ใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง และช่วยกันรักษาอนุรักษ์ภาษาที่เป็นสิ่งที่เราใช้แสดงความเป็นไทย ความเป็นเอกราช ของประเทศไทยเราเอง ช่วยกันสืบต่อให้คนรุ่นหลังของเราได้ใช้ภาษาไทยที่สวยงานและถูกต้องต่อไป
ความสำคัญของภาษาไทย
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันทำให้สามารถประกอบกิจและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาชาติได้อย่างสันติสุขและเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆเพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจนอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรมประเพณีและสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่าภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
ภาษาไทยเป็นเครื่องมือใช้สื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและตรงตามจุดหมายไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดความต้องการและความรู้สึกคำในภาษาไทยย่อมประกอบด้วยเสียงรูปพยัญชนะสระ วรรณยุกต์และความหมายส่วนประโยคเป็นการเรียงคำตามหลักเกณฑ์ของภาษาและประโยคหลายประโยคเรียงกันเป็นข้อความนอกจากนั้นคำในภาษาไทยยังมีเสียงหนักเบามีระดับของภาษาซึ่งใช้ให้เหมาะแก่กาลเทศะและบุคคลภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ตามสภาพวัฒนธรรมของกลุ่มคนตามสภาพของสังคมและเศรษฐกิจการใช้ภาษาเป็นทักษะที่ผู้ใช้ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญไม่ว่าจะเป็นการอ่านการเขียนการพูดการฟังและการดูสื่อต่างๆรวมทั้งต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษาเพื่อสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพและใช้อย่างคล่องแคล่วมีวิจารณญาณและมีคุณธรรม
ภาษาไทยเป็นเครื่องมือของคนในชาติเพื่อการสื่อสารทำความเข้าใจกันและใช้ภาษาในการประกอบกิจการงานทั้งส่วนตัวครอบครัวกิจกรรมทางสังคมและประเทศชาติเป็นเครื่องมือการเรียนรู้การบันทึกเรื่องราวจากอดีตถึงปัจจุบันและเป็นวัฒนธรรมของชาติดังนั้นการเรียนภาษาไทยจึงต้องเรียนรู้เพื่อให้เกิดทักษะอย่างถูกต้องเหมาะสมในการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการเรียนแสวงหาความรู้และประสบการณ์ เรียนรู้ในฐานะเป็นวัฒนธรรมทางภาษาให้เกิดความชื่นชมซาบซึ้งและภูมิใจในภาษาไทยโดยเฉพาะคุณค่าของวรรณคดีและภูมิปัญญาทางภาษาของบรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้ อันเป็นส่วนเสริมสร้างความงดงามในชีวิต
 การเรียนรู้ภาษาไทยย่อมเกี่ยวพันกับความคิดของมนุษย์ เพราะภาษาเป็นสื่อของความคิดการเรียนรู้ภาษาไทยจึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ คิดวิพากษ์วิจารณ์ คิดตัดสินใจแก้ปัญหาและวินิจฉัยอย่างมีเหตุผล ขณะเดียวกันการใช้ภาษาอย่างมีเหตุผลใช้ในทางสร้างสรรค์และใช้ภาษาอย่างสละสลวยงดงามย่อมสร้างเสริมบุคลิกภาพของผู้ใช้ภาษาให้น่าเชื่อถือและเชื่อภูมิด้วย
ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารการอ่านการฟังเป็นทักษะของการแสดงออกด้วยการแสดงความคิดเห็นความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทยจึงต้องเรียนเพื่อการสื่อสารให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างพินิจพิเคราะห์สามารถเลือกใช้คำเรียบเรียงความคิดความรู้และใช้ภาษาได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ได้ตรงตามความหมาย และถูกต้องตามกาลเทศะบุคคลและใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาษาไทยมีส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระได้แก่ กฎเกณฑ์ทางภาษา ซึ่งผู้ใช้ภาษาจะต้องรู้และใช้ภาษาให้ถูกต้องนอกจากนั้นวรรณคดีและวรรณกรรมตลอดจนบทร้องเล่นของเด็กเพลงกล่อมเด็กปริศนาคำทาย เพลงพื้นบ้าน วรรณกรรมพื้นบ้าน เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมซึ่งมีคุณค่าต่อการเรียนภาษาไทยจึงต้องเรียนวรรณคดีวรรณกรรมภูมิปัญญาทางภาษาที่ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดค่านิยมขนบธรรมเนียมประเพณี เรื่องราวของสังคมในอดีตและความงดงามของภาษาในบทประพันธ์ทั้งร้อยแก้วร้อยกรองประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งความภูมิใจในสิ่งที่บรรพบุรุษได้สั่งสมและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ภาษาไทยเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีรากฐานมาจากออสโตรไทย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาจีน มีหลายคำที่ขอยืมมาจากภาษาจีนพ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1826 (ค.ศ.1283) มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียงคือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดแปลงมาจากบาลีและสันสกฤต
 คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเองและมีอักษรไทยเป็นตัวอักษร ประจำชาติอันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ซึ่งเป็นเครื่องแสดงว่าไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาแต่โบราณกาลและยั่งยืนมาจนปัจจุบันคนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปีแล้วและจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทยภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภาษาเป็นสื่อใช้ติดต่อกันและทำให้วัฒนธรรมอื่นๆเจริญขึ้นแต่ละภาษามีระเบียบของตนแล้วแต่จะตกลงกันในหมู่ชนชาตินั้น ภาษาจึงเป็นศูนย์กลางยืดคนทั้งชาติ ดังข้อความ ตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อง "ความเป็นชาติโดยแท้จริง" ว่าภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์แน่นว่าสิ่งอื่นและไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือแน่นอนยิ่งไปกว่าภาษาเดียวกันรัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดีเพราะฉะนั้นรัฐบาลใดที่ต้องปกครองคนต่างชาติต่างภาษา จึงต้องพยายามตั้งโรงเรียนและออกบัญญัติบังคับให้ชนต่างภาษาเรียนภาษาของผู้ปกครอง แต่ความคิดเห็นเช่นนี้จะสำเร็จตามปรารถนาของรัฐบาลเสมอก็หามิได้แต่ถ้ายังจัดการแปลง ภาษาไม่สำเร็จอยู่ตราบใด ก็แปลว่า ผู้พูดภาษากับผู้ปกครองนั้นยังไม่เชื่ออยู่ตราบนั้นและยังจะเรียกว่าเป็นชาติเดียวกันกับมหาชนพื้นเมืองไม่ได้ อยู่ตราบนั้น ภาษาเป็นสิ่งซึ่งฝังอยู่ในใจมนุษย์ดังนั้นภาษาก็เปรียบได้กับรั้วของชาติ ถ้าชนชาติใดรักษาภาษาของตนไว้ได้ดี ให้บริสุทธิ์ก็จะได้ชื่อว่ารักษาความเป็นชาติคนไทยทุกคนใช้ภาษาไทยเป็นสื่อความรู้สึกนึกคิดเท่านั้นยังไม่เพียงพอควรจะรักษาระเบียบความงดงามของภาษาซึ่งแสดงวัฒนธรรมและ เอกลักษณ์ประจำชาติไว้อีกด้วยดังพระราชดำรัสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีตอนหนึ่งว่าภาษานอกจากจะเป็นเครื่องสื่อสารแสดงความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วโลกแล้วภาษาซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตกาลเราผู้เป็นอนุชนจึงควรภูมิใจช่วยกันผดุงรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่บรรพบุรุษได้อุตส่าห์สร้างสรรค์ขึ้นจงช่วยกันอนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่กับชาติไทยตลอดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น