วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

คนชายขอบ นางสาววิชุดา สร้อยสุด 53242551

บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง คนชายขอบ


สิทธิของคนชายขอบ
          ชาติพันธ์และความเป็นชายขอบ  เป็นกระบวนการสร้างพรมแดนของอัตลักษณ์ร่วมประเภทหนึ่งซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเองตามลำพัง  หากแต่พัฒนาขึ้นภายใต้ระบบความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคม  บ่อยครั้งที่ความสัมพันธ์ดังกล่าวดำเนินการถูกจัดให้ปฏิสัมพันธ์กันแบบคู้ตรงข้าม  โดยที่ฝ่ายหนึ่งครอบงำอีกฝ่ายหนึ่ง  เช่น  การสร้างเส้นแบ่งระหว่างความเป็นชนกลุ่มใหญ่กับความเป็นชนกลุ่มน้อย  การสถาปนาความเป็นศูนย์กลางทางสังคม วัฒนธรรม  และความรู้ของสังคมไทยพื้นราบ  ที่แตกต่างไปจากสังคมของชนในภูเขา  หรือกำหนดการบรรทัดฐานระหว่างความผิดปกติทางเพศสภาพ เป็นต้น  ในระบบความสัมพันธ์แบบทวิลักษณ์ การขีดเส้นพรมแดนของอัตลักษณ์ร่วม ไม่เพียงแต่เป็นการรวมเอาพวกที่เหมือนกันเข้าด้วยกันเท่านั้น  หากยังเป็นการรวมเอาพวกที่เหมือนกันเข้าด้วยกันเท่านั้น  หากยังเป็นการพยายามเปลี่ยนอัตลักษณ์ชายขอบที่แตกต่างเหมือนกับสังคมศูนย์กลาง ตลอดจนเบียดขับอัตลักษณ์ที่แตกต่างและดิ้นรั้น  ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงออกไป  ในแง่นี้ชาติพันธุ์และความเป็นชายขอบจึงไม่ใช่กระบวนการทางสังคม  หรือความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  หากเป็นกระบวนการที่ถูกสร้างขึ้นบนความสัมพันธ์เชิงอำนาจ  ที่กลุ่มชนที่มีอำนาจเหนือกว่ากำหนด  สร้าง  ตีความ  และใช้สิ่งที่เรียกว่าอัตลักษณ์ร่วม  ในฐานะที่เป็นอัตลักษณ์สากล  และจัดกลุ่มสิ่งที่ไม่เหมือนให้เป็นอัตลักษณ์ชายขอบ  ที่ถูกทำให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน  ไม่มีความสำคัญ  หรือกระทั่งถูกตีตราว่าเป็นอัตลักษณ์ร่วม  ในฐานะที่เป็นอัตลักษณ์สากล  และกลุ่มสิ่งที่ไม่เหมือนให้เป็นอัตลักษณ์ชายขอบ ที่ถูกทำให้กลายเป็นสิ่งที่สร้างปัญหา 
          ในบทความนี้  ได้รวบรวมกรณีศึกษาและบทวิเคราะห์  ชีวิตทางสังคมของกลุ่มชนอันหลากหลายที่อาศัยอยู่ในชายขอบของสังคมไทย  ทั้งที่ห่างไกลจากสังคมเมือง  บทความเหล่านี้ได้พิจารณาปฏิสัมพันธ์และความเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ที่ชนในชายขอบเหล่านี้มีต่อสังคมเมืองในศูนย์กลาง  โดยวิเคราะห์ถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดความเป็นชาติพันธุ์ และความเป็นชายขอบของกลุ่มคนเหล่านี้ภายใต้ความสัมพันธืซับซ้อนกับสถาบันทางสังคมต่างๆ ในสังคมไทย
ความหมายของคนชาติขอบ
         คนชายขอบ (marginal people ; marginalisation) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มคนที่สังคมไม่สนใจเหลียวแล ถูกทิ้งขว้างแปลกแยกจากสังคมกระแสหลัก เช่น ชาวเขา ชนกลุ่มน้อย ผู้หญิงขายบริการ กลุ่มรักเพศเดียวกัน หรือคนพิการ นอกจากนี้ คนชายขอบยังรวมถึงผู้ที่ถูกปฏิเสธโดยสังคมส่วนใหญ่ เช่น ในห้องเรียน ถ้าบังเอิญเราเรียนไม่เก่ง แต่เพื่อนร่วมชั้นเรียนเป็นคนเรียนเก่งแทบทั้งหมด เราก็อาจจะกลายเป็นคนชายขอบได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น กาลเทศะ (space/time) จึงไม่ใช่แค่คนที่อยู่ชายขอบแบบที่อยู่ตามชายแดนระหว่างประเทศ เท่านั้น แต่หมายถึงคนที่ถูกคนส่วนใหญ่มองว่าเป็นคนส่วนน้อยในสังคม อันเป็นที่ว่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน (ที่มา : มหาวิทยาลัยนเรศวร. ความเป็นคนชายขอบกับปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2555 จาก th.wikipedia.org/wiki/คนชายขอบ)
          ในภาษาไทยคำว่า “ชาย”  ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานนั้น  หมายถึง  ส่วนริม  หรือปลายของบางอย่าง เช่น ชายผ้าจีวร “ส่วนที่สุดเขต/ริม” เช่น  ชายฝั่ง  ชายแดน  ชายทะเล  ความหมายนี้จะมีนัยไปในทางกายภาพหรือภูมิศาสตร์  แต่หากเราพิจารณาเนื้อหาของนิยามศัพท์ Marginalisation  ต่อๆไป  เราจะพบความหมายของคำว่า “ชายขอบ”  ที่อ้างอิงไปถึงการอยู่วงนอก  การไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการคิดหรือตัดสินใจ 
อันที่จริง  ในวงวิชาการสังคมวิทยาของประเทศเรา  คำว่า “ชายขอบ”  ก็มิใช่คำใหม่ที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนแต่อย่างใด  ในพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน  มีการบัญญัติศัพท์คำนี้ในภาษาไทยไว้อย่างชัดเจนโดยให้คำนิยามว่า “กลุ่มชายขอบ”  ซึ่งหมายถึง  กลุ่มคนที่ยังไม่ถูกกลืนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มใหญ่อย่างสมบูรณ์  กลุ่มที่ละทิ้งวัฒนธรรมเดิมของตนไปบางส่วน  และยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับอย่างสมบูรณ์  กลุ่มที่ละทิ้งวัฒนธรรมเดิมของตนไปบางส่วน  และยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับอย่างสมบูรณ์ในวัฒธรรมใหม่ที่กลายมาเป็นวิถีชีวิตของตน  คำนี้มักจะนำมาใช้กับกลุ่มคนที่อพยพย้ายเข้ามาอยู่ใหม่  ในกลุ่มคนนี้จะมีวัฒนธรรมต่างๆ ผสมกันมากมาย  ดังนั้นทัศนคติ  คุณค่า และแบบพฤติกรรมที่แสดงออกมากจึงมิได้มีลักษณะเป็นของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง
ในอีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้องกันในบทความนี้คือ “ชนกลุ่มน้อย” หมายถึง กลุ่มคนซึ่งกำหนดโดยขนาดหรือส่วนของประชากรว่ามีจำนวนน้อยกว่าประชากรส่วนใหญ่กล่าวคือ  เป็นกลุ่มย่อย ซึ่งมีแบบอย่างวัฒนธรรมย่อยอยู่ภายในสังคมใหญ่  ชนกลุ่มน้อยในสังคมต่างๆ  มีเอกลักษณ์หรือพันธะผูกพันกันด้วยเชื้อชาติ  สัญชาติ  ศาสนา หรือลักษณะอื่นๆ ทางวัฒนธรรมที่เห็นได้ชัดเจนว่าต่างจากส่วนใหญ่ของสังคม  ในสังคมที่มีปัญหาเกี่ยวกับสัมพันธ์ทางเชื้อชาติมักพบว่า  ชนกลุ่มน้อยตกอยู่ในฐานะถูกเดียดฉันท์และได้รับการปฏิบัติไม่เท่าเทียมกับคนกลุ่มใหญ่
 กระบวนการสร้างคนชายขอบ
          ภาวะหรือกระบวนการที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลถูกปฏิเสธหนทางที่จะเข้าถึงการได้รับตำแหน่งสำคัญและเป็นสัญลักษณ์ทางเศรษฐกิจ ศาสนา  อำนาจทางการเมืองในสังคมใดๆ กลุ่มชายขอบนี้อาจเป็นชนกลุ่มใหญ่จำนวนหนึ่ง  เช่น  กรณีประชากรผิวดำซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ที่สุดของแอฟริกาใต้  ภายใต้ระบอบกีดกันผิวนั้น  คนผิวดำได้กลายเป็นคนชายขอบ  แม้คนผิวขาวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่แม้มีจำนวนน้อยกว่าแต่เข้าถึงอำนาจทางการเมือง  และเศรษฐกิจ  จึงทำให้สามารถดำรงตนเป็นผู้ปกครองได้  กระบวนการกลายเป็นชายขอบกลายเป็นหัวเรื่องสำคัญในการวิจัยทางสังคมวิทยาในช่วงทศวรรษ 1960  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการตอบรับต่อความตระหนักถึงประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว  แต่ทว่าสมาชิกของสังคมเหล่านี้กลับได้รับส่วนแบ่งผลตอบแทนจากความสำเร็จแตกต่างกันและไม่เท่าเทียมกันมากขึ้นเสียกว่าที่เคย
          ในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จนั้นความกว้าหน้าทางเศรษฐกิจของชาติดำเนินไปควบคู่กันกับการกีดกันประชากรกลุ่มใหญ่ออกจากชีวิตทางเศรษฐกิจ  ทั้งนี้เพราะหนทางของอุตสาหกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจของสังคมที่กำลังพัฒนาใดๆ มักจะหมายถึงการพึ่งพาอาศัยการนำเข้าเทคนิควิทยาการและเครื่องจักรจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก บ่อยครั้งการพัฒนาประเทศจึงกินความหมายไปถึงการลดความสำคัญของการผลิตด้านอื่นๆ  เช่น  การละเลยการผลิตพืชอาหารหลักไปโดยปริยาย  บรรดาคนจนทั้งที่อยู่ในเมือง และชนบท  สังคมเหล่านั้นถูกกีดกันให้ออกไปอยู่ขอบนอกหรือขอบชายขอบ  ของระบบมิให้เกี่ยวข้องกับการพัฒนา  กลุ่มคนเหล่านี้ตกอยู่ในฐานะเสมือนถูกระบบกดหัวให้ภาวะความยากจนอย่างที่สุดมิหนำซ้ำยังได้รับผลกระทบที่สืบเนื่องมาจากการขาดบริการด้านสังคมและสวัสดิการทั้งนี้เพราะถูกกันให้อยู่นอกระบบสวัสดิการจึงทำให้ยากที่จะลืมตาอ้าปากและมีโอกาสรับจ้างงานที่ปกติสุขหรือมีชีวิตที่มีศักดิ์ศรีได้
ประเภทของคนชายขอบ
1. ชายขอบของภูมิศาสตร์ ซึ่งใครก็ตามที่อยู่ขอบริมของแผนที่ คนเหล่านั้นก็คือคนชายขอบ. แต่รายละเอียดของความเป็นชายขอบนั้นอาจมีเนื้อหาแตกต่างกัน เช่นบางคนอยู่ชายขอบ กลับเป็นการเอื้อต่อการลงทุนที่ข้ามไปลงทุนในชายแดนกับอีกประเทศหนึ่ง บางคนเป็นผู้ซึ่งมีอิทธิพลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ตรงบริเวณนั้น เช่น มีโรงงานอุตสาหกรรม มีการร่วมลงทุนในทางธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจบ่อนการพนัน การฟอกเงินต่างๆ ส่วนบางคน กลับถูกกีดกันในการเข้าถึงทรัพยากรในระดับพื้นฐานที่สุด เช่น ไม่มีที่ทำกิน ถูกเอาเปรียบขูดรีดแรงงาน และถูกใช้เป็นกันชนในเขตชายแดนที่มีปัญหาข้อพิพาท เป็นต้น
2. ชายขอบของประวัติศาสตร์ สำหรับเรื่องนี้มันมีพลวัตรเปลี่ยนแปลงไปมา และสัมพันธ์กับสภาพภูมิศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างเช่น สมัยอาณาจักรสุโขทัย อยุธยาก็เป็นเพียงเมืองชายขอบ มาถึงสมัยอยุธยา สุโขทัยก็เปลี่ยนแปลงความสำคัญของตัวเองไป และศูนย์กลางอย่างกรุงเทพฯก็จัดว่าเป็นดินแดนชายขอบของอาณาจักรอยุธยา เป็นต้น จะเห็นว่า หากมองจากแง่ของประวัติศาสตร์มันมีความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตร
3. ชายขอบของความรู้ หากมามองกันที่ตัวของความรู้ ความรู้ใดที่ไม่สอดคล้องกับความรู้อื่นๆ ความรู้ใดที่ไม่ใช่กระแสหลัก ความรู้นั้นก็เป็นชายขอบ แม้แต่คนที่อยู่ที่ศูนย์กลางขอบเขตทางภูมิศาสตร์ หากมีความรู้ต่างไปจากสังคม ต่างไปจากความเชื่อ ความคิด ความเห็นของคนส่วนใหญ่ ความรู้นั้นก็เป็นชายขอบในท่ามกลางศูนย์กลางนั่นเอง ตัวอย่างในเรื่องนี้ที่จะขอยกขึ้นมาก็คือ ในสมัยเริ่มต้นการพัฒนาเมื่อประมาณ 40 กว่าปีที่แล้ว จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  ได้มีจดหมายไปถึงมหาเถรสมาคม  ไม่ให้สอนเรื่องสันโดษ  ทั้งนี้เข้าใจว่า หลักการดังกล่าวของพระพุทธศาสนาไปขัดกับหลักของการพัฒนาประเทศ อย่างนี้ ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของสันโดษก็คือเป็นความรู้แบบชายขอบ
สิทธิความเป็นมนุษย์
มนุษย์เรามีร่างกายและจิตใจ  ซึ่งในองค์ประกอบที่เป็นจิตใจก็มีความคิด  สติปัญญา  และอารมณ์ความรู้สึก  ชีวิตของคนจะดำรงอยู่ได้อย่างมีสุข  นอกจากจะต้องมีวัตถุปัจจัยมาสนองตอบความต้องการของชีวิตร่างกาย  เช่น  อาหาร  ที่อยู่  เสื้อผ้า  ยารักษาโรค  ยังจะต้องมีความคิดจิตใจ  และอารมณ์ความรู้สึกให้ถูกต้องดีงาม  ในบรรดาความคิดจิตใจและอารมณ์ความรู้สึกทั้งหลายของมนุษย์มีความรู้สึกนึกคิดอยู่อย่างหนึ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตจิตใจมนุษย์ที่รู้ว่าตนเองมีคุณค่า  มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของตนเองและต่อสังคม  ไม่ชอบให้ใครมาดูถูกเหยียดหยาม  ทำให้รู้สึกต่ำต้อย  ด้อยค่า  ไร้ศักดิ์ศรี  รู้สึกไม่มีคุณค่า  หรือถูกปฏิบัติอย่างไม่ใช่คน
          ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คือ คุณค่ามีความสำคัญเป็นมนุษย์คือ  คุณค่าความเป็นมนุษย์  คุณค่าของคน  ซึ่งมนุษย์ทุกคนมีเท่ากันไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติชนชาติ  เพศ ผิว ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม  วงศ์ตระกูล  สถานะสูงส่ง  ต่ำต้อย ฯลฯ  ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนเราทุกด้าน  ตั้งแต่ชีวิตทางสังคม ชุมชน ครอบครัว  การคบค้าสมาคม  การประกอบอาชีพ  การศึกษาการเรียนรู้  ไปจนถึงชีวิตทางการเมือง รัฐและสังคมจะต้องเคารพ  โดยไม่เหยียดหยามกีดกัน ข่มเหง  รังแก  หรือปฏิบัติต่อมนุษย์ด้วยกันเหมือนไม่ใช่มนุษย์หรือปฏิบัติต่อมนุษย์เหมือนสัตว์หรือสิ่งของไม่ได้  มนุษย์ทุกคนล้วนมีคุณค่า  ทุกคนที่เกิดมาล้วนมีคุณค่าในฐานะที่มีชีวิต  มีร่างกาย เลือดเนื้อ ความรู้สึก และจิตวิญญาณ  
การนำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาเป็นหลักการนำในการดำรงชีวิตเราก็จะปฏิบัติต่อผู้อื่นโดยไม่คิดว่าตนเองมีเชื้อชาติหรือสัญชาติเหนือกว่าผู้อื่นโดยไม่คิดว่าตนเองมีเชื้อชาติหรือสัญชาติเหนือกว่าผู้อื่นการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จะทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนลดการทำร้าย  การฆ่ากัน  การใช้ความรุนแรง  การวิสามัญฆาตกรรมได้มาก   ปัจจุบันแม้ความคิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จะแพร่หลายไปทุกหนทุกแห่ง  แต่ในทุกสังคมยังมีการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างกว้างขวาง  อาทิ  การค้ามนุษย์  แม่บังคับให้ลูกสาวขายประเวณี การไม่ให้เกียรติผู้ที่มีฐานะด้อยกว่า  การใช้ความรุนแรงในการทุบตีนักโทษ  เป็นต้น  ดังนั้นจึงต้องช่วยกันขจัดให้หมดไป
กรณีศึกษาที่ 1 : การประทับตราของคนในสังคมให้ ม้ง กลายเป็นผู้ต่ำต้อยทางศีลธรรม
          ปัญหายาเสพติด  เป็นหนึ่งในภาพลักษณ์ที่ถูกสร้างและผลิตซ้ำในสังคมไทยเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง  ผู้เคยมีวัฒนธรรมการผลิตฝิ่นมายาวนานในอดีต ชาวม้งมักถูกอ้างว่าเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหายาเสพติดในฐานะผู้ปลูก/เสพ ค้าฝิ่นและเฮโรอีนไปจนถึงการค้ายาบ้าในปัจจุบัน  ภาพลักษณ์เล้านี้ถูกสะท้อนและตอกย้ำให้ผู้คนในสังคมเชื่อและเข้าใจเช่นนั้นด้วยการเผยแพร่จากสื่อมวลชนออกสู่สาธารณะ  และสถานการณ์เช่นนี้ล้วนสร้างภาพลบแก่ชาวม้งให้ถูกกีดกันและถูกประทับตราจากสังคมให้กลายเป็นผู้ต่ำต้อยทางศีลธรรมและเบียดขับชาวม้งให้กลายเป็นคนชายขอบของสังคมไปในที่สุด
          ในประวัติศาสตร์ภาพลักษณ์ฝิ่นของชาวม้งและชนบนที่สูง  กลับพบภาพลักษณ์ฝิ่นที่ทับซ้อนกันมากกมายหลายภาพและปรับเปลี่ยนไปมาจนถึงปัจจุบัน  ในสังคมตะวันตกก่อนที่ฝิ่นจะกลายเป็นสิ่งผิดศีลธรรมและกลายเป็นยาเสพติด  ภาพลักษณ์ฝิ่นของสังคมตะวันตกยุคล่าอาณานิคมคือ พืชที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ของพ่อค้าและรัฐบาลตะวันตกก่อนที่ฝิ่นจะกลายเป็นสิ่งผิดศีลธรรมและกลายเป็นยาเสพติด  ภาพลักษณ์ฝิ่นของสังคมตะวันตกยุคล่าอาณานิคมคือ พืชที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ของพ่อค้าและรัฐบาลตะวันตกจนฝิ่นแพร่ระบาดไปทั่วเอเชีย  จากนั้นฝิ่นยังกลายเป็นพืชการเมืองเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าของประเทศจีน  และถูกใช้เป็นเครื่องมือของนักล่าอุดมการณ์เสรีนิยมอย่างสหรัฐอเมริกาและกลุ่มอำนาจต่างๆ จนสร้างกระบวนการค้าฝิ่นบนภูเขาให้เติบโตขึ้นในเขตสามเหลี่ยมทองคำ ขณะที่ในวิถีวัฒนธรรมของชาวม้งและชนบทที่สูง  ฝิ่นกลับมีภาพลักษณ์และมิติอันหลากหลายทั้งในแง่การรักษาพยาบาลพื้นบ้าน  เป็นพืชเศรษฐกิจที่ใช้แลกเปลี่ยนสิ่งของอันจำเป็น  ตลอดจนฝิ่นยังถูกใช้เป็นเครื่องแสดงความมั่นคงในชีวิตและแสดงสถานภาพต่อสังคม  ความสำคัญของฝิ่นต่อชาวม้งยังแทรกซึมลงไปในวิธีคิดและอุดมการณ์ของชาวม้งซึ่งสะท้อนให้เห็นในตำนาน  พิธีกรรม  ความเชื่อ  แต่ภาพลักษณ์ฝิ่นที่มีความหลากหลายและทับซ้อนไปมาเหล่านี้  ได้ถูกลดทอนให้เหลือเพียงภาพลักษณ์ของยาเสพติดในปัจจุบัน  ซึ่งได้กลายเป็นภาพตีตราชาวม้งแลชนบนที่สูงให้กลายเป็นผู้ต่ำต้อยทางศีลธรรมของสังคมและกักขังชาวม้งให้ติดอยู่กับอัตลักษณ์ที่ตายตัวในปัจจุบัน
          สำหรับแนวคิดในการศึกษาในครั้งนี้ได้มองความหมายฝิ่นว่าถูกสร้างขึ้นจากปฏิบัติการทางภาษา  ในแต่ละยุคสมัยบนฐานการเมืองเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ปรับเปลี่ยนไปมาระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมครอบงำ  ซึ่งได้สร้างชุดวาทกรรมครอบงำผ่านการสร้างภาพตัวแทน/ผลิตชุดความหมายเพื่อตอบสนองตอบต่อผลประโยชน์ของตน  กับชาวม้งซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ด้อยอำนาจที่ถูกจัดวางและถูกเบียดขับจากวาทกรรมครอบงำชุดนี้  จากนั้นได้ประยุกต์แนวคิดเรื่อง “กระบวนการการกักขัง (strategies of containment)” ของเฟรดริค  เจมสัน มาวิเคราะห์การสร้าง “ภาพตัวแทน” ของฝิ่นในชุดวาทกรรมครอบงำที่เชื่อมโยงกับอัตตาลักษณ์ของชาวม้ง  โดยภาพตัวแทนและชุดนิยามความหมายฝิ่นได้สร้างความครอบงำได้เข้าไปครอบงำ ควบคุมและจัดการชีวิตของชนเผ่าม้งบนแนวความคิด “การพัฒนา” ผ่านกระบวนการใช้อำนาจต่างๆ ของรัฐ ทำการควบคุมดูแล  มีการให้ความรู้เรื่องยาเสพติดให้กับชนเผ่า  ซมีมาตรการเฉพาะต่อการควบคุมจัดการปัญหาการปลูกฝิ่นของชนบทที่สูงเพื่อตอกย้ำการ “มีอยู่” ของภาพตัวแทนและวาทกรรมครอบงำ
          กระบวนการกักขังอัตลักษณ์ชาวม้ง
กะบวนการกักขังอัตลักษณ์ชาวม้งเกิดขึ้นในบริบททางการเมืองเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมครอบงำ  ซึ่งหมายถึงตะวันตกและรัฐไทยกบกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ด้อยอำนาจ  ในบริบททางการเมืองเช่นนี้กลุ่มวัฒนธรรมครอบงำได้สร้างภาพตัวแทนฝิ่นที่เป็นยาเสพติดเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ชาวม้ง  การสร้างภาพตัวแทนนี้ในระดับแรกเป็นเรื่องราวของชาวม้งในด้านลบ ซึ่งเป็น symbolic act ของกลุ่มวัฒนธรรมครอบงำเพื่อสร้างและปรับปรุงแต่ความจริงเกี่ยวกับชาวม้งขึ้น  ในระดับแรกภาพตัวแทนที่ถูกสร้างขึ้นเกี่ยวกับความเป็นม้งคือ “มายาภาพ (nominal)” ที่กำหนดนิยามความหมายอัตลักษณ์ของชาวม้งเอาไว้เป็นสารัตถนิยม
          จากภาพตัวแทนฝิ่นที่เชื่อมโยงกับความเป็นม้งในบริบทที่ฝิ่นกลายเป็นยาเสพติด ภาพลักษณ์ดังกล่าวยิ่งฉายชัดเมื่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเริ่มรุนแรงมากขึ้น ในทศวรรษ 2510 ภาพลักษณ์ฝิ่นซึ่งเป็นยาเสพติดเชื่อมโยงกับความเป็นม้งได้ถูกเสนอมากขึ้น  เพื่อให้รัฐได้ใช้เป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมในการจัดการกับชีวิตชาวม้งในสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างแนวคิดคอมมิวนิสต์กับเสรีนิยม  เช่น  การกำหนดนโยบายผสมกลมกลืน  อพยพชาวม้งลงจากดอย สร้างนิคมชาวเขา  โครงการพัฒนา  เปลี่ยนระบบการเกษตรจัดการศึกษาและให้ความรู้ตามระบบของรัฐ  ต่อเมื่อภายหลังยุคความมั่นคงแห่งชาติช่วงปี พ.ศ.2526  ในบริบทการเริ่มต้นของกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ  ภาพลักษณ์ฝิ่นกับความเป็นม้งถูกเชื่อมโยงและถูกขยายไปสู่ภาพตัวแทนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับฝิ่น  เช่น การทำไร่ย้ายที่ในระบบหมุนเวียนตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวม้งได้ถูกชี้ว่าเป็นการทำไร่ย้ายที่เพื่อการปลูกฝิ่น  ซึ่งเป็นภัยความมั่นคงแห่งชาติด้านยาเสพติดและเป็นการทำลายป่า  แม้ว่าชาวม้งจะเปลี่ยนระบบการผลิตไปสู่พืชเศรษฐกิจทดแทนฝิ่น  แต่ระบบการทำไร่ของชาวเผ่าม้งก็ยังคงถูกกล่าวอ้างว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงในแง่ของการทำลายสิ่งแวดล้อมจากระบบการผลิตที่ใช้ปุ๋ย  และยาฆ่าแมลง
          ต่อมาเมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเติบโตขึ้น  ความเป็นม้งได้ถูกเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเพื่อสร้างภาพตัวแทนทางการเมืองชาวม้งในฐานะเป็นชาวเขาที่มีวัฒนธรรมแปลกแตกต่างจากคนอื่น  ชาวม้งเริ่มมีภาพของ “สินค้าทางวัฒนธรรม” เพื่อการท่องเที่ยวในฐานะ “ผู้ถูกท่องเที่ยว” จากนั้นรัฐได้กำหนดนโยบายการท่องเที่ยว  ส่งเสริมให้ชาวม้งสวมเครื่องแต่งกายและใช้วัฒนธรรมของตนเอง  รวมทั้งฝิ่นเป็นสินค้าสำหรับการท่องเที่ยวด้วย
          ความลักลั่นขัดแย้งและเงื่อนไขในการตอบโต้ของชาวม้ง
ปฏิกิริยาที่ชาวม้งแสดงออกต่อการกักขังอัตลักษณ์  โดยเฉพาะการตอบโต้นั้นไม่สามารถกระทำการได้อย่างสำเร็จผลเสมอไป  เพราะการตอบโต้ดังกล่าวในบางระดับไม่ให้เกิดการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างชาวม้งกับรัฐ  และสามารถปรับเปลี่ยนภาพตัวแทนและชุดความหมายของวาทกรรมครอบงำได้ ในทางหนึ่งจะพบว่า เกิดความลักลั่นขัดแย้งในการตอบโต้ของชาวม้งด้วย  ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากกระบวนการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม  จากความจำทางสังคม จากความทรงจำทางสังคมของชาวม้งที่คนแก่คนเฒ่าไม่สามารถถ่ายทอดต่อลูกหลานของตนได้สำเร็จ  ทำให้คนม้งรุ่นเก่ากับม้งรุ่นใหม่ในชุมชนม้งบ้านแทนธรรมมีความทรงจำเกี่ยวกับฝิ่นแตกต่างอย่างสิ้นเชิง  ระหว่างภาพความทรงจำของคนม้งรุ่งเก่าที่โหยหาชีวิตอันสมบูรณ์ที่พึงได้รับจากฝิ่นและการเลือกดำเนินชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน  กับภาพความทรงจำของชาวม้งรุ่นใหม่ที่พยายามปฏิเสธและหนีไปจากฝิ่น  เพราะฝิ่นคือภาพยาเสพติดที่น่ารังเกียจโดยมีอัตลักษณ์ชาวม้งถูกผูกติดเอาไว้อย่างแน่นหนา
          โดยในชุมชนม้งบ้านแทนธรรม  คนแก่คนเฒ่าวัยมากกว่า 40 ปีขึ้นไป  มักเล่าขานกันถึงตำนานความเชื่อเรื่อง ดินแดนผี  เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้ให้กับลูกหลานโดยเปรียบเปรยดินแดนผีเชื่อมโยงกับความไม่สมบูรณ์  มีความเดือดร้อนและความทุกข์อยู่ในใจไม่สามารถดำเนินชีวิติปกติได้  แต่เรื่องการถ่ายทอดเรื่องเล่าผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและการสร้างความทรงจำร่วมของชุมชนจึงสะดุดหยุดลงไม่อาจสืบทอดและสร้างความทรงจำร่วมผ่านตำนานความเชื่อได้เป็นผลสำเร็จ  จะพบว่าชาวม้งรุ่นใหม่บ้านแทนธรรมเข้าใจความหมายที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับฝิ่นเหมือนดังกลุ่มคนสูงวัยสื่อสาร ในปัจจุบันชาวม้งคนรุ่นใหม่ที่ไปเรียนหนังสือในเมือง  เมื่อกลับถึงบ้านมักพูดว่า “คนติดยาฝิ่น  เป็นไม่ดี” หรือ “หมอยาปลูกฝิ่นแล้วบอกว่าเป็นยา ก็เพราะว่าพวกเขาติดฝิ่นมากกว่า  แต่หาข้ออ้างว่าใช้เป็นยาตามความรู้พื้นบ้านดั้งเดิม” คนรุ่นใหม่ยังพิพากษ์วิจารณ์ว่า  หากนำเงินที่ซื้อฝิ่นไปให้ลูกหลานได้เรียนหนังสือหรือซื้อเครื่องเขียนยังดีกว่าจ่ายเงินซื้อฝิ่น ขณะที่คนสูงวัยกลับอธิบายมิติที่แตกต่างออกไปโดยยังยึดโยงตัวเองอยู่กับภาพความอุดมสมบูรณ์และชีวิตมั่งคั่งจากไร่ฝิ่น
          อาจสรุปได้ว่า  เงื่อนไขสำคัญของชาวม้งในการตอบโต้ต่อการกักขังอัตลักษณ์ชาวม้งคือ  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเชิงสัญลักษณ์ในฐานะโครงสร้างที่รัฐสถาปนาอำนาจของตนผ่านระบบการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง  ลงสู่ระดับจิตสำนึกของคนทั่วไปและโดยเฉพาะชาวม้งกับชาวม้งในฐานะ agency ที่มีความแตกต่างหลากหลายจากประสบการณ์การเรียนรู้  รุ่น  วัย  อย่างเช่น  ชาวม้งในแต่ละรุ่นแต่ละวัยระหว่างผู้ใหญ่กับชาวม้งวัยเด็กและรุ่นใหม่  ต่างนิยามอัตลักษณ์และความเป็นตัวต่อตนต่อการกักขังอัตลักษณ์ด้ายภาพลักษณ์ฝิ่นแตกต่างกันไป  ขึ้นอยู่กับประสบการณ์การเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่แตกต่างกันด้วย
กรณีศึกษาที่ 2 : ชนเผ่าอาข่า กับภาพลักษณ์ที่ถูกสร้างให้สกปรก ล้าหลัง
          ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมานี้  หากใครไปมีโอกาสไปเยือนที่เชียงใหม่และไปเดินซื้อของฝากบริเวณย่านไนท์บาร์ซาร์กลางเมืองเชียงใหม่  ก็จะพบภาพของผู้ค้าขายกลุ่มหนึ่งที่แบกสินค้ามาเพื่อเสนอขายให้แก่นักท่องเที่ยวในบริเวณนี้และบริเวณใกล้เคียง  ผู้ค้าขายกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงบางคนนำเด็กเล็กแบกไว้บนหลังมัดด้วยผ้าเดินเร่ขายสินค้าไปด้วย คนไทยโดยทั่วไปอาจเข้าใจว่ากลุ่มผู้หญิงเหล่านี้เป็น “ชาวเขา” หรือบางคนก็เรียกว่า “พวกแม้วพวกยาง”  ซึ่งหมายถึง  “ชาวเขา” ตามความเข้าใจของผู้เรียกนั้นเอง  โดยส่วนใหญ่ในความคิดของคนไทยเมื่อนึกถึง “ชาวเขา” หลายคนมักจะนึกได้อย่างทันทีทันใดถึงภาพลักษณ์ของคนที่สกปรก คนจน  คนยากไร้  น่าเห็นใจ  ไม่มีการศึกษาหรือมีการศึกษาน้อย  มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ขาดคุณภาพ  มักจะพัวพันกับการปลูก-เสพ-ค้ายาเสพติด  ตัดไม้ทำลายป่า  ทำลายสิ่งแวดล้อมและแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นคนอื่นที่เข้ามาอาศัยในดินแดนไทยและอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
            การที่สังคมไทยมีภาพลักษณ์ต่อชาวเขาเป็นแบบพิมพ์เดียวกันเช่นนี้  นับว่าเป็นผลของการผลิตหรือหล่อหลอมความคิดชุดหนึ่งเพื่อนำไปใช้มอง วิเคราะห์  จัดการกับสิ่งหนึ่งด้วยเครื่องมือที่นักวิชาการเรียกว่า “วาทกรรม”  วาทกรรมเป็นมากกว่าเรื่องของภาษาหรือคำพูด  แต่เป็นสิ่งหล่อหลอมความรู้และเกี่ยวข้องกับอำนาจหรือภาคปฏิบัติการจริงของวาทกรรม  เป็นสิ่งที่สร้างป้ายหรือฉลากในการจัดประเภทต่างๆ  เพื่อทำให้ความคิดความเชื่อหรือทัศนคติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของคนในองค์กรหรือสถาบันเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา เป็นตัวส่งผลต่อการสร้างหรือกำหนดอุดมการณ์ของคนในประเทศ  และเมื่อไม่มีความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาวเขา ก็มองว่าวิถีชิตของพวกเขานั้นล้าหลัง  เป็นปัญหาและเป็นอันตรายต่อระบบโดยรวมของประเทศ ทำให้นโยบายของรัฐบาลส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาความแตกต่างทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมมากมายเพื่ทำให้ “ชาวเขา” ซึ่งเป็นพวก “คนอื่น” ให้กลายเป็น “คนไทย”  โดยนโยบายที่ใช้ในการ “กลืนกลายทางชาติพันธุ์”
          ภาพลักษณ์ของความ “สกปรก และล้าหลัง”
          คำว่า “ชาวเขา”  เริ่มเป็นสัญลักษณ์ของความ “สกปรกและล้าหลัง” ตั้งแต่เมื่อไหร่นั้นมีหลักฐานไม่ค่อยชัดเจน เนื่องจากพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของคนต่างกลุ่มต่างวัฒนธรรมที่มีความสัมพันธ์ร่วมกันมา ได้สั่งสมทัศนคติ  ความคิดความเชื่อ  และปรับเปลี่ยนไปตามกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผ่านพิธีกรรม ตำนาน  และเรื่องเล่าถ่ายทอดกันเป็นเวลานาน  อย่างไรก็ตามภาพลักษณ์หลายอย่างที่เกี่ยวกับชาวเขาเกิดขึ้นจากกลุ่มอื่นที่ชาวเขามีปฏิสัมพันธ์ด้วย  คนไทยพื้นราบในภาคเหนือเป็นกลุ่มคนที่ชาวเขาต้องติดต่อและมีความสัมพันธ์ร่วมกันเป็นเวลานาน แม้ว่าจะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันแต่ก็ไม่มีกรณีบาดหมางกันรุนแรง  แต่ “คนเมือง” ก็มักจะมีมุมมองและทัศนะด้านลบของต่อ “ชาวเขา” ด้วยเช่นกัน ดังตัวอย่างบทความต่อไปนี้
“คำว่า แม้วในสายตาของคนเมือง ไม่ว่าจะเป็นม้ง อาข่า หรือลู่
คนเมืองมักมองรวมกันเป็น แม้วหมด ซึ่ง แม้วก็ถูกมองว่าด้อยวัฒนธรรม
ทางการแต่งกายและสุขอนามัย  คนเมืองจะประณามคนที่ไม่ค่อยชอบอาบน้ำ
ไม่ซักเสื้อผ้า  และกินเนื้อสุนัขว่า แม้วกลายเป็นสัญลักษณ์ของความสกปรก
(ที่มา : ข้อเขียนของนายสมชาย  วิริจินดา)
          ในยุคของการสร้างรัฐชาติที่รัฐไทยส่วนกลางต้องผนวกและสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในบริเวณชายขอบของประเทศ การติดต่อสื่อสารโดยตรงกับ “ชาวเขา” หลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่กระจายอยู่บนพื้นที่สูงเป็นสิ่งที่ทำยาก  แต่การรับข้อมูลจาก “คนเมือง” ในท้องถิ่น กระทำได้ง่ายกว่า ดังนั้นทัศนคติและภาพลักษณ์บางประการที่ “คนเมือง” มีต่อ “ชาวเขา” จึงถ่ายทอดสู่รัฐไทยส่วนกลางและหล่อหลอมเป็นภาพลักษณ์พื้นฐานในการทำความเข้าใจกลุ่มชนบทพื้นที่สูงที่เรียกว่า “ชาวเขา” แล้วจึงถ่ายทอดสู่สังคมไทยต่อไป ในกรณีของ “ชาวอาข่า”  กระบวนการสร้างภาพตัวแทนเพื่อสะท้อนถึงการให้คำนิยมภาพลักษณ์ “ความสกปรก  และล้าหลัง”  ที่ชัดเจนอีกกรณีหนึ่ง  เกิดขึ้นทางสื่อโทรทัศน์ในละครเรื่องแก้วกลางดง  มีบทบาทที่ชวนหัวในเรื่องพยายามนำเสนอว่าคนไทยมี “ภาพตัวแทน” เกี่ยวกับชาวเขาอย่างไรบ้าง  เช่น  การพูดไม่ชัด  ความเงอะงะเชยๆ และการไม่อาบน้ำดูจะเป็น “สัญลักษณ์” อย่างหนึ่งของความเป็นชาวเขา อย่างไรก็ตาม  เพื่อเอาอกเอาใจคนดูชนชั้นกลางที่เป็นผู้หญิงจึงต้องใส่คุณสมบัติของความมั่นอกมั่นใจแบบสาวสมัยใหม่ให้กับนางเอกชาวอาข่าในเรื่องด้วย  ละครจึงไม่สนใจความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรม  เพราะการสร้างภาพตัวแทนนั้น  สิ่งที่สำคัญคือ  การสร้างภาพจินตภาพที่ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความจริง
          แม้ว่าสื่อจากโทรทัศน์เป็นสื่อบันเทิงที่ไม่เน้นสาระก็ตาม  แต่การที่ผู้เขียนบทละครไม่ใส่ใจในความถูกต้องต่อรายละเอียดและวัฒนธรรม  ก็จะถือว่าเป็นการไม่ได้เกียรติแก่เจ้าของวัฒนธรรมแล้ว  ยังเป็นการดูหมิ่นสติปัญญาของผู้ชมซึ่งถือเป็นลูกค้าสำคัญของตนอีกด้วย  กรณีที่คล้ายคลึงกันนี้ก็เกิดขึ้นกับกรสร้างละครหรือภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง เช่น ภาพยนตร์เรื่องบางระจัน ที่ประเทศไทยเป็นผู้สร้าง  และมีเนื้อหาบางตอนสะท้อนภาพลักษณ์ชาวพม่าในด้านลบ  จนเกิดกรณีบาดหมางกันขึ้นระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า เป็นต้น  ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เจ้าของวัฒนธรรมจะให้ความสนใจในความถูกต้องว่าจะไม่ทำให้ภาพลักษณ์ของตนเสียหาย  ในกรณีของอาข่าในเรื่อง กิ่งแก้วกลางดง ทำให้เกิดการเรียกร้องปกป้องภาพลักษณ์ของตนโดยติดต่อกับผู้สร้างละคร  ขอร้องให้ผู้จัดเปลี่ยนแปลงและแก้ไขบทละครให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่เป็นจริง ซึ่งสิ่งที่อาข่าเรียกร้องมีอยู่ 2 ประเด็นที่สำคัญคือ ประเด็นแรก การสร้างภาพลักษณ์ที่ “สกปรก” และ “ล้าหลัง” ประเด็นที่สอง การนำเสนอรายละเอียดของวัฒนธรรมที่ผิดเพี้ยนไป
การต่อสู้ของชาวอาข่าต่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ “สกปรก และล้าหลัง”
          จากอดีตจวบจนถึงปัจจุบัน  กลุ่มชาติพันธ์อาข่าในประเทศไทยมีการติดต่อสัมพันธ์และพยายามปรับตัวเพื่อที่จะอยู่ร่วมกับคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคมไทยมาโดยตลอด  แม้ว่าสังคมไทยจะมีภาพลักษณ์ตัวแทนต่อชาวอาข่าเป็น ความสกปรก  ความล้าหลัง  ที่ยังคงถูกถ่ายทอดผ่าสื่อในลักษณะต่างๆ ก็ตาม  ขณะที่ชาวอาข่าในชุมชนบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับภาวะสูญเสียลักษณะทางวัฒนธรรมและตัวตนทางชาติพันธุ์ไปในช่วงเวลาของการพัฒนาที่สูงที่ผ่านมา  แต่ในอีกด้านหนึ่งชาวอาข่าก็พบว่าสังคมไทยเปิดพื้นที่เล็กๆ ให้พวกเขายืนอยู่ในฐานะผู้ “ดึงดูดใจ” นักท่องเที่ยว  ชาวอาข่าบางกลุ่มที่ทางเลือกในการดำรงชีพน้อย  จึงเลือกที่จะสวมทับภาพลักษณ์ของ “ความสกปรก ล้าหลัง แต่ดึงดูดใจ” ที่สังคมไทยผลิตให้  เพื่อแสดงตัวตนทางชาติพันธุ์บนถนนสายท่องเที่ยวกลางเมืองเชียงใหม่  ขณะที่ชาวอาข่าบางกลุ่มที่มีทางเลือกมากกว่า  เลือกที่จะปฏิเสธและต่อสู้เพื่อแก้ไขภาพลักษณ์ที่ไม่ถูกต้อง  ชาวอาข่าสถานะของผู้ด้อยโอกาสในสังคมไทย  พยายามดินรนหาทางเลือกเพื่อจะปรับตัวเข้ากับสังคมไทย  บางครั้งเลือกที่จะคล้อยตาม  บางครั้งเลือกที่จะขัดขืนแล้วแต่ว่าจะเป็นเวลาและสถานที่ใด  แต่สิ่งที่ยังดำรงอยู่ในสังคมไทยอย่างยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ก็คือ ทัศนะที่เป็นอคติทางชาติพันธุ์  ที่ทำให้สังคมไทยขาดโอกาสที่จะเข้าไปรู้จักกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมที่ถูกต้องดีงามและมีคุณค่า  แต่กลับกลายเป็นผู้ทำลายความหลากหลายนั้นเสียเองโดยไม่รู้ตัว

วิพากษ์บทความเรื่อง “สิทธิของคนชายขอบ”
          ในปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่มิได้ประกอบด้วยคนชนชาติเดียว  หากมีหลายชนชาติ  หลายเชื้อชาติในอดีตอันยาวนานจะมีการแบ่งแยกประชากรเป็นพลเมือง คนต่างด้าวเป็นชนชาติส่วนใหญ่  ชาชาติส่วนน้อย  โดยชนชาติส่วนใหญ่เป็นพลเมืองมีสิทธิต่างๆ ชนส่วนน้อย  คนต่างด้าว  ไม่มีสิทธิอย่างนั้นอย่างนี้  แต่ปัจจุบันรัฐและสังคมโดยเฉพาะประเทศประชาธิปไตยยอมรับสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน  คนภายในประเทศต่างๆ  จึงมสิทธิมากขึ้นอย่างในประเทศไทย  กลุ่มชาติพันธที่อยู่บนพื้นที่สูงที่เรียกว่า ชาวไทยภูเขา เช่น ปกาเกอะญอ  ม้ง เมี่ยน  อาข่า ลีซู  ลัวะ  ฯลฯ  มีสิทธิพลเมืองสิทธิทางการเมืองสิทธิทางการเมืองมากขึ้น  แต่อย่างไรก็ตาม  ก็ยังเป็นกลุ่มที่ด้อยโอกาสมากที่สุดกลุ่มหนึ่งในการเข้าถึงและใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ สิทธิกฎหมาย  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันได้รับรองและค้ำประกันสิทธิบุคคลซึ่งหมายรวมถึงสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยหลายมาตราโดยเฉพาะมาตรา 4  การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพของบุคคล  มาตรา  30 ว่าด้วยความเสมอภาคและห้ามเลือกปฏิบัติและมาตรา 46 สิทธิชุมชนดั้งเดิมในการอยู่กับป่า  รักษาป่า ฯลฯ
          ชาวไทยภูเขาจำนวนมากอาศัยอยู่ในแผ่นดินไทยมายาวนานหลายชั่วอายุคนแต่ก็อพยพเข้ามา  ทั้งเข้ามานานแล้วและพึ่งอพยพเข้ามาหลายชั่วอายุคน  แต่ก็อพยพเข้ามาทั้งเข้ามานานแล้วและพึ่งอพยพเข้ามาจากการสำรวจชาวไทยภูเขาครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2512 – 2542  มีจำนวนรวม 1,033,931  คน  แต่ได้สัญชาติไทยจำนวน  235,025  คน  ยังมีชาวไทยภูเขาส่วนใหญ่ไม่รู้และไม่เห็นความจำเป็นของการมีเอกสารราชการไม่ว่าจะเป็นบัตรประชาชน  ทะเบียนบ้าน  จึงมีอยู่มากที่ไม่มีเอกสารใดๆ เลยที่จะพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นคนไทยหรือไม่
           ต่อมา   เมื่อสังคมมีความซับซ้อน  เอกสารราชการมีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิต  เอกสารจึงเริ่มมีความสำคัญต่อชาวไทยภูเขามากปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือชาวไทยภูเขาจำนวนมากไม่มีเอกสารใดๆ  ไปพิสูจน์ให้ราชการเชื่อได้ว่าเป็นคนไทย  สิ่งที่มีก็คือพยานบุคคลแต่ก็เป็นหลักฐานที่ราชการไม่ให้น้ำหนักมากนัก  ชาวไทยภูเขาก็เลยถูกมองว่าเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายที่พร้อมจะถูกผลักดันให้ออกจากประเทศไทยได้เสมอถ้าไม่มีมติคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้อาศัยอยู่ได้ปีต่อปี  ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ  ราชการจำแนกแยกแยะได้ลำบากว่าเป็นชาวเขาที่เกิดในประเทศไทย หรือเข้ามาในประเทศไทยนานแล้ว  หรือเพิ่งอพยพเข้ามาก็เลยไม่รู้ว่าใครเป็นใคร   ประกอบกับปัญหาการคอร์รัปชั่นของราชการ  ของชาวเขาที่เพิ่งอพยพเข้ามาโดยจ่ายเงินเพื่อซื้อบัตรประชาชนยิ่งทำให้ปัญหา พัวพันกันจนแก้ไขได้ยากลำบากเข้าไปอีก  การที่ชาวไทยภูเขาไม่มีเอกสารพิสูจน์ตน  ไม่มีเอกสารราชการ  ก็เลยเข้าไม่ถึงสิทธิอีกหลายสิบประการไม่ว่าจะเป็นสิทธิทางการศึกษาเล่าเรียน  สิทธิด้านสาธารณสุขในการรักษาเมื่อเจ็บป่วย   สิทธิในการทำงานเพื่อยังชีพ  สิทธิในการเลือกตั้ง  สิทธิในการอาศัยอยู่ในประเทศ  เสรีภาพในการเดินทาง  สิทธิในการทำนิติกรรมต่างๆ  ชาวไทยภูเขาประสบปัญหาสิทธิทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมา  แล้วจะดำรงชีวิตเหมือนคนทั่วไปได้อย่างไร
          ทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาของชาวไทยภูเขา
          การแก้ปัญหากระทำได้หลายๆ วิธี  จากสภาพปัญหาที่กล่าวมาคือชาวไทยภูเขาไม่มีเอกสารพิสูจน์ตน  และจำแนกแยกแยะไม่ออกว่าใครเป็นใคร  อยู่กลุ่มใด  เข้ามาในประเทศไทยนานแล้วหรือไม่  ทำให้เกิดปัญหาด้านสิทธิด้านต่างๆ  มากมาย  ประกอบกับกฎหมายประเทศไทย  อาทิ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง  ให้สันนิฐานในทางออกเพื่อแก้ปัญหาชาวไทยภูเขา  ที่สำคัญที่สุดคือกระบวนการสำรวจบุคคลตกหล่นเพื่อแก้ปัญหาต่อไป  และจะได้กำหนดสถานะได้ถูกต้องว่าพวกเขาควรมีสถานะใดเป็นคนไทย  หรือเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายแต่ได้สิทธิอาศัยในแผ่นดินไทยต่อไปหรือคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย  เมื่อจำแนกแยกแยะได้แล้วว่าใครเป็นใคร  ชาวไทยภูเขาก็มีสิทธิต่างๆ  ตามทั้งเรื่องการเล่าเรียน  การรักษาเมื่อเจ็บป่วย  การเดินทาง  การอยู่อาศัย  การเลือกตั้ง  ฯลฯ  แต่สำหรับในช่วงรอยต่อที่ยังไม่สามารถจำแนกแยกแยะหรือกำหนดสถานะบุคคลได้ก็ต้องมีมาตรการรองรับ  โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ได้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาปัญหากลุ่มชาติพันธุ์   ซึ่งได้จัดประชุมเมื่อวันที่ 5  ตุลาคม  2545  เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล  ความคิดเห็นเพื่อทำหลักเกณฑ์ในการสำรวจคนตกหล่นและการเอื้อให้ชาวไทยภูเขามีสิทธิด้านต่างๆ  ในช่วงรอยต่อเพื่อนำเสนอบริหารต่อไป
          สิ่งสำคัญมากที่ทำให้ปัญหาของชาวไทยภูเขาไม่ได้รับการคลี่คลายก็คือทัศนคติ  ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติของภาครัฐหรือแม้แต่ภาคเอกชนก็ตามที่มองอย่างเหมารวมว่าชาวไทยภูเขาเป็นพวกที่อพยพมาจากต่างประเทศไม่ได้มีการจำแนกแยกแยะว่ามีทั้งที่เป็นชาวไทยภูเขาอยู่ติดแผ่นดินมาตั้งแต่เกิดหรืออพยพเข้ามาอาศัยในแผ่นดินไทย  ทัศนคติเช่นที่ว่ามา  ทำให้ปัญหาของชาวไทยภูเขายังดำรงอยู่  และการแก้ไขปัญหาไม่ถูกจุด  ภาครัฐไปเน้นน้ำหนักที่การปราบการคอร์รัปชั่น  จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอย่างจริงจัง   เพื่อปรับทัศนคติและสร้างความเข้าใจต่อชาวไทยภูเขามากขึ้นต่อไป

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณครับน่าสนใจมาก ผมมาเป็นอาสาสมัคร
    กำลังศึกษาเรื่องเด็กชาบขอบครับ

    ตอบลบ