วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาแรงงานต่างด้าว นางสาวกัญญาณัฐ ถิ่นนุช 53241677


บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง ปัญหาแรงงานต่างด้าว


- คนต่างด้าว หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
- ทำงาน หมายถึง การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ด้วยประสงค์ค่าจ้าง หรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม
- ใบอนุญาต หมายความว่า ใบอนุญาตทำงาน
- ผู้รับใบอนุญาต หมายความว่า  คนต่างด้าวซึ่งได้รับใบอนุญาต
- ลูกจ้าง  หมายความว่า  ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 9 มาตรา 11 มาตรา 13 (1) และ (2) และมาตรา 14 ให้ทำงานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 15 (เป็นลูกจ้างที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นประกันค่าใช้จ่ายในการส่ง ลูกจ้างกลับออกไปนอกราชอาณาจักร)
- ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 9 หมายความว่า  คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตาม กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง  จำแนกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 
                   (1)  ประเภททั่วไป  หมายถึง คนต่างด้าวที่เป็นแรงงานที่มีทักษะและทำงานอยู่ในตำแหน่งค่อนข้างสูง หรืออาจ ถูกส่งมาจากบริษัทแม่ในต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย หรือเข้ามาทำงานชั่วคราวในงานที่ต้องใช้ทักษะ และเทคโนโลยีชั้นสูง  เป็นความต้องการผู้ที่มีความสามารถเฉพาะด้าน มีความชำนาญเฉพาะด้าน หรือมีความสามารถ ทางการสื่อสาร (ภาษา) ที่ยังหาคนไทยที่มีความสามารถ  หรือมีความชำนาญเข้ามาร่วมงานไม่ได้  หรือเป็นการเข้ามา ทำงานในกิจการที่ตนเองลงทุน หรือกิจการของคู่สมรส หรือกิจการที่ร่วมลงทุน  เป็นต้น  ส่วนใหญ่ทำงานในกิจการ ดังนี้
-  กิจการที่มีการลงทุนตั้งแต่  2 ล้านขึ้นไป
กิจการที่มีการลงทุนมากกว่า  30 ล้านขึ้นไป
-  มูลนิธิ/สมาคม/องค์การเอกชนต่างประเทศ  
                    (2)  ประเภทเข้ามาทำงานอันจำเป็นเร่งด่วน หมายถึง คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงาน ซึ่งเป็นงานที่ต้องดำเนินการโดยทันทีทันใด หากไม่เร่งดำเนินการอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินกิจการของบริษัท หรือลูกค้าของบริษัท หรือส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยไม่มีแผนการดำเนินการล่วงหน้ามาก่อน และต้องเข้ามาทำงานนั้น ในระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน
                    (3)  ประเภทตลอดชีพ  หมายถึง คนต่างด้าวซึ่งได้รับใบอนุญาตทำงานตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับ ที่ ๓๒๒ ข้อ ๑๐ (๑๐) มีสาระสำคัญว่า ใบ อนุญาตที่ออกให้แก่คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตาม กฎหมาย ว่าด้วยคนเข้าเมืองและทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ ให้ใช้ได้ตลอดชีวิตของคนต่างด้าวนั้นเว้นแต่คนต่างด้าวจะเปลี่ยนอาชีพใหม่
                  (4) ประเภทข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานกับประเทศคู่ภาคี ได้แก่
                   (4.1) พิสูจน์สัญชาติ หมายถึง แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ได้รับการจัดระบบตามยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้า เมืองทั้งระบบ 7 ยุทธศาสตร์ โดยดำเนินการตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1. การจัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าว หลักการคือ ปรับสถานภาพแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองให้เป็นแรงงานเข้าเมืองโดยถูกต้อง ตามกฎหมาย เปิดโอกาสให้นายจ้างนำแรงงานต่างด้าว มารายงานตัวเพื่อจัดส่งรายชื่อให้ประเทศต้นทางพิสูจน์ และรับรองสถานะ เพื่อปรับเข้าสู่ระบบที่ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป โดยมติคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวระหว่างรอการ ส่งกลับ อนุญาตให้ทำงานได้ 2 งาน คือ งานกรรมกรและคนรับใช้ในบ้าน มีใบอนุญาตทำงานบัตรสีชมพู และต้องปรับเปลี่ยนสถานะโดยการพิสูจน์สัญชาติจาดเจ้าหน้าที่ประเทศต้นทาง เพื่อรับเอกสารรับรองสถานะ ได้แก่ หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport)1 หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate Of Identity)2 เป็นต้น และขออนุญาตทำงาน ได้รับใบอนุญาตทำงานเป็นชนิดบัตรสีเขียว
                   (4.2) แรงงานนำเข้า หมายถึง คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าวระหว่างประเทศไทยกับประเทศคู่ภาคี (MOU) ปัจจุบันทำข้อตกลงกับประเทศ 2 ประเทศ คือ ลาว และกัมพูชา
ผลกระทบของแรงงานต่างด้าว
แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ในปัจจุบัน ได้สร้างผลกระทบให้เกิดขึ้น ในสังคมไทย โดยสามารถแบ่งได้ เป็น 3 ด้าน ดังนี้
                 1. ผลกระทบทางสังคม อาทิ ปัญหาด้านอาชญากรรมและยาเสพติด เป็นที่ทราบกันดีว่า การมีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายจำนวนมาก ทำให้เกิดการแย่งงานกันเองระหว่างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายด้วยกัน แรงงานต่างด้าวบางส่วนว่างงาน จึงมักพบว่า มีการลักทรัพย์เกิดขึ้นในชุมชนที่มีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายอยู่จานวนมาก บ่อยครั้งมีการทะเลาะวิวาทจากการดื่มสุราและมีการลักทรัพย์จากร้านค้าและ ชุมชนไทย ทำให้คนไทยบางส่วนเกิดความหวาดระแวงและหวาดกลัวภัยจากการที่แรงงานต่างด้าว ผิดกฎหมาย อยู่ในชุมชน นอกจากนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับชุมชนอีกประการที่เห็นได้ชัดเจน คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม มีขยะมาก ชุมชนสกปรกขึ้นเพราะความไม่มีระเบียบของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ปัญหาการลักลอบเข้าเมือง การเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะ พม่า ลาวและกัมพูชา ที่เข้ามาในประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถิติผู้ต้องขังชาวต่างชาติที่ถูกจับเนื่องจากเข้าเมืองผิดกฎหมายหรือ กระทาความผิดในคดีต่างๆ และกำลังรอการส่งกลับหรือผลักดันออกนอกประเทศในแต่ละปี มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น โดยมีผู้ต้องขังชาวพม่า มีจำนวนมากที่สุดมาโดยตลอดรองลงมา คือ กัมพูชา และลาว ตามลำดับ ปัจจุบันคาดว่ามีผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายที่ยังไม่มาจดทะเบียนประมาณ 1 – 1.5 ล้านคน ครึ่งหนึ่งของคนกลุ่มนี้เป็นผู้หญิงและเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการตกเป็น เหยื่อของการค้ามนุษย์ ปัญหาด้านการศึกษา โอกาสในการศึกษาของเด็กในครอบครัวแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่จะได้รับการ ศึกษามีอยู่ 2 ลักษณะคือ การศึกษาจากชั้นเรียนที่ไม่เป็นทางการที่จัดขึ้นกันเอง ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และการได้เข้าเรียนในสถานศึกษาของไทย แต่การที่ลูกของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเหล่านี้จะได้รับการศึกษาเหมือนเด็ก ไทยนั้น เป็นไปได้ยาก เนื่องจากสถานศึกษาหลายแห่งอ้างว่าเด็กไม่มีสัญชาติไทย ขณะเดียวกันการเปิดโอกาสให้เด็กต่างด้าวเข้าสู่ระบบการศึกษาของไทย ก็จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางการศึกษาของเด็กไทยด้วย
2. ผลกระทบทางด้านสาธารณสุข แรงงานต่างด้าวบางส่วน ได้เป็นพาหนะนาโรคใหม่ๆ เข้ามาในประเทศไทย ถึงแม้ว่าแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายจะได้รับการตรวจ สุขภาพและค้นหาโรคจากหน่วยงานสาธารณสุขของจังหวัดและได้รับบัตรประกันสุขภาพ แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายและไม่ขึ้นทะเบียน แรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนกลุ่มนี้ สร้างปัญหาและผลกระทบในด้านสาธารณสุขต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความยากลาบากในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข และการรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ อันก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ลบแก่สภาวะสุขภาพอนามัยต่อแรงงานต่างด้าว เช่น การแพร่ระบาดหรือการกระจายโรคติดต่อที่สำคัญ จากรายงานการศึกษาเรื่องความต้องการจ้างแรงงานอพยพต่างชาติในประเทศไทยปี 2546 – 2549 โดยสถาบันเอเชียศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม พบว่าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายส่วนหนึ่งเป็นโรคติดต่อและเจ็บป่วยด้วยโรคที่ ประเทศไทยเคยควบคุมได้แล้ว มีการตรวจพบโรคต่างๆดังนี้ มาเลเรีย วัณโรค เท้าช้าง ไข้เลือดออก โรคเรื้อน และไข้กาฬหลังแอ่น ซึ่งหากไม่มีการควบคุมให้ดีแล้ว อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคเหล่านี้ในประเทศไทยอีกครั้ง ผลกระทบต่อรายจ่ายทางด้านสาธารณสุขหรืองบประมาณที่รัฐต้องเสียไปในการดูแล ปัญหาเหล่านี้หรืออาจกล่าวได้ว่ารัฐต้องแบ่งปันทรัพยากรของคนไทยในด้านการ ส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมดูแลและการป้องกันโรค ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายและเวลาในการออกติดตามในการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขของแรงงาน ต่างด้าว โดยเฉพาะจังหวัดบริเวณชายแดน จะแบกรับภาระสูงเพราะมีผู้มาใช้บริการมาก
3.ผล กระทบด้านความมั่นคง การที่มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก กระจัดกระจายตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยไม่ทราบจำนวนและที่พักอาศัยของแรงงานต่างด้าวทั้งหมดที่มีอยู่แท้จริง แต่มีการประมาณว่าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่อยู่ในประเทศไทยน่าจะมีไม่ต่ำ กว่า 2 ล้านคน ในขณะที่การบริหารแรงงานต่างด้าวยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นปัญหาแรงงานต่างด้าวจึงย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายสัญชาติพม่า มีการจ้างทำงานหนาแน่นมากที่สุดบริเวณชายแดนที่ติดต่อกับประเทศพม่า ได้แก่ จังหวัดตาก เชียงใหม่ และระนอง ลงมาจนถึงบริเวณพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง ซึ่งเป็นศูนย์รวมเศรษฐกิจของประเทศและเป็นแหล่งอุตสาหกรรมแบบเข้มข้น ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายผลักดันแรงงานต่างด้าวแต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะถึงแม้จะสามารถผลักดันคนต่างด้าวกลับไปได้ แต่ไม่นาน คนเหล่านั้นก็เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีก นอกจากนี้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายยังมีที่อยู่ไม่ถาวร มีการเคลื่อนย้ายเข้าออกระหว่างประเทศ
แรง งานต่างด้าวในประเทศไทยที่เป็นประเด็นปัญหาใหญ่อยู่ในปัจจุบันนี้ ก็คือแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย จากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในประเทศไทยและความแตกต่างกันในทางเศรษฐกิจ กลายเป็นปัจจัยดึงดูดแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ถึงแม้ว่าแรงงานต่างด้าวเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และมีความจำเป็นสำหรับประเทศ ไทยอยู่พอสมควรก็ตาม แต่จำนวนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ได้หลั่งไหลเข้ามาอย่างมากมาย ได้ก่อให้เกิดปัญหาและเกิดผลกระทบต่างๆ ในสังคมไทยเป็นอย่างมาก
ปัญหาเกี่ยวกับการลักลอบเข้าเมืองเพื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทยของแรงงานต่างด้าวหลบหนี174เข้าเมือสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมานานและต่อเนื่องจนเป็นปัญหาที่มีความสำคัญ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง เศรษฐกิจการเมือง และสังคม แรงงานต่างด้าวได้กระจายไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ยากต่อการควบคุมและตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ การลักลอบเข้าเมืองมีการกระทำเป็นขบวนการตั้งแต่หาคนจากหมู่บ้าน โดยนายหน้าในประเทศต้นทางจนกระทั่งนำข้ามพรมแดนส่งให้นายหน้าในประเทศไทยเพื่อส่งต่อให้นายจ้างที่แจ้งความต้องการไว้ ขบวนการเหล่านี้จะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐบางส่วนเข้ามามีส่วนรู้เห็น และร่วมดำเนินการ สาเหตุที่แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทยเนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางสาขาอาชีพ โดยเฉพาะแรงงานในระดับล่าง ประกอบกับแรงงานไทยมีระดับการศึกษาที่สูงขึ้น และไม่นิยมทำงานประเภท 3D คือ งานหนัก (Difficult) งานสกปรก(Dirty) งานที่มีความเสี่ยง (Dangerous) จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทำให้นายจ้าง/สถานประกอบการต่างๆที่ขาดแคลนแรงงาน มีความจำเป็นต้องหาแรงงานต่างด้าวมาทดแทน เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งแรงงานต่างด้าวยังมีค่าจ้างที่ต่ำ นายจ้างสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่ง จึงเป็นเหตุให้แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านอันได้แก่ พม่าลาว กัมพูชา ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจด้อยกว่าประเทศไทยพากันอพยพเข้ามาทำงานในประเทศไทยจำนวนมาก
มาตรการทางกฎหมายในการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
ภาครัฐได้พยายามแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลหนีเข้าเมืองโดยใช้มาตรการและวิธีการต่างๆ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือใช้แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายโดยสรุปดังนี้
1) ใช้มาตรการผ่อนผันให้นายจ้าง/สถานประกอบการนำแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองมาจดทะเบียนและขอใบอนุญาตทำงานตั้งแต่ปี 2535 สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
2) มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) ขึ้นมาเพื่อกำหนดนโยบาย มาตรการในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
3) ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง โดยมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้าง
แรงงาน ประเทศพม่า ลาว กัมพูชา และมีการดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่ การพิสูจน์สัญชาติ และการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
4) ใช้มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ได้แก่พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.. 2522 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.. 2551 พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.. 2551 พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.. 2534 พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.. 2508พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.. 2541
วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
แม้ว่าภาครัฐจะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามมาตรการดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ยังพบประเด็นปัญหาที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 ปัญหาเกี่ยวกับนโยบายการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองของรัฐบาล
นโยบายการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง มี 4 รูปแบบ ได้แก่ จำกัดพื้นที่และประเภทกิจการไม่จำกัดพื้นที่และประเภทกิจการ การอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันและมีใบอนุญาตทำงานต่ออายุทำงานแต่ไม่เปิดให้คนใหม่เข้าระบบ และจำกัดพื้นที่แต่ไม่จำกัดประเภทกิจการ เป็นนโยบายแก้ไขปัญหาในระยะสั้นรายปี ประกอบมติคณะรัฐมนตรีล่าสุดปี พ.. 2552เปิดให้จดทะเบียนในกิจการต่างๆ รวม 24 กิจการ ทำให้มีแรงงานต่างด้าวกระจายทุกจังหวัดของประเทศไทยซึ่งยากต่อการควบคุม
ประเด็นที่ 2 ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวหลบหนี เข้าเมืองภายใต้คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) มีจุดแข็งที่สามารถช่วยยกระดับการแก้ปัญหาเป็นปัญหาระดับชาติภายใต้การดูแลของนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับหมอบหมาย และมอบหมายให้กรมการจัดหางานเป็นเลขานุการ แต่ก็มี175อุปสรรคที่สำคัญ คือ ไม่มีสำนักงานเป็นของตนเองขณะเดียวกันต้องดูแลแรงงานต่างด้าวนับล้านคน มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลแรงงานต่างด้าวหลายฉบับประกอบกับการบริหารจัดการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองต้องเน้นหนักในด้านความมั่นคง ซึ่งไม่ใช่ภารกิจหลักของกรมการจัดหางาน ซึ่งมีหน้าที่ในการออกใบอนุญาตทำงานให้แรงงานต่างด้าวเป็นหลัก ประกอบกับการจัดตั้ง กบร. เป็นเพียงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นการใช้อำนาจทางบริหารของรัฐบาลไม่มีกฎหมายแม่บทรองรับ
ประเด็นที่ 3 ปัญหาเกี่ยวกับการพิสูจน์สัญชาติของแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
ในการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาวและกัมพูชาที่ผ่านมา ไม่ค่อยมีปัญหาเนื่องจากทางการลาวและกัมพูชาเข้ามาพิสูจน์สัญชาติในประเทศไทยจะมีปัญหาอุปสรรคบ้างได้แก่ ปัญหาการเดินทางมาพิสูจน์สัญชาติต้องขออนุญาตออกนอกเขตจังหวัดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย สำหรับกรณีการพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าพบปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ แรงงานพม่าต้องเดินทางไปพิสูจน์สัญชาติที่ประเทศพม่าและต้องขออนุญาตออกนอกเขตจังหวัดจากปลัดกระทรวงมหาดไทย ปัญหาค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์สัญชาติมีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากไม่มีกฎหมายบังคับบริษัทนายหน้าในเรื่องของค่าใช้จ่ายและค่าบริการ ที่พาแรงงานต่างด้าวไปพิสูจน์สัญชาติ ทำให้แรงงานต่างด้าวบางส่วนไม่ไปพิสูจน์สัญชาติ ปัญหาแรงงานต่างด้าวบางส่วนจะไม่เข้าสู่ระบบการพิสูจน์สัญชาติเพราะกลัวถูกจับ มีความคาดหวังว่าจะได้รับสัญชาติไทย มีคนต่างด้าวสัญชาติอื่นสวมสิทธิ์เป็นคนสัญชาติพม่า และปัญหาแรงงานต่างด้าวไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ
ประเด็นที่ 4 ปัญหาเกี่ยวกับการนำเข้าแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน
พบว่าปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ขั้นตอนในการนำเข้ามีหลายขั้นตอน ใช้ระยะเวลาดำเนินการจัดส่งแรงงานให้แก่นายจ้างในประเทศนาน ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าสูง และไม่มีมาตรการควบคุมและลงโทษบริษัทจัดหางานที่จัดส่งแรงงานเข้ามาทำงานในประเทศไทยกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญา ประกอบกับบริษัทจัดหางานที่จัดส่งแรงงานไม่มีบริษัทตัวแทนที่ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยไม่มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องของการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ และไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทจัดหางานเพื่อนำเข้าแรงงานต่างด้าว ทำให้ไม่สามารถควบคุมสายหรือนายหน้าที่เป็นตัวแทนบริษัทจัดหางานที่อยู่ในเมืองไทยได้นอกจากนี้กฎหมายก็ไม่ได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐในการเป็นตัวแทนในการติดต่อนำเข้าแรงงานต่างด้าวกับบริษัทจัดหางานในประเทศเพื่อนบ้าน หรือให้มีนำเข้าระหว่างรัฐต่อรัฐ หน่วยงานของรัฐเป็นเพียงผู้ออกใบอนุญาตทำงานและเป็นหน่วยงานกลางคอยจัดส่งเอกสารเท่านั้น ปัญหาแรงงานต่างด้าวนำเข้าโดยถูกกฎหมาย ไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ ทำให้ต้องลักลอบทำงาน
ประเด็นที่ 5 ปัญหาเกี่ยวกับการเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าวตามช่วงระยะเวลาหรือตามฤดูกาล
พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ..2551 มาตรา 14 กำหนดให้คนต่างด้าวซึ่งมีภูมิลำเนา
และเป็นคนสัญชาติของประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย ซึ่งมีเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และสามารถทำงานภายในท้องที่ที่อยู่ติดกับชายแดนหรือท้องที่ต่อเนื่องกับท้องที่ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาการลักลอบเข้ามาทำงานของคนต่างด้าวบริเวณชายแดน และแก้ไขปัญหาการเคลื่อนย้ายเข้ามาทำงานของคนต่างด้าวในตัวเมืองชั้นใน แต่ปรากฏว่าพบปัญหาข้อกฎหมายที่สำคัญ คือพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ..2522 มาตรา 13 (2)กำหนดให้คนต่างด้าวสัญชาติของประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยเดินทางข้ามพรมแดนไปมาชั่วคราวให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง และปัจจุบันได้มีข้อตกลงระหว่าประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้ใช้หนังสือผ่านแดน(Border Pass)ในการเดินทางระหว่างชายแดนซึ่งหนังสือผ่านแดนมิใช่เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง จึงไม่สามารถนำมาขอใบอนุญาตทำงานได้นอกจากนี้กฎหมายซึ่งได้กำหนดให้แรงงานต่างด้าวสามารถทำงานในท้องที่ที่อยู่ติดกับชายแดน และท้องที่ต่อเนื่องกับท้องที่ชายแดนได้ด้วยซึ่งอาจมีปัญหาแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้ามาตัวเมืองชั้นในได้เนื่องจาก เมื่อพิจารณาจังหวัดซึ่งมีพื้นที่ติดกับ176ชายแดนของประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา รวมทั้งสิ้นจำนวน 26 จังหวัด และจังหวัดที่ต่อเนื่องกับจังหวัดดังกล่าว จำนวน 26 จังหวัด รวมจำนวนทั้งสิ้น 52 จังหวัด
ประเด็นที่ 6 ปัญหาเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง และผู้เกี่ยวข้อง
ปัญหาอุปสรรคในการป้องกัน ปราบปราม และสกัดกั้นแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ผ่านมา พบปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ใช้มาตรการในการผลักดันและส่งกลับตามมาตรา 54 แห่งพระราช
บัญญัติคนเข้าเมือง พ.. 2522 โดยไม่มีการดำเนินคดีเนื่องจากประเทศไทยไม่มีสถานที่กักกันและงบประมาณที่เพียงพอในการดูแลแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองทำให้แรงงานต่างด้าวไม่เกรงกลัวการถูกลงโทษ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ไม่เข้มงวด มีเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการนำพา การปลอมแปลงเอกสาร ทะเบียน บัตรประจำตัว นอกจากนี้ยังพบประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่สำคัญกล่าวคือ
 พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.. 2551 ได้แก่ ไม่มีการแยกบทลงโทษระหว่างแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองและลักลอบทำงาน กับแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองถูกกฎหมาย และทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต นายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าวโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่มีบทลงโทษจำคุก กฎหมายไม่ให้อำนาจเด็ดขาดในการจับกุมแรงงานต่างด้าว ไม่มีบทลงโทษกรณีฝ่าฝืนไม่เสียค่าธรรมเนียมการจ้างแรงงานต่างด้าว ไม่ได้กำหนดหน้าที่นายจ้างให้ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เมื่อต่างด้าวออกจากงานและบทลงโทษหากฝ่าฝืน อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากคำสั่งกระทรวงแรงงานซึ่งแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.. 2551 ไม่ครอบคลุมลูกจ้างพนักงานราชการของกรมการจัดหางาน และไม่มีเจ้าหน้าที่จากองค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งดังกล่าวพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.. 2551 มาตรา 37 กำหนดให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ตกเป็นเยื่อของการค้ามนุษย์สามารถทำงานได้เป็นการชั่วคราวมีความไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.. 2551 และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.. 2522 เนื่องจากแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองดังกล่าว ไม่อยู่ในสถานะที่เป็นผู้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายคนเข้าเมืองแต่อย่างใด จึงไม่สามารถมาขอใบอนุญาตทำงานได้ และยังพบปัญหากรณี หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ไม่สามารถหางานให้แรงงานต่างด้าวทำได้ เนื่องจากพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.. 2528 ไม่ให้อำนาจในการจัดหางานให้คนต่างด้าวทำ ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานเนื่องจากปัญหาการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองส่วนหนึ่งเกิดจากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แรงงานต่างด้าวไม่กล้าใช้สิทธิตามกฎหมายทำให้แรงงานต่างด้าวต้องหลบหนีจากนายจ้างเดิมไปอยู่กับนายจ้างรายใหม่ที่ให้ค่าจ้างและสวัสดิการดีกว่า โดยไม่มีการแจ้งย้ายหรือเปลี่ยนนายจ้าง หรือไม่ขออนุญาตออกนอกเขตท้องที่ตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนด ทำให้แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ก็จะกลายเป็นแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่อยู่นอกระบบและยากต่อการควบคุมนอกจากนี้ กรณีแรงงานต่างด้าวถูกเลิกจ้างเนื่องจากนายจ้างตายหรือเลิกกิจการ หนีนายจ้างเนื่องจากถูกนายจ้างทำทารุณกรรม นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จำเป็นต้องหานายจ้างรายใหม่ แต่ปรากฏว่ากรมการจัดหางานและภาคเอกชนก็ไม่มีอำนาจในการหานายจ้างหรือหางานให้คนต่างกับแรงงานต่างด้าวดังกล่าวได้เนื่องจากไม่มีกฎหมายให้อำนาจในการจัดหางานให้คนต่างด้าวทำ
ประเด็นที่ 7 ปัญหาเกี่ยวกับการบูรณาการ และการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบันพบปัญหาเกี่ยวกับการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งจัดเก็บข้อมูลคนต่างด้าวได้แก่ กรมการปกครอง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมการจัดหางาน กระทรวงสาธารณสุข กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงศึกษาธิการ แต่ละหน่วยจัดเก็บข้อมูลไว้ใช้เฉพาะหน่วยงานของตน ไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อใช้อย่างบูรณาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ทำให้มีปัญหาการตรวจสอบติดตามและควบคุมแรงงานต่างด้าว
4. ข้อเสนอแนะ
จากข้อสรุปวิเคราะห์ดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้
4.1 ข้อเสนอแนะด้านกฎหมาย
4.2 ข้อเสนอในด้านนโยบาย
1) รัฐบาลควรมอบอำนาจและกระจายอำนาจความรับผิดชอบให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.. 2551 เข้ามาดำเนินการในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง เนื่องจากจะทราบความต้องการและจำเป็นของพื้นที่เป็นอย่างดี และในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการกฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยตัวแทนทุกภาคส่วนในจังหวัด ทั้งภาครัฐ องค์กรส่วนท้องถิ่น เอกชน และประชาชน
2) ควรพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและเอกชน ในการบริหาร กำกับ ดูแล ตรวจสอบ นายจ้างสถานประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองในการให้ความคุ้มครองสภาพการจ้างงาน และคุ้มครองแรงงานให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานสากล
3) ควรเจรจากับรัฐบาลพม่าเพื่อเพิ่มจุดพิสูจน์สัญชาติ หรือให้เจ้าหน้าที่พม่าเข้ามาพิสูจน์สัญชาติ
ในประเทศไทย เช่นเดียวกับการพิสูจน์สัญชาติแรงงานลาวและกัมพูชา
4) ควรมีการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจในการช่วยกรอกแบบพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยร่วมมือกับภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐอื่น เช่น ทหาร ตำรวจในการส่งแรงงานไปพิสูจน์สัญชาติโดยใช้งบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อเป็นการถ่วงดุลและ
เพิ่มทางเลือกในการพิสูจน์สัญชาติ
5) รัฐบาลควรมอบให้คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาเรื่องแรงงานต่างด้าวที่ไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติเป็นการเฉพาะ โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยและสำนักงาสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหน่วยรับผิดชอบดำเนินการ
6) ควรลดขั้นตอนในการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย โดยให้จังหวัดสามารถแจ้งความ
ต้องการแรงงานต่างด้าวไปให้ทางการของประเทศนั้นๆได้โดยตรง
7) กระทรวงมหาดไทยควรมีมาตรการป้องกันการสวมสิทธิต่างด้าว และมีการลงโทษผู้กระทำผิด รวมทั้งลงโทษเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนร่วมในการกระทำผิดอย่างเคร่งครัด
8) ควรจัดตั้งอาสาสมัครและเครือข่ายภาคประชาชนจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองถูกกฎหมายและได้รับใบอนุญาตทำงาน เพื่อช่วยเหลือทางราชการในการแจ้งข้อมูล เบาะแส แจ้งเตือน และรายงานข่าวเกี่ยวกับการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าว
9) ควรกำหนดมาตรการผลักดันและส่งกลับแรงงานต่างด้าวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดทำทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าวที่ผลักดันและส่งกลับ และให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการพิจารณาทั้งการเพิ่มโทษ การเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร การเพิกถอนใบอนุญาตทำงาน
10) ควรให้ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจัดทำแผนบูรณาการตรวจสอบสถานประกอบการตามพื้นที่ต่างๆ
11) ควรกำหนดมาตรการลดการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองในระยะยาว เร่งปรับโครงสร้างภาคการผลิตของไทยสู่อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมีฝีมือ ปรับโครงสร้างกิจกรรมการผลิตที่ใช้แรงงานแบบเข้มข้นไปใช้ทุนในรูปเครื่องจักรและเทคโนโลยีทดแทนมากขึ้น โดยใช้มาตรการด้านภาษีเป็นแรงจูงใจ
12) ควรจัดระบบข้อมูลคนต่างด้าวในประเทศไทย โดยมอบหมายให้กรมการปกครองเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบทำฐานข้อมูลแรงงานต่างด้าวทั้งระบบโดยใช้งบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ข้องได้
13) ควรมีการส่งเสริมสร้างจิตสำนึกนายจ้าง/ผู้ประกอบการโดยให้คำนึงถึงผลกระทบจากการจ้างแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง และควรมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างเข้มข้นในพื้นที่ชายแดนเพื่อให้แรงงานต่างด้าวในพื้นที่ชายแดนทราบว่า การลักลอบเข้ามาในประเทศไทยจะไม่ทำให้แรงงานต่างด้าวและครอบคนครัวได้รับสถานะและสัญชาติไทย และให้ทราบถึงบทลงโทษหากมีการลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทยและต้องถูกผลักดันและส่งกลับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น