วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาขยะมูลฝอย นางสาวสุธีรา ลีประเสริฐสุนทร 53242728


บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง  ปัญหาขยะมูลฝอย


ปัจจุบันอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกเป็นไปอย่างอย่างรวดเร็ว ควบคู่ไปกับการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้เพื่อแสวงหาที่ดินทำกินของประชากรโลก มีการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้น มีการผลิตเพื่อการอุปโภค บริโภคเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้เกิดขยะเศษสิ่งของเหลือใช้มีปริมาณมากขึ้น มนุษย์เราผลิตขยะในแต่ละวันโดยเฉลี่ยวัน ๑ กิโลกรัม ประชากรโลกกว่า 6000 ล้านคน ก็จะผลิตขยะมีปริมาณมากมายมหาศาลสูงถึงวันละ 6000 ล้านกิโลกรัม ในเมืองใหญ่เราจะเห็นบางถนนสะอาด  มีกระถางดอกไม้  ต้นไม้เรียงรายอยู่ข้างทาง แต่บางถนนสกปรก  มีถุงใส่เศษอาหาร  เปลือกผลไม้ตกทิ้งอยู่กลาดเกลื่อน  ถ้าเราเดินทางไปทางเรือเราจะเห็นแม่น้ำลำคลองบางตอนใสสะอาด  มีปลาว่ายไปมาในน้ำ  บางตอนสกปรก  มีขยะมูลฝอยลอยอยู่ทั่วไป  น้ำมีสีดำส่งกลิ่นเน่าเหม็นเป็นที่น่ารังเกียจ เศษอาหาร  ถุงพลาสติกที่ใช้แล้ว  เศษผ้า  ใบไม้ร่วง เรียกรวมว่า ขยะมูลฝอย  ถ้าไม่ทิ้งให้เป็นที่เป็นทางจะสร้างความสกปรก  ขยะมูลฝอยที่กองอยู่บนดิน  เช่น  จำพวกเศษอาหารนอกจากจะส่งกลิ่นเหม็นแล้วยังเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงวันและหนู  เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรา  ขยะมูลฝอยที่ทิ้งลงในแม่น้ำลำคลองจะแพร่เชื้อโรคลงในน้ำ  ถ้าผู้ที่อาศัยอยู่ริมน้ำใช้น้ำนั้นดื่มหรืออาบอาจจะเป็นโรคท้องร่วงหรือโรคผิวหนังได้ ขยะมูลฝอยเหล่านี้หากไม่กำจัดอย่างถูกวิธี นอกจากจะทำให้ชุมชนขาดความสะอาดเรียบร้อย จนเป็นที่น่ารังเกียจแล้วยังทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อสภาพแวดล้อม อาจปนเปื้อนลงแหล่งน้ำ ปนเปื้อนในอากาศที่เราหายใจ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของเชื้อโรค ตลอดจนก่อให้เกิดความรำคาญต่าง ๆ จากกลิ่นฝุ่น ตลอดจนเป็นต้นเหตุของอัคคีภัยได้อีกด้วย ปริมาณกากของเสียและสารอันตรายจากขยะ ยังเป็นต้นเหตุปัญหาสุขภาพทำให้ป่วยเป็นโรคผิวหนัง หากได้รับสารพิษจากขยะอาจได้รับผลกระทบรุนแรงป่วยด้วยโรคร้ายเรื้อรัง สารพิษที่ปนเปื้อนลงแหล่งน้ำ บ่อน้ำ หรือลำคลอง ประเภทสารโลหะหนัก ปรอท ตะกั่ว สารหนู ไซยาไนด์ แมงกานีส แคดเมียม เมื่อเข้าไปสู่ร่างกาย จะทำให้เกิด มะเร็งผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ ปวดกระดูก ลำไส้อักเสบ หรืออาจถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ ผลกระทบจากขยะก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม มีผลต่อสุขภาพอนามัย และนับได้ทวีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี
ขยะมูลฝอยแยกออกเป็น 5 ประเภท  ได้แก่ 
  1.  เศษอาหารและพืชผัก  ที่เหลือจากการรับประทานและการประกอบอาหาร 
  2.  เศษแก้วแตก  กระเบื้องแตก  เศษวัสดุก่อสร้าง  เช่น  ไม้  อิฐ  หิน และอื่น ๆ 
  3.  วัสดุชิ้นใหญ่  เช่น  รถจักรยานพัง หรือเครื่องไฟฟ้าที่ใช้การไม่ได้  ฯลฯ 
  4.  วัสดุที่มีสารพิษ  เช่น  หลอดไฟ  หลอดนีออน  แบตเตอรี่ที่ใช้การไม่ได้  วัสดุติดเชื้อ 
         ต่าง ๆ  เช่น  ขยะมูลฝอยที่เก็บได้จากโรงพยาบาล และวัสดุสารเคมีจากโรงงาน  เป็นต้น 
  5.  วัสดุที่ยังมีสภาพดี  เช่น  กระดาษหนังสือพิมพ์  กล่องกระดาษ  ขวดที่ไม่แตก  ขยะมูล

การกำจัดขยะมูลฝอย
เริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวม  การขนย้ายไปยังโรงงานและการทำลายขยะมูลฝอย เมื่อเรารวบรวมขยะมูลฝอยทิ้ง  ควรแยกให้เป็นประเภท  เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการเก็บและทำลาย  เศษแก้ว  เศษกระจก และของมีคมต่างๆ  ควรแยกต่างหาก  ไม่ทิ้งปะปนกับขยะมูลฝอยอื่น ๆ   เพราะอาจจะบาดหรือตำผู้อื่นได้  เราควรเก็บขยะมูลฝอยใส่ถุงและผูกปากถุงให้เรียบร้อยใส่ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด  เพื่อป้องกันสุนัขคุ้ยเขี่ย
การขนย้ายได้รับการปรับปรุงขึ้นมาก  ตามเมืองใหญ่และในเขตเทศบาล  จะมีรถไปเก็บขยะมูลฝอยถึงบ้าน  ในบางเขตจะมีถังรองรับขยะมูลฝอยตั้งไว้ริมถนน หรือตามบริเวณที่มีขยะมูลฝอยมาก  เช่น  ตามโรงเรียน  ตลาด  ศูนย์การค้า  ฯลฯ  เราควรผูกปากถุงให้เรียบร้อย  แล้วขนไปใส่ลงในถังรองรับที่จัดตั้งไว้ตามจุดต่าง ๆ  เมื่อถังเต็มจะมีรถมาขนไปยังโรงงานเพื่อทำลายต่อไปการกำจัดขยะมูลฝอย  มีหลายวิธี  เช่น  การเผากลางแจ้ง  การเทกองบนพื้นดิน  การนำไปทิ้งทะเล  แต่วิธีการเหล่านี้ไม่ถูกต้อง  เพราะทำให้เกิดภาวะมลพิษต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของมนุษย์  ตัวอย่างเช่น  การเผากลางแจ้ง  ทำให้เกิดควันและฝุ่นละอองในอากาศ วิธีกำจัดที่ถูกต้อง คือ การเผาในเตาเผาขยะ  การฝังกลบ  การหมักทำปุ๋ย และการแปรสภาพเป็นพลังงาน การกำจัดขยะมูลฝอยมีวิธีต่างๆอีกดังนี้
 การเผาขยะ 
 สามารถทำลายขยะมูลฝอยได้เกือบทุกชนิด  เตาเผามีหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะของขยะมูลฝอย  ถ้าเป็นประเภทที่ติดไฟง่าย  เราสามารถใช้เตาเผาชนิดที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงช่วย  แต่ถ้าขยะมูลฝอยมีความชื้นมากกว่าร้อยละ 50   เตาเผาขยะต้องเป็นชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงจำพวกน้ำมันเตาช่วยในการเผาไหม้  การเผาในเตาเผาใช้เนื้อที่น้อย  ส่วนที่เหลือจากการเผาไหม้  เช่น  ขี้เถ้า  สามารถนำไปใช้ถมที่ดินหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้
                การฝังกลบ 
ทำได้โดยนำขยะมูลฝอยมาเทลงในพื้นที่ที่เตรียมเอาไว้แล้วกลบด้วยดิน และบดให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง  การฝังกลบไม่สร้างความรำคาญและเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม  พื้นที่บางแห่งเมื่อถมเสร็จเรียบร้อย  อาจนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ  เช่น  ทำเป็นสวนหย่อม  สนามกีฬา  เป็นต้น 
 การแปรสภาพขยะมูลฝอยเป็นพลังงาน 
 คือการนำขยะมูลฝอยที่ติดไฟได้มาทำเป็นเชื้อเพลิงสำหรับต้มน้ำ หรือผลิตไอน้ำเพื่อไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้
การหมักทำปุ๋ย 
 ใช้วิธีนำขยะมูลฝอยที่ส่วนมากเน่าเปื่อยได้  มาผ่านขบวนการบดหมักทำลายของโรงงานกำจัดขยะมูลฝอย  เพื่อให้เกิดการย่อยสลายตัว  ขยะมูลฝอยที่ผ่านการหมักแล้ว  จะถูกนำไปผึ่งต่อที่ลานผึ่งประมาณ 40-60 วัน  เพื่อให้การย่อยสลายเป็นไปโดยสมบูรณ์  จากนั้นจะถูกนำไปร่อนแยกเอาส่วนที่จะใช้เป็นปุ๋ยต่อไป
ประเภทของขยะมูลฝอย
ขยะมูลฝอยอาจแบ่งออกได้ตามลักษณะส่วนประกอบของขยะมูลฝอย  ได้เป็น 10 ประเภท  ได้แก่ 
1.ผักผลไม้ และเศษอาหาร  ได้แก่  เศษผัก  เศษผลไม้  เศษอาหารที่เหลือจากการปรุงอาหารและเหลือจาก   การบริโภค  เช่น  ข้าวสุก  เปลือกผลไม้  เนื้อสัตว์  ฯลฯ 
2.  กระดาษ  ได้แก่  วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเยื่อกระดาษ  เช่น  กระดาษหนังสือพิมพ์ใบปลิว  ถุงกระดาษ  กล่องกระดาษ  ฯลฯ
3.  พลาสติก  ได้แก่  วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก  เช่น  ถุงพลาสติก  ภาชนะพลาสติก  ของเล่นเด็ก  ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส  ฯลฯ 
4.  ผ้า  ได้แก่  สิ่งทอต่าง ๆ  ที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติและใยสังเคราะห์  เช่น  ฝ้าย  ลินินขนสัตว์  ผ้าไนลอน  ได้แก่  เศษผ้า  ผ้าเช็ดมือ  ถุงเท้า  ผ้าขี้ริ้ว  ฯลฯ
5.  แก้ว  ได้แก่  วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้ว  เช่น  เศษกระจก  ขวด  หลอดไฟ  เครื่องแก้ว  ฯล
6.  ไม้  ได้แก่  วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้  ไม้ไผ่  ฟาง  หญ้า  เศษไม้  เช่น  กล่องไม้เก้าอี้  โต๊ะ  เฟอร์นิเจอร์  เครื่องเรือน  ฯลฯ
7.  โลหะ  ได้แก่  วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจากโลหะ  เช่น  กระป๋อง  ตะปู  ลวดภาชนะที่ทำจากโลหะต่าง  ฯลฯ
8.  หิน  กระเบื้อง  กระดูก และเปลือกหอย ได้แก่  เศษหิน  เปลือกหอย  เศษกระดูกสัตว์เช่น  ก้างปลา  เครื่องปั้นดินเผา  เปลือกหอย  กุ้ง  ปู  เครื่องเคลือบ  ฯลฯ
 9.  ยางและหนัง  ได้แก่  วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางและหนัง  เช่น  รองเท้า  กระเป๋าลูกบอล  ฯลฯ
10.วัสดุอื่น ๆ  ได้แก่  วัสดุที่ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มต่าง ๆ  ข้างต้น 

นอกจากนี้เราอาจแบ่งประเภทของขยะมูลฝอยทั้ง 
10 ประเภท  ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ                                 
1.  ขยะมูลฝอยที่เผาไหม้ได้  ได้แก่  กระดาษ  ผ้าหรือสิ่งทอ  ผักผลไม้และเศษอาหารพลาสติก  หญ้าและไม้
2.  ขยะมูลฝอยที่เผาไหม้ไม่ได้ ได้แก่  เหล็กหรือโลหะอื่น ๆ  แก้ว  หิน  กระเบื้องเปลือกหอย  ฯล 
          ถ้าแบ่งประเภทขยะตามแหล่งที่มา 
1. ขยะมูลฝอยจากถนน ( Street Refuse ) ได้แก่ เศษสิ่งของต่าง ๆ ที่ปรากฏและกวาดจากถนน ตรอก ซอย เช่น เศษกระดาษ ผง ฝุ่น ใบไม้ พลาสติก อิฐ หิน ทราย กรวด 
 2. ขยะมูลฝอยที่เกิดจากสิ่งที่เหลือจากการเผาไหม้ที่เรียกว่า ขี้เถ้า ( Ashes ) เช่น เถ้าที่เกิดจาก เตาไฟ, การเผาถ่าน ฯลฯ 
 3. ขยะมูลฝอยจากการก่อสร้าง ( Contruction Refuse ) ได้แก่ เศษวัสดุก่อสร้าง เช่น เศษไม้ เศษกระเบื้อง เศษปูน อิฐหัก ฯลฯ 
 4. ขยะมูลฝอยจากการรื้อถอนสิ่งก่อสร้าง ( Demolition Refuse ) ได้แก่ เศษสิ่งที่ไม่ต้องการที่เกิดจากการรื้อถอนอาคาร บ้านเรือนเก่า ฯลฯ 
 5. ซากสัตว์ ( Dead Animal ) จากสัตว์ตาย เน่าเปื่อย เหม็น 
 6. ซากยานพาหนะ ( Abandond Vehicles ) ทุกชนิดที่หมดสภาพ ใช้งานไม่ได้ รวมทั้งชิ้นส่วนประกอบ เช่น แบตเตอรี่ ยาง ฯลฯ 
 7. ขยะมูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรม ( Industrial Refuse ) ได้แก่ เศษวัตถุที่เกิดจากการผลิต หรือขั้นตอนการผลิต 
 8. ขยะมูลฝอยประเภททำลายยาก ( Hazardous Refuse ) ได้แก่ ขยะมูลฝอยที่ต้องการใช้กรรมวิธีทำลายเป็นพิเศษ เช่น พลาสติก ฟิลม์ถ่ายรูป กากแร่ธาตุต่าง ๆ 
  9. ขยะสด ( Garbage ) 
 10. ขยะแห้ง ( Rubbish ) 
  11. ขยะพิเศษ ( Special Wastes ) 
 12. ของใช้ชำรุด ( Buldy Wastes ) 
 13. ขยะจากการกสิกรรม ( Agricultural Wastes ) 
14. กากตะกอนของน้ำโสโครก ( Sewage treatment residues ) 
ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อสภาวะแวดล้อม
ขยะมูลฝอยนั้นนับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากรถ้าหากไม่มีการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ปัญหาความสกปรกต่าง ๆ ที่เกิดจากขยะมูลฝอย จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถ้ามองกันอย่างผิวเผินแล้ว ขยะมูลฝอยนั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อมนุษย์มากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อมนุษย์ ยังอยู่ในขั้นที่ไม่รุนแรงมากนัก ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่ชัดเจนเท่าไร แต่ในความเป็นจริงแล้วขยะมูลฝอยจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก และจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้เนื่องจาก
1. ขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรค เช่น แมลงวันแมลงสาบ ยุง ฯลฯ และเป็นที่ซุกซ่อนของหนูและสัตว์อื่นๆ
2. ขยะมูลฝอย ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญ 
3. ขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาด ถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ตามพื้น ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นสกปรกขาดความสวยงามเป็นที่รังเกียจแก่ผู้พบเห็นและผู้ที่อาศัยบริเวณใกล้เคียงนอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่ตกอยู่หรือถูกทิ้งลงในคูคลอง หรือทางระบายน้ำ จะไปสกัดกั้นการไหลของน้ำ ทำให้แหล่งน้ำสกปรกและเกิดการเน่าเสีย 
4. น้ำเสียที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมากซึ่งมีทั้งสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ เชื้อโรค และสารพิษต่าง ๆ เจือปนอยู่ เมื่อน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลไปตามพื้นดินบริเวณใด ก็จะทำให้บริเวณนั้นเกิดความสกปรกและความเสื่อมโทรมของ พื้นดินและอาจเปลี่ยนสภาพทำให้ดินมีคุณสมบัติเป็นดินด่างหรือดินกรดได้ในกรณีที่น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลลงสู่แหล่งน้ำก็จะทำให้คุณภาพน้ำเสียไป ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำผิวดินหรือแหล่งน้ำใต้ดินก็ตาม ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้ใช้น้ำและสิ่งที่มีชีวิตที่อาศัยในแหล่งน้ำ น้ำที่สกปรกมากหรือมีสารพิษเจือปนอยู่ ก็อาจทำให้สัตว์น้ำตายในเวลาอันสั้น นอกจากนั้นสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่เจือปนในน้ำ ก็จะส่งผลต่อระบบนิเวศของน้ำทำให้สัตว์น้ำที่มีค่าบางชนิดสูญพันธุ์ไป นอกจากนี้น้ำที่มีสิ่งสกปรกเจือปนย่อมไม่เหมาะแก่การอุป-โภคบริโภค แม้จะนำไปปรับปรุงคุณภาพแล้วก็ตามเช่นการทำระบบน้ำประปาซึ่งก็ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำมากขึ้น 
5. ขยะมูลฝอยทำให้เกิดมลพิษแก่อากาศ ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ในเขตชุมชน หรือที่กองทิ้งไว้ในแหล่งกำจัดซึ่งไม่มีการฝังกลบ หรือขณะที่ทำการเก็บขนโดยพาหนะที่ไม่มีการปกปิดอย่างมิดชิด ขยะมูลฝอยเหล่านั้นส่งกลิ่นเหม็นน่ารังเกียจออกมา เศษชิ้นส่วนของขยะมูลฝอย จะสามารถปลิวไปในอากาศทำให้เกิดความสกปรกแก่บรรยากาศซึ่งมีผลต่อสุขภาพของ มนุษย์และความสกปรกให้กับบริเวณข้างเคียงได ้นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้นานๆ จะมีก๊าซที่เกิดจากการหมักขึ้น ได้แก่ ก๊าซชีวภาพ ซึ่งติดไฟหรือเกิดระเบิดขึ้นได้ และก๊าซไข่เน่า (ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์) ซึ่งมีกลิ่นเหม็น


การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย 
ขยะมูลฝอยมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทำให้เกิดการปนเปื้อนของพื้นดิน  แหล่งน้ำและอากาศ  ทำให้บ้านเมืองไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย  ไม่เป็นที่เจริญของผู้ที่ได้พบเห็น  ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไป  การแก้ไขปัญหาของขยะมูลฝอย  จึงควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขผลเสียที่จะเกิดขึ้น  สำหรับการป้องกันและแก้ไขที่ดีควรพิจารณาถึงต้นเหตุที่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยขึ้นมา  ซึ่งก็คงจะหมายถึง  มนุษย์ หรือผู้สร้างขยะมูลฝอยนั้นเอง
 การป้องกันและการแก้ไขปัญหาของขยะมูลฝอย  เริ่มต้นด้วยการสร้างจิตสำนึกแก่มนุษย์ให้รู้จักรับผิดชอบในการรักษาความสะอาดทั้งในบ้านเรือนของตัวเอง และภายนอกบ้าน  ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง  สถานที่ทำงาน หรือที่สาธารณะอื่น ๆ  ให้รู้จักทิ้งขยะมูลฝอยลงในภาชนะให้เป็นที่เป็นทาง  ไม่มักง่ายทิ้งขยะเกลื่อนกลาด ทั้งนี้เป็นการช่วยให้พนักงานเก็บขยะนำไปยังสถานที่กำจัดได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น          
                  การเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย  การเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย  รวมถึงการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยเพื่อส่งไปกำจัดที่สถานกำจัดขยะมูลฝอย  มีขั้นตอนดังนี้     
 1.  การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย  คือการเก็บขยะมูลฝอยมาเก็บขนไปเทใส่รวบรวมในรถบรรทุกขยะ และการที่พนักงานกวาดถนนเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยไว้ให้รถขยะ  ขยะมูลฝอยที่รวบรวมจากแหล่งต่าง ๆ  จะถูกนำไปถ่ายใส่ในรถบรรทุกขยะ  เพื่อที่จะขนส่งต่อไปยังสถานกำจัดขยะมูลฝอย การเก็บรวบรวมขยะที่ถูกต้องภายในบ้านควรใช้ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด  น้ำไม่สามารถจะรั่วซึมได้  เช่น  ถังเหล็กหรือถังพลาสติก  การใช้ถังเหล็กอาจจะผุกร่อนได้ง่ายกว่าถังพลาสติก  ไม่ควรใช้เข่งในการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย
2.  การขนส่งขยะมูลฝอยการขนส่งขยะมูลฝอย  เป็นการนำขยะมูลฝอยที่เก็บรวบรวมได้จากแหล่งชุมชนต่าง ๆ  ใส่ \ในรถบรรทุกขยะเพื่อนำไปยังสถานที่กำจัด  ซึ่งอาจเป็นการขนส่งโดยตรงจากแหล่งกำเนิดขยะมูลฝอยไปยังสถานกำจัดเลยทีเดียว หรืออาจขนขยะมูลฝอยไปพักที่ใดที่หนึ่ง  ซึ่งเรียกว่าสถานีขนถ่ายขยะก่อนจะนำไปยังแหล่งกำจัดก็ได้
 3. การกำจัดขยะมูลฝอย วิธีการกำจัดขยะมูลฝอยที่ใช้ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  มีหลายวิธี  เช่น  นำไปกองทิ้งบนพื้นดิน  นำไปทิ้งลงทะเล  หมักทำปุ๋ย  เผากลางแจ้ง  เผาในเตาเผาขยะ และฝังกลบอย่างถูกหลักวิชาการ  เป็นต้น  การกำจัดขยะมูลฝอยดังที่กล่าวนั้น  บางวิธีก็เป็นการกำจัดที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อสภาพแวดล้อม และมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนด้วย    
            วิธีการกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกหลักวิชาการ  ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
 (1)  ไม่ทำให้บริเวณที่กำจัดขยะเป็นแหล่งอาหาร  แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคเช่น  แมลงวัน  ยุง และแมลงสาบ  เป็นต้น
 (2)  ไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนแก่แหล่งน้ำและพื้นดิน        

 (3)  ไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
 (4)  ไม่เป็นสาเหตุแห่งความรำคาญ  อันเนื่องมาจาก  เสียง  กลิ่น  ควัน  ผงและฝุ่นละออง
วิธีการกองทิ้งบนดิน  การนำไปทิ้งทะเล  รวมทั้งการเผากลางแจ้ง  ถือว่าเป็นวิธีการกำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง  เพราะทำให้เกิดปัญหาภาวะมลพิษต่อสภาพแวดล้อม  สำหรับวิธีที่ยอมรับทั่วไปว่าเป็นวิธีกำจัดที่ถูกต้อง คือ การเผาในเตาเผา  การฝังกลบ และการทำปุ๋ย
การกำจัดขยะมูลฝอยโดยใช้เตาเผาขยะ
  การเผาในเตาเผา  เป็นการเผาไหม้ทั้งส่วนที่เป็นของแข็ง  ของเหลง และก๊าซ  ซึ่งต้องใช้ความร้อนระหว่าง 1,300-1,800 องศาฟาเรนไฮต์  จึงจะทำให้การเผาไหม้เป็นไปอย่างสมบูรณ์  เนื่องจากความแตกต่างและลักษณะขององค์ประกอบของขยะมูลฝอยในแต่ละแห่ง  ดังนั้นรูปแบบของเตาเผาจึงแตกต่างกันไปด้วย  เป็นต้นว่า  ถ้าชุมชนที่มีขยะมูลฝอยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนิดที่เผาไหม้ได้ง่าย  เตาเผาขยะอาจใช้ชนิดที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงอย่างอื่นช่วยในการเผาไหม้  แต่ถ้าองค์ประกอบของขยะมูลฝอยมีส่วนที่เผาไหม้ได้ง่ายต่ำกว่าร้อยละ 30 (โดยน้ำหนัก) หรือมีความชื้นมากกว่าร้อยละ 50  เตาเผาที่ใช้ต้องเป็นชนิดที่ต้องมีเชื้อเพลิงช่วยในการเผาไหม้
 นอกจากนี้เตาเผาขยะมูลฝอยทุกแบบ  จะต้องมีกระบวนการควบคุมอุณหภูมิ  ควัน  ไอเสีย  ผงและขี้เถ้าที่อาจปนออกไปกับควันและปลิวออกมาทางปล่องควัน  เตาเผาที่มีประสิทธิภาพจะต้องลดปริมาณของขยะมูลฝอยลงไปจากเดิมให้มีเหลือน้อยที่สุด และส่วนที่เหลือจากการเผาไหม้นั้นก็จะต้องมีลักษณะคงรูป  ไม่มีการย่อยสลายได้อีกต่อไป และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างปลอดภัย
ข้อดี 
 1.  ใช้พื้นที่ดินน้อย  เมื่อเทียบกับวิธีฝังกลบ 
 2.  สามารถทำลายขยะมูลฝอยได้เกือบทุกชนิด 
 3.  สามารถสร้างเตาเผาในพื้นที่ที่ไม่ห่างไกลจากแหล่งกำเนิดขยะ  ทำให้ประหยัดค่าขนส่ง 
 4.  ไม่ค่อยกระทบกระเทือนเมื่อสภาพแวดล้อมของลมฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง 
 5.  ส่วนที่เหลือจากการเผาไหม้ (ขี้เถ้า)  สามารถนำไปถมที่ดินได้ หรือทำวัสดุก่อสร้างได้
 ข้อเสีย 
ค่าลงทุนในการก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม  บำรุงรักษาค่อนข้างสูง และอาจจะเกิดปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศได้ 
การกำจัดขยะมูลฝอยโดยวิธีการฝังกลบ
 วิธีการฝังกลบที่ถูกสุขลักษณะนั้น  จะต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสภาพแวดล้อม  รวมทั้งเหตุรำคาญอื่น ๆ  เช่น  กลิ่นเหม็น  ควัน  ฝุ่นละออง และการปลิวของกระดาษ  พลาสติกและอื่น ๆ  ซึ่งจะต้องควบคุมให้อยู่ภายในขอบเขตจำกัด  ไม่ทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่ทัศนียภาพของพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง  นอกจากนี้ยังจะต้องมีมาตรการในการควบคุมดูแลดังนี้
1.  ต้องควบคุมไม่ให้มีการนำของเสียอันตรายมากำจัดรวมกับขยะมูลฝอยทั่วไปในบริเวณที่ฝั่งกลบขยะ  นอกจากจะมีมาตรการการกำจัดโดยวิธีการพิเศษตามลักษณะของของเสียนั้น ๆ
2.  ต้องควบคุมให้ขยะที่ฝังกลบถูกกำจัดอยู่เฉพาะภายในขอบเขตที่กำหนดไว้  ทั้งบนพื้นผิวดินและใต้ดิน
3.  ต้องกำจัดน้ำเสียจากกองขยะอย่างถูกต้อง
4.  ต้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ  เช่น  ตรวจสอบการปนเปื้อนของแหล่งน้ำใต้ดินบริเวณใกล้เคียง
5.  ต้องคำนึงถึงทัศนียภาพของพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง  เช่น  การจัดให้มีสิ่งป้องกันการปลิวของขยะหรืออาจปลูกต้นไม้ล้อมรอบ  เป็นต้น
การฝังกลบเป็นวิธีการที่ใช้ในการกำจัดขยะมูลฝอยที่พื้นดินอย่างถูกต้องตามหลักสุขภิบาล  ไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญและเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม  ควรเทขยะมูลฝอยลงไปแล้วเกลี่ยให้กระจาย  บดทับให้แน่น  แล้วใช้ดินหรือวัสดุอื่นที่มีดินปนอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 กลบแล้วบดทับให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง
 วิธีการฝังกลบขยะมูลฝอย  อาจแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ  คือ
     1.  แบบถมที่ เป็นการฝังกลบขยะมูลฝอยในพื้นที่ที่เป็นหลุม  เป็นบ่อ หรือเป็นพื้นที่ที่ต่ำอยู่ก่อนแล้ว  และต้องการถมให้พื้นที่แห่งนั้นสูงขึ้นกว่าระดับเดิม  เช่น  บริเวณบ่อดินลูกรัง  ริมตลิ่ง  เหมืองร้าง หรือบริเวณที่ดินที่ถูกขุดออกไปทำประโยชน์อย่างอื่นมาก่อนแล้ว  เป็นต้น  ในพื้นที่เช่นนี้เราเทขยะมูลฝอยลงไป  แล้วเกลี่ยขยะให้กระจายพร้อมกับบดทับให้แน่น  จากนั้นก็ใช้ดินกลบ  แล้วจึงบดทับให้แน่นอีกเป็นครั้งสุดท้าย 
     2.  แบบขุดเป็นร่อง  เป็นการกำจัดขยะมูลฝอยแบบฝังกลบในพื้นที่ราบ  ซึ่งเป็นที่สูงอยู่แล้วและไม่ต้องการที่จะให้พื้นที่แห่งนั้นสูงเพิ่มขึ้นไปอีก หรือสูงขึ้นไม่มากนัก  แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการใช้พื้นที่ฝังกลบขยะมูลฝอยให้ได้จำนวนมาก ๆ  ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีขุดเป็นร่องก่อน  การขุดร่องต้องให้มีความกว้างประมาณ 2 เท่าของขนาดเครื่องจักรที่ใช้  เพื่อความสะดวกต่อการทำงานของเครื่องจักร และมีความยาวตลอดพื้นที่ที่จะฝังกลบ  ส่วนความลึกขึ้นอยู่กับระดับน้ำใต้ดิน  จะลึกเท่าไรก็ได้แต่ต้องไม่ให้ถึงระดับน้ำใต้ดิน  ส่วนมากจะขุดลึกประมาณ 2-3 เมตร และต้องทำให้ลาดเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง  เพื่อไม่ให้น้ำขังในร่องเวลาฝนตก  ดินที่ขุดขึ้นมาจากร่องก็กองไว้ทางด้านใดด้านหนึ่ง  สำหรับใช้เป็นดินกลบต่อไป  นอกจากนั้นยังสามารถใช้ทำเป็นคันดิน  สำหรับกั้นมิให้ลมพัดขยะออกไปนอกบริเวณได้อีกด้วย  ส่วนวิธีการฝังกลบขยะมูลฝอยก็ทำเช่นเดียวกับแบบถมที่คือ  เมื่อเทขยะมูลฝอยลงไปในร่องแล้วก็เกลี่ยให้กระจาย  บดทับแล้วใช้ดินกลบและบดทับอีกครั้งหนึ่ง 
         เมื่อฝังกลบขยะมูลฝอยในพื้นที่นั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว  อาจใช้พื้นที่นั้นเป็นประโยชน์  เช่น  เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ  สนามเทนนิส  สนามกอล์ฟ  ที่จอดรถ  สนามกีฬา  ศูนย์การค้าหรือก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยที่ไม่สูงเกินไป  หรืออาจปรับปรุงคุณภาพดินให้เหมาะแก่การปลูกพืช ซึ่งอาจจะนำหญ้าไม้พุ่ม   ไม้ยืนต้นมาปลูก  เพื่อตกแต่งให้สวยงามเป็นระเบียบยิ่งขึ้น การทำปุ๋ย ขยะมูลฝอยส่วนที่เป็นขยะเปียกนั้น  ส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ง่าย  ดังนั้นการนำไปกองทิ้งไว้ก็จะบูดเน่าและส่งกลิ่นเหม็น  แต่ถ้านำขยะส่วนนี้ไปหมักด้วยวิธีการที่ถูกต้องกลิ่นเหม็นจะลดลงไปได้อย่างมาก  นอกจากนั้นผลิตผลที่ได้ยังสามารถไปใช้เป็นปุ๋ยสำหรับบำรุงดินเพื่อการเกษตรได้อีกด้วย การหมักขยะมูลฝอยเพื่อทำเป็นปุ๋ยนั้น  เป็นการอาศัยกระบวนการทางชีววิทยา  ซึ่งจุลินทรีย์จะย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นแร่ธาตุที่ค่อนข้างจะคงรูปและมีคุณประโยชน์ต่อพืช  นอกจากนี้ของที่หมักได้ที่แล้วจะมีปริมาตรลดลงประมาณร้อยละ 30-65  และยังสามารถทำลายจุลินทรีย์บางชนิดที่อาจทำให้เกิดโรคได้อีกด้วย                                       การแปรสภาพและการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย การนำวัสดุเหลือใช้จากขยะมูลฝอยกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์  จะช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยที่จะต้องกำจัด  ในขณะเดียวกันก็เป็นการสงวนทรัพยากรธรรมชาติไว้ได้อีกส่วนหนึ่งด้วยการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือใช้ 

อาจใช้วิธีหมุนเวียนวัสดุหรือแปรสภาพขยะมูลฝอยให้เป็นพลังงาน
1.  การแปรสภาพขยะมูลฝอยเป็นพลังงาน เราอาจแปรสภาพขยะมูลฝอยเป็นพลังงานได้  ดังนี้คือพลังงานความร้อน  ได้จากการนำเอาขยะมูลฝอยส่วนที่เผาไหม้ได้  มาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับทำไอน้ำร้อน  แล้วส่งไปให้ความอบอุ่นตามอาคารบ้านเรือน  เช่นที่ทำอยู่ในประเทศญี่ปุ่น  เป็นต้น

พลังงานไฟฟ้า ได้จากการนำขยะมูลฝอยไปเป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไอน้ำไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า  เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าบริการแก่ประชาชน  ตัวอย่างเช่น  การแปรสภาพและการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยในบางรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งมีขยะมูลฝอยจำนวนมาก และเป็นชนิดที่เผาไหม้ได้เป็นส่วนมาก       
2.  การคัดแยกวัสดุเพื่อนำกลับมาใช้ วัสดุหลายอย่างในขยะมูลฝอยที่อาจนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก  เช่น  กระดาษ  แก้ว  ขวด  พลาสติก  เหล็กและโลหะอื่น ๆ  การคัดเลือกวัสดุต่าง ๆ  ที่รวมอยู่ในขยะมูลฝอยเพื่อนำกลับไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้อีก  นับได้ว่ามีการปฏิบัติกันมาช้านาน  จะเห็นได้ว่าตามกองขยะมูลฝอยทุกแห่งมีบุคคลกลุ่มหนึ่งไปคอยคุ้ยเขี่ยเก็บวัสดุจากกองขยะมูลฝอยตลอดเวลาเพื่อหารายได้
การเก็บวัสดุจากกองขยะมูลฝอยนั้น  อาจจะเกิดผลเสีย  คือ
1.  ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยของผู้แยกวัสดุจากกองขยะมูลฝอย  ที่อาจเป็น
อันตรายเนื่องมาจากความสกปรกของขยะมูลฝอย  ซึ่งมีได้ทั้งเชื้อโรคและสารพิษ  รวมทั้งของมีคมวัตถุระเบิด และสารกัมมันตรังสี  เป็นต้น
 2.  ปัญหาจากการที่นำเอาวัสดุที่เก็บมาได้เอามากองรวม ๆ กัน  เพื่อรอจำหน่ายนั้น  ทำให้
เกิดกองขยะขึ้นมาอีกส่วนหนึ่ง  ซึ่งสกปรกรกรุงรังเป็นที่อาศัยของสัตว์และแมลงนำโรค  เป็นสภาพที่น่ารังเกียจ  ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง
 3.  การนำขยะมูลฝอยไปถมที่ดินเพื่อปรับปรุงสภาพ ขยะมูลฝอยเกือบทุกชนิดสามารถนำไปใช้สำหรับถมที่ดินที่เป็นหลุมเป็นบ่อ  เช่น  บ่อดินลูกรัง  ที่น้ำท่วม  เหมืองร้าง  ฯลฯ  ทำให้ที่ดังกล่าวกลายเป็นพื้นที่ราบเรียบ  ใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายประการ  เช่น  ทำสนามกีฬา  สนามกอล์ฟ  สวนสาธารณะ  สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ  แม้กระทั่งสร้างเป็นอาคารที่ทำงานหรือที่อยู่อาศัย  ในต่างประเทศมีการใช้พื้นที่ดินที่เกิดจากการถมด้วยขยะมูลฝอยแบบการฝังกลบและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
 ประเทศไทยก็ได้ใช้ขยะมูลฝอยไปถมที่ทำประโยชน์  เช่น  ที่สวนจตุจักร  ซึ่งเดิมเป็นที่ลุ่มน้ำท่วม และเต็มไปด้วยพงหญ้ารกมาก และไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่อย่างใด  ต่อมาได้มีการนำเอาขยะมูลฝอยจากสถานกำจัดขยะดินแดงมาถมที่บริเวณสวนจตุจักร และปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจดังที่ปรากฎอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้เราควรที่จะใส่ใจกับขยะอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพของเราด้วยการสัมผัสครั้งเดียวในระยะเวลาสั้นในปริมาณมาก ทำให้เกิดอาการระคายเคือง อักเสบหายใจไม่ออก และเสียชีวิตได้แบบเรื้อรัง  เป็นการสัมผัสสารพิษเป็นเวลานานๆ หรือมากเกินไปจะเกิดการสะสม พิษแบบนี้น่ากลัวกว่าเพราะเรามักได้รับโดยไม่รู้ตัว และอาจทำให้เราเป็นมะเร็งได้
ลดปัญหาขยะอันตราย ได้อย่างไร
1.   เลือกซื้อ เลือกใช้ให้คุ้มค่า หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารอันตราย เช่น แบตเตอรี่ราคาถูก โดยให้เลือกใช้แบตเตอรี่อัลคาไลน์ แทน   เลือกใช้สารสกัดจากธรรมชาติหรือสมุนไพรแทนสารเคมีสังเคราะห์   เลือกใช้สิ้นค้าที่คำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยสังเกตจากฉลากเขียวหรือฉลากจากสิ่งแวดล้อม
2.  ปฏิบัติตามคำเตือนเกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างเคร่งครัด
3.  ไม่ทิ้งขยะอันตรายปนเปื้อนไปกับขยะทั่วไป เพราะจะทำให้สารพิษปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม
4.   ควรแยกขยะอันตรายอย่างระมัดระวังและปลอดภัย 
สรุป  
จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและทางอุตสาหกรรมในปัจจุบันทำให้เป็นปัญหาที่สำคัญของชุมชน  และสังคมจะต้องมีส่วนร่วมในการจัดการแก้ไข  ถ้าหากมนุษย์เรายังไม่อยากที่จะใช้ชีวิตร่วมกับขยะมูล ควรร่วมมือกันในการบริหารจัดขยะ ด้วยการคัดแยกขยะ ประเภทที่ย่อยสลายได้อาจนำไปฝังกลบอย่างถูกวิธี เศษอาหาร เศษใบไม้กิ่งไม้ มูลสัตว์ อาจนำไปผลิตเป็นปุ๋ยหมัก เป็นก๊าซชีวภาพ ขยะประเภทเศษกระดาษ พลาสติก โลหะ แก้วสามารถนำกลับมารีไซเคิลผลิตเป็นสิ่งของเครื่องใช้ได้ใหม่ คนจะไม้คนละมือ สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ถุงพลาสติกให้น้อยที่สุดเพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอย และการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี เริ่มแต่ตั้งเดี๋ยวนี้ เพื่อให้โลกใบนี้ของเรายังน่าอยู่น่าอาศัยต่อไป
โรคที่พบร่วม
มากกว่า 25 กก/ตารางเมตร(เอเชีย)
มากกว่า 30 กก/ตารางเมตร
(ชาวยุโรป)
รอบเอวมากกว่า 90 ซม. 80 ซม.(ชาวเอเชีย)
รอบเอวมากกว่า 94 ซม. 80 ซม.(ชาวยุโรป)
โรคเบาหวานชนิดที่2
สำหรับท่านผู้อ่านท่านต้องคำนวณดัชนีมวลกายว่าท่านจัดอยู่ในกลุ่มใดเพื่อจะได้มีแนวทางในการในการดูแลตัวเอง
-ผู้ที่มีดัชนีมวลกายประมาณ25 ถ้าหากมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานเช่นมีพี่ น้อง พ่อแม่เป็นเบาหวาน มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ แนะนำให้ลดน้ำหนักลงจนดัชนีมวลกายประมาณ 22
สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อความอ้วน
 เส้นใยอาหารจากพืช   Capsaicin,  วิตามิน B2, B6, C, E Lecithi  กรดแพนโทรเทนิค   และอื่นๆ
ข้อแนะนำ
ยิ่งทานไม่ครบ  3  มื้อ  ก็ยิ่งอ้วนง่าย หากระหว่างมื้อระยะเวลาห่างกันมากก็ยิ่งทำให้กินอาหารมื้อต่อไปจุขึ้น เพราะร่างกายหิวเป็นเวลานานนั่นเอง ทางที่ดีทานให้ครบ 3 มื้อ ในปริมาณพอสมควร มื้อเช้าและมื้อกลางวันควรทานให้พอ ส่วนกลางคืนทานนิดหน่อย  ห้ามทานอาหารตอนดึกๆ หรือทานจนพุงกาง  เคล็ดลับในการทานอาหารเพื่อให้ได้วิตามิน  เกลือแร่ครบ  ในระหว่างที่กำลังควบคุมพลังงานก็คือ  ทานอาหารหลากชนิด  หรือมีส่วนผสมหลายอย่างระหว่างมื้ออาหารควรดื่มนม  1 แก้วหรือผลไม้ ทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารหรือผักสีเขียว สีเหลือง เป็นต้น ควรเคียวอาหารช้าๆ  ตามสบาย  เพื่อให้สมองมีเวลาสั่งการให้รู้สึกอิ่มทันเวลา  หากทานเร็ว  จะทำให้ทานเข้าไปมากเกินขนาดก่อนที่สมองจะสั่งการให้มีความรู้สึกอิ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น