วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

สังคมไทยคาดหวังอะไรจากวัยรุ่นปัจจุบัน นางสาวเพ็ญนะภา วัฒนะภาราดา 53242254


บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง สังคมไทยคาดหวังอะไรจากวัยรุ่นปัจจุบัน

ทุกครั้งที่เราได้เห็นภาพของเด็กวัยรุ่นผู้หญิง แต่งตัววาบหวิวเซ็กซี่ แต่งหน้าแต่งตายั่วยวนกิเลสต่อเพศตรงข้าม  บางทีก็นั่งจู๋จี๋คลอเคลียในที่สาธารณะหรือเด็กวัยรุ่นผู้ชายแต่งตัวเหมือนจิกโก ขับขี่มอเตอร์ไซด์อย่างรวดเร็วเร่งรีบ ไร้สติกำกับตัวเอง และ ไม่เคยคิดเสียดายชีวิตตัวเอง  และอย่างไร้ความประมาทปัจจุบันสิ่ง ต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ วัยรุ่นกำลังทำ ทำให้ผู้ใหญ่อย่างเราต้องกลับมาคิดทบทวนถึงสิ่งที่เรากำลังปลูกฝังให้กับ เด็กในสังคมไทยกันเสียใหม่แล้วตัวอย่าง พฤติกรรมเหล่านี้ ถ้าเราได้นึกย้อนไปถึงองค์ประกอบทางสังคมไทยเรา เราได้สัมผัสกับสังคมหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่มีแต่ไร่นา หาสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ แล้วตัวอย่างของการแต่งตัวเซ็กซี่  แต่งหน้าแต่งตาทำตัวรวยเพื่อจะให้ผู้หญิงมาติดพันและหวังฟันผู้หญิงคงจะหาได้ยากมากในสังคมไทย จึงมีคำถามว่า พวกเด็กวัยรุ่นได้ซึมซับเรียนรู้วัฒนธรรมเหล่านี้มาจากไหน จึงยอมเอามาเป็นตัวอย่างของการดำเนินชีวิตปัจจุบันแบบไร้ความอายท่านผู้อ่านหลายท่านคงจะมีความคิดว่า เป็นเพียงแค่ความคิดและการกระทำในช่วงวัยรุ่นเท่านั้นแต่ ถ้าเรามองย้อนความคิดให้ลึกลงไป พวกเราในฐานะผู้ใหญ่คงจะคิดให้มาก ๆ และคิดให้ลึก ๆ ว่า ถ้าทัศนคติเหล่านี้ฝังอยู่ในจิตใจของเด็กวัยรุ่นแล้ว จะเป็นสิ่งที่ติดตัวกลายเป็นเป็นนิสัยและการกระทำจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่เด็กถ้าเรามองแล้วเหมือนกับผ้าขาวที่รอสีแต้ม  เปื้อนหรือแจ่มก็ขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่เรา ในฐานะผู้ใหญ่ อยากจะให้เขาเป็นผู้มองโลกในแง่ที่ดีและเติบโตท่ามกลางสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่ดีงาม ไม่อยากให้สิ่งที่เห็นคือสังคมกำลังปลูกฝังความคิดที่สกปรกทำให้เด็กได้แปด เปื้อนไปด้วยสิ่งยั่วยุทางกามารมณ์ กระตุ้นให้เกิดราคะตัณหาตั้งแต่อายุน้อย ๆ  เพราะ
เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า  ทำทีท่าละม้ายคลายแม่พ่อผ้าผู้ใหญ่ดี เด็กก็ดีตามเหล่ากอ  ถ้าผู้ใหญ่บ้าเด็กก็บอพอ ๆ กันเมื่อ มองย้อนดูสาเหตุแล้ว เกิดจากผู้ใหญ่ในสังคมที่ชื่นชมกับกระแสแห่งการบริโภคที่ไหล่บ่าจากวัฒนธรรม ตะวันตกโดยรับเอาเทคโนโลยีในยุคสมัยใหม่โดยไม่ได้ไต่ตรองและปรับใช้ให้เหมาะ สมกับภูมิปัญญาและวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยสิ่งที่เห็นปรากฏอยู่เป็นประจำทุกวันคือ  เปิด ทีวีก็มีแต่ละครน้ำเน่า เกมโชว์บางเกมก็ไร้สาระมุ่งให้เด็กเป็นคนที่อยากได้เห็นแก่ตัวมากขึ้น และแถมโฆษณาที่มุ่งแต่หลอกขายของแก่เด็กอย่างไร้จริยธรรมด้าน รายการวิทยุ คิดอยากจะฟังเพลงเปิดวิทยุก็มีแต่เพลงที่มีเนื้อหาชวนฝันเฟื่อง มีแต่ความลุ่มหลงไขว่คว้าหาความรัก ฟังผู้ดำเนินรายการก็มีแต่ชวนซื้อนั้นซื้อนี่ โดยเฉพาะมือถือรุ่นไหนอินเทรนด์ของยี่ห้อไหนกำลังดัง ยั่วยวนกิเลสให้เด็กวัยรุ่นเกิดความอยาก ที่จะต้องมีให้เหมือนคนอื่นให้ได้ดู ด้านอินเตอร์เน็ตก็ไม่วายแทนที่จะได้รับข่าวสารที่ทันสมัยกลับแฝงไปด้วย เวปไซด์ที่สื่อทางลามกอนาจาร ที่วันที่คืนดีโผล่มาให้เห็นโดยไม่ได้รับเชิญทุก วันนี้เทคโนโลยีได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนในสังคมไทยมากมายเหลือ เกิน ไม่ว่าจะอยู่ทีไหน สามารถเข้าได้ทุกที่ ทุกเวลา แต่ที่ต้องตระหนักและเอาใจใส่มากที่สุดคือเรื่องของจริยธรรม เพราะคนในสังคมปัจจุบันคือมองเป็นสิ่งที่ไร้ค่า และแทบจะลืมสิ่งเหล่านี้ไปหมดแล้วสังคมไทยกลายเป็นสังคมยุคใหม่ ที่เจริญไปด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ยิ่งความเจริญทางด้านเทคโนโลยีทันสมัยเท่าใด จริยธรรมและคุณธรรมที่ดีงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทยก็เริ่มเลือนรางจางหายไป  คุณธรรม ที่พึงจะมีแก่คนในสังคมก็เริ่มตกต่ำลงไปทุก ๆวัน กลายเป็นพลวัตที่ทำให้เกิดความสับสนในชีวิตมนุษย์อันเกิดจากการพัฒนาที่รวด เร็วไม่ได้มีความคิดต่อต้านความเจริญเหล่านี้แต่อย่างใด  แต่การเจริญทางเทคโนโลยีและการนำมาบริโภคโดยเฉพาะกับเด็กวัยรุ่นเยาวชน  เรา ในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่ควรที่จะใส่ใจและตระหนักให้มากและควรมีจิตสำนึกที่จะ ไม่นำสื่อที่ชักจูง มอมเมาปลูกฝังค่านิยมที่ผิด จนเด็กเยาวชนจะมีนิสัยฟุ่มเฟือย และมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาสมและผลสุดท้ายสังคมก็จะกลายเป็นสังคมที่ไร้คุณธรรม และจริยธรรมอยาก จะให้ผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ผลิตสื่อที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ควรกำหนดมาตรการควบคุมอย่างเคร่งครัด มีขอบเขต และยึดมั่นในจริยธรรมในอาชีพ และควรที่จะตระหนักอยู่เสมอว่า เด็กได้รับอะไรไปจากเราบ้าง  อย่าง น้อยที่สุดเด็กได้รับรู้หรือเรียนรู้ตัวอย่างจากเราแล้วกลับกลายเป็นการ สร้างจุดดำขาวให้สร้างปัญหาในชีวิตให้กับเด็กในระยะยาว ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดที่ไม่น่าให้อภัยเป็นอย่างยิ่ง
โดย เฉพาะสถาบันครอบครัวในปัจจุบัน ที่พ่อแม่มักจะให้อิสระในด้านความคิดกับเด็ก ๆ มักปล่อยให้เด็ก ๆ เติบโตมาในสังคมที่อาศัยสิ่งไม่มีชีวิตและยึดติดกับวัตถุภายนอกร่างกายเกิน ไป  เด็ก ๆ เคยชินกับความสะดวกสบายกับการสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือ แซทผ่านทางอินเตอร์เนต ปล่อยให้ภาพยนตร์ต่างประเทศ  ดีเจทางวิทยุ ละครน้ำเน่า เกมโชว์ทางโทรทัศน์  รวม ทั้งเวปโป๊ที่แฝงมาในรูปอินเตอร์เนตมามีบทบาทสำคัญในชีวิต กล่อมเกลาชีวิตเด็กเยาวชนให้ลุ่มหลงไปกับกระแสนิยม ซึ่งจะเป็นการบ่อนทำลายศีลธรรมที่ดีงามของสังคมไทยไปจนหมดสิ้น
อยากจะเห็นสถาบันครอบครัวที่มีคุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่ ได้ใส่ใจให้เด็กเยาวชนมีนิสัยแห่งการเรียนรู้ที่ถูกต้อง  โดยเด็กใฝ่ใจศึกษา มีจรรยามารยาทที่งดงาม ไม่วู่วามตามกระแสสังคมโลกเกินไป และอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยไม่ไหล่ไปตามกระแสแห่งตะวันตก  และอยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  เยาวชนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพราะจะได้เป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

อิทธิพลของสถาบันครอบครัว
 ครอบครัวเป็นสถาบันแห่งแรกที่จะสร้างพฤติกรรมที่ทำให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่กลายเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อคนรอบข้าง หรือกลายเป็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษเป็นภัยต่อคนอื่น ซึ่งจะพัฒนาต่อไปเป็นบุคคลที่มีปัญหาในสังคม แต่อย่างไรก็ตาม มีครอบครัวเพียง 10 แบบเท่านั้น ที่จะสร้างเด็กให้เติบโตขึ้นเป็น

ผู้ใหญ่ที่เป็นภาระและเป็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษแก่สังคม ตั้งแต่ระดับน้อยๆจนถึงระดับรุนแรงที่สุด ครอบครัวเจ้าปัญหามีดังนี้ครับ

   แบบที่ 1 ครอบครัวที่โอ๋เด็กมากเกินไป ส่วนมากมักจะเป็นครอบครัวที่ประกอบด้วยพ่อแม่ที่มีปมปัญหาฝังใจ ผลักดันให้แสดงพฤติกรรมดังกล่าวได้แก่ พ่อ หรือ แม่ที่ไม่เคยรักกันมาก่อน แต่ต้องแต่งงานกันด้วยความจำเป็นบางประการ แม่จึงหันไปรักลูกแทนสามี หรือพ่อแม่ทึ่ขาดความรัก ความอบอุ่นมาแต่เด็กจึงตั้งปณิธานไว้ว่า ถ้ามีลูกจะให้ทุกอย่างแก่ลูก แต่เนื่องจากไม่เคยได้รับความรักมาก่อน จึงไม่รู้ว่าควรให้แค่ไหนจึงจะพอ หรือพ่อแม่ที่เคยรักกันและเมื่อเกิดความไม่เข้าใจกัน จึงหันไปรักลูกแทน พ่อมักจะรักลูกสาวและแม่มักจะรักลูกชายอย่างลึกซึ้ง ซึ่งมีสูงมากถึง 75 % เป็นการย้ายความรักที่เคยมีกับพ่อไปลงที่ลูกชายแทนจึงสนใจลูกไปทุกอย่าง ทำให้หมดทุกอย่างด้วยความรัก ผลที่ติดตามมาคือเด็กจะถูกทำลายพฤติกรรมด้วยความรักโดยแม่ไม่รู้ตัวกลายเป็นเด็กไม่กล้าคิด ไม่กล้าทำและไม่กล้าตัดสินใจ ต้องพึ่งผู้อื่นตลอดเวลา ที่หนัก
มากกว่านั้นคือเมื่อเด็กแสดงความรำคาญ มีปฎิกิริยาต่อต้านก็จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง ในที่สุดเด็กไม่สามารถพัฒนาบุคลิกภาพไปตามอายุได้ กลายเป็นเด็กฝ่อทั้งความคิดและพฤติกรรมที่แสดงออก กลายเป็นพวกมีบุคลิกภาพแปรปรวนหรือมีอาการทางประสาทหรืออาการทางจิตไปในที่สุด
 แม่บางคนสนใจลูกชายมากเกินไป และชอบประณามพ่อให้ลูกฟังอยู่เสมอๆจนเด็กดูถูกพ่อ เห็นแม่เก่งกว่า ฉลาดกว่า เด็กก็จะลอกเลียนแบบพฤติกรรมของแม่มาเป็นบุคลิกของตน กลายเป็นพวกสับสนในความเป็นหญิงหรือชาย หรือกลายเป็นพวกรักร่วมเพศหรือลักเพศไปในที่สุด อีกแบบหนึ่งคือแม่ที่หลงรักลูกชายมากจนรู้สึกเหมือนลูกชายเป็นสามีคนที่สองก็จะ
คอยหึงหวงผู้หญิงที่มารักลูกชายของตน ทำให้เกิดปมแม่ผัวลูกสะใภ้ บางรายไปไกลถึงขนาดพยายามจะให้ลูกเป็นสามีของตน ผลคือลูกจะเกิดความสับสนว่าเป็นความชั่ว ความเลว เป็นบาป และจะกลายเป็นโรคจิตไป พ่อแม่ที่โอ๋ลูกมากเกินไป ความจริงก็คืออยากให้ลูกสนใจตนนั่นเอง ทุกคนทำอะไร
ทุกอย่างก็เพื่อตนเองทั้งนั้น จะเห็นได้ว่าพ่อแม่ที่โอ๋เด็กนั้นเป็นวิธีลงทุนเพื่อให้เด็กตามใจตนเอง ไม่ใช่เป็นวิธีตามใจเด็ก แต่ลงทุนเพื่อให้เด็กทำตามที่ตนต้องการ พ่อแม่มีปมด้อยในเรื่องอะไร เช่น เรียนไม่เก่งก็อยากให้ลูกเรียนเก่งๆ หรือมีปมโด่งที่ตนเคยทำได้มาก่อน เคยประสบความสำเร็จด้วยความเหนื่อยยากมาก่อน ก็อยากให้ลูกเก่งเหมือนตนจึงพยายามผลักดันเด็กในปมที่ตนมีเหล่านี้ ผลที่ตามมาคือ เด็กถูกทำลายพัฒนาการทั้งด้านความคิด ความภูมิใจในตัวเอง ความเชื่อมั่นในตัวเองลง ด้วยความรักของพ่อแม่ที่ปราศจากความเข้าใจเป็นพื้นฐานนั่นเอง จึงกลายเป็นเด็กที่เบื่อหน่ายชีวิต มีปัญหาในการปรับตัวกับเพื่อน เพราะขาดการ

เอแบคโพลล์: อิทธิพลของสื่อต่อเด็กและเยาวชนไทย ในยุคโลกไร้พรมแดน
ข่าวผลสำรวจ เอแบคโพลล์ -- พุธที่ 10 สิงหาคม 2554 10:05:33 น.
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยโครงการเฝ้าระวังและรักษาคุณภาพอนาคตเยาวชนไทย ในงานวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง อิทธิพลของสื่อต่อเด็กและเยาวชนไทย ในยุคโลกไร้พรมแดน กรณีศึกษาตัวอย่างอายุ 12 — 24 ปี จำนวน 1,815 ตัวอย่าง จากกลุ่มเด็กและเยาวชนเป้าหมายในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,606,286 คน ดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 1 - 9 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา โดยการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้นและมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบครั้งนี้ พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.5 ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านโทรทัศน์ แต่ที่น่าสนใจคือ อินเทอร์เน็ตมาแรงเป็นอันดับสองของแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เด็กและเยาวชนไทยติดตามโดยคิดเป็นร้อยละ 81.4 ที่ใช้ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 42.5 ระบุเป็นหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 30.9 ระบุเป็นโทรศัพท์มือถือ / SMS ร้อยละ 23.1 ระบุเป็นวิทยุ และร้อยละ 18.7 ระบุเป็นนิตยสาร
เมื่อสอบถามถึงประเภทรายการที่ติดตามเป็นประจำ พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 66.3 ระบุเป็นเพลง / เอ็มวี รองลงมาคือร้อยละ 49.8 ระบุเป็นละคร ร้อยละ 43.6 ระบุเป็นข่าว ร้อยละ 42.3 ระบุเป็นเกม และร้อยละ 40.0 ระบุเป็นการ์ตูน รองๆ ลงไปได้แก่ แฟชั่น กีฬา ซุบซิบดารา ซีรีย์ต่างๆ และสารคดี ตามลำดับ
เมื่อถามถึงการรับชมโทรทัศน์ที่บ้าน พบว่า ร้อยละ 53.2 ระบุมีคนอื่นดูด้วย ในขณะที่ร้อยละ 46.8 ดูตามลำพัง และเมื่อสอบถามว่า ทำอย่างไรในการชมโทรทัศน์เมื่อเห็นรายการแสดงเรตติ้ง และ/หรือ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.3 ดูต่อ (ตั้งแต่ต้นจนจบ / ดูเป็นบางช่วงบางตอน) โดยมีเพียงร้อยละ 14.7 ที่เปลี่ยนช่อง
สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ดูอยู่กับพ่อแม่และผู้ปกครอง ระบุว่า เมื่อเห็นรายการโทรทัศน์ที่แสดงเรตติ้ง และ/หรือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.2 ระบุดูต่อ โดยพ่อแม่ ผู้ปกครองให้คำแนะนำ ในขณะที่ร้อยละ 20.9 ดูต่อโดยพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ได้ให้คำแนะนำ และร้อยละ 22.9 เปลี่ยนช่อง
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.0 เคยดูละครโทรทัศน์ที่มีเนื้อหารุนแรงหรือการมีเพศสัมพันธ์เกินเลย ในขณะที่เพียง   ร้อยละ 6.0 ไม่เคยดู นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อชมละครโทรทัศน์นี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.9 ของคนที่ดูแล้ว      เกิดความรู้สึกร่วม เช่น โกรธ เศร้า เกิดความต้องการ เป็นต้น
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามถึงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ร้อยละ 39.1 เริ่มเล่นตอนอายุน้อยกว่า 10 ปี ร้อยละ 54.5  เริ่มเล่นตอนอายุระหว่าง 10 — 15 ปี ในขณะที่ ร้อยละ 6.2 เริ่มตอนอายุ 16 — 20 ปี และเพียงร้อยละ 0.2 ที่เริ่มตอนอายุ 21 — 24 ปี โดยอายุน้อยสุดที่เริ่มใช้อินเทอร์เน็ตคือ 3 ปี และอายุเฉลี่ยที่เริ่มใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรกคือ 11 ปี
สำหรับสถานที่ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.3 ระบุใช้ที่บ้าน รองลงมาคือร้อยละ 38.7 ระบุใช้ที่โรงเรียน / สถานศึกษา ร้อยละ 31.7 ระบุที่ร้านเกม ในขณะที่รองๆ ลงมาคือ อินเทอร์เน็ตค่าเฟ่ และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.0 ใช้อินเทอร์เน็ตตามลำพัง ในขณะที่ร้อยละ 30.0 ระบุมีผู้ปกครองอยู่ด้วย นอกจากนี้ ร้อยละ 42.3 ระบุไม่มีการควบคุมเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 35.5 ระบุจำกัดเวลาการใช้ ร้อยละ 24.2 ว่ากล่าวตักเตือน ร้อยละ 17.1 ปล่อยให้ใช้เหมือนเดิม และเพียงร้อยละ 14.3 ที่แนะนำเว็บไซต์ที่เหมาะสม
เมื่อถามถึงวัตถุประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.6 ระบุใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่เป็นความรู้ ร้อยละ 68.1 ใช้แชทผ่าน twitter, Facebook, MSN, Yahoo, ICQ ร้อยละ 63.6 ดาวน์โหลดเพลง / ภาพยนตร์ ร้อยละ 58.6 เล่นเกม    ร้อยละ 48.1 รับ-ส่ง อีเมล ร้อยละ 44.3 ติดตามข่าวสาร ร้อยละ 35.4 ดาวน์โหลดโปรแกรม ร้อยละ 19.1 อ่านกระทู้ ตั้งกระทู้ ร้อยละ 12.4 ซื้อของ/ ช็อปปิ้ง ร้อยละ 12.2 แชทในห้องแชทรวม และร้อยละ 8.3 ดู/โหลดภาพ/คลิปโป๊ ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงการนัดเจอกับคนที่เพิ่งรู้จักทางอินเทอร์เน็ต พบว่า ร้อยละ 4.1 เคยบ่อย/เกือบทุกครั้ง ร้อยละ 19.6 เป็นบางครั้ง ในขณะที่ร้อยละ 76.3 ไม่เคยเลย
ที่น่าพิจารณาคือ ร้อยละ 12.4 โกหกหรือให้ข้อมูลเท็จกับคนที่เพิ่งรู้จักทางอินเทอร์เน็ตบ่อยๆ หรือเกือบทุกครั้ง ในขณะที่ร้อยละ 46.3 โกหกเป็นบางครั้ง และร้อยละ 41.3 ไม่เคยเลย
เกินครึ่งหรือร้อยละ 55.3 เคยดูภาพโป๊ เว็บโป๊ทางอินเทอร์เน็ต ในขณะที่ร้อยละ 44.7 ไม่เคยเลย เมื่อถามถึงการเล่นเกมออนไลน์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.9 เคยเล่น ในขณะที่ร้อยละ 43.1 ไม่เคยเล่น
สำหรับประเภทของเกมออนไลน์ที่นิยมเล่น พบว่า ร้อยละ 46.1 เล่นเกมต่อสู้ เช่น แร็กนาร๊อก ยิงปืน ฟัน เตะต่อย ร้อยละ 37.4 เกมกีฬา เช่น ฟุตบอล เทนนิส ร้อยละ 36.9 ระบุเกมลับสมอง ร้อยละ 34.4 ระบุเกมที่เกี่ยวกับสงคราม และรองๆ ลงมาคือ เกมฝึกทักษะ       เกมขโมยของ เกมเปลื้องผ้า และเกมดักฉุดหญิงสาว ตามลำดับ
ที่น่าเป็นห่วงคือ ร้อยละ 37.1 มองว่าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหารุนแรง เช่น การทำระเบิด ฆาตกรรม ยาเสพติด ความรุนแรงทางเพศ เป็นเรื่องปกติธรรมดา / น่าสนใจ ร้อยละ 27.2 รู้สึกตกใจ อันตราย / สะเทือนใจ ในขณะที่ร้อยละ 34.8 ระบุไม่น่าสนใจ และ  ร้อยละ 0.9 ไม่เคยเข้าไปดูเว็บไซต์ลักษณะดังกล่าว
ผลสำรวจพบด้วยว่า ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.1 เกิดความรู้สึกอยากเลียนแบบเว็บไซต์ที่มีเนื้อหารุนแรง ในขณะที่ ร้อยละ 49.9 ไม่คิดลอกเลียนแบบเลย
เมื่อสอบถาม สิ่งที่เด็กและเยาวชนไทยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเคยทำในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือ  ร้อยละ 79.3 ใช้คำหยาบพูด มึง กู และอื่นๆ กับเพื่อน รองลงมาคือ ร้อยละ 36.0 ดื่มเหล้า ร้อยละ 28.1 มีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 25.1 เล่นการพนัน ร้อยละ 24.5 สูบบุหรี่ ร้อยละ 22.0 ทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น โดยใช้อาวุธและสิ่งของ      ร้อยละ 19.9 ใช้คำหยาบ พูด มึง กูกับคนในครอบครัว
ที่น่าเป็นห่วง คือ ผลการประมาณการจำนวนเด็กและเยาวชนไทยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ใช้ยาเสพติด (ไม่นับรวมเหล้าและบุหรี่) พบว่า มีอยู่ 202,392 คน และจำนวนมากที่สุดอยู่ที่ กว่าสามแสนคน หรือ 327,682 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 13.4 ของประชากรทั้งหมด (ไม่นับประชากรแฝงและกลุ่มแรงงานต่างชาติ)
นอกจากนี้ร้อยละ 12.6 และร้อยละ 12.5 ระบุเคยถ่ายรูป คลิปโป๊ผ่านมือถือ และลักเล็กขโมยน้อย ในขณะที่ผลประมาณการจำนวนเด็กและเยาวชนไทยที่ขายบริการทางเพศในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอยู่ 120,471 คน และจำนวนที่มากที่สุดอยู่ที่กว่าสองแสนคน หรือ 232,912 คนที่ขายบริการทางเพศหรือคิดเป็นร้อยละ 7.5 ของประชากรทั้งหมดที่เป็นเด็กและเยาวชนไทยอายุระหว่าง 12 — 24 ปี                (ไม่นับประชากรแฝงและกลุ่มแรงงานต่างชาติ)
ที่น่าพิจารณา คือ เมื่อใช้สถิติวิจัยค่า Odds Ratio มาวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างการรับสื่อที่มีเนื้อหารุนแรงกับพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับเด็กและเยาวชนที่ไม่ได้รับสื่อที่มีเนื้อหารุนแรง พบว่า เด็กและเยาวชนที่ได้รับสื่อที่มีเนื้อหารุนแรงมีโอกาสใช้คำหยาบพูด มึง กู และอื่น ๆ กับเพื่อนมากกว่า 3 เท่า ดื่มเหล้ามากกว่า 3 เท่า มีเพศสัมพันธ์มากกว่า 3 เท่า เล่นการพนันมากกว่า 2 เท่า สูบบุหรี่มากกว่า 3 เท่า ทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นโดยใช้อาวุธและสิ่งของมากกว่า 2 เท่า ใช้คำพูดหยาบคายพูด มึง กูกับคนในครอบครัวมากกว่า 2 เท่า ใช้ยาเสพติด (ไม่รวมเหล้าบุหรี่) มากกว่า 4 เท่า ถ่ายรูป/คลิปโป๊ผ่านมือถือมากกว่า 6 เท่า ลักเล็กขโมยน้อยมากกว่า 4 เท่า และขายบริการทางเพศมากกว่า 5 เท่า
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.1 เป็นชาย ร้อยละ 48.9 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 30.5  อายุระหว่าง 12 — 15 ปี ร้อยละ 34.7 อายุระหว่าง 16 — 19 ปี ร้อยละ 34.8 อายุระหว่าง 20—24 ปี ตัวอย่างร้อยละ 80.0 กำลังศึกษาอยู่ ร้อยละ 20.0 สำเร็จการศึกษาแล้ว
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทสื่อที่ได้ติดตามข้อมูลข่าวสาร ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่ 1   ประเภทของสื่อที่ติดตามข้อมูลข่าวสาร ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา      ค่าร้อยละ
1          โทรทัศน์                                                  90.5
2          อินเทอร์เน็ต                                               81.4
3          หนังสือพิมพ์                                             42.5
4          โทรศัพท์มือถือ/SMS                                30.9
5          วิทยุ                                                           23.1
6          นิตยสาร                                                    18.7

ตารางที่ 2 แสดง 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทรายการ/เนื้อหา/คอลัมน์ที่ติดตามเป็นประจำ
ลำดับที่          ประเภทรายการ/เนื้อหา/คอลัมน์ ที่ติดตามเป็นประจำ            ค่าร้อยละ
1          เพลง/เอ็มวี                                                                                       66.3
2          ละคร                                                                                                 49.8
3          ข่าว                                                                                                   43.6
4          เกม                                                                                                    42.3
5          การ์ตูน                                                                                              40.0
6          แฟชั่น                                                                                                37.0
7          กีฬา                                                                                                   33.4
8          ซุบซิบดารา                                                                                       31.9
9          ซีรีย์ต่างๆ                                                                                          25.6
10          สารคดี                                                                                           23.1

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับชมโทรทัศน์ที่บ้าน
ลำดับที่          การรับชมโทรทัศน์ที่บ้าน                                  ค่าร้อยละ
1          มีคนรับชม/ดูด้วยกัน                                                     53.2
2          รับชม/ดูตามลำพัง                                                        46.8
รวมทั้งสิ้น                                                                               100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละที่ระบุพฤติกรรมการชมโทรทัศน์เมื่อเห็นรายการที่แสดงเรตติ้ง และ/หรือ
ลำดับที่  1 พฤติกรรมการชมโทรทัศน์เมื่อเห็นรายการที่แสดงเรตติ้ง และ/หรือ ”    ค่าร้อยละ
1          ดูต่อ (ตั้งแต่ต้นจนจบ / ดูเป็นบางช่วงบางตอน)                              85.3
2          เปลี่ยนช่อง                                                                                      14.7
รวมทั้งสิ้น                                                                                                   100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครองทำเมื่อรับชมรายการโทรทัศน์ที่แสดงเรตติ้ง ”/“” (กรณีที่รับชมรายการโทรทัศน์กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง)
ลำดับที่          สิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครองทำเมื่อรับชมรายการโทรทัศน์ที่แสดงเรตติ้ง ” / “”    ค่าร้อยละ
1          ดูต่อ โดยพ่อแม่ ผู้ปกครองให้คำแนะนำ                                     56.2
2          ดูต่อ โดยไม่ให้คำแนะนำ                                                           20.9
3          ให้เปลี่ยนช่อง                                                                            22.9
รวมทั้งสิ้น                                                                                             100.0


ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์เคยดูละครโทรทัศน์ที่มีเนื้อหารุนแรงหรือมีเนื้อหาที่แสดงถึงการมีเพศสัมพันธ์เกินเลย
ลำดับที่          ประสบการณ์ดูละครโทรทัศน์ที่มีเนื้อหารุนแรงหรือมีเนื้อหาที่แสดงถึงการมีเพศสัมพันธ์เกินเลย   ค่าร้อยละ
1          เคย                                                                       94.0
2          ไม่เคย                                                                     6.0
รวมทั้งสิ้น                                                                        100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกร่วม (อิน) ที่เกิดขึ้นเมื่อรับชมละครโทรทัศน์
ลำดับที่          ความรู้สึกร่วม (อิน) ที่เกิดขึ้นเมื่อรับชมละครโทรทัศน์          ค่าร้อยละ
1          มีความรู้สึกร่วม (อิน) เช่น โกรธ เศร้า เกิดความต้องการ          98.9
2          ไม่มีผลเลย                                                                                1.1
รวมทั้งสิ้น                                               100.0

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ อายุที่เริ่มใช้อินเทอร์เน็ต
ลำดับที่          ช่วงอายุที่เริ่มใช้อินเทอร์เน็ต          ค่าร้อยละ
1          น้อยกว่า 10 ปี                            39.1
2          10 — 15 ปี                               54.5
3          16 — 20 ปี                               6.2
4          21 — 24 ปี                               0.2
รวมทั้งสิ้น                                           100.0
หมายเหตุ อายุน้อยสุดที่เริ่มใช้อินเทอร์เน็ตคือ 3 ปี และอายุเฉลี่ยที่เริ่มใช้อินเทอร์เน็ตคือ 11 ปี

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          สถานที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ      ค่าร้อยละ
1          บ้าน                                                              78.3
2          โรงเรียน/สถานศึกษา                                    38.7
3          ร้านเกม                                                         31.7
4          อินเทอร์เน็ตคาเฟ่                                         24.0
5          ห้างสรรพสินค้า                                             3.5

ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุลักษณะการใช้อินเทอร์เน็ต
ลำดับที่          ลักษณะการใช้อินเทอร์เน็ต            ค่าร้อยละ
1          ใช้อินเทอร์เน็ตตามลำพัง                             70.0
2          ใช้อินเทอร์เน็ตโดยมีผู้ปกครองอยู่ด้วย         30.0
รวมทั้งสิ้น                                                               100.0

ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการควบคุม/ดูแลของผู้ปกครอง เรื่อง เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ควบคุม/ดูแลของผู้ปกครอง เรื่อง เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต          ค่าร้อยละ
1          ไม่ได้ควบคุม                                                                                                 42.3
2          จำกัดเวลาการใช้                                                                                          35.5
3          ว่ากล่าวตักเตือน                                                                                            24.2
4          ปล่อยให้ใช้เหมือนเดิม                                                                                  17.1
5          แนะนำเว็บไซต์ที่เหมาะสม                                                                             14.3

ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวัตถุประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ต (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          วัตถุประสงค์การใช้อินเทอร์เน็ต                          ค่าร้อยละ
1          ค้นหาข้อมูลที่เป็นความรู้                                                   69.6
2          แชทผ่าน twitter, face book, MSN, Yahoo, ICQ             68.1
3          ดาวน์โหลดเพลง/ภาพยนตร์                                              63.6
4          เล่นเกม                                                                              58.6
5          รับ-ส่ง อีเมล                                                                       48.1
6          ติดตามข่าวสาร                                                                  44.3
7          ดาวน์โหลดโปรแกรม                                                         35.4
8          อ่านกระทู้ / ตั้งกระทู้                                                           19.1
9          ซื้อของ/ช็อปปิ้ง                                                                  12.4
10          แชทในห้องแชทรวม                                                        12.2
11          ดู/ดาวน์โหลดภาพ-คลิปโป๊                                                8.3

ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการนัดเจอกับคนที่เพิ่งรู้จักทางอินเทอร์เน็ต
ลำดับที่          การนัดเจอกับคนที่เพิ่งรู้จักทางอินเทอร์เน็ต              ค่าร้อยละ
1          เคยบ่อย/เกือบทุกครั้ง                                                               4.1
2          เป็นบางครั้ง                                                                             19.6
3          ไม่เคยเลย                                                                                76.3
รวมทั้งสิ้น                                                                                           100.0

ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่โกหกหรือให้ข้อมูลเท็จกับคนที่เพิ่งรู้จักทางอินเทอร์เน็ต
ลำดับที่          โกหกหรือให้ข้อมูลเท็จกับคนที่เพิ่งรู้จักทางอินเทอร์เน็ต      ค่าร้อยละ
1          เคยบ่อย/เกือบทุกครั้ง                                                                       12.4
2          เป็นบางครั้ง                                                                                      46.3
3          ไม่เคยเลย                                                                                          41.3
รวมทั้งสิ้น                                                                                                      100.0

ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์ในการดูภาพโป๊/เว็บไซต์โป๊ทางอินเทอร์เน็ต
ลำดับที่          ประสบการณ์ในการดูภาพโป๊/เว็บโป๊ทางอินเทอร์เน็ต       ค่าร้อยละ
1          เคยดู                                                                                              55.3
2          ไม่เคยเลย                                                                                       44.7
รวมทั้งสิ้น                                                                                                  100.0

ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเล่นเกมออนไลน์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การเล่นเกมออนไลน์                              ค่าร้อยละ
1          เคยเล่น                                                             56.9
2          ไม่เคยเล่น                                                         43.1
รวมทั้งสิ้น                                                                     100.0

 ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทเกมออนไลน์ที่นิยมเล่น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ประเภทของเกมออนไลน์                           ค่าร้อยละ
1          เกมต่อสู้ เช่น แร็กนาร๊อก ยิงปืน ฟัน เตะต่อย                 46.1
2          เกมแข่งขันกีฬา เช่น ฟุตบอล เทนนิส                            37.4
3          เกมลับสมอง                                                                 36.9
4          เกมที่เกี่ยวกับสงคราม                                                  34.4
5          เกมฝึกทักษะ  เช่น ภาษา พิมพ์ดีด ต่อภาพ                    18.8
6          เกมขโมยของ                                                                6.2
7          เกมเปลื้องผ้า                                                                 4.9
8          เกมดักฉุดหญิงสาว                                                        3.2

ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง (เช่น การทำระเบิด ฆาตกรรม ยาเสพติด ความรุนแรงทางเพศ เป็นต้น)
ลำดับที่          ความรู้สึกต่อเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง        ค่าร้อยละ
1          เป็นเรื่องปกติธรรมดา / น่าสนใจ                                                      37.1
2          ตกใจ / รู้สึกอันตราย / สะเทือนใจ                                                    27.2
3          ไม่น่าสนใจ                                                                                      34.8
4          ไม่เคยเข้า                                                                                          0.9
รวมทั้งสิ้น                                                                                                   100.0

ตารางที่ 19 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกอยากลอกเลียนแบบเมื่อเข้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหารุนแรง เช่น การใช้ยาเสพติด การทำระเบิด ฆาตกรรม ความรุนแรงทางเพศ การพนัน จลาจล เป็นต้น
ลำดับที่          ความรู้สึกอยากลอกเลียนแบบเมื่อเข้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหารุนแรง        ค่าร้อยละ
1          ไม่อยากลอกเลียนแบบเลย                                                                            49.9
2          เกิดความรู้สึกอยากเลียนแบบ                                                                           50.1
รวมทั้งสิ้น                                                                                                                  100.0

ตารางที่ 20 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่เคยทำในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
1          ใช้คำหยาบพูด มึง กู และอื่นๆ กับเพื่อน              79.3     3 เท่า
2          ดื่มเหล้า                                                                36.0    3 เท่า
3          มีเพศสัมพันธ์                                                       28.1     3 เท่า
4          เล่นการพนัน                                                        25.1      2 เท่า
5          สูบบุหรี่                                                                  24.5     3 เท่า
6          ทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นโดยใช้อาวุธและสิ่งของ       22.0    2 เท่า
7          ใช้คำหยาบพูด มึง กูกับคนในครอบครัว                19.9    2 เท่า
8          ใช้ยาเสพติด (ไม่รวมเหล้าและบุหรี่)                      13.       4 เท่า
9          ถ่ายรูป/ คลิปโป๊ผ่านมือถือ                                  12.6       6 เท่า
10          ลักเล็กขโมยน้อย                                               12.5      4 เท่า
11          ขายบริการทางเพศ                                                 7.5   5 เท่า

หมายเหตุ 1. ฐานข้อมูลประชากรปี พ.ศ. 2553 จำนวนประชากรอายุ 12 — 24 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,606,286 คน

2. ค่า odds ratio ระหว่างการรับสื่อที่มีเนื้อหารุนแรงกับพฤติกรรมที่ทำในช่วง 30 วันที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับเด็กและเยาวชนที่ไม่ได้รับสื่อที่มีเนื้อหารุนแรง
                ในปัจจุบันนี้เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เยาวชนหรือ เด็ดในสมัยนี้จะเติมโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพได้อย่างไร และเด็กเหล่านี้จะดูแลประเทศชาติได้หรือ ปัญหาทุกอย่างไม่ได้อยู่ที่ใครบางคน แต่ตอนนี้ปัญหาอยู่กับทุกคน เราทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจกัน ปรับเปลี่ยนและแก้ไขในสิ่งที่ผิดๆให้กลับมายังสิ่งที่ถูกต้องแล้วเราจะหวังอะไรกับเด็กสมัยนี้ได้อีกเยอะ มาเถอะ มาทำให้เด็กเหล่านี้เป็นคนดี ในสังคมไทย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น