วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาความยากจน นางสาวจุฑามาศ โชติสุข 53241752

บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง ปัญหาความยากจน


ปัญหาความยากจนของผู้คนในสังคม เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปกติของสังคมที่ใช้เงินเพราะเงินเป็นตัวกลางในของทุกๆสิ่ง จนหลายคนถือกันว่าเงินนั้นเป็นพระเจ้ากันเลยทีเดียวเพราะสามารถที่จะบันดาลให้ได้มาในสิ่งต่างๆที่จะทำให้ตัวเองหรือครอบครัวมีความสุขหรือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นไปตามระบอบทางเศรษฐกิจที่เรียกกันว่าระบบทุนนิยม  ที่ถือว่าเงินเป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลิตและเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินการทางธุรกิจอุตสาหกรรม เมื่อใครมีมากก็เรียกว่ารวยใครมีน้อยก็เรียกว่าจนสังคมของผู้คนในสมัยก่อน ก่อนที่จะมีการใช้เงิน หลายคนก็อาจจะว่าเป็นสังคมที่มีความสุข ไม่มีใครจนหรือมีใครรวยกว่าใคร เพราะไม่ต้องใช้เงินซื้ออะไร ตื่นเช้าก็ไปทำไร่ไถนาเข้าป่าล่าสัตว์เอาผลิตผลกลับมาทำเป็นอาหาร ค่ำลงก็เขามุ้งนอน เสื้อผ้าก็ปั่นทอเป็นเครื่องนุงห่มกันเอง ป่วยไข้ก็เก็บสมุนไพรเอามารักษาไม่ต้องเสียสตางค์หาหมอ ถ้าตายก็เอาไปเผา ระหว่างที่อยู่ถ้าอยากได้สิ่งใดเมื่อตัวเองทำไม่ได้หรือไม่มี ก็ใช้ระบบแลกเปลี่ยนที่เรียกกันว่าหมูไปไก่มาคือแลกเปลี่ยนสินค้ากันมากน้อยตามความพอใจตามความยากง่ายในการได้มา สังคมเริ่มมีการใช้ทรัพย์สินเงินทองก็เริ่มมาจากการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศ จากข้าราชบริพารฝ่ายในและข้าราชการที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทมีการพระราชทานทรัพย์สิน สมบัติต่างๆรวมทั้งที่ดินตามตำแหน่งของยศฐาบรรดาศักดิ์ดังเช่นพระยานาหมื่นเจ้าพระยานาแสนตามที่ทราบกัน ต่อมาภายหลังจึงได้มีการให้เป็นตัวเงินที่เรียกกันว่าเบี้ยหวัดรายปี (ที่ให้เป็นปีเพราะยังไม่ค่อยมีเรื่องให้ใช้เงิน)และก็ค่อยๆเปลี่ยนมาเป็นให้เป็นเงินเดือน(ที่บ่นกันว่าน้อย)ดังเช่นในปัจจุบัน(เพราะข้าราชการมีมากและมีการเลี้ยงดูกันตลอดชีวิตจึงต้องมีเงินเดือนน้อยเพียงแต่แค่พออยู่ได้ ดีกว่าคนไม่มีเงินเดือน แต่เดี๋ยวนี้ก็ดีขึ้น) สังคมยุคใหม่มีการใช้เงินกันมากขึ้นเพราะสังคมโลกใช้สิ่งของต่างๆเป็นตัวชี้วัดความเจริญและความรวย อย่างเช่นยานพาหนะที่เริ่มจากใช้รถจักรยานธรรมดาก็เป็นรถจักรยานยนต์เป็นรถเก๋ง(และก็เป็นรถเก๋งราคาแพง)ความเจริญก็วัดจากจำนวนของทีวีสี จำนวนของโทรศัพท์บ้าน ของโทรศัพท์มือถือจำนวนคอมพิวเตอร์ต่อจำนวนครัวเรือน บ้านใครที่มีเงินก็จะมีสิ่งของเหล่านี้ครบ ยิ่งผู้ที่มีเงินมากมีรายได้มากอย่างเช่นพ่อค้านักธุรกิจจึงมีสิ่งต่างๆเหล่านี้กันจนเกินพอ เดิมคนไทยส่วนใหญ่นั้นชอบเข้ารับราชการ(ทั้งๆที่เงินเดือนน้อย)ก็เพราะว่าสิบพ่อค้าไม่เท่าหนึ่งพระยาเลี้ยงเมื่อภาคธุรกิจการพาณิชย์อุตสาหกรรมเกิดขึ้นมีการจ้างงานและให้เงินเดือนจึงต้องให้มากกว่าข้าราชการ(ถ้าให้น้อยกว่าก็ไม่ค่อยมีใครอยากทำ)จึงเป็นเหตุให้นักธุกิจนายทุนใช้เงินซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกได้มากกว่า ข้าราชการจึงเอาอย่างด้วยความที่มีเครดิตดี มีเงินให้กู้มีสิ่งของให้ผ่อน-เงินเดือนถูกหักจนหมด(จึงทำให้มีหนี้สินกันมากขึ้น)คนที่เป็นชาวไร่ชาวนาไม่ค่อยมีรายได้(แถมขายข้าวได้ในราคาถูก)จึงกลายเป็นคนยากจนไป คนที่ร่ำรวยในบ้านเราส่วนมากจึงเป็นนักธุรกิจที่เป็นนักคิดนักลงทุนที่อยู่ในภาคเอกชน(แต่มีหลายคนแย้งว่าเป็นพวกข้าราชการชั้นสูงกับพวกนักการเมืองมากกว่า?)เพราะเป็นการทำในลักษณะที่ว่าทำมากได้มากรวมทั้งทำสิ่งที่ยากสิ่งที่ไม่มี ถูกจังหวะถูกเวลา นักธุรกิจหนุ่มพันล้านหน้าใหม่ของไทยบางคนเคยพูดเอาไว้ถ้าอยากจะรวยต้องกล้าที่จะทำและกล้าที่จะลงทุนคนที่รวยน้อยๆ ยังบอกว่าทำได้วันละเป็นแสน ส่วนคนจนนั้นจนกันเพราะอะไร? (ไม่มีเงินทุนหรือไม่ทำอะไร?) ความร่ำรวยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับคนในสังคมเมือง ส่วนความยากจนนั้นจะเกิดขึ้นกับคนในชนบท(ที่ด้อยพัฒนา)สำหรับผู้ที่อพยพเข้าเมืองแล้วไม่มีงานทำก็กลายเป็นคนจนเมืองไปซึ่งนับวันความแตกต่างระหว่างความรวยกับความจนนี้นับวันก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เราจะแก้ปัญหาความยากจนกันอย่างไร?ความจนความรวยนี้เกิดจากคำว่าเงินเพียงตัวเดียวเท่านั้น เราจะย้อนกลับไปเป็นอยู่กันแบบสังคมดั้งเดิมที่ไม่ใช้เงินกันได้ไหม?จะได้ไม่มีความแตกต่างและไม่ให้ความสำคัญกับเงินโดยไปใช้ตัวชี้วัดที่เรียกกันว่าความสุขมวลรวมกัน หรือเราจะอยู่กับเงินต่อไปเพื่อสร้างความมั่งคั่งของประเทศและสร้างความสุขให้เพิ่มขึ้น? หรือเราจะอยู่กันแบบเศรษฐกิจพอเพียง ในอดีตเคยมีคำกล่าวหนึ่งที่ว่าไม่มีความยากจนในหมู่คนขยันซึ่งก็นับว่าเป็นความจริงในส่วนหนึ่งแต่ถ้าจะให้จริงมากยิ่งขึ้น รัฐก็ควรที่จะให้การสนับสนุนเรื่องของอาชีพเรื่องของตลาดเรื่องของแหล่งเงินทุน รวมทั้งเรื่องของการออมให้กับคนจนให้มากขึ้น ก็น่าพอที่จะทำให้เชื่อได้ว่าความยากจนของคนในสังคมจะลดน้อยลงไปได้บ้าง     ปัญหาคนจน เป็นปัญหาที่สะท้อนความล้มเหลวของนโยบายและรัฐบาล ในการพัฒนาประเทศ เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั้งประเทศ เพราะการพัฒนาที่สร้างความเหลื่อมล้ำต่ำสูงมากขึ้น ทำให้เกิดคนจนเพิ่มขึ้น มีส่วนสำคัญทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ และยังไม่สามารถฟื้นฟูแก้ไขได้ มีการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมของประเทศ ธนาคารโลกและสภาพัฒน์ฯ ใช้เกณฑ์เส้นความยากจน หรือรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือนที่คนเราสามารถใช้หาอาหารและสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นแก่การดำรงชีพ(ที่อยู่, ยา, เสื้อผ้า)ได้เพียงพอ โดยคำนวณว่า คนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 886 บาทในปี 2542 ถือว่าเป็นคนจน และวัดออกมาว่าคนจนร้อยละ 15.9 ของคนทั้งประเทศ จำนวนคน 9.9 ล้านคน (ร้อยละ 60 อยู่ในภาคอีสาน, ร้อยละ 71.5 เป็นเกษตรกรและแรงงานภาคเกษตร)           ธนาคารโลกและนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก อธิบายว่า ความยากจนเกิดจากการที่ประชาชนยังไม่ได้เข้าสู่การพัฒนาแบบตลาด (การผลิตเพื่อขายในระบบทุนนิยม)อย่างเต็มตัว หรือยังขาดความรู้ความสามารถที่จะแข่งขันในตลาด และทางแก้ไขปัญหาความยากจน คือ จะต้องช่วยให้คนจนกู้เงินไปลงทุนได้มากขึ้น ต้องพยายามเพิ่มผลผลิต เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน คำอธิบายเช่นนี้เป็นการมองด้านเดียวที่ไม่น่าจะแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน
คนไม่ได้จนเฉพาะในเชิงรายได้เท่านั้น แต่ยังจนในแง่การไม่ได้เป็นเจ้าของ, ผู้ควบคุมปัจจัยการผลิต และความรู้ และมีสถานะทางการเมืองและสังคมต่ำ มีสิทธิและโอกาสได้รับบริการทางการศึกษา, สาธารณสุข, บริการอื่น ๆ ต่ำอีกด้วย  คนไทยจำนวนมากเพิ่งมาจนลงในระยะ 40-50 ปีมานี้ สาเหตุใหญ่ก็คือ นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมผูกขาดที่การแข่งขันไม่เป็นธรรมสูง ทำให้ชาวบ้านและชุมชนเลิกผลิตแบบผสมผสานเพื่อกินเพื่อใช้ หันไปปลูกพืชเดี่ยวเพื่อขาย ในช่วงแรกๆ พวกเขามีรายได้เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้น แต่จริง ๆ แล้วกลับมีรายจ่ายเพิ่มสูงกว่า ทำให้คนส่วนใหญ่เกิดหนี้เรื้อรัง และยากจนมากกว่าในอดีต ซึ่งยังเป็นสังคมเกษตรแบบพอกินพออยู่หรือเศรษฐกิจพอเพียง   เราไม่อาจแก้ปัญหาความยากจนให้ทุกคนได้ภายใต้กรอบคิดเดิม คือ ยิ่งพัฒนาระบบทุนนิยมมากขึ้น จะแก้ได้เฉพาะคนส่วนน้อยที่ชนะการแข่งขัน เพราะทรัพยากรมีจำกัด การเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิตก็ทำได้จำกัด และกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย เมื่อมีคนชนะก็ต้องมีคนแพ้ การที่คนจนลงก็เพราะคนส่วนหนึ่งรวยขึ้น ในอัตราที่สูงเกินไป ทางแก้ไขปัญหาความยากจนยุคใหม่จึงต้องคิดถึงทางเลือกอื่น คือเปลี่ยนวิธีการผลิตแบบพึ่งพาตลาด พึ่งพาเงินมากเกินไป กลับมาเป็นการพึ่งพาตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสัดส่วนสูงขึ้น ลดการพึ่งพาและการเสียเปรียบในระบบตลาดลง ลดการบริโภคฟุ่มเฟือยลง ฟื้นฟูธรรมชาติและสมบัติสาธารณะใหม่ สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และพัฒนาองค์กรชุมชนให้สามารถช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนได้มากขึ้น
ปัญหาความยากจน (Poverty)  คือ สภาพการดำรงชีวิตของบุคคลซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย และไม่สามารถจะบำบัดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจ จนเป็นเหตุให้บุคคลนั้นมีสภาพความเป็นอยู่ต่ำกว่าระดับมาตรฐานที่สังคมวางไว้หรือสภาพการดำรงชีวิตของบุคคลที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ไม่สามารถจะหาสิ่งจำเป็นมาสนองความต้องการทางร่างกาย และจิตใจได้อย่างเพียงพอ จนทำให้บุคคลนั้นมีสภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่สังคมวางไว้ ความยากจนขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละสังคม  ปัญหาเรื่องความยากจนกำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งกล่าวว่ามีลักษณะสำคัญ ๔ ประการ คือ
    1. ความยากจน
    2. โรคภัยไข้เจ็บ
    3. ความไม่รู้
    4. ความเฉื่อยชา
ประสาท หลักศิลา ให้ความหมายของความยากจนว่า ความยากจนหมายถึงการขาดแคลนและไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่มีอยู่แก่ผู้ใดแล้วย่อมก่อให้เกิดความบกพร่อง และไม่สามารถที่จะดำรงความเป็นอยู่ในทางเศรษฐกิจของตนให้อยู่ในระดับเดียวกับคนอื่น ๆ ในหมู่หรือกลุ่มที่ตนอยู่ร่วมนั้นด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้นั้นไม่สามารถที่จะใช้ประสิทธิภาพทั้งทางร่างกายและสมองให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่  สาเหตุของปัญหาความยากจน  เนื่องจากความไม่เท่าเทียมกันในความสามารถของบุคคล สิ่งของและบริการต่าง ๆ มีมากขึ้น  จากภัยธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด ฯลฯ จากการว่างงาน จากการมีบุตรมาก การศึกษาต่ำ ไม่สามารถพัฒนาอาชีพของตนได้ ความเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน จากไม่สามารถทำงานตามปกติทั้งนี้เนื่องจากความเจ็บป่วยความพิการทางร่างกายและจิตใจ ชราภาพ จากการว่างงาน ความยากจนทำให้เกิดผลเสียมากมายหลายประการมีผลเสียในทุก ๆ ด้าน ทั้งเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม ฯลฯ
                1. ผลเสียต่อบุคคลและครอบครัว ทำให้บุคคลสูญเสียบุคลิกภาพที่ดี ครอบครัวขาดเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การดำรงชีพ ไม่สามารถจะส่งบุตรหลานเล่าเรียนได้เท่าที่ควร
                2. เป็นภาระแก่สังคม สังคมต้องอุ้มชู ดูแลคนยากจน ทำให้ประเทศชาติไม่สามารถจะทุ่มเทการพัฒนาได้
  3. ทำให้เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไม่มั่นคง ประเทศที่มีคนยากจนมากก็ไม่สามารถจะพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองได้  ส เกิดความล่าช้าในการพัฒนาประเทศ เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และความไม่มั่นคงทางสังคม เกิดปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมาเช่น ปัญหาอาชญากรรม
4. อีกทั้งความยากจนยังส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพที่ไม่ดีอีกด้วยเพราะเกิดจากการที่ไม่มีรายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย เพื่อจะนำไปซื้ออาหารที่มีประโยชน์มารับประทาน
คนยากจนยุคใหม่ครอบคลุมถึงใครบ้าง อะไรคือเงื่อนไขความยากจน
3.1 ความหมายของคนยากจน (คนขัดสน, ด้อยโอกาส, คนในภาวะยากลำบาก ฯลฯ)
1) ไม่มีรายได้เพียงพอ หรือไม่สามารถสนองความต้องการพื้นฐานที่จำเป็นขั้นต่ำ สำหรับอาหารที่มีคุณค่า ที่อยู่อาศัย และเครื่องอุปโภคบริโภคที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพในเกณฑ์มาตรฐานได้ เช่น เกษตรกรรายย่อยที่ผลผลิตต่ำ และหาอาหารเองไม่ค่อยได้, ไร้ฝีมือ ที่ไม่มีงานประจำ, ผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อย, คนตกงาน คนด้อยโอกาส ฯลฯ เส้นความยากจนที่นักเศรษฐศาสตร์กำหนด 886 บาท ต่อคนต่อเดือนในปี 2542 น่าจะต่ำเกินกว่าความจริง เพราะรายได้ขั้นต่ำตามที่คณะกรรมการไตรภาคีแรงงานที่คำนวณว่าพอให้คนมีรายได้ยังชีพยังอยู่ที่ 133-165 บาทต่อวัน(แล้วแต่จังหวัด)หรือราว 4,000 - 5,000 บาทต่อเดือน
2) มีรายได้หรือความสามารถในการตอบสนองความต้องการในชีวิตที่ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของคนในสังคมเดียวกัน หากมองในแง่นี้จะกินความหมายกว้าง ถึงคนที่มีรายได้ต่ำสุด 80% ซึ่งมีสัดส่วนในรายได้เพียง 41.5% ของรายได้ของคนทั้งประเทศ และคน 80% นี้ก็เป็นคนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือน ต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยของคนทั้งประเทศ 3,508 บาท ต่อคน/ต่อเดือน ในปี 2542
3) มีสถานะหรืออำนาจต่อรองทางการเมืองและสังคม ต่ำกว่าสมาชิกคนอื่น ๆ รวมทั้งคนที่สังคมมีอคติหรือความเชื่อที่กีดกันพวกเขาให้ไม่ได้รับสิทธิเสมอภาค เช่น เป็นชนชาติส่วนน้อย, คนในชุมชนแออัด, คนอยู่ชนบทห่างไกล, คนอพยพ, คนที่ไม่มีทะเบียนบ้าน, ผู้หญิง (โดยเฉพาะผู้หญิงที่ยากจนหรือการศึกษาต่ำ), คนที่มีอาชีพที่สังคมถือว่าต่ำต้อย ฯลฯ
4) คนที่ไม่มีสิทธิหรือโอกาสที่จะได้รับบริการขั้นพื้นฐาน เช่น การศึกษา โอกาสในการประกอบอาชีพ, บริการทางสาธารณสุข และบริการอื่น ๆ ทัดเทียมกับคนอื่น ๆ เช่น เป็นคนพิการ คนบ้า, คนป่วยเรื้อรัง, คนชรา, เด็กกำพร้า ที่ไม่มีญาติพี่น้องดูแล หรือมีญาติพี่น้องบ้างก็ยากจน เด็กเร่ร่อน ฯลฯ

3.2 เงื่อนไขหรือที่มาของความยากจน
1) ไม่มีปัจจัยการผลิตและปัจจัยการยังชีพที่เหมาะสม เช่น ไม่มีที่ดิน, ที่ดินไม่ดี ขาดน้ำ ไม่มีเงินทุน ไม่มีอุปกรณ์การผลิตของตนเอง ต้องกู้หนี้ยืมสิน ต้องเช่า ต้นทุนสูง ประสิทธิภาพต่ำ ผลตอบแทนต่ำ การบริโภคต้องซื้อมากขึ้น ไม่มีป่า, ทะเล, สภาพแวดล้อมที่จะหาอาหารจากธรรมชาติหรือผลิตเองได้เหมือนในอดีต
2) ไม่ได้รับการศึกษาอบรมชนิดที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต การมีงานทำและวิถีชีวิตที่เหมาะสม ส่วนใหญ่คือ หัวหน้าครอบครัวได้รับการศึกษาต่ำ ระดับลูกหลานที่ได้รับการศึกษาสูงขึ้นมาหน่อย ก็มักเป็นการศึกษาแบบสามัญที่ใช้แก้ปัญหาหรือสร้างงานให้ตัวเองไม่ได้ หากไม่มีใครจ้าง
3) เป็นผู้เสียเปรียบจากระบบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมผูกขาด การเปลี่ยนวิถีการผลิตจากการปลูกข้าวและทำเกษตรผสมผสาน เพื่อกินเพื่อใช้มาปลูกพืชเดี่ยวเพื่อขาย ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่ได้ผลตอบแทนต่ำ เพราะระบบพ่อค้าผูกขาด, การเป็นหนี้เรื้อรัง และเสียดอกเบี้ยสูง การเสียเปรียบในเรื่องซื้อแพงขายถูก
4) เป็นผู้เสียเปรียบจากระบบความสัมพันธ์ทางการเมืองแบบอำนาจนิยม การเล่นพวก และการนับถือเงินเป็นพระเจ้า คนจนผู้มักจะมีความรู้น้อย อำนาจต่อรองน้อย ยิ่งเป็นผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบง่ายแทบทุกด้าน พวกเขาต้องจ่ายค่าบริการแพงกว่าคนอื่น ต้องจ่ายภาษีเถื่อน หรือค่านายหน้าให้กับผู้มีอำนาจมากกว่า และจ่ายภาษีทางอ้อมคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้สูงกว่าคนอื่น ๆ
5) เป็นผู้เสียเปรียบและพ่ายแพ้ในระบบโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมแบบทุนนิยมใหม่ ทั้งในด้านการผลิตและการบริโภค เช่น ทำงานแข่งขันในระบบทุนนิยมสู้เขาไม่ได้ เพราะเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กกว่า, มีทุนน้อยกว่า, มีความรู้ความชำนาญในเรื่องการผลิตการตลาดน้อยกว่า ต้นทุนสูงกว่า ประสิทธิภาพต่ำกว่า ล้มละลาย, ขาดทุน, ตกงาน ฯลฯ หรือในด้านการใช้ชีวิต การบริโภคก็ปรับตัวไม่เป็น ไม่รู้จักอดออม บริโภคสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เช่น เหล้า บุหรี่ การเล่นหวย และการพนันอื่น ๆ ซื้อสินค้าเงินผ่อนหรือเป็นหนี้หลายต่อ แบบหมุนเงินไปใช้วัน ๆ ทำให้เสียดอกเบี้ยสูง ค่าใช้จ่ายในการบริโภคสูง โดยไม่คุ้มค่า การเสียเปรียบและพ่ายแพ้ในเชิงโครงสร้างเช่นนี้เป็นการซ้ำเติมให้ผู้มีรายได้น้อยอยู่แล้ว ยิ่งจนซ้ำซากเรื้อรัง อย่างไม่มีทางออก
6) เป็นผู้ที่อยู่ในฐานะที่ตกงาน, ชราภาพ, พิการ เป็นเด็กที่ไม่มีคนดูแลที่เหมาะสม, เป็นหม้าย เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ต้องดูแลลูกหลานมาก ฯลฯ โดยไม่มีงาน, ทุนทรัพย์ ความสามารถที่จะหางาน, รายได้, หรือความช่วยเหลือเพียงพอแก่การยังชีพในเกณฑ์มาตรฐาน

            ในปัจจุบันนี้ทั้งธนาคารโลกและประเทศไทยได้เน้นมาแก้ไขปัญหาความยากจนที่เกิดจากปัจจัยภายในบุคคล โดยการเปิดโอกาสด้านต่างๆให้กับคนจนมากขึ้นทั้งโอกาสทางสังคม โดยการสร้างระบบประกันสังคมและระบบตาข่ายความคุ้มครองทางสังคมต่างๆ ขยายโอกาสทางเศรษฐกิจโดยการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ พัฒนาตลาด และให้เงินทุนกู้ยืมต่าง ๆ รวมถึงโอกาสทางการเมือง ในแง่ของการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยตนเองมากขึ้น ส่วนปัญหาที่เกิดจาก ปัจจัยภายนอกแก้ไขโดยการบูรณาการแผนงานและงบประมาณต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพ ในการดำเนินการ นอกจากนี้การพัฒนาเศรษฐกิจจะสร้างความสมดุลโดยรักษาเศรษฐกิจในระดับมหภาคให้มีเสถียรภาพ  และมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน  แนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนนั้นจะต้องเริ่มต้นจาก
1. การส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจมหภาคให้เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน
                  1.1 ส่งเสริมนโยบายการพัฒนาประเทศที่สมดุล โดยการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อให้เศรษฐกิจฐานรากมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น
 1.2 ส่งเสริมการเจริญเติบโตของภาคเศรษฐกิจที่คนจนส่วนใหญ่พึ่งพิง เช่น ภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการเกษตร ภาคการก่อสร้างและภาคบริการ
  1.3 ส่งเสริมนโยบายการเงินและการคลัง เช่น มาตรการภาษีที่เอื้อต่อวิสาหกิจ ชุมชน และระบบสินเชื่อรายย่อย (micro credit) การพิจารณาจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า และการเพิ่มรายจ่ายภาครัฐในการจัดบริการพื้นฐานทางสังคมแก่คนจน และผู้ด้อยโอกาส
  1.4 ส่งเสริมนโยบายการค้าและการเงินระหว่างประเทศ เช่น ส่งเสริมการเปิดเสรีและการเจรจาการค้าที่ส่งผลดีแก่ภาคเกษตร และแรงงาน การลงทุนในสาขาที่เอื้อประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน ได้แก่ กิจการที่มีมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิตภาคเกษตร และกิจการที่มีเทคโนโลยีระดับกลางที่จ้างแรงงานฝีมือระดับต่ำไปฝึกอบรม
2. การเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนจน
                2.1 พัฒนากระบวนการเรียนรู้ เช่น การเปิดเวทีประชาคมท้องถิ่น การขยายเครือข่ายและศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน การถ่ายทอด ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน
2.2 พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง เช่น ส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืน การพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดภายใน/ต่างประเทศ ส่งเสริมการระดมเงินออมในชุมชน และสนับสนุนการใช้กระบวนการสหกรณ์

                 2.3 ปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเหมาะสม เช่น การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เชื่อมโยงกับการผลิต และการพัฒนาในสาขาต่างๆ การวิจัยและพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม สามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงสู่ชุมชนได้
                2.4 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เช่น การส่งเสริมการรวมตัวของชุมชนและประชาสังคม การมีแผนชุมชนอย่างเป็นองค์รวม ที่มุ่งการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เป็นหลัก
3. การพัฒนาระบบคุ้มครองทางสังคมและผู้ด้อยโอกาส
                 3.1 การพัฒนาระบบบริการทางสังคมให้เข้าถึงกลุ่มคนจนและผู้ด้อยโอกาส เช่น ขยายขอบเขตการประกันสังคมให้ครอบคลุม แรงงาน นอกระบบและการประกันการว่างงาน ปรับกฎระเบียบข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการของคนจน และผู้ด้อยโอกาส
  3.2 การจัดสวัสดิการสังคมให้มีความสอดคล้องกับปัญหาของกลุ่มเป้าหมายยากจนและผู้ด้อยโอกาส เช่น ส่งเสริมบทบาทของ อบต. องค์กรชุมชนและสถาบันต่าง ๆ ในชุมชนในการจัดสวัสดิการโดยใช้ทุนที่มีอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ของท้องถิ่น ปรับปรุง กองทุนหมุนเวียน ที่มีอยู่ในระดับตำบลให้มีเอกภาพ ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุน
4. สวัสดิการโดยชุมชน
                 4.1 การเตรียมความพร้อมในการสร้างหลักประกันทางสางคมแก่ประชากรแต่ละช่วงวัย โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมและดูแล กลุ่มผู้สูงอายุ เช่น การประกันชราภาพโดยสมัครใจและโดยการบังคับ การส่งเสริมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อให้มี การประกันตน สำหรับกลุ่มต่าง ๆ พิจารณากำหนดมาตรการลดหย่อนทางภาษีเงินได้แก่ครอบครัวที่ดูแลผู้ด้อยโอกาสในครอบครัว
5. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  5.1 ส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการบริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น เช่น การกระจายอำนาจการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และการเงินการคลังให้ท้องถิ่น
 5.2 เร่งรัดการแก้ไขปัญหาอย่างเป้นธรรมในเรื่องที่ดินทำกินและการจัดสรรน้ำ เช่น การกระจายการถือครองที่ดินและปฏิรูปที่ดิน แก่เกษตรกรรายย่อยที่ยากจน การบริหารจัดการแหล่งน้ำที่มีอยู่ให้มีการนำมาใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรม การผลิต การบริโภค อย่างเต็มประสิทธิภาพ
        5.3 ปรับปรุงและเร่งรัดกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ร.บ.การประมง เป็นต้น
        5.4 สร้างกลไกแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งจากกรแย่งชิงทรัพยากร เช่น การมีเวทีเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การเร่งรัดให้มี สถาบันท้องถิ่นหรือคณะผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่นทำหน้าที่แก้ไขปัญหา
6. การปรับปรุงระบบบริหารภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
 6.1 การปรับกระบวนทัศน์และบทบาทหน่วยงานภาครัฐ ทั้งหน่วยงานส่วนกลางและระดับท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาความยากจน จากการกำกับ ควบคุม มาเป็นการอำนวยความสะดวก สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และเครือข่ายชุมชน
6.2 การจัดทำแผนงาน/โครงการที่มีลักษณะเป็นองค์รวม โดยมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคีการพัฒนา เพื่อจัดลำดับความสำคัญของโครงการและลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
                6.3 ปรับปรุงระบบงบประมาณ โดยเน้นผลงานและสนับสนุนการจัดสรรงบประมาณในลักษณะเน้นการอุดหนุนแก่ชุมชน
 6.4 จัดทำโครงการใหม่ ๆ เช่น โครงการต่อยอดนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล โครงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแก่ผู้ด้อยโอกาส ในกลุ่มต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ
ปัญหาความยากจนเกิดได้กับทุกประเทศ รวมทั้งในประเทศไทย ปัญหาความยากจนเป็นปัญหาที่หลาย ๆ รัฐบาลที่ผ่าน ๆ มาช่วยกันแก้ไข แต่ก็ไม่มีรัฐบาลใดแก้ไขได้อย่างจริงจังสักที เนื่องจากปัญหาความยากจนเกิดจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองแบบทุนนิยมผูกขาดที่ด้อยพัฒนา ไม่ใช่แค่เรื่องการที่ประชาชนยังมีการศึกษาต่ำหรือรายได้ต่ำ ฯลฯ เท่านั้น การจะแก้ปัญหาความยากจนให้ได้ผล ต้องแก้ไขเงื่อนไขของความยากจนทั้ง 6 ข้อ ให้ได้อย่างเชื่อมโยงกันทั้งระบบโครงสร้าง ไม่ใช่แค่ทำโครงการเป็นส่วน ๆ เช่น พักหนี้เกษตรกร, กองทุนหมู่บ้าน, ธนาคารคนจน ฯลฯ ซึ่งจะแก้ปัญหาได้เพียงเฉพาะหน้าสั้น ๆ อาจช่วยได้เฉพาะบางคน แต่ไม่อาจแก้ปัญหาคนจนได้ทั้งหมด สิ่งที่จะต้องทำในการแก้ไขปัญหาความยากจนคือ
1) ปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคม เช่น การปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูปการเกษตร การปฏิรูประบบการคลัง การเงิน การภาษีอากร เพื่อเก็บภาษีคนรวย ไปช่วยพัฒนาคนจน การปฏิรูปการศึกษา สาธารณสุข สื่อสารมวลชน ปฏิรูปทางการเมือง และปฏิรูปทางสังคมด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดโครงสร้างการเป็นเจ้าของและการควบคุมปัจจัยการผลิตใหม่ ที่มีความเป็นธรรม เป็นประชาธิปไตย และมีประสิทธิภาพ เน้นการพัฒนาระบบสหกรณ์, องค์กรของชุมชน, บริษัทมหาชน การแข่งขันเสรีแทนระบบทุนนิยมผูกขาด
2) เปลี่ยนนโยบายการพัฒนาประเทศ จากที่เน้นการพึ่งพาการลงทุนและการค้ากับ ต่างประเทศเป็นสัดส่วนสูงเกินไป มาเน้นการพัฒนาคน การจ้างงาน การพัฒนาทรัพยากร และตลาดภายในประเทศ และเลือกลงทุนและการค้ากับต่างประเทศ เฉพาะที่จำเป็นและคนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ เปลี่ยนนโยบายจากที่เคยเน้นความเติบโตของสินค้าบริการของประเทศโดยรวม มาเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของคนส่วนใหญ่
3) พัฒนาระบบประกันสังคม, สวัสดิการสังคมในระดับประเทศ และสวัสดิการชุมชนในระดับท้องถิ่น ให้เกิดความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และครอบคลุมถึงคนทุกส่วนในสังคมหรือแหวนบริสุทธิ์  กระแสในอเมริกาได้ชี้ให้เห็นว่าการอิ่มตัวของการมั่วกันทางเพศ  ข้อสำคัญที่สุดอาจจะรู้แล้วว่าเพศสัมพันธ์เสรีทำลายฐานของจิตใจ  เป็นมลพิษทางศีลธรรม (moral  pollution) หรือมลพิษทางศีลธรรมที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์  เพราะลดความภูมิใจในตน  หรือในกรณีรุนแรง  สร้างอาการเกลียดตัวเอง  มีพฤติกรรมทำชั่วต่อเนื่องเพราะความเคารพในตัวเองหมดแล้ว
ข้อแนะนำข้อที่  2  คือ  ให้มุ่งการศึกษา  เพราะสำคัญที่สุดต่ออนาคต  ถ้าใช้เวลาและพลังไปกับการเรียน  sex  drive  หรือแรงขับทางเซ็กซ์ก็จะถูกผันไปทำเรื่องที่สร้างสรรค์
ข้อแนะนำข้อที่  3  คือ  ให้เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา  ไม่ว่าจะไปโบสถ์  ไปวัด  หรือไปมัสยิด  อยู่ในชุมชนแห่งศรัทธา  ช่วยเหลือสังคม  บุคคลที่มีจิตอาสาจะเป็นคนที่มีความสุข  และความดีเป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ไม่มีใครห้าม  ความดีก็เหมือนความชั่ว  เริ่มจากทำนิดเดียวและทำตามอัตภาพ  จะสังเกตว่า  การให้หนึ่งบาทแก่ขอทานก็ทำให้จิตชุ่มชื่นแล้ว  แล้วการให้ที่มีมากกว่านั้นล่ะจะทำให้สุขแค่ไหน  ฉะนั้น  จงเริ่มให้และเริ่มช่วย  เริ่มสวดมนต์เพียงบทเดียวก็พอ  พอทำดีจิตก็จะปรับให้เรายิ่งดีขึ้น  เกิดความพึงพอใจ  ภูมิใจ  อิ่มเอิบใจและมีความสุข นักเรียนนักศึกษาหรือแม้บุคลทั่วไปก็ทำได้  โครงการ V star ของวัดธรรมกายสอนให้เด็กทำดี  ผลปรากฏว่าเด็กมีพฤติกรรมดีขึ้น ไม่ขโมยของร้านค้าเหมือนสมัยก่อน การทำความดีนั้นมีการติดต่อกัน มี social  contagion
ข้อแนะนำข้อที่ 4 คือ ให้คบคนดี ช่วยคนไม่ดีให้เห็นแสงสว่าง อยู่ในแวดวงคนดี ช่วยเหลือกัน และมีความสามัคคีสมานฉันท์ ช่วยกันคิดและช่วยกันทำความดี
ส่วนข้อแนะนำสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นพ่อแม่หรืครูบาอาจารย์คือ ให้มีใจกว้าง (open mind) รับฟังปัญหา และคอยสอดส่องว่าพฤติกรรมของเด็กมีอะไรผิดปกติไหมจุดสำคัญที่ต้องยึดคือ มีท่าทีให้อภัย (forgiveness) การเปิดใจและการให้อภัยเป็นสิ่งแรกที่เด็กรับรู้ได้เมื่อเกิดขึ้น บวกกับความเห็นใจ (empathy) แล้วจะทำให้เด็กกล้าเปิดตัวเล่าปัญหาของตนเองให้ผู้ใหญ่ฟัง นอกจากเปิดใจ ให้อภัย และเห็นใจแล้ว ผู้ใหญ่จะต้องร่วมกันถกปัญหาและหาทางแก้ไข ถ้าตนเองแก้ไม่ได้เพราะปัญหาซับซ้อนเกินไปก็ไปหาผู้เชี่ยวชาญ หรือปรึกษาผู้ใหญ่ เพื่อน หรือญาติ พยายามหาทรัพยากรมาช่วยให้มากที่สุด แต่ก่อนอื่นใดต้องแสดงว่ามีความเป็นห่วงและแคร์เขามากจริงๆ
อย่างไรก็ตาม วิธีแก้ดังกล่าวเป็นการแก้ที่ปลายเหตุเมื่อเรื่องเกิดขึ้นแล้ว วิธีป้องกันไม่ให้ลูกหรือเด็กเตลิดข้อสำคัญคือ สังคมประกิต (socialization) พ่อแม่จะต้องมีวิธีสอนลูกที่ถูกต้องตั้งแต่เกิด พ่อแม่ทุกคนหวังดีต่อลูก อยากให้ลูกได้ทุกสิ่ง พ่อแม่บางส่วนอยากให้ลูกได้สิ่งที่ตนไม่มี เช่น ตนมีการศึกษาต่ำก็อยากให้ลูกเรียนสูงๆ ซึ่งการอยากให้ลูกเรียนสูงๆ นั้นถูกต้องแล้ว แต่ถ้าทำเกินเหตุ เช่น ไปบังคับเขาให้เรียนวิชาที่ตนอยากเรียนแต่ไม่ได้เรียน จนเขามีความทุกข์เพราะอยากเรียนอย่างอื่น ก็สร้างความทุกข์และความขัดแย้งกับลูก ลูกอาจต่อต้านเลิกเรียนไปเลยก็ได้ อย่างนี้เขาเรียกว่า หวังดีแต่มีผลร้าย (good intention with bad results) ปล่อยให้ความหวังดีกลายเป็นสิ่งทำลายลูกเลย ให้เสรีภาพในการเลือกวิชาและเลือกวิถีชีวิตของตนเองเถอะ คนเราทุกคนอยากมีคนชี้นำที่รักและใส่ใจ แต่การหวังดีจนไปบังคับให้เขาทำโน่นทำนี่มีแต่จะสร้างความเสียหายให้ทุกฝ่าย ดังนั้น จงเลี้ยงลูกแบบเสรีนิยมโดยมีการกำหนดขอบเขตของความถูกต้องด้วยวิธีนี้เขาเรียกว่า การเลี้ยงลูกด้วยเหตุผล (authoritative parenting) รักเขา ดูแลเขา ให้ความอบอุ่นแก่เขา แต่ต้องบอกเขาว่าอะไรผิดอะไรถูกตามหลักสากล มิใช่ผิดถูกตามที่ตนเองสั่งให้ทำ
ไม่ควรปล่อยปละละทิ้งลูก ปัดความรับผิดชอบให้ครู เพราะคนสอนพื้นฐานชีวิตที่สำคัญที่สุดคือ พ่อแม่ หรือคนเลี้ยงดู ครูอาจารย์นั้นมีบทบาทเสริมจากพ่อแม่อีกทีหนึ่ง อย่าลืมว่าพ่อแม่เป็นผู้ให้กำเนิดและมีสายใยผูกพันกับลูกที่ลึกซึ้ง ถ้าพ่อแม่มีความยุติธรรม อบอุ่น  และรักอย่างไม่มีเงื่อนไข คอยให้ความรู้ หรือคอยหาผู้รู้มาช่วยสอนลูกก็จะได้ลูกที่โตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ เด็กที่ผูกพันกับพ่อแม่และมีความสุขกับพ่อแม่จะมีสายใยเชื่อมระหว่างเขาและพ่อแม่ ดังนั้น ว่าตัวเขาจะไปไหนเขาจะนึกถึงพ่อแม่และคำสอนอยู่เสมอ โอกาสจะเตลิดก็มีน้อยเพราะพ่อแม่ได้สร้างความรู้สึกผิดชอบชั่วดีให้เขาแล้ว ทำให้เขามีจิตสำนึกที่ดี (conscience) ซึ่งเป็นกลไกควบคุมจากภายในที่ดีที่สุด การคุมคนจากภายนอกนั้นได้ผลน้อยกว่าภายในมาก ให้ตัวเขาคุมตัวเขาเอง ให้สติเขารักเขาจนเขาไม่มีปมด้อยต้องคิดมาก แล้วเขาจะมีสติเพราะ ได้พัฒนาบุคลิกภาพที่มั่นคงแล้วมี secure personality
การพัฒนาบุคลิกภาพนั้นต้องพัฒนาจากทั้งกายภาพและจิตใจ เราสามารถป้องกันวันรุ่นของเรามิให้เพลี่ยงพล้ำ ติดโรค ตั้งครรภ์โดยไม่พึงปรารถนา  ด้วยการดูแลทั้งทางกายและทางใจ ร่างกายของเขาต้องแข็งแรง  และจิตวิญญาณของเขาต้องแข็งแกร่งด้วย  ปัญหามีไว้สำหรับให้แก้  สังคมไทยต้องมีผู้ใหญ่ที่ร่วมมือกันสร้างอนาคตที่ดีที่สุดให้กับอนาคตของชาติ
แรงขับทางเพศเป็นแรงขับที่รุนแรงมาก ฉะนั้นเด็กควรเรียนรู้ถึงผลและอันตรายที่เกิดจากการไม่ควบคุมพฤติกรรมของตนเอง มนุษย์เราเป็นสัตว์ประเสริฐเรามีศักยภาพที่จะอยู่เหนือแรงขับได้ ขอเพียงหมั่นหาความรู้ ทำให้ตนสามารถรู้เท่าทันเหตุการณ์และอารมณ์ของตนเอง ตั้งสติ ควบคุมจิตใจ นึกถึงพ่อแม่ว่าจะเสียใจแค่ไหนถ้าตนเพลี่ยงพล้ำ นึกถึงอนาคตของตนเอง หัดมองการณ์ไกลชั่งใจให้ดี ข้อสำคัญต้องรู้จักคบเพื่อน อย่าไปคบคนไม่ดี ช่วยเหลือผู้ยากไร้และช่วยเหลือสังคม พยายามครองตนเองให้พ้นภัยสังคมซึ่งทุกวันนี้มีรอบด้าน การเป็นคนดีเป็นได้ไม่ยาก อย่าลืมว่าเราเป็นสัตว์ประเสริฐ ขอให้รู้ศักยภาพของตนเอง และใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น