วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ นางสาวเพชรดา เกตุสุริวงษ์ 53242247


บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง ปัญหาเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ


ประเด็นสำคัญด้านการพัฒนา  เรื่องปัญหาเบี้ยยังชัพสำหรับผู้สูงอายุ
                ในปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นที่เรียบร้อย การสร้างหลักประกันด้านรายได้ให้กับผู้สูงอายุในปัจจุบันและผู้สูงอายุในอนาคตเป็นนโยบายสาธารณะที่จำเป็นและเร่งด่วนของประเทศในขณะนี้ เบี้ยยังชีพสำหรับผ้าสูงอายุเป็นที่พึ่งทางการเงินที่สำคัญซึ่งรัฐบาลจัดสรรให้สำหรับผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาส แต่ระบบนี้กำลังเผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาน ดังที่ได้นำเสนอไว้ในหนังสือเล่มนี้ หนังสือ ปัญหาเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของระบบเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุจากแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรงบประมาณในระดับมหาภาค กระบวนการและเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกผู้สูงอายุ ด้านความครอบคลุม และปัญหาของการปฏิบัติในระดับพื้นที่ รวมทั้งศึกษามาตรการที่คล้ายคลึงกันในต่างประเทศ รวมทั้งการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อนำไปสู่ความสอดคล้องในการสร้างหลักประกันด้านรายได้ให้กับผู้สูงอายุในปัจจุบันและผู้สูงอายุในอนาคตอย่างมีเอกภาพ
ปัญหาเรื่องการสร้างหลักประกันรายได้ยามชราภาพทั้งสำหรับผู้สูงอายุในปัจจุบันและผู้สูงอายุในอนาคตเป็นนโยบายสาธารณะที่จำเป็นและเร่งด่วนของประเทศไทย  ปัจจุบันมีเพียงลูกจ้างเอกชนและข้าราชการที่มีหลักประกันรายได้ยามชราภาพภาคบังคับรองรับอย่างเป็นทางการ  แต่ทว่ายังมีผู้มีงานทำอีกสองในสามที่ยังขาดหลักประกันรายได้ยามชราภาพที่เป็นทางการรองรับ  กลุ่มคนเหล่านั้นต้องพึ่งตนเองหรือการเกื้อหนุนจากครอบครัวเป็นหลัก  จึงเป็นที่มาของประเด็นที่ว่า  ในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างสิ่งที่เรียกว่า  “ระบบบำนาญแห่งชาติ”  เพื่อที่จะให้ผู้มีงานทำอีกสองในสามได้มีโอกาสเตรียมความพร้อมในการสร้างหลักประกันด้านรายได้ยามชราภาพอย่างเป็นทางการด้วยตนเอง  เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับรัฐบาลต่อไปในอนาคต
                ประเทศไทยได้เริ่มต้นเป็นสังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2545 และกระบวนการเปลี่ยนผ่านสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบนั้นก็คงจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ภายใต้การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวนั้น  ปัญหาเชิงนโยบายหลายประการที่เกิดขึ้นตามมาคือ ประชากรผู้สูงอายุที่มีจำนวนและสัดส่วนมากขึ้นจะใช้ชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพชีวิที่ดีได้อย่างไร  ผู้สูงอายุเหล่านี้จะมีรายได้เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายหรือไม่  และแหล่งรายได้มาจากที่ไหน รวมไปถึงประเด็นปัญหาด้านสุขภาพ  ไม่ว่าจะเป็นการรักษาพยาบาลหรือการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว  ในด้านการรักษาพยาบาลนั้น  ประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ดังนั้นในระดับบุคคล ผู้สูงอายุคงจะหมดกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไปได้เปราะหนึ่ง แต่เมื่อหันมาพิจารณาด้านการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวหรือการประกันความมั่นคงด้านรายได้ ยังไม่สามารถกล่าวได้ว่า ประเทศไทยมีหลักประกันรองรับผู้สูงอายุในด้านดังกล่าวอย่างครอบคลุม  ในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย  รัฐบาลเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างหลักประกันรายได้สำหลับผู้สูงอายุกรณีที่รัฐบาลเป็นผู้สร้างหลักประกันรายได้หรือระบบบำนาญโดยยึดถือการมีส่วนร่วมจ่ายของผู้รับบำนาญเป็นเกณฑ์  ในปัจจุบันได้เริ่มมีแนวความคิดทั้งขยายความครอบคลุมของระบบบำนาญให้กว้างขึ้นไปครอบคลุมแรงงานนอกระบบ  และเพิ่มระดับเงินบำนาญให้สูงขึ้น โดยการสร้างระบบต่างๆ ขึ้นมารองรับ เช่น แนวคิดเรื่องการจักตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาตอของกระทรวงการคลัง  การขยายของเขตของชมาชิกกองทุนประกันสังคม หรือการจัดตั้งกองทุนทวีสุข(แบบสมัครใจ) เพื่อเกษตรกรที่เป็นลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  ระบบการสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุของประเทศไทยเริ่มขึ้นในปี  พ.ศ. 2536 มีกรมประชาสงเคราะห์เป็นผู้รับผิดชอบ
                ถ้าหากดูผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล เมื่อบริหารงานครบ 1 ปี (มกราคม พ.ศ. 2553) ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ นำมาเปิดเผยจะเห็นชัดว่านโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้นได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มตัวอย่าง ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวน 7,800 คน มีถึงร้อยละ 59.4 ที่แสดงความคิดเห็นว่าชื่นชอบนโยบายการให้เบี้ยยังชีพกับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นสถิติที่สูงกว่า การจัดการศึกษาฟรี 15 ปี นโยบายช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน 5 มาตรการ หรือแม้กระทั่งการประกันราคาพืชผลทางการเกษตร ที่มีประชาชนชื่นชอบเพียงร้อยละ 21.4 เท่านั้นเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นโยบายในการดูแลและสร้างหลักประกันด้านรายได้ยามชราภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งซึ่งหากเหลียวหน้าแลหลังแล้วโครงการที่ดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยก็มีเพียงโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเท่านั้นที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 โดยมีกรมประชาสงเคราะห์เป็นผู้ดูแลต่อมาภาระหน้าที่ในการจัดสรรเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุที่มีอายุเกินกว่า 60 ขึ้นไปและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ถูกทอดทิ้ง ขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือไม่สามารถเลี้ยงตนเอง ได้ถูกส่งต่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ภายหลังรัฐบาลกระจายอำนาจให้แก่ อปท.ทั่วประเทศโดยเบี้ยยังชีพส่วนหนึ่งมาจากเงินอุดหนุนของรัฐบาล และอีกส่วนหนึ่งมาจากเงินรายได้ของ อปท. เองเมื่อรัฐบาล อภิสิทธิ เวชชาชีวะเข้ามาบริหารประเทศได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องนี้ จึงประกาศโยบายต่อรัฐสภา จัดให้มีโครงการหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปัจจุบันจึงแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ แบบแรกจ่ายตามระเบียบปี 2548 ให้ผู้สูงอายุที่ยากจน และแบบที่สองจ่ายตามระเบียบปี 2552 ให้ผู้สูงอายุทุกคน โดยจ่ายในอัตราเดียวกันคนละ 300 บาท แต่ต่อมาเมื่อค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้มีการปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็น 500 บาทต่อเดือน ในวันที่12 ธันวาคม 2549ครั้งนั้นผู้สูงอายุทั่วประเทศใบหน้าเปื้อนยิ้มกันทุกคน แต่เวลาผ่านไปไม่นาน จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดทุกปีก็กลายเป็นภาระงบประมาณก้อนโตที่หลายภาคส่วนออกมาตั้งข้อสังเกตว่าในระยะยาวรัฐบาลอาจแบกรับภาระไม่ไหว ต้องมองหามาตรการอื่นเข้ามารองรับในอนาคตอันใกล้เพราะหากย้อนกลับไปดูตัวเลขผู้สูงอายุที่ขอรับเบี้ยยังชีพในปี 2550 จะพบว่ามีมากถึง 1.75 ล้านคน ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลต้องอุดหนุนงบประมาณเพื่อการยังชีพของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 10,532 ล้านบาท เป็นตัวเลขที่สูงกว่าในระยะเริ่มต้นอยู่มากที่มีผู้เข้าของการสงเคราะห์เพียง 20,000 คน รวมงบประมาณทั้งหมด 12 ล้าน
                ยิ่งมาดูตัวเลขในช่วงที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) เปิดให้ผู้สูงอายุทั่วประเทศมาลงทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นระยะๆพบว่าในปี 2553 มีผู้ที่นำหลักฐานแสดงตัวไปลงทะเบียน เพื่อรับเบี้ยยังชีพใหม่อีกถึง 906,371 คนในขณะที่ปี 2552 มีผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพแล้วทั่วประเทศ 5.9 ล้านคน รวมเบ็ดเสร็จมีผู้รับเบี้ยยังชีพในปี 2553 ทั้งสิ้น 6.8 ล้านราย รัฐบาลต้องใช้งบประมาณในการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับคนชรา เดือนละ 3,434 ล้านบาท หรือปีละ 41,216 ล้านบาท**เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ..ระเบียบที่ต้องจัดการใหม่ วันนี้แม้โครงการเบี้ยผู้สูงอายุ หรือโครงการสร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุจะเรียกคะแนนนิยมจากผู้เฒ่าผู้แก่ได้ไม่ใช่น้อย แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องในหลายภาคส่วนโดยเฉพาะกลุ่มนักวิชาการก็เห็นว่ามีหลายเรื่องที่รัฐบาลต้องทบทวนและหาแนวทางแก้ไขแบบเร่งด่วนประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือ ความพยายามสะท้อนข้อมูลเชิงวิชาการโดยการรวบรวมข้อมูล ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพในช่วง 4-5 ปีเพื่อชี้ให้เห็นว่า ไม่ว่าภูมิภาคใดจำนวนผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเหมือนกันเฉลี่ยระหว่างปีงบประมาณปี 2548-2550 มีผู้สูงอายุมากขึ้นถึงร้อยละ 116.5ตามระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พ.ศ.2552 ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุดังนี้ 1.มีสัญชาติไทย 2.มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 3.ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ ผู้รับเงินเบี้ยยังชีพตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย หรือกรุงเทพมหานครที่มากกว่านั้นต้องไม่เป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำหรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือ อปท.จัดให้เป็นประจำโดยขั้นตอนการยื่นคำขอและวิธีการพิจารณาคุณสมบัติผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตามระเบียบ ผู้สูงอายุต้องยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเองต่อผู้บริหาร อปท.ที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในวัน เวลา และสถานที่ที่ อปท.กำหนด พร้อมหลักฐาน ซึ่งประกอบด้วย 1.บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายพร้อมสำเนา 2.สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนาสำหรับในกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประสงค์จะขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคารในกรณีที่มีความจำเป็นไม่สามารถมาลงทะเบียนตามวันเวลา ที่ อปท.กำหนดได้ให้ผู้สูงอายุมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนหลังจากนั้น อปท.จะตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานของผู้สูงอายุที่ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากข้อมูลทะเบียนราษฏร์ แล้วให้ผู้บริหาร อปท.หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ณ ที่ทำการ อปท.และสถานที่อื่นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นกำหนด
ในส่วนของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ให้จัดส่งรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ให้อำเภอและจังหวัดทราบตามลำดับ และให้จังหวัดรวบรวมส่งให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทราบต่อไป
แนวคิดทางทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์
            ในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของการสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยในด้านความครอบคลุม  ความพอเพียง เกณฑ์คุณสมบัติผู้มีสิทธิรับ  กระบวนการคัดเลือกผู้สูงอายุรวมถึงการประเมินศักยภาพทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น จะอาศัยแนวคิดทางทฤษฎีดังต่อไปนี้ในการวิเคราะห์
บรรทัดฐานสำหรับการประเมินมาตรการ
 ความมีประสิทธิภาพในการช่วยเหลืออย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย
                เนื่องด้วยเจตนารมณ์ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 นั้น  ต้องการจะให้การช่วยเหลือทางการเงินพื้นฐานแก่ผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาส  ซึ่งมีกำหนดคุณสมบัติไว้อย่างเฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้มาฐานะยากจน  ขาดผู้เลี้ยงดู  ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และไม่มีความสามารถในการหารายได้ ดังนั้น บรรทัดฐานแรกในการประเมินมาตรการก็คือ ความมีประสิทธิภาพในการช่วยเหลืออย่างตรงกลุ่ม ในการวัดความตรงกลุ่มของเป้าหมายของมาตรการนั้น ได้สรุปชีวัดไว้ 2 ประเภท (ดูรูปภาพที่ 4-1 ประกอบ)  ได้แก่
                1. Horizontal  Targeting  Efficiency  (HT)  เป็นตัวชีวัดให้เห็นว่าในจำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมาย
(B+C) นั้น มีจำนวนผู้ที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายและได้รับผลประโยชน์ (B) อยู่มากน้อยเพียงไร
   
HT  =   B
             B + C

               

                2. Vertical  Targeting  Efficiency  (VT)  เป็นตัวชีวัดที่ให้เห็นว่าในประชากรกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์ (A+B)  มีจำนวนผู้ที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายและได้รับผลประโยชน์ (B) อยู่เพียงไร

VT =     B
           A + B




  
ในการศึกษาครั้งนี้ เราจะได้ทำการวัดความมีประสิทธิภาพในการช่วยเหลืออย่างตรงกลุ่มเป้าหมายตามนิยามต่างๆ ดังข้างต้นโดยตรง แต่เราจะพิจารณาถึงประเด็นที่ว่า ระบบการคัดเลือกผู้สูงอายุที่สมควรได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพในปัจจุบันนั้นมีโอกาสก่อให้เกิดการคัดเลือกผิดจากสาเหตุใด โดยใช้ข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้คัดเลือกผู้สูงอายุเราจะเน้นศึกษาในประเด็นการบริหารจัดการ  มาตรการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของกระบวนการคัดเลือก
                ความยุติธรรม
                ในความเป็นจริงนั้น  ความยุติธรรมมีนิยามหลากหลาย  ในบริบทของการสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุของประเทศไทย ความยุติธรรมในแนวตั้งเกิดขึ้นเมื่อผู้ที่มีความสามารถเชิงเศรษฐกิจที่ด้อยกว่าเป็นผู้ที่มีโอกาสสูงกว่าในการได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพ  เช่น  ได้รับการจัดให้อยู่ในลำดับต้นๆ ของบัญชีรายชื่อผู้สูงอายุ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีความสามารถในเชิงเศรษฐกิจที่สูงกว่า  ส่วนความยุติธรรมในแนวนอนนั้น จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ที่มีความสารถเชิงเศรษฐกิจที่เหมือนกัน  แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่างกัน  แต่ควรจะได้รับการปฏิบัติเหมือนกัน หรืออีกนัยหนึ่ง หากผู้ใดเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติต่างๆ เหมือนกัน เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจเหมือนกัน  ไม่มีผู้ดูแลเหมือนกัน  ไม่ว่าผู้สูงอายุจะอยู่ในพื้นที่ใด ควรจะได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพเหมือนกัน
ศักยภาพทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                แหล่งที่มาของเงินงบประมาณสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยนั้น ได้แก่ เงินอุดหนุนเฉพาะกิจที่รับจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นเอง  ในส่วนหลังนี้จะเป็นกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการจัดสรรเงินสงเคราะห์เพิ่มเติมจากกรอบงบประมาณจากเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ทั้งในด้านจำนวนผู้สูงอายุและ/หรือจำนวนเงินสงเคราะห์ต่อเดือน  การประเมินศักยภาพการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นสามารถประเมินได้ใน 2 มิติ ได้แก่
                ศักยภาพทางการคลังในการจ่ายเงินเพื่อผู้สูงอายุในบัญชีสำรอง  (เพิ่มจำนวนผู้รับ)
                ในการพิจารณาว่า  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีศักยภาพเพียงพอที่จะเพิ่มงบประมาณให้กับผู้สูงอายุที่มีชื่ออยู่ในบัญชีสำรองด้วยงบประมาณจากรายรับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองหรือไม่  โดยเปรียบเทียบงบประมาณที่จำเป็นต้องจ่ายให้กับผู้สูงอายุที่มีชื่ออยู่ในบัญชีสำรอง  (คำนวณจากจำนวนผู้สูงอายุในบัญชีสำรอง × 500 บาทต่อคนต่อเดือน × 12 เดือน) กับรายได้จัดเก็บเองรายได้ที่รัฐจัดเก็บและจัดสรรให้ (ไม่รวมเงินอุดหนุนที่รัฐบาลให้โดยระบุวัตถุประสงค์และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ)
               
ศักยภาพทางการคลังในการจ่ายเงินเพิ่มเพื่อความพอเพียง (เพิ่มจำนวนเงิน)
                ในการพิจารณาว่า  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีศักยภาพเพียงพอที่จะเพิ่มงบประมาณให้กับการจ่ายเงินเพิ่มสำหรับผู้สูงอายุที่รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพอยู่ในปัจจุบัน  ด้วยงบประมาณจากรายรับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองหรือไม่  จะทำการเปรียบเทียบงบประมาณที่จำเป็นต้องจ่ายให้กับผู้สูงอายุที่รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพอยู่ในปัจจุบัน(คำนวณจากจำนวนผู้สูงอายุที่รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพอยู่ในปัจจุบัน × จำนวนเงินต่อคนต่อเดือนที่จะเพิ่มให้ × 12 เดือน) กับรายได้ที่จะจัดเก็บเอง  รายได้ที่รัฐจัดเก็บและจัดสรรให้ (ไม่รวมเงินอุดหนุนที่รัฐบาลให้โดยระบุวัตถุประสงค์และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ)       
ข้อสรุป
            กระบวนการคักเลือกผู้สูงอายุขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น
            ผลการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างข้อมูลเชิงลึกพบว่า ในด้านกระบวนการคัดเลือกผู้สูงอายุ เราสามารถแบ่งรูปแบบการคัดเลือกผู้สูงอายุที่สมควรได้รับเบี้ยยังชีพออกได้เป็น 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ 1) ให้ผู้สูงอายุทุกคนตามสิทธิของประชาชนชาวไทย  2) ให้ผู้สูงอายุตามเกณฑ์แต่กระจายอำนาจให้ชุมชนเป็นผู้กลั่นกรอง3) ให้ผู้สูงอายุตามเกณฑ์โดยมีคณะกรรมการระดับหมู่บ้านและท้องถิ่นเป็นผู้กลั่นกรอง  โดยทั้งสามรูปแบบจะมีความแตกต่างกันในเรื่องความเข้มงวดในการคัดกรองผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตรงตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ
            จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ที่มีการปกครองรูปแบบเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะใช้กระบวนการคัดเลือกผู้สูงอายุที่เข้มงวด โดยมีคณะกรรมการระดับท้องถิ่นเป็นผู้กลั่นกรองอีกครั้ง  ในขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเข้มงวดในกระบวนการคัดเลือกผู้สูงอายุน้อยกว่าเทศบาล  ซึ่งเหตุผลในประเด็นดังกล่าวอาจจะเนื่องมาจากในพื้นที่เทศบาลมีประชากรผู้สูงอายุที่มีฐานะความยากไร้แตกต่างกันและมีสัดส่วนผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับพื้นที่การปกครองแบบองค์การบริหารส่วนตำบล  ซึ่งส่วนใหญ่จะมีจำนวนผู้สูงอายุที่ยากไร้จริงๆ และไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องฐานะมากนัก  อีกทั้งในระดับองค์การบริหารส่วนตำบลโดยเฉพาะขนาดเล็กผู้บริหารจะมีความใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่มาก จึงมีความลำบากใจ ในการตัดสินใจให้หรือไม่ให้เงินสงเคราะห์แก่ผู้สูงอายุ
              นอกจากนี้ ในแง่ของคณะกรรมการกลั่นกรองรายชื่อผู้สูงอายุจากการศึกษาพบว่า  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีคณะกรรมการกลั่นกรองจะมีสัดส่วนการคัดค้านบัญชีรายชื่อน้อยกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่มีคณะกรรมการกลั่นกรอง
             ปัญหาที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเรื่องเบี้ยยังชีพ
             จากข้อมูลพบว่า  ปัญหาหลักที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำลังเผชิญอยู่สามอันดับแรก ได้แก่ 
1.งบประมาณของท้องถิ่นไม่เพียงพอที่จะจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่จำเป็นได้อย่างทั่วถึง  2. ระดับของเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่จัดสรรในปัจจุบันไม่พอเพียงต่อการดำรงชีวิต  3. กระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติและการคักเลือกกินเวลานาน
              นอกจากนี้ ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เกณฑ์ในการคักเลือกผู้สูงอายุไม่ชัดเจนทำให้ยากต่อการคัดเลือกผู้สูงอายุให้ตรงเป้าหมาย  ซึ่งเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจนยังส่งผลให้กระบวนการคัดเลือกผู้สูงอายุที่เหมาะสมได้รับเบี้ยยังชีพขาดความเป็นธรรมและขาดความโปร่งใส จากประเด็นดังกล่าวมีบางท้องถิ่นที่มีข้อเสนอแนะว่า  ควรให้ท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้สูงอายุที่ควรได้รับเบี้ยยังชีพเอง  ในขณะเดียวกันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งยังประสบปัญหาปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น บางท้องถิ่นมีผู้สูงอายุที่ยากไร้ย้ายมาจากพื้นที่อื่น  ทำให้ผู้สูงอายุในท้องถิ่นไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ  เป็นต้น

ทัศนคติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

                อนาคตเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุที่คาดหวัง
                ในส่วนเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคาดหวัง จากการศึกษาพบว่า  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่แสดงทัศนคติไปในทิศทางเดียวกันว่าต้องการให้ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น  แต่ให้เฉพาะผู้สูงอายุที่ยากไร้” โดยเหตุผลที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกล่าวก็คือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุควรให้แก่ผู้สูงอายุที่ยากไร้จริงๆ เพื่อไม่ให้เป็นภาระทางการคลังแก่รัฐบาล ขณะเดียวกันมูลค่าของเบี้ยยังชีพในปัจจุบันก็มีมูลค่าน้อย รัฐบาลควรเพิ่มมูลค่าให้เพียงพอแก่การยังชีพของผู้สูงอายุ  แต่ก็มีจำนวนหนึ่ง (ประมาณ 1 ใน 3) ที่เห็นว่าควรจะให้ผู้สูงอายุทุกคนได้รับอย่างเสมอภาคกัน
                ทัศนคติต่อเกณฑ์การคักเลือก
                องค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่มีความเห็นว่า เกณฑ์ในการกำหนดผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตากระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. 2548  มีความเหมาะสมดีอยู่แล้วเมื่อพิจารณาตามขนาดขององค์การบริหารส่วนตำบลจะเห็นได้ว่ามากกว่าร้อยละ 90 ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุกขนาดมีความเห็นว่าเกณฑ์ดังกล่าวมีความเหมาะสม  โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่มีสัดส่วนร้อยละ 100 อย่างไรก็ตาม มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งที่คิดว่าเกณฑ์ดังกล่าวไม่เหมาะสม  โดยมีเหตุผลว่าควรให้ท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นกำหนดเอง  และเกณฑ์ดังกล่าวควรระบุให้ชัดเจนมากกว่านี้
                การให้ประชาคมเข้ามามีส่วนร่วม
                ทัศนคติที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่น่าสนใจ  คือ การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาคม  ผลการรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามแสดงให้เห็นว่า โดยส่วนใหญ่แล้วองค์การบริหารส่วนตำบลเห็นด้วยกับการมีส่วนร่วมของประชาคมในการคัดเลือกผู้สูงอายุที่เหมาะสมจะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  เมื่อพิจารณาตามภูมิภาคผลการศึกษาพบว่า ภาคเหนือและภาคใต้มีความเห็นสมควรให้ประชาคมเข้ามามีส่วนร่วมถึงร้อยละ 100 ในขณะที่ภาคกลางและภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเห็นสมควรให้ประชาคมเข้ามามีส่วนร่วมร้อยละ 89.5 และร้อยละ 81 ตามลำดับ เพราะเห็นว่าระบบการลงคะแนนอาจจะนำมาสู่การคัดเลือกผิดก็ได้   อย่างไรก็ตามมีบางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้ต้องการให้ประชาคมเข้ามามีส่วนร่วม โดยให้เหตุผลว่าการทำประชาคมบางพื้นที่ ชาวบ้านที่มาทำประชาคมจะเลือกคนที่ตนรู้จักทำให้บางครั้งอาจเกิดความลำเอียง ขาดความยุติธรรม นอกจากนี้  การประชาคมบางครั้งก็ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์เท่าที่ควร  ควรให้ข้าราชการ  พนักงานของท้องถิ่นออกไปตรวจสอบเองตามความเป็นจริง
                จากการเก็บข้อมูลและการสัมภาษณ์โดยตรงทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมของปัญหาได้ว่า  เกณฑ์ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ในการคัดเลือกผู้สูงอายุในปัจจุบันไม่สามารถครอบคลุมการคัดเลือกผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้ตรงตามเป้าหมายได้ทุกพื้นที่เนื่องจากแต่ละพื้นที่ก็มีสภาพเศรษฐกิจสภาพความเป็นอยู่ และผู้คนที่แตกต่างกัน  นอกจากนี้ แต่ละพื้นที่ก็กำหนดความหมายของประชาคมแตกต่างกัน ทำให้การคัดเลือกผู้สูงอายุขาดความโปร่างใสอันเนื่องมาจากประชาคมใช้ระบบการลงคะแนนซึ่งจะนำมาสู่การคัดเลือกที่ผิดก็ได้
                ความครอบคลุม   ความพอเพียง
                เมื่อพิจารณาสัดส่วนผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพแล้วต่อผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพทั้งหมดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำการศึกษาพบว่า  แม้สัดส่วนดังกล่าวจะมากกว่าสัดส่วนบัญชีสำรองต่อผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  แต่ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ทั้งหมด
นอกจากนี้  จากการเก็บข้อมูลยังค้นพบประเด็นสำคัญ คือ ทัศนคติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยส่วนใหญ่ยังคงต้องการให้เบี้ยยังชีพเพิ่มจำนวนขึ้น  โดยให้เฉพาะผู้ด้อยโอกาสจริงๆ  มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 42.6 ที่เห็นด้วย ในประเด็นนี้  และทัศนคติที่ต้องการให้เบี้ยยังชีพเพิ่มขึ้นโดยให้ผู้สูงอายุทุกคนร้อยละ 22.1 จากผลการศึกษาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปัจจุบันในทัศนคติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องการให้เบี้ยยังชีพเพิ่มจำนวนขึ้นแต่จากข้อมูลยังไม่พบว่ามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่ทำการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเงินเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากกว่า 500 บาทต่อคนต่อเดือน  หากแต่ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมีงบประมาณเพียงพอ  ก็จะเลือกที่จะขยายจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพให้เพิ่มขึ้น (ให้ครอบคลุม)  มากกว่า ที่จะเพิ่มเงินให้เพียงพอแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพอยู่แล้ว
ศักยภาพทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในปัจจุบัน  งบประมาณสำหรับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุนั้นมาจากงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจและงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง  ซึ่งกำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 500 บาทต่อคนต่อเดือน เมื่อพิจารณาถึงศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการต่อยอดมาตรการนี้  เช่น  เพิ่มจำนวนเงินต่อเดือนให้กับผู้ที่ได้รับเงินเดิม  พบว่า  ศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นยังค่อนข้างจำกัด  มีเพียงองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่  เทศบาลตำบล  เทศบาลเมือง  หรือเทศบาลนครเท่านั้นที่การต่อยอกมาตรการในลักษณะดังกล่าวไม่ถูกจำกัดโดยศักยภาพทางการคลังมากนัก  แต่ทั้งนี้หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กหรือกลางมีการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติอย่างเข้มข้นและได้คนตรงเป้าหมาย  ไม่คัดเลือกอย่างเหวี่ยงแห องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองก็มีศักยภาพพอเพียงที่จะต่อยอดนโยบายในลักษณะดังกล่าว  เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุอย่างแท้จริงได้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                การสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับปรัชญาของระบบการเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพ
                ระบบการเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุนั้น  ควรจะเป็นระบบที่จัดสรรทรัพยากรเพื่อผู้สู.อายุที่ด้อยโอกาสที่แท้จริงและผู้สูงอายุควรที่จะได้รับการช่วยเหลือในระดับที่เหมาะสม  ดังนั้นรัฐบาลควรจะเน้นย่ำให้เป็นที่เข้าใจตรงกันในเรื่องปรัชญาของระบบเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพ  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการตีความเข้าข้างตนเอง  อันจะนำมาซึ่งความไม่ตรงป้า  รวมไปถึงความยุติธรรมในแนวตั้งและแนวนอน  รวมทั้งควรระบุชัดเจนในระเบียนที่ใช้อีกด้วย
               

ควรจะมีเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณในระดับมหาภาค
                เนื่องจากทิศทางการจัดสรรงบประมาณไปสู่ระดับจังหวัดในปัจจุบันนั้น  มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงในจังหวัดนั้นๆ ดังนั้น  ในการจักสรรงบประมาณสู่จังหวัดในระดับภาพรวม  กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นควรที่จะพิจารณาผลการจักสรรงบประมาณในภาพรวมโดยการพิจารณาเกณฑ์ที่เป็นไปได้  เช่น  สัดส่วนของผู้สูงอายุภายในจังหวัดเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้สูงอายุทั่วประเทศ  สภาพความยากจนของประชาชนในแต่ละจังหวัด  จำนวนผู้สูงอายุที่เข้าข่ายคุณสมบัติ  เช่น  จำนวนผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง เป็นต้นโดยยึดความตรงเป้าหมายความยุติธรรมในแนวนอน  และความยุติธรรมในแนวตั้งเป็นบรรทัดฐาน
                สร้างความชัดเจนเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิในการรับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพ
                ควรมีการแก้ไขระเบียบกระทรวงมหาดไทย  เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพ  โดยให้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับให้ชัดเจน เนื่องจากระเบียบฯในปัจจุบันก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคุณสมบัติ เช่น การมีอายุเกินกว่า 60 ปีขึ้นไป  ถือเป็นคุณสมบัติหนึ่ง  ไม่จำเป็นต้องมีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ  ถูกทอดทิ้ง  หรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู  หรือไม่สามารถเลี้ยงตนเองได้  ก็มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพ  อีกทั้งควรจะกำหนดคุณสมบัติต่างๆ ดังกล่าวให้มีความเป็นรูปธรรมในระดับหนึ่งเพื่อความสะดวกและชัดเจนตรงไปตรงมาเมื่อนำระเบียบไปปฏิบัติในทางปฏิบัติการกำหนดคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติการไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ  การถูกทอดทิ้ง การขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู  และการไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้นั้น  ควรจะกำหนดโดยรัฐบาลกลางอย่างที่เป็นอยู่แล้ว  เนื่องจากผู้ด้อยโอกาสหากอาศัยอยู่ในประเทศไทยเหมือนกัน ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใด ควรได้รับการปฏิบัติไปในทางเดียวกัน นอกจากนั้นคุณสมบัติบางข้อ  เช่น  การถูกทอดทิ้งและการขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู  ควรจะมีการแยกแยะออกจากประเด็นของการไม่ได้อยู่รวมกันกับบุตรหลาน  เป็นต้น  อีกทั้งคุณสมบัติที่เป็นรูปธรรมบางประการก็ควรกำหนดให้ชัดเจนและนำมาพิจารณาด้วยเช่นกัน  โดยเฉพาะคุณสมบัติที่บ่งถึงการมีความสามารถเชิงเศรษฐกิจและตรวจสอบได้โดยระบบราชการที่มีอยู่ในปัจจุบัน  เช่น  การถือครองที่ดิน  ที่อยู่อาศัย  (จ่ายภาษีโรงเรือน  ภาษีบำรุงท้องที่)  เป็นต้น  ประเด็นนี้จำเป็นต้องประชาสัมพันธ์ในลักษณะที่บ่งว่ามีคนช่วยหรือไม่มี  มิฉะนั้นอาจจะเกิดการเลี่ยงจ่ายภาษีขึ้นเนื่องจาก  ประเด็นสุขภาพ  เช่น  การมีโรคเรื้อรัง  ก็ควรจะนำมาเป็นคุณสมบัติที่ชัดแจ้งเพื่อใช้ในกระบวนการคัดเลือก
                นอกจากนั้น  ภายใต้บริบทของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอาจจะกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถกำหนดเกณฑ์ที่ไม่ขัดกันเกณฑ์กลางเพิ่มขึ้นได้  เพื่อสะท้อนลักษณะบางประการที่มีความแตกต่างระหว่างพื้นที่
                การกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิในการรับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพอย่างเป็นรูปธรรม
                นอกจากการสร้างความชัดเจนให้เกิดขึ้นกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแล้ว  ควรสร้างความสอดคล้องให้เกิดขึ้นระหว่างระบบบำนาญภาครัฐ  (ระบบบำนาญแบบไม่มีส่วนร่วมสมทบ)  อีกด้วย  โอกาสการกำหนดให้ผู้ที่ได้รับเงินบำนาญจากระบบบำนาญภาครัฐ  ไม่ว่าจะเป็นระบบบำนาญสำหรับข้าราชการส่วนกลางและท้องถิ่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกองทุนประกันสังคม  กองทุนครูและครูใหญ่ในโรงเรียนเอกชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ  เป็นต้น  ต้องไม่สามารถรับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพได้การกำหนดคุณสมบัติดังกล่าวเพิ่มเติมควรจะเป็นเกณฑ์คุณสมบัติกลาง  นอกจากจะไม่ขัดแย้งกันกับคุณสมบัติเดิมแล้ว  ยังจะทำให้คุณสมบัติมีความเป็นรูปธรรมขึ้นอีกขั้นหนึ่ง
                ส่งเสริมการสร้างระบบกลั่นกรองผู้รับการเสนอชื่อเพื่อรับเงินสงเคราะห์
                ควรส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลสร้างระบบการกลั่นกรองคุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพของแต่และพื้นที่  นอกเหนือจากการใช้ประชาคมในการคัดเลือก  ทั้งนี้เพื่อประสานนิยามของความลำบาก  ความด้อยโอกาส  ความยากจน  ไม่ให้เกิดความแตกต่างกันในแง่ของความเข้าใจหรือการตีความที่แตกต่าง  อันจะนำไปสู่ความยุติธรรมในแนวตั้ง (ผู้ยากไร้ควรได้รับ)  และความยุติธรรมในแนวนอน(ผู้มีฐานะเหมือนกัน ควรได้รับการปฏิบัติเหมือนกัน)
                สร้างระบบตรวจสอบผลการคัดเลือกผู้สูงอายุ
                ควรจะสร้างระบบเพื่อตรวจสอบ (อาจจะเป็นการสุ่มตรวจสอบ) คุณสมบัติของผู้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพ  โดยหน่วยงานนั้นจะต้องเป็นหน่วยงานที่ใหญ่กว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  อาจเป็นหน่วยตรวจสอบระดับจังหวัด  หรือระดับภูมิภาคย่อย นอกเหนือจากการบรรลุวัตถุประสงค์การช่วยเหลือผู้สูงอายุอย่างตรงเป้าหมายแล้ว  ยังเป็นการส่งเสริมการสร้างวินัยทางการคลังแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปพร้อมกันด้วย
ทุจริต-หักค่าหัวคิว..ปัญหาใหญ่เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
17 ปีของการดำเนินโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กฎ เกณฑ์การทำงานถูกปรับเปลี่ยนเพื่ออุดรูรั่วต่างมากมาย แต่ทว่าปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกลับไม่ลดลงเลย โดยเฉพาะเรื่องของการทุจริตกลับมีเสียงร้องเรียนหนาหูขึ้นทุกวันโดยในช่วงที่ผ่านมามีรายงานว่า อบต.หลายแห่งมีการเก็บค่าหัวคิว บางแห่งไม่มีการจ่ายเบี้ยยังชีพติดต่อกันหลายเดือน บางแห่งงบประมาณถูกกันไว้ให้ผู้สูงอายุในเครือข่ายของหัวคะแนนนักการเมือง
ยกตัวอย่าง กรณีที่เป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ เช่น กลุ่มคนชราที่ได้รับเบี้ยยังชีพ ต.หนองกง อ.นางรอง
จ.บุรีรัมย์ ได้ออกมาให้ข้อมูลว่า อบต.หนองกง ไม่มีความโปร่งใสในการจ่ายเบี้ยยังชีพ เนื่องจากผู้สูงอายุในตำบลหนองกง มีทั้งหมด 600 คน ถูกเรียกเก็บเงินหัวละ 20 บาท จากเงิน 500 บาท หากใครไม่ยอมจ่ายให้เดินทางไปรับเงินเองที่ธนาคาร ซึ่งหากรวมเงิน 20 บาทที่เจ้าหน้าที่ อบต.หนองกงหักจากคนชรา 600 คนจะทำให้ อบต. นั้นมีรายได้ถึงเดือนละ 12,000 บาท รวมเวลาเรียกเก็บกว่า 3 ปีแล้วเป็นเงินมากถึง 432,000 บาท
ในขณะที่พื้นที่อื่นๆ ก็มีปัญหาไม่แตกต่างกันมาก เช่น ที่กาฬสินธุ์มีผู้สูงอายุไม่น้อยกว่า 100 คนที่ได้รับเบี้ยยังชีพเพียงเดือนละ 250 บาทจาก 500 บาท บางพื้นที่ก็ได้รับเพียง 300 บาทต่อเดือนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบางจุดเกิดจากรัฐบาลส่งผ่านงบประมาณล่าช้า ทำให้การกระจายเบี้ยยังชีพไม่ทั่วถึง แต่หลายพื้นที่ก็มีการทุจริตเกิดขึ้นจริง เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจึงต้องไล่เช็คบิลเร่งสะสางปัญหาเพื่อให้คนชราได้รับผลประโยชน์แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย
อนาคต เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ดูเหมือนจะมีปัญหาแฝงอยู่มากมาย แม้วันนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่ารัฐบาลจะเดินหน้าต่ออย่างไรในระยะยาว แต่งานวิจัยปัญหาเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเขียนโดย  วรเวศน์ สุวรรณระดา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น