วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาการค้าสัตว์ป่าในปัจจุบัน นางสาวณัฏฐ์ณิชา ดอนปัญญา 53241882


บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง ปัญหาการค้าสัตว์ป่าในปัจจุบัน


สัตว์ป่าสงวน (Preserved Animals) เป็นสัตว์ป่าที่หายากหรือกำลังจะสูญพันธุ์ จึงห้ามล่าหรือมีไว้ในครอบครอง ทั้งสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่หรือซากสัตว์ เว้นแต่การกระทำเพื่อการศึกษาวิจัยทางวิชาการ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข็มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่างๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยสัตว์ป่าและพืชป่า (CTTES) ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ..2518 และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ..2526 นับเป็นสมาชิก ลำดับที่ 80 จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุง พระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ..2535 ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ..2535
                 สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่ หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้และตามที่กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวกโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขหรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องถึงกับต้องแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างของเดิม ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง 7 ชนิด และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการที่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มาก 1 ชนิด คือ เนื้อทราย รวมกับสัตว์ป่าสงวนเดิม 8 ชนิด รวมเป็น 15 ชนิด[1] ได้แก่
1.             นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae)
2.             แรด (Rhinoceros sondaicus)
3.             กระซู่ (Dicerorhinus sumatrensis)
4.             กูปรีหรือโคไพร (Bos sauveli)
5.             ควายป่า (Bubalus bubalis)
6.             ละอง หรือละมั่ง (Rucervus eldi)
7.             สมัน หรือเนื้อสมัน (Rucervus schomburki)
8.             เลียงผา หรือเยือง หรือกูรำ หรือโครำ (Capricornis sumatraensis)
9.             กวางผา (Naemorhedus griseus)
10.      นกแต้วแล้วท้องดำ (Pitta gurneyi)
11.      นกกระเรียนไทย (Grus antigone)
12.      แมวลายหินอ่อน (Pardofelis marmorata)
13.      สมเสร็จ (Tapirus indicus)
14.      เก้งหม้อ (Muntiacus feai)
15.       พะยูน หรือหมูน้ำ (Dugong dugon)

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 
----------------------- 
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2546 เป็นปีที่ 58 ในรัชกาลปัจจุบัน

 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์มหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติ บางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่ง มาตรา 29 ประกอบกับ มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองโดยยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย หากมาแจ้งรายการเกี่ยวกับชนิดและจำนวนของสัตว์ป่าคุ้มครองที่อยู่ในความครอบครองของตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ให้บังคับ ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
หากเจ้าหน้าที่หรือผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองนั้น ประสงค์จะเลี้ยงดูสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นต่อไป ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสภาพการเลี้ยงดูสัตว์ป่าคุ้มครองของผู้นั้นว่าอยู่ในสภาพอันสมควรและปลอดภัยแก่สัตว์นั้นเพียงใด หากเห็นว่าสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นได้รับการเลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ในสภาพอันสมควร และปลอดภัยให้อธิบดีอนุญาตให้ผู้นั้นครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นต่อไปได้ โดยออกใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวไว้ให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง ใบอนุญาตดังกล่าวให้มีอายุเพียงเท่าอายุของสัตว์ป่าคุ้มครองนั้น ผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยการเลี้ยงดูสัตว์ป่าคุ้มครองที่รัฐมนตรีกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ และเมื่อสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นตามหรือเพิ่มจำนวนขึ้นโดยการสืบพันธุ์ ผู้รับใบอนุญาตต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเพิ่มจำนวน หรือตาย
หากผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองนั้น ไม่ประสงค์จะเลี้ยงดูสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นต่อไป หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบตามวรรคหนึ่งแล้ว เห็นว่าสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นไม่อาจได้รับการเลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ในสภาพอันสมควรและปลอดภัยได้ ให้ 
                                                          
เจ้าของหรือผู้ครอบครองจำหน่ายสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นให้แก่ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะตาม มาตรา 29 แห่ง พระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 หรือจำหน่ายสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดตาม มาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ให้แก่ผู้รับใบอนุญาตเพาะพันธุ์ตาม มาตรา 18 แห่ง พระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ ได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือวันที่ได้รับแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตจากอธิบดี แล้วแต่กรณี และเมื่อสิ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ยังมีสัตว์ป่าคุ้มครองเหลืออยู่เท่าใดให้สัตว์ป่าคุ้มครองนั้นตกเป็นของแผ่นดิน และให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองส่งมอบสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นให้แก่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช หรือกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือกรมประมง แล้วแต่กรณี เพื่อนำไปดำเนินการ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
แบบและวิธีการแจ้งและ การออกใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวให้เป็นไป ตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 61 วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ 


:: ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ 
:: พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 

*หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ชอบด้วย กฎหมายจำนวนมากที่ไม่ได้นำสัตว์ป่าคุ้มครองมามอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม มาตรา 66 หรือไม่ได้มาแจ้งรายการเกี่ยวกับชนิดและจำนวนของสัตว์ป่าคุ้มครองตาม มาตรา 67 แห่ง พระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่สามารถควบคุมดูแล ให้ผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองได้ สมควรกำหนดให้ผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแจ้ง การครอบครองและขออนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองดังกล่าว ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่ต้องรับโทษ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
(รก. ล.120 ต.41 ก น.1)



หลักการและเหตุผล
           สัตว์ป่าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของระบบนิเวศของป่า สัตว์ป่าเป็นตัวช่วยเร่งให้เกิดการหมุนเวียนของพลังงานในระบบนิเวศของป่า จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาระบบความสมดุลทางธรรมชาติและทำให้ระบบนิเวศมีความมั่นคง บางครั้งสัตว์ป่าจึงถูกใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของทรัพยากรป่าไม้ ในทางกลับกันสถานภาพทรัพยากรป่าไม้ก็ส่งผลโดยตรงต่อกาคงอยู่ของสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นด้วยเช่นกัน เพราะระบบนิเวศของป่าไม้และสัตว์ป่ามีการเกื้อกูลกันจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าจึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการจัดการควบคู่กันไป
 การลดลงของพื้นที่ป่าในประเทศไทยเริ่มขึ้นในทันทีเมื่อมีการเปิดประเทศเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และสังคมของประชาคมโลก เงินตราที่ใช้ในการพัฒนาประเทศไปสู่ความนำสมัยในช่วงลายปี พ.ศ. ที่ 2440 เป็นเงินภาษีที่รัฐได้จากการเปิดสัมปทานทำไม้ ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยปราศจากการควบคุม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2484 รัฐบาลจึงต้องออกกฎหมายเพื่อควบคุมกิจกรรมการทำไม้ดังกล่าว ต่อมาแหล่งเงินตราที่ใช้ในการพัฒนาประเทศเปลี่ยนจากไม้ไปเป็นการส่งสินค้าทางการเกษตรที่ส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ หลังจากที่มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปีพ.ศ. 2504 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรของไทยอย่างรวดเร็ว จากวิธีทำการเกษตรเพื่อจำหน่ายภายในประเทศถูกขยายเป็นการทำการเกษตรเพื่อการส่งออก ยังผลให้เกิดการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งทำให้ในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมาพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยลดลงอย่างรวดเร็ว จากที่เคยมีพื้นที่ป่าของประเทศประมาณ 171 ล้านไร่ หรือร้อยละ 53.33 ของพื้นที่ประเทศ ในปี พ.ศ. 2504 ลดลงเหลือเพียง 107 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 33.40 ของพื้นที่ประเทศ ในปี 2543 นอกจากนั้นในพื้นที่ 107 ล้านไร่ที่เหลืออยู่ ยังมีสภาพเป็นกลุ่มป่าขนาดต่างๆ กัน ตั้งแต่หลายสิบไร่จนถึงหลายล้านไร่ ทำให้ไม่ติดต่อกัน ทำให้มีผลต่อการลดลงของจำนวนประชากรสัตว์ป่าในระยะยาว การลดลงอย่างรวดเร็วของพื้นที่ป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ย่อมมีผลกระทบอย่างรุนแรงและเป็นเหตุให้สัตว์ป่าลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน จนทำให้สัตว์ป่าบางชนิดต้องสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยและบางชนิดที่ปริมาณลดลงจนใกล้สูญพันธุ์
           สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรที่อำนวยประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติอย่างต่อเนื่องและยาวนาน โดยสัตว์ป่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญของชุมชนโดยเฉพาะชุมชนรอบป่า สัตว์ป่าจึงกลายเป็นทั้งแหล่งอาหารและเศรษฐกิจที่สำคัญของพื้นที่บริเวณแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า นอกจากนี้เมื่อการติดต่อสื่อสารและเทคโนโลยีด้านต่างๆ ทันสมัยขึ้น การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์ป่าจึงมีมากขึ้นทั้งปริมาณและรูปแบบการใช้ประโยชน์จากเดิมที่เราใช้สัตว์ป่าเป็นเพียงอาหาร ใช้แรงงาน และใช้เป็นพาหนะ ต่อมาได้พัฒนามาเป็นการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือขายจนเป็นอาชีพที่ดำเนินการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังเช่นคำจารึกที่พบในหลักศิลาจารึกว่า ใครใคร่ค้าช้างค้า ใครใคร่ค้าม้าค้าแสดงนัยว่า รัฐให้อิสระแก่ราษฎรในการค้าขายสัตว์ป่าต่อมาจำนวนสัตว์ป่าอาจถูกล่าจนมีจำนวนลดลง ในสมัยกรุงศรีอยุธยารัฐจึงต้องออกมาตรการควบคุมการล่าสัตว์ป่าบางชนิดโดยเฉพาะช้างป่า ซึ่งจัดว่าเป็นสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองเป็นชนิดแรกในประเทศไทย
          การอนุรักษ์สัตว์ป่าในประเทศไทยนั้นได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 หลังจากที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 โดยได้มีการกันพื้นที่ไว้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ทั้งในรูปแบบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ปัจจุบันมีพื้นที่ที่ได้ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแล้วประมาณ 25 ล้านไร่ นอกจากนี้ได้มีการกำหนดพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ในรูปแบบอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เป็นการช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากพื้นที่ที่ได้รับการประกาศนี้ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสัตว์ป่า โดยมีพื้นที่ที่ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแล้วประมาณ 43 ล้านไร่ ในปัจจุบันแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองใช้หลักการจัดการเชิงพื้นที่ หรือการจัดการเชิงระบบนิเวศ(Ecosystem Management) ซึ่งเป็นการทำงานเชิงบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
           นอกจากประเทศไทยจะได้มีการอนุรักษ์พื้นที่ไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และมีมาตรการควบคุมการล่าสัตว์ป่าแล้ว ยังได้ให้ความร่วมมือกับประชาคมโลกในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า ด้วยการเข้าเป็นสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์(Convention on International Trade in Endanger Species of Wild Fauna and Flora : CITES) ที่เป็นความร่วมมือของสมาชิกในการที่จะร่วมกันควบคุมและป้องกันการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศ ตลอดจนเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพและอนุสัญญา RAMSAR ว่าด้วยการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำในการอนุรักษ์ชนิดและชนิดถิ่นที่อยู่อาศัยและสัตว์ป่าเหล่านั้น
             ถึงแม้จะมีมาตรการประกาศพื้นที่ไว้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และมีมาตรการในการควบคุมการใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าแล้ว แต่เมื่อสถานการณ์ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและมีปัจจัยภายนอกเข้ามามีผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของสัตว์ป่าเสมอ เพื่อให้การอนุรักษ์มีประสิทธิ์ภาพ ต่อเนื่อง และเป็นที่รับทราบของบุคคลที่เกี่ยวของทุกสาขา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์ป่าขึ้น ให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมโดยได้มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและปัจจัยภายในและภายนอก (SWOT Analysis) ตลอดจนได้มีการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคม ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 จนถึงวันที่ 25 มีนาคม 2547 และนำผลการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะดังกล่าวมาเป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดทำแผนแม่บทการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติขึ้น เพื่อให้สัตว์ป่าสามารถดำรงเผ่าพันธุ์และอำนวยประโยชน์ต่อประชาชนในชาติอย่างยั่งยืนตลอดไป
            ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ต้องมีการทำ พระราชบัญญัติขึ้นมา เพื่อความปลอดภัยของสัตว์ป่า และมิให้ผู้ใดได้ล่าสัตว์ป่า หรือมีไว้ครอบครองนั่นเอง ในปัจจุบันการค้าสัตว์ป่าสงวนได้ทวีคูนขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีคนส่วนใหญ่ชอบค้าสัตว์ป่า นำไปขายได้รายได้ดี เพราะสัตว์ป่าสงวนนั้นเป็นสัตว์ที่ต้องการแก่ชาวต่างชาติ หรือคนในประเทศที่ชอบทานของแปลก ของหายาก จากปัญหาเหล่านี้ยังมีปัญหาด้านการค้าสัตว์ป่าอีกมากมาย ที่เป็นสาเหตุทำให้สัตว์ป่าลดน้อยลง และสูญพันธุ์อย่างรวดเร็ว
ปัญหาการค้าสัตว์ป่าในประเทศไทย
           ธุรกิจการลักลอบค้าสัตว์ป่าถือได้ว่าเป็นหนึ่งในธรกิจตลาดมืดที่ให้กำไรต่ออาชญากรผู้ค้าสูง ผลกระทบจากการค้าผนวกกับการสูญเสียพื้นที่ป่า ส่งผลให้สัตว์ป่าหลายชนิดอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ การลักลอบค่าสัตว์ ตัดไม้และการลักลอบลำเลียงสัตว์ป่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกที่ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และเนื่องจากอาชญากรมักทำงานกันเป็นขบวนกันจึงทำให้ธุรกิจการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายทั่วโลกนั้นสูงถึงหลายพันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
            แม้ทั้งนี้ป่าไม้สูญพันธุ์หลายชนิดได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายของแต่ละประเทศและระดับนานาชาติแต่สัตว์ป่าหลายชนิดก็ยังถูกลักลอบค้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งเสือโคร่ง ตัวนิ่ม (หรือตัวลิ่น) สัตว์เลื้อยคลานต่างๆ นก งาช้าง และไม้เถื่อน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลจากการหาสินค้าเพื่อสนองความต้องการของตลาดไม้เนื้อแข็ง ไม่เนื้ออ่อน พันธุ์ไม้หายาก กระดูกหรือส่วนอื่นๆ เพื่อมาประกอบยารักษาโรค ตลาดสัตว์เลี้ยงและสวนสัตว์ นักสะสมและของตกแต่ง รวมทั้งเพื่อการบริโภคเนื้อเปิปพิสดาร ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่า โดยเฉพาะผู้บริโภคทั้งหลาย ไม่มีความตระหนักถึงผลกระทบที่จะตามมาหากสัตว์ป่าเหล่านี้ต้องสูญพันธุ์ไป
ทั้งนี้ สัตว์ป่าทั้งหลายถูกลักลอบล่าออกจากป่าเร็วกว่าอัตราการเพิ่มประชากรของสัตว์ ซึ่งท้ายที่สุดส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศวิทยา นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทำให้สัตว์ป่าอื่นๆพลอยสูญพันธุ์ไปด้วยในที่สุด 
ผลกระทบจากปัญหาการค้าสัตว์ป่า ได้แก่
•    การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพจำนวนมากและไม่สามารถเอากลับคืนมาได้ ซึ่งนักวิทยาศาสต์คาดการณ์ไว้ว่าหากเหตุการณ์เช่นนี้ยังคงดำเนินต่อไป สัตว์ป่าและพืชป่าในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 13-42% จะสูญพันธุ์ไปในศตวรรษนี้ และอัตราการสูญเสียอย่างน้อยครึ่งหนึ่งจากจำนวนดังกล่าวก็เท่ากับสัตว์เหล่านั้นจะสูญพันธุ์ไปจากโลกใบนี้อย่างถาวร ดั้งนั้นเราจึงต้องช่วยกันรักษาธรรมชาติ และอนุรักษ์สัตว์ป่ากันต่อไป เพื่อไม่ให้สัตว์ป่าสูญพันธุ์และลดลงอย่างรวดเร็ว
•    การสูญเสียระบบนิเวศวิทยาของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปยังแหล่งต้นน้ำลำธาร แหล่งอาหารและความแปรปรวนของสภาพอากาศ ทำให้สัตว์ป่าคลานแคลนอาหาร ซึ่งมีผลทำให้สัตว์ป่าล้มตายจากภัยแล้งที่เกิดขึ้น ทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ จึงเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เราต้องช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมไว้
•    ปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่าเพิ่มอัตราความเสี่ยงของการแพร่ระบาดไวรัสและเชื้อโรคจากสัตว์สู่คน เช่น การระบาดของโรคซาร์สและโรคไข้หวัดนก หน่วยการที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้ามาดูแลและตระหนักถึงโรคที่ตามมาว่ามีอันตรายร้ายแรงเพียงใด จึงควรช่วยกันสอดส่องดูแลปัญหาต่างๆ อย่างไรก็ตามถ้าเราไม่ลักลอบค้าสัตว์ป่าก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สด
•    แก๊งค์อาชญากรรมเหล่านี้อยู่ได้ด้วยกำไรมหาศาลจากการลักลอบค้าสัตว์ป่า ซึ่งปัจจุบันสามารถพิสูจน์ได้ว่า อาชญากรรมด้านสัตว์ป่ามีส่วนเชื่อมโยงไปยังอาชญากรรมด้านอื่นๆด้วย อาทิ ยาเสพติดและการค้ามนุษย์ ดังนั้นภาครัฐจึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมอยากมากกับการปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่าอย่างเด็ดขาด  เพื่อที่จะไม่ให้ส่งกระทบกับด้านอื่นๆ ต่อไป
สาเหตุสำคัญของการสูญพันธุ์หรือลดลงของสัตว์ป่า มีดังนี้
1. การทำลายที่อยู่อาศัย หรือขยายพันที่เพาะปลูก พื้นที่อยู่อาศัยเพื่อการดำรงชีพของมนุษย์ ได้ทำลายที่อยู่อาศัยและที่ดำรงชีพ ของสัตว์ป่าไปโดยไม่รู้ตัว สัตว์ป่าเหล้านี้จึงไม่มีที่อยู่อาศัย และเสี่ยงต่อการถูกค้าสัตว์ป่าได้ง่าย
2. สภาพธรรมชาติ การลดลงหรือสูญพันธุ์ไปตามธรรมชาติ ของสัตว์ป่า เนื่องจากการปรับตัวของสัตว์ป่าให้เข้ากับการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สัตว์ป่าชนิดที่ปรับตัวได้ก็จะมีชีวิตรอด หากปรับตัวไม่ได้ก็จะล้มตายไปทำให้มีจำนวนลดลงและสูญพันธุ์ในที่สุด
3. การล่าโดยตรง หากเป็นการล่าโดยสัตว์ป่าด้วยกัน สัตว์ป่าจะไปลดลงหรือสูญพันธ์อย่างรวดเร็ว เช่น เสือโคร่ง เสือดาว หมาใน หมาจิ้งจอกล่ากวางและเก้ง ซึ่งสัตว์ที่ถูกล่าสองชนิดนี้ อาจจะตายลงไปบ้างแต่จะไม่หมด ไปเลยทีเดียว เพราะในธรรมชาติแล้วจะเกิดความ สมดุลอยู่เสมอระหว่างผ้ล่ากับผู้ถูกล่าแต่ถ้าถูกล่าโดยมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นการล่าเป็นอาหาร เพื่อการกา หรือเพื่ออาชีพ สัตว์ป่าจะลดลงอย่างมาก
4. เนื่องจากสารพิษ เมื่อเกษตรกรใช้สารเคมีในการเพาะปลูก เช่น ยาปราบศัตรูพืช จะทำให้เกิดสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การสาธารณสุขบางครั้งจำเป็นต้องกำจัดหนูและแมลงดัวยเช่นกันสารเคมีที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ มีหลายชนิดที่มีพิษตกค้าง ซึ่งสัตว์ป่าจะได้รับพิษตามห่วงโซ่อาหารทำให้สารพิษไปสะสมในสัตว์ป่ามาก หากสารพิษมีจำนวนมากพออาจจะตายลงได้หรือมีผลต่อ ลูกหลาน เช่น ร่างกายไม่สมบูรณ์ ไม่สมประกอบประสิทธิภาพการให้กำเนิด หลานแหลนต่อไปมีจำกัดขึ้น ในที่สุดจะมีปริมาณลดลงและสูญพันธุ์ไป
5. การนำสัตว์จากถิ่นอื่นเข้ามา ตัวอย่างนี้ยังปรากฏไม่เด่นชัดในประเทศไทย แต่ในบางประเทศจะพบปัญหานี้ เช่น การนะพังพอนเข้าไปกำจัดหนู ต่อมาเมื่อหนูมีจำนวนลดลงพังพอนกับทำลายพืชผลที่ปลูกไว้แทน  เป็นต้น ปัญหาสัตว์ป่าในปัจจุบัน จะส่งผลให้สัตว์ป่าสูญพันธุ์ในอนาคต หากไม่แก้ไขให้ถูกจุด หรือไม่แยกแยะจนไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นจริง สภาพสัตว์ป่า และพื้นที่ป่าไม้ในประเทศของเรา



ผลกระทบของปัญหา (ขอบเขต แนวโน้มและความรุนแรง) การค้าสัตว์ป่าสงวน
             ปัจจุบันนี้ มีการลักลอบจำหน่ายสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากสัตว์ป่าอยู่เสมอ ๆ บริเวณตลาดนัดศูนย์การค้า สถานที่ค้าสัตว์เลี้ยง และร้านอาหารป่า ที่พบเห็นกันเป็นประจำ ได้แก่ นกขุนทอง นกปรอดหัวโขน นกกะรางคอดำ แมวดาว นางอาย ผีเสื้อบางชนิด เขาเก้ง เขากวาง หรือกระเป๋า รองเท้าที่ทำจากซากของหนังตะกวด งูเหลือม งูหลาม งูจงอาง เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการซื้อ ขาย นำเข้า ส่งออกสิ่งดังกล่าว เป็นการทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าผู้กระทำผิดอาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย จึงมีข่าวการจับกุมผู้กระทำความผิดให้เห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ซึ่งคนเหล่านั้นมีทั้งพวกตั้งใจกระทำผิด และพวกที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ซึ่งมักจะเป็นผู้ซื้อสรุปย่อสาระสำคัญของ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองป่า พ.ศ.2535 คำจำกัดความ และการกระทำที่เป็นข้อห้ามต่างๆ ตามกฎหมายสัตว์ป่า หมายความว่า สัตว์ทุกชนิด ไม่ว่าสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลง หรือแมง ซึ่งโดยสภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำ และให้หมายความรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นด้วย แต่ไม่หมายความรวมถึงสัตว์พาหนะที่ได้จดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ ตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ และสัตว์พาหนะที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของสัตว์พาหนะดังกล่าวสัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ คือ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร , แรด , กระซู, กูปรีหรือโคไพร , ควายป่า , ละองหรือละมั่ง , สมันหรือเนื้อสมัน , เลียงผาหรือเยืองหรือกูรำหรือโครำ ,กวางผา , นกแต้วแร้วท้องดำ,นกกระเรียน , แมวลายหินอ่อน , สมเสร็จ , เก้งหม้อ , พะยูนหรือหมูน้ำ และสัตว์ที่จะกำหนดเพิ่มสัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เช่น ช้างป่า , ชะนี , ไก่ฟ้า , นกขุนทอง , เสือดาว , เสือโคร่ง , หมีดำ ฯลฯ สัตว์ป่าใดจะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองต้องดูตามบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองในกฎกระทรวงล่า หมายความว่า เก็บ ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าที่เจ้าของและอยู่อย่างเป็นอิสระ รวมถึงการล่าไล่ การต้อน การเรียก หรือการล่อเพื่อการกระทำดังกล่าวด้วยซากของสัตว์ป่า หมายความว่า ร่างกายหรือส่วนของร่างของสัตว์ป่าที่ตายแล้ว หรือเนื้อของสัตว์ป่า ไม่ว่าจะได้ปิ้ง ย่าง รม ตากแห้ง หมัก หรือทำเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย ไม่ว่าจะชำแหละ แยกออก หรืออยู่ในร่างของสัตว์นั้น และรวมถึง เขา หนัง กระดูก ฟัน งา ขนาย นอ เกล็ด เล็บ กระดอง เปลือก หรือส่วนต่างๆ ที่แยกออกจากร่างของสัตว์ป่าไม่ว่าจะยังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้วเพาะพันธุ์ หมายความว่า ขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่นำมาเลี้ยงไว้ด้วยการขยายพันธุ์สัตว์ป่า และรวมถึงขยายพันธุ์สัตว์ป่าด้วยวิธีผสมเทียม หรือย้ายฝากตัวอ่อนด้วยค้า หมายความว่า ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จำหน่าย จ่าย แจก หรือโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อประโยชน์ทางการค้า รวมถึง มีหรือแสดงไว้เพื่อขายด้วยการล่าสัตว์ป่า ห้ามมิให้ผู้ใดล่าหรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวนหรือ สัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่เป็นการกระทำโดยทางราชการเพื่อประโยชน์ในการสำรวจ การศึกษาและการวิจัยทางวิชาการ การคุ้มครองสัตว์ป่า การเพาะพันธุ์ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมป่าไม้ผู้ใดล่าสัตว์ป่าโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายนี้ด้วยความจำเป็น ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ถ้าเป็นการทำเพื่อ ให้ตนเองและผู้อื่นพ้นจากอันตราย หรือเพื่อเป็นการรักษาทรัพย์สินของตนหรือผู้อื่น โดยการล่านั้นได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ และกรณีเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง ต้องมิได้นำสัตว์ป่าหรือซากสัตว์เคลื่อนที่ และได้แจ้งเหตุ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบทันที ให้สัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าที่ถูกล่าตามวรรคหนึ่งตกเป็นของแผ่นดินการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า ห้ามมิให้ผู้ใดเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง ยกเว้น เป็นการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองบางชนิดที่ได้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์จากอธิบดีหรือเป็นการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครองของผู้ได้รับใบอนุญาตในกิจการสวนสัตว์สาธารณะซึ่งได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองที่อยู่ในการครอบครองการครอบครองสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่า ห้ามมิให้ผู้ใดครอบครองสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากสัตว์ป่าสงวน หรือซากสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดให้เพาะพันธุ์ได้ตามกฎหมาย ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว และต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีแต่ทั้งนี้ไม่รวมถึง การครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองของผู้ได้รับใบอนุญาตเพาะพันธุ์ หรือได้มาจากการเพาะพันธุ์หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว หรือการครอบครองสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองหรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ของผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะการค้าสัตว์หรือซากของสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าห้ามมิให้ผู้ใดค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ยกเว้นเป็นการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ ซากของสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ และได้รับอนุญาตจากอธิบดี


บทกำหนดโทษตามลักษณะของความผิด

1.โทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้
    1.1 ล่า หรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยที่ไม่เป็นข้อยกเว้น
    1.2 มีสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครอง ยกเว้น เป็นสัตว์ป่าชนิดที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้ตามกฎหมาย
    1.3 ค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ยกเว้น เป็นสัตว์ป่าชนิดที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้ตามกฎหมายนำเข้าหรือส่งออกสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่า หรือนำผ่านสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี
2.โทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้
    2.1 เพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
    2.2 นำเข้าหรือส่งออกสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว โดยมิใช่กรณีการนำเข้าหรือส่งออกสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ และได้รับอนุญาตจากอธิบดี
     2.3 จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี
3. โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท สำหรับความผิดดังต่อไปนี้ มีไว้ในครอบครอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือซากของสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ โดยไม่ได้รับอนุญาต
4. โทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้ ทำการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ ซากของสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากสัตว์ดังกล่าวโดยมิได้รับอนุญาต
5. โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้
     5.1 เก็บ ทำอันตราย มีรังของสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครอง
     5.2 ยิงสัตว์นอกเวลาอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น
     5.3 ล่าสัตว์ป่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองหรือสัตว์ป่าอื่นๆ หรือเก็บ หรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า ในบริเวณวัดหรือในบริเวณสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
6. โทษปรับไม่เกินห้าพันบาท สำหรับความผิดดังต่อไปนี้ นำสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองเคลื่อนที่เพื่อการค้า โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี นำสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าวเคลื่อนที่ผ่านด่านตรวจสัตว์ป่า โดยไม่แจ้งหรือแสดงใบอนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจสัตว์ป่า
7. โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้ ล่าสัตว์ป่าใดๆ เก็บหรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
8. โทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้
     8.1 ยึดถือ ครอบครองที่ดิน ปลูกสร้างสิ่งใด แผ้วถาง ทำลายต้นไม้ พรรณพืช ฯลฯ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
      8.2 ล่าสัตว์ เก็บรัง ยึดถือครอบครองที่ดิน ทำลายต้นไม้ พันธุ์พืช ฯลฯ ในเขตกำหนดห้ามล่าสัตว์ป่า
9.โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับความผิดดังต่อไปนี้ "ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าที่ได้มาจากการกระทำความผิดตามกฎหมายนี้"
10. กรณีนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ กรรมการผู้จัดการ หรือผู้แทนนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นตน มิได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมด้วย

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองและรักษาพันธุ์สัตว์
          สัตว์ป่ามีความสำคัญในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่งของโลกและมีคุณประโยชน์แก่มนุษย์ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสมดุลในระบบนิเวศและประโยชน์อื่นๆ ประเทศไทยในอดีตมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่า โดยเฉพาะช้างที่ถือเป็นสัตว์ป่าที่มีความสำคัญ และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รัฐบาลเลยเล็งเห็นว่า หากไม่มีมาตรการในการคุ้มครองสัตว์ป่าทั้งหมดแล้ว สัตว์ป่าก็อาจถูกล่าเพื่อนำมาใช้ประโยชน์จนสูญพันธุ์ไปได้ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ออกเป็นสัตว์ป่าสงวนได้แก่ สัตว์ป่าที่ห้ามผู้ใดล่าและมีไว้ครอบครองอย่างเด็ดขาดเช่น สมัน เลียง เลียงผา กวางผา สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1ได้แก่สัตว์ป่าที่โดยปกติคนไม่นิยมใช้เนื้อเป็นอาหารหรือล่าเพื่อการกีฬา ซึ่งอนุญาตให้ล่าและค้าได้แต่ต้องใช้วิธีไม่ทำให้ตายตามจำนวนและช่วงฤดูที่กำหนด และสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ได้แก่สัตว์ป่าที่คนนิยมล่าเพื่อการกีฬาและบริโภคเพื่อเป็นอาหารซึ่งอนุญาตให้ล่าภายในระยะเวลาและจำนวนตัวที่กำหนด นอกจากนั้นยังคุ้มครองที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า โดยกำหนดให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ..2535
ร่วมหยุดการค้าสัตว์ป่า
          ปัจจุบันธุรกิจการลักลอบค้าสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ซึ่งมีมูลค่ากว่าหลายพันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐอเมริกาถือได้ว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจตลาดมืดที่ให้กำไรต่ออาชญากรผู้ค้าสูง ผลกระทบจากการค้าและการสูญเสียพื้นที่ป่าส่งผลให้สัตว์ป่าหลายชนิดตกอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์
มูลนิธิฟรีแลนด์ทำงานเพื่อสร้างโลกที่ปราศจากการลักลอบค้าสัตว์ป่า โดยการเพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่ปราบปราม สนับสนุนและพัฒนาชุมชนที่ด้อยโอกาสและดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึก
ร่วมต้อต้านปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่ากับเราได้ 5 วิธีง่ายๆ คือ
1. หากท่านพบการกระทำที่น่าสงสัยใดๆ โปรดติดต่อเราเพื่อแจ้งเบาะแสดังกล่าว เพื่อให้เรานำข้อมูลไปสืบหาความจริงต่อไป
2. รู้จักสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ชนิดต่างๆเพื่อเป็นผู้บริโภคที่มีความรับผิดชอบด้วยการหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่จะซื้อว่าทำมาจากวัตถุดิบอะไรหรือมีแหล่งที่มาจากไหนก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง
3. ติดตามกิจกรรมของเราทาง Facebook, Twitter และ YouTube หรือสมัครรับ FREELANDER e-magazine.  
4. ช่วยกันบอกต่อครอบครัว เพื่อนฝูงและผู้แทนในระดับท้องถิ่นของคุณเกี่ยวกับผลกระทบของปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพยายามชักชอนให้พวกเขามามีส่วนร่วมในการต่อต้านปัญหาการค้าสัตว์ป่านี้
5. บริจาคเงินเพื่อช่วยสนับสนุนงานของมูลนิธิฟรีแลนด์ (เงินของท่านทุกบาททุกสตางค์จะถูกนำไปใช้สนับสนุนตัวกิจกรรมและงานภาคสนามของเรา โดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น) ทั้งนี้ เงินบริจาคของคุณจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมและโครงการต่างๆของเรา เช่น
  • เปลี่ยนนายพรานให้เป็นนักอนุรักษ์ป่าโดยการแนะนำอาชีพเกษตรกร ทำให้ชาวบ้านไม่จำเป็นต้องเข้าป่าล่าสัตว์เพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัวอีกต่อไป
  • ปลูกป่าและคืนชีวิตให้แก่ผืนป่าชายเลนและระบบนิเวศวิทยาที่ถูกทำลายจากการบุกรุกพื้นที่ป่า
  • ให้การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตรวจจับและหยุดการลักลอบล่าสัตว์และการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย
  • สืบสวนและทลายเครือข่ายอาชญากรที่อยู่เบื้องหลังการลักลอบค้าสัตว์ป่า
  • สร้างจิตสำนึกแก่สาธารณชนและผู้นำทางการเมือง


ข้อเสนอแนะ
           อยากจะให้รัฐบาลได้รณรงค์ต่อต้านการค้าสัตว์ป่า เพื่อหยุดล่าและค้าสัตว์ป่าทั่วโลก เรียกร้องให้ทุกรัฐบาลลงมือแก้ปัญหาการค้าสัตว์ป่าและลดความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าทุกชนิดอย่างจริงจัง เนื่องจากอัตราการล่าสัตว์ในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น จากการตอบสนองความต้องการของตลาดเอเชียที่นิยมซื้อชิ้นส่วนของเสือ นอแรด และงาช้าง ส่งผลให้ประชากรสัตว์ป่าลดจำนวนลงจนใกล้สูญพันธุ์ และอีกเหตุผลหนึ่งคือรัฐบาลหลายประเทศยังคงเพิกเฉยต่อวิกฤตการณ์นี้ จึงทำให้เกิดการลักลอบค้าสัตว์ป่าเป็นหนึ่งในอาชญากรรมระดับโลก แต่ยังคงไม่ได้รับการแก้ปัญหาที่จริงจังจากรัฐบาลบางประเทศ ขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่านี้ไม่แตกต่างหรือมีความเกี่ยวพันกับการก่ออาชญากรรม การค้ายาเสพติด การค้าอาวุธ หรือแม้แต่การก่อการร้ายผลที่ได้รับจากการร่วมรณรงค์นี้เป็นมากกว่าการปกป้องสัตว์ป่าไม่ให้สูญพันธุ์ แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนข้อกฎหมายที่เอื้อให้เกิดการปกป้องเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าและผลักดันให้เกิดกฎหมายยุติการค้าสัตว์ป่าอีกด้วย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น