ปัญหาความเสื่อมโทรมทางคุณธรรมจริยธรรมของคนไทย
ในการแสดงความคิดเห็นเชิงลบ ; ปัญหาเล็กที่ไม่ควรมองข้าม
ประเทศไทยในอดีตได้รับการขนานนามและเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกว่าเป็น “สยามเมืองยิ้ม” เมืองแห่งรอยยิ้ม มิตรภาพ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีน้ำใจ และเป็นประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหรือว่าโบราณสถาน อันเป็นจุดดึงดูดผู้คนให้หลั่งไหลเข้ามาเที่ยวชมอย่างไม่ขาดสาย นอกจากนั้นยังมีประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะจึงทำให้ไทยกลายเป็นจุดศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมระดับโลกได้ไม่ยาก ด้วยปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ทั้งด้านการพัฒนาพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว การกำหนดนโยบายรองรับการท่องเที่ยวที่เป็นรูปธรรมตั้งแต่ พ.ศ 2479 (ประวัติ ททท. ; การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) และพัฒนาต่ออย่างเนื่องจนถึงปัจจุบัน
จากการเปิดตลาดการท่องเที่ยวของประไทยส่งผลให้ประชากรมีรายได้และอาชีพที่มั่นคงขึ้น และรัฐเองก็ได้รับผลประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักทุนและผู้ประกอบการเช่นกัน จึงทำให้มีนโยบายและมาตรการรองรับนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นพร้อมกับการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าและเสริมสร้างความสะดวกสบายให้กับประชาชนในทุกๆ ด้าน จนดูเหมือนว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังได้รับการพัฒนาและเป็นเช่นนั้นมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปี นับตั้งแต่รู้จักคำว่าพัฒนาและการกำหนดแผนพัฒนาที่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
แม้ว่าการพัฒนาประเทศด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม จะมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของประเทศไทยในสังคมโลก นอกจากนั้นยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับนานาประเทศรวมไปถึงการเปิดรับค่านิยม วัฒนธรรมต่างแดนเข้ามาผสมผสานในวิถีชีวิตอย่างแยบยล แต่การอัตราการพัฒนาดังกล่าวกลับสวนทางกับคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันดีงามของคนในสังคมไทยที่นับวันรังแต่จะเสื่อมถอย ลดน้อยลงไปทุกที โดยเฉพาะอย่ายิ่งในสังคมที่ถูกยกย่องว่าเป็นสังคมเมือง ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการรับเอาค่านิยมต่างชาติเข้ามาเพื่อสื่อถึงความทันสมัย ความเจริญก้าวหน้าไม่ล้าหลัง และมีความรอบรู้เท่าทันทั้งในด้าน การศึกษา ภาษา ค่านิยมการแต่งกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมทางดนตรี อันเป็นเป็นประเด็นหลักที่จะหยิบยกตัวอย่างเข้ามาเกี่ยวโยงกับปัญหาความเสื่อมโทรมทางจริยธรรมของคนไทย ในเรื่องการแสดงความคิดเห็นเชิงลบที่อาจส่งผลกระทบไปทั่วทุกภาคส่วนอย่างที่ไม่ควรมองข้าม
ในยุคปัจจุบันโลกมีการเปิดกว้างมากขึ้นในทุกด้าน การติดต่อสื่อสาร การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ค่านิยมต่างๆ จึงเปิดกว้างตามไปด้วยและสร้างการเปลี่ยนแปลงทางค่านิยมมากมายขึ้นในสังคมไทย ซึ่งการเปลี่ยนดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่มีมานานแล้ว โดยเฉพาะค่านิยมทางดนตรีที่รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาผสมผสานอย่างเห็นได้ชัดในยุค 80 ที่ทั้งค่านิยมการฟังเพลงและแฟชั่นมีการโอนเอียงไปตามกระแสและได้รับการยอมรับในสังคมว่ามีความทันสมัยและแฝงไปด้วยการจัดแบ่งชนชั้นจากรสนิยมทางดนตรีและมีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมไปตามยุคสมัยเรื่อยมา ทั้งค่านิยมที่รับมาจากตะวันตก อย่างเช่นประเทศอังกฤษและอเมริกา และค่านิยมจากทางตะวันออกไม่ว่าจะเป็นประเทศญี่ปุ่น, ใต้หวัน, และที่กำลังเพิ่มความนิยมมากขึ้นในขณะนี้คือประเทศเกาหลี ที่กำลังมีกระแสความนิยมในวงกว้างมากขึ้นในสังคมไทย และมีผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบต่อวงการดนตรีของไทยจนเรียกว่าเป็นสื่อที่ค่อนข้างมีอิทธิพลต่อทิศทางของแนวเพลงไทยปัจจุบันในระดับหนึ่งก็ว่าได้
ทั้งนี้ก็มีทั้งผู้ที่ชื่นชอบ ต่อต้านและมีความคิดแตกต่างกันออกไปกับการรับค่านิยมทางดนตรีจากประเทศต่างๆ เข้ามาเป็นทางเลือกหนึ่งของการเลือกฟังเพลง ซึ่งมีข้อดีอย่างเห็นได้ชัดเลยคือ ทำให้สังคมไทยได้รับวัฒนธรรมและรูปแบที่แปลกใหม่ทางดนตรีและค่านิยมที่ตามมาและทำให้ได้มองเห็นว่าวงการเพลงไทยน่าจะอยู่ในระดับใดเมื่อลองเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ และมีโอกาสพิจารณาข้อดีข้อด้อยของวัฒนธรรมทางดนตรีของไทยเพื่อที่จะสามารถนำมาผสมผสานและพัฒนาปรับปรุงไปในทิศทางที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้นบนพื้นฐานของค่านิยมและวัฒนธรรมไทยที่เหมาะสม อย่างน้อยการหันมาให้ความสำคัญกับแวดวงดนตรีและการฟังเพลงอาจจะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจและลดความเครียดที่มีต่อภาคการเมืองและเศรษฐกิจที่มีแต่ความวุ่นวายลงได้บ้างไม่มากก็น้อย แต่ข้อเสียที่เห็นได้ชัดเช่นกันคือ การรับเอาค่านิยมและวัฒนธรรมเข้ามามากจนเกินไปทำให้สูญเสียความเป็นตัวเองและสูญเสียรูปแบบทางดนตรีบางอย่างที่มีความเฉพาะตัวของไทย ตัวอย่างเช่น คำบางคำที่มีการควบกล้ำและการออกเสียงในภาษาถูกดัดแปลงให้อิงสำเนียงจากต่างประเทศจนดูมากเกินไป และการพยายามเลียนแบบต่างๆ จนขาดความเป็นอัตลักษณ์ทั้งแนวดนตรีและการแต่งกายที่บางครั้งก็เป็นสิ่งที่ไปกันไม่ได้กับวัฒนธรรมและภูมิอากาศของประเทศไทย
อย่างไรก็ตามการเปิดรับแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางดนตรีจากต่างชาติเข้ามา ถือว่าเป็นการเปิดสังคมที่กว้างขึ้นสำหรับผู้ที่มีความชื่นชอบทางดนตรีที่หลากหลายและแปลกใหม่และในทางกลับกันผู้ที่ต่อต้านหรือไม่ได้มองว่าดนตรีและการแสดงประกอบต่างๆ เป็นศิลปะและการแสดงความสามารถของบุคคล ทำให้มองข้ามศีลธรรมและมารยาทอันดีของชาวไทยที่สั่งสมและสืบทอดกันมายาวนาน และเกิดการแสดงออกทางคำพูดและการกระทำที่ไม่เหมาะสมเพียงเพราะต้องการอ้างสิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ในทางลบที่มีต่อผลงานของศิลปินทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ อาทิ ประเทศอังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี และในแถบประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนไม่ว่าจะเป็นประเทศลาว กัมพูชา และพม่า เป็นต้น
สร้างชื่อเสียงประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักอีกด้านหนึ่งคือ ประเทศที่คนไร้มารยาทและไม่ให้เกียรติผู้อื่น แม้ว่าคนในสังคมทั่วไปที่ไม่ค่อยข้องเกี่ยวกับสังคมออนไลน์อาจไม่เคยรับรู้ถึงผลกระทบของปัญหาหรืออาจมองว่าปัญหาที่ต่างชาติเริ่มมองคนไทยในด้านลบเพิ่มขึ้นเป็นเพียงแง่มุมเล็กๆ ในสังคม หรือเป็นเพียงปัญหาของกลุ่มคนในโลกออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้วปัญหาที่หลายคนมองว่าเป็นปัญหาเล็กๆ ไร้สาระ ปัจจุบันกำลังส่งผลกระทบและสะท้อนหลากหลายด้านของสังคมไทยไปสู่สังคมโลก ทั้งปัญหาความเสื่อมโทรมของจริยธรรมของคนไทยและการขาดวิจารณญาณในการแสดงมารยาทที่เหมาะสมต่อสาธารณชน และปัญหาทางการได้รับการศึกษาที่หลายครั้งคนไทยบางคนมักแสดงออกหรือระบายด้วยการหยาบคายต่อบุคคลอื่นโดยผ่านทางสื่อออนไลน์สาธารณะโดยคิดว่าเป็นที่สาธารณะที่สามารถแสดงความคิดเห็นใดๆ ก็ได้ ไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดและไม่มีใครจับต้องการมีตัวตนของคนผู้นั้นได้ จนลืมคิดไปว่าสื่อออนไลน์สาธารณะคือที่ที่ทุกคน ทุกชนชาติสามารถเข้าถึง และในบางครั้งก็ใช้ประโยชน์ได้ดีกว่าคนไทยเสียอีก
ตัวอย่างของการแสดงความคิดเห็นเชิงลบในสื่อสาธารณะของคนไทยที่เห็นได้ทั่วไปคือในเว็บไซต์ ชื่อดังที่เป็นศูนย์รวมของวิดีโอจากทุกประเทศและเผยแพร่ไปทั่วโลก ณ เวลานี้ชื่อเสียงของคนไทยทั้งในด้านการแสดงความสามารถที่ดีและการแสดงความคิดเห็นที่ตรงข้ามอย่างสุดขั้วก็แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ด้วยเช่นกัน เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่รู้จักในฐานะแหล่งท่องเที่ยวและประเทศแห่งรอยยิ้มและมิตรภาพและมีวัฒนธรรมและภาษาที่เป็นอัตลักษณ์ ในยุคแห่งความเจริญของเทคโนโลยีการสื่อสารเช่นนี้ยิ่งส่งผลให้มีผู้คนให้ความสนใจศึกษาวัฒนธรรมและภาษาไทยเพิ่มขึ้น และการตีความแปรภาษาต่างๆ ก็เป็นไปได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถที่นานาประเทศจะเข้าใจหรือสามารถตีความภาษาไทยได้
ด้วยความคึกคะนองหรือว่าเหตุผลใดก็ตามที่ทำให้คนไทยบางคนแสดงความคิดเห็นในสื่อสาธารณะโดยเฉพาะเรื่องดนตรีและศิลปินซึ่งเป็นเรื่องของความรู้สึกชอบส่วนบุคคล ถึงแม้คนไทยจะไม่ใช่ประเทศเดียวที่แสดงความคิดเห็นเชิงลบในประเทศอื่นๆ ก็มีเช่นเดียวกันแต่ด้วยความที่ไทยมีภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ที่น่าภาคภูมิใจมาช้านาน และเป็นที่รู้กันดีว่ามีคนไทยจำนวนไม่มากนักที่จะใช้และสื่อสารภาษาต่างประเทศได้คล่องจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะสามารถพบเจอข้อความแสดงความคิดเห็นเชิงลบเป็นภาษาไทยในวิดีโอของหลายๆ ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแสดงความไม่ให้เกียรติตัวศิลปินต่างชาติและการวิจารณ์แง่มุมที่ไม่เป็นประโยชน์หรือไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือจุดประสงค์ที่แท้จริงของการนำเสนอแนวเพลงและองค์ประกอบต่างๆ
ในหลายๆ ครั้งที่ภาษาไทยถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและแสดงความเสื่อมของคุณธรรมจริยธรรมออกมาให้นานาอารยประเทศได้เห็น ซึ่งบางครั้งการแสดงความคิดเห็นแม้เพียงความคิดเห็นเดียวหรือเป็นส่วนน้อยมากแต่ก็สามารถเป็นชนวนเหตุก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงกันเป็นเรื่องราวและอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องได้ เพราะความชื่นชอบในตัวศิลปินและผลงานเป็นสิ่งที่ค่อนข้างอ่อนไหวและเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับความรู้สึกส่วนบุคคล
การกระทำที่สะท้อนจิตใจด้านลบของคนไทยบางคนถึงแม้ว่าต่างชาติอาจจะไม่เข้าใจและสามารถตีความได้ทั้งหมดแต่คนไทยด้วยกันเองต่างก็ทราบเป็นอย่างดีว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม จึงคิดว่าเป็นการดีที่จะว่ากล่าวตักเตือนกันเองเรื่องมารยาทที่พึงมีต่อการแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ แต่หลายครั้งกลับกลายเป็นปัญหาลุกลามและยิ่งแสดงให้เห็นความเสื่อมของจิตใจและสภาพสังคมไทยออกมามากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างประเทศที่คนไทยบางส่วนมักแสดงความคิดและทัศนคติเชิงลบอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่
ประเทศลาว ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่คนไทยมองว่าล้าหลัง ไม่มีการพัฒนาและเป็นประเทศที่ตามหลังประเทศไทยมาโดยตลอด บ่อยครั้งจึงถูกกดขี่และดูถูกว่าเป็นประเทศที่ไม่มีความทันสมัยหรือเป็นเป็นสากล และมักถูกหยิบยกเรื่องสติปัญญาและรูปร่างหน้าตามาวิจารณ์ทางลบและเปรียบเทียบให้ตกเป็นรองประเทศไทย ซึ่งคนลาวสามารถเข้าใจภาษาไทยได้ดีที่สุดในบรรดาหลายประเทศจึงมีการตอบกลับและแสดงความคิดที่เห็นที่เห็นได้ชัดว่าปัจจุบันลาวมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นในหลายด้าน ทั้งระบบการศึกษา และเทคโนโลยีต่างๆ ที่สามารถก้าวนำประเทศไทยในอีกไม่กี่ปีได้อย่างไม่ยาก
ประเทศพม่า เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ถูกวิจารณ์และแสดงความคิดเห็นด้านลบในแง่มุมเดียวกับประเทศลาวและมักถูกหยิบยกประเด็นความขัดแย้งและประวัติศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งความจริงในปัจจุบันพม่าเป็นประเทศที่น่าจับตามองในการพัฒนาเพราะเนื่องจากเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติในระดับสูง หากว่ามีระบบการจัดการที่ดีและเหมาะสมก็อาจจะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นประเทศหนึ่งที่มีกำลังต่อรองในด้านทุนทางทรัพยากรในอาเซียนได้
ประเทศเกาหลีใต้ ปัจจุบันเป็นประเทศที่ถูกแสดงความคิดเห็นเชิงลบมากที่สุดเนื่องมาจากกระแสความนิยมเพลงเกาหลีในประเทศไทยที่มีทั้งผู้ที่ชื่นชอบและต่อต้าน มีการแสดงความคิดเห็นเชิงลบในวิดีโอเพลงเกาหลีหลากหลายประเด็นทั้งในเรื่องการลอกเลียนแบบฝั่งตะวันตก การไม่ให้เกียรติศิลปินและหยิบยกเรื่องการทำศัลยกรรมมากล่าวอ้างมากกว่าการสนใจคุณภาพของศิลปินและผลงาน นอกจากนั้นยังนำทัศนคติเชิงลบส่วนตัวต่อศิลปินและกระแสนิยมของเกาหลีมาเชื่อมโยงกับการเมืองและประวัติศาสตร์ชาติซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมที่จะนำมาวิจารณ์ถกเถียงในที่สาธารณะ
เพราะหากมองย้อนกลับไปในอดีตราวๆ ห้าสิบถึงหกสิบปีก่อนประเทศเกาหลีใต้ประสบกับปัญหามากมายทั้งการเมือง เศรษฐกิจและสังคม แต่กลับมีการพัฒนาปรับปรุงประเทศขึ้นมาอย่างรวดเร็วและค่อนข้างมีคุณภาพที่ดี ทั้งที่เคยเป็นประเทศที่ตามประเทศไทยมาก่อนแต่ทุกวันนี้เกาหลีใต้กำลังก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำลำดับต้นๆ ของเอเชียและของโลกในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านระบบการศึกษาที่มีการจัดการและดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง ระบบการเมืองที่แทบจะไม่มีการคอรัปชั่นปรากฏให้เห็น การพัฒนาผังเมืองสาธารณูปการ คมนาคม ที่ทุ่มเทอย่างจริงจังและกฎระหมายบังคับใช้ที่เข้มงวด และที่สำคัญคือการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมบันเทิงโดยเฉพาะด้านดนตรีที่มีการจัดการที่เป็นระบบและพัฒนาปรับปรุงรูปแบบตลอดเวลา และท้ายสุดคือการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการสื่อสารที่เป็นที่รู้จักทั่วโลกและต้องยอมรับว่ามีอิทธิพลต่อสังคมไทยสูงในระดับหนึ่ง
ผลกระทบจากการแสดงความคิดเห็นเชิงลบของคนไทยในสื่อสาธารณะไม่เพียงแต่จะสร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงและสร้างความเข้าใจผิดของต่างชาติต่อคนไทย แต่ยังสร้างความแตกแยกทางความคิดและทัศนคติของคนไทยด้วยกันเอง เนื่องจากในบางกรณีที่มีการดึงสถาบันชาติ ระดับการศึกษา การเมืองการปกครองและรสนิยมทางเพศและความแตกต่างทางวัฒนธรรมหรือค่านิยมเข้ามาเกี่ยวเนื่อง ยิ่งสร้างความร้าวฉานทางความคิดให้คนภายในประเทศที่ปัจจุบันมีความแตกแยกทางความคิดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และยิ่งในสังคมปัจจุบันโลกออนไลน์และโซเชียลมีเดียต่างๆ เข้าถึงคนทุกชนชั้นและทุกพื้นที่อย่างแพร่หลาย ทุกคนมีอิสระในการใช้สื่อและเข้าถึงทรัพยากรมีเดียต่างๆ ได้ทั่วโลก
แต่สืบเนื่องจากปัญหาการแสดงความคิดเห็นที่ไม่เป็นประโยชน์ของคนไทยเพียงไม่กี่คนส่งผลให้บางประเทศปิดกั้นสื่อบางอย่างไม่ให้คนไทยเข้าถึงหรือปิดกั้นไว้ใช้ได้ประเทศไทยและแยกการเข้าถึงจากชาติอื่นที่ไม่ก่อปัญหาและสร้างความวุ่นวายไว้ในอีกที่หนึ่ง แต่นั้นก็ไม่ช่วยทำให้คนไทยบางส่วนที่คุณธรรมจริยธรรมเสื่อมโทรมเกินเยียวยารักษาสำนึกตนเองได้ว่าควรมีการพัฒนายกระดับจิตใจและเคารพให้เกียรติผู้อื่นในการแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ และบ่อยครั้งที่ดึงเอาสถาบันและประเด็นที่กระทบต่อความรู้สึกขึ้นมากล่าวอ้างเป็นผลให้เพิ่มปริมาณความรุนแรงในการใช้ถ้อยคำมากยิ่งขึ้น
ในมุมมองของคนไทยส่วนใหญ่เมื่อได้พบเห็นพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นเชิงลบในที่สาธารณะของคนไทยด้วยกันต่อประเทศอื่นๆ ต่างก็ไม่พอใจในการกระทำเช่นนั้นแต่ก็ไม่สามารถเข้าไปจัดการแก้ไขอะไรได้เพราะการอ้างสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามหลักประชาธิปไตย จนทุกวันนี้มีการแสดงความคิดเห็นเชิงลบแพร่หลายและมีใช้ถ้อยคำภาษาไม่เหมาะสมขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ได้รับการยื่นมือเข้ามาแก้ไขจากฝ่ายใดเพราะมองว่าเป็นปัญหาของกลุ่มคนเล็กๆ ในโลกออนไลน์ โดยลืมตระหนักว่าปัญหาเล็กๆ จากโลกออนไลน์และการสื่อสารนั้นสามารถสะสมและกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้เพราะการเชื่อมต่อและรับสารผ่านทางสื่อออนไลน์หรือเทคโนโลยีต่างๆ มีความรวดเร็วและกว้างไกลเกินกว่าที่หลายคนคาดถึง และส่งผลกระทบครอบคลุมคนในประเทศโดยรวมได้ ตัวอย่างเช่นกรณี ภาพยนตร์ที่นำมาลงในเว็บไซต์และเป็นชนวนให้เกิดความสูญเสีย
“เป็นเรื่องใหญ่และรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมได้ไปแล้ว กับตัวอย่างหนังเล็กๆ เรื่องหนึ่งที่มีการเผยแพร่ตัวอย่างออกมาทางเว็บไซต์ YouTube และได้ก่อให้เกิดกระแสความไม่พอใจเป็นอย่างมาก ในหมู่ชาวมุสลิมถึงขั้นก่อให้เกิดการประท้วง และก่อเหตุรุนแรงในสถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศลิเบียมีผู้เสียชีวิตถึง 4 คน รวมถึง คริสโตเฟอร์ สตีเว่นส์ ทูตสหรัฐฯ ประจำลิเบียด้วย
ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้กล่าวประณามการกระทำรุนแรงดังกล่าว และยืนยันว่า ต้องมีคนรับผิดชอบ โดยเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นจากความไม่พอใจของเหล่าชาวมุสลิมต่อหนังที่มีเนื้อหาลบหลู่ศาสดา นบีมุฮัมมัด ที่มีชื่อเรื่องว่า Innocence of Muslims
ตามข้อมูล Innocence of Muslims เป็นหนังอิสระที่อ้างว่าใช้ทุนสร้างราว 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นผลงานของ แซม เบซิล นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชาวสหรัฐฯ เชื้อสายอิสราเอลวัย 50 เศษ ที่สร้างหนังเรื่องนี้เพื่อจุดประสงค์ชัดเจน ในการต่อต้านศาสนาอิสลาม กับการล้อเลียนชีวิตของ นบีมุฮัมมัด ให้ออกมาในรูป “ตัวตลก และคนเจ้าชู้” ส่วนภาพของอิสลามก็ถูกโจมตีเป็น “ศาสนาจอมปลอม”
หนังไม่เพียงนำเสนอศาสดาของศาสนาออกมาในรูปของคนธรรมดาๆ แต่ยังมีแนวโน้มเป็นพวกรักร่วมเพศ ที่ลืมตาดูโลกขึ้นมาโดยไม่รู้ว่าพ่อของตนเองคือใคร และเจริญรุ่งเรืองขึ้นมากับการส่งเสริมการมีทาสเด็ก และคบชู้ ด้วยข้ออ้างทางศาสนา
ตัวอย่างหนังที่มีความยาว 14 นาที ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้ผู้ชม รับรู้ถึงความไม่เป็นมืออาชีพของคนสร้าง ทั้งการถ่ายทำด้วยเทคนิคกรีนสกรีนที่ไม่แนบเนียน, คอมพิวเตอร์กราฟฟิกอันด้อยคุณภาพ และการแสดงที่แข็งเป็นท่อนไม้ กลับเป็นงานที่สร้างกระแสขึ้นมาได้อย่างไม่มีใครคาด หลังตัวอย่างดังกล่าวถูกเผยแพร่ในเดือน ก.ค.และถูกสื่อในอียิปต์นำไปพูดถึง ต่อมาถูกแพร่กระจายไปเรื่อยๆ ในประเทศมุสลิม จนทำให้เกิดการประท้วงใหญ่ในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะที่ลิเบีย ซึ่งเกิดความรุนแรงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีคำถามว่าสุดท้ายแล้วหนังเรื่อง Innocence of Muslims มีฉบับเต็มอยู่จริงๆ หรือไม่ หรือมีเพียงตัวอย่าง 14 นาทีนี้เท่านั้น มีกระทั่งคำถามว่า แซม เบซิล มีตัวตนอยู่ จริงหรือไม่? เป็นแค่นามแฝงของใครบางคนเท่านั้น
ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้กล่าวประณามการกระทำรุนแรงดังกล่าว และยืนยันว่า ต้องมีคนรับผิดชอบ โดยเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นจากความไม่พอใจของเหล่าชาวมุสลิมต่อหนังที่มีเนื้อหาลบหลู่ศาสดา นบีมุฮัมมัด ที่มีชื่อเรื่องว่า Innocence of Muslims
ตามข้อมูล Innocence of Muslims เป็นหนังอิสระที่อ้างว่าใช้ทุนสร้างราว 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นผลงานของ แซม เบซิล นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชาวสหรัฐฯ เชื้อสายอิสราเอลวัย 50 เศษ ที่สร้างหนังเรื่องนี้เพื่อจุดประสงค์ชัดเจน ในการต่อต้านศาสนาอิสลาม กับการล้อเลียนชีวิตของ นบีมุฮัมมัด ให้ออกมาในรูป “ตัวตลก และคนเจ้าชู้” ส่วนภาพของอิสลามก็ถูกโจมตีเป็น “ศาสนาจอมปลอม”
หนังไม่เพียงนำเสนอศาสดาของศาสนาออกมาในรูปของคนธรรมดาๆ แต่ยังมีแนวโน้มเป็นพวกรักร่วมเพศ ที่ลืมตาดูโลกขึ้นมาโดยไม่รู้ว่าพ่อของตนเองคือใคร และเจริญรุ่งเรืองขึ้นมากับการส่งเสริมการมีทาสเด็ก และคบชู้ ด้วยข้ออ้างทางศาสนา
ตัวอย่างหนังที่มีความยาว 14 นาที ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้ผู้ชม รับรู้ถึงความไม่เป็นมืออาชีพของคนสร้าง ทั้งการถ่ายทำด้วยเทคนิคกรีนสกรีนที่ไม่แนบเนียน, คอมพิวเตอร์กราฟฟิกอันด้อยคุณภาพ และการแสดงที่แข็งเป็นท่อนไม้ กลับเป็นงานที่สร้างกระแสขึ้นมาได้อย่างไม่มีใครคาด หลังตัวอย่างดังกล่าวถูกเผยแพร่ในเดือน ก.ค.และถูกสื่อในอียิปต์นำไปพูดถึง ต่อมาถูกแพร่กระจายไปเรื่อยๆ ในประเทศมุสลิม จนทำให้เกิดการประท้วงใหญ่ในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะที่ลิเบีย ซึ่งเกิดความรุนแรงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีคำถามว่าสุดท้ายแล้วหนังเรื่อง Innocence of Muslims มีฉบับเต็มอยู่จริงๆ หรือไม่ หรือมีเพียงตัวอย่าง 14 นาทีนี้เท่านั้น มีกระทั่งคำถามว่า แซม เบซิล มีตัวตนอยู่ จริงหรือไม่? เป็นแค่นามแฝงของใครบางคนเท่านั้น
ขณะเดียวกัน ขั้นตอนการสร้างหนังเรื่อง Innocence of Muslims ก็เต็มไปด้วยความไม่ชอบมาพากล ข่าวระบุว่า ผู้สร้างบอกทีมงาน และนักแสดงทุกคนว่า หนังมีเนื้อหา และฉากหลังอยู่ในอียิปต์ แต่เมื่อถ่ายทำเสร็จหนังกลับถูกนำมาพากย์เสียงทับ ให้ไปเกี่ยวข้องกับเนื้อหาว่าด้วยเรื่องราวของศาสนาลงไปภายหลัง
“ทีมงาน และนักแสดงทุกคนรู้สึกไม่พอใจกับการโดนเอาเปรียบจากผู้สร้าง พวกเราไม่มีส่วนแม้แต่น้อยกับหนัง ที่มีการบิดเบือนเกี่ยวกับจุดประสงค์ และความมุ่งหมายของมันไป ... เราช็อกเมื่อหนังถูกแก้บทพูด และหลอกลวงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน เรารู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับโศกนาฏกรรมครั้งนี้” หนึ่งในทีมงานออกแถลงการณ์หลังเกิดเรื่องน่าเศร้าขึ้น
ซินดี ลี การ์เซีย ก็เป็นนักแสดงอีกคนที่มีส่วนร่วมในหนัง เธอบอกว่า ได้รับบทหนังที่มีชื่อว่า "Desert Warriors" โดยไม่ทราบเลยว่านี่จะกลายเป็น Innocence of Muslims ในเวลาต่อมา เพราะหนังที่เธอรับเล่นนั้น มีเรื่องราวฉากหลังอยู่ในอียิปต์เมื่อ 2,000 ปีก่อน และตัวละคร “มุฮัมมัด” ก็ถูกเรียกว่า “มิสเตอร์จอร์จ” ในการถ่ายทำ
ถึงตอนนี้ เบซิล ซึ่งยังคงอยู่ระหว่างการหลบซ่อนตัว เพราะเกรงว่าตนจะกลายเป็นเป้าหมายของกลุ่มชาวมุสลิม ล่าสุด เขาได้ออกแถลงการณ์ถึงเหตุที่เกิดขึ้น โดยแสดงความเสียใจที่เกิดเหตุรุนแรง และมีความสูญเสีย แต่ยังคงยืนยันถึงจุดยืนทางการเมืองของตน และเรียกศาสนาอิสลามว่าเป็น “มะเร็งร้าย” พร้อมอ้างว่า Innocence of Muslims เป็นหนังการเมืองไม่ใช่หนังศาสนา
เบซิล ยังแสดงความเห็น ถึงเหตุร้ายในลิเบียที่ทำให้ทูตสหรัฐฯ เสียชีวิต ว่า เป็นปัญหาของการรักษาความปลอดภัยที่ควรมีการปรับปรุง”
ถึงตอนนี้ เบซิล ซึ่งยังคงอยู่ระหว่างการหลบซ่อนตัว เพราะเกรงว่าตนจะกลายเป็นเป้าหมายของกลุ่มชาวมุสลิม ล่าสุด เขาได้ออกแถลงการณ์ถึงเหตุที่เกิดขึ้น โดยแสดงความเสียใจที่เกิดเหตุรุนแรง และมีความสูญเสีย แต่ยังคงยืนยันถึงจุดยืนทางการเมืองของตน และเรียกศาสนาอิสลามว่าเป็น “มะเร็งร้าย” พร้อมอ้างว่า Innocence of Muslims เป็นหนังการเมืองไม่ใช่หนังศาสนา
เบซิล ยังแสดงความเห็น ถึงเหตุร้ายในลิเบียที่ทำให้ทูตสหรัฐฯ เสียชีวิต ว่า เป็นปัญหาของการรักษาความปลอดภัยที่ควรมีการปรับปรุง”
(เนื้อหาข่าวจาก ; ผู้จัดการออนไลน์ ประจำวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555)
จากข่าวดังกล่าวและสามารถแสดงให้เห็นว่า “ความแพร่หลายของสื่อทางระบบอินเตอร์เน็ตทั่วถึงฉันใด การแสดงความคิดเห็นเชิงลบของคนไทยก็สามารถแพร่หลายไปไกลได้ฉันนั้น” ถึงแม้จะเป็นเพียงกระแสที่เข้ามาแล้วผ่านไปตามกาลเวลา แต่เมื่อเกิดผลกระทบจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติขึ้นแล้วสิ่งที่ไม่อาจเยียวยาแก้ไขให้เหมือนเดิมได้นั่นก็คือ ความรู้สึกและการรักษาความสัมพันธ์ต่อกันได้อย่างสนิทใจ และการกระทำจากคนเพียงไม่กี่คนสามารถส่งผลกระทบต่อคนในสังคมวงกว้างได้ ทั้งที่ผู้เริ่มจุดชนวนปัญหาเป็นใครมาจากไหนก็ไม่มีใครทราบแต่แรก แต่ท้ายสุดการกระทำนั้นก็ได้กลายมาเป็นเหตุแห่งการสูญเสียอย่างที่ไม่ควรจะเกิดต่อผู้ไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำดังกล่าว แต่กลับได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเพียงเพราะการนำเสนอทัศนคติและความคิดเห็นเชิงลบต่อศาสนาของบุคคลหนึ่งเพียงเท่านั้น
เช่นเดียวกันกับปัญหาการแสดงความคิดเห็นเชิงลบของคนไทยบางคนต่อต่างชาติในที่สาธารณะ สะท้อนให้เห็นว่าคุณธรรมจริยธรรมและกระบวนการคิดของคนในสังคมไทยปัจจุบันเสื่อมถอยลงไปมากและไม่รู้จักการแยกแยะวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ไม่รับเปิดใจฟังความคิดเห็นผู้อื่น มักใช้แต่อารมณ์และอคติในการตัดสินและพิจารณาสิ่งต่างๆ รอบตัว และแสดงความคิดเห็นเชิงลบออกมาอย่างไม่ให้เกียรติผู้อื่นทั้งคนไทยด้วยกันเองและคนต่างชาติ สุดท้ายก็จะกลายเป็นปัญหาทางความรู้สึกสะสม และอาจสร้างความร้าวฉานภายในประเทศและระหว่างประเทศได้ในที่สุด
เพราะถ้ามองจากภาพรวมของประเทศไทยเวลานี้แล้วอัตราการพัฒนาด้านสังคมโดยรวมยังย่ำอยู่กับที่ต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่น ในกลุ่มอาเซียนที่กำลังมีการพัฒนาขึ้นในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษา ที่มีการสนับสนุนให้ประชาชนในประเทศสื่อสารได้หลายภาษาเพื่อรองรับการเปิดประเทศในขณะที่ประเทศไทยถึงแม้ว่าจะมีการกำหนดนโยบายรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนเช่นเดียวกัน แต่ในทางปฏิบัติจริงนั้นกลับเน้นไปที่การพัฒนาตัวนโยบาย สังคมและเบื้องหน้าต่างๆ ให้ต่างชาติเห็นมากกว่าการพัฒนาที่เป็นประโยชน์อย่างยั่งยืน นั่นก็คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้นอกกจากจะมีความรู้ความสามมารถในการเรียนและการทำงานแล้ว ยังต้องมีความรู้ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขด้วยความมีระเบียบวินัยในตนเอง และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่ไม่สามารถหาได้จากในบทเรียนที่สับเปลี่ยนไปมาตามยุคสมัยและค่อยๆ กลืนเอาวัฒนธรรม ค่านิยมต่างชาติเข้ามาบดบังวัฒนธรรมและค่านิยมดั้งเดิมอันดีงามของไทย โดยแฝงอยู่ในบทเรียนอย่างแยบยล
ถ้าย้อนกลับไปในสมัยที่เทคโนโลยียังไม่มีความแพร่หลายดังเช่นในปัจจุบัน การเรียนการสอนในทุกรายวิชาของไทย ล้วนมีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมอย่างกลมกลืนเสมอ จนกระทั่งเริ่มมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงนโยบายในด้านต่างๆ และให้ความสำคัญการเรียนการสอนเพื่อพุ่งเป้าไปที่การแข่งขันในสังคมไม่ใช่เพื่อการนำความรู้และคุณธรรมที่ได้รับการปลูกฝังไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตดังเช่นที่เคยเป็นมาตลอดระยะเวลาที่การศึกษาไทยเป็นการศึกษาเพื่อเสาะหาความรู้ไม่ใช่เพียงหน้าที่พึงปฏิบัติในทัศนคติของเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาแบบเก่าของไทยส่งผลกระทบต่อคุณธรรมจริยธรรมของคนไทยโดยที่คนส่วนใหญ่อาจไม่เคยรู้ตัวและเล็งเห็นถึงต้นตอของปัญหาสังคมด้านนี้ ปัญหาในมุมเล็กๆ เมื่อมีการสะสมก็จะค่อยๆ รวมตัวเป็นปัญหาใหญ่ กล่าวคือ การปรับระบบและหลักสูตรการเรียนการสอนของไทยตามกระแสโลกาภิวัฒน์ กระแสนิยม หรือไม่ว่ากระแสใดๆ ก็ตาม ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปแบบก้าวกระโดดไม่ใช่แบบค่อยเป็นค่อยไป ปัญหาเล็กๆ ประการแรกที่ตามมาก็คือ ปัญหาช่องว่างระหว่างวัยของคนในครอบครัว เมื่อหลักสูตรการเรียนเปลี่ยนเนื้อหาไปทั้งระบบผู้ปกครองก็จะเข้าถึงและช่วยสอนหรือให้คำแนะนำบุตรหลานได้ยากขึ้น จะเห็นได้จากครอบครัวในปัจจุบันมักจะสนับสนุนให้บุตรหลานเข้าเรียนพิเศษหรือเรียนเสริมนอกเวลาตั้งแต่ประถม ส่วนหนึ่งก็มาจากการการที่ผู้ปกครองไม่สามารถเข้าถึงบทเรียนและให้ความช่วยเหลือบุตรหลานในการเรียนได้ดังเช่นในอดีต ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวเริ่มมีช่องว่างและอาจจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อบุตรหลานได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น และเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มักจะเชื่อฟังและรับฟังแต่คนที่มีความรู้และน่าเชื่อถือมากกว่า และเมื่อครอบครัวเกิดช่องว่างที่คนในครอบครัวโดเฉพาะผู้ปกครองไม่คิดที่จะแก้ไขหรือให้ความใกล้ชิดอบรมบ่มนิสัยอย่างมีเหตุผลและสร้างความน่าเชื่อถือและเป็นที่เคารพให้กับบุตรหลาน การเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนก็จะเป็นไปได้ง่ายและหล่อหลอมจนติดเป็นนิสัยส่วนตัว
และเมื่อเกิดปัญหาจากสถาบันที่เล็กที่สุดในสังคมอย่างสถาบันครอบครัวโอกาสที่จะขยายตัวเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมก็คงไม่ใช่เรื่องยากมากไปกว่าการกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาที่เกิดภายหลัง
เนื่องจากครอบครัวไทยสมัยก่อนอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวขยาย การปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมดั้งเดิมที่ถูกที่ควร ซึ่งคนในสังคมสมัยใหม่อาจให้คำนิยามว่า “โบราณ” หรือ “บ้านนอก” แต่นั่นกลับเป็นสิ่งที่หล่อหลอมความเป็นมนุษย์และจิตใจอันดีงามที่สังคม “โมเดิร์น” หรือ “ในเมือง” ไม่สามารถให้ได้ดีเท่า
ถ้าการพัฒนาระบบการศึกษาหรือพัฒนานโยบายต่างๆ เน้นไปที่การพัฒนาระบบและการจัดการมากกว่าผู้ใช้หรือตัวทรัพยากรมนุษย์ ก็คงไม่ต่างจากการเปิดผ่านหน้าหนังสือโดยไม่ได้อ่านทำความเข้าใจและจดบันทึกเพิ่มที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้อ่านในปัจจุบันจนถึงภายภาคหน้าลงไป
การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาของไทยที่เคยมีมา ถึงแม้จะมีการกำหนดนโยบายและแนวทางการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ไว้หลากหลายด้าน รวมไปถึงด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพไว้อย่างชัดเจน มีการกำหนดนโยบายอีกทั้งระดมทุนและงบประมาณเพื่อส่งเสริมการศึกษา การประกอบอาชีพและสวัสดิการต่างๆ มากมาย แต่ผลที่ได้กลับมาเป็นเพียงผลกำไร หน้าที่การงาน และปัจจัยอื่นๆ ในชีวิตมนุษย์ หล่อหลอมสังคมให้กลายเป็นสังคมแห่งความฟุ้งเฟ้ออยากได้อยากมี จนละทิ้งคุณธรรมจริยธรรมที่พึงมีของคนไทยในการดำเนินชีวิตและอยู่ร่วมกันในสังคม เกิดเป็นปัญหาที่ต่างคนต่างมองและวิพากษ์วิจารณ์ด้วยอคติและอารมณ์ โดยยกให้เป็นความผิดของต่างชาติที่เข้ามามีอิทธิพลและสร้างกระแสนิยมให้คนไทยขาดความรักชาติและสนับสนุนต่างชาติ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขาดดุลสังคมไทยแตกแยกและโยงใยปัญหาต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างไม่รู้ที่มาที่ไป ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการคิดที่เริ่มจะล้มเหลวของคนไทยบางส่วนที่จ้องแต่จะโจมตีภายนอกโดยปราศจากการแก้ไขปัญหาและและเสริมสร้างคว้าเข้มแข็งเป็นปึกแผ่นจากภายในก่อน ถ้าขืนปล่อยทิ้งไว้ในอนาคตไทยอาจจะถูกมองจากภายนอกว่าเป็นประเทศที่แก้ไขปัญหาโดยการเจรจาด้วยเหตุผลไม่ได้ ทุกอย่างต้องผ่านกระบวนการความขัดแย้งก่อนจึงจะได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ
ลักษณะนิสัยของคนไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากเนื่องด้วยปัจจัยใดก็ตามถือว่าเป็นตัวแปรหลักที่ทำให้สังคมไทยตกอยู่ในสภาวะที่ขาข้างหนึ่งก้าวสู่ความทันสมัย ก้าวสู่อาเซียน ในขณะที่ขาอีกข้างกำลังก้าวถอยหลังตามแรงดึงของคุณธรรมจริยธรรมที่กำลังลดน้อยลง ในการกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาของประเทศไทย ณ เวลานี้ควรเริ่มจากการหันกลับมาดึงขาข้างคุณธรรมจริยธรรมให้ก้าวนำขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
การพัฒนาที่แท้จริงควรเริ่มจากการพัฒนาความคิดและจิตใจของปัจเจกชนก่อนเป็นสำคัญ และค่อยๆ พัฒนาด้านต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป เรียนรู้การแก้ปัญหาจากประสบการณ์ความผิดพลาดเดิมและสานต่อสิ่งที่เป็นประโยชน์ การเปิดรับค่านิยมและวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาปรับใช้ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องผิดเพียงแค่รู้จักรักษาค่านิยมและวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ดีงามของไทยไว้ เพราะถ้าหมดสิ้นสิ่งเหล่านี้ไปประเทศไทยก็คงไม่ต่างอะไรกับประเทศที่ตกเป็นเมืองขึ้นทางกระแสนิยมของชาติอื่น
การแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดเช่นกัน เพียงแต่ต้องไตร่ตรองให้รอบคอบและรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เรื่องบางเรื่องควรพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจทำหรือแสดงความคิดเห็นออกไป ไม่ควรทำเพียงเพราะความคึกคะนองเพราะบางครั้งผลกระทบอาจไม่ได้ตกอยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่งโดยตรง บางครั้งการแสดงความคิดเห็นก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมและกระบวนการคิดของคนในประเทศนั้นๆ เพราะการไม่แสดงตัวตนชัดเจนบางครั้งอาจถูกเหมารวมให้ถือว่าเป็นการรับผิดชอบร่วมกัน
ปัญหาใหญ่มักจะเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ก่อนเสมอ ในการพัฒนาแก้ไขปัญหาในสังคมก็เช่นกัน ควรเริ่มจากการพัฒนาแก้ไขที่ตัวบุคคลก่อนที่ตัวบุคคลนั้นๆ จะเป็นผู้เข้ามาแก้ไขปัญหาและพัฒนาด้านอื่นๆ ต่อไป
ดังนั้นปัญหาสังคมที่สำคัญและไม่ควรมองข้ามที่สุด ไม่ใช่ปัญหาด้านการศึกษา เศรษฐกิจหรือสังคมแต่อย่างใด แต่เป็นปัญหาด้านคุณธรรมจริยธรรม จิตใจ และกระบวนการคิดของมนุษย์ หากประเทศไทยสามารถป้องกันและพัฒนาแก้ไขปัญหาด้านนี้ได้ คำถามที่ว่า “เหตุใดสังคมไทยจึงไม่พัฒนา?” ก็จะหมดไป เพราะปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ได้ถูกพัฒนาแล้ว..