วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในประเทศไทย นางสาววรภา คำทา 53242414

บทความเชิงวิชาการ
เรื่อง ปัญหาแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในประเทศไทย


บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง ปัญหาแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ในประเทศไทยมีความมุ่งหมายเพื่อรวบรวมสภาพของปัญหาจากแรงงานพม่าที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยศึกษาตั้งแต่ที่มาของปัญหาคือปัจจัยผลักดันบุคคลเหล่านี้ออกจากประเทศ และปัจจัยที่ไทยเข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะที่เป็นแรงดึงดูดให้ชาวพม่าเหล่านี้ลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทย รวมถึงการรวบรวมการกำหนดนโยบายและมาตรการที่รัฐบาลนำมาใช้แก้ไขปัญหาแรงงานพม่าและแรงงานต่างด้าวหลบหนี้เข้าเมือง
ปัญหาแรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะชาวพม่าที่หลบหนี้เข้าประเทศไทยเป็นปัญหาที่มีหลายมุมมองระหว่างด้านความมั่นคง เพราะที่ผ่านมาบุคคลเหล่านี้ได้สร้างปัญหาด้านความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ก่ออาชญากรรมต่างๆเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การตั้งชุมชนของเชื้อชาติตัวเองที่ยากต่อการควบคุมป้องกัน ขณะเดียวกันก็สร้างปัญหาทางสังคม เกิดภาวะคนต่างชาติที่ขาดคุณภาพเข้ามาอยู่ในสังคมไทยมาขึ้น ปัญหาด้านการศึกษา และปัญหาทางธารณสุข ขณะเดียวกันมุมมองด้านเศรษฐกิจ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแรงงานเหล่านี้ได้เข้ามาทดแทนแรงงานที่ขาดแคลนจริงๆ เพราะเป็นงานที่หนัก และน่ารังเกียจ รวมถึงการสร้างรายได้เข้าประเทศจากการผลิตเพื่อส่งออกในหลายๆด้านที่อาศัยแรงงานต่างด้าวเหล่านี้เป็นหลัก
ปัจจุบันรัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ และได้บูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นดำเนินไปอย่างเป็นเอกภาพ

บทนำ
                ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบปัญหาจากผู้อพยพหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อพยพซึ่งเข้ามาเป็นผู้ใช่แรงงานมีที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เนื่องจากความแตกต่างของสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ รวมถึงความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง จึงเป็นปัจจัยดึงดูดให้เกิดการย้ายถิ่นเละอพยพหลบหนี้เข้าเมืองของผู้คนเพื่อมาหางานทำในประเทศไทยซึ่งสามารถกระทำได้โดยง่ายเนื่องจากอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยมีระยะทางยาวไกล
                ปัญหาเกี่ยวกับผู้หลบหนี้เข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศพม่าและกลุ่มประเทศอินโดจีน ซึ่งตัวเลขเท่าที่มีการประมาณการณ์ในปัจจุบันมียอดรวมไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน นับรวมทั้งผู้ที่อยู่ใต้เงื่อนไข และลักลอบอาศัยนั้นได้เกิดขึ้นมาแล้ว แต่ในระยะแรกสภาพปัญหายังไม่ทวีความรุนแรง เนื่องจากยังมีจำนวนไม่มากนัก ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้รับการช่วยเหลือทั้งด้านที่อยู่อาศัยและอื่นๆ จนกระทั่งบุคคลเหล่านี้ได้ผสมผสานกับสังคมไทยไปเป็นอันมาก ต่อมาในระยะหลังถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในระยะ10ปีที่ผ่านมาปัญหาจากการหลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ได้กลายเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทยในด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งในประเด็นหลังนี้กระทบต่อความเป็นอยู่ของคนไทยเป็นอันมาก
                จากการที่ประเทศไทยได้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศตั้งแต่พ.ศ.2505 มาจนถึงปัจจุบันได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในรูปการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและกิจการด้านการบริการเพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งยังทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานจากภาคเกษตรกรรมเข้าสู่สังคมเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมลฑล และจังหวัดใหญ่ๆของแต่ละภาคซึ่งมีความต้องการแรงงานดังกล่าวเป็นจำนวนมากและปรากฏการจ่ายอัตราค่าจ้างสูงกว่าในภาคเกษตรกรรม
                ขณะเดียวกันถึงแม้ว่าตลาดของประเทศจะมีความต้องการแรงงานจำนวนมาก เพื่อสนองตอบความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมข้างต้น แต่การที่แรงงานจำนวนมากเดินทางไปขายแรงงานในต่างประเทศ จึงทำให้ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานภายในประเทศ โดยเฉพาะแรงงานประเภทไร้ฝีมือในหลายสาขา งานบางประเภทคนไทยไม่นิยมทำ เช่น งานด้านประมงทะเล และอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกับประมงทะเล จึงทำให้ภาคเอกชนและผู้ประกอบการได้หาทางออกโดยการจ้างแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายที่ลักลอบเข้ามาหางานทำในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานประเภทไร้ฝีมือที่มีความอดทนและอัตราค่าแรงถูกประกอบด้วยแรงงานสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา บังคลาเทศ ปากีสถาน จีน ซึ่งในจำนวนนี้แรงงานสัญชาติพม่ามีจำนวนมากที่สุด
                การหลังไหลของแรงงานพม่าเข้ามาในไทย ปัจจัยประการสำคัญเป็นผลสืบเนื่องจากความแตกต่างของสภาพเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับพม่า เนื่องจากประชาชนพม่าส่วนใหญ่ประสบภาวะยากจนไม่มีงานทำและขาดรายได้ในการดำรงชีพอย่างเพียงพอ ในขณะที่ประเทศไทยมีความต้องการแรงงานโดยเฉพาะแรงงานไร้ฝีมือจำนวนมาก เพื่อนำไปใช้งานในธุรกิจประเภทต่างๆอาทิ กิจการด้านการประมง การก่อสร้าง เกษตรกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมทั่วๆไป ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดการหลั่งไหลของแรงงานพม่าเข้าสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักปรากฏในรูปการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานผิดกกฎหมายผ่านช่องทางชายแดนด้านต่างๆ บริเวณพรหมแดนไทย-พม่า ซึ่งมีระยะทางยาวไกล ประกอบกับผู้ประกอบการในไทยไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าแรงแก่แรงงานพม่าเหล่านี้ในอัตราที่กฎหมายแรงงานกำหนดให้จ่ายแก่แรงงานคนไทย และแรงงานพม่าดังกล่าวมีความอดทน ไม่มีข้อต่อรองกับนายจ้าง จึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในวงการธุรกิจไทย เพราะเป็นการลดต้นทุนและสร้างรายได้เป็นกำไรในการดำเนินธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น
                นอกเหนือจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจแล้ว อาจกล่าวได้ว่าแรงงานพม่าที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายนั้น ยังลักลอบเข้ามาโดยเหตุผลด้านความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินที่เกิดจากปัญหาการสู้รบระหว่างรัฐบาลพม่าและกอองกำลังชนกลุ่มน้อย ทำให้มีจำนวนผู้หลบหนีภัยจากการเข้ามาสู้รบอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดตลอดแนวชายแดนด้านตะวันตก
                ในระยะแรกแรงงานพม่าจะอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีเขตแดนติดต่อกันเท่านั้นโดยพบมากที่จังหวัดระนอง ซึ่งอยู่ตรงข้ามจังหวัดเกาะสอ แรงงานพม่าเป็นลูกเรือและลูกจ้างในพื้นที่ ต่อมาได้ขยายไปเป็นคนงานในสวนยางพารานอกจากนี้ยังมีในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดราชบุรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานพม่าเชื้อสายมอญกับกะเหรี่ยงที่เข้าไทยมาทางด้านจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรีและประจวบคีรีขันธ์ โดยเข้ามารับจ้างเป็นลูกเรือประมงมากที่สุด ที่เหลือเป็นแรงงานรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมและรับใช้ทั่วไป ทั้งนี้การหลั่งไหลของแรงงานพม่าที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 ซึ่งเกิดปัญหาการเมืองภายในของพม่าเป็นต้นมาทางการไทยได้พยายามจัดระเบียบและผลักดันออกไป แต่การที่ปัจจัยผลักดันของพม่าทั้งด้านเศรษฐกิจและความปลอดภัยประกอบกับปัจจัยดึงดูดของประเทศไทยที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า ทำให้ปัญหาแรงงานพม่าหลบหนีเข้าเมืองไม่สามารถหาทางยุติได้โดยง่าย รัฐบาลได้กำหนดมาตรการใหม่ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการจัดระบบแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายในประเทศใหม่ทั้งระบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมาซึ่งได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันโดยใช้มาตรการทางทะเบียนควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายและนโยบายความสำคัญระหว่างประเทศ

เนื้อหา
แรงงานต่างด้าวพม่าที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ในปัจจุบัน ได้สร้างผลกระทบให้เกิดขึ้น ในสังคมไทย โดยสามารถแบ่งได้ เป็น 3 ด้าน ดังนี้ ด้านแรก ผลกระทบทางสังคม อาทิ ปัญหาด้านอาชญากรรมและยาเสพติด เป็นที่ทราบกันดีว่า การมีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายจำนวนมาก ทำให้เกิดการแย่งงานกันเองระหว่างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายด้วยกัน แรงงานต่างด้าวบางส่วนว่างงาน จึงมักพบว่า มีการลักทรัพย์เกิดขึ้นในชุมชนที่มีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายอยู่จานวนมาก บ่อยครั้งมีการทะเลาะวิวาทจากการดื่มสุราและมีการลักทรัพย์จากร้านค้าและชุมชนไทย ทำให้คนไทยบางส่วนเกิดความหวาดระแวงและหวาดกลัวภัยจากการที่แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย อยู่ในชุมชน นอกจากนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับชุมชนอีกประการที่เห็นได้ชัดเจน คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม มีขยะมาก ชุมชนสกปรกขึ้นเพราะความไม่มีระเบียบของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ปัญหาการลักลอบเข้าเมือง การเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะ พม่า ลาวและกัมพูชา ที่เข้ามาในประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถิติผู้ต้องขังชาวต่างชาติที่ถูกจับเนื่องจากเข้าเมืองผิดกฎหมายหรือกระทาความผิดในคดีต่างๆ และกำลังรอการส่งกลับหรือผลักดันออกนอกประเทศในแต่ละปี มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น โดยมีผู้ต้องขังชาวพม่า มีจำนวนมากที่สุดมาโดยตลอดรองลงมา คือ กัมพูชา และลาว ตามลำดับ ปัจจุบันคาดว่ามีผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายที่ยังไม่มาจดทะเบียนประมาณ 11.5 ล้านคน ครึ่งหนึ่งของคนกลุ่มนี้เป็นผู้หญิงและเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ปัญหาด้านการศึกษา โอกาสในการศึกษาของเด็กในครอบครัวแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่จะได้รับการศึกษามีอยู่ 2 ลักษณะคือ การศึกษาจากชั้นเรียนที่ไม่เป็นทางการที่จัดขึ้นกันเอง ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และการได้เข้าเรียนในสถานศึกษาของไทย แต่การที่ลูกของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเหล่านี้จะได้รับการศึกษาเหมือนเด็กไทยนั้น เป็นไปได้ยาก เนื่องจากสถานศึกษาหลายแห่งอ้างว่าเด็กไม่มีสัญชาติไทย ขณะเดียวกันการเปิดโอกาสให้เด็กต่างด้าวเข้าสู่ระบบการศึกษาของไทย ก็จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางการศึกษาของเด็กไทยด้วย
        ด้านที่สอง ผลกระทบทางด้านสาธารณสุข แรงงานต่างด้าวบางส่วน ได้เป็นพาหนะนาโรคใหม่ๆ เข้ามาในประเทศไทย ถึงแม้ว่าแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายจะได้รับการตรวจสุขภาพและค้นหาโรคจากหน่วยงานสาธารณสุขของจังหวัดและได้รับบัตรประกันสุขภาพ แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายและไม่ขึ้นทะเบียน แรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนกลุ่มนี้ สร้างปัญหาและผลกระทบในด้านสาธารณสุขต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความยากลาบากในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข และการรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ อันก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ลบแก่สภาวะสุขภาพอนามัยต่อแรงงานต่างด้าว เช่น การแพร่ระบาดหรือการกระจายโรคติดต่อที่สำคัญ จากรายงานการศึกษาเรื่องความต้องการจ้างแรงงานอพยพต่างชาติในประเทศไทยปี 25462549 โดยสถาบันเอเชียศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม พบว่าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายส่วนหนึ่งเป็นโรคติดต่อและเจ็บป่วยด้วยโรคที่ประเทศไทยเคยควบคุมได้แล้ว มีการตรวจพบโรคต่างๆดังนี้ มาเลเรีย วัณโรค เท้าช้าง ไข้เลือดออก โรคเรื้อน และไข้กาฬหลังแอ่น ซึ่งหากไม่มีการควบคุมให้ดีแล้ว อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคเหล่านี้ในประเทศไทยอีกครั้ง ผลกระทบต่อรายจ่ายทางด้านสาธารณสุขหรืองบประมาณที่รัฐต้องเสียไปในการดูแลปัญหาเหล่านี้หรืออาจกล่าวได้ว่ารัฐต้องแบ่งปันทรัพยากรของคนไทยในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมดูแลและการป้องกันโรค ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายและเวลาในการออกติดตามในการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขของแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะจังหวัดบริเวณชายแดน จะแบกรับภาระสูงเพราะมีผู้มาใช้บริการมาก
       ด้านที่สาม ผลกระทบด้านความมั่นคง การที่มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก กระจัดกระจายตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยไม่ทราบจำนวนและที่พักอาศัยของแรงงานต่างด้าวทั้งหมดที่มีอยู่แท้จริง แต่มีการประมาณว่าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่อยู่ในประเทศไทยน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน ในขณะที่การบริหารแรงงานต่างด้าวยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นปัญหาแรงงานต่างด้าวจึงย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายสัญชาติพม่า มีการจ้างทำงานหนาแน่นมากที่สุดบริเวณชายแดนที่ติดต่อกับประเทศพม่า ได้แก่ จังหวัดตาก เชียงใหม่ และระนอง ลงมาจนถึงบริเวณพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง ซึ่งเป็นศูนย์รวมเศรษฐกิจของประเทศและเป็นแหล่งอุตสาหกรรมแบบเข้มข้น ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายผลักดันแรงงานต่างด้าวแต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะถึงแม้จะสามารถผลักดันคนต่างด้าวกลับไปได้ แต่ไม่นาน คนเหล่านั้นก็เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีก นอกจากนี้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายยังมีที่อยู่ไม่ถาวร มีการเคลื่อนย้ายเข้าออกระหว่างประเทศ
       แรงงานต่างด้าวในประเทศไทยที่เป็นประเด็นปัญหาใหญ่อยู่ในปัจจุบันนี้ ก็คือแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย จากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในประเทศไทยและความแตกต่างกันในทางเศรษฐกิจ กลายเป็นปัจจัยดึงดูดแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ถึงแม้ว่าแรงงานต่างด้าวเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และมีความจำเป็นสำหรับประเทศไทยอยู่พอสมควรก็ตาม แต่จำนวนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ได้หลั่งไหลเข้ามาอย่างมากมาย ได้ก่อให้เกิดปัญหาและเกิดผลกระทบต่างๆ ในสังคมไทยเป็นอย่างมาก

ภาครัฐได้พยายามแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลหนีเข้าเมืองโดยใช้มาตรการและวิธีการต่างๆ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือใช้แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายโดยสรุปดังนี้
1)            ใช้มาตรการผ่อนผันให้นายจ้าง/สถานประกอบการนำแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองมาจดทะเบียนและขอใบอนุญาตทำงานตั้งแต่ปี2535 สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
2)            มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) ขึ้นมาเพื่อกำหนดนโยบาย มาตรการในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
3)            ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน ประเทศพม่า ลาว กัมพูชา และมีการดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่ การพิสูจน์สัญชาติและการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
4)            ใช้มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ได้แก่พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์พ.ศ.2551พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 พระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ. 2508พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองแม้ว่าภาครัฐจะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามมาตรการดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ยังพบประเด็นปัญหาที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 ปัญหาเกี่ยวกับนโยบายการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองของรัฐบาล
นโยบายการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง มี 4 รูปแบบ ได้แก่จำกัดพื้นที่และประเภทกิจการไม่จำกัดพื้นที่และประเภทกิจการ การอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันและมีใบอนุญาตทำงานต่ออายุทำงานแต่ไม่เปิดให้คนใหม่เข้าระบบ และจำกัดพื้นที่แต่ไม่จำกัดประเภทกิจการเป็นนโยบายแก้ไขปัญหาในระยะสั้นรายปีประกอบมติคณะรัฐมนตรีล่าสุดปี พ.ศ. 2552เปิดให้จดทะเบียนในกิจการต่างๆ รวม 24 กิจการ ทำให้มีแรงงานต่างด้าวกระจายทุกจังหวัดของประเทศไทยซึ่งยากต่อการควบคุม
ประเด็นที่ 2 ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวหลบหนี เข้าเมืองภายใต้คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) มีจุดแข็งที่สามารถช่วยยกระดับการแก้ปัญหาเป็นปัญหาระดับชาติภายใต้การดูแลของนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับหมอบหมาย และมอบหมายให้กรมการจัดหางานเป็นเลขานุการ แต่ก็มีอุปสรรคที่สำคัญ คือ ไม่มีสำนักงานเป็นของตนเอง ขณะเดียวกันต้องดูแลแรงงานต่างด้าวนับล้านคน มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลแรงงานต่างด้าวหลายฉบับประกอบกับการบริหารจัดการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองต้องเน้นหนักในด้านความมั่นคงซึ่งไม่ใช่ภารกิจหลักของกรมการจัดหางาน ซึ่งมีหน้าที่ในการออกใบอนุญาตทำงานให้แรงงานต่างด้าวเป็นหลัก ประกอบกับการจัดตั้ง กบร.เป็นเพียงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นการใช้อำนาจทางบริหารของรัฐบาลไม่มีกฎหมายแม่บทรองรับ
ประเด็นที่ 3 ปัญหาเกี่ยวกับการพิสูจน์สัญชาติของแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
                ในการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาวและกัมพูชาที่ผ่านมา ไม่ค่อยมีปัญหาเนื่องจากทางการลาวและกัมพูชาเข้ามาพิสูจน์สัญชาติในประเทศไทยจะมีปัญหาอุปสรรคบ้างได้แก่ ปัญหาการเดินทางมาพิสูจน์สัญชาติต้องขออนุญาตออกนอกเขตจังหวัดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย สำหรับกรณีการพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าพบปัญหาสำคัญ ได้แก่ แรงงานพม่าต้องเดินทางไปพิสูจน์สัญชาติที่ประเทศพม่าและต้องขออนุญาตออกนอกเขตจังหวัดจากปลัดกระทรวงมหาดไทย ปัญหาค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์สัญชาติมีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากไม่มีกฎหมายบังคับบริษัทนายหน้าในเรื่องของค่าใช้จ่ายและค่าบริการ ที่พาแรงงานต่างด้าวไปพิสูจน์สัญชาติทำให้แรงงานต่างด้าวบางส่วนไม่ไปพิสูจน์สัญชาติปัญหาแรงงานต่างด้าวบางส่วนจะไม่เข้าสู่ระบบการพิสูจน์สัญชาติเพราะกลัวถูกจับ มีความคาดหวังว่าจะได้รับสัญชาติไทย มีคนต่างด้าวสัญชาติอื่นสวมสิทธิ์เป็นคนสัญชาติพม่า และปัญหาแรงงานต่างด้าวไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ
ประเด็นที่ 4 ปัญหาเกี่ยวกับการนำเข้าแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน
                พบว่าปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ขั้นตอนในการนำเข้ามีหลายขั้นตอน ใช้ระยะเวลาดำเนินการจัดส่งแรงงานให้แก่นายจ้างในประเทศนาน ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าสูง และไม่มีมาตรการควบคุมและลงโทษบริษัทจัดหางานที่จัดส่งแรงงานเข้ามาทำงานในประเทศไทยกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญา ประกอบกับบริษัทจัดหางานที่จัดส่งแรงงานไม่มีบริษัทตัวแทนที่ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยไม่มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องของการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ และไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทจัดหางานเพื่อนำเข้าแรงงานต่างด้าว ทำให้ไม่สามารถควบคุมสายหรือนายหน้าที่เป็นตัวแทนบริษัทจัดหางานที่อยู่ในเมืองไทยได้นอกจากนี้กฎหมายก็ไม่ได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐในการเป็นตัวแทนในการติดต่อนำเข้าแรงงานต่างด้าวกับบริษัทจัดหางานในประเทศเพื่อนบ้านหรือให้มีนำเข้าระหว่างรัฐต่อรัฐ หน่วยงานของรัฐเป็นเพียงผู้ออกใบอนุญาตทำงานและเป็นหน่วยงานกลางคอยจัดส่งเอกสารเท่านั้น ปัญหาแรงงานต่างด้าวนำเข้าโดยถูกกฎหมายไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ทำให้ต้องลักลอบทำงาน
ประเด็นที่ 5 ปัญหาเกี่ยวกับการเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าวตามช่วงระยะเวลาหรือตามฤดูกาล
พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 มาตรา 14 กำหนดให้คนต่างด้าวซึ่งมีภูมิลำเนาและเป็นคนสัญชาติของประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย ซึ่งมีเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และสามารถทำงานภายในท้องที่ที่อยู่ติดกับชายแดนหรือท้องที่ต่อเนื่องกับท้องที่ดังกล่าวได้ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาการลักลอบเข้ามาทำงานของคนต่างด้าวบริเวณชายแดน และแก้ไขปัญหาการเคลื่อนย้ายเข้ามาทำงานของคนต่างด้าวในตัวเมืองชั้นใน แต่ปรากฏว่าพบปัญหาข้อกฎหมายที่สำคัญ คือพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 13 (2)กำหนดให้คนต่างด้าวสัญชาติของประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยเดินทางข้ามพรมแดนไปมาชั่วคราวให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง และปัจจุบันได้มีข้อตกลงระหว่าประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้ใช้หนังสือผ่านแดน(Border Pass) ในการเดินทางระหว่างชายแดนซึ่งหนังสือผ่านแดนมิใช่เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง จึงไม่สามารถนำมาขอใบอนุญาตทำงานได้นอกจากนี้กฎหมายซึ่งได้กำหนดให้แรงงานต่างด้าวสามารถทำงานในท้องที่ที่อยู่ติดกับชายแดน และท้องที่ต่อเนื่องกับท้องที่ชายแดนได้ด้วยซึ่งอาจมีปัญหาแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้ามาตัวเมืองชั้นในได้เนื่องจาก เมื่อพิจารณาจังหวัดซึ่งมีพื้นที่ติดกับชายแดนของประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา รวมทั้งสิ้นจำนวน 26 จังหวัด และจังหวัดที่ต่อเนื่องกับจังหวัดดังกล่าวจำนวน 26 จังหวัด รวมจำนวนทั้งสิ้น 52 จังหวัด
ประเด็นที่ 6 ปัญหาเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง และผู้เกี่ยวข้อง
                ปัญหาอุปสรรคในการป้องกัน ปราบปราม และสกัดกั้นแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ผ่านมา พบปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ใช้มาตรการในการผลักดันและส่งกลับตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยไม่มีการดำเนินคดีเนื่องจากประเทศไทยไม่มีสถานที่กักกันและงบประมาณที่เพียงพอในการดูแลแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองทำให้แรงงานต่างด้าวไม่เกรงกลัวการถูกลงโทษ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ไม่เข้มงวดมีเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการนำพา การปลอมแปลงเอกสาร ทะเบียน บัตรประจำตัว นอกจากนี้ยังพบประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่สำคัญกล่าวคือ
                - พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวพ.ศ. 2551 ได้แก่ไม่มีการแยกบทลงโทษระหว่างแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองและลักลอบทำงาน กับแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองถูกกฎหมาย และทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตนายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าวโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่มีบทลงโทษจำคุก กฎหมายไม่ให้อำนาจเด็ดขาดในการจับกุมแรงงานต่างด้าวไม่มีบทลงโทษกรณีฝ่าฝืนไม่เสียค่าธรรมเนียมการจ้างแรงงานต่างด้าว ไม่ได้กำหนดหน้าที่นายจ้างให้ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เมื่อต่างด้าวออกจากงานและบทลงโทษหากฝ่าฝืน อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่เนื่องจากคำสั่งกระทรวงแรงงานซึ่งแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 ไม่ครอบคลุมลูกจ้างพนักงานราชการของกรมการจัดหางานและไม่มีเจ้าหน้าที่จากองค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งดังกล่าว
-พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์พ.ศ. 2551 มาตรา 37 กำหนดให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ตกเป็นเยื่อของการค้ามนุษย์สามารถทำงานได้เป็นการชั่วคราวมีความไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวพ.ศ.2551และพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 เนื่องจากแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองดังกล่าว ไม่อยู่ในสถานะที่เป็นผู้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายคนเข้าเมืองแต่อย่างใด จึงไม่สามารถมาขอใบอนุญาตทำงานได้และยังพบปัญหากรณีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนไม่สามารถหางานให้แรงงานต่างด้าวทำได้เนื่องจากพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528ไม่ให้อำนาจในการจัดหางานให้คนต่างด้าวทำ
-ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานเนื่องจากปัญหาการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองส่วนหนึ่งเกิดจากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แรงงานต่างด้าวไม่กล้าใช้สิทธิตามกฎหมายทำให้แรงงานต่างด้าวต้องหลบหนีจากนายจ้างเดิมไปอยู่กับนายจ้างรายใหม่ที่ให้ค่าจ้างและสวัสดิการดีกว่า โดยไม่มีการแจ้งย้ายหรือเปลี่ยนนายจ้าง หรือไม่ขออนุญาตออกนอกเขตท้องที่ตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนดทำให้แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ก็จะกลายเป็นแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่อยู่นอกระบบและยากต่อการควบคุมนอกจากนี้กรณีแรงงานต่างด้าวถูกเลิกจ้างเนื่องจากนายจ้างตายหรือเลิกกิจการ หนีนายจ้างเนื่องจากถูกนายจ้างทำทารุณกรรม นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จำเป็นต้องหานายจ้างรายใหม่ แต่ปรากฏว่ากรมการจัดหางานและภาคเอกชนก็ไม่มีอำนาจในการหานายจ้างหรือหางานให้คนต่างกับแรงงานต่างด้าวดังกล่าวได้เนื่องจากไม่มีกฎหมายให้อำนาจในการจัดหางานให้คนต่างด้าวทำ
ประเด็นที่ 7 ปัญหาเกี่ยวกับการบูรณาการ และการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบันพบปัญหาเกี่ยวกับการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งจัดเก็บข้อมูลคนต่างด้าวได้แก่กรมการปกครองสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมการจัดหางานกระทรวงสาธารณสุข กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงศึกษาธิการ แต่ละหน่วยจัดเก็บข้อมูลไว้ใช้เฉพาะหน่วยงานของตนไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อใช้อย่างบูรณาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทำให้มีปัญหาการตรวจสอบติดตามและควบคุมแรงงานต่างด้าว
แนวคิดและทฤษฎี
แนวคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ
                ทฤษฎีการย้ายถิ่น   (Migration Theories)   ก็คือข้อเสนอ  (Proposition)  ที่อธิบายถึงพฤติกรรม   (Behavior)  ของผู้ย้ายถิ่นและปรากฏการณ์  (Phenomena)  การย้ายถิ่นที่เกิดขึ้น    ข้อเสนอของทฤษฎีมักจะประกอบด้วยตัวแปร (Variables) ที่สำคัญ คำจำกัดความ (Definitions)  ข้อสมมติ  (Assumptions)  และการทำนาย  (Predictions)   ว่าจะเกิดอะไรขึ้น   ถ้าตัวแปรและข้อสมติฐานต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปทฤษฎีที่ดีคือ ทฤษฎีที่สามารถจะทำนายพฤติกรรมและปรากฏการณ์ต่าง ๆ  ดังกล่าวได้ดี
                                                องค์การสหประชาชาติได้ให้คำจำกัดความของ  ผู้ย้ายถิ่น” (Migrant) ไว้ว่า เป็นผู้ซึ่งเปลี่ยนที่อยู่อาศัยเดิมจากพื้นที่หนึ่งไปอยู่อาศัยในพื้นที่ใหม่ที่ไกลจากที่อยู่เดิม ในช่วงระยะเวลาหนึ่งจากคำจำกัดความนี้
                                                 1.           ถ้ายึดสถานที่ (place) เป็นหลัก การย้ายถิ่นอาจจำแนกออกเป็นการย้ายถิ่นภายในประเทศ (Internal Migration) เป็นการย้ายจากชนบทสู่เมือง เมืองสู่ชนบท ชนบทสู่ชนบท หรือเมืองสู่เมือง และการย้ายถิ่นภายนอกประเทศ (External Migration) หรือ การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ (International Migration) โดยการย้ายถิ่นเข้าประเทศ เรียกว่า “Immigration” การย้ายถิ่นออกนอกประเทศเรียกว่า “Emigration” เป็นการย้ายจากประเทศหนึ่ง สู่อีกประเทศหนึ่ง
                                                2.            การยึดหลักระยะเวลา (Time) เป็นหลักการย้ายถิ่นสามารถจำแนกเป็นการย้ายถิ่นชั่วคราว (Temporary Migration) เป็นการย้ายถิ่นเพียงระยะเวลาหนึ่งไม่อยู่ถาวรตลอดไป เช่น การย้ายถิ่นของเกษตรกรเข้ามาหางานทำในกรุงเทพมหานคร ในช่วงที่ว่างจากฤดูทำนาหรือทำการเกษตรเพียง 34 เดือน หรือที่เรียกว่าการย้ายถิ่นตามฤดูกาล (Seasonal Migration) และการย้ายถิ่นถาวร (Permanent Migration) เป็นการย้ายถิ่นที่ผู้ย้ายตั้งใจจะอยู่ในที่อยู่ใหม่เป็นการถาวร
                                                3.  การยึดหลักตัวบุคคล   หรือความสมัครใจของบุคคลเป็นหลักการย้ายถิ่นสามารถจำแนกเป็นการย้ายถิ่นโดยสมัครใจ เป็นกรณีที่ผู้ย้ายสมัครใจที่ย้ายมิได้ถูกบังคับให้ย้าย และการย้ายถิ่นโดยไม่สมัครใจหรือถูกบังคับย้าย การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ จากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่งอาจเป็นได้ ทั้งเนื่องจากมีปัจจัยผลักดันจากประเทศที่แรงงานเคลื่อนย้ายออกหรือปัจจัยดูดจากประเทศที่แรงงานเคลื่อนย้ายเข้า

บทสรุป
                ผู้หลบหนี้เข้าเมืองผิดกฎหมายจากประเทศพม่า ในระยะแรกเป็นผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบ ต่อมาได้มีพัฒนาการเป็นผู้หลบหนี้เข้าเมืองเพื่อทำงาน หรือแรงงานพม่าผิดกฎหมาย และกลายเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทยทั้งในด้านเศรษฐกิจ  สังคม และความมั่นคงปลอดภัย ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปัญหาดังกล่าวขยายตัวมากขึ้นในปัจจุบันคือ ปัญหาภายในประเทศพม่าที่เป็นตัวผลักดันให้แรงงานพม่าหลั่งไหลออกมาหางานทำในประเทศไทย ได้แก่ ความไม่พอใจในระบบการเมือง การปกครองประชาชนในประเทศเกิดความไม่มั่นคงในชีวิต และทรัพย์สิน จนจำเป็นต้องแสวงหาความปลอดภัยและความเป้นอยู่ที่ดีกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีปัญหาสภาพเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศพม่า และการขาดมาตรการการควบคุมคนออกนอกประเทศอย่างจิงจัง
                ส่วนปัจจัยจากประเทศไทยที่เปรียบเสมือนแรงดึงดูดให้บุคคลสัญชาติพม่าหลบหนี้เข้ามาขายแรงงานในประเทศไทย ได้แก่ ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของไทยที่ก้าวหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศรอบบ้านของพม่าประกอบกับภาวะการขาดแคลนแรงงานในประเทศไทยที่ประชาชนมีการศึกษาสูงขึ้นมีทักษะขึ้น แลไปทำงานในต่างประเทศมากขึ้น จึงไม่ทำงานที่ยากลำบาก ขณะที่นโยบายและมาตรการควบคุมและสกัดกั้นคนเข้าเมืองของไทยก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทั้งที่สภาพภูมิศาสตร์ชายแดนไทย พม่าเอื้ออำนวยอย่างยิ่งต่อการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานพม่า อนึ่ง ในบางพื้นที่โดยเฉพาะด้านชายแดนแรงงานพม่ามีความสัมพันธ์เป็นญาติพี่น้องกันผู้ที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยก่อนแล้ว
                รับบาลไทยได้กำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับชาวพม่าหลบหนี้เข้าเมือง และปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย(พม่า ลาว และกัมพูชา) โดยเริ่มดำเนินการชาวพม่าหลบหนี้เข้าเมืองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 เพื่อจัดระเบียบชาวพม่าในพื้นที่ชายแดนที่หลบหนี้ภัยจากการสู้รบเข้ามาหลับปี 2519 ด้วยวิธีการจัดทำทะเบียนประวัติ และผ่อนผันให้ทำงานได้โดยมีขอบเขตจำกัดนโยบายและมาตรการดังกล่าวได้มีพัฒนาการมาโดยลำดับ กล่าวคือ ได้มีการกำหนดนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวเมื่อปี พ.ศ. 2539 พ.ศ. 25412545 โดยในปัจจุบันนอกจากมีนโยบายในระยะสั้นที่ให้แรงงานต่างด้าวมารายงานตัวตามที่กำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขแล้ว ยังมีการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาระยะยาวโดยให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินการเพื่อให้มีการศึกษาโครงการวิจัยความต้องการจ้างแรงงานอพยพต่างชาติในประเทศไทยในช่วงปี 2546-2548 และโครงการจัดทำแผนบริหารจัดการแรงงานผิดกฎหมายที่ลักลอบเข้ามาทำงานรวมถึงการเตรียมการเพื่อนำแรงงานต่างด้าวเข้มาทำงานโดยถูกต้องตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจ้างแรงงาน(MOU)ระหว่างประเทศไทยกับ3ประเทศ(พม่า ลาว กัมพูชา) เพื่อนำไปสู่การประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างเป็นระบบละครบวงจร รวมทั้งบรรลุผลสำเร็จในระยะยาวทั้งในเรื่องของขั้นตอนการจ้างงาน มาตรการการส่งกลับ การคุ้มครองแรงงาน ป้องกันละปราบปรามการข้ามแดนผิดกฎหมาย การค้าแรงงานเถื่อน และการจ้างแรงงานผิดกฎหมาย
                ข้อเสนอแนะต่อปัญหาแรงงานพม่าในประเทศไทย ด้านการเมืองมีตั้งแต่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความทันสมัยเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง การกำหนดนโยบายและมาตรการการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับหลักกฎหมายทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว ซึ่งจะต้องอาศัยการศึกษาข้อมูล และข้อเท็จจริงอย่างลึกซึ้งทุกด้าน รวมถึงการประสานงานและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานผู้ปฏิบัติต่อปัญหาแรงงานพม่าและหน่วยงานด้านความมั่นคง
                ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่  การเร่งประชาสัมพันธ์ให้นายจ้างหรือผู้ประกอบการจ้างแรงงานพม่าในสถานประกอบการทราบถึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากปัญหาการจ้างแรงงงานพม่าผิดกฎหมาย รวมทั้งโทษตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนควรประสานความร่วมมือในการพัฒนาแรงงานคนไทย เพื่อให้รับการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสามารถรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศต่อไปในระยะยาว
                ด้านสังคมควรมีการศึกษาวิจัยสภาพปัญหาของแรงงานพม่าในไทยในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและมาตรการการแก้ไขปัญหาแรงงานพม่าในไทยได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบดูแลด้านการบริการ โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงแรงงาน ควรปรับเปลี่ยนแผนการปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับปัญหาการหลั่งไหลของแรงงานพม่าเข้าอยู่ไทยอยู่เสมอ โดยเฉพาะการกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระยาดของโรคที่เกิดจากแรงงานพม่า แทนการส่งตัวผู้ป่วยเข้าพักรักษาพยาบาล ควรให้ความสำคัญต่อการจักทำแผนประชาสัมพันธ์เฉพาะเรื่องแรงงานด่างด่าวให้ต่อเนื่องโดยใช้สื่อประเภทต่างๆเพื่อให้ประชาชนมีความคิดเห็นร่วมกัน


บรรณานุกรม
หนังสือ
กฤตยา  อาชวนิจกุล และคณะ. (2547). คนต่างด้าวในประเทศไทยคือใครบ้าง? มีจำนวนเท่าไร?.  ระบบฐานข้อมูลแบบไหนคือคำตอบ.นครปฐม:สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.
กรีฑา สพโชค. (2550). การพัฒนานโยบายสาธารณะเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร.กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือนสำนักงานสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.).
เกษมสันต์ จิณณวาโส. (2539). แรงงานอพยพจากต่างประเทศ:ข้อเท็จจริงประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข.กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ.
กุศล สุนทรธาดา และอุมาภรณ์ภัทรวานิชน์. (2540). กระบวนการจ้างแรงงานข้ามชาติที่ลักลอบเข้าเมืองและความคิดเห็นของภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง.กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
คณะอนุกรรมาธิการเรื่องแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองวุฒิสภา. (2552). รายงานพิจารณาศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชาปี25512552. กรุงเทพฯ: คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น